หลักสูตรท้องถิ่น ; หันมามองของดีใต้ถุนบ้านเรา


วิธีคิดของหลักสูตรท้องถิ่น น่าจะเป็นการเชื่อมสายใยระหว่่างชีวิต และการเรียนรู้...

คุณอาซีซะ  และมินา จาก สถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้ (วพส.)มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เขียนอีเมลล์มาคุยและแลกเปลี่ยนเรื่อง การจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น กระบวนการน่าจะเป็นอย่างไร?

ทำให้ผมคิดทบทวนหลายครั้งเพราะพื้นฐานผมเองก็ไม่ได้ชัดเจนเรื่อง งานด้านการศึกษาสักเท่าไหร่ แต่ก็มีมุมมองของการเป็น "นักวิจัยและพัฒนา" ช่วยมองในมุมของผม

ผมมองว่า คำว่า "หลักสูตรท้องถิ่น"  ชื่อบอกชัดเจน ว่า หลักสูตรนี้เพื่อใคร?

หากไม่ได้ทำขึ้นเพื่อคนในท้องถิ่น ทำขึ้นเพื่อตอบสนองการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับวิถีชุมชน เป็นการจัดทำขึ้นเพื่อเป็นนวัตกรรมอุดความอ่อนด้อย พิกลพิการของระบบการศึกษาปัจจุบัน

ที่ผู้คนมักเดินทางออกห่างจากบ้านของเราไปเรื่อยๆ ไปชื่มชมดาวศุกร์ ดาวเสาร์ แทนที่จะหันมามองของดีที่อยู่ใต้ถุนบ้าน...สิ่งดีๆเหล่านี้กลับถูกมองข้ามไปอย่างน่าเสียดาย

เศรษฐกิจแบบทุนนิยมก็เป็นปัจจัยหนึ่ง ที่ระบบการศึกษาสร้า้งคนเพื่อรับใช้วิถีแบบนั้น...ช่าง สวนทางกับเศรษฐกิจพอเพียงสิ้นดี

ว่าด้วยเรื่องของหลักสูตรท้องถิ่น ผมมองไปถึงเรื่อง การมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงระหว่าง สถาบันกับชุมชน กระบวนการที่จะได้มาซึ่งหลักสูตรท้องถิ่น น่าจะสำคัญมากที่สุด ถือว่าเป็นหัวใจของการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น

มีหลายๆโรงเรียน สร้างหลักสูตรท้องถิ่นขึ้นมาเอง ตามใจฉัน แต่ขาดมิติการมีส่วนร่วมของชุมชน เป็นความผิดพลาดมหันต์ที่เป็นเหมือนจุดอ่อนของหลักสูตรท้องถิ่น

วิธีคิดของหลักสูตรท้องถิ่น น่าจะเป็นการเชื่อมสายใยระหว่่างชีวิต และการเรียนรู้...

ซึ่งนับวันสายใยที่ว่า ...จะขาดสะบั้นลงทุกที  

หมายเลขบันทึก: 43260เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2006 08:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 22:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (25)

Impressive!!!

You have a beautiful mind that is deserved to be a great connector in the trible community.

Doing a well research or data based local community requires a need assessment on education, culture, and institutional relationship.

Thanks again for your nice friendship.

 

นางสาวอาซีซ๊ะ และมินา

บทความของคุณเป็นอุดมการณ์เดียวกับการทำงานของฉันและทีมงาน เมื่อได้อ่านรู้สึกว่ามีความคิดที่กว้างขึ้นมาอีกมาก

และคงเป็นประโยชน์กับทุกคนที่ได้อ่านบทความนี้อย่างแน่นอน

 

อย่างจริง...ที่คุณจตุพรเล่า...

คนมักลืมสิ่งดีดีที่มีอยู่ใกล้ตัว...

บางครั้งบางครา เรามักมัวแสวงหา...

จนลืมไปว่าเรามีสิ่งมีค่า...อยู่ในมือ

อาจารย์ Pop

ส่วนหนึ่งครับ ที่ผมทำงานวิจัยชุมชน ทุกอย่างในชุมชนเชื่อมโยงกันหมด  เป็นวิถีของชุมชนหนึ่ง

ชุมชนเหล่านี้ เรียนรู้และมีประสบการณ์ร่วมกัน ก่อเกิดภูมิปัญญาที่ผ่านการสั่งสม

สิ่งเหล่ามีคุณค่าต่อการเรียนรู้ หลักสูตรท้องถิ่นที่จะนำกลับมาใช้พัฒนาชุมชน ควรต้องมองจุดนี้ เพื่อเยาวชนจะได้รับการสืบทอดและภาคภูมิใจในถิ่นเกิดและอัตลักษณ์ของตนเอง

ขอบคุณมิตรภาพที่มีอย่างสม่ำเสมอนะครับ อาจารย์ 

คุณอาซีซ๊ะ   และมินา

ขอบคุณที่เข้ามาแลกเปลี่ยนครับ มีอะไรเกิดขึ้นที่ มอ.หาดใหญ่ บอกกล่าวผ่าน Gotoknow ด้วยนะครับ ถือว่าแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันครับผม 

พี่ Dr.Ka-Poom

เราต่างผ่านระบบการศึกษากระแสหลัก และเราหันกลับมามองในเนื้อหาที่เราได้รับพบว่า มันทำให้เราห่างไกลบ้านเราไปทุกที

เด็กบนดอยกลับไม่ได้เรียนสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว ใช้เนื้อหาหลักสูตรที่นำมาจากไหนก็ไม่รู้ ก็ดีส่วนหนึ่ง แต่ ...สิ่งเหล่านี้ ค่อยทำให้เด็กๆลืมบ้านของเขา

 

ขอบคุณคุณอาซีซ๊ะ และ Dr.Ka-Poom ครับ 

 

ความสัมพันธ์ในชุมชนนั้นเชื่อมโยงกันอยู่แล้ว แต่เวลาที่เรามองมักจะมองแยกออกเป็นส่วน ๆ ซึ่งทำให้การจัดการเรียนรู้หรือการจัดหลักสูตรท้องถิ่นไม่สอดคล้องกับวิถีชุมชน แต่สายสัมพันธ์นั้นยังไม่ขาดลงไปเพียงแต่ไม่มีใครมองเห็นจุดนั้นเท่านั้นเอง หากผสมผสานระว่างหลักสูตรกลางร่วมกับหลักสูตรท้องถิ่น แบบรู้เขารู้เรา จะช่วยพัฒนาการจัดหลักสูตรให้กลมกลืนโดยที่กระชับสายสัมพันธ์เขามา จะทำให้สายใยระหว่่างชีวิต และการเรียนรู้ดำเนินคู่กันไปได้

ขอบคุณครับ คุณฉัตรเทพ

ที่ช่วยมาเติมมุมมอง การผสมผสานที่กลมกลืน ระหว่างหลักสูตรกลางและหลักสูตรท้องถิ่น เป็นสิ่งที่เราอยากเห็น

คุณฉัตรเทพ พอจะเติมมุมมอง เรื่อง กระบวนการ อย่างไรดีครับ? 

ขอบคุณครับผม

เมื่อสัปดาห์ก่อนมีอาจารย์โรงเรียนแห่งหนึ่งในขอนแก่นมาสอบถามข้อมูลเรื่องการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นเรื่องวรรณกรรมพื้นบ้านอีสาน

ไม่กี่วันอาจารย์อีกท่านมาถามข้อมูลเพื่อจัดทำหลักสูตรเรื่องผ้าทอมืออีสาน

และไม่กี่วันมานี้อาจารย์มาสอบถามข้อมูลเรื่องการจัดทำพิพิธภัณฑ์ในโรงเรียน

ปรากฎการณ์เหล่านี้นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่คนขอนแก่นหันมาสนใจท้องถิ่นของตนเองหรือทีคุณจตุพรเรียกใต้ถุนบ้าน

นั้นแสดงว่าผู้บริหารมีส่วนสำคัญในการผลักดัน เรื่องนี้ ดังนั้นนโยบายและผู้บริหารจึงเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญนะครับ 

งานระดับนโยบายของกระทรวงการศึกษา ควรให้ความสำคัญและเร่งสร้างหลักสูตรท้องถิ่นคุณภาพ(เพื่อคนท้องถิ่น)และการแพร่องค์ความรู้สู่ท้องถิ่นอื่นๆ

คุณออตครับ

ก็ถือว่าเป็นเรืองที่ดีมากนะครับ ที่มีกลุ่มที่พยายามทำเรื่อง หลักสูตรท้องถิ่น และได้มาเสาะหาแหล่งความรู้ ครูภูมิปัญญา เป็นการจัดการองค์ความรู้ ที่เอื้อประโยชน์อย่างแท้จริง

แต่ปรากฏการณ์อย่างนี้ ผมก็อยากให้ ผู้บริหาร และนักการศึกษา เข้าในในกระบวนการ ทำหลักสูตรท้องถิ่น สำหรับโรงเรียนให้ชัด ต้องตอบคำถามว่า วัตถุประสงค์คืออะไร และ กระบวนการน่าจะเป็นอย่างไร?

น่าสนใจครับ ขอบคุณคุณออตที่มาช่วยเติมครับ

(ว่าแต่...หากเป็นวงการคุณครู ผู้บริหาร มีส่วนสำคัญมากเลยครับ) 

การเข้าใจชุมชนเห็นความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง น่าจะทำไห้การจัดการองค์ความรู้ที่มีอยู่ในชุมชนนำมาเป็นหลักสูตรท้องถิ่นที่ดีได้

คนในชุมชนจะเป็นผู้ที่รู้ดีที่สุด การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อเอื้อต่อประโยชน์ของชุมชนจริง ๆ จึงต้องมาจากชาวบ้าน ชุมชน ไม่ใช่คิดให้ เขียนให้แล้วนำไปใช้ เพราะนั่น มันเหมือนกับว่าทำไปก็สูญเปล่า

ฉันได้อ่านที่ทุกคนได้เสนอแนะแล้วเป็นเรื่องที่ฉันต้องคิดต่อและนำไปประยุกต์ใช้กับชุมชนที่ฉันสัมผัสอยู่

ขอบคุณคุณจตุพร ขอบคุณทุกคน

  • ดีใจที่ทำหลักสูตรท้องถิ่น
  • เด็กๆควรเรียนเรื่องที่เป็นรากเหง้าของเขาเอง
  • ผมเคยทำหลักสูตรท้องถิ่นเรื่องไทยทรงดำครับ
  • เด็กๆสนุกมาก

อาจารย์ ดร.ขจิต

อาจารย์ครับ "ไทยทรงดำ" นี่ เป็นคนท้องถิ่นดั้งเดิม ที่ไหน อย่างไรครับ น่าสนใจ ผมไม่ค่อยคุ้นชื่อครับ

อาจารย์ขยายความหรือเขียนในบันทึกน่าจะดีนะครับ ผมจะติดตามต่อนะครับ

  • เป็นประเด็นที่น่าคิดมาก ๆ ครับ อาจารย์จตุพร
  • บางครั้งเราก็มองข้ามสิ่งดี ๆ ที่อยู่ใกล้ตัวเราไปครับ
  • มัวแต่ไปมองของใหญ่ ๆ และทางข้างหน้า
  • ต้องใช้ทุนที่อยู่ใกล้มือและใกล้ตัวให้เกิดประโยชน์มากที่สุดครับ
  • วันนี้ดิฉันกล่าวถึงคุณจตุพรในการเสวนาด้วย คุณเชื่อมั๊ยคะว่าผ.อ. อัจฉราท่านทราบว่าคุณอยู่ที่แม่ฮ่องสอนด้วย น่าปลื้มใจแทนจริง ๆ

อาจารย์ปภังกรครับ

ถือโอกาสแสดงความยินดี ให้กับอาจารย์คนเก่ง  ณ ที่บ้านผมที่นี่เลยนะครับ 

ประเด็นเรื่อง หลักสูตรท้องถิ่น เราพูดกันเยอะ พูดเอามัน เหมือนชุมชนเข้มแข็งหละครับ แต่เอาเข้่าจริงที่บรรลุวัตถุประสงค์ แนวคิดที่แท้จริง น้อยมากครับ

ใช้ทุนของเราก่อนครับ... พอเพียงครับ

พี่ศุภลักษณ์ Disco Danceพี่สาวคนคุณภาพ จากบำราศฯ

น่าจะเอ่ยถึงในเรื่องที่ดีนะครับ เพราะ ผมเป็นคนดี คนน่ารัก (ชมตัวเอง...ซะงั้น)

มีเรื่องที่น่าชื่นใจอีกอย่างครับ ที่บำราศมีผู้ใหญ่ใจดี อย่างท่าน ผอ.อัจฉรา ที่ช่วยผลักดันให้องค์กรนี้เป็น LO ที่น่ารัก บรรยากาศน่ารักจริงๆ (ผมอิจฉานะนี่ )Thank Youขอบคุณและเป็นเกียรติที่เอ่ยถึงผมครับ...

การจัดทำหลักสูตรตามที่ทราบมา คือ อาจจะเรียกได้ว่าเป็นการประยุกต์เอาการจัดการเรียนรู้ให้เข้ากับบริบทของท้องถิ่นนั้นๆ หรือการที่ให้เด็กได้รับความรู้เพื่อให้สอดคล้องกับท้องถิ่น เช่น การใช้ภาษาอังกฤษแนะนำสถานที่สำคัญในท้องถิ่นของตนเอง เป็นต้นค่ะ

ขอบคุณครับ คุณคุณกฤษดา

มาต่อยอดกันนะครับ เพื่อเสริมความรู้และแลกเปลี่ยนระหว่างกัน

ขอบคุณครับ 

ปัจจุบันสถานศึกษากำลังดำเนินการแบบผิดทางเกี่ยวกับหลักสูตรท้องถิ่นอย่างมาก เพราะจัดทำเพื่อสนองความต้องการของเจ้านายในหน่วยงาน จนทำให้ครูขาดกระบวนการ ความเข้าใจในการนำความรู้ที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาจัดการเรียนการสอนจริง ๆ ทำอย่างไรจึงจะทำให้ครูผู้ลงมือปฏิบัติกับหลักสูตรนี้โดยตรงให้เกิดความเข้าใจและมีเป้าหมายที่ถูกต้องเหมือนกันทั้งประเทศ

เห็นด้วยกับสิ่งที่คุณจตุพร พูดมากๆ เพราะความยั่งยืนของการทำงานในชุมชนคือ การมีส่วนร่วมที่แท้จริงที่เกิดจากชุมชนมองเห็นและเข้าใจ เกิดความตระหนักในปัญหาของชุมชน ดีมากกับความคิดนี้เห็นด้วยมากๆ

สวัสดีครับคุณโอรสเขมร และ คุณกัญญา

ร่วมแลกเปลี่ยนกันได้ต่อไปในส่วนของการทำงานชุมชนเพื่อพัฒนาชุมชน โดยผ่านฐานงานที่หลากหลายครับ

ผมเปิดบล็อกใหม่ขึ้นมาเพื่อเปิดพื้นที่เรียนรู้ใหม่ครับที่

 

http://gotoknow.org/blog/kmtrack/

 

สวัสดีครับ น้องเอก

สบายดีนะครับ, เป็นนิมิตหมายที่ดี ที่เราหันมาสนใจเรื่องของท้องถิ่นจริงๆ จังๆ ตอนนี้เนื้อหาต่างๆ มันกระจัดกระจายกันอยู่ คงต้องตามเก็บ รวบรวม และถ่ายทอดกันไปให้ชัดเจน ตรงนี้สำคัญ

อ้อ ไทยทรงดำ มีอยู่มากแถบสุพรรณ และเพชรบุรีครับ แต่ก่อนเรียกลาวโซ่ง น้องเอกคงพอคุ้นหู

 

สวัสดีครับ พี่ ธ.วัชชัย

พรุ่งนี้ผมจะเดินทางแล้วครับไปทำงาน ทำภารกิจครับตามบันทึกล่าสุด“ดุลยภาพของการพัฒนากับหน้าต่างแห่งยุคสมัย” Count Down 2008 กลางป่าสนผืนใหญ่ที่สุดของประเทศ

ผมสบายดีครับ งานยุ่งเพราะต้องรับรองเพื่อนฝูงที่มาเป็นฝูงครับ อิอิ แต่ก็สุขใจดีครับ

พี่คงสบายดีนะครับ ผมเฝ้ารอการเขียนบันทึกใหม่ๆของพี่นะครับ เรื่องเทคนิคก็คงเป็นเรื่องเทคนิคครับ เราต้องพบเจอเหตุการณ์แบบนี้เสมอ แต่ความรู้ที่วิ่งไปเร็วมาก หากมีใครสักคนช่วยกันแชร์ความรู้ตามครรลองเวลา ผมว่าเป้นเรื่องที่ดีมากๆครับ

ขอให้กำลังใจครับ

ไหว้สาคุณจตุพร...เห็นด้วยอย่างยิ่งเกี่ยวกับเรื่องท้องถิ่น...เราเอาวัฒนธรรมตะวันตกมาครอบงำแนวคิดเรามานานแล้ว  การสร้างความตระหนักให้รักท้องถิ่นเราขาดไปมาก เราหลงใหลนิยมวัฒนธรรมต่างถิ่นจนเกินเหตุอาจเป็นเพราะกลัวไม่ทันสมัยเหมือนฝรั่ง  เหตุการณ์จึงเป็นอย่างเช่นปัจจุบัน  กว่าเราจะหันกลับมองภูมิปัญญาตนเองก็สายไปไกลกว่าไกล

อนึ่งเรื่องเกี่ยวกับพิณเปี๊ยะ เป็นเครื่องดนตรีชนิดเครื่องสายใช้ดีด โดยผู้เล่นที่เป็นชายต้องเปลือยอก ผู้หญิงเปลือยท้องเพราะต้องเอาส่วนที่เป็นกะลาครอบอก หรือท้องแล้วแต่ผู้เล่น     ที่สำคัญหัวสายพิณเปี๊ยะต้องมีโลหะทำเป็นรูปช้างหรือนาค เพื่อใช้สายเกี่ยวเกาะดึงมายังปลายคันด้านล่าง  ดังนั้นเราจึงเรียกพิณเปี๊ยะอีกอย่างหนึ่งว่า พิณหัวจ๊าง(ช้าง)ปัจจุบันมีเพลงพื้นเมืองบางเพลงดีดพิณเปี๊ยะล้อเล่นเสียงเครื่องดนตรีชนิดอื่นสร้างความม่วนงันไพเราะขึ้นอีกมากครับ เราอ่านวรรณคดีโบราณมักได้ยินคำว่า      เพยีย บางแห่งเขียน  พะเยีย  ก็คือเปี๊ยะนี่เองครับ

ด้วยความปรารถนาดีจากลุงหนาน......

                                                  พรหมมา

ธุครับ ป้อหนานNIKHOM ครับ

ยินดียิ่งแล้วครับ ที่ป้อมาแอ่วมาใจครับ

--------------------

ผมเป็นห่วงก็แต่ว่าเวลาที่ผ่านไปครูภูมิปัญญาเหล่านั้นท่านจากไป โดยที่เราไม่ได้มีการจัดการความรู้ เราไม่ได้เรียนรู้จากท่าน เรื่องราวดีๆความรู้ดั้งเดิม ก็จะจากไปพร้อมกับท่านไปด้วย ในขณะความรูสมัยใหม่ก็รุกคืบกลืนความรูท้องถิ่นที่เหมาะสมกับวิถีชีวิตเราไปหมดสิ้น

เรื่อง "พิณเปี๊ยะ" นั้นผมชอบฟังเสียงมากครับ ดูเศร้าๆซึ้งๆ ผมพยายามหาข้อมูลมาบางส่วน คิดว่าจะเขียนบันทึกออกมาแต่ความรู้น้อยมาก นี่ก็อีกประการหนึ่งครับ

ปีใหม่นี้ยินดีนักๆครับ ตี้ป้อหนานมาเยี่ยมครับ

 

ไหว้สาครับ ป้อครับ

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท