การประเมินผลงานระยะครึ่งวาระ(ครบรอบ 1 ปี)


การประเมินความก้าวหน้าในการดำเนินงานระยะ 1 ปี ได้นำมาซึ่งการปรับปรุงและพัฒนางานในปีที่ 2(กรรมการมีวาระ 2 ปี)

คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา มีอำนาจหน้าที่ในการ   1) กำกับดูแล สถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษา  2)จัดตั้ง ยุบ รวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษา   3) ประสาน ส่งเสริมและสนับสนุนสถานศึกษาเอกชนในเขตพื้นที่การศึกษา 4) ประสานและส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้สามารถจัดการศึกษาสอดคล้องกับนโยบายและมาตรฐานการศึกษา  5) ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาของบุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลายในเขตพื้นที่การศึกษา และ 6) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ที่ระบุไว้ข้างต้น ทั้งนี้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

 

       หลังจากผมและคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 2 ได้ทำงานมาครบ 1 ปี  ผมได้หารือกับผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา ขอให้ทำการสรุปและประเมินผลการดำเนินงานระยะ 1 ปี ซึ่งถือเป็นการเดินทางมาครึ่งทางของคณะกรรมการชุดนี้  วิธีการประเมิน ใช้วิธีการวิเคราะห์เอกสาร(Documentary Research) เอกสารที่สำคัญ คือ บันทึกการประชุม  

ผลการประเมิน  ได้สรุปภาพรวมลักษณะการทำงาน  จุดเด่น-

จุดด้อยในการดำเนินงาน พร้อมสรุปแนวทางการพัฒนาต่อเนื่องที่ควรจะเป็นในปีที่ 2 ข้อสรุปที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ใน 1 ปีแรก กิจกรรมที่ทำตามหน้าที่ข้อ 3) ไม่มีเลย และ ข้อ 4) มีน้อยมาก

       จากการประเมินครั้งนั้น  ได้มีการนำข้อมูลที่ได้ มาวางแผนพัฒนางานตามข้อเสนอแนะในรายงานหลายประการ  ที่สำคัญ เช่น  ได้จัดให้มีการสัมมนาร่วมระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กับคณะกรรมการ เพื่อร่วมวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของเขตพื้นที่ให้มีความเป็นเลิศต่อไป(สัมมนาเมื่อ 22 เม.ย. 51)  ซึ่งในทัศนะของผม ผมเชื่อว่า การสัมมนาเมื่อวันที่ 22 เม.ย.51 จะนำมาซึ่งโครงการและกิจกรรมที่สำคัญ ๆ ในโอกาสต่อไป อีกมากมาย(แม้จะหมดวาระของคณะกรรมการชุดนี้) 

หมายเลขบันทึก: 182008เขียนเมื่อ 12 พฤษภาคม 2008 23:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ข้อเสียคือสำนักงานเขตคือ สรุปแต่ ไม่ได้เอาข้อดีข้อเสียไปปรับใช้ เป็นการรายงานตามระบบราชการ อยากเห็น สพท ที่วางระบบดีๆๆมีการวิเคราะห์จุดเด่นจุดด้อยของ สพท แล้วปรับปรุงการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพครับ...

  • ขอบคุณมาก อ.ขจิต  
  • บ้านเรา มีจุดอ่อนดังที่อาจารย์ปรารภ  ในวงจร P-D-C-A(Plan   Do  Check  Action/Adjust)  บางแห่งทำแค่ Plan   กับ Do    บางแห่งมีการเช็ค พอเป็นพิธีแล้วก็รายงาน เราไม่ติดนิสัยในเรื่องการนำข้อมูลจากการประเมินมาใช้เพื่อการปรับปรุงงาน
  • การประเมินของ สมศ.(สำนักรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา)   หลังจาก สมศ.กลับ และเราทราบแล้วว่าได้เกรด 3-4 ทุกตัว  เขาได้ชี้จุดเด่นหลายตัวว่าควรปรับเพื่อสู่ความเป็นเลิศ แต่ส่วนใหญ่ เราจะ Action ช้าครับ   หรือในกรณีที่ Comment ว่ามีจุดอ่อนหรือจุดที่ควรปรับปรุงหลายประการ  เราก็ปรับช้าเช่นกัน   อาจเป็นเพราะว่าเราไม่เคยชินกับตัว "A" แบบติดนิสัย
  • มีเรื่องน่าชื่นชมครับ ในเรื่อง การ Action กล่าวคือ หลังจากทราบผลการสอน NT วิชาต่าง ๆ(ประกาสผลเดือนเมษายน)  เมื่อวันที่ 5-6 พ.ค.ที่ผ่านมา  สพฐ.ได้จัดสัมมนาในหัวข้อ  "เราจะนำผลการสอบระดับชาติ (NT) ไปใช้วางแผนพัมนาคุณภาพการศึกษาได้อย่างไร" นี่เป็นตัวอย่างที่ดีในการขับเคลื่อน(Action) หลังจากการประเมิน(Check) ท่านเลขาธิการ สพฐ คุณหญิง กษมา ขึ้นเวทีให้ข้อคิดเองเลยครับ

สวัสดีครับ ท่านอาจารย์ ดร.สุพักตร์ ที่นับถือ

       ขออนุญาต ลปรร ด้วยครับ   เรื่องของ PDCA

      จากประสบการณ์ส่วนตัวของผมเอง  ที่ผมเป็นทั้งสายผู้สอน และ สายบริหาร  ผมมักจะพบว่า  อย่างดีที่สุด ก็แค่ PD  ครับ  ส่วน C ก็มักจะทำเป็นเอกสารสรุปเป็นเล่มมีไว้ให้ตรวจ  ดังนั้น ตัว A  แทบไม่ต้องพูดถึงครับ  แต่ก็ยังดีนะครับ ที่มี PD  บางที่มี P ตัวเดียวแล้วก็จบเลย ที่เรียกว่า แพลนนิ่ง คือ แพลนแล้วก็นิ่ง  ตอนนี้ หลายที่ก็ยังเป็นอยู่ครับ คือ P ตัวเดียว 

      อีกเรื่องหนึ่งครับ เรื่อง NT  ผมก็มีโอกาสได้รับฟังท่าน ดร.กษมา  กล่าวไว้เมื่อวันที่ 27 เมษา ที่ผ่านมา ท่านเน้นย้ำเรื่องนี้มากครับ   แต่บางครั้งมันก็ลงไปไม่ถึงครูผู้สอนครับ

                               ขอบคุณครับ

  • ขอบคุณครับ คุณ small man ที่ร่วมแสดงความคิดเห็น
  • ในเรื่องจะถึงครูหรือไม่  ผมว่าคงจะต้องเริ่มกันที่การจัดสัมมนาระดับกลุ่มสาระ ในแต่ละโรงเรียน  แล้วร่วมวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก เช่น ผลการสอบ NT วิชาวิทยาศาสตร์ โรงเรียนเราเป็นอย่างไร สูงกว่าหรือต่ำกว่าค่ากลางประเทศ  ห้องเรียนใด หรือนักเรียนกลุ่มใดได้คะแนนสูงสุด หรือต่ำสุด  สอนโดยใคร  ทำไม่จึงเป็นเช่นนั้น   แล้วค่อยตั้งเป้าหมายในปีต่อไปครับ
  • ติดตามเพื่อสั่งสมและปรับใช้ครับ
  • รู้สึกชัดว่า ได้รับอานิสงส์จากการติดตามบล็อกนี้จริง ๆ
  • ขอบคุณครับ
  • ขอบคุณมากครับท่าน ทนัน
  • ผมเองคาดหวังกับกรรมการสถานศึกษาและกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาในยุดที่ 3 มาก ๆ เลยครับ(ผมหมายถึงกรรมการชุดต่อไป ซึ่งจะเป็นชุดที่ 3 น่าจะมีการเริ่มสรรหาประมาณเดือนมิถุนายน 2551 นี้ ) ถ้าเรามีโอกาสได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ผมคิดว่ากรรมการทุกเขตพื้นที่คงจะมีบทบาทในการสร้างมูงค่าเพิ่มให้แก่การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในระดับเขตพื้นที่มากขึ้นครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท