การพัฒนางานวิชาการในโรงเรียนมัธยม


การมัธยม

การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำลังย่ำแย่ในด้านผลสัมฤทธิ์ NT, O-NET ผลการประเมิน ของ สมศ.

มาตรฐาน 4  5  6  ก็หย่อน

โรงเรียนมัธยมก็อยู่ภาวะลำบาก   ความถดถอยทางวิชาการถอยลงๆๆ

แล้วจะทำอย่างไรกันดี

การตั้งสำนักเขตพื้นที่มัธยม 76 จังหวัด 76 เขตพื้นที่  เป็นความหวัง ที่ผมเองก็หวัง หวังเพื่อการพัฒนาการมัธยมศึกษาอย่างยั่งยืน

ขณะรอเขตพื้นที่ใหม่

อยากระดมความคิดเห็น ของตัวเอง และของท่านที่จะเข้ามาแจม  ขอเชิญนะครับ

ผมเริ่มก่อน

ประเด็น :  จะพัฒนางานวิชาการในโรงเรียนมัธยมอย่างไร

1. ทำให้สมาคมครูเฉพราะกลุ่มสาระ หรือวิชา เข้มแข็ง นั่นหมายถึงสมาคมที่มีสมาชิกต่างพัฒนาตนเองให้รู้จริงรู้ลึก กลุ่มสาระ/วิชาที่สอน  สามารถออกแบบการสอน และเป็นผู้นำในการสอนได้ฃ

2. ทีมงานวิชาการของโรงเรียน ควรจะบอกได้ว่าทั้งโรงเรียน ใช้วิธีสอนอยู่กี่วิธี  วิธีใดใช้มาก วิธีใดใช้น้อย  ในแต่ละปี มีวิธีใหม่เกิดขึ้นหรือไม่ อยู่ในกลุ่มสาระใดบ้าง

3. ทีมงานวิชาการควรบอกได้ว่าผลงานนักเรียนทั้งโรงเรียนเกิดขึ้นภาคเรียน หรือปีละกี่ชิ้น อยู่ในระดับชั้นใดผลงานนั้นเป็นผลงาน ประเภทใด  รวบรวมข้อมูล/ จัดกระทำข้อมูล/ นำข้อมูลไปประยุกต์ใช้

4..............................

5.............................

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 195345เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2008 22:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

การพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับมัธยมศึกษา เรียนรู้วัฒนธรรมซึ่งกันและกัน

วิเคราะห์สาเหตุที่การศึกษาระดับมัธยมศึกษาถดถอย อยู่ที่กระบวนการจัดการเรียนรู้ของครู วัฒนธรรมความเชื่อของชาวมัธยมศึกษาที่ว่า โรงเรียนมีชื่อเสียงตรงที่นักเรียนสามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยของรัฐที่มีชื่อเสียง คณะที่ยอดนิยมได้มากๆ ครูดีคือครูที่สอนเด็กมากๆ รับผิดชอบการสอน เด็กได้เนื้อหาครอบคลุม เยอะแยะ มีการบ้านมีชิ้นงานมากแสดงว่าครูดีครูเก่ง กระบวนการสอนก็เลยใช้ข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบันเป็นตัวตั้ง ฝึกทำข้อสอบท่องจำมาก ถอดแบบจากโรงเรียนกวดวิชามาใช้ในโรงเรียนมัธยมและบรรจุความรู้ความจำลงในสมองเด็ก คิดได้แต่คิดในกรอบของครู วิธีสอนเป็นภาพลวงตาทั้งนั้น

วัฒนธรรมของครูประถม มีจุดด้อยที่ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการเรียนการสอน สาเหตุเพราะไม่ได้มีผลกระทบต่อสถานะของครูหรือผู้บริหาร เด็กทุกคนจบร้อยเปอร์เซนต์ มีที่เรียนทุกคนเรียนไหนไม่สำคัญ เด็กได้เรียนโรงเรียนดีดีดังๆก็ขัดนโยบายที่เน้นเรียนใกล้บ้าน ผู้ปกครองเลยพาเด็กหนีไปเรียนโรงเรียนเอกชนตั้งแต่เล็กเล็ก

แนวทางการพัฒนาการศึกษาที่ไปด้วยกันน่าจะเป็นทางออกในการแก้ปัญหาคุณภาพการศึกษาร่วมกัน ความเป็นพวกเดียวกันการพูดชี้แนะข้อบกพร่องและหาทางแก้ปัญหาร่วมกัน เช่นครูประถมเอาจริงเอาจังกับการจัดการเรียนการสอน โดยครูมัธยมช่วยชี้แนะจุดที่จะต้องพัฒนา สร้างพื้นฐานในเรื่องใดบ้างที่จะเข็มแข็งในการเรียนระดับมัธยม ซึ่งจะทำให้การแก้ปัญหาง่ายกว่าการแบ่งแยก ซึ่งก็จะไม่กลับสู่ปัญหาโทษกันไปโทษกันมา เหมือนอดีต อาจารย์มหาวิทยายัยก็โทษครูมัธยม ครูมัธยมก็โทษครูประถม ครูประถมก็โทษครูอนุบาล ครูอนุบาลก็โทษพ่อแม่เด็ก สุดท้ายพ่อแม่ก็โทษเด็กและกลับเข้าสู่วงจรเดิมๆ

ขอบคุณ ท่านครูมัธยมเก่าอย่างยิงครับ

ที่ท่านกล่าวมาเป็นฐานคิที่สำคัญอย่างยิ่ง

ประเด็นคิดที่ต้องคิดต่อไปก็คือ

-จะสอนอย่างไรให้เด็ก หรือผู้เรียนรู้จริงรู้ลึก รู้กว้าง เชื่อมโยงได้ สร้างความรู้ใหม่ ชิ้นงานใหม่

ผลงานใหม่ได้ โดยไม่ต้องไปอาศัยการกวดวิชา ที่ไปแย่งกันเข้ามหาวิทยาลัย จนเกิดความเสียหายต่อคุณภาพการศึกษา ที่ไม่ได้มาจากการรู้จริงฯ ดังกล่าวข้างต้น

-จะร่วมมือกันทุกฝ่ายอย่างไร โดยไม่เอาแต่โทษกัน

ในอดีต ที่ผ่านมา ก่อนปฏิรูปการศึกษา ผมสังเกตเห็นว่า ความร่วมมือทุกฝ่ายดีมาก

และก็ลดลงเรื่อยๆ มีอะไรเป็นเหตุ

ก็ต้องคิดอ่าน และทำ ทำ ๆ ๆ กันต่อไปครับ ขอบคุณครับ

ในช่วงสองวันนี้30-31สิงหาคม2551 มาพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องการใช้ ICT เพื่อการเรียนการสอนที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า จังหวัดอุตรดิตถ

มีครูและผู้บริหารจากโรงเรียนที่เป็นศูนย์พัฒนาICT โรงเรียนในฝันจากทั่วประเทศ 16 โรงเรียน ๆ ละ 10 คน มาประชุมร่วมกันเพื่อหาทางพัฒนาการเรียนการสอนที่ใช้ ICT

ผมได้นำเสนอแนวคิดการสอนที่นำมาเสนอไว้ ใน www.nitesonline.netด้วยความตั้งใจว่าจะให้เป็นหลักคิด ในการพัฒนาเบื้องต้นตามที่ประมวลมาได้ผนวกกับประสบการณ์ของผม ที่หวังการต่อยอดความคิดจากคณะที่เข้ามาประชุม และท่านที่สนใจทั้งหลาย

ท่่านใดอ่านแล้ว หากเห็นควรเพิ่มเพิ่มเติมอย่างไร ก็ช่วยเสนอผ่านมาในบล็อกนี้ หรือจะมีแนวคิดในการพัฒนาที่เป็นบทความข้อเขียน จะกรุณาส่งขึนเว็บไซต์นี้ก็ได้

ส่งไปให้ผมที่ [email protected] เพื่อส่งต่อเว็บมาสเตอร์ ท่านอาจารย์จงภพ ชูประทีป ก็ได้ครับ

ขณะที่อยู่ที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้านี้ อยากบอกเล่าว่าโรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนที่น่าชื่นชม ต้องการดูงานในแนวคิด New School Design

คิดถึงโรงเรียนนี้ครับ

นายจงกล พุทธศาวงษ์

เรื่องคือ การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำลังย่ำแย่ในด้านผลสัมฤทธิ์ NT, O-NET ผลการประเมิน ของ สมศ. สาเหตุคือ การสร้างผลงานวิชาการจอมปลอม

1. ความแตกต่างของนักเรียน นักเรียนเตรียมอุดม นักเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยต่าง ๆ

กับนักเรียนโรงเรียนปัญญาอ่อน(ปัญญานุกูล) ทั้งหลายใช้เวลาเรียนประถม 6 ปี มัธยมต้น 3 ปี และมัธยมปลาย 3 ปีเท่ากัน แต่ต้องการให้ได้คุณภาพเท่ากัน ทั้งๆที่ความจริงนักเรียนที่จบ ม. 6 เตรียมอุดม สาธิตมหาวิทยาลัยต่างๆ หรือ มหิดลวิทยานุสรณ์ มีความสามารถแข่งขันโอลิมปิกวิชาการ แต่นักเรียนที่จบ ม. 6 ปัญญานุกูลมีความสามารถแค่เข็นรถตัดหญ้าในสนามหญ้าได้ แทนที่นักเรียนที่เก่งจะต้องใช้เวลาเรียนให้น้อยลง และเด็กอ่อนก็ควรเพิ่มเวลาเรียนให้เขาอีกสักเทอม หรือ ปี

2. การประเมินโรงเรียน เพื่อผลงานกับผลสัมฤทธิ์หลอกลวง ถ้าดูผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยรวม นักเรียนเตรียมอุดมก็มีผลการเรียน 0-4 นักเรียนปัญญานุกูลก็ผลการเรียน 0-4 เช่นกัน และ ผู้บริหารเกือบทุกโรงมีนโยบายห้ามนักเรียนติด 0 มีผลในแบบประเมินผลงาน(การเลื่อนขั้นเงินเดือน)ว่าครูท่านนี้มีนักเรียนสอบไม่ผ่านกี่เปอร์เช็น ถ้าไม่ติดเลยได้ 5 คะแนน ถ้าติดถึง 10 เปอร์เซนต์ได้ 1 คะแนนในข้อนี้ เพราะฉะนั้นเกรดที่นักเรียนได้มาจากคะแนนที่สอบแบบอิงกลุ่มโดยต่ำสุดคือ 1 โดยบางคนจบ ม.3 แล้วยังอ่านหนังสือไม่ออก

แต่ถ้าทางศึกษานิเทศก์ออกไปทดสอบนักเรียนทางโรงเรียนก็จะเตรียมถอดเอานักเรียนที่เรียนเก่งแต่ละห้องมารวมเป็นห้องที่เตรียมต้อนรับ ศน. เพื่อผลจะไม่ตกต่ำ หรือถ้า ศน.จะสุ่มเอานักเรียนเองโรงเรียนก็จะห้ามนักเรียนที่อ่านหนังสือไม่ออกมาโรงเรียนโรงเรียนก็จะเหลือแต่เด็กปานกลางถึงเก่งคอยต้อนรับสนามสอบของ ศน.

3. ผลงานทางวิชาการ (เชิงฝึกหัดและเชิงพานิชย์)

1. งานวิจัยเพื่อการจบการศึกษา เป็นการฝึกเพื่อให้นักศึกษาวิจัยเป็นซึ่งงานบางอย่างผลก่อนประเมินและหลังประเมินก็แก้คะแนนให้ตรงกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้

2. งานวิจัยเพื่อหรือผลงานทางวิชาการเพื่อประเมินผลงานครูชำนาญการพิเศษจัดทำโดยจ้างคนอื่นทำหรือจัดทำโดยไม่ได้ใช้จริง ครูลาโรงเรียนไปพิมพ์งานไม่ได้สอนหนังสือแต่ในผลงานที่รายงานผลสัมฤทธิ์ต่อนักเรียนดีขึ้นอย่างล้ำเลิศ

4. นโยบาย ICT บางพื้นที่ไม่มีโทรศัพท์พื้นฐาน บ้านนักเรียนไม่มีอินเตอร์เน็ต แต่ผู้บริหารก็พยายามให้ครูสื่อสารกับเด็กทางอินเตอร์เน็ต สภาพโรงเรียนบ้านนอกไม่เหมาะกับการใช้ ICT เพราะอุปกรณ์ไม่ครบ

ความสามารถของผู้สอนต่างกัน คือ ครูบางคนพูดเก่ง ถ่ายทอดด้วยคำพูดนักเรียนเข้าใจชัดเจน พอไปใช้สื่อ ICT พูดไปนักเรียนสับสน หรือ ครูบางคนพูดแทบไม่รู้เรื่องแต่ใช้สื่อช่วยสอนเก่ง แต่นักวิชาการก็ตะแบงให้ใช้ ICT กับทุกระดับอย่างเดียว

ตัวอย่างที่เจอมา เคยถามครูเชี่ยวชาญ(อาจารย์3 ระดับ9)ว่าไม่อยูโรงเรียน โดยไปเป็นวิทยากรเกือบตลอดเทอมแล้วนักเรียน เขาเรียนอย่างไร คำตอบที่ได้ก็คือ สร้างสื่อไว้ให้นักเรียนค้นคว้า เลยตั้งสมมุติฐานให้ตอบต่อว่า ถ้าผมทำทีมฟุตบอลโดยมีลูกฟุตบอลเก่าๆลูกเดียวแต่ผมอยู่ซ้อมทุกวัน และทีมคู่แข่งมีลูกบอลใหม่ๆเยอะแยะ เป็นเข่งๆ ให้นักเรียนซ้อมแต่โค๊ดไปราชการตลอด เมื่อถึงเวลาแข่งกันสองทีมนี้ท่านคิดว่าใครจะชนะ

การบริหารโรงเรียนหรือการบริหารสถานศึกษาต่างจากการบริหารสำนักงานเขตพื้นที่หรือสำนักงานเลขาธิการ หรือสำนักงานทั่วๆไป เพราะเป้าหมายคนละเรื่อง สำนักงาน เพื่อให้บริการตามภารกิจเฉพาะด้าน แต่การบริหารโรงเรียนมีเป้าหมายอยู่ที่การพัฒนาเด็กทั้งระบบองคาพยพ สำหรับงานในหน้าที่ความรับผิดชอบของครู มี 2 ด้าน คือ สร้างใดกเรียนหนังสือเก่ง อ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น ยังไม่พอ ต้องให้เด็กสามารถคิดวิเคราะห์เชิงระบบ เป็น สามารถอธิบายปรากฏการณ์ทั้งทางธรรมชาติและทางสังคมได้ อย่างสมเหตุสมผล และในขณะเดียวกันก็ต้องสร้างเขาให้เป็คนโดยสมบูรณ์ ทั้งร่างกาย และจิตใจ ให้เป็นคนมีพฤติกรรมตามที่สังคมต้องการ มีสัมมาคารวะ อ่อนน้อมถ่อมตน พูดจาสุภาพ รักคนทุกคนเหมือนพี่น้อง มีจิตใจที่โอบอ้อมอารี มีเมตตา มีกรุณา ฯลฯ. คำถามที่เราต้องถามว่า เราในฐานะที่เป็นครู มีวิธีการอย่างไร จึงจะสามารถพัฒนาเด็กให้เป็นคนโดยสมบูรณ์ได้ทั้งองคาพยพ

ผมมีวิธีที่จะนำเสนอแนะให้ครูไปทดลองทำดู โดยใช้หลักการง่ายๆ คือ

1. จัดกิจกรรมการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองแบบการมีส่วนร่วม นั่นหมายถึงครูและเด็กต้องมาตกลงร่วมกันในการจัดกลักสูตรและกิจกรรมการเรียนรู้ โดยนำเอามาตรฐานช่วงชั้นเป็นหลัก ส่วนจะใช้วิธีการเรียนรู้ในรูปแบบใดนั้นต้องไปร่วมกันคิด ข้อสำคัญในเรื่องนี้ ต้องมีกระบวนการดังนี้

1.1 เรียนรู้ด้วยการกระทำ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้นั้นต้องเรียนรู้ด้วยการกระทำจริงจากปรากฏการณ์จริง ทั้งทางธรรมชาติและทางสังคม

1.2 ครูและเด็กต้องมีความสามารถในการตั้งคำถามถามตนเองเป็น มีหลากหลายคำตอบ เพื่อการวิเคราะห์และการนำเสนอ เช่น ภาวะโลกร้อนนั้นมีจริงหรือ ถ้ามีจริงจะมีผลกระทบต่อเราอย่างไร เป็นต้น ไม่ใช่ได้มากการค้นคว้าอย่างเดียว แต่น่าจะได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ธรณีวิทยา ฯลฯ. ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ความหลากหลายของข้อมูลที่เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติจริงนี้ จะเป็นช่องทางให้เด็กคิดเป็น ทำงานอย่างเป็นระบบ เป้นต้น

1.3 ครูต้องเป็นนักอ่าน นักคิด นักออกแบบ และนักวางแผน ไม่ใช่สักแต่สอนไปวันๆตามตำรา ถ้าอย่างนี้ไม่เกิดประโยชน์ต่อความเป็นนักวิชาการ ต่อความเป็นครูโดยอาชีพ และเป็นครูโดยวิญญาณ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยวิธีนี้ ไม่จำเป็นต้องท่องจำ แต่ต้องมีวิธีการค้นคว้าที่เป็นระบบ และเป็นการเรียนรู้ที่ได้ความรู้แบบยั่งยืน

2. ใช้กระบวนการกลุ่ม ให้เด็กที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกันทำงานด้วยกัน เพราะเขาจะสามารถร่วมคิด ร่วมทำในเรื่องที่เขาสนใจ เขาถนัด และเขาอยากรู้ อยากเรียนอยากศึกษา กระบวนการกล่มสอนอะไรให้กับเด็ก สอนทุกเรื่อง นับตั้องแต่การวางตัว การพูดเพื่อให้เกิดความร่วมมือ การเป็นผู้นำที่ดี การเป็นผู้ตามที่ดี การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน ความรับผิดชอบ ความมีมนุษยสัมพันธ์ ฯลฯ. เป็นพฤติกรรมที่สังเกตได้

3. ใช้กระบวนการเผยแผ่ความรู้ ด้วยกระบวนการนำเสนอของกลุ่มทำงาน ทุกคนก็จะได้รับรู้และเข้าใจในทุกเรื่องไปด้วยกันและพร้อมๆกัน

4. ใช้กระบวนการอภิปรายกลุ่ม ในการนำเสนองานวิชาการของแต่ละกลุ่ม ทุกคนสามารถซักถาม เสนอแนะ อภิปรายเพิ่มเติมได้ มีการจดบันทึก และมีการสรุปเป็นองค์ความรู้

5. เป็นการส่งเสริมความเป็นเลิศเฉพาะทางของเด็กเป็นรายบุคคล ถามว่า มีความจำเป็นที่เด็กต้องเก่งในเรื่องเดียวกันหรือไม่ คำตอบคือ ไม่จำเป็น และถามว่า วิชาพื่นฐานจำเป็นต้องเรียนเหมือนกันทุกคนไหม คำตอบคือ จำเป็น เมื่อเป็นเช่นนี้ ครูต้องเข้าใจเด็กเป็นรายบุคคล รู้จักเด็กเป็นรายบุคคล ถึงจะสามารถส่งเสริมความสามารถเฉพาะทางได้ มิเช่นนั้นก็จะรู้จักแต่เด็กวิทย์-คณิต และเด็กสายศิลป์ สายช่างก็จะถูกลืม ยิ่งนักกีฬา นักดนตรี ก็ยิ่งห่างออกไปทุกที การพัฒนาศักยภาพรายบุคคลไปสู่ความเป็นเลิศนั้นสามารถทำได้ทุกโรงเรียน และนำเข้าสู่สนามแข่งขันทั้งระดับโรงเรียน ระดับเขตฯ. ระดับจังหวัด ระดับภูมิภาค และระดับชาติ ถ้าเด็กมีความเป็นเลิศจริงและปลูกปั้นมาดี รับรองในเกียรติบัตรนำเขาเข้าสู่มหาวิทยาลัยได้อย่างแน่นอน เพราะเคยมีปรากฏการณ์มาแล้ว นักเรียนโรงเรียนขนาดเล็ก อยู่บ้านนอก เพียงแต่ชนะเลิศการเป่าขลุยระดับภูมิภาคเท่านั้น ก็สามารถเดินเข้ามหาวิทยาลัยได้โดยไม่ต้องสอบ เป็นต้น

ลองไปพิจารณาและนำไปใช้ดูอาจได้ผล และถ้าได้ผลอย่างไรกรุณานำเผยแพร่ในเวบนี้ดเวยครับ

ที่ท่านทั้งเลยกล่าวมาล้วนมีเหตุผลทั้งนั้น แต่สิ่งหนึ่งที่มิอาจละเลยไปคือ หลักสูตร กับการจัดการเรียนรู้ต้องไปด้วยกัน ครับ

ผมตั้งใจจะคุยกับทุกท่านที่กรุณาเข้ามา บางช่วงก็ทำได้ บางช่วงก็ทำไม่ได้ หากท่านรอคุยกับผม ผมต้องขออภัยด้วยครับ

กรณีของท่านจงกล มีหลายข้อที่อยากคุยต่อ โดยเฉพาะ“ผลงานทางวิชาการ”

ถาม- ให้ทำกันเพื่ออะไร

ตอบ- เพื่อแสดงถึงความสามารถในการสอน การบริหาร การนิเทศ เพื่อเป็นร่องรอยในการประเมินความเก่ง ประเมินว่าเก่งแล้ว ก็จะเลื่อนตำแหน่ง เลื่อนตำแหน่งเพื่ออะไร เพื่อให้ทำงานที่กล่าวมาดีขึ้น เพื่อให้ได้เงินเพิ่มขึ้นตอบแทนการทำงานที่ดีขึ้น

ณ วันนี้ “ผลงานทางวิชาการ” ที่ทำกันอยู่ ช่วยให้ได้ผลตามคำตอบมากน้อย เพียงใด ช่วยให้ผลสัมฤทธิ์ NT O-NET สูงขึ้นๆๆ จริง หรือไม่ มากน้อยเพียงใด

ณ วันนี้ ทัศนะ “ผลงานจอมปลอม” มีมากน้อยเพียงใด

ผมเองที่อยู่ในวงการนี้มานานจนกำลังก็ยังคิดว่า “ปลอม มากกว่า แท้”

ถามว่า ถ้าต้องการคำตอบที่กล่าวไว้ข้างนี้ การให้ทำผลงานทางวิชาการ ที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้ เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดแล้ว หรือ

ยังมีทางเลือกอื่นๆ อีกไหม

มีพรรคพวกเล่าให้ฟังว่า ญี่ปุ่นเขาอยากให้ครูมีเงินเพิ่ม เขาก็ให้ครู

นำผลงานไปให้สำนักพิมพ์ประเมิน สำนักพิมพ์ประเมินแล้ว ดีมีคุณภาพ ครูก็รับเงินส่วนแบ่ง หรือ ลิสิทธิ์ จากการขายไป

อยากให้ครูสอนเก่งขึ้น คิดว่าไม่อยาก หาก

- เอาคนเก่งไปเป็นครู ให้เงินเดือนแพงๆ

- เอาครูเก่งจริงๆ ไปเป็นผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์

- ศึกษานิเทศก์ ไม่จำเป็นต้องมี ถ้ามีครูเก่ง และผู้บริหารเก่ง

ถ้าทำได้ ผลงานจอมปลอม และทุกประเด็นที่ท่านจงกลกล่าวมาจะหมดไปไหมครับท่านจงกล

ที่กล่าวมา พูดได้แต่จะทำได้ คงต้องอาศัยผู้นำของผู้นำๆๆๆๆ ในอนาคตไปคิดอ่านกัน

ที่จะทำได้เลยก็คือวิธีการของลุงเชย (ลุงหนั่น)

เห็นด้วยทุกข้อครับ

คุณครูสามารถนำไปดัดแปลง เพิ่มเติม เสริมแต่ง ได้ตามความถนัด ของตน และความเหมาะสมกับนักเรียนแต่ละคนได้ ลุงเข้ามาคุยอีนะครับ คิดถึงเสมอครับ

การพัฒนาคุณภาพการศึกษาเป็นสิ่งที่ต้องทำอย่างไม่หยุดยั้งมาทุยุคทุกสมัย

ปี 2546 ที่เข้าสู่ยุคการปฏิรูปการศึกษามาจนถึงทุกวันนี้ ก็เพื่อพัฒาคุณภาพการศึกษา

แต่การปฏิรูปที่ดูดี ก็ดูเหมือนจะทำให้คุณภาพการศึกษาแย่ลง ปฏิรูปก็เหมือนกับไม่ปฏิรูป

เช้าวันนี้ ที่ต้องมานั่งเขียนบล็อกบันทึกไว้นี้ ก็เพราะมีเพื่อนร่วมงานท่านหนึ่งเข้ามาคุยด้วย ที่สท้อนถึงการปฏิรูปการศึกษาที่ล้มเหลว

"มีครูโทรบอกมาว่า ผอ.ไม่เข้าโรงเรียนเลย ไปไหนก็ไม่รู้ พวกเราก็ก้มหน้าก้มตาทำงานกันไปเอง มาเยี่ยมพวกผมบ้างนะ" เธอเล่าให้ฟัง (ผอ.ที่กล่าวถึงอยู่ในโรงเรียนขนาดเล็ก) แล้วก็บอกว่า ในอดีตมี สำนักงานประถมอำเภอ ที่ใกล้ชิดกับโรงเรียน

การดูแลช่วยเหลือก็ทั่วถึง เขตพื้นที่กับโรงเรียนที่ห่างไกล ก็ยากที่จะดูแล ได้อย่างเป็นปัจจุบัน

ยิ่งเขตพื้นทื่ ที่ไม่มีเครือข่ายทางวิชาการ ที่ทำให้โรงเรียนร่วมคิด ร่วมกันทำงาน มีงบประมาณสนับสนุนให้ทำร่วมกัน ก็ยิ่งไปกันใหญ่ เพราะยิ่งตอกยำความล้มเหลวในการปฏิรูปการศึกษา

วันนี้มีการประชุมสภาการศึกษา เพื่อพิจารณาการตั้งเขตพื้นที่มัธยม นี่เป็นสิ่งบ่งชี้อีอย่างหนึ่งว่าการปฏิรูปที่ผ่านมาล้มเหลว จนการมัธยมต้องดิ้นๆๆ เพื่อปฏิรูปการศึกษาต่อไป

จะได้ผลเพียงใดก็ต้องดูกันต่อไป

นโยบายดี แต่ขัดกับหลักการของการปฏิบัติจริง เช่นไม่ให้ลงโทษนักเรียนโดยการตีก้น ครูตีก็ลงข่าวครึกโครมหาว่าครูทำเกินไป ครูก็หยุดตี พวกมันก็ไปตีกันเองครูก็ยืนดูเพราะฉันสอนอย่างเดียว (รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี)สมัยผมเป็นนักเรียน ครูใหญ่ต้องเดินดูครูสอน ดูแลนักเรียนไปด้วย ใครไม่ดีเล่นหลังห้องเรียน หลับ หยอกกันโดนถีบทันที แบบสุดๆ ด้วย พอผู้ปกครองมาหาว่าทำไมตีลูกเขา ครูใหญ่ตอบว่าโรงเรียนนี้สอนคนไม่ได้สอนลิงหรือหมา ครูเขาก็สอนคนไม่ได้สอนลิงหรือหมา ครูสอนหน้าห้องมันทำธุรกิจ หยอกกัน คุยกันหลังห้องไม่ตั้งใจเรียน แบบนี้ลิงหรือหมา ผมเป็นครูต้องทำให้มันดีขึ้น เชื่อไหมครับห้องผมมี 47 คน เป็นครูตั้ง 40 คน นี่แหละคุณภาพ แต่ปัจจุบันนี้ห้ามนักเรียนสอบตก อ้างเปลืองงบประมาณ เด็กมันก็รู้ยังไงก็สอบได้แล้วกูจะตั้งใจเรียนไปทำไมวะ แถมเรียนฟรี 15 ปี จบออกมาไม่มีงานทำอีกต่างหาก เพราะอ่านไม่ออก คิดไม่เป็น ไม่เคยสอบตกนี่หว่า เกรดก็ดีมาก

เรื่องการส่งผลงานก็เหมือนกัน รุ่นเชิงประจักษ์ดีแล้ว ต้องส่งแผนการสอน ต้องส่งผลงานประกอบ ต้องทำรายงานการใช้การพัฒนา ดีแล้ว ดีมากเลย แต่ปัจจุบันวิทยากรบางรายก็บอกว่า แผนการสอนประเมินขั้นแรกแล้วไม่ต้องส่ง พอส่งไปผู้ตรวจไม่เห็นแผนการสอน มีแต่งานวิจัย (ที่ไปจ้างเขาทำ) และเอกสารประกอบ(ที่ไปซื้อเขามา) ท่านกรรมการอ่านไปอ่านมา ไม่รู้ที่ไปที่มา คณิตศาสตร์ส่ง 120 ได้ 3 คน ปรับปรุง 30 นอกนั้นตก ช่วยไม่ได้ครับ ผมว่าให้บรบทไปเลยว่าต้องส่งผลงานนะครับ 1. แผนการสอนต้องถือว่าเป็นผลงานทางวิชาการหลักเลย 2. เอกสารประกอบการใช้ในแผนการสอน (เอกสารทางวิชาการ) 3. วิจัย หรือรายงานการใช้คงจะพอนะครับท่านผู้ออกเกณฑ์ ประเมินวิทยฐานะ รู้ไว้หน่อยครับ อย่ามั่วไปมั่วมาในการให้ครูส่งผลงานเลยครับ แผนการสอนนั่นแหละหัวใจของการเรียนการสอน สวัสดี

เรียนอาจารย์วิทยา ขอบคุณครับที่เข้ามาคุยด้วย

ตอนเรียน มศ.1-มศ.3 เมื่อนานมาแล้ว ผมก็เป็นเด็กหลังห้อง วันหนึ่งตอนอยู่ มศ. 1 เล่นกับเพื่อน จะโต๊ะล้ม ดังลั่น ครูเรียกไปฟาดกับไม้ไผ่ผาซีกที่เพื่อนนำมาทำที่เช็ดเท้า เข้าที่น่อง 3 ที เลือดโชค ก็เข็ดหลาบเลย ไม่เคยโกรธครู ทำงานแล้ว ไปพบท่าน

อาจารย์จำไดเหมครับ ที่อาจารย์ตีผมจนเลือดโชค "ฉันจะไปจำได้ที่ไหน" ท่านว่า

เดี๋ยวนี้จะตีเด็กคงยาก เพราะบางคนไม่ได้รับการสั่งสอนมา ลูกเพื่อนผม มาที่ทำงาน เอาเก้าอี้ล้อของหัวหน้าผม เข็นไปเข็นมา ผู้เป็นแม่ไมพูดอะไรสักคำ ตีไปแล้วมีเรื่องแน่

แล้วจะหาทางออกอย่างไรดี ก็ปล่อยให้เด็กรุ่นใหม่ ครูรุ่นใหม่ว่ากันไป

เห็นด้วยกับท่านครับ ที่ว่า ผลงานทางวิชาการ คือ 1. แผนการสอนต้องถือว่าเป็นผลงานทางวิชาการหลักเลย 2. เอกสารประกอบการใช้ในแผนการสอน (เอกสารทางวิชาการ) 3. วิจัย หรือรายงานการใช้

แต่เรื่องนี้ยังมีประเด็นคุยอีกเยอะครับ เข้ามาคุยกันต่อนะครับ

หลังจากสภาการศึกษามีมติให้ตั้งเขตพื้นที่มัธยมศึกษาขึ้นแล้ว ภาระสำคัญของเขตพื้นที่ก็คือการยกระดับคุณภาพการศึกษาซึ่งผู้เกี่ยวข้องต้องคิดอ่าน กันว่าจะทำอย่างไร

ในฐานะที่เป็นผู้ที่จะเกี่ยวข้องกับเขตพื้นที่การศึกษามัธยมด้วยคนหนึ่ง

ก็คิดไป นี่คือสิ่งที่คิด    ครับ

 

ความสำเร็จที่ต้องการ

อีก 3-4 ปีข้างหน้าเราอยากเห็นนักเรียนของเราเป็นพลเมืองไทย และพลเมืองโลกที่มีคุณภาพตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา และคุณภาพตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

เป้าหมายความสำเร็จเชิงปฏิบัติการ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่ทุกฝ่ายนับตั้งแต่ครูผู้สอน ผู้บริหารโรงเรียน ศึกษานิเทศก์ สักงานเขตพื้นที่ สพฐ. และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นควร ยึดถือร่วมกัน

คือ

"นักเรียนรู้จริง รู้ลึก รู้กว้าง เชื่อมโยงได้ สร้างองค์ความรู้ ผลงาน ชิ้นงาน ภาระงานได้อย่างสร้างสรรค์ แสดงออกถึงสมรรถนะ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ และคุณภาพผู้เรียน ตามหลักสูตรแกนกลางพุทธศักราช 2551 นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน หรือใช้ศึกษาต่อได้ นำเสนอผลการเรียนรู้ได้อย่างมั่นใจ ในทุกเรื่องที่เรียน ทุกสถานการณ์"

เพื่อให้เกิดผลข้างต้นควรพิจารณาใช้ยุทธศาสตร์ในการดำเนินงาน  ในระดับชาติ ดังนี้

1. เพิ่มองค์ความรู้ด้าน การสอน การบริหารโรงเรียนการจัดการความรู้ การนิเทศ วิธีการเรียนของนักเรียน วิธีการดูแลช่วยเหลือนักเรียน แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการยกระดับคุณภาพการศึกษา

2. จัดการความรู้ โดยการส่งเสริมการรวมกลุ่มพัฒนาตนเอง พัฒนาวิชาชีพ ในลักษณะชมรม สมาคม และส่งเสริมการบันทึก เผยแพร่ แลกเปลี่ยนความรู้ และสร้างคลังความรู้ สำหรับ นักเรียน ครู ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ และบุคลากรอื่นทั้งในรูปแบบพบปะ และใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ต

3. สร้างเครือข่ายออนไลน์เชื่อมโยงการบริการ สื่อ หนังสือ เอกสาร การสอน การบริหาร การนิเทศ หรือ การปฏิบัติงานอื่นๆ ทั่วประเทศ

4. สนับสนุนการใช้ ICT เพื่อการเรียน การสอน การบริหาร การนิเทศ และการ ดูแลช่วยเหลือนักเรียน

5. เชิดชูเกียรติ และสร้างขวัญกำลังใจ แก่ นักเรียน ครู ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ และ บุคลากรทางการศึกษาอื่น

 

ระดับเขตพื้นที่และโรงเรียนควรพิจารณาใช้ยุทธศาสตร์ในการดำเนินงาน ดังนี้

1. ส่งเสริมเครือข่ายการนิเทศระหว่างเขตพื้นที่ ระหว่างโรงเรียน เพื่อร่วม พัฒนาหลักสูตร สถานศึกษา หลักสูตรท้องถิ่น วิชาเพิ่มเติม แหล่งเรียนรู้ การเรียนรู้ของครู และ นักเรียน ข้อสอบ ฯลฯ

2. ส่งเสริมการศึกษาดูงานเพื่อเทียบระดับคุณภาพกับโรงเรียน  คุณภาพ ขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ในระดับเขตพื้นที่ นอกเขตพื้นที่ ระดับชาติ และนานาชาติ

3. สนับสนุนการอบรมแบบเข้ม แก่บุคลากร ที่ต้องการรับการพัฒนาในด้าน การสอนเฉพาะวิชา หรือ เฉพาะเรื่อง

4. สนับสนุนการยกระดับคุณภาพนักเรียนเป็นรายบุคคล โดยการมีส่วนร่วมของ หลายฝ่าย

5. ส่งเสริมการจัดกิจกรรมใดๆ ที่เพิ่มความใกล้ชิด ของ 3 ฝ่าย นักเรียน ครู ผู้ปกครอง

6. ส่งเสริมการจัดทำโครงการ และ การกำหนด กฎกติกา หรือข้อตกลง หรือ ระเบียบปฏิบัติในระดับ โรงเรียน กลุ่มโรงเรียน เขตพื้นที่และจังหวัด

7. ส่งเสริมให้สำนักงานเขตพื้นที่ โรงเรียน กลุ่มสาระ เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ที่มีบุคลากรแห่งการเรียนรู้

8. ส่งเสริมจัดกิจกรรมประกวด แข่งขัน หรือ กิจกรรมการพัฒนาผู้เรียนในลักษณะ อื่นๆ เพื่อพัฒนาผู้เรียนกลุ่มเก่ง ปานกลาง อ่อน ตลอดจนเป็นรายบุคคล ในระดับห้องเรียน ชั้นเรียน โรงเรียน กลุ่มโรงเรียน เขตพื้นที่ จังหวัด และ ระดับชาติ

สพฐ. สำนักงานเขตพื้นที่ และโรงเรียนควรพิจารณาให้มี 7 แผนการดำเนินงาน ดังนี้

1. แผนพัฒนาคุณภาพการเรียน

2. แผนพัฒนาคุณภาพการสอน

3. แผนพัฒนาคุณภาพการบริหารโรงเรียน

4. แผนพัฒนาคุณภาพการนิเทศ

5. แผนพัฒนาระบบคุณภาพภาคีเครือข่ายอุปถัมภ์และ ทรัพยากรทางการศึกษา

6. แผนพัฒนาระบบเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร

7. แผนพัฒนาคุณภาพการบริการของโรงเรียนและสำนักงาน เขตพื้นที่

แต่ละแผนมีแนวดำเนินการดังนี้น

1. แผนพัฒนาคุณภาพการเรียน

1.1 เพิ่มองค์ความรู้ด้าน วิธีการเรียนรู้ของนักเรียน

- จัดทำคู่มือวิธีการเรียนรู้สำหรับนักเรียนที่นักเรียน และครูดาวน์โหลดไปใช้ได้ ทั่วประเทศ

- โรงเรียนเปิดวิชาเพิ่มเติมวิธีการเรียน

1.2 จัดการความรู้โดยการส่งเสริมการบันทึก เผยแพร่ แลกเปลี่ยนความรู้สร้างคลังความรู้ สำหรับ นักเรียน

- รวบรวม blog ของนักเรียน ให้สะดวกต่อการเข้าถึง

- อบรมฝ่ายเผยแพร่ และจัดการ blog ของโรงเรียน

1.3 จัดกิจกรรมแข่งขันทักษะนักเรียน

- มีกิจกรรมการแข่งทักษะทางวิชาการ และวิชาชีพของนักเรียนในระดับโรงเรียน เขตพื้นที่ และ ระดับภูมิภาค ปีละ 1 ครั้ง

- ส่งเสริมการแข่งขัน หรือ แสดงความสามารถในระดับนานาชาติ

2. แผนพัฒนาคุณภาพการสอน

2.1 เพิ่มองค์ความรู้ด้านการสอนให้ครูมีความเป็นเลิศในวิชาที่สอน - การอบรมเนื้อหาสาระและเทคนิคการสอนเฉพาะเรื่องที่ค้นพบว่ายากต่อการเรียนรู้สำหรับนักเรียนทั่วไป - จัดทำคู่มือแนวการสอนเฉพาะเรื่องที่ค้นพบว่าเป็นเรื่องที่ยาก ต่อการเรียนรู้

2.2 จัดการความรู้

- การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เนื้อหาสาระการสอน และเทคนิควิธีการสอนและการจัดการห้องเรียนระหว่างครูผู้สอน(Classroom Management) เว็บไซต์เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สำหรับครูมัธยม - จัดประชุมสัมมนานิทรรศการผลงานและกิจกรรมยกย่องเชิดชูเกียรติระดับโรงเรียนเขตพื้นที่ และ ระดับชาติ (ครูทุกคนเข้าร่วมประชุมในระดับใดระดับหนึ่ง)

- ส่งครูที่มีผลงานโดดเด่น ไปนำเสนอผลงานระดับนานาชาติ (ปีละ 90 คน ครอบคลุมครูทุกภูมิภาคทุกกลุ่มสาระรวมทั้งกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน)

2.3 ใช้ ICT เพื่อการสอน

- รวบรวม ผลิต และบริการแผนการสอน สื่อการเรียนการสอน ข้อทดสอบ ผลงานทางวิชาการของครู จำแนกตามกลุ่มสาระ ไว้ในระบบออนไลน์

2.4 ยกย่องเชิดชูเกียรติแก่บุคลากรที่ปฏิบัติงานดีเด่นในระดับโรงเรียน เขตพื้นที่และระดับชาติ

3. แผนพัฒนาคุณภาพการบริหารโรงเรียน

3.1 เพิ่มองค์ความรู้ด้านการบริหารโรงเรียน และบริหารการเรียนรู้ และการนิเทศ กำกับติดตาม การเรียนรู้ของนักเรียน และการสอนของครู

- จัดอบรมแบบเข้ม

- จัดทำคู่มือแนวทางการบริหารโรงเรียน และการบริหารการเรียนรู้ การนิเทศ กำกับติดตามการเรียนรู้ของนักเรียน และการสอนของครู เพื่อบริการดาวน์โหลด

3.2 จัดการความรู้

- อบรมการใช้ blog ให้แก่ผู้บริหารโรงเรียน และกิจกรรมจูงใจให้เกิดการใช้ blog

-จัดสัมมนาจำนวนผู้บริหารโรงเรียนเสนอผลงานประจำปีระดับเขตพื้นที่ระดับชาติ - นำเสนอเสนอผลงาน หรือศึกษาดูงานในระดับนานาชาติปีละ 1 ครั้ง (อย่างน้อยปี ละ 90 คน ครอบคลุม ผู้บริหารโรงเรียนระดับ เล็ก กลาง ใหญ่ ใหญ่พิเศษ ทุกภูมิภาค)

3.3 ยกย่องเชิดชูเกียรติแก่บุคลากรที่ปฏิบัติงานดีเด่นในระดับ เขตพื้นที่และระดับชาติ

4. แผนพัฒนาคุณภาพการนิเทศ

3.1 เพิ่มองค์ความรู้การนิเทศ การพัฒนาเครือข่ายการนิเทศเฉพาะเรื่อง หรือวิชา

- การอบรมศึกษานิเทศก์เฉพาะวิชา

3.2 การจัดการความรู้

- อบรมการใช้ blog ให้แก่ศึกษานิเทศก์ และกิจกรรมจูงใจให้เกิดการใช้ blog

- จัดสัมมนาเสนอผลงานประจำปีระดับเขตพื้นที่ระดับชาติ

- นำเสนอเสนอผลงาน หรือศึกษาดูงานในระดับนานาชาติปีละ 1 ครั้ง อย่างน้อยปีละ 90 คน ครอบคลุมทุกกลุ่มสาระ และทุกภูมิภาค 3.3 ยกย่องเชิดชูเกียรติแก่บุคลากรที่ปฏิบัติงานดีเด่นในระดับเขตพื้นที่และระดับชาติ 5. แผนพัฒนาระบบคุณภาพภาคีเครือข่ายอุปถัมภ์ และทรัพยากรทางการศึกษา

- สถานศึกษาประชุมชี้แจงตามหลักสูตร และแนวดำเนินการที่กำหนด - จัดทำคู่มือแนวปฏิบัติในการดูแล ช่วยเหลือบุตรหลานในวัยเรียน

- จัดกิจกรรมยกย่องเชิดชูเกียรติ ที่หลากหลายทั่วถึง และสม่ำเสมอ โดย สพฐ. สำนักงานเขตพื้นที่ และโรงเรียน

6. แผนพัฒนาระบบเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร 1.พัฒนาครู บุคลากรด้านICT

- อบรมครู และบุคลากรทางการศึกษาที่ให้สามารถใช้ ICT ได้ตามข้อกำหนด

2.พัฒนาระบบ e-service

- จัดทำคลังแผนการสอน สื่อการสอน ข้อทดสอบ และนวัตกรรมทางการศึกษา หรือสนับสนุนการจัดการศึกษา ผลงานทางวิชาการไว้บริการครู ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ และบุคลากรอื่น

7. แผนพัฒนาคุณภาพการบริการของโรงเรียนและสำนักงานเขตพื้นที่ - เพิ่มองค์ความรู้ สร้างความหนักในบทบาทหน้าที่ แก่บุคลากรอื่น เช่น นักวิชาการ เจ้าหน้าที่การเงิน พัสดุ พนักงานขับรถ รวมถึงพ่อค้าแม่ค้า คนครัวของโรงเรียนเกี่ยวกับเนื้องาน การบริการ การประสานงาน โดยการประชุม อบรม สัมมนา -จัดทำคู่มือแนวปฏิบัติงาน แต่ละงาน

-ยกย่องเชิดชูเกียรติแก่บุคลากรที่ปฏิบัติงานดีเด่นในระดับเขตพื้นที่และระดับชาต

 

เอาไว้แค่นี้ก่อนนะครับ

การใช้สารสนเทศเชิงลึกในการพัฒนาการจัดกาเรียนรู้

ชัด บุญญา

ปัญหา อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้ ส่งเสริม หรือ การนิเทศกำกับติดตาม ส่วนหนึ่งก็คือสาระสนเทศในเชิงลึก ที่จะนำมาใช้เพื่อภาระงานดังกล่าว ของผู้มีสาวนเกี่ยวข้องหากไม่มี หรือ มีแล้วไม่เข้าใจตรงกัน หรือ ไม่ใช้ร่วมกัน ความเป็นระบบการคือ การวางแผน (Plan) ปฏิบัติ (Do) ประเมินผล (Check) ปรับปรุงแก้ไข หรือ กำหนดกระบวนการปฏิบัติงาน และปัจจัยที่ใช้ไว้เป็นมาตรฐาน เพื่อปฏิบัติการในโอกาสต่อไป จึงอ่อนแออย่างต่อเนื่อง การนำสารสนเทศที่ลึกซึ้งกว่าเดิม จึงเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้ภาระงานข้างต้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

คำถามที่จะนำไปสร้างสรรค์เป็นสารสนเทศ และหัวข้อสารสนเทศ ที่นำเสนอต่อไปนี้เป็นการนำร่องทางความคิด ที่จะนำไปสู่ การจัดทำสารสนเทศเพื่อการสอนของคุณครู สารสนเทศเพื่อการบริหารการเรียนรู้ การกำกับติดตาม เฝ้าระวังและการนิเทศภายใน ของฝ่ายบริหารของโรงเรียน

ถามครูทั่วไป

1. ใช้แผนการสอนที่ทำเองในวิชาอะไรบ้าง ใช้สอนชั้นใด

2. ใช้แผนการสอนจากสำนักพิมพ์ในวิชาอะไรบ้าง ชั้นใด

3. มีสื่อการสอนทั่วๆ ที่จัดทำด้วยตนเอง กี่รายการ ใช้สำหรับสอนวิชาอะไร

ใช้ สอน ชั้นใด สำหรับมาตรฐานใด

4. มีสื่อการสอน จากการสนับสนุนของโรงเรียน กลุ่มสาระ ห้องสมุด ที่ใช้บ่อยๆ กี่

รายการ ใช้สำหรับสอนวิชาอะไร ใช้สอนชั้นใด สำหรับมาตรฐานใด

5. มีสื่อการสอน ICT ที่จัดทำด้วยตนเอง กี่รายการ ใช้สำหรับวิชาอะไร ชั้นใด

สำหรับมาตรฐานใด

6. มีสื่อการสอน ICT จากการสนับสนุนของโรงเรียน กลุ่มสาระ ห้องสมุด ที่ใช้

บ่อยๆ กี่รายการ ใช้สำหรับวิชาอะไร ชั้นใด สำหรับมาตรฐานใด

7. มีบัญชีแหล่งเรียนรู้อะไรบ้าง ใช้กับแผนการสอนเรื่องอะไรตามมาตรฐานใด ชั้นใด

8. มีเว็บไซต์เพื่อการสอน กี่เว็บไซต์ เว็บไซต์อะไรบ้าง ใช้สำหรับมาตรฐานใด

9. มีหนังสือ ตำราว่าด้วยการสอน ที่สามารถหยิบใช้ได้สะดวกกี่เล่ม เรื่องอะไร

ใครแต่ง จัดพิมพ์ในปีใด ใช้สำหรับมาตรฐานใด

10. ใช้หลักการ แนวคิด ทฤษฎีว่าด้วยการสอน การประเมินผล อะไรบ้าง ใช้กับ

มาตรฐานการสอนใด

11. มีแบบแผนการสอนที่สร้างสรรค์ขึ้นด้วยตนเอง หรือไม่ เป็นอย่างไร

12. มีแผนการสอนที่สอดคล้องกับแบบแผนหรือไม่ วิชาอะไร มาตรฐานการเรียนรู้ใด

13. ในรอบปีที่ผ่านมามีแผนการสอนที่มีการมอบหมายงานล่วงหน้า จำนวนกี่แผน

เรื่องอะไรบ้าง

14. ในรอบปีที่ผ่านมามีแผนการสอนที่มีการมอบหมายการบ้าน จำนวนกี่ครั้ง

15. ในวิชาที่สอน จากผลการทดสอบระดับชาติ หรือ ระดับท้องถิ่น (National Test

/Local Test)หรือประสบการณ์การสอน มีมาตรฐานการเรียนรู้ใดบ้างที่ยากต่อการ

เรียนรู้ กี่มาตรฐาน

16. มีแผนการสอนที่สร้างสรรค์ ขึ้นมาใช้เพื่อแก้ปัญหามาตรฐานที่ยากต่อการเรียนรู้

กี่มาตรฐาน

17. ในรอบปีที่ผ่านมามีผลการทดสอบ ตามมาตรฐานใด คะแนนเฉลี่ยแต่ละครั้งคิด

เป็นร้อยละเท่าไร

18. มีแผนการสอนตามมาตรฐานใดบ้างที่ผลการทดสอบ หรือ ผลการประเมินได้

คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 75 ขึ้นไป

19. จากแผนการในข้อ 18 ผลงานชิ้นงานนักเรียน ที่โดดเด่น5 ลำดับแรกคืออะไร

20. ในรอบ 1-2 ปี ที่ผ่านมามีแผนการสอนตามมาตรฐานใด (เน้นเฉพาะที่ได้คะแนน

เฉลี่ยต่ำกว่าร้อยละ75) ที่ได้รับการปรับปรุงไปแล้ว 1 ครั้ง จำนวนกี่แผนการสอน

21. นักเรียนที่เรียนอ่อนในวิชาของท่านเพราะสาเหตุต่อไปนี้มีประเภทละกี่คน คิดเป็น

ร้อยละเท่าไร

-บกพร่องทางสติปัญญา ตามความเห็นของแพทย์

-ไม่ให้ความสนใจต่อการเรียนในวิชาที่สอน

- มีวิชาที่สนใจเรียนเป็นการเฉพาะ

-ไม่ทราบสาเหตุ

22. ในรอบปีที่ผ่านมาท่านได้รับการดูแลช่วยเหลือให้การจัดการเรียนรู้ดีขึ้นจากฝ่าย

วิชาการของโรงเรียนอย่างไร ในเรื่องต่อไปนี้ จำนวนกี่ครั้งคิดเป็นร้อยละเท่าไร

- การจัดอบรมความรู้ใหม่ๆ โดยวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทาง

- การส่งไปเข้ารับการอบรมในวิชาที่สอนโดยตรง

- การอนุมัติการจัดซื้อหนังสือ ตำรา คู่มือการสอนเฉพาะวิชา

-การจัดสัมมนาครูเฉพาะวิชาจากต่างโรงเรียน

- การอนุมัติจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์การสอน

-การเข้าสังเกตการสอนอย่างกัลยาณมิตร เพื่อให้ความช่วยเหลือ

ฯลฯ

23. มีนักเรียนที่เรียนในวิชาที่สอน ที่มีระดับความสามารถในการเรียนระดับเก่งมาก

เก่ง ปานกลาง อ่อน อ่อนมาก ระดับละกี่คน คิดเป็นร้อยละเท่าใด

24. ท่านมีวิธีการพิเศษ ที่ดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่ม เก่งมาก เก่ง ปานกลาง

อ่อน อ่อนมากอย่างไร

25. โรงเรียนมีกิจกรรมที่ดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่เก่งมาก และอ่อนมากอย่างไร

26. โรงเรียนดูแลช่วยเหลือท่านให้ดูแลช่วยเหลือนักเรียนในการจัดการเรียนรู้

อย่างไร ด้านใด อย่างไร

- ด้านการวางแผนการสอน

- ด้านจัดซื้อ จัดหา สื่อ อุปกรณ์การสอน

- ด้านการจัดทำสื่อการสอน

- ด้านการใช้แผนการสอน

- ด้านขวัญกำลังใจ และสวัสดิการทั่วไป

- ด้านการวัด ประเมินผล

27. ในรอบปีที่ผ่านมามีมาตรฐานการเรียนรู้ใดบ้าง ที่ท่านได้ปรับเปลี่ยนวิธีการสอน

หรือ สื่อ อุปกรณ์การสอน แหล่งเรียนรู้ ที่แตกต่างไปจากปีก่อนหน้า มาตรตระฐาน

อะไร เกิดผลทางตรง และทางอ้อมต่อผู้เรียนในประเด็นใดบ้าง

28. ท่านพิจารณาความรู้ ความสามารถของนักเรียนโดยวิธีการใด มากน้อยเพียงใด

- ข้อสอบ

- ผลงาน หรือชิ้นงาน

- การให้เขียนเรียงความที่แสดงถึงความรู้ความเข้าใจจริง

- การสัมภาษณ์ เจาะลึกกระบวนการการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ตามมาตรฐาน

- การให้นำเสนอ แสดงออก อธิบาย สาธิตโดยไม่บอกล่วงหน้า

- การติดตาม สังเกต กระบวนการคิดวิเคราะห์ ผลงานเล็กๆ น้อยๆ

เช่น การทำการบ้าน การถาม การตอบคำถาม ความกระตือรือร้น

(สายตาที่เป็นประกาย หรือเศร้าหมองขณะเรียน)

29. ท่านทราบหรือไม่ว่า นักเรียนที่อ่อน และอ่อนมาก ในวิชาที่ท่านสอน

เขาหรือเธอมีความสามารถพิเศษในเรื่องอะไร ในเรื่องที่จัดการเรียนการสอนโดยโรงเรียน หรือ ไม่ได้จักการเรียนการสอนโดยตรง ท่านเชื่อมโยงความรู้ความสามารถนั้นมายังวิชาที่ท่านสอน เพื่อช่วยยกระดับความรู้ความสามารถของเขาหรือเธออย่างไรบ้าง มีผลอย่างไร

(หากท่านตอบว่าไม่มีเวลาเพราะเหตุผลสารพัด ขอถามต่อไปว่า ท่านเคยปรึกษาหารือ

ฝ่ายบริหารของโรงเรียนทั้งอย่างไม่เป็นทางการหรือทางการ (บันทึกเสนอผ่านความเห็นชอบของที่ประชุมครูในกลุ่มสาระ หรือหัวหน้ากลุ่มสาระ) แล้วหรือยัง มีข้อมูลย้อนกลับมาอย่างไร

30. ในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา ท่านสนับสนุน ส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ หรือ นักเรียนเก่ง จำนวนกี่คน นักเรียนดี (เก่งน้อย) จำนวนกี่คน ท่านมีวิธีการอย่างไร

ถามผู้อำนวยการโรงเรียน

1.วิสัยทัศน์ของโรงเรียน คืออะไร กำหดไว้เมื่อไร

2. มีวิธีการวัดความสำเร็จไว้อย่างไร

3. วัดความก้าวหน้าแล้ว มีผลอย่างไร หรือจะวัดความก้าวหน้า เมื่อไร

4.โรงเรียนมีเอกลักษณ์ โดดเด่นอะไร

5. ผลงานที่โดดเด่นที่สุดของตัวผู้อำนวยการโรงเรียนคืออะไร

6. ผลงานที่โดดเด่นของแต่ละกลุ่มสาระมีอะไรบ้าง

7.ครูเก่งในด้านต่างๆ ในแต่ละกลุ่มสาระมีใครบ้าง

o ด้านการวางแผนการสอน

o ด้านจัดทำ สื่อ อุปกรณ์การสอน

o ด้านการใช้แผนการสอน

o ด้านการสร้าง ขวัญกำลังใจ ความร่วมมือแก่เพื่อนครู

o ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน

o ด้านการแนะแนว

o ด้านการปกครอง

o ด้านการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

o ด้านการเป็นที่ยอมรับของนักเรียน

o ด้านการเป็นที่ยอมรับของครู

o ด้านการเป็นที่ยอมรับของผู้ปกครอง

4. ความพึงพอใจของครู นักเรียน ต่อสภาพบรรยากาศเพื่อการเรียนรู้ การเรียนการ

สอนและการปฏิบัติงาน ณ ที่ใด มากน้อย เพียงใด ใครเป็นให้ข้อมูล

การตัดสินใจความมากน้อย

-บริเวณโรงเรียน

- ห้องเรียน

- ห้องพักครู

- ห้องน้ำ ห้องส้วม ของครู นักเรียน

- บ้านพักครู บ้านพักครู

- บ้านพักนักเรียน

- สื่อ อุปกรณ์การเรียนการสอน

ฯลฯ

6.จากคำถามที่ถามครู มีข้อใดบ้างที่ท่านเห็นว่ามีความสำคัญต่อการจัดการเรียรู้

การนิเทศกำกับติดตาม ของโรงเรียนท่าน เพราะเหตุใด

7.ท่านใช้ภาวะผู้นำในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมครูในด้าน กระบวนการสอน

การใช้สื่ออุปกรณ์การสอน พฤติกรรมความเป็นครูเก่ง ครูดีเกี่ยวกับ วางแผนการสอน

การใช้แผนการสอนตามสภาพจริง การวัดประเมินผลการสอนขณะสอน และหลังจาก

การสอนอย่างไร มีผลเชิงประจักษ์อะไรบ้าง

8.ท่านมีหลักการแนวคิด ทฤษฎี รูปแบบการบริหารโรงเรียนอย่างไร อยู่ในใจหรือเขียน

ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว อยู่ที่ไหน

9. ณ วันนี้ท่านมีอยู่ในสถานภาพตามข้อใดบ้าง แต่ละข้อมีคุณภาพมากน้อยเพียงใด

เพราะเหตุใด

- ผู้อำนวยการโรงเรียน

- ผู้จัดการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อ ความเก่ง ดี มีความสุข เชิงประจักษ์

ของนักเรียนและครู เพิ่มขึ้น

- นักการศึกษาระดับเขตพื้นเขตพื้นที่

- นักการศึกษาระดับระดับจังหวัด

- นักการศึกษาระดับชาติ

- นักการศึกษาระดับนานาชาติ

10. ในรอบ 2 ปีที่ผ่านมาท่านได้รับการยกย่องชมเชยอย่างไร จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไร ท่านขยายผลความดีเด่นของท่านอย่างไรส่งผลอย่าไร ท่านได้รับการท้วงติงอย่างไร ท่านพัฒนาตนเองตามข้อท้วงติงอย่างไร ส่งผลอย่างไร

ถามนักเรียน

1. นอนวันละกี่ชั่วโมง (เวลาเข้านอน – เวลาตื่น)

2. ตื่นนอนแล้ว นอกจากกิจส่วนตัวแล้ว ทำอะไรบ้าง

-ช่วยเหลือพ่อแม่ ประมาณ…….ชั่วโมง/นาที

-อ่านหนังสือ ทำการบ้าน ประมาณ…….ชั่วโมง/นาที

3. ระยะทาวงจากบ้านถึงโรงเรียนกี่กิโลเมตร

4. เดินทางไปโรงเรียนอย่างไร

-เดิน

-จักรยาน

-มอเตอร์ไซด์

-พ่อแม่ผู้ปกครองส่ง

-รถประจำทาง

-รถเช่ารายเดือน

5. ใช้เวลาที่ใช้ในการเดินทางนานเท่าใด

6. กิจกรรมที่ทำ เมื่อไปถึงโรงเรียน

-เล่น

-ทำการบ้าน

-อ่านหนังสือในห้องสมุด

-คุยกับเพื่อน

-ทำงานที่ครูมอบหมาย

ฯลฯ

7.วิชาที่ชอบเรียนมาก เรียงจากมากไปหาน้อย

8.เหตุผลที่ชอบเรียนวิชาที่ระบุว่าชอบเรียนมากที่สุด

-สนุก ท้าท้าย ง่ายต่อความเข้าใจ

-ครูใจดี

-ครูสอนเก่ง

ฯลฯ

9.คิดว่าตนเองชอบเรียนวิธีใดมากที่สุดใน 3 วิธี ต่อไปนี้

วิธีที่ 1 เรียนจากการฟัง

เรียนจากการฟัง เป็นวิธีเรียนที่นักเรียนจะเรียนได้ดีเมื่อได้รับข้อมูลด้วยวิธีการ

ฟัง เช่น

-ฟังครูอธิบายแล้วนักเรียนเข้าใจดี

-อภิปรายพูดคุยกับเพื่อนในสิ่งที่เรียนแล้วเข้าใจดี

-ฟังเทปแล้วเข้าใจดี

-อ่านออกเสียงดัง ๆ หรือพูดคุยกับเพื่อน ๆ แล้วเข้าใจดี

วิธีที่ 2 เรียนด้วยสายตาเรียนด้วยการใช้สายตาได้ดีเมื่อได้รับข้อมูลจากภาษาเขียน

หรือสื่ออื่น ๆ ที่มองได้ เช่น รูปภาพ แผนภูมิ สิ่งที่เขียนวาด บนกระดานดำ

หรือ ในคอมพิวเตอร์ จำได้ง่ายเมื่อได้ดูภาพทุกชนิด ทั้งจากการวาด การ

เขียน หรือที่ปรากฏให้เห็น

วิธีที่ 3 นักเรียนจะเรียนได้ดีเมื่อได้ใช้ร่ายกายเพื่อการเรียนรู้

นักเรียนเรียนรู้จากการใช้ร่างกายเพื่อการเรียนรู้ได้ดี เช่น

- เมื่อจับถือ เคลื่อนย้ายสิ่งของใช่หรือไม่

- เมื่อมีการทดลองใช่หรือไม่

- เมื่อวัตถุสิ่งของอยู่ในมือ

10. มีวิชาใดบ้างที่เรียนได้ดีเพราะคุณครูมีวิธีการสอนที่สอดคล้องกับวิธีเรียนที่เลือกในข้อ 9

11. ขณะที่ครูอธิบายในวิชาที่ชอบมากที่สุด มักปฏิบัติตนอย่างไร

- ฟังอย่างตั้งใจ

- ฟังบ้าง ไม่ฟังบ้าง

- ฟัง และแอบปรึกษาเพื่อน

- ฟัง และ จดบันทึกไปด้วย

- ฟัง และถามในสิ่งที่ไม่เข้าใจ หรือขอให้คุณครูอธิบายซ้ำ

12. เมื่ออ่านหนังสือ ตำรา เอกสารที่ครูแจก จะปฏิบัติ ดังนี้

- ขีดเส้นใต้ หรือ ทำเครื่องหมายบอกความสำคัญตามความคิดเห็นของตนเอง

- สรุปเป็น แผนผัง หรือ แผนภูมิ

- ตั้งคำถามในใจ และตอบคำถามในใจในเรื่องที่คิดว่าสำคัญ

- ปรึกษาผู้ที่อยู่ใกล้ๆ ในสาระที่ไม่เข้าใจ

- อ่านแบบทำดาๆ ไม่ได้ทำอะไรเป็นพิเศษ

13. ก่อนการเรียนจากการสอนของคุณครู จะปฏิบัติ ดังนี้

- อ่านเนื้อหาสาระทั้งหมด

- อ่านเฉพาะหัวข้อย่อยๆ

- อ่านและจดบันทึก

- อ่าน จดบันทึก ทำแผนผังแผนภูมิ

- อ่านและทำเครื่องหมายหรือใช้ปากกาดินสอสี เน้นในสาระที่ยังไม่เข้าใจ

หรือ สาระ ที่ต้องให้ความสำคัญ

- อ่านบ้าง ไม่อ่านบ้าง

14. เมื่อคุณครูให้การบ้าน จะปฏิบัติ ดังนี้

- จดวันเวลากำหนดส่ง

- จดบันทึกรายการวัสดุ อุปกรณ์ ที่ต้องหา หรือซื้อ

- กำหนดวันแล้วเสร็จ

- กำหนดวิธีการเตือนป้องกันการลืม

- อ่านตรวจสอบความถูกต้อง

- จัดการบ้านลงกระเป๋า

- ตรวจสอบกำหนดส่งให้แน่ใจ

- นำไปส่งในจุดที่ครูกำหนด

15. นักเรียนชอบทำงาน ที่ครูมอบหมาย ที่เป็นงานเดี่ยว เพราะเหตผลข้อใด

- ได้ทำงานอย่างอิสระ

- ได้ใช้ความสามารถเต็มที่

- กำหนดวันแล้วเสร็จด้วยตนเองได้

- ไม่ต้องการให้เพื่อนๆ ี่ขาดความรับผิดชอบเอาเปรียบ

16. ชอบทำงานเป็นกลุ่ม เพราะเหตุผลข้อใด

- มีเพื่อนช่วยเหลือ

- ไม่เหงา เพราะมีเพื่อน

- มีความคิดที่หลากหลาย จะได้ผลงานที่ดีกว่า

- เป็นการฝึกการอยู่ร่วมกับคนที่มีความแตกต่างกันไปในตัว

17. ในช่วงพัก หรือชั่วโมงว่าง นักเรียนมักปฏิบัติตามข้อใด

- พูดคุย กับเพื่อน

- พูดคุยทางมือถือ

- เล่น

- อ่านหนังสือทั่วไป

- ทำการบ้าน

-

18. กลับถึงบ้าน หรือ ที่พักแล้ว มักทำอะไร ใช้เวลานานแค่ไหน

- ช่วยเหลือ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ประมาณกี่นาที/ชั่วโมง

- เล่น ประมาณกี่นาที/ชั่วโมง

- ทำการบ้าน ประมาณกี่นาที/ชั่วโมง

- โทรศัพท์หาเพื่อน ประมาณกี่นาที/ชั่วโมง

- ติดต่อกับเพื่อนๆ ทางอินเตอร์เน็ต ประมาณกี่นาที/ชั่วโมง

- ไปหาเพื่อน ประมาณกี่นาที/ชั่วโมง

- ทบทวนทุกเรื่องที่เรียนมา ประมาณกี่นาที/ชั่วโมง

- อ่านล่วงหน้าในเรื่องที่จะเรียนในวันต่อไป ประมาณกี่นาที/ชั่วโมง

กรณีหนึ่งของการฝึกอบรมทางไกล โดยใช้ระบบ Multimedia

ในระหว่างวันที่ 12, 15-16 มีนาคม 2553 ที่ผ่านมา ผมได้ร่วมกับท่านผู้บริหารและคณะครูโรงเรียนเขาสมิงวิทยาคม จังหวัดตราด เพื่อพัฒนาการจัดทำ IdP ผมนั่งอยู่ที่เชียงใหม่ คณะครูอยู่ที่โรงเรียนเขาสมิง เราทำงานร่วมกัน เรียนรู้ด้วยกันผ่านสื่อหลายอย่าง ได้แก่ ระบบ video conference,email,chat, mobile phone (มือถือ) ผลงานที่ได้จาก 3 วัน รวม 5 ชั่วโมงโดยประมาณ ก็คือรูปแบบการจัด ทำ IdP ที่ร่วมกันคิดค้น ที่พร้อมจะนำไปสู่การใช้งานโดยคณะครู

ในการพูดคุยแลกเปลี่ยนกันในวันนั้น คุณครูท่านหนึ่งได้สะท้อน (reflect) กลับมาหาผมทางอีเมล์ ดังนี้ครับ

สวัสดีค่ะ 

ขอบพระคุณสำหรับเอกสารค่ะ หนูจะศึกษาและเผยแพร่ค่ะ

และขอบคุณอย่างยิ่งเลยค่ะ ที่อาจารย์ได้ขยายมุมมองการทำ IDPlan สำหรับพวกเรา มีประโยชน์มากและทำให้พวกเรากระตือรือร้นที่จะพัฒนาตนเองเพื่อนักเรียน ..............

ขอบคุณจริงๆ นะคะที่อาจารย์ให้พลังให้ความกระฉับกระเฉงและสนุกที่จะเรียนรู้กับพวกเรา  หากมาศสรุปงานหรือทำการบ้านเสร็จแล้วจะรีบส่งมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอาจารย์ค่ะ

ด้วยความนับถือและชื่นชมอย่างจริงใจและจริงจังค่ะ

สุมาศ

ก่อนงาน เราได้จัดห้องประชุมร่วมกันผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ของทั้งสองฝ่าย

ห้องประชุมของเราเป็นอย่างนี้

หน้าห้องประชุมบนฝาผนัง มีจอโปรเจ็คเตอร์ ถัดออกมาประมา 1 - 2 เมตร เป็นโต๊ะประชุม และอุปกรณ์ ภาพจากห้องประชุมอบรม

ซึ่งในโอกาสต่อไปควรมีรูปแบบ ดังนี้

มีจอ 1 สำหรับเลขานุการทำกิจกรรม แทน flip chart หรือ กระดาษปรู๊ฟ ที่เคยใช้กันมา จอ 2 สำหรับ Video conferenceโดยใช้ โปรแกรม skype หรือโปรแกรมอื่นๆ

กิจกรรมการอบรมเรื่อง IdP มี 3 กิจกรรมตามแผนที่วางไว้ ดังนี้

กิจกรรมที่ 1 “IdP : อะไร และทำไม” (IdP : What and Why”

1. ศึกษาบทบรรยาย และ PPT เอกสารที่เกี่ยวข้อง ที่ส่งมาให้

พร้อมกับ IdP อื่นๆ ที่มีอยู่

2. Search หา เรื่อง IdP จากต่างประเทศ 1 เรื่อง แล้ว

ร่วมกันตอบคำถามข้างท้าย (ระดมสมองขึ้นโปรเจ็คเตอร์)

(30 นาที)

3. ส่งไฟล์ผลการระดมสมองให้วิทยากร คอมเม้นท์(15 นาที) ผ่าน Skype หรือ oovoo หรือ มือถือ

คำถาม

1. IdP คืออะไร

2. มีหลักการ แนวคิดในการจัดทำอย่างไร

3. จะเกิดประโยชน์ต่อนักเรียน ครู และโรงเรียนอย่างไร

การอบรม IdP แก่ทีมงานโรงเรียนเขาสมิงวิทยาคม จังหวัดตราด 12 มีนาคม 2553

กิจกรรมที่ 2

ศึกษาเอกสาร IdP ที่ส่งมาให้ และเอกสาร IdP อื่นๆ ที่มีอยู่

แล้วตอบคำถามต่อไปนี้

1. องค์ประกอบของ IdP มีอะไรบ้าง

2. จะนำองค์ประกอบในข้อ 1 อะไรบ้าง มาสร้างรูปแบบการเขียนแผนพัฒนาตนเอง

(ของครู) ที่จะส่งผลให้นักเรียนเรียนรู้ได้ดีกว่าเดิมที่สามารถพิสูจน์ได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ว่า

เป็นผลมาจากการพัฒนาตนเองของครู

3. รูปแบบการเขียนเป็นอย่างไร (ใช้เวลา 45 นาที)

4. ส่งผลงานทั้ง 3 ข้อให้วิทยากรผ่านอีเมล์ [email protected]

5. รับฟังคอมเม้นจากวิทยากร Skype หรือ oovoo หรือ มือถือ

(หากเห็นชอบตรงกันแล้ว ดำเนินกิจกรรมที่ 3 ต่อไป)

การอบรม IdP แก่ทีมงานโรงเรียนเขาสมิงวิทยาคม จังหวัดตราด

12 มีนาคม 2553

กิจกรรมที่ 3

1. เขียนแผนพัฒนาตนเองตามรูปแบบที่กำหนดโดยใช้องค์ประกอบที่กำหนด เป็นรายบุคคล โดยมีองค์ประกอบที่กำหนดร่วมกันเป็นเกณฑ์ขั้นต่ำ สามารถเพิ่มเติมองค์ประกอบอื่นได้ตามความพึงพอใจ รูปแบบการเขียนจะเหมือน หรือไม่เหมือนกันก็ได้

(สำหรับฝ่ายบริหาร ต้องเป็นแผนพัฒนาตนเองที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู ที่พิสูจน์ได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ว่าเกิดจากแผนพัฒนาตนเอง)

2. ส่งผลงาน ให้วิทยากรผ่านอีเมล์ [email protected]

ภายในวันอาทิตย์ที่ 14 มีนาคม 2553

5. รับฟังคอมเม้นจากวิทยากรผ่านSkype หรือ oovoo

หรือ มือถือ ในวันที่ 15 หรือ 16 มีนาคม 2553

(นัดหมายกันอีกที)

จากแผนการอบรมที่วางไว้โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 3 ชั่วโมง เมื่อปฏิบัติการแล้ว

ต้องปรับเปลี่ยน แต่ละกิจกรรม กิจกรรมละประมาณ 90 นาที ตามหลักการอบรมที่เน้นผู้เข้ารับการอบรมเป็นฐาน

จากเป้าหมายการอบรม คือ คูณครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ เรื่อง IdP

ออกแบบ IdP ร่วมกัน และนำไปใช้ได้ ผลที่ปรากฏในเบื้องต้น ดังเช่น ผลงานการเขียน

คุณครู สรรพสิทธิ์ โกศล 1 ในคุณครู 7 คน ที่เข้าร่วมกิจกรรมการ อบรม ดังนี้

แผนพัฒนาสมรรถนะส่วนบุคคล

ชื่อแผนพัฒนาวิชาชีพครูส่วนบุคคล การพัฒนาทักษะกระบวนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์

ชั้น ม. 1

ชื่อครู นายสรรพสิทธิ์ โกศล กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

โรงเรียนเขาสมิงวิทยาคมฯ

ผลการดำเนินการในสมรรถนะที่จะพัฒนาในรอบปีที่ผ่านมา

นักเรียนชั้น ม. 1 ในปีการศึกษาที่ผ่านมาเรียนวิทยาศาสตร์โดยขาดการนำทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในระหว่างการเรียน นักเรียนเรียนวิชาวิทยาศาสตร์โดยการอ่านหนังสือท่องจำ แล้วนำมาสอบ ซึ่งผิดจากหลักการเรียนวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้อง ทำให้การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องยุ่งยากน่าเบื่อ และห่างไกลจากชีวิตประจำวันของตัวนักเรียน ทำให้นักเรียนมีเจตคติที่ไม่ดีต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ และส่งผลทำให้ผลสัมฤทธิ์จากการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น

เป้าหมาย

ผลที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับนักเรียน

ร้อยละ 75 ของนักเรียนชั้น ม. 1 สามารถเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้ดี โดยการทดสอบด้วยแบบทดสอบเชิงกระบวนการวิทยาศาสตร์จาก สสวท.

มาตรฐานการเรียนรู้ที่ต้องการพัฒนาผู้เรียน

มาตรฐาน ว ๘.๑ ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอนสามารถอธิบายและตรวจสอบได้ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าในว่าวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

ตัวชี้วัด/ สาระการเรียนรู้ที่เป็นเป้าหมายการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน

ตั้งคำถามที่กำหนดประเด็นหรือตัวแปรที่สำคัญในการสำรวจตรวจสอบ หรือศึกษาค้นคว้าเรื่องที่สนใจได้อย่างครอบคลุมและน่าเชื่อถือ

ผลที่ต้องการจากการพัฒนาตนเอง

1.นักเรียนสามารถใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ได้ดีขึ้น

2.ได้นวัตกรรมที่ช่วยพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน

3.ได้พัฒนาตนเองให้มีการสอนที่ถูกหลักวิทยาศาสตร์

ยุทธศาสตร์การพัฒนาตนเอง

1.ครูเรียนรู้เรื่องทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์จากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ

2.ศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

3.ออกแบบนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แผนการใช้นวัตกรรม และทดลองใช้กับนักเรียน

เอกสารหลักฐานแสดงการดำเนินงานตามแผนและผลที่เกิดขึ้น

1.เอกสารหลักฐานการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ของครูเรื่องทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

2.นวัตกรรมที่ใช้ในการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์กับนักเรียน

3.แผนการการจัดการเรียนรู้ และแผนการใช้นวัตกรรม

4.เอกสารประเมินผลการใช้นวัตกรรมนักเรียน

ผลลัพธ์ปลายปีการศึกษา

1. นักเรียนมีการพัฒนาการใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้

ที่ดีขึ้น

2. ครูได้นวัตกรรมเพื่อใช้ในการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของ

นักเรียน

วิธีดำเนินการตามแผน

การต้องการความช่วยเหลือ

แหล่งการเรียนรู้เรื่องทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (สถานที่ บุคคล หนังสือ เอกสารต่างๆ)

งบประมาณที่ใช้ตลอดการพัฒนาตนเองจำนวน 3,000 บาท

เงื่อนไขความสำเร็จ

ต้องได้รับการสนับสนุนในประเด็นที่ต้องการความช่วยเหลือจากผู้บริหาร

วิธีวัดและประเมินผล

1. แบบสังเกตพฤติกรรมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

2. แบบทดสอบเชิงกระบวนการทางวิทยาศาสตร์จาก สสวท.

ความเห็นของหัวหน้ากลุ่มสาระและผู้บริหาร

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….........................................................................................................................

ครับ นี่คือทั้งหมดที่เกิดจากกิจกรรมการประชุมอบรม ซึ่งจริงๆ อยากจะเรียกว่า การร่วมเรียนรู้ระหว่างผู้เฒ่ากับคนหนุ่มสาวที่เป็นอนาคตของชาติเสียมากกว่า

ก็จบเพียงเท่านี้

สวัสดีครับ

ชัด บุญญา

เรียน ท่านศึกษานิเทศน์

     ได้เข้าร่วมการอบรม walk rally กับ สพม. 35 ที่ สวนพฤกศาสตร์ทวีชล และ บ้านกลางดอย และเพิ่งกลับมาถึงลำปาง ประทับใจท่านที่เป็นผู้ที่มีการพัฒนาตนเองอย่างตลอดเวลาทั้งด้าน IT และความรู้เรื่องการบริหาร อยากเป็นสมาชิกในเวบไซด์ของท่านด้วยจดแล้วคะ แต่ว่าเข้าไปไม่ได้เลยไม่แน่ใจว่าจดถูกหรือผิด จะขอความกรุณาท่านช่วยเมล์บอกชื่อเวบหน่อยคะ เพราะเป็นรองรุ่นใหม่อยากพัฒนาตนเองให้มีความรู้และประสบการณ์เพื่อสืบทอดเจตนารมณ์การบริหารการศึกษาของเราให้มีประสิทธิภาพและเชื่อมั่นว่าการที่มีโอกาสดีได้สนทนากับผู้ที่มีความรู้ความสามารถแล้วน่าจะเป็นการเริ่มต้นในชีวิตบริหารที่เหลือ 29 ปี ขอขอบคุณล่วงหน้าคะ E-mail: [email protected]

เรียนท่านรองธีรดา

โดยบังเอิญจริงๆที่เข้ามาพบ เพราะสองสามสัปัดาห์ที่แล้วก็เตรียมการสำหรับงาน พัฒนาองค์การ (OD) ของ สพม.35 ไปจนไม่เข้ามาเลย เว็บไซต์ที่ทำไว้เพื่อสานต่องาน OD ด้วนส่วนหนึ่ง คือ http://boonyaras.net  ก็ยังต้องปรับปรุงอีก ท่านขัดข้องอย่างไรส่งเมล์ไปบอกได้เลยครับ [email protected]  ผมกำลังเป็นเว็บมาสเตอร์ฝึกหัดครับ  แต่ก็มีคุณเอ็มที่เขาสอนผมคอยช่วยเหลืออยู่ด้วย ส่วนทีมเวอร์ของผมวันนี้ก็ได้รับการอบรมจากคุณเอ็มไปแล้วหนึ่งรอบครับ

วันนี้ วันที่ 9 มีนาคม 2554 ผมได้รับคำเชิญ้จากโรงเรียนห้องสอนศึกษาให้ไปพูดคุยกับคุณครู เรื่อง การจัดกระบวนการเรียนรู้ ก็ได้ชวนคุยในเรื่อง การใช้แหล่งเรียนรู้ แลหาสื่อ ICT มาเยอะๆ มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ตามมาตรฐาน และตัวชี้วัด ไม่ใช่การเขียนขั้นตอนการสอนไว้สวยๆ แล้วไปหาแหล่งเรียนรู้ หรือสื่อภายหลัง และลงท้ายด้วยไม่ได้ใช่สื่ออะไรเลย และการทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่เด็กๆได้เรียน ได้คิด วิเคราะห์สังเคราะห์มากกว่าครูบอกความรู้    รวมทั้งการสอนที่เริ้มด้วยการข้อสอบคิดวิเคราะห์ มาถอยหลังไปกำหนดขั้นตอนการสอนแบบลึกๆ  แล้วลงท้ายด้วยการที่นักเรียนทำข้อสอบได้

นี่คือประเด็นหลักๆ ที่พูดคุยกัน ใช่ไหมครับชาวห้องสอนศึกษา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท