เกณฑ์การประเมินระดับความสำเร็จของการจัดการความรู้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549
หน่วยงาน.............................................
หมายเหตุ ระดับ2 หมายถึง การผ่านคุณสมบัติตามเกณฑ์ในระดับ1 และเพิ่มขึ้นในระดับ 2
ระดับ3 หมายถึง การผ่านคุณสมบัติตามเกณฑ์ในระดับ1+ ระดับ2 และเพิ่มขึ้นในระดับ 3
ระดับ 4 หมายถึง การผ่านคุณสมบัติตามเกณฑ์ในระดับ1+2+3 และเพิ่มขึ้นในระดับ 4
ระดับ5 หมายถึง การผ่านคุณสมบัติตามเกณฑ์ในระดับ1 - 4 จนถึงระดับ 5
หน่วยงาน.............................................
องค์ประกอบ
|
ระดับ 1
|
ระดับ 2
|
ระดับ 3
|
ระดับ 4
|
ระดับ 5
|
1. กระบวนการจัดการความรู้ |
มีคณะกรรมการรับผิดชอบการจัดการความรู้และมีCKOรับผิดชอบชัดเจนและต่อเนื่อง |
มีการจัดทำแผนการจัดการความรู้โดยผ่านการวิเคราะห์ความต้องการขององค์กรและมีเนื้อหาแผนสอดคล้องกับแนวคิดการจัดการความรู้ |
มีการดำเนินงานตามแผนโดย CKO ให้ความสนใจติดตามอย่างสม่ำเสมอ |
มีการสร้าง facilitator และnotetaker ที่มีความเข้าใจและความสามารถ |
มีขุมความรู้(Knowledge Asset)ที่เกิดจากการสกัดความรู้จากแหล่งต่างๆทั้งในและนอกองค์กร ทั้ง tacit และ explicit knowledge |
2. การสนับสนุนจากผู้บริหาร |
ผู้บริหารแสดงเจตนารมณ์ชัดเจนที่จะส่งเสริมการจัดการความรู้ในองค์กร |
ผู้บริหารให้การสนับสนุนที่เป็นรูปธรรม |
ผู้บริหารเข้าร่วมในกระบวนการจัดการความรู้ขององค์กร |
ผู้บริหารติดตามความก้าวหน้าของการจัดการความรู้ในองค์กรอย่างใกล้ชิด |
ผู้บริหารกำหนดให้ความสามารถในการจัดการความรู้เป็นองค์ประกอบหนึ่งของเกณฑ์การประเมินบุคคลเพื่อให้ผลตอบแทน |
3.การสะสมความรู้ในงานที่เกี่ยวข้อง |
มีการจัดทำเอกสารและฐานข้อมูลและเก็บรวบรวมอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับวิชาการสำคัญที่ใช้ในการทำงานตามบทบาทของหน่วยงาน |
มีการแสวงหาความรู้ใหม่ๆจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่มีอยู่ นำมารวบรวมไว้อย่างเป็นระบบ |
มีการแปลงความรู้แฝงจากประสบการณ์ของคน(Tacit knowledge)ในองค์กรจัดทำเป็น Explicit Knowledge |
มีการเพิ่มขึ้นของความรู้ที่เกิดจากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่คนในองค์กรเข้าไปมีส่วนร่วม |
ความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนหรือแปลงtacit เป็น explicit จากผู้มีประสบการณ์ขององค์กรมีการปรับปรุง (update) อยู่ตลอดเวลา |
4. การใช้ IT ในการจัดการความรู้ |
มีแผน IT เพื่อการจัดการความรู้ที่มีคุณภาพและมีผู้รับผิดชอบชัดเจน |
มีระบบ IT ที่สามารถให้บริการความรู้แก่ประชาชนและบุคคลทั่วไป |
มีระบบ IT ที่เอื้อให้บุคลากรในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้และเอื้อให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากรในองค์กร |
มีการเข้ามาใช้ประโยชน์จากระบบ IT ที่หน่วยงานจัดทำอย่างน้อยร้อยละ 90 ของบุคลากรวิชาชีพ |
บุคลากรไม่น้อยกว่าร้อยละ50 มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านระบบ IT ที่หน่วยงานจัดทำ |
องค์ประกอบ
|
ระดับ 1
|
ระดับ 2
|
ระดับ 3
|
ระดับ 4
|
ระดับ 5
|
5. การใช้การจัดการความรู้เป็นกลไกสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย |
หน่วยงานกำหนดให้มีอย่างน้อย 1 งานที่จะใช้กระบวนการการจัดการความรู้เป็นเครื่องมือสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย |
บุคลากรที่รับผิดชอบงานที่กำหนดในระดับที่ 1 มีความรู้ ความเข้าใจในเทคนิคการจัดการความรู้เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับภาคีเครือข่าย |
มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่สามารถสกัดความรู้/ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะจากภาคีเครือข่าย |
หน่วยงานนำความรู้/ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอจากภาคีในระดับที่ 3 ไปใช้ประโยชน์ |
ภาคีเครือข่ายสามารถนำเทคนิคการจัดการความรู้ไปใช้ในการทำงานของตนกับภาคีเครือข่ายต่อไปอีกขั้นหนึ่ง |
6. ผลที่เกิดกับคนในองค์กรอันเนื่องมาจากการจัดการความรู้ |
บุคลากรในองค์กรถือว่าการจัดการความรู้เป็นแนวคิดและวิธีการที่จะช่วยให้การทำงานของตนมีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ |
บุคลากรในองค์กรแสวงหาความรู้(Explicit Knowledge)ด้วยวิธีการหลากหลายผ่านทางช่องทางต่างๆ |
บุคลากรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบุคคลทั้งภายในและภายนอกองค์กรและสามารถสกัดความรู้ที่เหมาะสมกับการใช้งานของตน |
บุคลากรในองค์กรนำขุมความรู้ที่สกัดจากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาประยุกต์ใช้และปรับปรุงเพิ่มขึ้น |
บุคลากรในองค์กรสามารถสร้าง นวตกรรมการทำงานอันเป็นผลจากการจัดการความรู้ |
7. การประเมินผล |
มีการชี้แจงบุคลากรในองค์กรให้เข้าใจเกณฑ์การประเมินระดับความสำเร็จของการจัดการความรู้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 |
องค์กรประเมินระดับความสำเร็จตามเกณฑ์ดังกล่าวด้วยตนเองเป็นพื้นฐานก่อนเริ่มงาน |
องค์กรนำผลการประเมินไปวางแผนและดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหน่วยงานที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับสูงกว่า |
องค์กรมีการประเมินว่าการจัดการความรู้ช่วยพัฒนาการทำงานตามบทบาทหน้าที่ขององค์กรมากน้อยเพียงไร |
องค์กรนำผลการประเมินตอนปลายปีไปปรับใช้ในการทำแผนปีต่อไป |
ระดับ3 หมายถึง การผ่านคุณสมบัติตามเกณฑ์ในระดับ1+ ระดับ2 และเพิ่มขึ้นในระดับ 3
ระดับ 4 หมายถึง การผ่านคุณสมบัติตามเกณฑ์ในระดับ1+2+3 และเพิ่มขึ้นในระดับ 4
ระดับ5 หมายถึง การผ่านคุณสมบัติตามเกณฑ์ในระดับ1 - 4 จนถึงระดับ 5
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย วรชาติ ธนนิเวศน์กุล ใน KM1 nutrition
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก