ทึ่ง! กับรูปแบบการถนอมอาหารของคนพิการ


เป็นการถนอมอาหารที่ไม่ใช้สารกันปูดเลย แถมแปรรูปเป็นอาหารอย่างอื่นได้อีกสารพัด ใครไม่เชื่อให้ลองทำดู

     ค่ำคืนนี้ ใช้เวลาตามอ่านงานของคนที่รักและคิดถึงอ่านไปได้สัก 2 ชม. ขณะที่รู้สึกเพลิน ๆ ก็สะดุดด้วยบันทึกกล้วยสุก ของอาจารย์จันทรรัตน์ อยากเล่าสิ่งที่ได้ฟังมาบ้างในประเด็นคล้าย ๆ กัน อาจารย์จันทรรัตน์ ท่านทำให้กล้วยสามารถเก็บไว้กินได้นาน แต่ป้าโส๊ะ แห่ง อ.กงหรา ท่านถนอมอาหารทุกรูปแบบตามแบบฉบับของท่านครับ

     ป้าโส๊ะเล่าให้ฟัง ตอนผมไปทำเวทีกับชาวบ้านที่กงหรา เมื่อวันที่ 20 พ.ย.49 ท่านเป็นสมาชิกชมรมเพิ่มพูนพลังคนพิการ อ.กงหรา ที่เข้าร่วมประชุมด้วย ท่านเล่าให้กลุ่มฟัง (ผมฟังอยู่ด้วย) ภายใต้โจทย์ "สิ่งดี ๆ ของชุมชนในอดีต" ว่าคนเมื่อก่อนนั้น มีอะไรก็แบ่งปันกัน ไม่ว่าจะเป็นแกง ต้ม ขนม ผลหมาก รากไม้ เมื่อได้มาก็แบ่งปันกัน ตามทีมี บ้านโน้นที บ้านนี้ที สลับกันไปในละแวกใกล้เคียงกัน แต่ทุกวันนี้ของทุกอย่างซื้อมาด้วยเงิน น้ำใจเช่นนั้นจึงไม่ค่อยเห็นแล้ว และเข้าใจว่าเงินนั้นหายาก ส่วนเมื่อก่อนนั้นมักจะได้จากป่า ในคลอง ในที่สาธารณะ หรือไม่ก็ในสวนที่เหลือกินเหลือใช้

     ตอนสรุปนี่สิครับ ท่านสรุปว่าวิธีการดังกล่าวเป็นการถนอมอาหารที่ไม่ใช้สารกันบูดเลย แถมแปรรูปเป็นอาหารอย่างอื่นได้อีกสารพัด ใครไม่เชื่อให้ลองทำดู ที่ประชุมยิ้มกันใหญ่ ผมว่าแกฉลาดมากครับ ฉลาดในการนำเสนอออกมาให้เราได้จดจำได้เป็นอย่างดีด้วยครับ

 

หมายเลขบันทึก: 69050เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2006 01:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

สวัสดีครับ น้องชายขอบ น้องบ่าวที่นับถือ

  • ย่อหน้าสุดท้ายสารกันบูด พิมพ์ผิดไปนะ แก้นิดหนึ่ง
  • อย่างอื่นนอกจากกล้วย ก็น่าจะใช้วิธีการอย่างป้าโส๊ะถนอมกล้วยก็ได้....อิอิ ...วิธีดีๆมีอยู่แล้ว แต่ไม่ค่อยจะทำกัน มันเป็นยังไงงงงงงง
  • วันนี้ตั้งใจจะเขียนบันทึกตามหาใครบางคนก็ไม่ต้องเขียนแล้ว เพราะคนๆนั้นมานั่งเขียนเรื่องกล้วยอยู่แล้ว ที่จะเขียนตามหาก็อยากจะให้มาสมัครเป็นทีมงาน Editor ของ GotoKnow  ของ ดร.จันทวรรณ นั่นเอง ลิ้งค์ แต่ทีม Editor นี้พี่เองพี่ว่าน่าจะเป็นยามเฝ้า GotoKnow  ดีกว่า เข้าใจง่ายกว่า ซึ่งทีมนี้มีบทบาทและมีคุณสมบัติดังนี้ ลิ้งค์ น้องชายขอบน้องบ่าวที่นับถือของพี่มีคุณสมบัติทุกประการ
  • โอเคอย่างไงแล้วจะได้พิมพ์โปสเตอร์ 5555

    สวัสดีครับ .. พอมีเวลาบ้างแล้วใช่มั้ย ?

     ที่ว่า ... คนเมื่อก่อนนั้น มีอะไรก็แบ่งปันกัน ไม่ว่าจะเป็นแกง ต้ม ขนม ผลหมาก รากไม้ เมื่อได้มาก็แบ่งปันกัน ตามทีมี
    เรื่องแบบนี้ เป็นบรรยากาศที่ผมได้เห็นเป็นปกติตอนเป็นเด็ก  เขาอยู่กันแบบญาติ มีอะไรก็แลกเปลี่ยนแบ่งปันกัน  และทำแบบ พอเพียง พอเหมาะ ด้วย .. ตัวอย่างเช่น แม่ผมปลูกพลู(ที่ใช้กินกับหมาก) ไว้เยอะ คนบ้านอื่นก็มา หาพลู กันบ่อย วิธีการก็คือ นำของที่บ้านเขามี เช่นปลาที่หามาได้จากพรุ หรือมะพร้าว ฯลฯ มาให้เรา  พอเห็นเขาเดินมาแม่จะถามทักทายเช่น .. จะไปไหนล่ะ .. กินข้าวยัง .. คำตอบก็ว่า .. จะมาหาพลูไปกินสักหน่อย .. พลางก็เอาของที่ถือมา วางให้  ถ้าแม่ว่างก็จะไปเก็บไบพลูทำเป็นมัดเป็นกำให้เขา .. แต่ที่ประทับใจได้แก่ตอนที่แม่ไม่ว่าง ทำอะไรติดพันอยู่ จะบอกว่า "ไปเก็บเอาเองเลยนะ" คนที่มาหาก็จะเดินไปที่ร่องพลูและเก็บใบพลูที่บ้านเราไป และที่น่ารักที่สุดก็คือ เขาจะรู้ประมาณ ว่าควรเอาไปสักแค่ไหนถึงจะพอเหมาะพอดี  ไม่โลภมาก .. บางทีแม่เห็นน้อยไปก็บอกให้เก็บเพิ่มอีก .. ต่างฝ่ายต่าง อยากให้  มากกว่า อยากได้  และนั่นคือโลกแห่งการเรียนรู้ที่มีค่าของผมเลยล่ะครับ เพียงแต่เพิ่งรู้สึกเอาเมื่อหลายสิบปีผ่านไปแล้ว.
 

การ "ให้" คือการ "รับ" ที่ดีที่สุด

ที่จริงนักเศรษฐศาสตร์น่าจะศึกษาเรื่องนี้นะครับ น่าจะได้ model ดีๆ ทางเศรษฐศาสตร์ให้ฝรั่งได้ทึ่งกันบ้าง

ในอีกมุมหนึ่งในวงการซอฟต์แวร์ตอนนี้เรายอมรับกันแล้วว่าแนวคิดแบบ open source ทำให้ได้ซอฟต์แวร์ที่คุณภาพดี นี่ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของความสำเร็จที่เกิดจากการแบ่งปันครับ

เรียน พี่บาว (ครูนงฯ) ที่เคารพรักอย่างยิ่งยวด

     แก้ไขแล้วครับ ขอบพระคุณมาก ๆ อย่างนี้สิถึงจะเหมาะกับครูนง ทีม Editor ของ Gotoknow
     ผมเขียนเป็นบันทึกไว้แล้วครับที่ ขอว่าบ้างบางประเด็นครับ! สำหรับ Blog Editor สำหรับแนวทางการ Editor แบบมีส่วนร่วม (Pacitipation) หรือแบบ PET: Pacitipation Editor Team
     สำหรับผม ผมประเมินตนเองว่าไม่เหมาะครับ ขอช่วยอยู่ห่าง ๆ อย่างทุมเทดีกว่านะครับ พี่บาว พี่บาวว่าพรือมั่ง!

อิอิ  วิธีนี้คุณแม่ก็ใช้บ่อยค่ะ  คุณชายขอบ  เพราะบ้านเรา  มีความสุขกับการกินมาก แต่ชอบคนละอย่าง ^__* บ่อยครั้งที่สมาชิกในบ้านหอบหิ้วเผื่อๆกันมา  แล้วก็กินกันไม่ไหว 

คุณแม่จะใช้วิธีเดียวกับป้าโส้ะ เลยค่ะ

เรียน พี่บาว (อ.Handy) ที่เคารพรักอย่างยวดยิ่งอีกคน

     เวลานะมีอยู่เสมอ ๆ ครับ แต่สำหรับผมนี่สิไม่ทราบทำไมมีน้อยกว่าใครเพื่อน
     ของดี ๆ ที่ว่า ตอนนี้ก็หายไปเยอะครับ พอพูดเรื่องพลูนี่ก็แปลกนะ ผมเพิ่งรู้อีกเรื่องหนึ่งว่า ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ปูกได้ทุกคน บางคนจะปลูกไม่ขึ้น พลูบางค้าง จะกินไม่อร่อย อย่างบ้านผมหากจะให้อร่อยต้อง "พลูท่าแค" จะเป็นพลูคุณภาพ และมีชื่อเสียง การเก็บพลูอีกก็เหมือนกัน จะเก็บตอน้ำค้างแห้ง และเป็นช่วงเช้าครับ พลูจะเก็บไว้กินได้หลายวัน ไม่เปื่อยง่าย แถมเขาว่า เป็นพลูที่กินกับหมากอร่อยที่สุด คือเก็บตอนน้ำค้างพอแห้ง แดดยังไม่แรกนัก ผมชอบกินหมาก อดไม่ได้เมื่อได้นั่งกับผู้เฒ่าผู้แก่ ผมยังเคยนึกเลบว่า การเข้าไปขอกินหมากจากผู้สูงอายุ เป็นการ Rapport Approch ที่ได้ผลเร็วมากเลยครับ
     ผมชอบที่อาจารย์พี่เขียนถึงประเด็นเรื่องที่เขาเก็บพลูเอง แล้วเขาจะรู้จักประมาณครับ ในสังคมชนบท ก็ยังเป็นแบบนั้นอยู่นะครับ ไม่โลภ เขาจะพอประมาณในทุก ๆ เรื่อง เคยถามบางท่านเหมือนกันครับว่าทำไม? คำตอบ ก็มันมีมาก มาขอแลก/ขอปัน กันอีกเมื่อไหร่ก็ได้ ภายใต้คำตอบนี้ ผมมองว่ายังมีคำอธิบายอื่นอีกมากครับ
     ระลึกถึงอาจารย์พี่เสมอ ผมกำลังจะเคลียร์เส้นทาง และขอเชิญอาจารย์ได้บินมาเที่ยวเมืองลุงสักครั้งครับ คงได้มาพร้อม ๆ กันกับ คุณหิ่งห้อยและเพื่อน จากนั้นมาสมทบกับทีมเมืองคอน เอาไว้หลังสงกรานต์ ปีนี้โดยประมาณครับ

เรียน อาจารย์ ดร.ธวัชชัย ครับ

     เห็นด้วยกับอาจารย์ทุกอย่างเลยครับ
     ที่สำคัญต้องขอบคุณอาจารย์มากครับ ผมกำลังรวบรวมประเด็นเพื่อทำ Research Mapping ใน จว.พัทลุง ขออนุญาตนำประเด็นที่อาจารย์เสนอไว้ เข้าไปใน Mapping หนึ่งประเด็นที่ว่าด้วยนะครับ หากใครในทีมงานได้นำไปทำต่อ น่าจะเป็นประโยชน์มาก ๆ เลยครับ ขอบพระคุณอีกครั้งนะครับ สำหรับประเด็นที่ต่อยอดให้กันเสมอ ๆ

เรียน คุณหนิง DSS@MSU

     ดีจังเลยครับที่วิธีการนี้ ยังมีแพร่หลายอยู่ อยากให้ฟื้นกลับมาให้มาก ๆ ครับ "สิ่งดี ๆ ที่มีอยู่ในชุมชน ในอดีต" คนละไม้คนละมือครับ

เรียนคุณชายขอบ

ไปต่อประเด็นไว้ใน กล้วยสุก นั้นนะคะ ขอบคุณที่มีบันทึกต่อยอดนี้นะคะ ทำให้ได้เรียนจากป้าโส๊ะด้วยคน

ป้าโส๊ะท่านเก่งมากค่ะที่เชื่อมโยงจากกล้วยไปสู่สิ่งอื่นๆได้ จุดเริ่มต้น "การให้" อาจคล้ายๆกันนะคะ คือไม่ได้หวังว่า"ให้" แล้วต้อง "ได้" อะไรตอบแทน แค่อยู่กันไปสบายๆ ไม่เดือดร้อนตัวเองไม่เบียดเบียนคนอื่น ไม่ทราบว่ามองโลกแง่ดีเกินไปหรือเปล่าน่ะค่ะ แต่ว่าชีวิตที่ผ่านๆมาก็จะเจอการให้การรับแบบนี้มาตลอดค่ะ บางทีไม่ได้มาในรูปของกินเสมอค่ะ อาจเป็นคำเตือน เป็นหนังสือนิยายที่แบ่งๆกันอ่าน หรือช่วยแวะไปซื้อข้าวกลางวันมาเผื่อ  ฯลฯ  คิดว่าคุณชายขอบคงมองประเด็นนี้ด้วย..หรือเปล่าคะ

 

เรียน อาจารย์จันทรรัตน์ ที่เคารพ

     หากถามว่าป้าโส๊ะ (เขียนตามเสียงเรียกชื่อ) เก่งไหม ผมมองว่าเก่งนะครับผมยอมรับตรงที่แกมี Tacit K. ในการพูดนำเสนอได้เก่ง ท่านเป็นแกนนำชุมชนในการขับเคลื่อนแผนชุมชน ท่านคงมีประสบการณ์บวกกับพรสวรรค์ของท่าน แม้ว่าท่านจะพิการเนื่องจากเป็นโปลิโอ แต่โรคร้ายและความพิการนั้นก็ไม่ได้ลดศักยภาพของท่านลงไปเลยในประเด็นนี้
     การ "หวังว่าจะได้" จากการ "ให้" เป็นการสรุปจากวัฒนธรรมของชุมชนที่ผ่านการปฏิบัติมายาวนานคือ "การปัน" ฉะนั้นในอดีต "การปัน" น่าจะมาก่อน "การได้รับ" และผู้ปันก็ไม่ได้หวังเรื่องการได้รับอะไรมาก (ผมเริ่มคิดเอง) ด้วยเหตุผลของความสมบูรณ์ของทรัพยากร การลงแขก ก็น่าจะเป็นรูปแบบหนึ่งที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องของการ "ขอแรง" ตอนเด็ก ๆ บ้านที่ผมอยู่มีจ้างลุงมาทำในบางอย่าง แต่การขึ้นมุงกระเบื้องหลังคา และการเทพื้นซีเมนส์ เป็นการขอแรง ไม่ได้จ้างครับ
     ผมเพียงแต่ Get ประเด็นของอาจารย์ที่ได้กระทำ ไม่ไช่ Get ที่ผลของการกระทำ เพราะผมยังไม่ทราบ แล้วนึกขึ้นได้เรื่องที่เพิ่งผ่านไปเพียงเดือนเดียว คือที่ อ.กงหรา ผมเป็นคนเชื่อมโยงเรื่องจากกล้วยครับ ไม่ใช่ป้าโส๊ะ และ ป้าโส๊ะน่าจะยังไม่อ่านเรื่องกล้วยของ อาจารย์จันทรรัตน์แต่อย่างใดครับ ด้วยเหตุที่ป้าโส๊ะพูดกับที่ อาจารย์เขียนมันต่างกันที่เงื่อนเวลา
     ขอบพระคุณครับที่ ลปรร.กันไว้ ด้วยประการฉะนี้

ต่ออีกนิดได้ไหมคะ...

เห็นมีด้วยประการฉะนี้ไปเสียแล้ว..

เรื่องแรกคือขอบคุณคุณชายขอบค่ะที่เชื่อมโยงให้เห็นเรื่องการแบ่งปัน และแนะนำให้รู้จักtacit knowledge ของป้าโส๊ะ

เรื่องสองเรื่องลงแขกหรือที่ทางเหนือเรียกว่าเอามื้อ ไม่แน่ใจค่ะว่ายังมีอยู่ไหม แต่ที่ช่วยเหลือกันไปมานิดๆหน่อยๆเห็นบ่อยๆค่ะ

เรื่องสามคือ พาพัวพันแบบคนละเรื่องเดียวกันไปด้วยประการฉะนี้เช่นกันค่ะ...ขอบคุณค่ะ

เรียน อาจารย์จันทรรัตน์ ครับ

     เปิดเข้ามาเจออีกครั้งพอดีเลย หลังจากทานข้าวเสร็จ อาจารย์ทานข้าวหรือยังครับ
     B2B ก็ดีเหมือนกันนะ ว่ากันไปคนละหนละที "ลงแขก" ดูจะยังเป็นภาษากลาง จริง ๆ ที่บ้านผมเลยนี่จะเรียกว่า "ออกปาก", "ลงแรง","ช่วยการ" ประมาณนั้นครับ เช่นออกปากเก็บข้าว ออกปากดำนา เป็นต้น สงสัยจะคล้าย ๆ กันไหมครับกับ "เอามื้อ" ซึ่งงานนี้จะไม่มีค่าจ้างนะครับ เป็นสำคัญ

  • สวัสดีครับอาจารย์ชายขอบ
  • ตามครูนงมาครับ
  • ขอบพระคุณมากครับที่นำสิ่งดีๆ มาแบ่งปัน

 

มื้อเย็นกินข้าวแล้วค่ะ

เอาเรื่องหุงข้าวกับความรักมาฝากค่ะ...อาหารคืนหนาว..ง่ายๆสบายๆ แบบแบ่งปันเมนูค่ะ ^_^

.....

อากาศหนาว เห็นอาหารที่วางขายแล้วพาลเบื่อ เพราะมองเห็นความเลี่ยนมันที่ปิดซ่อนไม่มิดแต่เผยโฉมอวดโก้หน้าถาดอาหาร

หันไปช้อนถั่วแดง สมหวัง และเม็ดข้าวโพด จากกะบะสลัด และคว้าข้าวสารมาหนึ่งถุง

จัดแจงหุงข้าวให้สวยผิวขาวเรียงเม็ด จนสัญญาณไฟตัดลง เหมือนสายสวาทที่ขาดหาย เทถั่ว สมหวังและเม็ดข้าวโพดลงบนเม็ดข้าวให้มิด เหมือนจะกลบเกลื่อนความอาลับอาวรณ์ความรักที่ขาดหายไป กดไฟให้ติดอีกนิด ถ้าเป็นความรักก็คงเหมือนการส่ง SMS ไปถามอีกครั้งว่า ยังรักฉันอยู่ไหม

ไฟสัญญาณตัดไปอีกครั้ง คราวนี้บอกให้รู้ว่า เมื่อถึงจุดสุดท้าย แม้อะไรมายื้อ ก็ไม่อาจเรียกร้องคืนวันที่ดีๆ นั้นกลับมาได้

ตักข้าวใส่ชามทรงกลมใบย่อม ไม่กด ไม่พูน ทำให้เป็นดั่งความรักที่ปล่อยให้เบาสบาย ไม่กดดัน และไม่ล้นปากชามให้ดูเฟอะฟะ

หยดซีอิ้วสีดำ ดั่งน้ำใจคนบางคน แต่ซีอิ้วดีกว่าที่มีรสหอมหวานไม่ขมขื่น

โรยปลากรอบจิ้งจ๊าง บนข้าว
สีข้าวเม็ดขาว ปนสีแดงของถั่วแดง สีนวลของสมหวัง สีเหลืองของเม็ดข้าวโพดหวาน มีจุดดำเป็นหย่อมๆจากซีอิ้ว และปลากรอบสีน้ำตาลทอง ทำให้ชามข้าวของคนอยู่โดดเดี่ยว ดูอลังการ

ค่อยๆ เคี้ยวกลืนให้รับรู้รส ...อย่างเดียวดาย

...

แบบนี้เรียกว่าหุงข้าวอย่างพอจะมี tacit knowledge บ้างไหมคะ...^__^

พาออกนอกเรื่องเดียวกันอีกแล้ว...ค่ะ
 

ท่านพี่สิงห์ป่าสัก

     คิดถึงครับ กำลังตามอ่านย้อนรอยของพี่อยู่ครับ

ท่านอาจารย์จันทรรัตน์ ครับ

     คห.นี้ ได้ทราบวิธีการหุงข้าวทานแก้เหงาครับ สุดยอดจริง ๆ ขอบคุณนะครับ

  • เข้ามาเยี่ยมครับ
  • ช่วงหลังนี้ตามหาบันทึกของ  คุณชายขอบ ยากหน่อย แต่ก็หาเจอจนใด้ครับ

เรียน ท่านศิริพงษ์ ที่เคารพครับ

     ขอบพระคุณนะครับที่แวะมาเยี่ยมเยือน บันทึกยังเหมือน ๆ เดิมครับ เพราะไม่ค่อยได้เขียนเพิ่มเติมเลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท