วันการศึกษานอกโรงเรียน


แบบการจัดวัน กศน.เปลี่ยนแปลง

             บริหารการเปลี่ยนแปลง

       ยินดีที่การจัดกิจกรรมวันการศึกษานอกโรงเรียน 8 กันยายน 2550 เปลี่ยนไปเป็นแบบกระจายอำนาจสู่ชุมชน

      สมกับที่สถาบันการศึกษาต่อเนื่องสิรินทร จัดหลักสูตรการบริหารการเปลี่ยนแปลงสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารการศึกษานอกโรงเรียนทั่วประเทศที่โรงแรมโรยัลซิตี้ กรุงเทพฯ  เมื่อวันที่ 26-28 สิงหาคม 2550

      ผลที่เห็นทันตาแบบบังเอิญหรือว่าตั้งใจจะให้เป็นหรือไม่ เพราะปกติการจัดกิจกรรมวันการศึกษานอกโรงเรียน จะจัดกันที่ส่วนกลางกรุงเทพฯปีที่แล้วมาก็จัดที่เมืองทองอารีน่า(เพิ่มความรวยให้กับเจ้าของเมืองทองอารีน่าพอสมควร) มาปีนี้ 2550 การจัดกิจกรรมวันการศึกษานอกโรงเรียน ถูกปลดปล่อยให้จัดกันที่พื้นที่จังหวัดของตนเองเพื่อให้ ชาว กศน.แต่ละจังหวัดจัดกิจกรรมจากแนวคิดของตนเองได้อย่างเต็มความสามารถ เงินทองไม่ไหลเวียนเข้าสู่กรุงเทพฯอีกต่อไป

        การจัดวัน กศน.ในพื้นที่เหมาะสมด้วยเหตุผลหลายประการเช่น

1) กลุ่มเป้าหมาย กศน.มีส่วนร่วมกิจกรรมวันการศึกษานอกโรงเรียนมากขึ้น

2) เงินงบประมาณไม่ไหลกลับไปกรุงเทพฯ

3) เป้นการกระจายอำนาจการจัดการศึกษานอกโรงเรียนอีกแบบหนึ่ง

4) แต่ละจังหวัดได้จัดกิจกรรมตามความต้องการของสถานศึกษาและความต้องการของชุมชน

5) เป็นการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่ตรงกับบริบทของสถานศึกษาและความต้องการของชุมชนได้มากที่สุด

           กศน.จะต้องเปลี่ยนแปลงอย่างแน่นอนภายใต้สถานการณ์ทางสังคมและการเมืองและความสำนึกที่ผูกพันของความเป็นคน กศน. ของคน กศน.

                            [email protected]

หมายเลขบันทึก: 126332เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2007 17:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

อ่านสารนายกรัฐมนตรีในวันที่ระลึกสากลแห่งการรู้หนังสือและวันการศึกษานอกโรงเรียนที่นี่ก็ได้ครับ

การอบรมโปรแกรมควบคุมการเงินแบบ execel และ webblog

              กู้อย่างเดียวไม่เพียงพอพัฒนาตนเองด้วย

สมาชิกกลุ่มสหกรณ์ออมทรัพย์ครูเลย สังกัดศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดเลย จัดอบรมโปรแกรม execel เพื่อควบคุมการเบิกจ่ายเงิน และการทำ Webblock เพื่อพัฒนาตนเองและพัฒนางานที่รับผิดชอบ ในการอบรมครั้งนี้ขอเชิญสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ครูเลยและผู้บริหารสถานศึกษา กศน.เลย โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่การเงินของแต่ละสถานศึกษา

     จะจัดอบรมในวันที่ 20 กันยายน 2550 เวลา 09.00 -16.00 น. ณ ศุนย์คอมพิวเตอร์ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเลย สำหรับสมาชิกสหกรณ์มีค่าพาหนะและเบี้ยเลี้ยง

 

         กลุ่มสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ครูเลย

                      หน่วย กศน.เลย

ห้องสมุดประชาชนไม่ไร้ชีวิตถ้าคิดร่วมกับพันธมิตร

ห้องสมุดไม่ไร้ชีวิตถ้าคิดร่วมกันกับพันธมิตร

      ห้องสมุดประชาชนที่สังกัด สำนักบริหารการศึกษานอกโรงเรียน สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ถึงเวลาต้องปรับเปลี่ยนและเปลียนแปลงพร้อมทั้งอาจจะเปลี่ยนถ่ายเหมือนรถรถยนต์ที่เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องคงจะเกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับประชาชน(ห้องสมุดประชาชนต้องเตรียมพร้อมก่อนท่จะบริการประชาชนได้อย่างประทับใจเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชนทุกเพศวัย

      สภาพปัจจุบันของห้องสมุดประชาชนสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน

      ขนาดห้องสมุดประชน

      1)  ห้องสมุดประชาชนอำเภอ มีเกือบทุกอำเภอในประเทศไทย เป็นห้องสมุดประชาชนขนาดเล็กที่ต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อนำไปสู่อุดมการณ์ที่ว่าห้องสมุดมีชีวิต ไม่ว่า (1) เป็นอาคารสถานที่ที่รัฐบาละต้องทุ่มงบประมาณในการก่องสร้างเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นอย่างแท้จริง (2)  บุคลากรผู้ปฏิบังานในห้องสมุดจะต้องได้ขวัญและกำลังใจที่ดีกว่าเพราะปัจุบันห้องสมุดประชาชนอำเภอมีเพียงบรรณารักษ์ 1 คน เป็นทั้งข้าราชการพลเรือนและบรรณารักษ์รับเหมา(เหมือนรับเหมาก่อสร้างถ้างานคุณไม่เสร็จตามสัญญาคุณก็จะไม่ได้รับเงินเดือน)  ส่งที่จะต้องแก้ไขก็คือเสนอของบประมาณในการก่อสร้างอาคารสถานที่ต่อรัฐบาลหรือพรรคการเมืองที่สนใจเรื่องนี้น่าจะนำไปเป็นนโยบายของพรรคก็น่าจะดีอย่างน้อยก็ถือว่าได้ช่วยเหลือสังคมด้านการศึกษา ส่วนบุคลากรก็ต้องเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม หรือเพิ่มงบประมาณในการบริหารจัดการ

    2)  ห้องสมุดประชาชนจังหวัดมีทุกจังหวัดในประเทศไทย สถานภาพอาจจะดีขึ้นมาหน่อยเดียวในภาพรวมของประเทศ แต้ก็ต้องการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอีกเช่นกันเพราะงบประมาณในการจัดซื้อสื่อถือว่าไม่มากเมื่อเปรียบเทียบกับห้องสมุดที่เทศบาลจัด ถึงแม้ว่าสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียนกำลังทุ่มงบประมาณเพื่อการจัดการให้ห้องสมุดมีชีวิต

   3) ห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารี เป็นห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี บางแห่งก็ยังต้องการให้ปรับปรุงเพื่อให้สมพระเกียรติจริงๆ ส่วนมากถือว่าดี

       ห้องสมุดจะมีชีวิตได้หลายหน่วยงานจะต้องร่วมมือกันไม่ว่าหน่วยงานของรัฐ องค์การปกครองท้องถิ่นถ้าร่วมห้องสมุดประชาชนะได้เป็นห้องสมุดมีชีวิตอย่างแท้จริงเพื่อคนไทยเป็นคนแห่งการเรียนรู้ ต่อไป

ศูนย์การเรียนชุมชนเฉลิมพระเกียรติตำบลบ้านเพิ่ม(วัดถ้ำผาสวรรค์)

   ศูนย์การเรียนชุมชนเฉลิม พระเกียรติ                       

ตำบลบ้านเพิ่ม(วัดถ้ำผาสวรรค์)

     จากการที่ กศน.ผาขาว จังหวัดเลย มองเห็นความสำคัญของการจัดการความรู้สู่ชุมชนเพื่อส่งเสริมการการเรียนรู้ให้กับชุมชนตำบลบ้านเพิ่ม อำเภอผาขาว จังหวัดเลย(ซึ่งตั้งอยู่ภายในวัดถ้ำผาสรรค์ บ้านผาสวรรค์) ซึ่งเป็นตำบลนำร่องในการยกระดับการศึกษาของประชากรให้สูงขึ้นให้ได้ 9.5 ปี ในปี 2554 โดยวิธีการจัดการศึกษานอกโรงเรียนและการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย

         การจัดการความรู้ตามรูปแบบศูนย์การเรียนชุมชนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของชุมชนน่าจะแก้ปัญหาการขาดแหล่งเรียนรู้ของชุมชนได้โดยมีรูปแบบการดำเนินการดังนี้

          วัตถุประสงค์ ก็เพื่อหารูปแบบการจัดการความรู้สู่ชุมชนโดยวิธีการจัดการศึกษานอกโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้เป็นศูนย์การเรียนชุมชนเฉลิมพระเกียรติ ครบ 80 พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูพลอดุลยเดช ในวันที่ 5 ธันวาคม 2550

          เป้าหมายการดำเนินงาน ชาวตำบลบ้านเพิ่มต้องการให้มีศูนย์การเรียนชุมชนเฉลิมพระเกียรติ เพื่อให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ของชุมชน

           พันธมิตรร่วมกันดำเนินงาน

       1) องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต.และอบจ.)

       2) ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอผาขาว

       3) ผู้นำชุมชนตำบลบ้านเพิ่มทุกหมู่บ้าน

       4) สำนักงานเกษตรอำเภอผาขาว

       5) สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอผาขาว

        6) สำนักงานสาธารณสุขอำเภอผาขาว

        7) เจ้าอาวาสวัดถ้ำผาสวรรค์

    ผลที่คาดไว้ว่า ศูนย์การเรียนชุมชนเฉลิมพระเกียรติตำบลบ้านเพิ่ม น่าจะเป็นไปได้ก็คือ

        1) ได้ศูนย์การเรียนชุมชนเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมายุครบ 80 พรรษาในวันที่ 5 ธันวาคม 2550

        2)  ได้รูปแบบการดำเนินงานจัดการความรู้แบบศูนย์การเรียนชุมชนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของชุมชน

        ผู้ดำเนินการหลัก :

ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอผาขาว จังหวัดเลย (กศน.ผาขาว)

        ผู้สนับสนุนหลัก

พันธมิตรเครือข่ายคือผู้สนับสนุนหลักในการดำเนินงานศูนย์การเรียนชุมชนเฉลิมพระเกียรติ

             [email protected]

                     22 กันายายน 2550

 

กศน.ปรับหลักสูตรการเรียนใหม่ "สมชาย"ลงนามใช้ภาคเรียน1/2552 เปิดช่องจบเร็ว-คล้ายม.รามคำแหง

กศน.ปรับหลักสูตรการเรียนใหม่

กศน.ปรับหลักสูตรการเรียนใหม่

"สมชาย"ลงนามใช้ภาคเรียน1/2552 เปิดช่องจบเร็ว-คล้ายม.รามคำแหง

รายงานข่าวจากกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ ศธ. ได้ลงนามเมื่อวันที่ 18 กันยายนที่ผ่านมา ในคำสั่ง ศธ.เรื่องให้ใช้หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 แทนหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการศึกษานอกโรงเรียน หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 โดยมีเหตุผลประกอบว่าเพื่อให้การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับประชาชนทั่วไปที่อยู่นอกโรงเรียนทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง และสิ่งแวดล้อม โดยมีการพัฒนาความรู้แบบองค์รวม บูรณาการความรู้ทุกด้านเข้าด้วยกันอย่างสมดุล และเป็นประโยชน์ในการนำไปใช้ดำเนินชีวิตของผู้เรียน ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ และสังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 และ พ.ร.บ.ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ.2551 ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 12 แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 มาตรา 15 (2) และมาตรา 16 วรรค 4 แห่ง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 ประกอบกับกฎกระทรวงว่าด้วยการแบ่งระดับและการเทียบระดับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ.2546 จึงประกาศใช้หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 แทนหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการศึกษานอกโรงเรียน หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 ทั้งนี้ ให้ปลัด ศธ.โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการส่งเสริมสนับสนุนและประสานความร่วมมือการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย มีอำนาจในการยกเลิก เพิ่มเติม เปลี่ยนแปลงหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและวิธีการจัดการศึกษา

แหล่งข่าวกล่าวว่า สำหรับความเป็นมาของการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนดังกล่าวนั้น แต่เดิมสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาอัธยาศัย (กศน.) จัดการศึกษาโดยใช้หลักเกณฑ์และวิธีการจัดการศึกษานอกโรงเรียน หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2546 อันเนื่องมาจากการประกาศใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ได้ยกเลิกหลักสูตรอื่นๆ ที่เทียบเท่าการศึกษาสายสามัญ ทำให้ต้องยกเลิกหลักสูตรต่างๆ ที่ กศน.ได้พัฒนาขึ้นให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ทั้งหมดด้วย แต่ต่อมาทางสำนักงาน กศน.ได้พิจารณาเห็นว่าการศึกษานอกระบบควรมีหลักสูตรที่มีเนื้อหาสาระโดยเฉพาะที่แตกต่างจากการศึกษาในระบบโรงเรียน แต่ให้ยังคงมีมาตรฐานเท่าเทียมกัน และเกิดประโยชน์แก่ผู้เรียนที่อยู่นอกวัยเรียนโดยตรง ประกอบกับกระบวนการเรียนรู้ในหลักสูตร กศน.จะมุ่งเน้นการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียนเป็นหลัก และให้สามารถนำความรู้และประสบการณ์มาเทียบโอนได้ ตลอดจนสามารถเรียนรู้ได้จากสื่อที่หลากหลายและจากการพบกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ระหว่างกัน ซึ่งเป็นวิธีการที่ยืดหยุ่นเหมาะสมกับผู้เรียนในวัยทำงาน

นายชัยยศ อิ่มสุวรรณ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการพัฒนาหลักสูตร สำนักงาน กศน. กล่าวว่า หลักสูตร กศน.ฉบับใหม่นี้ได้มีการปรับและเปลี่ยนเนื้อหาโดยเน้นให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตัวเอง เช่น สาระการเรียนรู้ที่ 1 จะเน้นเรื่องการพัฒนาการเรียนรู้ การอ่าน คิดวิคราะห์ ซึ่งการเรียนจะต้องมีความเข้มข้นมากขึ้น โดยผู้เรียนจะต้องรับผิดชอบตัวเองมากกว่าเดิม ทั้งนี้ เพื่อให้คุณภาพการเรียนการสอนใกล้เคียงกับการเรียนในระบบโรงเรียน ทั้งนี้ สำหรับลักษณะการเรียนการสอนตามหลักสูตรใหม่จะคล้ายคลึงกับระบบการเรียนของมหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยหากนักศึกษา กศน.คนใดเรียนดี ขยันเรียนก็อาจจะเรียนจบได้เร็วกว่าที่กำหนดไว้ ซึ่งหลักสูตรเดิมไม่ได้เปิดช่องให้เรียนจบเร็วได้ อย่างไรก็ตาม จะเริ่มใช้หลักสูตรใหม่นี้ตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1/2552 หรือช่วงกลางปีหน้า

วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2551 มติชนรายวัน

--------------------------------------------------------------------------------

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท