ผู้ให้คำปรึกษาแบบไม่เป็นทางการ


บุคลิกผู้ให้คำปรึกษา การเข้าถึงง่าย ยินดี เต็มใจ รับฟัง และช่วยเหลือ

การให้คำปรึกษาจะต่างกับการแนะนำและการสอนตรงเรื่องอำนาจการตัดสินใจจะอยู่ที่ ผู้มารับคำปรึกษา มิใช่ผู้ให้คำปรึกษา

ในฐานะที่เราทำหน้าที่เป็นผู้บริหารทางการพยาบาล ตำแหน่งต่างๆ เช่น หัวหน้าตึก ผู้ตรวจการพยาบาลหรือหัวหน้าพยาบาลก็ดี หนึ่งในหน้าที่คือ เป็นที่ปรึกษา

แต่บางครั้ง ผู้ให้คำปรึกษา มักใช้มักทำตัวเป็นผู้สอนมากกว่าที่จะเป็นผู้ให้คำปรึกษา

จึงอาจทำให้ไม่มีใครที่อยากมารับคำปรึกษา เพราะอีกอย่างดูเหมือนว่ามีความเป็นทางการมากไป เรียกว่ามีมาดเกินไป จนน่าเกรงและกลัวจนไม่อยากมาปรึกษา

ลองมาใช้เทคนิคการให้คำปรึกษาที่ไม่เป็นทางการกันน่าจะดี

เราจะได้ใช้ประโยชน์มากกว่า ที่จะไปคิดว่า ทำไม่ลูกน้องไม่มาปรึกษา

ผู้ให้คำปรึกษา

1.เข้าถึงง่าย เป็นกันเอง บอกกับลูกน้องว่า หากมีอะไร "ไม่ต้องรังเรที่บอก..."

2.ให้เวลา ตอบสนองโดยเร็วให้ทันเวลา มีความไวต่อเหตุการณ์ เช่น ถามว่ามีอะไรให้ช่วยไหม๊..เรื่องนี้

3.การรับฟัง ด้วยท่าที่ที่ตั้งใจ ถ้าเข้าใจต้องบอกว่าเข้าใจ ไม่เข้าใจต้องให้เขาขยายลายละเอียด สรุปเนื้อหาเรื่องราวและย้อนกลับ ว่าเขาต้องสรุปหรือต้องการคำปรึกษาเรื่องนี้...ใช่ไหม๊ ให้เขาบอกเรา

จำไว้ว่าการให้คำปรึกษา คือ การมาแลกเปลี่ยนวิธีการจัดการ ผู้รับคำปรึกษาจะเป็นผู้เลือกวิธีด้วยตนเอง

4.ถามเขาก่อนว่าเรื่องนี้เขาคิดอย่างไร ถ้าดีแล้ว บอกให้เขามั่นใจในความคิดของเขา ถ้ายังไม่ตรงประเด็น ถามว่าจะลองรับฟังควาิเห็นของเราก่อนไไหม๊ แล้วค่อยสรุป

5.อย่าลืมคอยดูอยู่ห่างๆและให้กำลังใจ

ที่ว่าไม่เป็นทางนั้น คือ การที่พัฒนาบุคลิกให้เป็นธรรมชาติ ให้คนอยากมารับการปรึกษา พูดง่ายคือคิดถึงเรา เมื่อเขามีปัญหา จนทำให้ไม่มีช่องว่างระหว่างผู้ให้และผู้รับ

หรือเขาบอกเราว่า เมื่อมีปัญหา/เรื่อง...คิดถึงเรา นี่แหละคุณมีบุคลิกผู้ให้คำปรึกษาที่ดี

จะเพิ่มเติมประสบการณ์ของท่านมาอีกก็จะดีนะคะ่ ทุกท่านก็ต้องมีประสบการณ์เรื่องนี้ไม่มากก็น้อย

หมายเลขบันทึก: 188136เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2008 08:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 08:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

มาเรียนรู้ เป็นผู้ให้คำปรึกษา แบบไม่เป็นทางการค่ะ

ขอบคุณค่ะ ที่ให้แนวทางการดำเนินการที่เป็นประโยชน์ค่ะ

น้องแขกคะ ถ้าจะให้เห็นภาพชัด ลองนำกรณีศึกษามาเล่าเพิ่มเติมจะทำให้มองภาพทะลุปรุโปร่มากขึ้นค่ะ

สวัสดีค่ะพี่แขก

น้องอภิรดา 6จ ค่ะ เพิ่งเป็นสมาชิกใหม่ค่ะ (ลูกศิษย์พี่แก้วและพี่ไก่ค่ะ)

เข้ามาอ่านและชื่นชมผลงานเขียนของพี่แขกค่ะ..ช่วยเป็นกำลังใจให้น้องด้วยนะคะ

http://gotoknow.org/profile/apsoison/picture/30/p.jpg P

ยินดีต้อนรับสมาชิกG2K น้องอภิรดาทำได้อยแล้วู่ มีทุนเรื่องIT จะไปได้เร็ว เพียงเพิ่มเนื้อหาและเก็บประเด็นมาแลกเปลี่ยน ขอเป็นกำลังใจ และอยู่ข้างๆ มาเชียร์ค้า

แวะมาอ่านและทักทาย ได้ความรู้ค่ะ

สวัสดีคะ นู๋เกด

 เห็นว่าพยาบาล APN ผู้ป่วยเด็ก ก็ต้องให้คำปรึกษา

 เรื่องการเรียน ด้วยใช่มั๊ยคะ นอกจากที่ต้องช่วย เรื่อง การเจ็บป่วยของน้องๆ แบบนี้ต้องใช้เทคนิกการให้คำปรึกษาอย่างไรบ้าง

น่าจะต้องดูว่าเค้าให้ความสนใจเรื่องอะไรกันบ้างตามพัฒนาการของวัยใช่มั๊ยคะ

สวัสดีค่ะพี่พนอ

  • ทำงานให้คำปรึกษาค่ะ
  • มีทั้งผู้ป่วย และไม่ป่วยมาขอรับคำปรึกษา
  • จะเป็นการให้คำปรึกษาแบบไม่เป็นทางการ
  • แต่สอดแทรกในงาน และเก็บเป็นผลงาน
  • มีการติดตามเยี่ยมบ้าน หรือนัดมาใหม่เมื่อปัญหาไม่สิ้นสุด
  • มีตัวช่วย คือบุคคลในครอบครัว
  • จัดทำในลักษณะของ Family counselling (ถ้าจำเป็น)
  • แต่กำลังจะถูกเปลี่ยนงาน...เศร้า
  • ชีวิตก็เป็นเช่นนี้...

สวัสดีคะ คุณน้องสีตะวัน ดีคะ

แสดงว่าชำนาญ...จึงทำอาชีพให้คำปรึกษาได้ โดยเฉพาะเรื่อง Family counselling แต่วันนี้ ต้องมาเปลี่ยนแปลงงาน ก็คงเศร้าช่วงแรกๆ เพราะต่อไปต้องปรับใจได้ ขอให้กำลังใจคะ การเปลี่ยนแปลงที่ให้พัฒนาขึ้น.....สู้สู้

มือใหม่หัดให้คำปรึกษา

ผมพึ่งรับงานให้คำปรึกษา ผ่านการอบรมเล็กน้อยแต่ไม่ลึกซึ่ง ผมอยากทราบเทคนิดในการใช้คำพูด โดยใช้ทักษะต่างๆ ไม่ทราบว่าผมควรค้นหาจากใหน ลืมบอกไปผมทำงานที่สถานีอนามัยเป็นนักวิชาการ

สวัสดีครับ ผมทำงานด้านการให้คำปรึกษา ถือว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้ร่วมอาชีพ

สวัสดีคะ คุณ มือใหม่หัดให้คำปรึกษาและคุณชนะ

ขอบคุณมากคะที่เข้ามาเยื่ยมBlog

เรื่อง การให้คำปรึกษา แท้ที่จริง คือ การแลกเปลี่ยน ผู้ให้คำปรึกษา ไม่ควรวางตัวเหนือกว่าผู้รับคำปรึกษา เพราะเจ้าตัวจะรู้เรื่องนั้นๆและเจข้าใจตนเองมากกว่า แต่เนื่องจากเวลาที่ต้องการคำปรึกษานั้น เขาอาจอยู่ในภาวะเครียด มองทางไม่ออก อยากได้ความมั่นใจ อยากรู้ว่าการแก้ไขของคนอื่นคิดอย่างไร การตัดสินใจแก้ไขหรือจัดการต้องเป็นอำนาจของผู้รับคำปรึกษาคะ

เมื่อเราต้องให้คำปรึกษา แน่นอนเรื่องนั้นเราต้องมีความรู้ พอเพียงต้องฝึกฝนรับฟังเรื่องราวของเขาจนเข้าใจ และสามารถแลกเปลี่ยนความรู้สึก ความรู้ ประสบการณ์ ได้

ขอให้ท่านโชคดีกับงานด้านให้คำปรึกษานะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท