มักจะเริ่มต้นที่ GotoKnow.Org เสมอ


ปล. คุณอำนวย เริ่มแผลงฤทธิ์ เพื่อขยายเครือข่าย KFC(oP)ภาคใต้ อีกแล้วครับ เรียกว่าผมเอาทุกทาง แบบแนบเนียนเข้าไปในทุกเรื่อง (ยิ้ม ๆ พี่เม่ย พี่เที่ยง พี่เมตตา น่าจะรู้ทันอีกแน่ ๆ)

     เมื่อวาน (28 ก.ค.49) ผมได้เข้าประชุมคณะทำงานพิจารณาสนับสนุนโครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคใน 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ที่ สปสช.สาขาพื้นที่สงขลาได้เชื้อเชิญมา งานนี้ท่านอาจารย์หมอ อมร รอดคล้าย ผอ.สปสช.สาขาฯ เป็นประธานซึ่งผมจะเขียนถึง เพราะได้บันทึกไว้แล้วด้วย (รอ edit อีกนิดหน่อย) อีกครั้งหนึ่ง

     ผมอยากจะเล่าในบันทึกนี้ก็คือความประทับใจต่อพี่ รุ่งฤดี ศิริรักษ์ ซึ่งท่านเป็นคนเดียวที่มาจากผู้ปฏิบัติงานจริง ๆ ท่านมาจากกลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลหาดใหญ่ ตอนที่ผมกำลังนำเสนออะไร เด็ด ๆ คม ๆ ด้วยถ้อยคำสำนวนคนใต้ 100 % ในภาษากลางแบบทองแดงอยู่นั้น ก็ได้ยินเสียงพี่เขาหันไปถามคณะทำงานที่นั่งใกล้ ๆ (น่าจะเป็นพี่วันดี แสงเจริญ) ว่า นี่ “ชายขอบ” ไม่ใช่เหรอ ผมเหลือบไปมองตามเสียงนิดนึงก่อนพูดต่อ และเมื่อตอนพักเที่ยง พี่เขาก็เข้ามาพูดคุยด้วยอย่างสนิทสนม ผมถามได้ความว่า ทั้งอ่านและแสดงความคิดเห็นไว้บ่อย ๆ (ไม่ได้ใช้ชื่อจริง) โดยเฉพาะในบทความเรื่อง “ค่าตอบแทนฯ ” พี่เขาบอกว่าแม้จะเป็นพยาบาล แต่ก็เข้าใจเรื่องนี้ดี และประทับใจในบทความนี้ (ผมเลยปลื้มแหละครับ) ตอนขากลับพี่เขายังขับรถไปส่งผมที่ท่ารถด้วย อันนี้ต้องขอบคุณอีกครั้งหนึ่งด้วย

     แต่ที่ผมจะเล่าในบันทึกนี้จะอยู่ที่มิตรภาพความสนิมสนมคุ้นชินกัน ได้ถือกำเนิดเกิดเริ่ม มักจะเริ่มต้นที่ GotoKnow.Org เสมอ ตามหัวเรื่องที่จั่วไว้ (นี่ไม่นับรวมที่สืบค้นได้จาก GooGle นะ จนผมเรียก 2G แล้ว) และอีกอย่างหนึ่งประเด็นที่พี่ได้นำเสนอในที่ประชุมแบบมองเห็นอย่างเข้าใจคนทำงานในพื้นที่ เป็นประโยชน์มาก ผมแอบซาบซึ้งพี่เขาก็ตรงนี้ ซึ่งเดิม ๆ ผมมักจะศรัทธาไม่มากนักต่อคนเมืองที่แสดงความรู้สึกต่อคนทำงานห่างไกลในชนบท แต่พี่ก็สะท้อนออกมาได้อย่างที่ทำให้ผมเปลี่ยนใจได้ หากพี่ไม่เพียงแต่อ่านบันทึกใน GotoKnow.Org อย่างที่พี่เล่าให้ผมฟัง แต่พี่เขียนด้วยเขียนอย่างที่พี่พูดให้ผมได้ยิน รับรองได้เลยว่า GotoKnow.Org จะได้ Blogger ที่เต็มไปด้วย Tacit K. และมีคุณภาพอีกท่านหนึ่ง

     จริง ๆ แล้วผมเคยสนใจประเด็นเรื่อง “ประสบการณ์ของบุคลากรสาธารณสุขใน รพ.หาดใหญ่ เมื่อคราวเกิดน้ำท่วมใหญ่” คราวนั้นย่อมเกิด Tacit K. ในการปฏิบัติงานอย่างมากมาย และผ่านมาหลายปีแล้ว ผมสนใจว่าในภาวะวิกฤติเช่นนั้น หากเกิดขึ้นอีกจะเป็นที่ไหนอย่างไรก็แล้วแต่ หากได้นำ Tacit K. มาเปลี่ยนเป็น Explicit K. และพวกเราที่ไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ได้ร่วมเรียนรู้บ้างน่าจะดีมากเลยครับ

     หวังว่าบันทึกนี้จะเป็นบันทึกที่พี่ รุ่งฤดี ศิริรักษ์ จะได้มาอ่านพบและผมขอเชิญชวนนะครับ รวมถึงเหมือนจะส่งคำท้าไปยัง พี่ ๆ น้อง ๆ ของเครือข่ายหน่วยบริการสุขภาพ อ.หาดใหญ่ ด้วย ท่านอยู่ใกล้เทคโนโลยี มากกว่าพวกผมที่อยู่ชายขอบอีกเยอะครับ ลปรร.กันบ้างนะครับ

 

หมายเลขบันทึก: 41428เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2006 10:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

เห็นด้วยกับคุณชายขอบค่ะ เรื่องเมื่อคราวที่เกิดน้ำท่วมหาดใหญ่ เป็นเรื่องที่น่าศึกษาและเรียนรู้มากค่ะ อยากทราบด้วยคนค่ะ

รบกวนท่านผู้รู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ตรงนั้น ช่วยบอกเล่าประสบการณ์หน่อยค่ะ จะได้เป็นการแลกเปลี่ยนกันไงคะ และอีกอย่างจะได้เป็นความรู้ สำหรับคนอื่นๆ ด้วยค่ะ

ขอบคุณล่วงหน้านะคะ

 

 

 

  • สถานการณ์ทำให้เกิดการเรียนรู้
  • สถานการณ์จริงก่อเกิดความรู้จริง
  • สถานการณ์จำลองความรู้ก็จำลอง
  • ขอบพระคุณมากครับ

น้องไออุ่น

     น่าสนใจนะ ว่าแต่น้องมีเพื่อน ๆ ที่ รพ.หาดใหญ่ไหมล๊ะ ลองโทรชวนสิครับ อาจจะมีคนสนใจถ่ายทอดนะ จำได้ว่าเคยมีพยาบาล ป.โท ที่ มอ.มาขอคำปรึกษาว่าจะทำ Thesis เรื่องคล้าย ๆ นี้นะ แต่ตอนหลังไม่แน่ใจว่าเปลี่ยนเรื่องไปไหม

ท่าน ผอ.บวร (บ้าน วัด โรงเรียน)

     ใช่ครับ ความรู้ที่ได้จากสถานการณ์จริงครานั้น ไม่ค่อยได้พบเห็นการบันทึกเลยครับ ทำให้นึกถึงเมื่อคราวสึนามิ ที่หนูน้อยร้องตะโกนช่วยคนอื่น ๆ ไว้ เพราะสังเกตได้ว่าตรงกับที่คุณครูเคยสอนไว้ไงครับ

มีค่ะ เพื่อนเป็นพยาบาลอยู่ที่นั่น เคยคุยกันเรื่องนี้ด้วยค่ะ เดี๋ยงจะลองถามๆ ดูนะคะ ได้ความว่าอย่างไร ค่อยมาบอกต่อค่ะ

 

  • แวะมาทักทาย
  • อยากบอกว่าคิดถึง
  • สนับสนุนคนทำความดีครับ
  • ขอบคุณที่แวะไปทักทาย
  • พ่อครับน้องชายขอบพิมพ์กลอนหรือยังครับ

 เรื่องน้ำท่วมหาดใหญ่  ปี 2543 ผมเขียนตามคำสั่งคุณหมอสุภัทร  ลงในวารสารโรงพยาบาลชุมชนต้นปี2544  และไปนำเสนอหลายครั้ง

ตอนหลัง เวชกรรมสังคมหาดใหญ่จะทำเป็นแผ่นพับแจกทุกปีสำหรับแนวทางปฏิบัติ  แต่ช่วงเวลาจะหลังกันยายน  เนื่องจากทางใต้ฝนจะหนักปลายปี

ถ้ายังมีคนสนใจจะหา file มาให้

 

เราจะช่วยเหลือกันได้อย่างไรเมื่อภัยน้ำท่วมมาเยือน                       จากประสบการณ์เมื่อปี2543 พวกเราพบว่าเพื่อนบ้านและคนในชุมชน คือบุคคลที่ช่วยเหลือเราได้มากที่สุด  เดิมหลายคน อยู่บ้านใกล้กัน แต่แทบจะไม่เคยได้คุยกันเลย ปกติเพียงแค่ส่งยิ้ม เมื่อครั้งที่ประสบภัยน้ำท่วมด้วยกันทุกคน มีหัวอกเดียวกัน ร่วมทุกข์ด้วยกัน มีความเห็นอกเห็นใจกันมากขึ้น อาหารที่มีอยู่ก็แบ่งปันกันกิน มีน้ำใจช่วยเหลือกัน หลังน้ำลดก็ช่วยกันทำความสะอาดบ้าน รถ  ให้คำแนะนำซึ่งกันและกัน  ทำให้เห็นว่า ในความทุกข์ยากก็ยังมีน้ำใจที่ดีแก่กัน                การช่วยเหลือกันระหว่างเพื่อนบ้านจะช่วยรักษาชีวิตและทรัพย์สินของเราได้ ควรมีการประชุมร่วม กันในกลุ่มเพื่อนบ้าน และชุมชน เพื่อวางแผนเตรียมรับภัยน้ำท่วมเป็นแนวทางหนึ่งที่จะลดความเสียหารได้ เนื่องจากเพื่อนบ้านแต่ละคนทักษะพิเศษต่างกัน เช่น บางคนเป็นแพทย์, พยาบาล, วิศวกร, ช่างเทคนิค  เป็นต้น แต่ละคนรู้ว่าจะให้ความช่วยเหลือเพื่อนบ้านที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้หรือผู้สูงอายุ และสามารถวางแผนการดูแลเด็กในกรณีที่พ่อแม่ไม่อยู่บ้านได้อย่างไร ทุกคนควรทราบจำนวนผู้อยู่อาศัย ของแต่ละบ้าน และมีการตรวจสอบจำนวนทีชัดเจนเมื่อเคลื่อนย้ายผู้คน

ขั้นตอนการอพยพออกจากบ้าน

1.      ติดตามข่าวสารทางวิทยุ เพื่อรับทราบสถานการณ์ และคำแนะนำของเจ้าหน้าที่2.      สวมเสื้อผ้าที่ปกป้องร่างการและรองเท้าที่ทนทาน3.      นำชุดอุปกรณ์ที่จำเป็น (รายละเอียดตามเอกสาร ชุดที่ 1) ติดตัวไปด้วย4.      ปิดประตุบ้าน5.      ควรใช้เส้นทางที่เชื่อถือได้ จากการ รายงานข่าว อย่าใช้ทางลัด เพราะอาจเป็นเส้นทางที่อันตราย และการช่วยเหลือจะเป็นไปด้วยความลำบาก6.      ควรปิดน้ำ แก๊ส และเครื่องใช้ไฟฟ้า ก่อนออกจากบ้าน7.      ควรเขียนบันทึกบอกคนอื่นว่าคุณออกไปอยู่ที่ไหน8.      ขนย้ายสัตว์เลี้ยงไปอยู่ที่ปลอดภัยหากมีแนวโน้มว่าน้ำจะท่วม ขอให้คุณเตรียมปฏิบัติตามแผนที่ครอบครัวได้ตกลงกันไว้ อย่านิ่งนอนใจหรือชะล่าใจในระดับน้ำ มิฉะนั้น คุณและครอบครัวจะไม่สามารถอพยพออกจากที่อยู่อาศัยได้ทัน ความสูญเสียที่เกิดแก่ชีวิต เป็นความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ไม่สามารถประเมินค่าได้ การรักษาชีวิต เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดไม่ว่าในสถานการณ์ใด    ด้วยความปรารถนาดี กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลหาดใหญ่

เอกสารอ้างอิง

อมร  รอดคล้าย. (2543). การพึ่งพาตนเองและพึ่งพาอาศัยกันทางสาธารณสุข บทเรียนร่วมกันของอุทกภัยหาดใหญ่, 2543 – 2544. โรงพยาบาลชุมชน, 2(5), 15-20. The American National Red Cross. (2001).  Disaster Services. Mimeographed.   

       คณะผู้จัดทำ

นางสาวจารุณี       กิตโรนางปฐมามาศ       โชติบัณนางอุทุมพร           ทันตานนท์นางศิริอร              ภัทรพฤกษา  
          
  • ขอต่ออ.บวรว่า สถานการณ์ก่อให้เกิด Hero ตัวจริงด้วยค่ะ
  • รูปประวัติจะดูดีกว่าตัวจริงเกินไปหรือเปล่าคะ ? (แซวยักษ์...แปลว่าอะราย.บอกด้วย....)

อาจารย์หมออมร รอดคล้าย

     ขอบพระคุณอาจารย์มากครับที่เข้ามาเติมเต็มให้ในบันทึกนี้ สนใจครับ สนใจครับหากอาจารย์จะมอบไฟล์ให้ ในประเด็นที่บอกว่าอาจารย์เขียนตามคำสั่งหมอสุภัทร (นามสกุล ฮาสุวรรณกิจ ผอ.รพ.จะนะ น่าจะใช่ ใช่ไหมครับ) ผมอ่านแล้วยิ้ม ๆ เลยครับ
     ผมขออนุญาตนำข้อมูลนี้ไปตีพิมพ์เป็นอีกบันทึกหนึ่งต่างหากนะครับ เพื่อง่ายต่อการสืบค้นเข้ามานำเอาไปใช้กันครับ

คุณศุภลักษณ์

     รูปจะดูดีกว่าตัวจริงไปได้ยังไงกัน ตัวจริงนะเท่ห์หยอกซะที่ไหน แต่อันนี้ก็แล้วแต่นะครับ คนที่รักบอกว่าหล่อ คม และเข้มครับ หากมี/มีโอกาสจะแนะนำให้รู้จักเนอะ (อิๆๆๆ)
     แซวยักษ์ ก็ประมาณว่า แซวกันใหญ่ หรือคุณว่ายักษ์ตัวเล็กครับ (ฮา)

 

  ส่ง file น้ำท่วมให้ทาง  email แล้วครับ  แต่ไม่แน่ใจว่าจะเป็น version ใดบ้าง  เพราะแต่ละปีจะมี update

อาจารย์หมออมร ครับ

     ผมนำไปเขียนเป็นบันทึกต่างหากให้แล้วนะครับ และอ้างอิงว่าได้รับไฟล์จากอาจารย์ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท