ผู้รู้รอบหรือผู้ชำนาญการ


บันทึกนี้ เขียนให้คุณพรายตนที่หนึ่ง ซึ่งแอบมาอ่านบล๊อกคนเป็นนายนี้อยู่เรื่อยๆ และกำลังจะไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ ขออวยพรให้ประสบความสำเร็จดังใจปรารถนาครับ

ในชีวิตการทำงานของคน ต่างก็มีความก้าวหน้าที่ไม่เหมือนกัน และเป็นไปด้วยอัตราที่ไม่เท่ากัน และจะมีอยู่อย่างน้อยหนึ่งครั้ง ที่จะต้องตัดสินใจว่าจะเป็น ผู้รู้รอบ (generalist) หรือผู้ชำนาญการ (specialist)

ในมุมขององค์กรนั้น จะต้องมีบุคลากรทั้งสองแบบ เนื่องจากคนทั้งสองแบบมีคุณค่าต่อองค์กรที่ต่างกัน และมักทดแทนกันไม่ได้อย่างสมบูรณ์ คนทั้งสองแบบ เหมาะสำหรับงานต่างมิติกัน องค์กรจะไม่มีความหลากหลายเพียงพอที่จะยืนอยู่ได้หากมีคนเพียงด้านเดียว ต่อให้มีความเป็นเลิศ เป็นผู้ชำนาญการในด้านใดด้านหนึ่ง ก็ยังต้องมีความสามารถในการเปลี่ยนเอาสิ่งที่เป็นเลิศให้เป็นประโยชน์สำหรับตนเองและผู้อื่น (เป็นผู้ชำนาญการในทางการ "ขาย") และต้องมีคนอีกกลุ่มหนึ่ง คอยจัดการให้องค์กรยังสมารถแสดงความเป็นเลิศอยู่ได้ (เช่นเป็นผู้รู้รอบทางด้านการจัดการ และลักษณะงานอื่นๆ)

รูปด้านข้างนี้ นิยามผู้รู้รอบ (generalist) ไว้ว่า Generalists have a basic understanding across many disciplines. While they may not have the specific expertise to solve a problem, they are less subject to the bias that comes with specialization. Generalists are best when DEFINING the problem or goal.

ส่วนผู้ชำนาญการ (specialist) มีนิยามว่า Specialists have a deep understanding of a specific discipline or field of knowledge. This makes them very adept at solving problems or delivering results when their field is well-adepted to the cause. However, a specialist may tend toward tho bias that the solution to a problem is best solved with their field os speciality. For example, a surgeon may be more likely to recommend surgery because that's what he knows. (ถ้าแพทย์ฝรั่งคิดอย่างนี้จริง ก็เป็นเหตุผลที่ดีมากที่ให้แพทย์ไทยรักษาเวลาเจ็บป่วย) Specialists are best wed when SOLVING the problem or EXECUTING THE PLAN.

ในชีวิตการทำงานของคน ถ้าหมั่นพัฒนาฝึกฝนตน ทำการงานด้วยอิทธิบาท ๔ ดำรงวิถีชีวิตอยู่ในจักร ๔ ก็จะแสวงหาความก้าวหน้าได้ง่ายขึ้น

แต่ถนนที่เป็นเส้นตรงเป็นระยะยาวๆ แทนที่จะขับขี่ได้อย่างปลอดภัย กลับไม่ใช่ ถนนยิ่งตรง ยิ่งยาว ก็ยิ่งเบื่อง่าย ยิ่งมีโอกาสหลับในง่าย เช่นเดียวกับการทำงาน คงเป็นไปไม่ได้ที่เราจะทำอยู่อย่างเดียว เหมือนขับรถอยู่บนถนนไปเจ็ดวันโดยไม่เลี้ยวไปไหนนะครับ

คนทำงานก็เช่นกัน หากไม่มีความรู้ ความชำนาญอะไรเลย คงไม่เข้าตาใคร (ที่จริงอาจจะไม่ได้โอกาสทำงานด้วยซ้ำ ถึงมั่วหลุดเข้ามาได้ ก็คงอยู่ได้ไม่นาน) แต่เมื่อหน้าที่การงานเจริญก้าวหน้าขึ้น หากยังไม่เข้าใจว่าบทบาท/หน้าที่เปลี่ยนแปลงไปแล้ว แต่ยังทำเหมือนเดิม เหมือนคิดว่าสิ่งที่เคยทำมานั้นเป็นสูตรของความสำเร็จ เมื่อหน้าที่การงานเติบโตขึ้น กลับมีโอกาสสำเร็จน้อยลง เป็นอาการเสียสองเด้ง คือองค์กรเสียพนักงานที่ดีไปแต่ได้หัวหน้าที่ห่วยมาแทน (บันทึกเก่า: เลื่อนตำแหน่ง: สามไม่)

บุคลากรที่มีค่าต่อองค์กร จึงต้องมีทั้งคุณลักษณะของผู้รู้รอบและผู้ชำนาญการไปพร้อมๆ กัน; เป็นไปได้ยากที่จะเลือกเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวแล้วประสบความสำเร็จ

อย่างไรก็ตาม  มักจะมีข้อสรุปอยู่เนืองๆ ว่าผู้บริหารเป็นผู้รู้รอบ (ผมจงใจไม่ใช้คำว่า "ผู้รอบรู้" หรือ "รู้ไปหมด" เพราะคิดว่าไม่ตรงกับลักษณะของผู้บริหารที่ดี) ส่วนพนักงานเป็นผู้ชำนาญการ ข้อสรุปง่ายๆ แบบนี้กลับเป็นอันตราย  และมีโอกาสผิดสูง

จิตใจ และสมองคน มีความซับซ้อน ดังนั้นการมองคนทำงานจึงไม่สามารถมองในมิติเดียวได้ บางองค์กรมี "ตำแหน่ง" ผู้ชำนาญการ มีพนักงานบางคนเลือกเดินในสายผู้ชำนาญการ เป็นหน้าที่ของผู้บริหารที่จะมองให้เห็นเนื้อแท้ของทักษะความสามารถของพนักงานแต่ละคน และเปิดโอกาสให้พนักงานทุกคนสามารถเปล่งประกายได้ โดยไม่ขึ้นกับตำแหน่งงาน แม้พนักงานไม่เลือกเดินในสายผู้ชำนาญการ ก็ไม่ได้หมายความว่าเขาไม่มีทักษะความชำนาญที่เด่นเป็นพิเศษ

หากเข้าใจประเด็นนี้ได้ ก็จะช่วยให้เข้าใจความสามารถที่แท้จริงของพนักงานแต่ละคน ช่วยให้เขาเกิดความภูมิใจในงานด้วยการมอบหมายความรับผิดชอบในส่วนที่เขามีทักษะดี ในขณะเดียวกัน องค์กรก็จะได้ผลลัพธ์ตามต้องการครับ

การเรียนรู้คือการลงทุน สิ่งที่มีค่ามากกว่าสิ่งที่ผู้สอนหรือหนังสือบอกเรา คือกระบวนการเรียนรู้ ความรู้ไม่มีความหมายหากไม่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตของเรา ต่อยอดความรู้ เข้าถึงความหมายของความรู้ ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและต่อผู้อื่นได้

ถ้ามีโอกาสได้เรียน+มีความพร้อมที่จะเรียน ก็ควรเรียนครับ คุณค่าของคนไม่ได้อยู่ที่ความรู้เพียงอย่างเดียว แต่ควรเป็นความรู้ที่เป็นรากฐานที่จะสร้างประโยชน์ได้ครับ

หมายเลขบันทึก: 126339เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2007 18:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 22:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (24)

ขอบพระคุณครับ
    เห็นเช่นนี้มานาน แต่การอธิบายยังไม่อาจทำได้แจ่มชัดเท่านี้ ... ผมเคยใช้คำว่า "กว้าง" กับ "ลึก" ครับ
    หากคนหนึ่งคนคือดินน้ำมัน 1 ก้อนเท่าๆกัน ก็มีสิทธิ์ที่จะ ทำให้แผ่กว้าง ขยาย คลุมพื้นที่มากๆได้ แต่ต้องยอมรับว่า ยิ่งกว้างมาก ก็ยิ่งบางมาก หรือหากจะปั้นให้เป็นแท่ง เป็นแกนยาว ให้หยั่งลึกลงไปในช่องว่าง ก็ทำได้ แต่ ยิ่งยาวก็ยิ่งแคบและบอบบาง เช่นกัน
    โดยส่วนตัวคนเดียว ผมเลือกที่จะทำโลกการเรียนรู้ของตัวเองให้แผ่กว้างไปตามสมควร และ ทำความลึกในบางเรื่องเท่าที่จะใช้ประโยชน์ได้  จะไม่ยอมให้กว้างเกินพอดี และลึกเกินจำเป็นครับ .. แต่ถ้าหลายคนรวมกันเป็นองค์กร ก็อีกเรื่องหนึ่งครับ
   

 สวัสดีครับท่านConductor  

  • เข้ามาอ่านบันทึกของท่านแล้ว  รู้สึกว่าได้ความรู้ขึ้นมาอีกเยอะเลยครับ
  • แต่ภาษาต่างประเทศ แปลไม่ค่อยออก อ่านได้อย่างเดียว
  • เมื่อครู่แสดงความคิดเห็นไปครั้งหนึ่ง ขึ้นมาว่าหาบันทึกไม่พบ งงๆ อยู่นิดหน่อยครับ

ขอบคุณครับ

ขอบคุณมากๆ ครับ ได้เรียนรู้อะไรจากคุณ Conductor มากมายเลยทีเดียว
ดิฉันเป็นได้แค่ generalist :)   

ขอบคุณทุกท่านที่กรุณามาแลกเปลี่ยนครับ

บล๊อกอันนี้เป็นเรื่องความคิดในการบริหารจัดการองค์กร (ซึ่งอ่านไม่ยากแต่ทำใจยาก เพราะค่อนข้างกวนประสาท+ขัดแย้งกับเรื่องที่เชื่อกันโดยทั่วไป ;-) มีคนอ่านและมีลิงก์มาจากนอก GotoKnow มากกว่าใน GotoKnow เสียอีก -- มักจะมาอ่านกันในวันทำงานครับ

คราวนี้หนีมาเขียนค่ำวันเสาร์แต่ hit meter ก็ขึ้นเร็วจนน่าแปลกใจนะครับ ปกติจะขึ้นถึงร้อยในเวลา 2-3 วันทำงาน

อาจารย์ Handy: ผมคิดว่าคำว่ากว้างกับลึก ก็ชัดเจนดีนะครับ

ตัวอย่างของการเปรียบเทียบด้วยก้อนดินน้ำมันนั้น ผมเข้าใจความหมายของอาจารย์ครับ ว่าถ้าเลือกลงลึกในแขนงใดแขนงหนึ่ง ก็อาจเสียภาพวงกว้างไปบ้าง เพราะไม่มีใครที่จะรู้ลึกไปได้หมดทุกอย่าง

ผมอยากเรียนเสนอว่าสมองมีความมหัศจรรย์ครับ เรียนรู้ได้เท่าที่พื้นฐานของเราจะอำนวย และถ้าเราพยายามจริงๆ

หลายปีก่อน ผมเคยป่วยหนักแล้วลืมวิธีจับส้อมครับ! นั่งกินข้าวแบบงงๆ ว่าจะทำอะไรกับส้อมดี หมอเคยบอกว่าชาตินี้คงจะพิมพ์ดีดอีกไม่ได้ การใช้ภาษาจะไม่ดีเหมือนเดิม แต่สมองเรียนรู้ได้ครับ สร้างสิ่งทดแทนได้บ้าง ถึงไม่เหมือนเดิมเสียทีเดียว แต่ก็เรียนรู้ใหม่จนใช้งานได้ครับ

ประสบการณ์ครั้งนั้นสอนผมหลายเรื่องเกี่ยวกับชีวิตครับ คิดว่าโง่น้อยลงในหลายเรื่องเพราะมีเวลาได้นอนคิดจริงๆ

คุณสะ-มะ-นึ-กะ: เรื่องบันทึกหาย ไม่แน่ใจว่าเกิดอะไรขึ้นนะครับ แต่เมื่อคลิกบันทึกแล้วเกิด error ขึ้น อย่าตกใจครับ ให้กด Back ถอยหลังมา ข้อความที่พิมพ์ไว้น่าจะยังอยู่ครับ copy ข้อความเอาไว้

จากนั้นกลับไปที่หน้าบันทึกด้านบน ใต้ชื่อ Conductor และเหนือเส้นทางหลัก จะเห็นที่อยู่ของบันทึกเป็น home / blog / beingaboss / หมายเลข

ตรงนี้ให้ คลิกขวา ตรงหมายเลขเพื่อเปิดลิงก์ในหน้าต่างใหม่ (Open Link in New Window) จะเห็นตัวบันทึกปรากฏขึ้นในหน้าต่างใหม่

คลิก กดที่นี่เพื่อเพิ่มความเห็น คลิกไปบนหน้า pop-up ที่เกิดขึ้นใหม่ครั้งหนึ่ง แล้วจึงสั่งวาง (paste หรือ Ctrl-V) ข้อความลงไปได้ครับ ไม่ต้องพิมพ์ใหม่

คุณพราย1: สิ่งใดที่คุณได้ไปนั้น เป็นไปด้วยศักยภาพของตัวเองครับ -- หลายๆ คนผ่านประสบการณ์เดียวกันแต่เก็บเกี่ยวอะไรไปได้ไม่เท่ากัน เช่นในห้องเรียนก็มีทั้งที่ได้ A และไม่ได้ A

ผมยินดีด้วยครับ (อย่าถามเกรด ควรประเมินตัวเอง)

คุณ [ minisiam ]: เป็นอะไรก็ได้ ให้เหมาะกับตัวเอง และให้ได้เลือกเองดีกว่าครับ อย่าไปสนใจมากนักเลยครับ ว่าใครจะจัดเราเป็นอย่้างไร

สวัสดีค่ะคุณConductor

ดิฉันชอบอ่านเรื่องที่คุณConductor "เล่า"ให้ฟัง  เพราะเรื่องที่เล่า เป็นเรื่องที่ได้เชื่อมความรู้ กับการนำความรู้นั้นไปปฏิบัติแล้ว  แล้วก็นำมาเล่าสู่กันฟัง...  อย่างผู้ที่ลงมือ"ทำจริง" และ"รู้จริง"

ในโลกของการทำงานที่(จำเป็นต้องเติบโตขึ้น)นั้น ไม่มีใครจับมือเราสอน  เมื่อยังเป็นผู้น้อย  ผู้ใหญ่อาจสอนเรา  แต่เมื่อเราเริ่มเป็นผู้ใหญ่  เราต้องเรียนรู้เองจากผู้ใหญ่(กว่า)รอบข้าง  ความรอบรู้จึงจำเป็นอย่างยิ่ง  ดิฉันได้บทเรียนจากการมีความรู้น้อย  และการไม่ค่อยรอบรู้อยู่เนืองๆ 

ดิฉันได้ข้อคิดในการ (เรียนรู้ที่จะเพียรพยายาม) เป็นผู้ใหญ่ที่ดี และได้เรียนรู้สิ่งดีที่มีคุณค่าต่อชีวิตมากมาย    จากข้อเขียนของคุณConductor  และรู้สึกขอบพระคุณอยู่เสมอ

คุณConductorเป็นผู้ใหญ่ที่ดิฉันเคารพมากท่านหนึ่งในโลกการสื่อสารแบบผู้ใหญ่นี้นะคะ 

สวัสดีครับ

รู้แล้ว ชำนาญแล้ว เชี่ยวชาญแล้ว มีทักษะแล้ว กรุณาบอกต่อ สอนต่อ เพื่อช่วยให้เกิดการต่อยอด แตกกิ่งความรู้ ครับ

ขอบคุณอาจารย์แอมป์กับอาจารย์เพชรากรครับ

อาจารย์แอมป์: กาลครั้งหนึ่ง นานมาแล้ว ในช่วงที่เริ่มทำงาน ผมเคยเป็นเหมือนศิราณีประจำบริษัทครับ ก็เลยได้เห็นเรื่องราวจากชีวิตของคนอื่น เป็นวิธีเรียนลัดสำหรับประสบการณ์ชีวิตครับ (บันทึกเก่า: กัลยาณมิตร หนังสือ และการเรียนรู้ต่อเนื่อง)

ในแต่ละวัน คนเรามีเรื่องราวต่างๆ ผ่านเข้ามามากมาย แต่ใครเลือกหยิบอะไรไปใช้ได้ เป็นความสามารถเฉพาะตัวครับ สามารถฝึกได้ ส่วนจะฝึกหรือไม่ หรือได้ผลอย่างไรนั้น ก็คงเป็นเรื่องเฉพาะตัวเช่นเดิมครับ

ตอนนี้ เมืองไทยจัดเป็นสังคมของผู้สูงอายุตามนิยามของสหประชาชาติแล้ว คือมีจำนวนประชากรเลยวัยเกษียณอายุเกินกว่า 10% ในอีกสิบห้าปีข้างหน้า ตัวเลขนี้จะเพิ่มเป็น 20% ครับ -- ถึงตอนนั้น อายุผมก็ยังไม่เลยวัยเกษียณ ซึ่งคงจะขยับขึ้นไปจาก 60 ปีแล้ว หวังว่ายังมีคนเห็นค่าให้ทำงานอยู่ การจัดสวัสดิการของรัฐเพื่อผู้สูงอายุ จะเป็นภาระเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก (บันทึกคุณหมอนนทลีซึ่งเขียนได้ดีมาก: รวมเรื่องเล่า "เตรียมพร้อมสู่สังคมผู้สูงอายุ" ที่รัฐสภา และข้อเขียนจาก Thailand Forum)

ยิ่งกว่านั้น อัตราการเกิดลดลง ขนาดของครอบครัว ลดลงจาก 4 เหลือ 3 ทำให้ลูกหนึ่งคน ต้องมี productivity เท่ากับพ่อ+แม่ จึงจะสามารถ maintain productivity ของประเทศไว้ในระดับปัจจุบันได้ อันนี้จะเป็นปัญหาหนักในอนาคตครับ เราไม่มีเวลาจะเสียไปกับเรื่องเหลวไหลอีกแล้ว ต้องรีบทำในสิ่งที่ต้องทำ และสร้างคนรุ่นใหม่ขึ้นมา 

อาจารย์เพชรากร: ผมมีบล๊อกใช้ในบริษัทมานานแล้วครับ แต่มาที่ GotoKnow ด้วยวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน+มีกลุ่มเป้าหมายชัดเจนครับ บันทึกของผมไม่ใช่การสอน และไม่ค่อยมีเรื่องเจ๊าะแจ๊ะ ทั้งนี้ไม่ใช่เพราะผมเป็นคนซีเครียด หรือฟอร์มจัด แต่เป็นเพราะมีเรื่องที่ต้องทำเยอะครับ ไม่ค่อยมีเวลา ผมขอใช้วิธีเขียนความคิดทิ้งเอาไว้นะครับ ส่วนท่านผู้ใดอยากนำไปใช้  ก็ตามสบายครับ

ขอนำเอา "เกี่ยวกับบล๊อก" มาเติมไว้ตรงนี้อีกทีครับ

การเป็นนายคน คือความรับผิดชอบ เมื่อมีลูกน้องแล้ว ก็ต้องเข้าใจว่ามีคนฝากผีฝากไข้ไว้กับตัวเรา ความสำเร็จของหน่วยงาน เป็นผลประโยชน์ร่วมกันของทุกคน

งานของนายจึงไม่ใช่เรื่องของตัวคนเดียวอีกต่อไป ความคิดของนาย กระทบต่อคนอื่นโดยนัยอันนี้ ตำแหน่งงานกับความเป็นนาย ไม่ใช่แค่ทางผ่าน

คนเป็นนาย มีอะไรที่ต้องทำอีกมากมาย นอกเหนือจากการสั่งการ
คุณภาพ-คุณค่าของคนเป็นนายนั้น มักจะวัดจากเรื่องที่ทำให้แก่คนอื่นเป็นหลัก เช่นความก้าวหน้าขององค์กร หน่วยงาน หรือลูกน้อง เมื่อไหร่ที่นายสนใจแต่เรื่องของตัวเอง นายนั้นก็หมดสภาพและศักดิ์ศรีของความเป็นนายไปในทันที

บล๊อกนี้มีอัตราการเขียนบันทึกต่ำ เนื่องจากไม่ต้องการจะฝืน เขียนเพื่อให้คิด ไม่ได้ต้องการจะให้เชื่อ หากท่านผู้อ่าน ทั้งลูกค้าประจำและขาจร สงสัยหรืออยากให้ผู้เขียนแสดงความคิดเห็นในประเด็นใด สามารถใช้เรียกบริการได้ที่ สอบถาม Conductor

บันทึกที่ปรากฏในบล๊อกนี้ เป็นงานสร้างสรรค์ที่มีลิขสิทธิ์ ผู้เขียนอนุญาตให้นำงานเขียนไปใช้-ทำซ้ำ-ส่งต่อ-เผยแพร่-ต่อยอด-ดัดแปลง และอนุญาตให้ใช้ได้ในการหาประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ตราบใดที่มีการระบุต้นทางแห่งงานสร้างสรรค์ที่ใช้ วิธีทีสะดวกที่สุดคือการเชื่อมโยงกลับมายังบันทึกต้นทาง ซึ่งเมื่อเชื่อมโยงแล้ว ให้ถือว่าได้รับการอนุญาตจากผู้เขียนซึ่งเป็นเจ้าของงานเขียนโดยปริยาย This work is licensed under a Creative Commons Attribution Works 3.0 License.

IMO, a person can become both a specialist and a generalist depending on their area of interest and experience which involves through time, I hope.

Anyway, best of luck to you-know-who in your future study. It may be daunting sometimes, but you are there to enJoy the journey - and the destination ? It doesn't matter, but just to be on the safe side, keep crossing your fingers :-).

I stumbled on this quote today:

"The third-rate mind is only happy when it is thinking with the majority...

The second-rate mind is only happy when it is thinking with the minority...

The first-rate mind is only happy when it is thinking..."

  - AA Milne

To Be (a boss), or Not To Be (a boss), that is the question.

 

ใช่ครับ จะเป็นผู้ชำนาญการหรือเป็นผู้รู้รอบ ไม่สำคัญเท่ากับเรารู้ตัวหรือไม่ ว่าคุณค่าของตัวเราอยู่ที่ไหน บทบาทของเราควรจะเป็นอะไร

รูปแบบมักจะนำไปสู่อำนาจนิยม เราไม่ควรให้นำหนักแก่รูปแบบมากไปกว่าสาระ  แต่มีปัญหาว่าจะแยกแยะสาระออกจากรูปแบบได้อย่างไร

ผมชอบ Quotation อันนี้ครับ ขอบคุณมากเลย ถ้าไม่คิดก็แยกสาระออกจากรูปแบบไม่ได้ครับ

สวัสดีครับพี่  PConductor 

  • ชัดเจนครับ
  • เรียกพี่นะครับ ดูภาพแล้วน่าจะแก่กว่า อ.ขจิต นะครับ
หัวใจยังหนุ่มครับ (ตัวจริงก็ไม่แก่มาก)

ชอบบทความนี้ครับ เพราะงานของผมเกี่ยวพันกับ generalist  คนส่วนใหญ่มักมอง generalist ไม่มีความพิเศษ

ผมอยากถามคุณ conductor ว่ามีมุมมองเรื่องทัศนคติแบบนี้อย่างไร? และจะทำอย่างไรให้คนที่มีความเป็น generalist ได้ภาคภูมิในสิ่งที่เป็น

หมายเหตุ : ตัวผมเองภูมิใจในความเป็น generalist แต่ไม่รู้จะบอกคนที่มีแนวคิดข้างตันอย่างไรครับ ?

ผมคิดว่าการจัดชั้นคนเป็น generalist หรือ specialist เป็นเรื่องที่คนอื่นจัด เพื่อความสะดวกในการทำความเข้าใจของตัวเขาเอง (หรือสำหรับคนที่คบกันแบบผิวเผิน) -- และเมื่อจัดชั้นแล้ว ก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงคนที่ถูกจัดให้เป็นอย่างอื่นเลยครับ 

คนเราทำงานด้วยกัน ก็ควรจะเรียนรู้ รู้จักนิสัยใจคอ มองเห็นทั้งจุดแข็งและจุดอ่อนของกันและกัน

องค์กรจะอยู่ได้ ไม่ใช่เพราะ specialist หรือ generalist แต่เป็นเพราะองค์กรมี portfolio ของ skill profile ที่เหมาะสมกับสิ่งที่องค์กรทำอยู่ 

เช่นตัวผมทำงานบริหาร ตามตำราก็บอกว่าน่าจะใช้ลักษณะของ generalist แต่ตัวผมก็เป็น specialist ในบางมุม ซึ่งความเป็น specialist ของผมนี้ ในเมืองไทยหาคนเปรียบเทียบได้ยาก (ไม่ได้คุยนะครับ ยกตัวอย่างเฉยๆ) แม้สิ่งที่ทำอยู่บน GotoKnow นี้ ก็ยังไม่ใช่ specialized areas ของตัวเอง ก็ยังทำประโยชน์ได้แม้เป็นเรื่องพื้นๆ 

คุณค่าของคนทำงานอยู่ที่งานที่เขาทำ ไม่ได้อยู่ที่ความเป็น generalist หรือ specialist ตัวเลขหรือข้อความใดๆที่เอามาแปะไว้ที่หน้าผากพร้อมไฟกระพริบ ไม่เกี่ยวกับตำแหน่งหรือการจัดชั้นใดๆ ไม่เกี่ยวกับวุฒิการศึกษาหรือวัย 

หมออาจจะไม่จำเป็นต้องชี้แจงต่อคนอื่นที่ไม่ได้คิดอย่างนี้เลยนะครับ เพราะบางทีไม่ว่าจะชี้แจงอย่างไร เขาก็คงไม่เข้าใจอยู่ดี เพราะว่าเขามองคนอย่างผิวเผินที่สุด และไม่ได้มีความพยายามที่จะเข้าใจผู้อื่นเลย

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับ
  • แวะมาอ่านและชื่นชมกับความตั้งใจในการถ่ายทอดความรู้  ความคิดเห็นที่กำลังจะพยายามบอกผู้นำ....ของเทคนิคในการครองคน
  • ขอบคุณค่ะ

 

สวัสดีครับ คุณ Conductor

       ผมกำล้งเขียนบทความสั้นๆ เกี่ยวกับคำว่า Polymath, Renaissance Man, Universal Genius, Jack-of-all-trades etc. ซึ่งเนื้อหาจะมีส่วนคาบเกี่ยวกับคำว่า 'Generalist' ในบางแง่มุม

       จึงเขียนมาเรียนขออนุญาตนำข้อความบางส่วนในบันทึกนี้ไปกล่าวอ้างในบทความดังกล่าว โดยจะเขียนว่า มาจากบันทึกของคุณ Conductor ในบล็อก 'คนเป็นนาย' และให้ URL สำหรับผู้ที่สนใจมาอ่านต่อ ณ ที่นี้ครับ

       บทความดังกล่าวจะตีพิมพ์ในคอลัมน์ ท่องเวลา-ผ่าอารยธรรม เซ็คชั่นจุดประกาย เสาร์สวัสดี นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ครับ (จะแจ้งให้ทราบอีกครั้งหนึ่งว่าจะนำลงวันเสาร์ที่เท่าไร)

ขอบคุณมากครับ ^__^

  • สวัสดีครับ Conductor
  • ระยะหลังๆ ไม่ค่อยพบ
  • บันทึกท่านเลย
  • แบบท่านต้อง ให้เป็น
  • ผู้เชี่ยวชาญ
  • พัฒนาคน
  • พัฒนางาน
  • พัฒนาองค์กร
  • ขอบคุณ

 

  • มาทักทาย
  • คิดถึงๆๆ
  • เอารูปคุณครูมาให้ดู
  • ให้ตาร้อนเล่น
  • อิอๆๆ

สวัสดีครับ คุณ Conductor

      บทความที่อ้างถึงบันทึกนี้มีชื่อว่า 'อภิมหาพหูสูตแห่งโลกอารยะ' ซึ่งจะตีพิมพ์ใน นสพ. กรุงเทพธุรกิจ คอลัมน์ ท่องเวลา-ผ่าอารยธรรม เซ็คชั่นจุดประกาย เสาร์สวัสดี 

      บทความนี้มี 2 ตอน ตอนแรกจะลงในวันเสาร์ที่ 16 สิงหาคม 2551 ส่วนตอนที่สองจะลงในวันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม

      ข้อความที่อ้างถึงบันทึกนี้อยู่ในตอนที่สองครับ

ขอบคุณมากครับ

ขอบคุณครับอาจารย์ บล็อกอีกอันหนึ่งของผม (ใน #21) ย้ายไปอยู่ตรงนี้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท