ห้องสมุด ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
ห้องสมุด ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคอีสาน

   ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ปรับปรุงห้องสมุดภายในสำนักงาน เพื่อเป็นต้นแบบในการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิตชีวา โดยปรับปรุงทั้งสภาพห้องสมุด การบริการ และนำเอาระบบ อิเล็กทรอนิกส์เข้ามาช่วย
   การให้บริการห้องสมุดนอกจากจะบริการหนังสือเช่นเดียวกับห้องสมุดทั่วไปแล้ว ยังมีการบริการความรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น การให้บริการความรู้จากเครือข่าย Internet จำนวน 6 เครื่อง การบริการสื่อการเรียนรู้ ในรูปแบบ VCD หรือ CAI ต่างๆ หรือสื่อการเรียนรู้ผ่านระบบ Intranet ของ ศนอ. 
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 10519เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2005 15:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

   สิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในตอนนี้ของห้องสมุดก็คือการสร้างนิสัยรักการอ่านให้กับประชาชน เพื่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ เพราะจากข้อมูลพบว่า คนไทยอ่านหนังสือกันน้อย สิ่งนี้จึงกลายเป็นบทบาทที่สำคัญประการหนึ่งของห้องสมุดต่างๆ ที่มีกระจายอยู่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งห้องสมุดประชาชน ของ กศน. ที่จะทำอย่างไรให้ประชาชนอ่านหนังสือ
   การที่จะให้เขาอยากอ่านหนังสือไม่ใช่เรื่องง่ายนัก เริ่มตั้งแต่ทำอย่างไรให้เขาเข้ามาในห้องสมุด ก็ไม่ใช่ง่ายแล้ว ให้ลองนึกง่ายๆ ว่า ทำไมคนจึงไปตลาด ทำไมคนจึงไปศูนย์การค้า ทำไมคนจึงเข้าร้านอาหาร แน่นอนว่า จะต้องมีสิ่งที่เขาต้องการอยู่ที่นั่น ถ้าหันกลับมาถามว่า ในห้องสมุดมีสิ่งที่เขาต้องการไหม .....
     สถานที่ก็ไม่น่าเข้าไป เข้าไปแล้วก็มีแต่หนังสือเก่าๆ อยู่นิดหน่อย (จริงๆก็ไม่อยากอ่านอยู่แล้ว) บรรยากาศก็ไม่น่าเข้าไปเลย
     อาจจะต้องคิดต่อไปว่า ภายในห้องสมุดจะต้องสร้างสิ่งที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้มากกว่าหนังสือ หรืออาจจะมีสิ่งอื่นๆ ที่ไม่ใช่หนังสือเลย ลองดูซิว่า มีอะไรบ้าง ส่วนหนังสือ อาจจะเป็นอีกส่วนประกอบหนึ่ง ที่ต่อเนื่องจากสิ่งที่เขาต้องการ
    ห้องสมุด ศนอ. ได้เปลี่ยนแปลงบรรยากาศ ภายใน และพยายามนำเอาสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ เข้ามาช่วย ก็เห็นได้ว่า เป็นอีกช่องทางหนึ่งให้คนเข้ามาหาความรู้ เช่น การให้บริการ Internet เป็นต้น เพราะอย่างน้อยๆ ก็เป็นสิ่งแปลกและใหม่ ที่ดึงดูดความสนใจได้พอสมควร 

   เห็นว่า ห้องสมุด ศนอ. มีการพัฒนาไปมาก แต่สิ่งที่อยากเห็นอีกประการหนึ่งคือ การบริการแก่บุคคลภายนอกให้มากขึ้น เพราะปัจจุบันผู้มาใช้บริการส่วนมากคือบุคคลภายใน ศนอ. อาจจะเนื่องมาจากบุคลภายนอกยังไม่รู้ว่า มีบริการหลายๆอย่าง ที่อยู่ในห้องสมุด
   ปัจจุบันนี้ บทบาทที่สำคัญอีกประการหนึ่งของห้องสมุดศูนย์ภาค คือ เป็นเหมือนกับตัวอย่าง หรือต้นแบบสำหรับ ห้องสมุดจังหวัด หรืออำเภอ นำไปพัฒนาปรับปรุงห้องสมุดของตนเองในด้านต่างๆ ไม่ เช่นทางด้านกายภาพ หรือทางด้านบริการ ร่วมทั้งเรื่อง ICT ต่างๆ
ตอนนี้ทางรัฐบาล กำลังประชาสัมพันธ์เรื่อง TKPARK ซึ่งเป็นเรื่องน่าสนใจ มาก ถ้าหากว่าห้องสมุดประชาชนสามารถพัฒนาได้บ้างก็คงจะดี แต่ก็ได้แต่ฝัน เพราะมีปัจจัยหลายอย่างที่ทำได้ยาก โดยเฉพาะเรื่อง งบประมาณ และบุคลากรที่ จะเข้ามาพัฒนา ตอนนี้เห็นหลายท่านในรัฐบาล กำลังสนใจเรื่องห้องสมุดเป็นอย่างมาก คิดว่า ถ้ามีแนวคิดดีๆ ก็คงได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างมาก 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท