คนมองไม่เห็นใช้คอมพิวเตอร์อย่างไร


คอมพิวเตอร์ธรรมดาแต่คนไม่ธรรมดาค่ะ เพราะนี่คือ"เด็กพิเศษ"

หลายๆครั้ง ผู้เขียนจะเจอคำถาม  ว่าลูกๆของ DSS@MSU

  • ใช้คอมพิวเตอร์อย่างไร  
  • ใช้อินเตอร์เน็ทได้หรือ    เล่นmsn ยังไง  เขียน blog เองได้ด้วยหรอ
  • ส่วนเรียนอย่างไรไม่ค่อยมีคนถามเท่าใดนัก  แต่จะเจอคำถามว่าสอบอย่างไร  และอาจารย์ตรวจข้อสอบอย่างไรมากกว่า

  วันนี้เลยจะมาเล่าให้กัลยาณมิตร  อ่านกันพอสังเขปนะคะ  

          เมื่อกล่าวถึงการใช้งานคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะโดยผู้ใดก็ตามนั่นหมายถึงการทำงานกับคอมพิวเตอร์ใน 2 องค์ประกอบหลักได้แก่

การอ่าน หรือการรับรู้ข้อมูลที่ปรากฏบนหน้าจอ หรือปรากฏบนอุปกรณ์ต่อเชื่อมอื่น ๆ

ป้อนคำสั่งหรือข้อมูลเข้าเครื่องโดยผ่านทางแป้นพิมพ์หรือ Pointing Device เช่น Mouse list end 

Ict-blind

          แม้การมองไม่เห็นตำแหน่งต่าง ๆ บนหน้าจอจะทำให้เกิดอุปสรรค ในการใช้ Pointing Device แต่คนตาบอดก็สามารถใช้การป้อนข้อมูลหรือคำสั่งผ่านทางแป้นพิมพ์ได้ โดยจะใช้การพิมพ์แบบสัมผัส( การจดจำตำแหน่งของแป้นพิมพ์ ) สำหรับแป้นพิมพ์ที่ใช้ก็เป็นแป้นพิมพ์ปกติของคอมพิวเตอร์ โดยไม่ต้องมีการออกแบบเพิ่มเติมหรือปรับปรุงให้มีลักษณะเฉพาะแต่อย่างใด คอมพิวเตอร์ที่คนตาบอดใช้นั้นก็ไม่ต้องเป็นคอมพิวเตอร์ พิเศษอะไรเลยค่ะ  ใช้เครื่อง PC หรือ notebook  ธรรมดาที่คนทั่วๆ ไปใช้กันนี่แหล่ะค่ะ เพียงแต่ว่าขอให้มี ram เยอะๆนิดนึง   ถ้าแยกการ์ดจอและการ์ดเสียงจะดีมากค่ะ  ( ส่วนมากปัจจุบันมักจะ on board กัน ) และที่สำคัญที่สุดก็คือ  โปรแกรมช่วยสำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการเห็นค่ะ <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">นอกจากมีโปรแกรมพื้นฐานอย่างพวก Office แล้ว ต้องมีโปรแกรมช่วยอื่นๆ ที่ต่างไป ตามความต้องการของแต่ละคน </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt 72pt; text-indent: -18pt; tab-stops: list 72.0pt" class="MsoNormal">·        คนตาบอดจะมีพระเอกคือ  โปรแกรมอ่านจอภาพ ( screen reader ) </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt 72pt; text-indent: -18pt; tab-stops: list 72.0pt" class="MsoNormal">·        คนที่มีสายตาเลือนราง ( low vision ) ก็มีพระเอกคือ โปรแกรมขยายหน้าจอ ( magnifier ) เข้าไปเพื่อช่วยขยายสิ่งต่างๆ บนหน้าจอให้ใหญ่ขึ้น ( เหมือนแว่นขยายค่ะ )  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">โปรแกรมอ่านจอภาพนั้นมีหลายภาษา ทั้งไทย อังกฤษ สเปน ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น ฯลฯ แต่ละชาติก็พัฒนาปรับปรุงโปรแกรมอ่านจอภาพในภาษาของตน แต่ภาษาที่ใช้มากที่สุดก็ภาษาอังกฤษ ซึ่งก็มีด้วยกันหลายโปรแกรมของหลายบริษัท  แต่คนส่วนใหญ่ทั่วโลกจะใช้โปรแกรมJAWS  for windows ( ต้องซื้อ )  ซึ่งลุงจอวส์ เป็นฝรั่งค่ะจะรู้จักแค่ภาษาอังกฤษ ดังนั้น เด็กๆจะต้องใช้  โปรแกรมตาทิพย์ ด้วยค่ะ ( ฟรีแวร์สำหรับคนตาบอดไทย )  เป็นโปรแกรมสังเคราะห์เสียงภาษาไทย (Thai text to Speech) ที่ทำให้คอมพิวเตอร์ส่งเสียงภาษาไทยได้   </p>               โปรแกรมตาทิพย์ เป็นผลงานวิจัยของ นายพุฒิพันธุ์ พลยานันท์  Puttipan Ponyanun นักวิจัยและพัฒนา Software อดีตแชมป์เหรียญเงินคอมพิวเตอร์โอลิมปิก ปี 2540 ณ ประเทศแอฟริกาใต้ โดยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากกองทุนเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ภาษาไทยสำหรับคนตาบอด / มูลนิธิราชสุดา นอกจากโปรแกรมตาทิพย์แล้ว กองทุนเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ภาษาไทยสำหรับคนตาบอดยังสนับสนุนให้มีการวิจัยและพัฒนาโปรแกรมต่าง ๆ เช่น โปรแกรมแปลงอักษรเบรลล์เป็นอักษรตัวพิมพ์ปกติ (Thai Braille Translation Software) โปรแกรมอ่านจอภาพภาษาไทย (Thai Screen Reader Software) โปรแกรม Thai OCR โปรแกรมผลิตหนังสือ Multimedia และอื่น ๆ  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">การป้อนคำสั่งหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ของคนตาบอดนั้นจะเป็นการสั่งงานจากคีย์บอร์ด โดยการใช้พวก shortcut key ที่ทางผู้เขียนโปรแกรมทำไว้ให้ ซึ่งคนทั่วๆ ไปก็สามารถใช้ได้เช่นกัน เช่น ctrl+s, ctrl+o, alt+f4, ctrl+c เป็นต้น นอกจากพวก shortcut key ทั่วไปพวกนี้แล้ว โปรแกรมอ่านจอภาพเองก็จะมี shortcut key เพิ่มเติมเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้อีกด้วย</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal"> อย่างเวลาจะอ่านทีละบรรทัดก็กดลูกศรขึ้นลง </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">ถ้าจะอ่านทีละย่อหน้าก็กด ctrl+ลูกศร </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">หรืออย่างบนหน้าเว็บก็จะมีการทำ link list ให้ (insert+f7) เป็นการรวมลิงค์ทุกลิงค์บนหน้าเว็บให้ผู้ใช้โปรแกรม JAWs ที่รู้ลิงค์ที่ตัวเองต้องการจะไปอยู่แล้ว สามารถกดตัวอักษรตัวแรกของชื่อลิงค์นั้นๆ เพื่อไปยังลิงค์ที่มีตัวอักษรนั้นๆ ขึ้นต้นได้เลย หรือถ้าจะไปที่ address bar เพื่อพิมพ์ URL ก็กด alt+d เป็นต้น ( เอ…ชักงงไหมนี่)</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">แต่...บางครั้งลุงจอวส์กับน้องทิพย์  ก็ไม่สามารถอ่านให้ฟังได้   อย่างเช่น   เวลาที่เลื่อนไปเจอรูปต่างๆ แล้วคนเขียนเว็บไม่ได้ใส่คำบรรยายภาพไว้ (alt tag) ตัวโปรแกรมก็จะไม่สามารถอ่านออกเสียงให้รู้ได้ค่ะว่ารูปนั้นเป็นรูปอะไร   แม้จะมีการรณรงค์การทำสื่อเพื่อความเท่าเทียมของ ICT แต่บรรดา webmaster น้อยคนนักจะนึกถึงเด็กๆของเราค่ะ  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">เท่านี้คงพอจะนึกออกกันใช่ไหมคะ  ว่า  ลูกๆที่นี่  ใช้อินเตอร์เน็ทกันอย่างไร   อิอิ  เรื่องเล่น msn นี่ chat กันทั้งวันค่ะ  บางคนส่ง emotion การ์ตูนน่ารักๆ เยอะกว่าคนมองเห็นอีกนะคะ   </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">ดูสิ !! ถึงเขาจะมองไม่เห็น แต่เขาก็พยายามเข้าใจและเพิ่มสีสันการสนทนากับคนมองเห็นได้ค่ะ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal"></p>           Blog นี้ยาวแล้ว  งั้นตอนต่อไปจะเล่าวิธีการเรียนและสอบของเด็กๆ DSS@MSU นะคะ 

คำสำคัญ (Tags): #at#blind#computer#dss@msu#msu-km
หมายเลขบันทึก: 161541เขียนเมื่อ 26 มกราคม 2008 17:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (31)
  • ภาษาประกิตมามากเหลือเกิน ผมแปลไม่ค่อยออกอ่ะครับน้องหนิง
  • ดีใจกับน้องๆด้วยที่ได้ใช้ IT ที่ทันสมัย

ขอเป็นกำลังใจให้ทุกๆคนครับ

อ่ะนะ  พี่สะมะนึก แซ่เฮ  อ่ะ

นานๆที ให้น้องมีสาระบ้างจิ  อิอิ  ก็ของเขามันมาจากเมืองนอกค่ะ เป็นฝรั่งเกือบทั้งนั้น  จึงไม่แปลกใจที่คนตาบอดที่เก่งภาษาอังกฤษจะเก่งและเข้าถึงสื่อการเรียนรู้ได้ไวกว่าคนตาบอดอื่นค่ะ

    เจ๋งเลยพี่ ที่บันทึกนี้คลอดออกมาเ้สียที
เผื่อจะพาน้องๆ หรือ ลูกๆของ DSS@MSU ไปออกทีวตอนปิดเทอมมั่งน่้ะ

ขอบพระคุณค่ะน้องชายนายบอนที่อยู่กาฬสินธุ์

แล้ว...อย่าหลอกให้เป็นสายบัวนะคะ  อิอิ

หนิงรักเด็ก จริงๆๆด้วย

สวัสดีคะ พี่หนิง...นางงาม (เพราะรักเด็กใช่ไหมคะป้าแดง)

เห็นความพยายามมากเลยคะ เพราะแค่ทำความเข้าใจกับวิธีการที่ต้องพิเศษกว่าคนธรรมดาก็เหนื่อยแล้ว...

เอาใจช่วยพี่หนิงและลูกๆ นะคะ

รักษาสุขภาพด้วยคะ

---^.^---

ดีจังเลยครับที่มีอุปกรณ์ดี ๆ สำหรับน้อง ๆ ได้เรียนรู้อะไรใหม่ ๆ ...

ไม่มีอะไรที่เป็นอุปสรรคเกินความพยายามของตัวเราครับ...

เป็นกำลังใจให้น้อง ๆ นะครับ...

ขอบคุณมากครับ...

  • ต้ามารับพลังที่น่าทึ่งจากพี่หนิงค่ะ
  • ปัญหาเด็กๆของต้ายังน้อยมากเมื่อเห็นการทำงานของพี่หนิง
  • ขอบคุณสำหรับสิ่งดีๆและพลังอันเข้มแข็งนะคะ
  • ขอชื่นชมค่ะ

สวัสดีครับ พี่หนิง

  • ที่ทำงานผม มีสาขาวิชา การศึกษาพิเศษ ครับ แต่ก็ไม่ทราบว่า เขาใช้เหมือนของพี่ไหม
  • ผมจะแนะนำเขาลองมาอ่านดูนะครับ

ขอบคุณครับ

  • ขอบพระคุณค่ะ ป้าแดง และ น้องพิมพ์   อิอิ อย่าชมนะคะ  อย่าชม หนิงยิ่งบ้ายออยู่ 555  ...  รักเด็กค่ะ
  • ขอบพระคุณค่ะน้องดิเรก วิศวกรทางสังคมที่พี่ชื่นชมมาก
  • ขอบพระคุณค่ะน้องต้า  พี่ว่าต้าแหละ เป็นกำลังใจให้พี่  ดูสิไม่ได้เรียนพยาบาลมา  แต่ดูแลเด็กพิเศษทั้งทริปในการไปทัศนศึกษา  อิอิ เห็นในรูปดมยากันทั้งครูและนักเรียนเลยเนอะ

เรื่องนี้ น่าคิด

  • คนตาดีไม่สนใจเรียน
  • แต่คนตาไม่ปกติ กลับสนใจมากกว่า
  • เออ ตามีไว้ทำอะไร และได้ทำอะไร ได้อะไรๆๆๆ เยอะเลย
  • ดีใจที่หนิง เอาเรื่องเหล่านี้มาถ่ายทอดไว้

 

ขอบพระคุณค่ะอาจารย์วสวัต

พี่หนิงมั่นใจว่า เป็นลักษณะและหลักการเดียวกันนะคะ  แต่จะโปรแกรมเดียวกันหรือไม่นั้น  ขึ้นกับความถนัดของผู้ใช้งานและงบประมาณค่ะ  เพราะแต่ละโปรแกรมแพงเหลือใจ  จะใช้แบบละเมิดลิขสิทธิ์ก็กระไรอยู่  อิอิ 

  • ขอบพระคุณค่ะ น้องsuksom
  • ขอบพระคุณค่ะพ่อครูขา  เด็กๆมีฝันค่ะพ่อ  พวกเรา DSS@MSU  ตั้งใจพยายามส่งเสริมและสนับสนุนให้เขาทำฝันนั้นให้เป็นจริง  อย่างเต็มศักยภาพและสามารถดำรงชีวิตอิสระ ลดภาระพึ่งพิงผู้อื่นให้เหลือน้อยที่สุดค่ะ

น่าทึ่งมากเลยค่ะ

พี่เคยไปในโรงเรียนมัธยมเห็นคุณครูใช้เครื่องคอมที่มีลักษณะพิเศษแป้นพิมพ์ก็ไม่เหมือนทั่วไป คุณครูบอกว่าพิมพ์ออกมาเป็นอักษรเบลล์ ก็เลยเข้าใจผิดว่าทุกๆคนคงใช้เครื่องแบบนั้น ขอบคุณน้องหนิงมากค่ะที่บันทึกให้ได้รู้ไปด้วย

อ๋อ ...

อุปกรณ์ต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์หรือป่าวค่ะพี่สร้อย   ถ้าใช่นั้นคงเป็น  braille display ค่ะ ( ราคาประมาณ 2 แสนบาท) 

วันนี้หนิงขอเล่าถึงการใช้คอมพิวเตอร์แบบธรรมดา กับ software เฉพาะด้านของคนมองไม่เห็น ก่อนนะคะ  ส่วนพวกอุปกรณ์พ่วง hardware นั้นจะเล่าต่อไปอีกค่ะ

นอกจากโปรแกรมที่ช่วยให้คนมองไม่เห็นใช้คอมพิวเตอร์ธรรมดาได้แล้ว  เรายังมี software ในการทำเอกสารอักษรเบรลล์ให้คนมองไม่เห็นอ่าน(สัมผัส) ด้วยนะคะพี่สร้อย  เช่น ที่ DSS@MSU ใช้งานอยู่ duxbery หรือ TBT

และ software ในการผลิตหนังสือเสียงเดซี่ เช่น

  1. Sigtuna  DAR 3
  2. Mystudio PC
  3. PRS
  4. Pipeline

หรือโปรแกรมเล่นหนังสือเสียงเดซี่

  1. Tab player
  2. playback
  3. AMIS

และโปรแกรมสำหรับอ่านหนังสือภาษาอังกฤษอีกตัวนึง ดีมากค่ะ openbook อันนี้ใช้คู่กับเครื่องแสกนเนอร์ทั่วไป  อ่านจากหนังสือเป็นเล่มหรือ ไฟล์ pdf ก็ได้ค่ะ

แหะๆ  นี่เท่าที่ใช้อยู่นะคะ  ที่อื่นอาจจะมีเยอะกว่านี้

สวัสดีครับอาจารย์หนิง

                  เก่งมากครับ...อีกหน่อยสังคมต้องยอมรับมากขึ้นเพราะเขามีความพยายามสูง คนตาดีซะอีกปล่อยปละละเลยจนตามเทคโนโลยีไม่ทันครับ

                                                   ขอบคุณครับ

ขอบพระคุณค่ะพี่ภัทร

ที่ชมว่าเก่ง นี่ชมแม่หรือชมลูกค่ะ  หรือชมโปรแกรมเมอร์  อิอิ  แต่ไม่ต้องตอบก็ได้นะคะ  แม่จะเหมาไว้เอง

หาโอกาสมีคนชมยากอ่ะค่ะ 

  • ยอดเยี่ยมและน่าทึ่งมากเลยครับ
  • ขอชื่นชมความสามารถของผู้ช่วยเหลือ และผู้พิการทางสายตาตลอดจน ผู้คิดค้นโปรแกรมด้วย ว่าทุกส่วนเป็นองค์ประกอบที่สุดยอดจริงๆ
  • แล้วคนปกติทั้งหลายที่ยังกระทำความเดือดร้อนให้กับผู้อื่นอยู่ไม่รู้สึกละอายเขาบ้างเลยหรือนี่

ขอบพระคุณค่ะปู่หลง

เอ๊...  ชมเราหรือป่าวเนี่ย...

เอ้า รับไว้ก่อนหละกัน  อิอิ  นานๆจะมีคนชมทีนี่นา

ราคา JAWS นี้ ขนพองสยองเกล้าเลยไม่ใช่หรือครับ แพงเกือบเท่าคอมพิวเตอร์ แถมออกมาแล้วเป็นสิบปี (ปรับปรุงมาเรื่อยๆ ตั้งแต่ปี 1993) ส่วนที่ค้าขายก็ได้กำไรไปมากแล้ว เลยสงสัยว่าสมควรแล้วหรือ ที่ผู้พิการทางสายตาจะเข้าถึงคอมพิวเตอร์และเครือข่ายด้วยต้นทุนที่สูงกว่าคนปกติ

ASTEC แนะนำอะไรมาบ้างหรือเปล่าครับ

รหัสสุ่มแสดงของ GotoKnow อันใหม่เป็นอย่างไรครับ ผมคิดเอาเองว่า contrast ไม่พอ และฟอนต์แคบไปครับ  

ขอบพระคุณค่ะ คุณ Conductor

ลุงจอวส์ , น้องซูม และน้องดั๊ก เป็นฝรั่ง ค่าตัวเลยสูงจริงๆแหละค่ะ  แต่...จุ๊ย์ๆ  รู้แล้วอย่าบอกใครนะคะ  ที่ DSS@MSU   มีถูกกม. ไว้ใช้งานเต็มศักยภาพ 1 user เองนะ  นอกนั้น...

เพื่อการศึกษาไม่ว่ากันเนอะ  อิอิ

และช่วง สิงหาคม 50 นั้น พี่หนิงเคยให้น้องออย oil_dss ไปอบรมโครงการพัฒนาสังคมแห่งความเท่าเทียมด้วย ICT  ตอนนี้น้องเขาก็กำลัง หัดทำเวบไซด์ให้เข้าถึงทุกคนอยู่ค่ะ 

ถ้าคุณ Conductor ไม่ชอบลุงจอวส์เพราะค่าตัวแพง หรือเสียงแก่ ก็ตาม ( อิอิ เลยเรียกกันเล่นๆว่า ลุงจอวส์ )

เดี๋ยวนี้ก็มี โปรแกรม NVDA ( none visual desktop access) นะคะ  เป็น open source Screen Reader ค่ะ  แต่ยังอยู่ในช่วงกำลังพัฒนา  เด็กๆที่นี่เลยยังไม่ค่อยชอบใช้เท่าไหร่คะ

ขอบคุณคุณหนิิงสำหรับข้อมูล NVDA ครับ ทำไมเด็กไม่ชอบล่ะครับ หรือว่าเสียงไม่แก่พอ  

ขอความเห็นเกี่ยวกับรหัสสุ่มแสดงของ GotoKnow ด้วยครับ หรือว่าไม่มีปัญหาแล้วเพราะเด็กไม่ใช้ ฮ่าๆๆๆๆๆ 

อิอิ  อยากจะบอกว่า   ...

ถ..ถ..ถูกต้องแล้วค้าบบบบบบบบ  เขาใช้งานยากค่ะ 

ไม่เป็นไรหรอกค่ะ

รอไว้ว่า  ถ้า G2K นิ่งๆ  หรือ เอื้อการใช้งานเข้าถึงทุกกลุ่ม  จะชวนเขามาใหม่อีกนะคะ

แต่ตอนนี้เด็กๆชอบไปที่ exteen กันค่ะ

มาบอกพี่หนิงว่า ต่อไปนี้ถ้าจะใส่ภาพในบันทึกจะพยายามเตือนตัวเองให้ใส่ tag เด็กๆ จะได้รู้ว่าเป็นรูปอะไร อ่านแล้วมีความสุขที่มีคนช่วยเหลือคนอีกกลุ่มที่ด้อยโอกาสกว่าให้มีโอกาสรับความรู้อย่างเท่าเทียมค่ะ จะช่วยบอกต่อให้กับเพื่อนๆ ที่ทำเว็บทุกคน เพราะมันไม่ได้ยากแต่บางคนอาจจะไม่เคยรู้มาก่อนว่าทำแล้วมีประโยชน์กับคนอีกกลุ่มหนึ่ง ถ้าบอกไปเขาคงจะยินดีช่วยกันค่ะ ช่วยทำและบอกต่อกันเยอะๆ ต่อไปลูกๆ ของพี่หนิงก็จะได้ใช้เว็บอย่างมีความสุขค่ะ

ปล. น้องคนที่ร้องเพลงแก้วกัลยาอยู่โบสถ์เก่าที่หนูเคยไปตอนวัยรุ่นค่ะ แล้วมาเจอน้องเขาตอนไปเป็นกรรมการตัดสินการประกวดของเยาวชนคริสต์ มีทั้งผลิตสื่อ วงดนตรี และร้องเพลง ตอนที่น้องขึ้นมาร้องหนูไปพักกินข้าวเพราะตัดสินส่วนของเราจบแล้ว แต่ทนกินให้เสร็จไม่ได้เพราะได้ยินเสียงร้องที่เพราะมาก กลัวกินเสร็จแล้วร้องจบพอดี เลยชวนกรรมการคนอื่นเดินจากห้องกินข้าวด้านหลังเวทีมายืนแอบดู เสียงน้องเขาเพราะมาก ใสเหมือนแก้ว สะกดให้คนนิ่งกันทั้ง hall ไม่มีอะไรนะคะ แค่อยากเล่าความประทับใจนี้ให้ฟัง หลายปีมาแล้วยังจำได้แม่นอยู่เลย

ขอบคุณมากนะคะ น้องซูซาน

ถ้าเวบมอนสะเต้อ  เอ๊ย..เวบมาสเตอร์ทุกคนคิดแบบนี้บ้าง  เด็กๆคงสนุกในการท่องอินเตอร์เน็ทเหมือนเราเนอะ

ที่พี่ทำงานบริการสนับสนุนนิสิตพิการนี่  ก็เพราะพี่ประทับใจในตัวนิสิตตาบอดค่ะ  เลยอยากทำอะไรเพื่อช่วยเหลือเขา และอยากให้เขาเรียนหนังสือสนุกกันขึ้นอ่ะค่ะ

ขอบพระคุณค่ะน้องเก่ง DSS@CMU

ยินดีต้นรับสู่เวทีเสมือนจริง G2K นี้นะคะ  ขอให้สนุกกับการ ลปรร นะคะ

สุพัตรา หัตถคุณ (ตู่)

อยากเรียนรู้วิธีสื่อสารทางเน็ตกับคนพิการทางสายตา หรือเริ่มต้นเป็นอาสาสมัครไม่รู้จะเริ่มต้นที่ไหนอย่างไร ยังต้องทำงานประจำอยู่ ขอคำแนะนำด้วยคะ

สวัสดีค่ะ คุณสุพัตรา หัตถคุณ (ตู่)

ขอบพระคุณนะคะที่รู้สึกอยากแบ่งปันกับผู้พิการ

คุณอยากเป็นอาสาสมัครหรอคะ  ไม่ทราบว่าอยู่จังหวัดไหนคะ
จะได้แนะนำได้ถูกค่ะว่าใกล้ที่ไหนไปที่นั่น   จะได้สะดวกกับคุณเอง

หรือไม่ก็มีอีกหลายวิธีค่ะ  อยู่บ้านก็สามารถอ่านหนังสือเสียงได้ค่ะ  แต่อย่างไรคุณก็ต้องเข้ารับการอบรมด้วย  จะได้รู้วิธีว่า  จะต้องอ่านอย่างไรอ่ะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท