ค่าตอบแทนกำลังคนในระบบสาธารณสุขยุคปัจจุบัน เป็นธรรมแล้วหรือ?


ค่าตอบแทนกำลังคนในระบบสาธารณสุขยุคปัจจุบันเป็นธรรมแล้วหรือ? [1]

ค่าตอบแทนกำลังคนในระบบสาธารณสุขยุคปัจจุบัน เป็นธรรมแล้วหรือเป็นคำถามที่ไม่ต้องหาคำตอบเพราะรับรู้กันในวงกว้างว่าไม่มีความเป็นธรรมเลยและเราได้ปล่อยให้ความเหลื่อมล้ำนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและสะสมมาจนถึงวันนี้เสมือนหนึ่งเราได้ให้ความร่วมมือกับความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นนี้ด้วยเพียงเพราะเราไม่ช่วยกันพูด เราไม่มีปากเสียงตัวแทนของเราที่ได้ยื่นข้อเสนอไปก็เงียบ เมื่อสอบถามกลับพบว่า“ผู้ใหญ่ท่านขอไว้” เพื่อแลกกับการไปช่วยขับเคลื่อน (ร่าง)พ.ร.บ.วิชาชีพสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. ....... ให้แทนทั้งการพิจารณาเพื่อให้ความเป็นธรรมในเรื่องค่าตอบแทนและการขับเคลื่อน พ.ร.บ.วิชาชีพสาธารณสุขชุมชนไม่ใช่สิ่งที่เราจะต้องเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่งแต่เป็นทั้งสองเรื่องที่กำลังคน “คนชายขอบ”ในระบบสาธารณสุขต้องรวมพลังและผลักดันให้เกิดขึ้นสำหรับบทความนี้จะขอเน้นไปที่ความเป็นธรรมของค่าตอบแทนกำลังคนในระบบสาธารณสุขเพื่อให้เห็นว่านี่เป็นผลพวงหนึ่งที่เรายังไม่มีสภาวิชาชีพของเราเอง

     ความหมายของค่าตอบแทน[2] (Compensation)คือค่าใช้จ่ายที่องค์การจ่ายให้แก่ผู้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบจูงใจให้มีการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพส่งเสริมขวัญกำลังใจของผู้ปฏิบัติงานและเสริมสร้างฐานะความเป็นอยู่ของครอบครัวผู้ปฏิบัติงานให้ดีขึ้นค่าตอบแทนประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ค่าจ้างและเงินเดือน (Wage andSalary) ค่าจูงใจ (Wage Incentive) และประโยชน์เกื้อกูล (Fringebenefit) ปัจจัยที่ใช้กำหนดในการพิจารณาจ่ายค่าตอบแทน มี 7 ประการ คือ1) ระดับค่าจ้างทั่วไป (Prevailing rate) 2) ความสามารถในการจ่าย(Ability to pay) 3) มาตรฐานการครองชีพ (Standard of living) 4)ค่าของงาน (Job Value) 5) อำนาจการต่อรอง (Bargaining power) 6)รัฐบาล (Government) และ 7) ผลิตผลขององค์การ(Productivity) 

     จากความหมาย องค์ประกอบและปัจจัยกำหนดค่าตอบแทนดังกล่าวข้างต้น จะขอจำแนกปัจจัยกำหนดออกเป็น2 ส่วน คือในส่วนที่บุคลากรในระบบสาธารณสุขมีเหมือนกันและแตกต่างกันเฉพาะกลุ่ม เฉพาะคน

     1. ปัจจัยกำหนดที่เหมือนกันหรืออยู่ภายใต้บริบทเดียวกัน คือ ระดับค่าจ้างทั่วไปตามกลไกตลาด(ขั้นต่ำสุด) ความสามารถในการจ่ายขององค์การ มาตรฐานการครองชีพในสังคมรัฐบาล และผลิตผลขององค์การ ปัจจัยกำหนดทั้ง 5 ประการนี้หากใช้พิจารณากำหนดค่าตอบแทนบนพื้นฐานข้อเท็จจริงแล้วทุกคนที่เป็นบุคลากรในองค์การเดียวกันย่อมต้องได้รับเท่ากัน(ไม่ใช่เท่าเทียมกัน)ฉะนั้นการใช้ปัจจัยกำหนดเพียงส่วนนี้เท่านั้นในการพิจารณากำหนดค่าตอบแทนจึงไม่เกิดความเป็นธรรมที่แท้จริงในระบบสาธารณสุขเพราะบุคคลย่อมแตกต่างกันในหลาย ๆ ประการ เช่น สมรรถนะ (Competence)เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลให้มีค่าของงานที่เกิดขึ้น (Job Value)ไม่เท่ากันหรือแตกต่างกันในแต่ละบุคคลฉะนั้นการนำเอาผลลัพธ์ของการปฏิบัติงานมาเป็นปัจจัยกำหนดด้วย จึงจะเป็นวิธีการที่สร้างความเป็นธรรมได้จริงดังจะได้กล่าวในประเด็นส่วนที่ 2 ต่อไป

     2. ปัจจัยกำหนดที่แตกต่างกันแม้จะอยู่ภายใต้บริบทเดียวกัน ได้แก่ ค่าของงาน และอำนาจการต่อรองจากปัจจัยกำหนดทั้ง 2ประการที่เหลือจะเห็นว่าสามารถพิจารณาได้โดยสามัญสำนึก (Common Sense)ว่าเป็นส่วนทำให้ค่าตอบแทนทั้งหมดไม่เท่ากันและบุคลากรในองค์การจะให้การยอมรับได้ทันทีหากมีเหตุผลอธิบายถึงความแตกต่างของผลลัพธ์ในการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นที่เรียกว่า“ค่าของงาน (Job Value)” ได้อย่างเหมาะสม แต่ “ค่าของงาน”เป็นเรื่องของนามธรรมมากกว่ารูปธรรมซึ่งต้องอาศัยความพยายามในการอธิบายให้เห็นภาพ และการนำเสนอสู่สาธารณะจนเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจในการต่อรองถึงจุดนี้ปัจจัยกำหนดนี้จึงเป็นข้อเท็จจริงเพียงครึ่งเดียวเท่านั้นหรืออาจจะไม่ถึงครึ่งหนึ่งด้วยซ้ำ ที่ถูกนำมาใช้ในการกำหนดค่าตอบแทนที่เหลือถูกปกปิดอยู่เพราะการนำเสนอถึง “ค่าของงาน”และการรวมพลังจนเป็น “อำนาจการต่อรอง” กลุ่มไหนหรือใครมีมากกว่ากลุ่มนั้นได้ไป มีให้เห็นเป็นข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์มากมายในสังคมนี้ซึ่งบทความนี้ไม่อยากพาดพิงไปถึง(ด้วยเชื่อว่าเรารับรู้กันอยู่แล้ว) 

     นักรบผู้กล้าในระบบสาธารณสุขที่คอยระวังหน้าไม่ให้ประชาชนเจ็บป่วย ให้ประชาชนมีสุขภาพดี มีความสุขเพื่อจะให้ข้างหลังไม่ต้องรับภาระหนักเกินไปแต่ข้างหลังกลับใช้เวลาที่เหลือสร้างฐานะความร่ำรวยให้แก่ตนเองอย่างชอบธรรมในขณะที่ประชาชนหากเจ็บป่วยไม่มากมายนักท่านก็ติดอาวุธกึ่งอัตโนมัติให้นักรบเหล่านี้เพื่อสามารถจัดการเองได้แต่ท่านไม่ได้ให้อิสระแห่งวิชาชีพท่านให้ดำเนินการภายใต้อำนาจแห่งท่าน ก็ชอบธรรมและเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนรวมถึงเป็นการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐได้อย่างชัดเจนเพราะต้นทุนส่วนนี้ถูกมาก ไม่แพงเหมือนที่ท่านต้องจัดการเองและประชาชนก็เข้าถึงได้ง่ายกว่า สำหรับ “ค่าของงาน”หากพิจารณาในเชิงปริมาณก็มีมากขึ้นตามที่ท่านติดอาวุธกึ่งอัตโนมัติให้รวมถึงนโยบายที่ท่านช่วยกำหนดเพิ่มเติมอีก และสามารถบรรยายได้ทั้งหมดเชิงคุณภาพเราก็เร่งพัฒนาทั้งเชิงเทคนิคบริการและคุณภาพเชิงสังคมต้องยอมรับว่าเรามีคุณภาพในสายตาประชาชนมาอย่างยาวนานและต่อเนื่องแต่เราใช้เกณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐานมาวัดเพราะเราวัดจากวิญญาณความรู้สึกของประชาชน ที่เขาได้แสดงออกมาและให้การยอมรับว่าเราเป็นพี่ เป็นน้องของเขาเสมือนเป็นครอบครัวเดียวกับเขา

    ในด้านความประหยัดก็เป็นที่ยอมรับกันในวงวิชาการว่าการจัดบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิที่เป็นแนวหน้าตามหน้าที่ของเรานี้มีต้นทุนน้อยที่สุดทั้งต้นทุนภาครัฐเองและต้นทุนด้านประชาชนด้วย[3]ด้านประสิทธิผลก็ดูได้จากความสำเร็จของแผนงาน/โครงการที่ถูกสั่งการลงมาและดูจากความเข้มแข็งของชุมชนในการร่วมกันสร้างสุขภาพอย่างเช่นกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข กลุ่มองค์กรผู้สูงอายุหรือชมรมด้านสุขภาพต่าง ๆค่าของงานมีอะไรอีกหรือที่เราไม่ทัดเทียมกับวิชาชีพอื่น ๆหรือเป็นเพราะเราไม่มีอำนาจต่อรองใด ๆ หรือเป็นอาชีพที่บริษัทไม่รับและโรงพยาบาลเอกชนก็ไม่เอาหรือเพราะเราอยู่ไกลเกินไปที่จะเรียกร้องออกเสียงให้ได้ยินไปถึงใจกลางเมืองหลวงหรือเพราะเราไม่มีเครือข่ายองค์กรที่กฎหมายให้การรับรองในการออกมาทำหน้าที่อธิบายให้เห็นภาพ“ค่าของงาน” ที่ได้เราได้ร่วมกันปฏิบัติด้วยจิตวิญญาณต่อสังคมสาธารณะ

     “คน (สธ.) ชายขอบ”ทั้งหลายที่เป็นนักรบแนวหน้า ท่านอย่าได้ละทิ้งสิ่งที่เคยทำมาในอดีตเพียงเพราะมีการสร้างกระแสเชิงรุก และให้คนกลุ่มหนึ่งมาทำแทนท่านและไม่ใช่การปฏิเสธคนกลุ่มนั้นด้วยการไม่ให้เขาทำแต่เราต้องร่วมกันทำเพื่อประชาชน การให้บริการเชิงรุกแก่ประชาชนนั้น“หมออนามัย” ทำมานานแล้ว แต่ไม่ค่อยได้นำเสนอออกทางโทรทัศน์หรือถูกเสนอผ่านสื่ออื่น ๆ มากนักต่อมาเมื่อกลุ่มวิชาชีพอื่นในระบบสาธารณสุขลงมาจับ ลงมาเล่นตามแนวนโยบาย เขาก็เอาไปอ้างเป็น “ค่าของงาน”อย่างชอบธรรมอยู่ฝ่ายเดียวการร่วมกันสร้างสุขภาพแก่ประชาชนเชิงรุกโดยทีมสุขภาพที่เป็นสหวิชาชีพเป็นสิ่งถูกต้องแล้ว ท่านจะถูกผลักออกมาเสียหรือเดินออกมาเองจากการรับรู้ของสังคมสาธารณะไม่สำคัญแต่ตอนนี้ขอให้ทบทวนและร่วมเป็นทีมสุขภาพเพื่อสุขภาวะของประชาชนต่อไปอย่าท้อถอยหรือหมดกำลังใจ ทุกอย่างสามารถแก้ปัญหาและพัฒนาให้สู่จุดสมดุลได้โดยใช้พลังปัญญา (องค์ความรู้) พลังของเครือข่ายและพลังภาคการเมือง

    ดังที่ได้กล่าวไว้ว่าการไม่ได้รับความเป็นธรรมในเรื่องการพิจารณาค่าตอบแทนกำลังคนในระบบสาธารณสุขมีสาเหตุหลักจากการขาดปัจจัย2 ประการ คือ “ค่าของงาน” ซึ่งในข้อเท็จจริงนั้นมี แต่ไม่มีใครเห็นไม่มีใครรับรู้ หรือทำเป็นไม่รับรู้หรือว่างานในหน้าที่ที่เราปฏิบัติอยู่ในแต่ละวันขณะนี้ไม่มีค่าอะไรเลยจริงๆ เป็นประการที่หนึ่ง และประการที่สอง คือการไม่มีอำนาจต่อรองตามทัศนะของผู้เขียนเห็นว่าการไม่มีองค์กรตัวแทนวิชาชีพที่ชอบธรรมและถูกต้องตามกฎหมายมากกว่าเป็นสาเหตุที่อยู่เบื้องหลังของการไม่ได้รับความเป็นธรรมครั้งนี้แต่ในการแก้ปัญหานี้ควรจะต้องกำหนดยุทธศาสตร์ร่วมเป็น 2 ระยะคือ
     1. ยุทธศาสตร์ระยะสั้นเป็นการแก้ปัญหาในปัจจุบันด้วยการรวมพลังเท่าที่มีสร้างอำนาจต่อรองด้วยการอธิบายให้เห็นภาพ“ค่าของงาน” และการนำเสนอสู่สังคมสาธารณะหรือสร้างอำนาจต่อรองรูปแบบอื่น ๆ ที่พลังของเครือข่าย “คน (สธ.)ชายขอบ” จะเห็นพ้องต้องกัน
     2. ยุทธศาสตร์ระยะยาวเป็นการผลักดันให้มีองค์กรตัวแทนวิชาชีพที่ชอบธรรมและถูกต้องตามกฎหมาย ด้วยการร่วมกันขับเคลื่อนพ.ร.บ.วิชาชีพสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. .......ให้มีผลบังคับใช้ให้เร็วที่สุดเพื่อลดลักษณะความไม่เป็นธรรมที่จะเกิดขึ้นอีกในอนาคต พร้อม ๆกับการเรียกร้อง พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. .......ให้เดินหน้าต่อไปได้แล้ว
     การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ทั้ง 2 ระยะต้องอาศัยพลังของเครือข่ายก่อนเพื่อสร้างหรือทบทวนหรือรวบรวมพลังแห่งปัญญา (องค์ความรู้)จากนั้นขอให้ท่านเชื่อมั่นว่าพลังจากภาคการเมืองจะถูกดูดโดยเครือข่ายที่มีปัญญาเข้ามาร่วมยุทธศาสตร์นี้เอง

     หมายเหตุจากผู้เขียน :บทความนี้เป็นทัศนะส่วนตัวของผู้เขียนไม่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานที่ผู้เขียนสังกัดอยู่หรือผู้บังคับบัญชาของผู้เขียนแต่อย่างใด

[1] ผู้เขียน : อนุชา  หนูนุ่น [สศ.บ. (บริหารสาธารณสุข),วท.ม. (การวิจัยและพัฒนาระบบสาธารณสุข)]
[2] เอกสารเผยแพร่วิชาการ “โครงสร้าง/การบริหารบุคคล” สำนักงาน ก.พ.(2548)
[3] สุพัตรา  ศรีวณิชชากร และคณะ (2539) ;อารี  วัลยะเสวีและคณะ (2542)

หมายเลขบันทึก: 3381เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2005 15:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 เมษายน 2019 12:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
     บทความนี้น่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเรียกร้องได้
หมออนามัยคนหนึ่ง
อ่านข่าว สธ. ทุ่ม 3 พันล้านเพิ่มค่าตอบแทนแพทย์ ที่ http://gotoknow.org/archive/2006/03/15/10/35/27/e19079 แล้ว รู้สึกแย่ ๆ จัง

จากที่ คุณ"หมออนามัยคนหนึ่ง"..link ไว้ให้..ตามไปดูแล้วค่ะ..เห็นใจคนทำงาน..ไม่ว่าจะเป็นหมออนามัย..หรือพยาบาลนะคะ..ขนาด..นี้ยังมีการแบ่งชนชั้น..และประเทศชาติล่ะคะ..จะหวังอะไรได้...เมื่อไร..คน..จะลุกขึ้นมาทบทวนถึงความเป็นธรรมที่ "มนุษย์"..พึงมีพึงได้ล่ะคะ...

 

ในการทำงาน..จากข้อมูลเชิงคุณภาพที่พบ.."การที่จะตามแพทย์สักคนมาดูคนไข้..นี่..แทบกราบอ้อนวอนเลยนะคะ..."..นี่เป็น Theme หนึ่งที่ได้...จากเสียงสะท้อนคนทำงานที่อยู่ในวิชาชีพพยาบาลค่ะ

 

     ตอนนี้สถานการเรื่องการจัดการค่าตอบแทนต่าง ๆ ในกระทรวงสาธารณสุข เรียกว่าหลุดโลกจนแทบจะไม่ต้องพูดอะไรกันอีกแล้ว ผมเชื่อครับว่าวันหนึ่งความเลวร้าย จะเกิดขึ้น ไม่ได้ท้า แต่คลื่นใต้น้ำจะแรงมากตามคำทำนาย เพราะเงียบ ๆ แต่คาดว่าน่ากลัว เชื่อเช่นนั้น
อ่านแล้วเหนื่อยอ่อน  เราต่อสู้กันมานานเหลือเกินอีกนานไหมเขาจะรู้จักเราแพรดบ้านนอก  หรือว่าแกล้งโง่

คุณนวก.อาจสามารถ

     เป็นกำลังใจให้นะครับ ต่อสู่ต่อไป แต่ผมนะเลือกเดินทางตามประเด็นข้อเสนอที่ว่า "ค่าของงาน" ครับ หมออนามัยเราจะมีจุดอ่อนตรงที่งานอันมีคุณค่า หมอนามัยที่มีศักยภาพ ยังไม่ได้รับการนำเสนอสู่สังคม...ผมและเครือข่าย กำลังเดินทางนี้กันอยู่อย่างมุ่งมั่นตัวอย่างกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในระดับภาคใต้เร็ว ๆ นี้คือเวทีสาธารณะ การปฏิรูปการเมืองกับบทบาทเครือข่ายวิชาชีพสุขภาพ ณ มอ.หาดใหญ่ ครับ

  • ได้เห็นข่าวสั้นๆจากจอโทรทัศน์เมื่อวานนี้แล้วค่ะ ใจนึกถึงคุณชายขอบแปลบเลย...คิดว่ากลุ่มหมออนามัยต้องผลักดันให้มี "สภาวิชาชีพ...." โดยเร็วที่สุด เพื่อให้มีอำนาจต่อรอง และมีโอกาสแสดง "ค่าของงาน" ได้...
  • เป็นกำลังใจให้นะคะ..."ค่าตอบแทน" ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างคนได้ แต่ไม่ได้ลด"ค่าของคน" ค่ะ!..สู้..สู้
     ขอบคุณพี่เม่ยมากครับที่นึกถึงและเป็นแรงใจให้ "หมออนามัย ชนกลุ่มน้อย คนชายขอบ" สำหรับตัวผมเองแม้จะมีค่าตอบแทนสำหรับหมออนามัยออกมา ก็ไม่มีผลอะไร จึงเดินได้อย่างสบายใจเรียกว่า "ไม่พักหมังเหมํ" ยิ้ม ๆ ...สู้
นายช่างโยธาโดยบังเอิญ

ขอได้รับการคารวะอย่างสูงครับ นักสู้หมออนามัยผู้กล้า เป็นกำลังใจให้ครับ กระทรวงนี้กดขี่พวกท่านมานานแล้ว โดยสภาวิชาชีพกลุ่มหนึ่งถือบังเหียนอยู่ เขาเรียกศักดินาองค์กรครับ สภาพวกนี้เขาจะทำทุกวิถีทางเพื่อสร้างภาพความศักดิ์สิทธิ์ให้กับตัวเอง กดดัน สธ.เรียกร้องค่าตอบแทน ค่าโน้น ค่านี่ เชื่อเถอะคับ เขาไม่ต้องการผลิตคนของเขาออกมาให้พอกับความต้องการของประชนหรอก ถ้ามีเยอะก็จะทำให้มีผลกระทบต่อรายได้ มีน้อยจะได้ถือว่าขาดแคลน ก้มกราบ อ้อนวอนยามป่วยไข้ ทั้งที่คนที่รับบทจริงคือคนที่ทำหน้าที่ปกป้องโรคภัยให้กับประชาชน โรคภัยมองไม่เห็นตัวด้วยซ้ำ ไม่รู้จะมาจากทิศทางได พอป่วยไข้คนพวกนี้ก็รับไปอ้างผลงานสร้างความศักดิ์สิทธิ์ให้กับตนเอง เห็นใจครับ บทเรียนประเทศหนึ่งครับที่มีการจัดระบบบุคคลากรของรัฐด้านสาธารณะสุขของรัฐที่ได้ผลดี ประเทศคิวบาครับ เขาห้ามการตั้งสภาวิชาชีพที่เป็นอิสระของกลุ่มบุคคลในวิชาชีพนี้เด็ดขาด โดยถือเป็นหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุขโดยตรงอยู่แล้วในการที่จะต้องควบคุมจรรยาบรรณของคนกลุ่มนี้ และเพื่อป้องกันการทำการค้าหากำไรจากการให้บริการด้านสุขภาพอนามัยของประชาชน คนกลุ่มนี้ไม่ว่าจะเป็นงานด้านป้องกันหรือเยียวยารักษาจะมีจำนวนที่เพียงพอและได้สัดส่วนกับภาระหน้าที่ โดยถือหลักว่า ลดเงิน เพิ่มคน เสริมสวัสดิการครับ แต่ที่เราเป็นอยู่ทุกวันนี้ผิดถนัดครับ ยกตัวอย่างวิชาชีพ(วิศกร)อย่างผมเป็นกรณีศึกษา บรรจุครั้แรกค่าตอบแทน 7,xxx บาท ประมาณกลุ่มคนในวงการวิชาชีพข้างต้นสูงส่งไป จัดจ้างก่อสร้างโรงพยาบาลแต่ละทีต๋งนอกต๋งในกรรมการตรวจรับหลักแสนหลักล้าน งุบงิบแต่ละทีกลัวผมรู้ กลัวเป็นที่ครหาต่อวิชาชีพข้างต้น หมดศัทธาเลยคับ เรื่องงานก็ตรากตรำไม่แพ้หมออนามัย ดินโคลน อิทธิพล ขมขู่มีตลอด แต่ก็แข็งใจสู้ ผิดพลาดมาคงตายเยอะกว่าฉีดยาผิด ค่าตอบแทนพิเศษ และค่าวิชาชีพ ต้องรอระดับ 6 คับ ผมว่ากระทรวงนี้เปลี่ยนเป็นกระทรวงแพทพยาบาลจะเหมาะกว่าครับ ขอบคุณครับ ปล.กพ นี่ก็แสบพอกัน

  • ขอบคุณครับนายช่างโยธา
  • ผมรับตอบให้เพราะหากยังอยู่จะได้ทันอ่านนะครับ
  • ผมลาออกจากระทรวงนี้มาหลายเวลาแล้วครับ
  • แต่ด้วยเหตุผลความไม่ทัดเทียมกันในเรื่องโอกาสของการเรียนต่อครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท