ขอความอนุเคราะห์ให้ความเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาตัวบ่งชี้รวมความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด


บันทึกนี้เป็นบันทึกที่ ๒ใน ๒ ต่อเนื่องจากบันทึกก่อนหน้า คิอบันทึกที่ ๑ใน ๒ โปรดอ่านบันทึกที่ ๑ ใน ๒ ก่อน

 ตัวบ่งชี้รวมความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ (ต่อ ) องค์ประกอบหลักที่ 3 ถึง 5

             3.  องค์ประกอบหลักด้านการเสริมสร้างพลังอำนาจบุคคล 

ประกอบด้วย                       3.1 องค์ประกอบย่อยการเสริมสร้างพลังอำนาจแก่บุคลากร  มีตัวบ่งชี้ดังนี้                              3.1.1 ผู้บริหารมอบอำนาจการตัดสินใจอย่างเหมาะสมเกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน                            3.2 องค์ประกอบย่อยการเสริมสร้างพลังอำนาจแก่ผู้นำ  มีตัวบ่งชี้ดังนี้                                3.2.1 ผู้บริหารได้รับการมอบอำนาจการตัดสินใจอย่างเหมาะสมเกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน                             3.3 องค์ประกอบย่อยการเสริมสร้างพลังอำนาจแก่ผู้รับบริการ  มีตัวบ่งชี้ดังนี้                                 3.3.1  ผู้รับบริการสามารถให้คำแนะนำในการรับบริการอย่างสะดวกรวดเร็ว                             3.4   องค์ประกอบย่อยการเสริมสร้างพลังอำนาจแก่ผู้จัดการศึกษา  มีตัวบ่งชี้ดังนี้                                   3.4.1  มีการมอบอำนาจการตัดสินใจให้ผู้จัดการศึกษา ได้แก่ ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภออย่างเหมาะสมเกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน                                3.5  องค์ประกอบย่อย การเสริมสร้างพลังอำนาจแก่พันธมิตร มีตัวบ่งชี้ดังนี้                                    3.5.1  มีการมอบอำนาจการตัดสินใจให้แก่พันธมิตรซึ่งได้แก่หน่วยงานองค์การต่างๆที่ร่วมจัดการศึกษานอกโรงเรียนอย่างเหมาะสมเกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน                                3.6  องค์ประกอบย่อยการเสริมสร้างพลังอำนาจแก่ชุมชน มีตัวบ่งชี้ดังนี้                                    3.6.1   มีการให้ความสำคัญกับชุมชนให้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการจัดการศึกษานอกโรงเรียนอย่างสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน                    

               4.  องค์ประกอบหลักด้านการจัดการความรู้  ประกอบด้วย                                4.1  องค์ประกอบย่อยการแสวงหาความรู้ มีตัวบ่งชี้ดังนี้        4.1.1  มีการแสวงหาความรู้จากแหล่งความรู้ภายในองค์การ   4.1.2  มีการแสวงหาความรู้จากแหล่งความรู้ภายนอกองค์การ        4.1.3  มีการใช้วิธีการแสวงหาความรู้อย่างหลากหลาย            4.1.4  บุคลากรมีความต้องการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาตนเอง ทีมงาน และองค์การ       4.2 องค์ประกอบย่อยการสร้างความรู้ มีตัวบ่งชี้ดังนี้        4.2.1  มีการรวบรวมความรู้ใหม่อย่างสม่ำเสมอ     4.2.2  มีการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่อย่างต่อเนื่อง       4.3 องค์ประกอบย่อยการจัดเก็บความรู้ มีตัวบ่งชี้ดังนี้       4.3.1  มีการจัดเก็บความรู้อย่างเป็นระบบและสามารถค้นหาได้ง่าย          4.3.2  สามารถใช้ความรู้ได้อย่างถูกต้องรวดเร็วและทันเวลา    4.3.3  มีการใช้เทคโนโลยีจัดเก็บความรู้    4.3.4  ความรู้ที่จัดเก็บได้รับการปรับปรุงและนำมาใช้อย่างต่อเนื่อง       

            4.4 องค์ประกอบย่อยการถ่ายโอนและใช้ความรู้ มีตัวบ่งชี้ดังนี้     4.4.1  มีการถ่ายโอนความรู้ที่ได้มาซึ่งกันและกัน       4.4.2  มีการนำความรู้ที่ได้มาใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน      4.4.3 มีการใช้วิธีการและเครื่องมือที่หลากหลายในการถ่ายโอนและใช้ประโยชน์จากความรู้                  

                5.  องค์ประกอบหลักด้านเทคโนโลยี ประกอบด้วย  

         5.1 องค์ประกอบย่อยเทคโนโลยีสารสนเทศ มีตัวบ่งชี้นี้  5.1.1 มีการเตรียมระบบฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์นำมาใช้ในการรวบรวมข้อมูลการสร้างข้อมูล สรรหาข้อมูล จัดเก็บ สืบค้น ถ่ายโอนข้อมูล ในองค์การอย่างเพียงพอ    5.2 องค์ประกอบย่อยการเรียนรู้บนฐานเทคโนโลยี มีตัวบ่งชี้ดังนี้     5.2.1  มีการจัดการเรียนรู้บนฐานของเทคโนโลยี(Technology Based Learning)      5.3 องค์ประกอบย่อยระบบสนับสนุนการปฏิบัติงานอิเล็กทรอนิกส์ มีตัวบ่งชี้ดังนี้     5.3.1  มีการนำเอาโปรแกรมสำเร็จรูปมาใช้ในการสนับสนุนการปฏิบัติงาน         

หมายเลขบันทึก: 90491เขียนเมื่อ 15 เมษายน 2007 21:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (27)
  • ตามมาดูตัวบ่งชี้ครับผม
  • มีหลายมาตรฐานเลยนะครับ
  • ขอบคุณครับ
ขอบคุณที่เชิญผมมาอ่านครับ แต่ข้อมูลเยอะมาก ขอเวลาวิเคราะห์สักนิดนะครับ และถ้าจะให้ดีส่งไฟล์ให้ผมได้โหลดไปอ่านจะดีมากเลยครับ อ่านจากบล็อกลำบากหน่อยหนึ่ง ขอบคุณครับ

ในฐานะนักปฏิบัติ เห็นด้วยกับตัวบ่งชี้ทุกตัว และมีข้อเสนอให้นำข้อ ๑.๓.๔ มีการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ในองค์ประกอบย่อยวินัยการเรียนรู้ รวมกับ ข้อ ๒.๒ องค์ประกอบย่อยวิสัยทัศน์องค์การ หากไม่รวมก็ควรแยกสาระมุมมองให้ต่างกันอย่างชัดเจน

       องค์ประกอบด้านการจัดการเรียนรู้แบ่งออกเป็น

1  การแสวงหาความรู้    2 การสร้างความรู้   3 การจัดเก็บความรู้

4 การถ่ายโอนและใช้ความรู้

ในหัวข้อที่ 4.2 หากมีตัวบ่งชี้ที่4.2.3 ก็น่าจะเป็นมีการทดสอบองค์ความรู้ใหม่อย่างต่อเนื่อง   

ตัวบ่งชี้ครอบคลุมและสามารถปฏิบัติได้

ดวงพร มังคละสวัสดิ์

  ในฐานะผู้ปฏิบัติ   เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งกับองค์ประกอบหลักด้านการเสริมสร้างพลังอำนาจบุคคล   องค์ประกอบหลักด้านการจัดการเรียนรู้และองค์ประกอบหลักด้านเทคโนโลยี  ซึ่งหัวข้อย่อยบางข้อเราก็ได้ปฏิบัติกันเป็นประจำอยู่แล้วในการทำงาน

รุ่งนพภา และ นลินทิพย์ ศบอ.แปลงยาว

 รับทราบค่ะ .....................

                 ในการพัฒนาตัวบ่งชี้องค์ความรู้ เริ่มจากบุคคลากร ต้องมีความกระตือร้นในการแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่องอยู่เสมอ และ นำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง  ขอบคุณค่ะ ..

มีคนเขาฝากบอกว่า

ถ้าพิจารณาจากชื่อองค์ประกอบหลักและตัวบ่งชี้ที่อยู่ในตัวประกอบหลัก (ซึ่งไม่มีคำอธิบายรายละเอียด) องค์ประกอบที่ 3 ด้านการเสริมสร้างพลังอำนาจบุคคล ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกันกับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้

สำหรับองค์ประกอบหลักข้ออื่น ๆ และองค์ประกอบย่อยที่เป็นตัวบ่งชี้ มีความสอดคล้องกันในแต่ละองค์ประกอบ สามารถใช้เป็นตัวองค์ประกอบหลัก และตัวบ่งชี้ของการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดได้

จะเป็นการดียิ่ง (ดีด้วยกันทั้งผู้วิจัยและผู้ให้ความเห็น) ถ้าผู้วิจัยได้ให้คำนิยาม ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดไว้ด้วย (ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่ง)

 

ลองดูมาตรฐาน ตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายนอก ของระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  อาจจะนำมาปรับใช้ได้ นะครับ

มาตรฐาน ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การพิจารณา เพื่อการประเมินคุณภาพภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน รอบที่ 2

 

 

 

ขอบคุณอาจารย์ขจิต แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครับ
ขอบคุณอาจารย์ปาริชาติ จากกลุ่มแผนงาน สำนักบริหารงานกศน. ครับ

ขอบคุณนักปฏิบัติงานในพื้นที่ คุณรุ่งนพภา คุณนลินทิพย์ คุณชูวิทย์ คุณดวงพร คุณสมถวิล ครับ

     ... อาหารจานเด็ด  กินเร็วหมดไว... ขอละเลียด ให้ซาบซึ้งใจ... รสชาดเป็นอย่างไร...จะเรียนท่านด้วยตนเอง...

     ขอขอบคุณสำหรับเอกสารต้นฉบับครับ

เจ๊ ขอร่วมด้วยค่ะ

3.6  องค์ประกอบย่อยการเสริมสร้างพลังอำนาจแก่ชุมชน มีตัวบ่งชี้ดังนี้                           

                               3.6.1   มีการให้ความสำคัญกับชุมชนให้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการจัดการศึกษานอกโรงเรียนอย่างสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน   

ขอเพิ่มอีกสักข้อ      3.6.2 มีการให้อำนาจชุมชนในการตรวจสอบการปฏิบัติงานการจัดการศึกษานอกโรงเรียนของสถานศึกษาในชุมชน                 

ขอบคุณเจ๊แอ้ว - อาจารย์ประทุมทิพย์ ศรีเมือง ผู้เป็นเจ้าแห่งวงการพัฒนาบุคลากร จากกลุ่มการเจ้าหน้าที่ สำนักบริหารงานกศน. ครับ
ขอบคุณ ผอ.พิเชษฐ์ เสือเฒ่า เสือตัวที่สิบเอ็ด          ผู้บริหารใหม่ไฟแรง ครับ

ตัวบ่งชี้ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ที่นำเสนอนี้ ใช้วัดความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ได้ อ่านแล้วเข้าใจความหมาย

 ขอแสดงความเห็นด้วยค่ะ

ในองค์ประกอบย่อย4.2ด้านการสร้างความรู้   ตัวบ่งชี้น่าจะมีการระบุในหน่วยงานย่อยของแต่ละงานว่ามีการสร้างความรู้อย่างเป็นระบบ

    และในองค์ประกอบย่อยด้านการจัดเก็บความรู้  ตัวบ่งชี้ที่  4.3.2 น่าจะไปอยู่ในข้อ การถ่ายโอนความรู้

ในฐานะที่เป็นผู้ปฏิบัติงาน เห็นด้วยกับกับทุกองค์ประกอบครับท่าน ผอ.

ทศพร โรงเรียนบ้านปราสาท อ.ด่านขุนทด นครราชสีมา

อัจฉรา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา

1. ถ้าต้องการให้ผู้แสดงความคิดเห็นเข้าในตรกันควรมีนิยามเชิงปฏิบัติการให้ด้วย

2. ตังบ่งชี้ที่ 1.3.4 มีการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกันฯ ควรนำไปไว้ในองค์ประกอบหลักด้านองค์กร เพราะดูเหมือนจะซ้ำซ้อนกัน

3. ควรเพิ่มตังบ่งชี้เกี่ยวกับความร่วมมือของชุมชนขิงชุมชนด้วย

4.  เป็นวิจัยที่มีประโยชน์ควรพัฒนาต่อให้สำเร็จเพื่อสถาบันการศึกษาอื่นๆจะนำไปพัฒนาต่อไป

 

ผมเห็นด้วยกับตัวบ่งชี้รวมทั้งหมด ซึ่งน่าจะเป็นปัจจัยสำคัญขององค์การแห่งการเรียนรู้ หากจะเสนอขอเพิ่มตัวบ่งชี้ด้านที่ 5 ว่าด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ ในเรื่อง การศึกษาทางไกล (Distance Learning) ซึ่งเป็นบทบาทสำคัญของการศึกษานอกโรงเรียนมาตั้งแต่เริ่มต้น หากกำหนดให้ชัดเจนมากขึ้น จะเหมาะสมกับการพัฒนาตัวบ่งชี้นี้หรือไม่

ขอบคุณที่ให้โอกาสแสดงความคิดเห็น

  • ป้าเจี๊ยบเพิ่งทราบจาก Research วันนี้ค่ะ ไม่ได้เข้าไปที่นั่นเลย
  • ขอบคุณนะคะที่ให้เกียรติมาร่วมแสดงความคิดเห็น
  • ตอนนี้อ่านคร่าวๆ อย่างเร็วและดูภาพรวมแล้ว มีข้อสังเกตเบื้องต้นคือ จำนวนตัวบ่งชี้ของแต่ละองค์ประกอบย่อยแตกต่างกันมาก (1-13?) และตัวบ่งชี้ที่ระบุไว้มีน้ำหนักไม่เท่ากัน (ดูจากการใช้ภาษานะคะ บางเรื่องเป็นรายละเอียดมาก บางเรื่องก็พูดกว้างๆ)
  • ถ้ายังไม่ช้าเกินไป ก็ต้องขอเวลาพริ้นไปนั่งดูหน่อย เพราะอ่านจากจอไม่ถนัดค่ะ แล้วจะส่ง comment มาให้ค่ะ

ต้องขออภัยจริงๆ ครับ ช่วงนี้งายยุ่งมากถึงมากที่สุด ไม่มีเวลาอ่านเลยครับ

สวัสดีครับ ป้าเจี๊ยบ - รสสุคนธ์  มกรมณี

       ขอบคุณป้ามากครับ ไม่ช้าเกินรอคอยครับการวิจัยครั้งนี้กว่าจะเสร็จสิ้นก็ใช้เวลาอีกหลายเดือน ข้อเสนอแนะต่าง ๆ จะเป็นประโยชน์ในการปรับแก้เป็นระยะ ๆ ครับ

สวัสดีครับอาจารย์จารุวัจน์

         แค่เพียงอาจารย์จารุวัจน์ตั้งใจจะช่วยดูแต่ยังไม่มีเวลาก็ขอบคุณในไมตรีจิตแล้วครับ มีเวลาค่อยว่ากันครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท