ตลาดนัดความรู้กรมอนามัย ... KM กับภาคีเครือข่าย (37) ตอนที่ 4 KM สู่เมืองน่าอยู่


KM ของเราจะทำแบบเรียนรู้ไป ปรับกระบวนการกันไป

 

ในเรื่อง KM กับการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย อ.หมอสมศักดิ์ หันมาแนะศูนย์อนามัยที่ 4 ... คุณจิตติมา ธาราพันธ์ ... และเธอเริ่มเล่าว่า

เขต 4 เริ่มทำ KM เมื่อได้รับนโยบายกรมฯ ปี 48 ดิฉันได้เข้ามาอบรม KM และถูกกำหนดว่า ให้นำ KM ไปใช้ในกระบวนการทำงาน ก็เป็นการเริ่มแรกที่มาลองใช้กับเจ้าหน้าที่ของเราเลย

คุณจิตติมา ธาราพันํธ์ ศูนย์อนามัยที่ 4 ราชบุรีในระยะแรกที่ทำ เราทำในรูปของ CoP คือ เอาเขามา ลปรร. กัน หลังจากนั้นก็มีการทำ AAR กันว่า เอา KM เข้ามานั้นมีประโยชน์ไหม ก็ได้ประโยชน์อย่างหนึ่งก็คือ เราเกิดมีการ Socialize กัน ได้มีการ ลปรร. กัน ได้รู้จักกัน จากการที่บางคนไม่ได้พูดกันเลย เมื่อมีการมาแลกเปลี่ยนกัน และได้แสดงความคิด ก็จะเห็นว่า มิตรภาพเริ่มสร้างขึ้น เราเริ่มจากงานของเรา คือ งาน รพ. ก่อน ก็จะเป็นที่รู้กันว่า ถ้าใครทำงาน รพ. สัมพันธภาพระหว่างแพทย์กับพยาบาลก็ไม่ค่อยดีเท่าไร ทั้งๆ ที่ต้องทำงานด้วยกัน ก็จะเกิดความร่วมมือกันในการทำงานเพิ่มมากขึ้น เมื่อนำ KM เข้ามา เรื่องแรกที่ทำเป็น CoP ในเรื่องของคลินิกการให้บริการส่งเสริมสุขภาพ เพื่อฝึกการเป็น Fa ของเรา และก็เท่ากับเป็นการหาเครือข่ายการให้บริการส่งเสริมสุขภาพเหมือนกัน

ที่ศูนย์อนามัยที่ 4 นโยบายผู้อำนวยการศูนย์ฯ คือ “วิชาการหาได้ง่าย ไม่ต้องลงทุนเยอะ” เพราะฉะนั้น คุณก็ต้องไปเรียนรู้เอง ผอ. จะยึดคำพูดของอาจารย์วิจารณ์ที่ว่า “KM ไม่ลองไม่รู้” “ไม่มีอะไรถูกอะไรผิด” เพราะฉะนั้น คุณลองทำเถอะ ถ้าไม่ทำก็จะโดนพูดว่า เฮ้ย ทำหรือยัง KM เนี่ยะ ... นะคะ เราก็ทำกัน เริ่มในกลุ่มเล็ก คือเริ่มจากเอางานเข้ามาทำ พอทำในงานเสร็จก็ต้องมีการฝึกการเป็น Fa ก็ถาม ผอ. ว่า การเป็น Fa น่ะ ไม่ใช่ง่ายๆ ผอ. ก็บอกว่า ทำไปเถอะ และคุณก็เอาไปใช้ในกระบวนกลุ่ม มันไม่มีอะไรผิด ไม่มีอะไรถูก Fa ก็คือ กระตุ้นไป ตามประเด็นที่ อ.วิจารณ์เล่า ประเด็นคำถามก็มีแค่นี้ ก็เข้ากระบวนการกลุ่ม แล้วกลุ่มก็จะพาไปเอง เสร็จก็คือ ทุกคนที่ไปอบรมก็ไป มี 30 คน ที่กลับมาทำเรื่อง KM และเราก็มาหาทีมทำกันต่อ โดยที่เราก็คิดถึงกระบวนการที่กรมฯ เขาจัดมีแบบนี้นะ เราก็ทำตามกระบวนการ และมีการตั้งคำถามประมาณนี้ละค่ะ สำหรับ Note taker จะต้องจดยังไง ก็ได้ข้อสรุปมาว่า ถ้าประเด็นมันชัด Fa ก็ไม่ค่อยเหนื่อยเยอะ ก็พยายามทำให้ประชัดๆ ในการที่จะพูดคุย เสร็จแล้วเราก็จะทำกันเอง และเวียนกันเป็น Fa ในแต่ละ CoP ของ รพ.

KM ของเราจะทำแบบเรียนรู้ไป ปรับกระบวนการกันไป ปี 49 เราก็เริ่มทำทั้งใน รพ. เอง และกับเครือข่าย เครือข่ายครั้งแรกที่เราเอามาใช้กระบวนการ KM คือ เรื่อง รพ.ส่งเสริมสุขภาพ ก็ยังเป็นฝั่ง รพ. เหมือนกัน การที่เครือข่ายเอาเครื่องมือตัวนี้มาใช้ เนื่องจากว่า เรามีหน้าที่ดูแล รพ. ในเขตให้ได้รับการผ่านการประเมิน เข้าสู่ รพ.ส่งเสริมสุขภาพ และเราก็มีปัญหาที่ว่า รพ.ในเขตยังไม่ผ่านการประเมินสักทีหนึ่ง ก็ไปดูกันว่า ในกระบวนการส่งเสริมสุขภาพ เขามีปัญหาเรื่องไหน ก็ดูว่าติดที่องค์ประกอบที่ 6 เรื่อง การให้ชุมชนมีส่วนร่วม

หลังจากนั้นเราก็อาจหาญมาก พอ รพ.ส่งเสริมสุขภาพ เราก็เข้าไปทำ Fa กันเลย ลักษณะเดียวกัน เพียงแต่ว่า Fa ของเรารวม รพ. ที่ทำเรื่อง รพ.ส่งเสริมสุขภาพ และพี่ที่ทำงานชุมชน พี่บอกว่า ชุมชนเขาจะมีความคิด มีอะไรของเขาเอง (คือ นโยบายของเราสมัยก่อนเป็นการฟังเป็นส่วนใหญ่ เพราะฉะนั้นเขาก็จะไม่ค่อยเชื่อถือ) ถ้าชุมชนคิดเอง ชุมชนเป็นคนเสนอ มันน่าจะสำเร็จกว่า เราก็เชิญแกนนำของชุมชน โดยเชิญมาคุยก่อนนอกรอบรอบหนึ่ง ให้เขาเป็น Fa ให้เรา โดยที่มีเราเข้าประกบ และเรียนรู้ร่วมกัน มาพูดคุยกัน 2 ครั้ง คือ ครั้งแรกเราให้เขามาเรียนรู้เรื่อง การจัดการความรู้คืออะไร และกระบวนการ Fa เป็นยังไง และฝึกด้วยกัน คือ ฝึกในลักษณะของการเรียนรู้ ออกมาก็มาทำ KM กับทีมที่เป็น Fa พูดคุยกันว่า ใช่มั๊ย ประเด็นมันตรงมั๊ย พูดคุยกันต่อ ทำตรงนี้ยากเหมือนกันเพราะว่าบางที่พี่เขาอาวุโสกว่า เราก็จะเข้าไปหยุดเวลาก็ลำบาก ก็ค่อนข้างจะหนักหนาสาหัสอยู่

ที่ผ่านมาเราใช้เทคนิคหลายกระบวนการ ก็ยังไม่เกิดผล จากการลงไปเจาะที่ รพ. ที่เขาเข้าขอรับการประเมิน เมื่อเราก็รู้ความสัมพันธ์ของเขากับชุมชนเป็นยังไง ก็พบว่า การทำงานของเขากับชุมชนค่อนข้างไม่ดี เราก็นำกระบวนการ KM นี้มาใช้ โดยการจัดเวที คือ หน้าที่ของเราก็มีหน้าที่จัดเวทีให้เขามา ลปรร. ร่วมกัน

เอาคนที่มีความสำเร็จ คือ คนที่ผ่านการประเมินแล้วเข้ามา และ รพ.ที่ยังไม่ประเมินไม่ผ่าน มีทั้งแกนนำชุมชน เจ้าหน้าที่ สอ. เจ้าหน้าที่ รพ. ที่ต้องทำงานมาร่วมพูดคุย ลปรร. กัน โดยใช้หัวปลาคือ “ความสำเร็จการดำเนินงานสร้างชุมชนเข้มแข็ง ด้านการส่งเสริมสุขภาพ โดย รพ.ส่งเสริมสุขภาพ” เราใช้ทุกกระบวนการของอาจารย์วิจารณ์ คือ เราหามาทั้งผู้ที่เป็นผู้พร้อมให้ ผู้ที่ใฝ่รู้ และเอาผู้ที่พร้อมให้ และใฝ่รู้มาเรียนรู้ร่วมกัน หลังจากนั้น มีการทำ AAR ก็พบว่า เป็นตัวกระบวนที่ดี จากชุมชนที่เขาไม่เคยได้รู้เลย ว่า ชุมชนเขาทำงานกันยังไง เขาก็ได้รู้ว่า ชุมชนเขาทำอะไรดี และเขาก็บอกว่า เขาจะไปทำงานต่อ

มีจุดหนึ่งที่ว่า เราดึงเครื่องมือของอาจารย์วิจารณ์มาช่วยทำ ผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มี Ladder diagram ธารปัญญา แผนภูมิพัฒนา ซึ่งหลังจากทำ AAR เขาก็บอกว่า จริงๆ ดีนะที่ใช้กระบวนการ ลปรร. แต่ด้วยคำศัพท์ และโปรแกรมมีปัญหากับการใช้ ก็คือ เวลาลงไปทำกับชุมชน เขาไม่มีคอมพิวเตอร์ และภาษาอังกฤษค่อนข้างเยอะ เขาก็งง แต่หลังจากที่ได้เรียนรู้สักตัวอย่างหนึ่งนี่ เขาก็น่าจะกลับไปทำได้ในชุมชน และเขาจะเริ่มยังไง เขาจะเริ่มแบบต้องขอมาที่เรา และเราก็ไปช่วยในการทำ

ครั้งต่อไป ณ วันนั้น หลังจากที่ทีมงานของเรามีการทำงานร่วมกัน พี่ที่ทำงานเรื่องชุมชนเข้มแข็ง และทีม รพ. เราก็ปรับโปรแกรมของอาจารย์ จากที่ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เปลี่ยนไปใช้กระดาษฟลิบชาร์ต และให้คนที่เขาเข้าประชุมได้ลงมือลองทำด้วยตนเอง ก็เลยจัดประชุมสัมมนาเครือข่าย ไปทำที่เมธาวลัย กับทีมอาจารย์สมชาย ที่มหิดล ตอนแรกอาจารย์ก็ยังไม่ได้ลงรายละเอียดว่าจะทำลักษณะไหน ก็เลยคุยกันว่า ถ้าทำในรูปของ KM ก็จะทำให้มีการพูดคุยชัดเจน ก็คือเนื้อหาจะค่อนข้างไปในทางเดียวกัน และเนื่องจากว่า เรื่องชุมชนเข้มแข็งมันค่อนข้างจะกว้าง เราก็เลยตั้งประเด็นขึ้นมาว่า “คุณควรมีส่วนร่วมยังไง จึงจะทำให้ชุมชนของคุณเข้มแข็ง ที่คุณคิดว่าคุณประสบความสำเร็จ” ก็เอากลุ่มมาแบ่ง แต่ละกลุ่มจะประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน ศึกษานิเทศก์ เจ้าหน้าที่ของ สอ. และผู้ใหญ่บ้านกำนัน และผู้นำของชุมชน ร่วม ลปรร. กัน

เราใช้ฟลิบชาร์ตเป็นอุปกรณ์ และให้เขา ลปรร. ให้เขาเขียน รวมทั้งเป็นคนสรุปหาปัจจัยแห่งความสำเร็จ และได้มา 7 เรื่อง และก็หาระดับว่า ระดับ 1 ถึง 5 ควรจะเป็นยังไงในปัจจัยนั้นๆ และให้เขาประเมินตนเอง และไปเขียนในฟลิบชาร์ต ทั้งแผนภูมิแม่น้ำ ตารางอิสรภาพ แผนภูมิขั้นบันได เป็นฟลิบชาร์ตหมด ก็ให้เขาไปลงเอา เช่น ณ แผนภูมิแม่น้ำตอนนี้คุณอยู่ที่ระดับ 2 คุณต้องการไปที่ 5 และก็เขียนเป็นแผนภูมิขั้นบันได ซึ่งทำแล้วเขาก็มีความเข้าใจมากขึ้น หลังจากนั้นก็ทำ AAR กัน เขาก็บอกว่า ตัวกระบวนการทำให้เขาได้เพื่อน อันที่ 2 คือ กระบวนการมันง่ายขึ้น เพราะแต่ก่อนเขามาฟังเป็นยาขมสำหรับเขา ก็เปลี่ยนเป็นยาคูลท์ เพราะว่าตัวกระบวนการมันง่ายขึ้นส่วนหนึ่ง

เราทำมาในเครือข่ายของเราครั้งนี้เพิ่งทำเป็นครั้งแรก พอทำครั้งที่ 2 กำลังจะทำ จึงบอกว่าของเขต 4 นี้กำลังเริ่มต้นจริงๆ

เวปไซต์ ศูนย์อนามัยที่ 4 ราชบุรี

คุณจิตติมา ธาราพันธ์ ศูนย์อนามัยที่ 4 ราชบุรี

 

หมายเลขบันทึก: 43253เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2006 06:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขออภัยอาจารย์มากนะคะ....พิมพ์ยังไม่ทันเสร็จมือดันไปเคาะ enter เสียนี่....

..........

เข้ามาเก็บเกี่ยวความรู้คะ...

ที่โรงพยาบาลยโสธร...ก็เริ่มมีการพูดถึง KM เหมือนกันคะ...แต่ยังพูดแบบนำทฤษฎีเป็นตัวตั้ง...หากแต่เราก็พยายามนำการปฏิบัตินั้น มาอธิบาย...สิ่งที่เราทำที่...คิดว่าหนทางแห่งการเรียนรู้นั้นเรา...ยังต้องเดินทางเก็บเกี่ยวอีกเยอะเลยคะ....

ใช่แล้วค่ะ Dr.Ka-Poom ของกรมอนามัย ตอนนี้หลายคนสนใจกระบวนการ KM เพราะว่าทีมให้ concept กับชาวกรมฯ ว่า KM เป็นเครื่องมือช่วยในการทำงานของทุกคนได้ และบรรยากาศที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือ คนที่นำ KM ไปใช้แล้ว จะเกิดความรู้สึกที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน มีความสุข เราเน้น "ไม่มีอะไรถูก ไม่มีอะไรผิด" มีแต่เน้นว่า ต้อง "สุ จิ ปุ ลิ" นะ ซึ่งก็ยังไม่ครบเครื่อง แต่อนาคตก็น่าจะคุยได้เต็มปากเต็มคำอีกเยอะค่ะ

ตอนนี้หลังจาก "ตลาดนัดความรู้กรมอนามัย" ก็กำลังเก็บเกี่ยวอยู่ หวังให้ผู้ที่สนใจมาศึกษากระบวนการค่ะ ขอเน้นนะคะว่า ยังไม่ได้เป็นข้อสรุป แต่เป็นขั้นของกระบวนการขับเคลื่อนค่ะ ช่วยอ่าน และ comment ด้วยนะคะ

Dr.Ka-Poom นี่นอนก็ดึก ตื่นก็เช้านะคะ พี่ละยอมแพ้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท