เมตตาแบบหายใจออก


เราๆ ท่านๆ คงจะมีประสบการณ์ในการอบรม เจริญเมตตามาแล้วไม่มากก็น้อย คำบริกรรมที่ใช้กันบ่อยขึ้นต้นด้วย “สัพเพ สัตตา...” คงจะเป็นที่คุ้นเคยกันดี

 

เราๆ ท่านๆ คงจะมีประสบการณ์ในการอบรม เจริญเมตตามาแล้วไม่มากก็น้อย คำบริกรรมที่ใช้กันบ่อยขึ้นต้นด้วย สัพเพ สัตตา... คงจะเป็นที่คุ้นเคยกันดี         

ผู้เขียนมีคำแนะนำจากท่านพระคันธสาราภิวงศ์ วัดท่ามะโอ เกี่ยวกับการฝึกอบรม เจริญเมตตาที่ค่อนข้างง่าย และได้ผลเร็ว

ท่านเล่าเรียนบาลีมูลกัจจายน์(บาลีใหญ่)จากท่านพระอาจารย์ชาวพม่า(ท่านพระธัมมานันทะ อัครมหาบัณฑิต) ณ วัดท่ามะโอ

ต่อมาไปศึกษาต่อในประเทศพม่าจนจบชั้นธัมมาจริยะ และอภิวังสะ สอบได้ที่ 1 ของจังหวัดแปร และที่ 2 ของประเทศพม่าตามลำดับ

ท่านพระจะนะกะ(ชนกะ) พระชาวพม่าเล่าว่า การศึกษาพระไตรปิฎกชั้นอภิวังสะนั้น... สอบผ่านกันเพียงปีละ 2-3 ท่านเท่านั้น

ท่านพระอาจารย์สาราภิวงศ์(สมลักษณ์)เป็นผู้มากด้วยเมตตา ทว่า... ท่านเล่าว่า เดิมท่านเป็นคนไม่ยอมใคร พี่ชายจับบวชเณรฤดูร้อน จึงบวชมาเรื่อย

นั่นก็ยังไม่ทำให้ท่านเย็นลงเท่าไหร่ จนกระทั่งเมื่อครั้งไปฝึกอบรมกรรมฐานในสำนักมหาสีสยาดอ ณ ประเทศพม่านาน 3 เดือน

การฝึกปฏิบัติเป็นไปอย่างเข้มข้นสไตล์พม่า เรียกว่า ฝึกหนักทั้งวัน นั่งสมาธิ 1 ชั่วโมง  เดินจงกลม 1 ชั่วโมงสลับกันแทบทั้งวัน

ครั้นจะหนีไปนอนก็ไม่ได้ เพราะจะมีพระอาจารย์ผู้ควบคุมกฎล็อคห้องนอนไว้ ไม่ให้เข้าไประหว่างการฝึกอบรม        

ครั้นตกเย็น... รู้สึกเหนื่อยมาก จะพิจารณาพระสูตรที่ทรงจำได้ก็พิจารณาต่อไม่ไหว และแล้ว... วิกฤตก็กลับกลายเป็นโอกาสอีกครั้งหนึ่ง

   

ท่านทดลองสาธยายคำเจริญเมตตาเป็นบาลีบ้างไทยบ้าง พบว่า การสาธยายที่ดีที่สุดควรเป็น 2 ภาษาสลับกัน

การสาธยายบาลีเป็นการรักษาพระพุทธพจน์ หรือคำสอนของพระพุทธเจ้า ส่วนการสาธยายเป็นภาษาไทยทำให้เรา เข้าถึง (in)” อัตถะ หรือเนื้อความได้ชัดเจน

ท่านทำการทดลองสาธยายในระหว่างการหายใจเข้า และหายใจออกพบว่า การสาธยายในระหว่างการหายใจออกช่วยให้ผ่อนคลาย (relax) ได้ดี

ต่อมาได้พัฒนาเทคนิคการสาธยายขึ้นใหม่ โดยสาธยายในใจระหว่างหายใจเข้า สาธยายเป็นเสียงออกมาระหว่างหายใจออก ท่านพบว่า วิธีนี้ได้ผลดีที่สุด

คำสาธยายเมตตามีดังต่อไปนี้

  •  สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง
  • อเวรา โหนตุ จงมีความสุข อย่าได้มีเวรซึ่งกันและกันเลย
  • อัพฺยาปัชฌา โหนตุ จงมีความสุข อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
  • อนีฆา โหนตุ จงมีความสุข อย่าได้ทุกข์กายทุกข์ใจเลย
  • สุขี จงมีความสุขกายสุขใจ
  • อัตตานัง ปริหรันตุ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด

ท่านพระอาจารย์สมลักษณ์แนะนำว่า การเจริญเมตตาให้ดี ควรเจริญให้ได้ทั้ง 4 อิริยาบถได้แก่ ยืน เดิน นั่ง นอน

ท่านเล่าว่า เมื่อฝึกเจริญเมตตาแบบนี้จนครบ 3 เดือนแล้ว พบว่า เย็นลงไปมาก...

ผู้เขียนขอเรียนเสนอให้ท่านผู้อ่านลองฝึกหายใจช้าๆ สาธยายบทเมตตานี้ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขของท่านทั้งหลาย

การอบรม เจริญเมตตามีประโยชน์ทั้งต่อตัวเอง และคนรอบข้าง... สังคมทุกวันนี้อุปมาเหมือนกับ สังคมใกล้จุดเดือด หรือสังคมระดับเกือบ 100 องศาเซลเซียส

อุณหภูมิของสังคมทุกวันนี้กล่าวได้ว่า พร้อมที่จะทำให้เรา เดือด ได้ตลอดเวลา ถ้าเย็นลงบ้าง... ลดลงครึ่งหนึ่งเป็น 50 องศาเซลเซียสได้ก็คงจะดีไม่น้อย

ผู้เขียนขอเรียนเสนอให้ฝึกหายใจให้ช้ากว่า 10 ครั้งต่อนาทีให้ได้ ถ้าฝึกหายใจช้าขนาดนี้ได้อย่างน้อยวันละ 15 นาที... นอกจากจะเย็นลงแล้ว ความดันเลือดยังมีแนวโน้มจะลดลงได้ด้วย

คนที่เย็นลง ความดันเลือดลดลง และความดันทุรังลดลงคงจะเป็นคนที่น่าคบหา คนรอบข้างเลยพลอยสบายกาย สบายใจไปด้วย

ขออนุญาตกล่าวสาธุการสำหรับท่านผู้อ่านที่จะอบรม เจริญเมตตาล่วงหน้าครับ... สาธุ สาธุ สาธุ ขออนุโมทนาในกุศลเจตนาของทุกท่าน

หมายเหตุ:                              

  • คำ อัพฺยา มีจุดอยู่ด้านล่างตัวอักษร ให้ออกเสียง พะ สั้นๆ ประมาณ ½ ของเสียงสระอะปกติ
แหล่งข้อมูล:                           
  • กราบขอบพระคุณ > ท่านพระคันธสาราภิวงศ์. อธิบายวิธีแผ่เมตตา. วัดท่ามะโอ. ๒๙ สิงหาคม ๒๕๔๙.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ > ๓๐ สิงหาคม ๒๕๔๙.
เชิญอ่าน & ดาวน์โหลดที่นี่:        

<ul><li><div class="MsoBodyTextIndent" style="margin: 0cm 0cm 0pt 18pt; text-indent: -18pt; tab-stops: list 18.0pt"> อ่านบ้านสุขภาพ >>> http://gotoknow.org/blog/health2you </div></li></ul>

หมายเลขบันทึก: 47253เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2006 16:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)
  • จะลองท่องดู
  • ปกติท่องว่า สัพเพ สัพตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
  •  จงเป็นสุขเป็นสุขเถิดอย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
  • จงเป็นสุขเป็นสุขเถิดอย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
  • จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตน ให้พ้นจากทุข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ
  • เหมือนกันไหมครับ ท่องสมัยเด็กๆเลยจำได้ตอนนี้ท่องแล้วใจเย็นดี แผ่เมตตาด้วยครับ
  • ขอบคุณคุณหมอมากครับ
  • ดิฉันมักจะทำเพียรคือ การนั่ง ยืน นอน และเดิน โดยการกำหนดลมหายใจเข้าออก พุท-โธ(ปฏิบัติธรรม)เมื่อมีเวลาว่างแต่เช้าตรู่ หนึ่งในนั้นจะขาดคือการแผ่เมตตาหลังทำเพียรเสร็จ ให้กับเจ้ากรรมนายเวรค่ะ ช่วยด้านสุขภาพใจได้ดีมาก
  • ก่อนนอนก็จะเเผ่เมตตาเสมอ เป็นวิธีการที่ดีในการรวบรวมสมาธิและทำจิตใจให้บริสุทธิ์ก่อนนอนค่ะ
  • และมีข่าวแจ้งว่าดีใจที่มีนโยบายให้ข้าราชการผู้หญิงลา(ยังคงได้เงินเดือนอยู่ในวันลาด้วย)ไปปฏิบัติธรรมได้ด้วยค่ะ แต่ยังอยู่ในกระบวนการ่างกฎหมายอยู่(ยังถกเถียงว่าให้ลาได้หนึ่งหรือสามเดือน) แต่ก็เป็นนิมิตรหมายที่ดีว่าสังคมเรายังให้ความสำคัญทางด้านจิตใจของบุคคลากรโดยเฉพาะเพศแม่ซึ่งต้องทำงานทั้งในบ้านและนอกบ้านอย่างหนักได้พักใจในร่มโพธิญาณ...

ขอขอบคุณอาจารย์ขจิต และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

  • ความเห็นส่วนตัวของผม > คิดว่า ความหมายของคำแปลบทสาธยายเมตตาคล้ายกัน

ทว่า...ฉบับของท่านพระอาจารย์สมลักษณ์ดูจะโดดเด่นมากที่สุดเท่าที่พบมา...

  • (1). มีการประยุกต์การหายใจเข้ามา น่าจะเรียกได้ว่า "เมตตาแบบหายใจออก (expiratory metta)"
    (2). มีการจัดเว้นวรรคให้พอดีกับการสาธยาย ส่วนนี้ถ้าจังหวะการหายใจของใครไม่พอดีกับคำบรรยาย จะเว้นวรรคเพิ่มขึ้น หรือลดลงก็น่าจะได้
    (3). ช่วงหายใจออก > ร่างกายจะผ่อนคลาย (relax) มากกว่าหายใจเข้า + ระยะเวลาหายใจออกจะยาวกว่าหายใจเข้า > กายที่ผ่อนคลายเป็นปัจจัยแก่จิตที่ผ่อนคลายด้วย (รูปเป็นปัจจัยแก่จิต)
    (4). การทำบุญ(ถ้าเป็นไปได้) > ควรแสดงออก (expression) ออกมาให้ครบทั้งกาย วาจา และใจ (3 ทวาร) > การฝึกเมตตาแบบนี้ได้ทั้งใจ+วาจา > ถ้าลองทำในอิริยาบถอื่น เช่น เดิน ยืน ฯลฯ หรือใช้ในชีวิตประจำวัน จะทำบุญได้ครบทั้ง 3 ทวาร

คำจบบทสาธยายที่ว่า "อัตตานัง ปริหรันตุ - รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด"

  • ถ้าจะเปลี่ยนคำจบเป็น "เทอญ" ก็น่าจะได้
  • เนื่องจาก "เถิด" เป็นแม่กด(ตัวสะกดเสียงแข็ง) > เสียงจะฟังกระด้างมากกว่า "เทอญ" ซึ่งเป็นแม่กน(ตัวสะกดเสียงอ่อน)

ขออนุโมทนาในกุศลเจตนาของอาจารย์ขจิต และท่านผู้อ่านทุกท่าน

ขอขอบคุณอาจารย์ดวงเด่น และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

  • ขั้นแรกขออนุโมทนาในกุศลเจตนาของอาจารย์ดวงเด่นที่สนใจปฏิบัติธรรมตั้งแต่อายุน้อยๆ (ดูจากภาพ + ประวัติ) > สาธุ สาธุ สาธุ

เรียนเสนอให้ลองกำหนดลมหายใจต่อไปจนถึง "เมตตาแบบหายใจออก" ครับ...

  • ถ้าได้สัปปายะ (บาลี = เป็นที่สบาย / เหมาะสม / optimal) น่าจะทำให้ได้รับอานิสงส์ (กำไร) เต็มที่

สงบ สบาย สุขกายสุขใจจริงๆ

ขอบคุณค่ะ ปกติจะนึกถึงบทแผ่เมตตาเวลาเห็นหมาน้อย แมวน้อยข้างถนนถูกรถชนน่าอนาถ จะพยายาม นั่ง ยืน เดิน นอน เจริญเมตตาดูบ้างน่าจะดี คงทำให้มีสติได้ดี ^____^

สาธุ สาธุ

ขอขอบคุณอาจารย์ iS และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

  • ขออนุโมทนาในกุศลเจตนาของอาจารย์ iS
  • ความสุขจากเมตตาเป็นความสุขที่ไม่ต้องอาศัยอามิส (วัตถุ สิ่งของภายนอก) เป็นความสุขจากเนกขัมมะ (หลีกออกจากกาม หรือวัตถุ)
  • สาธุ สาธุ สาธุ

อารมณ์เวลาเห็นสัตว์เจ็บ ป่วย ตาย... ส่วนใหญ่จะเป็น "กรุณา = ปรารถนาให้สัตว์อื่นพ้นทุกข์ / บรรเทาทุกข์"

  • ถ้าอาจารย์พิจารณา (มนสิการ = ใส่ใจโดยแยบคาย / น้อมไปให้กุศลจิตเกิด) เป็นเมตตาได้ก็ดีครับ...
ไม่ได้เข้ามาอ่านนาน คุณหมอยังเอาความรู้ดีๆ มามอบให้อีกแล้ว จะลองทำดูนะครับ

ขอขอบคุณอาจารย์จันทร์เมามาย และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

  • เมตตาเป็นเรื่องที่น่าอบรม เจริญ ทำให้ผลิบาน และเติบโต
  • อรรถกถาจารย์ท่านกล่าวว่า ฆราวาสกับสมณะ(พระ เณร นักบวช) จะสามัคคีกันได้ ไม่ทะเลาะกัน ไม่วิวาทกัน ไม่แตกแยกกัน อาศัยองค์ธรรมต่างกัน
  • (1). ฆราวาส(ชาวบ้าน) > อาศัยอโทสะ(เมตตา) + อโลภะ(ทาน การให้ ไม่ตระหนี่ ฯลฯ)
    (2). สมณะ(นักบวช) > อาศัยอโทสะ(เมตตา) + อโมหะ(สัมมาทิฏฐิ ทฤษฎี หรือความเห็นถูกตรงกัน)

เมตตา(อโทสะ)จึงเป็นเครื่องอยู่สุขในปัจจุบันทั้งฆราวาส(ชาวบ้าน)และสมณะ(นักบวช)

  • สังคมทุกวันนี้เป็น "สังคมเดือด (boiling society)" > คนและสัตว์จำนวนมากพร้อมที่จะโกรธ แค้น เคือง เบียดเบียนกัน
  • ถ้าเป็นยุคที่ยังใช้ระบบปฏิบัติการ DOS คงจะเรียกว่า "เป็นสังคมประเภท DOS-prompt (prompt มีความหมายคล้ายกับคำว่า พร้อม" หรือ "พร้อมที่จะระเบิดศึก"
  • ถ้าเป็นยุคบะหมี่สำเร็จรูป คงจะเรียกว่า "สังคมจุดเดือดกึ่งสำเร็จรูป (instant boiling society)"

การ "หล่อเย็น (cooling down)" หรือเจริญเมตตาน่าจะทำให้เราอยู่ในสังคมได้ โดยไม่เดือดเร็วจนเกินไป

  • รถยนต์ยังต้องมีระบบหล่อเย็นด้วยอากาศ (air-cooled) หรือน้ำ (water-cooled)เลยครับ
  • เดินจงกลม
  • กับ เดินจงกรม เขียนอย่างไหนครับ ชักไม่แน่ใจแล้วครับ
  • ขอบคุณครับสำหรับบทความดีๆ
  • โม้หน่อยครับ (จะมีใครหมั่นไส้ไหมนี่) แต่เป็นประสบการณ์จริงครับ
  • ปกติผมเป็นคนใจเย็นมาก (ใครด่าก็ไม่โกรธ) เพิ่งจะทราบสาเหตุเดี๋ยวนี้เองครับ เพราะคุณแม่ผมสอนให้แผ่เมตตาบ่อยๆ นี่เองครับ
  • ผม สาธยายเมตตา ทั้งตอนเดิน ตอนนอน ตอนนั่งรถ เลยครับ

ขอขอบคุณอาจารย์เปมิช...

  • ขอแสดงความยินดีด้วยที่เป็นผู้มากด้วยเมตตา ซึ่งเป็นวิหารธรรม หรือเครื่องอยู่ผาสุกในปัจจุบัน... สาะ สาธุ สาธุ
  • ผมเป็นคนใจร้อน มากด้วยโทสะ (ทั้งโกรธง่าย ทั้งเศร้าง่าย)...
  • พอมีโอกาสอบรม เจริญเมตตาแล้ว รู้สึกว่า ดีมากๆ เลย "เย็นไปเยอะ"...

จงกรม...

  • บาลี = จงฺกม = จังกะมะ
  • ไม่ทราบสันสกฤตว่า อะไร... เข้าใจว่า น่าจะเป็น "จงกรม"

ที่มา:

ตำราต่างๆ  ของวัดท่ามะโอที่ออกมา   ทำให้เข้าใจ พุทธแท้   ได้ดีมาก    อยากเชื้อเชิญ  กัลยาณมิตรทั้งหลายได้เข้ามา   ศึกษา 

ขอขอบพระคุณอาจารย์หมออั๋น...

  • ขอขอบพระคุณที่แวะมาเยี่ยมเยียน และให้ข้อคิดเห็นครับ... สาธุ สาธุ สาธุ

สวัสดีค่ะคุณหมอ

  •  ติดตามมาอ่านค่ะ
  •  ครูตาแผ่เมตตาประจำค่ะ  และจะทดลองทำตามวิธีคุณหมอ "เมตตาแบบหายใจออก"
  • เป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้สงบ  เย็น มีสมาธิ  และนิ่งค่ะ
  •       

 

 

ขอขอบคุณอาจารย์ครูตา ลป.มากๆ ครับ...

  • เรียนเสนอให้ลองดู เนื่องจากจะมีคุณค่าต่อตัวเราด้วย ต่อคนรอบข้างด้วย

สาธุ สาธุ สาธุ...

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท