Importance of Private International Law


Intellectual Property Rights & Private International Law

Importance of Private International Law:

Private International Law

          กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล เป็นกฎหมายที่มุ่งหมายจะแก้ไขปัญหาซึ่งเกิดจากระบบกฎหมายที่อาศัยหลักดินแดน เมื่อข้อพิพาทมีจุดเกาะเกี่ยว (Connecting Factor) มากกว่า 1 ประเทศ จึงจำเป็นที่จะต้องพิจารณาว่า ข้อพิพาทดังกล่าวตกอยู่ภายใต้เขตอำนาจของศาลประเทศใด (Choice of Court) และใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายของประเทศใด (Applicable Law) และคำพิพากษานั้นจะต้องได้รับการยอมรับและบังคับตามคำพิพากษานั้นโดยประเทศที่เกี่ยวข้อง (Recognition and Enforcement of Foreign Judgments)

          ด้วยเหตุนี้ กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล จะเป็นเครื่องมือในการชี้ว่า เมื่อมีข้อพิพาทที่มีลักษณะระหว่างประเทศเกิดขึ้น ข้อพิพาทดังกล่าวจะอยู่ภายใต้บังคับแห่งศาลใด จะใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายประเทศใดบังคับแก่คดี และก่อให้เกิดการยอมรับและบังคับตามคำพิพากษาของศาล

Intellectual Property Law

          การได้รับความคุ้มครองในสิทธิทางทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property Rights) เป็นไปตามหลักดินแดน (Territorial Principle) เช่น สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า หากประสงค์ที่จะได้รับความคุ้มครองในประเทศใด จะต้องไปจดทะเบียน ณ ประเทศนั้นๆ แต่ บางครั้งอาจจะมีการจดทะเบียนในระดับภูมิภาคเพื่อให้ความคุ้มครองในภูมิภาคนั้นๆ ได้ เช่น ในภูมิภาคยุโรป (EU Region) อย่างไรก็ดี ก็ไม่มีการจดทะเบียนที่มีลักษณะสากล กล่าวคือ จดทะเบียนที่เดียวแล้วได้รับความคุ้มครองทั่วโลก หลักดินแดนของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญานั้น เกิดจากวิวัฒนาการของกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งได้ริเริ่มขึ้นในปี ค.ศ.1883 จากการรับเอาอนุสัญญาปารีส (Paris Convention) ซึ่งมุ่งคุ้มครองทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม และใน 3 ปีต่อมา ก็ได้มีอนุสัญญากรุงเบิร์น (Berne Convention) ซึ่งมุ่งคุ้มครองงานวรรณกรรมและศิลปกรรม ความพยายามต่อๆ มาเพื่อให้มีการคุ้มครองในทรัพย์สินทางปัญญามากขึ้น เช่น TRIPs (Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights) และพยายามปรับปรุงให้มีการคุ้มครองในทรัพย์สินทางปัญญาที่เป็นสากล (Global Scale) แต่หลักการพื้นฐานของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา กล่าวคือ หลักดินแดน ก็มิได้มีการเปลี่ยนแปลง แต่อย่างใด

Intellectual Property Rights & Private International Law

          กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลได้เพิ่มความสำคัญมากขึ้นในบริบทของทรัพย์สินทางปัญญา เนื่องจากการขยายตัวของตลาดด้านทรัพย์สินทางปัญญาได้ขยายตัวไปทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งความก้าวหน้าทางด้านอินเตอร์เน็ตทำให้เกิดความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ทำให้เกิดความยุ่งยากในการนำจุดเกาะเกี่ยวตามหลักดินแดนมาใช้ในการพิจารณาตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล เช่น ภูมิลำเนาของบุคคล และ สถานที่จดทะเบียนของทรัพย์สินทางปัญญา และ สถานที่เกิดการละเมิด จึงเป็นเรื่องที่น่าศึกษาว่า บทบาทของกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลจะนำมาปรับใช้กับระบบกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาได้ขนาดไหน เพียงไร Product Liability Law เป็นกฎหมายที่บังคับให้ผู้ประกอบการทุกคน (ผลิตสินค้า ผู้นำเข้า ผู้จำหน่ายสินค้า เป็นต้น) ร่วมกันรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัยและสินค้านั้นได้มีการขายให้ผู้บริโภคแล้ว ไม่ว่าความเสียหายนั้นเกิดจากการกระทำโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่อของผู้ประกอบการ โดยมีหลักการที่แตกต่างจากหลักกฎหมายแพ่งทั่วไปอยู่ 2 ประการ คือ

           1.นำหลักค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลงโทษผู้ประกอบการมาใช้ (Punitive Damages)

          2.นำหลักความรับผิดชอบโดยเคร่งครัดมาใช้ (Strict Liability) Product Liability & Private International Law ในกรณีที่ความรับผิดในผลิตภัณฑ์มีลักษณะที่เป็นระหว่างประเทศ กล่าวคือ ผู้ผลิตประเทศหนึ่ง ผู้นำเข้าอีกประเทศหนึ่ง ขายอีกประเทศหนึ่ง และความเสียหายเกิดในประเทศหนึ่ง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความซับซ้อนของข้อพิพาทดังกล่าว

          กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลที่จะนำมาบังคับใช้ก็คือ กฎหมายขัดกันลักษณะละเมิด ซึ่งประเด็นปัญหาที่จะเกิดขึ้นก็คือ ในกฎหมายขัดกันลักษณะละเมิดของไทย ยังคงหลัก Double Actionability ไว้ ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาทางกฎหมายที่ตามมาอย่างไรบ้าง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าศึกษา เพื่อผลักดันให้มีการแก้ไขกฎหมายขัดกันของไทยต่อไป



ความเห็น (2)

ดูคุณจะให้สำคัญแก่กฎหมายว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายมากกว่าเนื้อหาอื่นของกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล ใช่ไหมคะ ?

จึงอยากให้คุณช่วยเพิ่มเติมให้ชัดถึง "การได้ประโยชน์" หรือ "ความเสียประโยชน์" หากประเทศไทยไม่มีประสบผลสำเร็จในการปรับใช้กฎหมายขัดกัน ?

ด้วยเจตนารมณ์ของกฎหมายขัดกัน ก็คือ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของการตัดสินคดีเอกชนที่มีองค์ประกอบระหว่างประเทศ ทำให้มาตรฐานของคำติดสินไม่ว่าจะฟ้องที่ศาลใด ก็จะมีมาตรฐานที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งหากการปรับใช้กฎหมายขัดกันไม่ประสบผลสำเร็จแล้ว ก็จะทำให้ผลของคำตัดสินของศาลไม่เป็นไปในทางเดียวกัน ก่อให้เกิดการเลือกขึ้นศาลของคู่ความที่คิดว่าจะมีประโยชน์กับตนที่สุด หรือที่เรียกว่า Forum Shopping ซึ่งเป็นเรื่องที่หลักกฎหมายขัดกันต้องการต่อต้าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท