MPA ม.นานาชาติแสตมฟอร์ด/Leadership (2)


การเรียนรู้ในวันนี้นั้นการมีปริญญาไม่สำคัญเท่ากับการมีปัญญา

สวัสดีครับลูกศิษย์ทุกท่าน

ผมชื่นชมที่ทุกคนเห็นความสำคัญของ Blog และเชื่อว่าใช้เป็นคลังความรู้ของทุกท่านได้ เนื่องจาก Blog แรกเริ่มจะยาวทำให้การส่งข้อมูลอาจจะไม่สะดวก จึงขอเปิด Blog นี้ให้ทุกคนนะครับ

                                 จีระ  หงส์ลดารมภ์

สวัสดีครับลูกศิษย์ทุกท่าน

ในวันอังคารที่ 20 มีนาคม 2550 นี้ เวลา 18.00 น. จะมีการสอบ Final รูปแบบเป็นการสอบปากเปล่าครับ ขอให้ทุกคนมาสอบที่ Office ของผมที่ปิ่นเกล้าฯ ครับ และสุดท้ายนี้ผมขออวยพรให้ทุกคนโชคดีครับ ทั้งนี้ทุกคนสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่คุณวราพร ครับ โทร. 081-493-0801,0-2884-9420-1

                                        จีระ  หงส์ลดารมภ์

 
คำสำคัญ (Tags): #mpa#stamford
หมายเลขบันทึก: 77991เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2007 16:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (85)
ยม ตัวอย่างสรุปประเด็นที่ได้จากการชม CD เรื่อง INNOVATION

 สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ/นักศึกษา MPA ม.นานาชาติแสตมฟอร์ดและท่านผู้อ่านทุกท่าน

สัปดาห์ที่ผ่านมา ผมได้รับเกียรติจาก ศ.ดร.จีระ ใหเข้าไปช่วยสอนในช่วงบ่าย ผมขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้

กิจกรรมช่วงบ่าย นักศึกษาได้ชม ซีดี เรื่องINNOVATION กับทรัพยากรมนุษย์  แล้วได้ทำ workshop กัน  ว่าชม ซีดีเรื่องดังกล่าว แล้วจับประเด็นอะไรได้บ้าง   ซึ่งทุกกลุ่ม ส่งตัวแทนออกมาพูดได้ดี 

อย่างไรก็ตามเนื่องจากเวลาในห้องเรียนมีจำกัด ทำให้ไม่มีเวลามากพอที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในส่วนที่ผมจับประเด็นได้  ว่ามีอะไรบ้าง  และที่ทำสีน้ำเงินไว้คือส่วนที่ผมต่อยอดจากซีดีครับ

ระหว่างที่ผมชมซีดีเรื่องนี้กับพวกเรา ผมได้พิมพ์ประเด็นที่จับได้ คือ ดู ฟังไป จับประเด็นไปและพิมพ์จาก Notebook ไปด้วย  และที่ส่งมานี้ คือสิ่งที่ จับประเด็นได้จากการชมซีดี ขณะนั้นจริง ๆ จึงส่งมาเป็นตัวอย่างให้นักศึกษาได้ศึกษา และช่วยกันเขียนแชร์ความรู้ที่ได้จากการเรียนในสัปดาห์ที่ผ่านมา ลง Blog นี้ด้วย จะเป็นประโยชน์กับสังคมแห่งการเรียนรู้นี้ เชิญนักศึกษา และท่านผู้อ่านทุกท่านติดตามได้ในตอนท้ายนี้ สวัสดีครับ

ยม

ทุนมนุษย์ กับ นวัตกรรม

 จะให้มีนวตกรรม ต้อง: ต้องมีการวิจัความรู้ ต้องสด ต้องคิดนอกกรอบต้องมีความรู้ใหม่ ๆ ต้องมี project ขึ้นมาต้องมี Action plan ต้องทำ ให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม 

นวัตกรรม ถ้าไม่มี HR ที่มีคุณภาพ จะไปไม่รอด

 

เมื่อฟังแล้ว ได้ความรู้ แล้วต้องนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์

 พยายามเชื่อมโยง ต้องกล้าคิด กล้าทำ งานของ ศ.ดร.จีระ เป็นงานต้นน้ำ คือ  ทุนมนุษย์ ส่วนของ คุณศุภชัย เป็นงานปลายน้ำ  คือทุนทางนวตกรรม 

สำนักงานนวตกรรม เกิดขึ้นเมื่อ ประเทศเกิดปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ 

 ถ้าจะแก้ปัญหาบ้านเมือง เรื่องของความรู้ เรื่องของนวตกรรม เป็นเรื่องสำคัญ 

จีน กับอินเดีย ต่างกันอย่างไร ในเรื่องนวตกรรม

 

จีนมองทั้งหมด แต่อินเดีย มองบางส่วน

ในซีดี มีการพูดคุยกัน สามประเด็นใหญ่ ๆ คือเรื่องของคำจำกัดความนวตกรรมคำจำกัดความ  นวัตกรรม คือสิ่งใหม่ ที่มี·       การใช้ความรู้ ·       ความคิดสร้างสรรค์ ·       ต้องมี Action Plan ·       ต้องมีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ สังคม ส่วนรวม  

Go to business and successful   การวิจัย เป็นจุดเริ่มต้นของนวตกรรม

เรื่องต่อมาคือ เรื่องความสำคัญของนวตกรรมหลาย ๆ องค์การทั้งภาครัฐและเอกชนให้ความสำคัญกับนวตกรรม  นวัตกรรม คือการเปลี่ยนแปลง ถ้าทำช้ากว่าการเปลี่ยนแปลงภายนอก องค์การก็ไปไม่รอด ธุรกิจต้องหารูปแบบใหม่ ๆ เพื่อความอยู่รอด และความได้เปรียบในการแข่งขันINNOVATION CULTURE เป็นเรื่องสำคัญ ควรปลูกฝังให้คนรู้จักคิด รู้จักทำสิ่งใหม่ ๆ ฝึกให้คนต้องกล้าที่จะเดินไปข้างหน้า ไปสู่ความสำเร็จ  เรื่องที่สามคือ เรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ HR and INNOVATION คนถึงแม้มีความคิดดี แต่พอมาถึงการปฏิบัติอาจจะยังไม่เกิด นวตกรรมได้  การจัดการ กระบวนการตัดสินใจ การสื่อสาร จะเป็นเรื่องความสามารถเฉพาะตัว 

อุปสรรค ของนวตกรรมในไทย วิเคราะห์โดยใช้กรอบแนวคิดทฤษฏี 3 C (ศ.ดร.จีระ)

  1. คนไทยไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง Change
  2. คนไทยไม่ค่อยสนใจเรื่องลูกค้า Customer
  3. นายคนไทย ชอบ Control
 จะให้เกิดนวตกรรม ได้ต้องให้คนมีทุนมนุษย์ 8K’s คนดีมีคุณภาพ = นวตกรรมดีมีคุณภาพคนไม่ดี ไม่มีคุณภาพ = นวัตกรรม อาจจะไม่มี หรือมีแต่ไม่ดี ฉะนั้นถ้าจะทำให้นวตกรรมของไทยดีขึ้นได้1.    องค์การต้องส่งเสริมให้คนมีความรู้ มีปัญญา สามารถรับการเปลี่ยนแปลง2.    ส่งเสริมให้ตระหนักถึงความต้องของลูกค้า3.    เน้นให้นายคนไทยมี LEADERSHIP ภาวะผู้นำ 

คนดีมีคุณภาพ จะทำอย่างไร ให้มีและเกิดขึ้นในองค์การ? เป็นสิ่งที่ต้องช่วยกันคิดต่อ  ควรเริ่มจากต้นน้ำ คือ การสรรหาคนเก่งคนดี ทำอย่างไรจะได้คนเก่งคนดี เข้ามา เป็นเรื่องที่ต้องศึกษาต่อไป ระหว่างทางน้ำ ทำอย่างไร จะให้คนในองค์กร เป็นคนเก่ง คนดี  และปลายน้ำ ทำอย่างไร ให้คนเก่ง คนดี ได้ใช้ความรู้ความสามารถของเขาเพื่อส่วนรวม เป็นงานท้าทายของคนที่เป็นผู้นำ และคนทำงาน HRM&HRD

 

เครื่องมือการจัดการให้คนมีคุณภาพ
  • Strategic Management, Vision, Mission, Goals and Strategic Planning
  • Learning Organization
  • Knowledge Management
  • Talent Management
  • Empowerment
  • Leadership
  • Teamwork
  • Two ways communication
  • Internal Audit
  • Corrective Action Request
  • Continue Improvement
  • Action Plan, P D C A
วันอาทิตย์ ที่ 28 มกราคม 2550 

Mr.Peter Bjork   ได้มาสอนให้รู้ถึงการบริหาร 2 แบบ ที่ดิฉันสรุปได้ คือ

  1. คือการถือตนเองเป็นใหญ่ เป็นศูนย์กลางของการตัดสินใจ  เชื่อมั่นในตัวเองสูงไม่รับฟังความคิดเห็นของใคร  ไม่อดทนต่อคำวิพากษ์วิจารณ์ เมื่อบริหารงานนานๆไปจะไม่มีใครกล้าคัดค้านหรือทัดทาน วิธีการบริหารงานแบบนี้ทำให้   ได้งานแต่เสียคน นั่นคืองานเสร็จเร็วทันผู้บริหาร แต่ไม่ถูกใจผู้คนร่วมงาน เขาได้ความสำเร็จของงาน แต่ไม่ครองคน
  2.  ถือหลักการเป็นสำคัญและถือเอาความสำเร็จของงานเป็นที่ตั้ง  เพื่อทำงานให้สำเร็จ ยืนดีรับฟังคำแนะนำจากทุกฝ่าย ซึ่งทั้งคนที่ไม่ชอบเป็นการส่วนตัว แยกเรื่องงานจากการขัดแย้งส่วนตัว  ยอมรับฟังจากผู้เชี่ยวชาญ การบริหารแบบนี้เป็นการบริหารทำให้ได้ทั้งคนและงาน งานสำเร็จเพราะทุกคนมีโอกาสแสดงความสามารถ  ใช้กลุ่มคนที่วิพากษ์วิจารณ์ท่านช่วยทำงาน
          วันอาทิตย์ที่  4  กุมภาพันธ์  2550  Mr. Leigh Scott  ได้มาสอนให้รู้จักตนเองก่อนแล้วค่อยศึกษาผู้ร่วมงาน คือ 
  1. หมายถึงผู้บริหารต้องรู้จักความเด่นความด้อยของตนเอง  การรู้ความเด่นก็เพื่อทำงานที่เหมาะสมกับความสามารถของตนเอง   การรู้ความด้อยก็เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของตน ตามปกติ นักบริหารมักมองเห็นความผิดพลาด  ของลูกน้องได้ง่าย  แต่มองข้ามความผิดพลาดของตนเอง  เมื่อนักบริหารทำผิดพลาดลูกน้องไม่กล้าบอกหรือแนะนำดังนั้นนักบริหารต้องหัดมองตนและตักเตือนตนเองเสมอ (รู้เรา)
  2. หมายถึงความรอบรู้เกี่ยวกับผู้ร่วมงาน นักบริหารต้องรู้ว่าใครมีความสามารถในด้านใด เพื่อจะได้ใช้คนให้เหมาะสมกับงาน  นอกจากนั้นนักบริหารต้องรู้จัก (นิสัยความประพฤติบางอย่างของผู้ร่วมงานที่เคยชินทั้งดีและไม่ดี)  เพื่อที่จะได้ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ (รู้เขา)
      

       นอกจากนั้นในช่วงบ่ายของวันเดียวกัน ท่านอาจารย์พิทยา พุกมาน อดีตท่านทูตซึ่งท่านได้เคยเป็นท่านทูตมาหลายประเทศ ท่านได้มาบอกเล่าถึง ความแตกต่างของวัฒนธรรม ความแตกต่างของเศรษฐกิจ จากการบอกเล่าของท่านอาจารย์ทำให้นักศึกษาได้รู้ด้วยว่าการจะศึกษาอะไรต้องลึกซึ้งในสาขานั้นเพื่อที่จะได้นำไปปฎิบัติได้ถูกต้อง

                                                    สุรีย์ อภิราษฎร์ศักดิ์

สัปดาห์สุดท้ายที่ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้มาให้ความรู้เกี่ยวกับ ภาวะผู้นำ ข้าพเจ้าได้รับความรู้จากที่ ท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ สอนในห้องเรียนท่านอาจารย์จะพูดเสมอ ว่าให้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ อาจารย์สอนให้เรียนรู้เพื่อแก้ปัญหา และพัฒนาตนเองให้อยู่รอดได้อย่างมีความสุขความพอใจอย่างต่อเนื่อง อาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ท่านยังได้สอนอีกว่าคนที่จะให้การศึกษา ต่อผู้อื่นได้นั้น ต้องทำตัวให้ได้รับการศึกษาก่อนและต้องศึกษาเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และนอกจากในห้องเรียนแล้ว ข้าพเจ้ายังได้รับความรู้จาก หนังสือของท่านอาจารย์อีก 2 เล่ม คือ 1. 2 พลังความคิดชีวิตและงาน 2. ทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้ หลังจากที่ได้อ่านจบแล้วทั้ง 2 เล่ม ทำให้ข้าพเจ้าได้เรียนรู้ว่ากว่าที่คนๆหนึ่งจะมีภาวะผู้นำได้นั้นต้องสะสมความรู้ ความสามารถ ความอดทน และต้องใช้ประสบการณ์มากแค่ไหน ผู้นำและผู้บริหารไม่สามารถจะแยกออกจาก คนๆเดียวได้ เพราะทั้งผู้นำและผู้บริหารต้องมีภาวะผู้นำในตัวเอง ทฤษฎี 8 K’s ของอาจารย์ ลึกซึ้งและเป็นความจริงที่สุด ถ้าทุกคนมี ทฤษฎี 8 K’s ของอาจารย์อยู่ในตัวแล้วรับรองได้ว่าจะเป็นผู้มีภาวะผู้นำโดยแท้ ข้าพเจ้าขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์เป็นอย่างสูง สุรีย์ อภิราษฎร์ศักดิ์
นางสาวธัญลักษณื สีถัน ID 00615021
                สวัสดีค่ะท่าน  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์   ที่ได้มาบรรยายเมื่อวันอาทิตย์ที่ 11  กุมภาพันธ์  2550   เรื่องภาวะผู้นำ  Leadership  และได้ให้นักศึกษาเขียนประวัติของตนเองเกี่ยวกับภาวะผู้นำ                ดิฉันขอเริ่มจากความภูมิใจที่มาจากครอบครัวปานกลางไม่ได้ร่ำรวยอะไร  และเป็นเด็กต่างจังหวัด  พ่อแม่มีอาชีพค้าขายส่งดิฉันเรียนจนจบปริญญาตรี  ซึ่งตอนที่จบการศึกษาใหม่ๆ  และได้มีโอกาสเข้าไปทำงานครั้งแรกในกรมบังคับคดีเป็นพนักงานพิมพ์ประกาศ  โดยทำงานมีข้อผิดพลาดน้อย ประมาณสัก  4  ปีที่แล้ว  ก็ได้รับโอกาสจากผู้อำนวยการให้รักษาการหัวหน้าแผนกตรวจร่าง และดิฉันก็สามารถแก้ไขปัญหาในแผนกแล้วจัดระบบการทำงานให้งานออกมามีประสิทธิภาพและรวดเร็วยิ่งขึ้น  ก็เลยมีความรู้สึกว่าเราก็สามารถเป็นหัวหน้าแผนกและดูแลลูกน้องได้  ถึงจะมีลูกน้องไม่เยอะแต่ก็เหมือนฝึกให้ดิฉันรู้จักรับผิดชอบงานรวมถึงลูกน้องด้วย  เริ่มจากแผนกเล็กๆ ไปหาแผนกใหญ่ๆ  ซึ่งผลงานของดิฉันทำให้ผู้อำนวยการได้มอบหมายให้เรียนรู้แผนกอื่นก็คือ  แผนกคอมพิวเตอร์  เรียนรู้งานมากขึ้น  เรียนรู้คนกับการอยู่ร่วมกับคนหมู่มาก ว่าจะบริหารงาน บริหารคน ให้มีประสิทธิภาพเป็นที่นับถือได้อย่างไร  ซึ่งก็มาจากการเรียนรู้ด้วยตนเองแล้วก็ได้รับความไว้วางใจจากผู้อำนวยการให้ทำงานสำคัญๆ  คือ  เป็นหัวหน้าแผนกบัญชี  คุมเรื่องการเงินทั้งหมดของสวัสดิการกรมบังคับคดี  รายรับ-รายจ่ายและประสานงานต่างๆ ให้ผู้อำนวยการกับลูกน้อง  จนได้เห็นจุดยืนของตนเองไปสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการได้  ปัจจุบันดิฉันทำงานอยู่ที่เทศบาลตำบลสองพี่น้อง  จังหวัดสุพรรณบุรี  การทำงานก็คือเหมือนเป็นผู้นำให้กับชุมชนต้องเป็นแบบอย่างมีอะไรแนะนำประชาชนได้ก็แนะนำ  เพื่อสร้างความเจริญให้กับชุมชน  นำความต้องการของประชาชนมาประสานกับผู้บังคับบัญชาให้ลุล่วงตามความต้องการโดยอาศัยหลัก  ดังนี้                1.  Harmony    การดำเนินชีวิตที่เต็มไปด้วยความสมานฉันท์    ปรองดองกัน   มีความสนิทสนมกลมเกลียวเป็นน้ำหนึ่งในเดียวกัน ความร่วมมือ-ร่วมใจให้เกิดความสงบสุข มีความเชื่อถือและเชื่อมั่นต่อกันอย่างจริงใจและทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ                2.  Heritage  แสดงถึงตัวตนและคุณค่าของตัวเองให้กับผู้ร่วมงานได้เห็นว่าเรามีความมุ่งมั่น                3.  Knowledge  Capital  ทุนทางความรู้  ผู้ที่จะเป็นผู้นำได้นั้นแน่นอนว่าจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้  ความสามารถ  ความฉลาดเฉลียว  ดังนั้นจำเป็นที่เราจะต้องไขว่คว้าหาความรู้ให้กับตนเองต่อไป                4.  Emotional  Capital   ทุนทางอารมณ์  ผู้นำที่ดีจะต้องควบคุมอารมณ์ให้เข้มแข็งไม่หวั่นไหวในเรื่องต่างๆ ที่เข้ามา                5.  Creativity  Capital  ทุนแห่งการสร้างสรรค์  การคิดริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ  และวิธีการใหม่ๆ  เพื่อมาใช้ในการพัฒนาองค์กรหรือหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ                6.  Happiness   การดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข  ก็เหมือนกับการทำงาน  ถ้าทำแล้วมีความสุขผลงานที่ออกมาก็จะดีตามไปด้วย                สุดท้ายนี้ขอขอบพระคุณท่าน  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์   และท่านอาจารย์ทุกท่าน  ที่ได้นำความรู้และประสบการณ์การทำงานของท่านอาจารย์มาสั่งสอนให้กับพวกเรานักศึกษา  STAMFORD  INTERNATIONAL UNIVERSITY  (MPA)  แล้วจะนำความรู้ที่ได้ตลอดรายวิชา  LEADERSHIP  ไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการทำงานในองค์กรหรือหน่วยงาน  เพื่อเป็นการพัฒนาตนเองให้สามารถเป็นผู้นำที่ดีต่อไป
นางสาววลัยพร วงษ์งาม ID 00615015
¥   กราบเรียนท่าน ศ ดร จีระ  หงส์ลดารมณ์  ที่เคารพ ดิฉัน นางสาววลัยพร  วงษ์งาม  ขออนุญาติเสนอ Moment ของชีวิตที่ได้สัมผัสกับเหตุการณ์ ประสบการณ์ชีวิต ที่ส่งเสริมความเป็นผู้นำคะ¥   ดิฉันนางสาววลัยพร  วงษ์งาม เกิดมาสัมผัสโลกใบนี้ในครอบครัวที่มีบรรยากาศคล้ายกับโรงเรียน  เพราะมีผู้ปกครองและคุณครูคนเดียวกัน  ดิฉันมีคุณพ่อเป็นคุณครู  จึงได้สัมผัส  เรียนรู้ภาวะผู้นำตั้งแต่ลืมตาดูโลกแล้ว  การเป็นคุณครูนั้นจะต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติของผู้นำที่ดีอยู่เต็มตัว เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกศิษย์  และการบริหารจัดการครูผู้ใต้บังคับบัญชา  ให้มีการเรียน  การสอน ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด  และได้ผลผลิตเป็นนักเรียนที่ดี  มีคุณภาพ  เป็นอนาคตที่ดีของชาติ  ไปพัฒนาประเทศชาติในอนาคต  จึงถือว่าเป็นความโชคดีของดิฉันอย่างหนึ่งที่ได้มีโอกาส  ซึมซับความเป็นผู้นำที่ดีตั้งแต่แรกเกิดจากครอบครัวคะ¥   เมื่อดิฉันเข้าศึกษาต่อในระดับมัธยมก็ได้มีโอกาสได้ผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษาที่ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย  ซึ่งเป็นโรงเรียนในเครือ  ภปร  ที่จัดตั้งโรงเรียนขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองในปีกาญจนาภิเษก    เป็นที่ภาคภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้ศึกษาในโรงเรียนแห่งนี้   ทางโรงเรียนแน่นอนว่าจะต้องฝึกภาวการณ์เป็นผู้นำที่ดี  เพราะจะต้องมีพิธีการต่างๆ  ที่เกี่ยวกับพระราชวงศ์  เช่นการฝึกระเบียบวินัย  การวางตัวที่เหมาะสม  มารยาท  การอ่อนน้อมถ่อมตน  เพื่อให้ตนเองมีบุคลิกภาพที่ดีก่อนที่จะสืบทอดและเป็นตัวอย่างที่ดีกับรุ่นน้องต่อไป  นับเป็นโอกาสที่ดียิ่งอีกอย่างของดิฉัน¥   เมื่อเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย   และทำงานเป็นพยาบาล  ได้มีโอกาสศึกษาที่พยาบาลสภากาชาดไทย ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย  และทำงานที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์  สภากาชาดไทย  จึงได้มีการฝึกความเป็นผู้นำสืบเนื่องต่อมา  คือได้ฝึกเพิ่มเรื่อง  คุณธรรม  จริยธรรม  การช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน                ¥   ซึ่งในการทำงานนั้นมีการฝึกความเป็นผู้นำคือ¥   1. Crisis management            การแก้วิกฤต  ในการทำงานในวิชาชีพของดิฉันนั้นพยาบาลจะต้องเป็นผู้ที่สามารถแก้ปัญหา วิกฤต ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่คับขัน ซึ่งมีความสำคัญเกี่ยวกับ ความเป็น-ความตาย ของชีวิตผู้ป่วย ดิฉันจึงต้องมีคุณสมบัติในข้อนี้อย่างแน่นอน ซึ่งก็ได้จากการอบรม สั่งสอน จากสถาบันการศึกษาเป็นระยะเวลา 4 ปีเต็ม คุณสมบัติในข้อนี้ ถ้าดิฉันได้รับประสบการณ์จริงเพิ่มมากขึ้นหลังจากศึกษา 4 ปี คาดหวังว่าดินฉันจะมีคุณสมบัติของผู้นำในข้อนี้อย่างสมบูรณ์แบบ  จึงเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับผู้ช่วยพยาบาล¥   2. Anticipate change  แก้ปัญหาก่อนที่จะเกิดปัญหาขึ้น ในการทำงานในวิชาชีพของดิฉันนั้นพยาบาล จะต้องรู้สถานการณ์ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ต้องเป็นผู้ที่ช่างสังเกตโดยประเมินผู้ป่วยตั้งแต่แรกรับ  และให้การรักษาหรือคำแนะนำเพื่อป้องกันภาวะการเจ็บป่วยที่จะเกิดขึ้น เมื่อมีภาวะผู้นำข้อนี้ก็จะทำให้บริหารจัดการ ดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ¥   3. Motivate others to excellent          เน้นทฤษฎีการกระตุ้นให้ผู้อื่นเก่ง  ในการทำงานในวิชาชีพของดิฉันนั้นพยาบาลจะมีระบบงานแบบพี่-น้อง  คือเมื่อจบเข้ามาทำงานแล้วก็จะมี รุ่นพี่พยาบาลทำหน้าที่แนะนำสั่งสอนน้องพยาบาลและผู้ช่วยพยาบาลแทนท่านอาจารย์  โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้น้องเก่ง ทำงานมีประสิทธิภาพและก้าวหน้าขึ้นในหน้าที่การงาน และความรู้ความสามารถ  ซึ่งเป็นบทบาทผู้นำที่พยาบาลควรมีและดิฉันจะพัฒนาบทบาทข้อนี้ให้ดียิ่งๆขึ้นไป¥   4. Conflict resolution  การหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง  ในการทำงานในวิชาชีพของดิฉันนั้นพยาบาลจะต้องทำงานร่วมกับทีมสุขภาพซึ่งมีหลากหลายอาชีพ  และทำงานที่ต้องสัมผัสกับผู้คนในระดับต่างๆแต่ละคนก็แตกต่างกัน  การจะเกิดความขัดแย้งนั้นย่อมเกิดขึ้นได้ง่าย  เป็นเรื่องสำคัญที่พยาบาลจะต้องมีคุณสมบัติหลีกเลี่ยงความขัดแย้งให้ได้ เพื่อลดหรือขจัดปัญหาที่จะเกิดขึ้น¥   5. Explore opportunities  เปิดโอกาส สร้างโอกาสให้กับตัวเองและผู้อื่น  ในการทำงานในวิชาชีพของดิฉันนั้นพยาบาล  จะต้องเปิดโอกาสให้ตนเองและผู้อื่นได้เรียนรู้งาน ศึกษาหาความรู้ให้มีเพิ่มมากขึ้นตลอดเวลา  และทำให้เกิดความก้าวหน้าในวิชาชีพ เช่น การเข้าร่วมการวิจัยกับแพทย์ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมสัมมนาวิชาการต่างๆ ฯลฯ ¥   6. Rhythm + Speed  การมีจังหวะที่ดีในการทำงาน ในการทำงานในวิชาชีพของดิฉันนั้นพยาบาลต้องรู้จังหวะว่า จังหวะไหน ช่วงไหนที่ควรเข้าไปทำหัตถการกับผู้ป่วย จะต้องดูว่าอารมณ์ ร่างกายของผู้ป่วยพร้อมที่จะทำหรือไม่ มิฉะนั้นอาจจะทำให้การรักษาไม่สำเร็จ หรืออาจจะทำให้ผู้ป่วยไม่ไว้วางใจได้  หรือกรณีเข้าไปเตือน สั่งสอน ชี้แนะผู้ช่วยพยาบาลเมื่อทำผิดพลาดก็ต้องดูจังหวะเพื่อมิให้ผู้ถูกตักเตือนเสียหน้าและต่อต้านเรา  ¥   7. Edge < Decisiveness >  การตัดสินใจเร็ว ในการทำงานในวิชาชีพของดิฉันนั้นพยาบาล จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องตัดสินใจเร็วเพื่อรักษาชีวิตผู้ป่วย ยกตัวอย่างเช่นเมื่อพยาบาลประเมินได้ว่าผู้ป่วยหยุดหายใจ พยาบาลมิใช่จะมัวตกใจ ไม่รู้จะทำอะไร แต่พยาบาลทุกคนต้องมีสัญชาติญาณของพยาบาลคือ รีบทำการช่วยกระตุ้นหัวใจ หรือเพิ่ม ออกซิเจนให้ผู้ป่วยโดยปั้มหัวใจและทำตามกระบวนการช่วยเหลือผู้ป่วยเมื่อหยุดหายใจ ตามทฤษฎีและประสบการณ์ที่เรียนมาอย่างรวดเร็ว  บทบาทผู้นำข้อนี้จะทำให้ทุกคนเชื่อมั่นในตัวพยาบาล ¥   8. Teamwork  การทำงานเป็นทีม  ในการทำงานในวิชาชีพของดิฉันนั้นพยาบาลจะต้องร่วมมือกับทีมสุขภาพทั้งหมดเพื่อที่จะดูแลรักษาผู้ป่วยให้หายป่วย  ดังนั้นแน่นอนว่าพยาบาลจะต้องมีคุณสมบัติ บทบาทผู้นำเรื่อง Teamwork เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ¥   ช่วงจังหวะชีวิตที่สำคัญในปัจจุบันคือ ได้สัมผัสกับผู้นำที่หลากหลายความสามารถ  จากท่านอาจารย์ทุกท่านที่  มหาวิทยาลัยนานาชาติ แสตมฟอร์ด  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวิชาภาวะผู้นำ  ได้ซึมซับความเป็นผู้นำจากท่าน  ศ ดร จีระ  หงส์ลดารมณ์  แม้จะเป็นระยะเวลาเพียง    สัปดาห์  ท่าน  ศ ดร จีระ  หงส์ลดารมณ์  ก็สามารถถ่ายทอดความเป็นผู้นำที่ดีให้กับนักศึกษาได้มากทีเดียว¥   ดิฉันภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ดิฉันได้มีโอกาสที่ดีที่ได้สัมผัส  เรียนรู้  ซึมซับความเป็นผู้นำจากท่านทั้งหลายดังที่กล่าวมาข้างต้น  ในช่วงชีวิตของดิฉันถือเป็นความโชคดีอย่างยิ่ง  และดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าในอนาคต  จะได้รับคำชี้แนะในส่วนที่ยังบกพร่องในเรื่องภาวะผู้นำและเรียนรู้เพิ่มเติมจากผู้นำที่ดีต่อไป  และแน่นอนว่าดิฉันจะพัฒนาความเป็นผู้นำที่ดีให้ดียิ่งขึ้นคะ
นางสาวชนากานต์ วังคะฮาด
กราบเรียนท่าน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมณ์  ที่เคารพ และสวัสดีเพื่อนนักศึกษาที่รักทุกท่าน     ก่อนอื่นดิฉันต้องกราบขออภัยท่านอาจารย์ด้วยนะคะที่ส่งBlog ช้ากว่าใคร ๆ เนื่องด้วยเหตุและผลหลายประการดิฉันไม่ขอกล่าวถึงเอาเป็นว่าดิฉันส่งการบ้านที่อาจารย์ให้ทำและดิฉันยังค้างอยู่เลยก็แล้วกันนะคะ·     บทบาทของผู้นำแบบไหที่คุณชอบหรือเหมาะสมกับตัวคุณมากที่สุดพร้อมทั้งยกตัวอย่างเป็นกรณีศึกษา·       Stephen Covey
       - Path finding   การเป็นผู้นำนั้นจะต้องมองช่องทางให้ออกว่าประเทศของเรา องค์กรหรือหน่วยงานของเรานั้นเป็นอย่างไร เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลง รู้ปัญหา ต้องแสวงหาความรู้ตลอดเวลา-  Aligning   ให้ทุกคนแสดงความคิดเห็นและเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน ผู้นำที่ดีคือ ต้องจัดระบบคนในองค์กรไปในทางเดียวกัน ไม่สร้างความขัดแย้ง  - Empowering  ต้องรู้จักกระจายอำนาจให้คนในองค์กร เมื่อเขาทำงานสำเร็จต้องมีสิ่งตอบแทนให้ด้วย- Modeling  การเป็นผู้นำที่ดีต้องเป็น  Role  Model ที่ดีด้วย·       Jack Welch
     
- Energy การเป็นผู้นำจะต้องมีความกระตือรือล้นอยู่เสมอมีความรู้มีพลังหรือมีไฟที่จะทำงานและชอบในบทบาทของผู้นำ
      
- Energize  การเป็นผู้นำต้องคอยกระตุ้นตัวเองและคนในองค์กรอยู่เสมอ
     
- Edge  ต้องฉับไว รวดเร็ว พร้อมที่จะเผชิญกับปัญหา
      
- Execution  ทำไห้สำเร็จ  สำเร็จในที่นี่คือ สำเร็จในงานใหม่ ๆ อยู่เสมอ·       Chira Hongladarom
     
- Crisis management  เป็นผู้นำต้องแก้ที่ปัญหาวิกฤต ได้ แก้ปัญหาที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนได้
      
- Anticipate Change  ต้องวางแผนอนาคตไว้ ไม่ต้องรอให้ปัญหามาถึง ต้องทายปัญหาในอนาคตว่าจะเกิดอะไรขึ้นและเตรียมแนวหาทางแก้ไข
      
- Motivate Others to excellent   เป็นผู้นำอย่าเก่งคนเดียวต้องกระตุ้นให้ผู้อื่นเก่ง ต้องให้ความสำคัญกับทุกคนในองค์กร
      
- Conflict resolution  หลีกเลี่ยงการขัดแย้ง  ความขัดแย้งนั้นเกิดขึ้นไดทุกจุด ฉะนั้นต้องบริหารการขัดแย้งให้ได้
      
- Explore opportunities    สร้างสิ่งใหม่ๆให้เกิดขึ้น ทำงานเชิงรุก กล้าคิดนอกกรอบ     - Rhythm & Speed  ต้องมีจังหวะ และโอกาสที่ดี และใช้ให้เหมาะสม
      
- Edge ( Decisiveness )  การตัดสินใจที่รวดเร็ว  โดยดูที่จังหวะและโอกาส
    
- Teamwork   การทำงานเป็นทีม  และต้องเป็นทีมที่เก่งด้วยสำหรับแบบอย่างของผู้นำที่เหมาะกับดิฉันมากที่สุดนั้นคือแบบท่าน ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมณ์  เพราะนอกจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้วยังมีทฤษฎี  5 K’s  8  K’s ของท่าน ดร.จีระ  ที่ผู้นำควรจะนำมาใช้ในการบริหารงานในองค์กรให้มีประสิทธิภาพได้ดีเยี่ยม   ดิฉันเป็นผู้นำท้องถิ่นทำงานร่วมกับชุมชนสิ่งที่ต้องระวังเป็นอย่างมากคือความขัดแย้งในองค์กรและหมู่คณะดิฉันทำงานเป็นทีมการขัดแย้งสามารถเกิดขึ้นได้เพราะในกลุ่มคนนั้นมีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยเสมอดังนั้นดิฉันต้องบริหารความขัดแย้งอยู่ตลอดเวลาลดการขัดแย้งให้น้อยที่สุด

ยกตัวอย่างกรณีศึกษา เช่นในแต่ละปีต้องมีการจัดทำแผนพัฒนา 3 ปี  และแผน 1 ปีหรือที่เรียกกันว่าข้อบัญญัติงบประมาณประจำปี ในแต่ละปีเมื่อดิฉันจัดทำแผนงบประมาณเรียบร้อยแล้วจะต้องนำเข้าเสนอสภา อบต. เพื่อขอความเห็นชอบก่อนแล้วถึงจะนำมาปฏิบัติต่อไป และต้องทำให้สำเร็จตามแผนที่วางไว้  ดังนั้นดิฉันต้องทำให้คนในองค์กรมีเป้าหมายเป็นไปในทิศทางเดียวกัน  ถ้าหากมีเป้าหมายไม่เหมือนกันสภาไม่เห็นชอบดิฉันก็ทำงานให้สำเร็จได้ยาก และการปฏิบัติงานต้องเป็นการทำงานในเชิงรุกต้องเข้าถึงประชาชนในทุกพื้นที่ที่รับผิดชอบ ต้องรู้ปัญหาของชุมชนเป็นอย่างดีพร้อมที่จะเผชิญกับปัญหาที่เกิดขึ้นและหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน ที่สำคัญต้องชอบในงานที่ทำแล้วเราจะมีความสุขกับการทำงานและจะทำให้สำเร็จเร็วยิ่งขึ้น

ชนากานต์  วังคะฮาด

...........................................................................................................................
ยม การพบ ศ.ดร.จีระ ขอให้มาก่อนเวลาสักเล็กน้อย (30 นาทีเป็นอย่างน้อย)

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ/นักศึกษา MPA ม.นานาชาติแสตมฟอร์ดและท่านผู้อ่านทุกท่าน

จากข้อความแรกของอาจารย์ ล่าสุด มีการแก้ไขเมื่อวันที่ 18 ก.พ. แจ้งข้อความให้นักศึกษาทำการสอบปากเปล่าว เวลา 16.00 น. ขอให้ นักศึกษาตรงเวลาด้วย แนะนำว่าควรมาก่อนเวลา สัก 30 นาที ครับ

และช่วยแจ้งกันต่อ ๆ ไป ให้ทั่ว (น.ศ.บางท่าน อาจจะไม่สะดวกที่จะเปิด Internet ฝากช่วยบอกต่อ ๆ กันไป ด้วยครับ

ยม

นายนิกรณ์ โพชนะจิตร
 

กราบเรียนท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมณ์

สวัสดีนักศึกษาMPA และ ชาว Blog ทุกท่าน

ในวันอาทิตย์ที่ 21 มกราคม 2550 ที่ผ่านมานี้เป็นอีกครั้งหนึ่งที่พวกเราชาว MPA แสตมฟอร์ดได้รับเกียรติเป็นอย่างยิ่งจากท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่ได้มาบรรยายให้ความรู้กับพวกเราในรายวิชาภาวะผู้นำ (Leadership)ท่านอาจารย์ได้ฝากแนวความคิดของบทบาทผู้นำทั้ง 3 ท่าน ซึ่งประกอบด้วย

The 4 Roles of Leadership by Stephen Covey

1. Path finding  มองอนาคต มองปัญหา แสวงหาความรู้ความเข้าใจ

2. Aligning  เรียบเรียงเป้าหมายที่ถูกต้องไปในทิศทางเดียวกัน

3. Empowering  อย่าเก่งคนเดียว รู้จักกระจายอำนาจ กระจายการตัดสินใจ

4. Modeling เป็นรูปแบบที่ดี

Leadership roles by Chira Hongladarom

1. Crisis Management ผู้นำต้องแก้ปัญหาวิกฤตขององค์กรได้

2. Anticipate Change ผู้นำต้องดักปัญหาล่วงหน้า

3.Motivate others to be excellent ผู้นำต้องกระตุ้นให้ผู้ร่วมงานเป็นเลิศ

4. Conflict resolution แก้ปัญหาความขัดแย้งในองค์กรได้

5. Create new opportunities ผู้นำต้องสร้างโอกาสใหม่ ๆ โดยใช้จังหวะและความเร็ว

6. Rhythm & Speed สามารถฉกฉวยโอกาสและจังหวะได้อย่างเหมาะสม

7. Edge (Decisiveness) กล้าตัดสินใจ เด็ดขาด รวดเร็ว

8. Team work  ทำงานเป็นทีม

4 E’s Leadership

1. Energy    ผู้นำต้องมีไฟ

2. Energize ผู้นำจะต้องกระตุ้นให้ทุกคนมีศักยภาพทำงานในทิศทางเดียวกันและมีพลัง

3. Edge ผู้นำต้องกล้าตัดสินใจโดยใช้จังหวะฉกฉวยให้ดี

4. Execution  ผู้นำต้องทำให้เสร็จและสำเร็จวัดผลได้

ข้าพเจ้าเห็นว่าทฤษฎี Leadership roles by Chira Hongladarom เหมาะสม เพราะเนื่องจากในองค์กรของข้าพเจ้าเป็นบริษัทของต่างชาติ ซึ่งจะได้ทำงานร่วมกับชาวต่างเชื้อชาติ ศาสนาและวัฒนธรรม และในแต่ละคนนั้นย่อมมีแนวความคิดในการทำงานที่แตกต่างกัน และก็ทำให้เกิดปัญหาตามมา ฉะนั้นในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นหัวหน้างานคนหนึ่งในองค์กร จึงมีความคิดเห็นว่าแนวความคิดของท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ สามารถนำมาใช้ได้จริงและประยุกต์ให้เข้ากับองค์กรได้อย่างดียิ่ง

นายนิกรณ์ โพชนะจิตร

 

กราบเรียนท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมณ์  และนักศึกษาชาวMPAทุกท่าน 

ในวันอาทิตย์ที่ กุมภาพันธ์  2550  ที่ผ่านมา  ท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ได้เชิญท่าน  MR.LEIGH  SCOTT มาตรงกับคุณสมบัติของตัวเรามากที่สุดจากหมายเลข4,3,2,1 ซึ่งคะแนนรวมจะได้ 90 และบ่งบอกถึงลักษณะของบุคคลได้ 4 ประเภท คือ

I = Intuitor ช่างคิด คาดการณ์ ชักนำ

T = Thinker วิเคราะห์ลำดับ เหตุการณ์และเหตุผล

F = Feeler เชื่อมโยงและเข้าใจปฎิกิริยาทางอารมณ์และสนองต่อความรู้สึก

S = Sensor เน้นประสบการณ์ของตนเองที่ผ่านมาเป็นหลัก

พฤติกรรมที่พึงประสงค์ พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์

ตรงต่อเวลา มาสาย

ขยัน ขี้เกียจ

โดยมีช่องว่าง (Gap) ให้ผู้นำใช้ข้อแตกต่างเหล่านี้มากำหนดยุทธศาสตร์จัดการจุดอ่อนให้เป็นจุดแข็ง ดังสุภาษิตของซุนวู รู้เขา รู้เรา, รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง, ท่านอาจารย์ยม  นาคสุข  มาช่วยบรรยายแปลและช่วยเสริม,เสนอแนะให้ความรู้แก่นักศึกษาและท่านอาจารย์พิทยา  พุกมาน มาบรรยายเกี่ยวกับประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับการฑูตซึ่งได้เปรียบเทียบระหว่างประเทศญี่ปุ่นกับละตินอเมริกาว่าประเทศละตินอเมริการด้อยพัฒนามากกว่าประเทศญี่ปุ่น และก็ได้เปรียบเทียบประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่นด้วยว่าประเทศไทยนั้นมีทรัพยากรธรรมชาติส่วนประเทศญี่ปุ่นนั้นมีทรัพยากรมนุษย์และความเชี่ยวชาญด้านเทศโนโลยีและได้อธิบายข้อแตกต่างที่เด่นๆของคนญี่ปุ่นที่ทำให้ประสบความสำเร็จในธุรกิจมากกว่าคนไทย 10 ข้อต่อไปนี้

1.  ความมีวินัยรู้หน้าที่ เช่น การตรงต่อเวลา การเข้าคิว

2.  การบริหารจัดการเน้นความประหยัดและให้เกิดประโยชน์สูงสุดดังคำขวัญ No waste

3.  มีความขยันหมั่นเพียรและอดทน มีความมุ่งมั่นในการก้าวไปข้างหน้า ชอบลองของใหม่ๆ ส่วนคนไทยชอบจับกลุ่มคุยกันไม่มีความมั่นใจในการเข้าสังคม

4.  ซื่อสัตย์และจงรักภักดีต่อสถาบันหรือหน่วยงานของตนโดยที่คนญี่ปุ่นไม่ชอบเปลี่ยนงานพร้อมทั้งอุทิศตนและทำงานอย่างเต็มที่

5.  คนญี่ปุ่นชอบศึกษาหาความรู้ตลอดเวลา

6.  ชอบความสะอาดและทันสมัย

7.  มีความรับผิดชอบต่อสังคมสูงมาก จะเห็นได้จากข่าวการฆ่าตัวตายอยู่บ่อยๆ เนื่องจากผู้นำบริหารงานผิดพลาด

8.  คนญี่ปุ่นจะมีมารยาททางสังคมสูงมีการนับถือระบบอาวุโส

9.  รักในศักดิ์ศรีของตนเองโดยคนญี่ปุ่นไม่ชอบง้อหรือขอความช่วยเหลือจากใคร

10. มีความคิดริเริ่มและพัฒนาตนเองอย่างไม่หยุดนิ่ง

ในวันนี้ข้าพเจ้าก็ได้รับความรู้ต่างๆมากมายจากอาจารย์ทั้ง 3 ท่านซึ่งข้าพเจ้าจะพยายามนำความรู้ที่ได้รับมาไปใช้กับการทำงานในองค์กรของข้าพเจ้าให้เกิดประโยชน์สูงสุด

 

นายนิกรณ์ โพชนะจิตร

 

 

 

 

 

 

     

ยม เรียนรู้เรื่องผู้นำ กับแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ / นักศึกษา MPA/MBA ม.นานาชาติสแตมฟอร์ด และท่านผู้อ่านทุกท่าน

ผมดีใจที่เห็นนักศึกษาที่เขียน Blog มามีการพัฒนาการที่ดีขึ้น สามารถสรุปประเด็นได้ชัดเจน มากขึ้น

การเรียน ป.โท การเป็นนักบริหาร ในยุคนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจเรื่องภาวะผู้นำ   เพราะภาวะผู้นำเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งในการขับเคลื่อนองค์การ สังคม และประเทศชาติ

นักศึกษาทำได้ดีแล้ว ขอให้พัฒนาต่อยอดความรู้เรื่องนี้มากขึ้น 

ในเรื่องการเป็นผู้นำ ผมแชร์ไอเดีย ในเรื่องนี้ว่า  ภาวะผู้นำ มีการเปลี่ยนแปลงตามสภาวะแวดล้อมของโลก จึงควรที่จะศึกษาเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง ตามทฤษฎี 3 ต. ของ ศ.ดร.จีระ

ผมได้บูรณาความรู้เกี่ยวกับสมรรถนะของผู้นำ เข้ากับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ดังปรากฎอยู่ตอนท้ายนี้

ซึ่งผมคิดว่า จะเป็นประโยชน์กับนักศึกษาและท่านผู้สนใจทุกท่าน นำไปพิจารณาต่อยอด ประยุกต์ใช้ครับ 

 

เศรษฐกิจพอเพียง

3 หลักการ2 เงื่อนไข
สมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้นำ จากรายงานการสัมมนา ตัวแทนชาติต่าง ๆ ในอาเซียนเรื่อง New Wave Leaders ปี 1996
ความพอประมาณModerationความพอดี พอประมาณ ที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ ·  มุ่งส่งเสริมให้บริการที่ดี  เพราะเมื่อเศรษฐกิจเติบโต ปัญหาอื่น ๆ อาจตามมา จึงต้องรอบรู้  ·  เป็นนักแก้ไขปัญหา  เพราะเมื่อเศรษฐกิจเติบโต ปัญหาจะตามมามากมาย เช่น ปัญหามลภาวะเป็นพิษ ปัญหาการขาดแคลนทรัพยากร ปัญหาหนี้สิน ปัญหาพื้นฐานการขยายเมือง เป็นต้น  
ความมีเหตุมีผลReasonablenessการตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ ·  คำนึงถึงความสำคัญของสภาพแวดล้อม สามารถนำเอาเทคโนโลยี มาใช้กับคน กับที่ดินเกษตรกรรมให้น้อยลงและเกิดประโยชน์สูงสุด คำนึงถึงมลภาวะอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลง ที่จะมีผลกระทบต่อสังคมประเทศชาติ  ·  สามารถทำสิ่งที่เหมาะสมที่สุดสำหรับประเทศ   ในขณะเดียวกันก็ต้องมองเห็นความสำคัญของโลก  
ความมีภูมิคุ้มกัน Self-Immureการเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล ·  เป็นผู้มีวิสัยทัศน์  สามารถคาดหมายความเปลี่ยนแปลงในอนาคต สามารถเตรียมตนเองและประเทศชาติให้รองรับปัญหาและการเปลี่ยนแปลงได้ทุกเมื่อ ·  เป็นผู้มีความเข้าใจ และมองเห็นแนวโน้มในอนาคตทางด้านเทคโนโลยี 
เงื่อนไข ความรู้ Knowledge ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ  ·  มีความรู้มีการศึกษาดี  และไม่ใช่มีความรู้เรื่องหนึ่งเรื่องใด แต่ต้องเป็นผู้รอบรู้ ·  สามารถเป็นสื่อกลางระหว่างชาติต่าง ๆ   ที่มีประชาชนแตกต่างกัน ·  สามารถสื่อข่าวสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ   สามารถสื่อความคิดแผนงานสำหรับอนาคตได้
เงื่อนไข คุณธรรมEthic Virtueความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต ·        ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์ และที่สำคัญคือซื่อสัตย์ต่อสังคม ประชาชน และประเทศชาติ·        คำพูดกับการกระทำสอดคล้องกัน ·        เป็นผู้มีบารมี ·        เป็นที่นิยมของคนในหน่วยงาน ในองค์การ ในชาติ และในสังคมโลก·        ยอมรับความแตกต่างในศาสนา ในเชื้อชาติ ของคนต่าง ๆ ในสังคม สามารถรวบรวมคนที่ต่างศาสนาและต่างผิวพรรณให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน·        ยอมรับศาสนาอื่น ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ·        ส่งเสริมสนับสนุนความสำคัญของครอบครัว ·        ได้รับความไว้วางใจ 

 

 สวัสดี

ยม

 

 

ยม / ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด MBA ปฐมนิเทศให้นักศึกษา ได้ทราบถึงกำหนดการ แนวทางการเรียนการสอน การส่ง Blog

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ /นักศึกษา MBA/MPA ม.นานาชาติสแตมฟอร์ด หัวหินและที่กรุงเทพฯ

   เมื่อวันศุกร์ที่ 23 และเสาร์ที่ 24 ก.พ. รู้สึกเป็นเกียรติอย่างสูง ที่ได้รับความกรุณาและความไว้วางใจจาก  ศ.ดร.จีระ ให้ไปดำเนินการปฐมนิเทศแนะนำวิธีการเรียน การสอน และการส่ง Blog ให้กับ น.ศ. MBA ม.นานาชาติสแตมฟอร์ด หัวหิน  วิชา        ภว. 524 ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลงในองค์กร  และยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสรู้จักนักศึกษา MBA ม.นานาชาติสแตมฟอร์ด ที่เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน  สองวันที่ผ่านมา นักศึกษาส่วนใหญ่ เป็นผู้สนใจการเรียนรู้และตั้งใจเรียนเป็นอย่างดี  กิจกรรมในวันแรก ได้ปฐมนิเทศให้นักศึกษา ได้ทราบถึงกำหนดการ  แนวทางการเรียนการสอน การส่ง Blog ดังรายละเอียดตอนท้ายนี้ ชื่อหลักสูตร          บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต รหัสวิชา / ชื่อวิชา ภว. 524 ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลงในองค์กรอาจารย์ผู้สอน       ศ. ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ และทีม Chira Academy            Email:  [email protected] Office: 02-884-9420-1     วัน / เวลา  ทุกวันศุกร์  เวลา 18.00 21.00 น.   

ครั้งที่

วันที่ หัวเรื่อง
1 วันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ (18.00 – 21.00 น.) ปฐมนิเทศแนะนำวิธีการเรียนการสอน และการส่ง Blog ผู้นำกับการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดย คุณยม  นาคสุข
2 วันเสาร์ที่ 24กุมภาพันธ์(09.00-17.00 น.) ต่อ ผู้นำกับการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (ช่วงเช้า)     (ช่วงบ่าย)  ศิลปะการเป็นผู้นำ ยุคใหม่ / การบริหารเชิงกลยุทธ์
3 วันศุกร์ที่ 2 มีนาคม (18.00 – 21.00 น.)     (ต่อ) ผู้นำกับการบริหารเชิงกลยุทธ์
4 วันเสาร์ที่ 3 มีนาคม (09.00-17.00 น.) Leadership in the changed world. (Focus on Public Sector)By Mr. Peter Bjorkร่วมแปลสรุปความโดย คุณยม  นาคสุข
5 วันศุกร์ที่ 9 มีนาคม (18.00 – 21.00 น.) แนะนำ concept 4L’s มอง Macro ไปสู่ Microภาวะผู้นำของหญิง ชาย  ภาวะผู้นำระหว่างตะวันตก ตะวันออกA Model of Effective Leadershipคุณลักษณะของผู้นำยุคโลกาภิวัตน์  บทบาทของผู้นำยุคโลกาภิวัตน์ 3 แนวทาง  โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
7 วันศุกร์ที่ 16 มีนาคม (18.00 – 21.00 น.) ผู้นำกับการบริหารความขัดแย้ง และการเจรจาต่อรองโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
8 วันเสาร์ที่ 17 มีนาคม(09.00-17.00 น.) ผู้นำกับความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
9 วันศุกร์ที่ 23 มีนาคม (18.00 – 21.00 น.) วิธีการคิดแบบผู้นำo       เรียนรู้จากบทสัมภาษณ์จีระ ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์o       เรียนรู้จากบทสัมภาษณ์จีระ อำนวย วีรวรรณโดย คุณยม  นาคสุข
10 วันเสาร์ที่ 24 มีนาคม สอบปลายภาค
            การวัดผลการเรียน 
  1. 15% 1st Participation ต้อง ส่งการบ้านทาง Blog สัปดาห์ละครั้ง ภายในวันพุธ ซึ่งจะมี Blog ชื่อ  MBA Stamford/Leadership การบ้านคือ 1. เรียนในแต่ละสัปดาห์ได้เรียนรู้อะไร จับประเด็นอะไร ได้บ้าง และ  2. อาจารย์ผู้สอนจะมอบหมายเพิ่มเติมในระหว่างชั้นเรียน
  2. 15% 2nd Participation ต้อง การเข้าชั้นเรียน และการมีส่วนร่วมในห้องเรียน         
  3. 20% 3rd Participation ต้อง ไปทัศนศึกษานอกสถานที่ และสรุปที่ได้ดูและศึกษามา ซึ่งมีการวัดผล               
  4. 30% 4th Participation ต้อง ทำรายงาน case study โดยการศึกษาโจทย์เกี่ยวกับเรื่อง Leadership
  5. 20% 5th Participation ต้อง สอบปลายภาค                  
 ทีมงานผู้ช่วยสอน
  1. อาจารย์ยม นาคสุข
  2. อาจารย์โลตัส
  3. คุณวราพร ชูภักดี (A)
  4. คุณเอราวรรณ  แก้วเนื้ออ่อน (เอ)
 Reading List หนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้หนังสือ 2 พลังความคิดชีวิตและงาน คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ และ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์     Quiet Leadership: Six Steps to Transforming Performance at Work (Hardcover) by David Rockอุปนิสัยที่ 8 : จากประสิทธิผลสู่ความสำเร็จ = The 8th habit : from effectiveness to greatness / Stephen R. Covey ; เรียบเรียงโดย ดนัย จันทร์เจ้าฉาย ; บรรณาธิการ จิรายุทธ ประเจิดหล้าJack Welch and the 4E’s of Leadership  การเปิด Blog เพื่อส่งรายงาน/การบ้าน
  1. เข้าไปที่ www.google.com
  2. พิมพ์ชื่อ ดร.จีระ
  3. กด Enter
  4. เลือก รายการแรกที่ปรากฏหน้าจอคอมพิวเตอร์  จะพบเว็บของ ศ.ดร.จีระ
  5. http://www.chiraacademy.com/ หรือถ้าเลือกรายการที่สอง คือทุนมนุษย์กับ ดร.จีระ จะพบ http://gotoknow.org/blog/chirakm/77991
  6. แล้วเลือก Blog ที่มีชื่อ ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด
  7. คลิ๊ก เขาไปจะพบ ข้อความของ ศ.ดร.จีระ เขียนทักทาย น.ศ. ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด 
  8. ควรอ่านข้อความดูว่ามีอะไรบ้าง จากนั้น
  9. นำบทความที่เราเขียนไว้ copy มาวางลงใน blog
 การเขียนการบ้านแล้วนำมาวางลงใน Blog 
  1. ศึกษาข้อมูล ประเด็นที่จะเขียน จากการเรียนในห้อง จากเอกสารประกอบการบรรยาย จากหนังสือที่เกี่ยวข้อง  หรือที่อาจารย์ผู้สอนมอบหมาย  ศึกษาเพิ่มเติมให้เข้าใจ ก่อนลงมือเขียน
  2. เขียน ร่างลงในโปรแกรม Microsoft Office ก่อน
  3. เลือกตัวอักษร แบบ Tahoma ขนาด 14 สำหรับตัวหนังสือปกติ ขนาด 20-18-16 สำหรับหัวข้อเรื่อง
  4. สีตัวอักษร สีเข้ม เช่น เลือกสีดำ สีน้ำเงิน
  5. ทำแถบสีที่ต้องการเน้น
  6. เนื้อหาให้ครบถ้วนกระบวนการ เปิดประเด็น ดำเนินเรื่อง สรุปเสนอแนะ
  7. กล่าวทักทาย อาจารย์ เพื่อนนักศึกษา และผู้อ่านทั่วโลก ที่เข้ามาอ่าน
  8. ตรวจสอบหาคำผิด แก้ไข
  9. Copy นำไปวางใน Blog
  10. ตรวจสอบอีกครั้งหนึ่ง โดยเฉพาะ การย่อหน้า ให้เคาะเว้นย่อหน้าเพิ่มใน Blog อีก สองบรรทัด(สองครั้ง ในทุกยอหน้า
  11. ใส่ชื่อในช่องใส่ชื่อ  ใส่ Email และรหัส ตัวเลขที่ปรากฏอยู่ตอนท้าย
  12. กด บันทึก
  13. เปิดอ่าน ตรวจสอบดูอีกครั้งหนึ่ง  
  14. นักศึกษา สามารถเขียนหรือ ทำ Blog ให้ได้บ่อยครั้ง หรือมีเนื้อหาสาระ ตามที่ใจต้องการ 
  15. การเขียน Blog ให้ระลึกถึงผู้อ่านทั่วโลก เสมอ  การเขียน Blog ถือเป็นเรื่องสำคัญ และเป็นภาพของท่านเอง
  16. ส่ง Blog ตรงเวลา  ส่งก่อนเวลาก็ได้ไม่ผิดกติกา
  ผมได้แนะนำนักศึกษาเพิ่มเติม ว่า การเรียน ป.โท ขอให้ตรงต่อเวลา หลีกเลี่ยงการขาดเรียน

ส่งรายงาน สิ่งที่ได้รับมอบหมายให้ตรงเวลา  สามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรี ภายใต้หลักการพูด ภาวะผู้นำและ ศีลธรรม อันดีงาม และควรศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม

  

สิ่งดังกล่าวข้างต้น คือสิ่งที่ผมได้ปฐมนิเทศไปในช่วงต้นของเวลา ในblog ต่อไปผมจะเขียนมา ผมได้ชี้ประเด็นอะไรให้นักศึกษาได้เรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในชั้นเรียน และมีสิ่งประทับใจอะไรบ้างที่ ม.นานาชาติแสตมป์ฟอร์ด

  

ขอชื่นชมนักศึกษาหลายคนมีส่วนร่วมในการเรียนได้ดี

  

สวัสดี

  

ยม

  

น.ศ.ปริญญาเอก

  

รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต

  

081-9370144

  [email protected] 

 

ยม ยม / สรุปสาระ ประเด็น(โดยย่อ) ที่มีการเรียนการสอน ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด MBA

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ /นักศึกษา MBA/MPA ม.นานาชาติสแตมฟอร์ด หัวหินและที่กรุงเทพฯ

 

Blog นี้ ผมทำการสรุปประเด็นที่ได้สอนนักศึกษา MBA ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด ที่หัวหิน เม่อวันศุกร์ตอนเย็นและวันเสาร์ที่ผ่านมา เกี่ยวกับ ภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลง สรุปสาระที่มีการเรียนการสอน และแนะนำให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม ดังนี้

  1.   โลกปัจจุบันยุคแห่งการเปลี่ยนแปล
  2.  ปัจจัยแห่งความสำเร็จขององค์กร
  3. ความหมาย ผู้นำ ภาวะผู้นำ คุณลักษณะของผู้นำ
  4. กรอบแนวความคิด แนวคิดทฤษฎีฯ
  5. สมรรถนะของผู้นำยุคใหม่
  6. แนวทางการพัฒนาตนเองสู่ภาวะผู้นำที่เป็นเลิศ
  7. กิจกรรมกลุ่ม
   

I.    โลกปัจจุบันยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง

 

กรอบแนวความคิด

 

สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ เช่น การเมือง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

  

สัตว์ในโลกที่ไม่ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมของโลก ได้สูญพันธ์ไปแล้ว เช่น ไดโนเสาร์

  

ความต้องการของลูกค้า เปลี่ยนแปลงทั้งปริมาณและคุณภาพ  ถ้าเราไม่ปรับเปลี่ยน ลูกค้าจะเปลี่ยนไปซื้อรายอื่น

  Bill Gates “Business is going to change more in the next ten years

than it has in the last fifty.”

  

II.           ปัจจัยแห่งความสำเร็จขององค์กร

 

กรอบแนวความคิด

 

ภาวะผู้นำ : เป็นพลังขับเคลื่อนองค์กรสู่ความเป็นเลิศ

 

The Energy that Drives Your Organization towards Excellence

 

ภาวะผู้นำ : สมรรถนะหลักของผู้บริหาร คือปัจจัยหนึ่งที่จะนำความสำเร็จมาสู่องค์กร

  (ปัจจัยความสำเร็จอื่น ๆ แนะนำให้ค้นคว้าเพิ่มเติมจาก Internet เช่น ปัจจัยแห่งความสำเร็จของโครงการปัจจัยภายนอก (PEST framwork)ได้แก่ด้านสถานการณ์การเมืองด้านเศรษฐกิจด้านสังคม ด้านเทคโนโลยีฯปัจจัยภายใน (7's framwork)ได้แก่วิสัยทัศน์ยุทธ์ศาสตร์การจัดการ โครงสร้างการจัดการที่เหมาะสม. ระบบที่เอื้อต่อการทำงาน.คน/ทีมงาน/ผู้บริหาร/ผู้นำทักษะ ประสบการณ์ของทีม

  รูปแบบการทำงาน/รูปแบบการจัดการ ที่ทันสมัย ทันเหตุการณ์)

 

III.        ความหมาย ผู้นำ ภาวะผู้นำ คุณลักษณะของผู้นำ

 

กรอบแนวความคิด

ความหมายผู้นำ (Leader) คือ บุคคลที่มีอิทธิพลต่อกลุ่ม และสามารถนำกลุ่มปฏิบัติงานต่างๆเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ ภาวะผู้นำ Leadership เป็นความสามารถที่จะสร้างความเชื่อมั่นและให้การสนับสนุนผลักดันบุคคลเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร  ลักษณะผู้นำที่ดีผู้นำที่ฉลาดควรมี 3 ลักษณะอยู่ในตน
  • (ทฤษฎี 8 K’s ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์)สามารถนำเสนอความคิดใหม่

1.    ทุนความรู้ 

 

2.    ทุนปัญญา

 

3.    ทุนทางสังคม

 

4.    ทุนทาง IT

 

·        สามารถสร้างความสุขให้กับตนเองได้

 

5.    ทุนความเป็นมนุษย์

 

6.    ทุนทางความสุข

 

·        สามารถสร้างความสุขให้กับผู้อื่นได้

 

7.    ทุนจริยธรรม คุณธรรม

 

8.    ทุนแห่งความยั่งยืน

  Best Leaders(Susan Annunzio .2006 eLEADERSHIP: 27-32) 
  1. Honesty
  2. Responsiveness
  3. Vigilance = Continued Success
  4. Livingness to learn and relearn 
  5.  Sense of adventure
  6. Vision
  7. Altruism
 

คุณค่าของผู้นำ/ผู้บริหาร

  1. การมุ่งประโยชน์ส่วนรวม ประโยชน์แผ่นดิน (Social/National Interest)
  2.  ปกครองด้วยหลักธรรมาธิปไตย/ธรรมาภิบาล (Meritocracy/Good Governance)
  3. มีความสามารถ (Competence)
  4.  มีความสำนึกรับผิดชอบ (Accountability)
  5.  มีความเป็นกลาง (Neutrality
  6.  การมุ่งสัมฤทธิ์ผล (Result Orientation
  7.  ความเป็นมืออาชีพ (Professionalism)
 

ลักษณะของผู้นำที่ไม่ดี

  1. มุ่งแสวงหาประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง
  2. ทำตนเข้าสู่กับดักแห่งอำนาจ ยึดมั่นถือมั่น มีอัตตาสูง
  3. ขาดความรับผิดชอบ
  4. การไม่สามารถมอบหมายให้ผู้อื่นทำการตัดสินใจแทนตนได้
  5. ไม่คิด ไม่สร้างตัวตายตัวแทน
  6.  แต่งตั้งคนไม่ได้เรื่องมาดำรงตำแหน่งสำคัญ แสดงความไม่เต็มใจที่จะแบ่งบันข้อมูลอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง
  7.  ขาดความรู้ ขาดความเป็นธรรม
  8. ขาดความสมดุล ขาดเหตุผล ขาดการพอประมาณ
  9.   ดื้อรั้น ทิฐิ หลงตัวเอง ไม่เชื่อ ไม่ฟังใคร ฯลฯ
  n   ภาวะผู้นำ แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ 

ทฤษฎีภาวะการเป็นผู้นำ

  1. ทฤษฎีเกี่ยวกับลักษณะ
  2. ทฤษฎีทางด้านพฤติกรรม
  3. ทฤษฎีทางด้านสถานการณ์
 

1.   ทฤษฎีเกี่ยวกับลักษณะ

  มีความเชื่อว่า ผู้นำที่มีคุณลักษณะดี จะนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จตามศาสตร์ของจีน มีการเก็บข้อมูลลักษณะของผู้นำว่า มีลักษณะสูงใหญ่ คิ้วดก ขนดกดำ สังเกตจากรูปภาพแม่ทัพจีนโบราณ ซุนวู เป็นต้น สัตว์ป่าจ่าฝูง เพศผู้จะมีลักษณะโครงสร้างใหญ่ มีขนสวยสง่างาม เป็นต้น ต่อมาภายหลังมีการพัฒนาการศึกษาลักษณะผู้นำ ว่าเป็นผู้ที่มีลักษณะ ดังนี้(แนะนำให้นักศึกษาอ่านเพิ่มเติมใน Sheet)
  • มีความทะเยอทะยาน (Ambition)
  • มีความอุสาหะพากเพียร (Persistence)
  • มีความกล้าหาญ (Courage)
  • มีความเชื่อถือศรัทธา (Faith)
  • มีความซื่อสัตย์มั่นคง (Integrity)
  • มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creativity)
  • มีความยุติธรรม (Justice)
  • มีจุดมุ่งหมาย (Objectivity)
  • มีความยืดหยุ่น (Flexibility)
  • มีความสามารถในการตัดสินใจ (Decisiveness)
  • มีวินัยในตนเอง (Self-Discipline)
 2. ทฤษฎีทางด้านพฤติกรรม(แนะนำให้นักศึกษาอ่านเพิ่มเติมใน Sheet)ตารางพฤติกรรมการบริหาร
Robert R. Blake & Jane S. Mouton
  • ผู้นำที่เน้นความสนใจที่คน ไม่ค่อยเน้นที่งาน
  • ผู้นำที่ไม่สนใจทั้งงานและคน
  • ผู้นำที่เอาใจใส่ทั้งคนและงาน
  • ผู้นำที่เน้นความสนใจที่งาน ไม่ค่อยเน้นที่คน
  • ผู้นำที่เดินสายกลาง
 3. ทฤษฎีทางด้านสถานการณ์ (แนะนำให้นักศึกษาอ่านเพิ่มเติมใน Sheet)
  • เมื่อสถานการณ์เอื้อต่อการใช้ความเป็นผู้นำ กลุ่มจะตั้งใจทำงานโดยไม่ต้องมีการคะยั้นคะยอมาก
  • บุคคลแต่ละคนจึงควรทำงานในสถานการณ์ที่เหมาะกับแบบภาวะการเป็นผู้นำของเขา
  • ต้องเปลี่ยนแปลงสถานการณ์เพื่อให้สอดคล้องกับแบบภาวะการเป็นผู้นำของเขาเอง
  • (The Hersey-Blanchard Life Cycle Theory of Leadership)
Leadership concept that hypothesizes that leadership styles should reflect primarily the maturity level of the followers. (Certo, 2003)   IV.         สมรรถนะของผู้นำยุคใหม่

Leadership Competency Definitions
สมรรถนะหลัก 5 ด้าน นำสู่ภาวะผู้นำ

1. LEADING CHANGE ศักยภาพในการเปลี่ยนแปลง
  • Continual Learning การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
  • Creativity and Innovation มีความคิดสร้างสรรค์และใช้นวัตกรรม
  • External Awareness ตระหนักถึงผลกระทบจากภายนอก
  • Flexibility ความยืดหยุ่น
  • Resilience ปรับเปลี่ยนได้
  • Service Motivation จูงใจใฝ่บริหาร
  • Strategic Thinking การคิดเชิงกลยุทธ์
  • Vision การมีวิสัยทัศน์ มองการณ์ไกลได้ดี
  2.   LEADING PEOPLE DRIVING ศักยภาพในการเป็นผู้นำ  
  • Conflict Management การบริหารความขัดแย้ง
  • Leveraging Diversity ตระหนักในคุณค่าทางวัฒนธรรม
  • Integrity/Honesty ความจงรักภักดี / ความซื่อสัตย์
  • Team Building สร้างทีมงาน
  3.   RESULTS DRIVING การมุ่งผลสัมฤทธิ์  
  • Accountability . ความรับผิดชอบ
  • Customer Service การให้บริการลูกค้า
  • Decisiveness การตัดสินใจ
  • Entrepreneurship ความเป็นผู้ประกอบการ
  • Problem Solving การแก้ไขปัญหา
  • Technical Credibility มีเทคนิคที่เชื่อถือได้
 4.   BUSINESS ACUMENT ความเฉียบคมทางการบริหาร
  • Financial Management การบริหารจัดการด้านการเงิน
  • Human Resources Management การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์
  • Technology Management การบริหารจัดการด้านเทคโนโลยี
  • Customer Management การบริหารลูกค้า
 5.    BUILDING COLITIONS  การสร้างความเข้าใจ
  • Influencing/Negotiating การเจรจาต่อรอง
  • Interpersonal Skills ทักษะด้านคน การโน้มน้าว
  • Oral Communication ความสามารถในการสื่อสารด้วยวาจา
  • Partnering ความสามารถในการมีส่วนร่วม
  • Political Savvy ความรอบรู้ด้านการเมือง
  • Written Communication ความสามารถในการสื่อสารด้วยการเขียน
 V.  แนวทางการพัฒนาตนเองสู่ภาวะผู้นำที่เป็นเลิศJeffrey A. Krames. JACK WELCH AND THE 4E’s OF LEADERSHIP; How to Put GE’s Leadership Formula to Work in Your Organization: 2005: 5.
  1. ENERGY Drive/ Embraces/ Change
  2. ENERGIZE Vision / Sparks / Others
  3. EDGE Strong Competitor/ Makes Difficult Decisions
  4. EXECUTION Delivers Results/Consistent / Performer
  พัฒนาตนเองสู่ภาวะผู้นำ
  1. คล่องคิด (Mental Agility) ล่วงรู้ปัญหา รู้แจ้ง เผชิญความยุ่งยากได้หลากหลาย อย่างเป็นสุข มีแง่คิด มีปัญญา
  2. คล่องคน (People Agility) รู้เขา รู้เรา เรียนรู้จากประสบการณ์ผู้อื่น สร้างโอกาส เย็นสงบ สุขุม สง่างามภายใต้แรงกดดันได้
  3. คล่องผล (Result Agility) ทำให้ผู้คนมีพลังทำงานได้สำเร็จ ให้ผลงานได้เกินคาด สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้อื่น ส่งมอบผลงานที่ยากได้
  4. คล่องเปลี่ยน (Change Agility) ใฝ่รู้ สู้ยิ่งยาก ไม่ย่นระย่อ ชอบทดลอง ปรับเปลี่ยน สนใจที่จะพัฒนาตน สร้างนวตกรรม
   เซอร์วิลสตัน เซอร์ซิล รัฐบุรุษอังกฤษ (Dr. Boonton Dockthaisong)
  1. รักมั่น
  2. กตัญญู
  3. รู้คุณ
  4. ทำบุญสุนทาน
  5. อภิบาลอารมณ์
  6. ไม่กล่าวร้าย ไม่กล่าวหา ไม่เป็นกลุ่มฮายิน่า
  7. อดทน ฟันฝ่า เดินหน้า สร้างอนาคต
   ฝึกตนเองให้มีภาวะผู้นำ จากหลักการทรงงาน ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 
  • ระเบิดจากข้างใน
  • ปลูกจิตสำนึก
  • เน้นให้พึ่งตนเองได้
  • คำนึงถึงภูมิสังคม
  • ทำตามลำดับขั้น
  • ประหยัด เรียบง่าย
    ประโยชน์สูงสุด
  • บริการที่จุดเดียว
  • แก้ปัญหาจากจุดเล็ก
  • ไม่ติดตำรา
  • ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ
  • การมีส่วนร่วม
  • รู้ รัก สามัคคี
  • มุ่งประโยชน์คนส่วนใหญ่
   

ฝึกตนเองให้มีภาวะผู้นำ จากจริยธรรมของผู้นำในแนวคิดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

 
  1. การบริหารจะต้องเป็นการบริหารเพื่อความมั่นคงของชาติ เพื่อความเจริญของประเทศ และเพื่อความผาสุกของประชาชน การบริหารจะต้องไม่เอาประโยชน์ส่วนตัว ประโยชน์ของญาติพี่น้อง ประโยชน์ของบริวารเข้ามาเกี่ยวข้อง
  2. จะต้องบริหารด้วยความสามัคคี เพราะจะนำไปสู่ความร่วมมือและความเข้มแข็ง ทำให้งานบรรลุผลสำเร็จ
  3. จะต้องบริหารด้วยความซื่อสัตย์สุจริต พระองค์ทรงรับสั่งว่าจะต้องซื่อสัตย์สุจริตทั้งในความคิด การพูด และการกระทำ ผมขอให้ความเห็นส่วนตัว เป็นการขยายความ ผู้บริหารนอกจากจะซื่อสัตย์สุจริตแล้ว ต้องดูแลคนรอบข้างตัวเราให้ซื่อสัตย์สุจริตด้วย ยิ่งไปกว่านั้นผู้บริหารจำต้องเพิ่มเติมคำว่า เสียสละและจงรักภักดีเข้าไปด้วย
  4. จะต้องเป็นการบริหารที่ถูกต้อง คือถูกต้องตามกฎหมาย ตามกฎเกณฑ์ เที่ยงธรรม เที่ยงตรง มีประสิทธิภาพ และให้ประสิทธิผลสูง ความเห็นส่วนตัวของผม เห็นว่าผู้บริหารจะต้องมีมาตรฐานเดียวเสมอหน้ากัน ทั่วถึงกัน ต้องไม่มีหลายมาตรฐาน หรือ ไม่มีมาตรฐานเลย หรือใช้มาตรฐานตามอารมณ์ มาตรฐานตามกิเลส
  5. จะต้องเป็นการบริหารงานที่เป็นเอกภาพ คือการประสานงาน ประสานประโยชน์ ระหว่างหน่วยงาน พระราชดำรินี้ชัดเจนและเข้าใจง่าย แต่โดยข้อเท็จจริง หน่วยงานภาครัฐค่อนข้างละเลยจนเป็นอุปสรรคที่ไม่มีในตำรา บางทีก็กลายเป็นการแข่งขัน หรือกลายเป็นการแก่งแย่งกันเองระหว่างหน่วยงานต่างๆ
  6. ต้องบริหารด้วยความเฉียบอย่างต่อเนื่องอย่าง เช่น พระมหาชนก ผู้บริหารจะต้องไม่กลัวลำบาก กลัวเหนื
ยม (ต่อเนื่องจาก สรุปสาระ ประเด็น(โดยย่อ) ที่มีการเรียนการสอน ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด MBA เมื่อ อ. 25 ก.พ. 2550 @ 12:33 (174713)

(สรุปการเรียนการสอน ต่อจาก Blogที่แล้ว)

ฝึกตนเองให้มีภาวะผู้นำ จากจริยธรรมของผู้นำในแนวคิดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
  1. การบริหารจะต้องเป็นการบริหารเพื่อความมั่นคงของชาติ เพื่อความเจริญของประเทศ และเพื่อความผาสุกของประชาชน การบริหารจะต้องไม่เอาประโยชน์ส่วนตัว ประโยชน์ของญาติพี่น้อง ประโยชน์ของบริวารเข้ามาเกี่ยวข้อง
  2. จะต้องบริหารด้วยความสามัคคี เพราะจะนำไปสู่ความร่วมมือและความเข้มแข็ง ทำให้งานบรรลุผลสำเร็จ
  3. จะต้องบริหารด้วยความซื่อสัตย์สุจริต พระองค์ทรงรับสั่งว่าจะต้องซื่อสัตย์สุจริตทั้งในความคิด การพูด และการกระทำ ผมขอให้ความเห็นส่วนตัว เป็นการขยายความ ผู้บริหารนอกจากจะซื่อสัตย์สุจริตแล้ว ต้องดูแลคนรอบข้างตัวเราให้ซื่อสัตย์สุจริตด้วย ยิ่งไปกว่านั้นผู้บริหารจำต้องเพิ่มเติมคำว่า เสียสละและจงรักภักดีเข้าไปด้วย
  4. จะต้องเป็นการบริหารที่ถูกต้อง คือถูกต้องตามกฎหมาย ตามกฎเกณฑ์ เที่ยงธรรม เที่ยงตรง มีประสิทธิภาพ และให้ประสิทธิผลสูง ความเห็นส่วนตัวของผม เห็นว่าผู้บริหารจะต้องมีมาตรฐานเดียวเสมอหน้ากัน ทั่วถึงกัน ต้องไม่มีหลายมาตรฐาน หรือ ไม่มีมาตรฐานเลย หรือใช้มาตรฐานตามอารมณ์ มาตรฐานตามกิเลส
  5. จะต้องเป็นการบริหารงานที่เป็นเอกภาพ คือการประสานงาน ประสานประโยชน์ ระหว่างหน่วยงาน พระราชดำรินี้ชัดเจนและเข้าใจง่าย แต่โดยข้อเท็จจริง หน่วยงานภาครัฐค่อนข้างละเลยจนเป็นอุปสรรคที่ไม่มีในตำรา บางทีก็กลายเป็นการแข่งขัน หรือกลายเป็นการแก่งแย่งกันเองระหว่างหน่วยงานต่างๆ
  6.  
  7. ต้องบริหารด้วยความเฉียบอย่างต่อเนื่องอย่าง เช่น พระมหาชนก ผู้บริหารจะต้องไม่กลัวลำบาก กลัวเหนื่อย ดำรงความมุ่งหมายอย่างกล้าหาญ กล้าเผชิญอุปสรรค และ อดทนต่อความยากลำบาก
  8. ผู้บริหารต้องไม่หวาดกลัวต่ออิทธิพลใดๆ และต้องอยู่กันคนละฝ่ายกับความไม่ถูกต้อง
  9. ผู้บริหารจะต้องศึกษาหาความรู้อย่างจริงจัง อย่างลึกซึ้ง อย่างกว้างขวาง ทั้งทางลึกและทางกว้าง
  10. ผู้บริหารจะต้องมีความสำนึกในความรับผิดชอบ และเห็นความสำคัญของงาน ความรับผิดชอบหมายรวมถึงความตั้งใจที่จะปฏิบัติหน้าที่ให้บรรลุตามกฎที่กำหนด พระเจ้าอยู่หัวรับสั่งว่า การเห็นความสำคัญของงาน ความสำนึกในความรับผิดชอบ และความตั้งใจในการปฏิบัติหน้าที่ ต้องทำพร้อมและควบคู่กันไป
  11. ผู้บริหารจะต้องรู้จักทรัพยากรอย่างประหยัดและฉลาด มีความถูกต้องเหมาะสม การที่พระเจ้าอยู่หัวพระราชทานทฤษฎีใหม่ที่ได้ยินจนชินหูว่า เศรษฐกิจพอเพียงเป็นการชี้แนวทางในการดำรงชีวิตใหม่ให้พวกเราพออยู่พอกิน ทำให้เกิดการสมดุลการดำรงชีพอย่างประหยัดและฉลาด
  12. ผู้บริหารจะต้องมีสติมีปัญหา สามารถพิจารณาปัญหาได้กว้างไกลรอบคอบทุกแง่มุม ส่วนตัวเห็นว่าผู้บริหารจะต้องมีวิสัยทัศน์ ทัน สมัย ทันเหตุการณ์ทั่วโลก โดยเฉพาะในสาขาอาชีพของตน
  13. ผู้บริหารต้องแน่วแน่ที่จะแก้ไขในสิ่งผิด ทุกคนคงได้ยิน ผมเชิญมาจากเพลงพระราชนิพนธ์ เห็นว่าผู้บริหารจะต้องกล้าที่จะรับผิดชอบในสิ่งที่ผิด และมีความแน่วแน่ที่จะแก้ไข การบริหารย่อมผิดพลาดได้ แม้จะรอบคอบ ระมัดระวังแล้ว ดังนั้น การแก้ไขสิ่งที่ผิดจึงไม่ใช่เรื่องน่าละอาย การทำชั่ว ประพฤติชั่วต่างหากที่น่าละอาย
  14. ผู้บริหารจะต้องบริหารแบบปิดทองหลังองค์พระปฏิมา ข้อนี้มาจากเพลงพระราชนิพนธ์เช่นเดียวกัน ผมเดาว่าทรงหมายถึงการไม่โอ้อวดมุ่งแต่ผลงาน ไม่หวังคำชมเชย ภูมิใจแต่ความสำเร็จ
  15. ผู้บริหารทุกระดับที่มีผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้บริหารต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา
 ฝึกตนเองให้มีภาวะผู้นำ จากแนวคิดหลักเศรษฐกิจพอเพียง กับภาวะผู้นำ
  1. รอบรู้ ใฝ่รู้
  2. คู่คุณธรรม
  3. มีเหตุ มีผล
  4. รู้ตน พอประมาณ
  5. มองการณ์ไกล ใส่ใจภูมิคุ้มกัน
 

(แนะนำให้นักศึกษาอ่านเพิ่มเติมใน Blog ตอนท้ายนี้ เพราะไม่ได้ใส่ไว้ใน Sheet)

 

เศรษฐกิจพอเพียง

3 หลักการ2 เงื่อนไข
สมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้นำวิเคราะห์จากกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ความพอประมาณModerationความพอดี พอประมาณ ที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ *      พอมีพอกิน รู้จักตน รู้จักประมาณ*      ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่หรูหรา*      มีพอที่จะใช้ ไม่ต้องไปขอยืมคน*      อยู่ได้ด้วยตนเอง*      พอในความต้องการ*      ด้วยความพอเหมาะพอดี*      ถูกต้อง พอเหมาะพอดี*      ไม่ทำเกินฐานะและกำลัง*      ค่อยเป็นค่อยไป ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวังและความพอเหมาะพอดี*      ทำการทุกอย่าง ด้วยความมีสติ  
ความมีเหตุมีผลReasonablenessการตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ *      ความคิดพิจารณาด้วยตนเอง*      ตรงเป้าหมาย ตรงความจริง*      คิด พูด ทำ ถูกต้องตามหลักเหตุผล*      ถูกต้อง และเหมาะสม*      ทำการทุกอย่างด้วยเหตุผล *      ทำด้วยความมีสติ และด้วยความรู้ตัว *      รู้จักสังเกตศึกษา เพื่อให้สามารถทำงานได้เสร็จสมบูรณ์ทุกสิ่ง
ความมีภูมิคุ้มกัน Self-Immureการเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล *      มีทางที่จะแก้ปัญหาได้เสมอ*      ผลสำเร็จที่จะเกิดจากงาน เป็นใหญ่ยิ่งกว่าสิ่งอื่น*      ไม่ประมาทปัญญา*      ค่อยเป็นค่อยไป ด้วยความรอบคอบ*      เมื่อมีพื้นฐานแน่นหนารองรับพร้อมแล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญก้าวหน้าในระดับที่สูงขึ้น ตามต่อกันไปเป็นลำดับ.*      ควบคุมกายใจและความคิด 
เงื่อนไข ความรู้ Knowledge ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ  *      มีความรู้ ศึกษาให้รู้ ให้ทราบ*      เข้าถึงแก่นแท้ของเรื่องนั้นปัญหา*      เข้าใจปัญหาต่าง ๆ อย่างชัดเจนถูกถ้วน*      มีความรู้*      ความรู้ และความดีของตัว ให้ใส่ลงไปในงาน*      ชำนาญทั้งทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ*      ทำการทุกอย่างด้วยความรู้ตัว*      เห็นจุดหมาย เห็นสาระ และประโยชน์ที่แท้ของงานนั้นอย่างแจ่มแจ้ง*      นำวิชาการด้านของตนประสานเข้ากับวิชาการด้านอื่น ๆ ได้โดยสอดคล้อง ถูกต้อง และเหมาะสม . . . 
เงื่อนไข คุณธรรมEthic Virtueความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต *      มีคุณธรรม*      มีการช่วยกัน ร่วมมือร่วมใจกัน*      แก้ปัญหาต่าง ๆ ร่วมกับผู้อื่นฝ่ายอื่นอยู่เป็นปรกติ*      ความสุจริตใจและจริงใจ*      เมตตาอารีและความไม่มีอคติ*      ไม่เสเพล และไม่ปล่อยตนให้เป็นทาษแห่งอบายมุขต่าง ๆ*      ยึดมั่นในจรรยาบรรณในวิชาชีพของตน*      วางตนได้สม่ำเสมออย่างเหมาะสม.*      เป็นกลาง*      วิชาการกับหลักธรรมนี้มีประกอบกันพร้อม *      รู้จักสัมมาคารวะ ไม่แข็งกระด้าง มีความอ่อนโยน แต่ไม่อ่อนแอ
 ใน Blog ถัดไป ผมจะเขียนถึงกิจกรรมกลุ่ม ว่ามีกิจกรรมอะไรบ้าง I.    กิจกรรมกลุ่ม ให้นักศึกษาเข้ากลุ่มละประมาณ 6 คน มีกิจกรรมดังนี้กิจกรรมที่ 1 ให้แต่ละท่านส่งรายงานว่า ในการเรียนวิชานี้ได้เรียนรู้อะไร (ทั้งจากการเรียนในชั้นและการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากเอกสารการสอน และจากหนังสือ หรือ Internet) กิจกรรมที่ 2ให้กลุ่มเลือกผู้นำที่ตนเองชื่นชอบ ที่ได้รับการเห็นชอบจากกลุ่มแล้วทำการวิเคราะห์ว่า เขามีภาวะผู้นำอะไรบ้างให้กลุ่มระดมสมองกันว่า นายกรัฐมนตรีคนต่อไปของไทย ควรมีภาวะผู้นำอย่างไรบ้าง กิจกรรมที่ 3ให้กลุ่มเสนอประเด็นปัญหาด้าน ทรัพยากรมนุษย์ที่ตนเองพบแล้วเสวนากันในกลุ่ม เลือกประเด็นปัญหาด้านทรัพยากรมนุษย์มาหนึ่งปัญหา โดยเลือกของใครคนใดคนหนึ่งซึ่งได้รับความเห็นชอบจากกลุ่ม  ให้ระดมสมองกันเสนอแนวทางแก้ไข และป้องกันปัญหา  แล้ว ส่งตัวแทนออกมาอภิปรายในชั้นเรียนใน Blog ถัดไป ผมจะเขียนถึงกิจกรรมกลุ่ม ว่าตัวแทนแต่ละกลุ่มได้มีกล่าวถึงกิจกรรมได้ที่รับมอบหมายไปอย่างไรบ้าง 

ที่กล่าวมาข้างต้น เป็นสิ่งที่ผมและนักศึกษาได้มีกิจกรรมร่วมกันในชั้นเรียน

ขอขอบใจเจ้าหน้าที่ ทาง ม.นานาชาติสแตมฟอร์ด คุณเจน คุณ Nitinan ขอบใจเจ้าหน้าที่ดูแลด้านคอมพิวเตอร์ และอีกหลายคนที่ให้การต้อนรับ เป็นอย่างดี  ขอบใจอาจารย์โลตัส ที่ติดตามไปร่วมสังเกตการณ์  และช่วยอำนวยความสะดวกหลายประการ ขอบใจคุณเอ วราพร ที่คอยอำนวยการ ติดต่อประสานงานให้เรียบร้อยดี

ขอบใจนักศึกษาที่บางท่านมีน้ำใจ นำขนมท้องถิ่นมาให้

ขอให้ท่านผู้อ่านทุกท่านโชคดี 

สวัสดีครับ

ยม

  

น.ศ.ปริญญาเอก

  

รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต

  

081-9370144

 

[email protected] 

 

นายชูศักดิ์ ลาภส่งผล
สวัสดีท่านอาจารย์ ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ และนักศึกษาปริญญาโททุกท่านจากการที่ได้เรียนในวิชา ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลงในองค์กรก็ทำให้ทราบเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงมากมายในยุคปัจจุบันว่ามีผลต่อผู้นำและภาวะผู้นำซึ่งมีผลต่อการบริหารองค์กรให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างไร ซึ่งเป็นการยากที่จะสรรหาผู้นำที่ดีที่มีคุณลักษณะเหมาะสมเข้ามาสร้างความแข็งแกร่งให้กับองค์กรได้ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร เช่น การเมือง เศรษฐกิจ เทคโนโลยีต่าง ๆ ด้านสังคมเป็นต้น เพราะทุกอย่างในโลกนี้ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาและในความหมายของผู้นำก็คือคนที่จะเข้ามาทำหน้าที่บริหารจัดการด้านต่าง ๆ ในองค์กร ไม่่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อมภายนอกและภายใน ส่วนภาวะผู้นำก็คือ พฤติกรรมที่แสดงถึงความสามารถที่มีความเป็นผู้นำนั่นเอง และผู้นำก็จะต้องมี 1.    วิสัยทัศน์2.    พันธกิจ3.    เป้าหมาย4.    วัตถุประสงค์5.    แผนกลยุทธ์ที่วางไว้6.    และนำแผนที่ได้นั้นไปปฏิบัติและนำมาตรวจสอบเพื่อดูเปรียบเทียบกับแผนที่วางไว้กับที่เกิดขึ้นจริงนั้นเป็นอย่างไร และทำการปรับปรุงแำก้ไขในส่วนทีบกพร่องที่เกิดขึ้นพร้อมกับพัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อย ๆและลักษณะของคนที่มีภาวะผู้นำจะต้องใช้เครื่องมือในการสร้างและรักษาอำนาจได้ด้วยคือ1.    อำนาจจะเกิดได้ต้องรู้จักการให้ ให้โอกาส ให้ความรู้ ความใกล้ชิด ให้อภัย ให้เงินทอง2.    อำนาจสร้างได้โดยการติ คือเมื่อลกน้องทำไม่ดีแล้วต้องติ หรือทำผิดต้องติ3.    อำนาจที่แสดงตนว่าเป็นผู้รูู้้มากกว่าลูกน้อง ต้องหมั่นเป็นคนที่ใฝ่เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา4.    อำนาจสร้างไ้ด้ด้วยการอ้างอิง เช่น ถ้าเราไปดูงานความเรียบร้อยในบริษัทพร้อมกับหัวหน้าแต่เห็นว่าบริษัทไม่ได้ทำเรื่อง 5 ส.เลย มีความสกปรกในบริษัท ไม่เรียบร้อย ไม่เป็นระเบียบ เมื่อหัวหน้าไปแล้วเราก็บอกให้มีการจัดทำเกี่ยวกับ 5 ส.นี้เพื่อส่งผลดีให้กับบริษัทเราเมื่อมีใครเข้ามาดูในบริษัทเราโดยอ้างชื่อหัวหน้าว่าเป็นคนสั่งมาอีกทีหนึ่ง5.    อำนาจทางนิติกรรมที่ทำตนเป็นอยู่แล้วในตำแหน่งหน้าที่ปัจจุบัน   (ทฤษฎี 8 K’s ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์)สามารถนำเสนอความคิดใหม่1.    ทุนความรู้                 2.    ทุนปัญญา                3.    ทุนทางสังคม               4.    ทุนทาง IT สามารถสร้างความสุขให้กับตนเองได้  5.    ทุนความเป็นมนุษย์               6.    ทุนทางความสุข  สามารถสร้างความสุขให้กับผู้อื่นได้  7.    ทุนจริยธรรม คุณธรรม               8.    ทุนแห่งความยั่งยืน ทฤษฎีภาวะการเป็นผู้นำมีอยู่ 3 ทฤษฎี คือ1.    ทฤษฎีเกี่ยวกับลักษณะ คือเป็นผู้นำีที่ดีและจะเกิดประสิทธิภาพในองค์กร เช่นมีความซื่อสัตย์ ยุติธรรม มีความรับผิดชอบ รอบคอบ มีทักษะในการติดต่อสืื่่่่อสาร และมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่ดี2.    ทฤษฎีทางด้านพฤติกรรม มีเป้าหมายที่ชัดเจนในการทำงาน3.    ทฤษฎีทางด้านสถานการณ์  สภาวะหลัก 5 ด้าน นำสู่ภาวะผู้นำ1. LEADING CHANGE ศักยภาพในการเปลี่ยนแปลง ·         Continual Learning การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง·         Creativity and Innovation มีความคิดสร้างสรรค์และใช้นวัตกรรม ·         External Awareness ตระหนักถึงผลกระทบจากภายนอก ·         Flexibility ความยืดหยุ่น ·         Resilience ปรับเปลี่ยนได้ ·         Service Motivation จูงใจใฝ่บริหาร ·         Strategic Thinking การคิดเชิงกลยุทธ์ ·         Vision การมีวิสัยทัศน์ มองการณ์ไกลได้ดี   2.   LEADING PEOPLE DRIVING ศักยภาพในการเป็นผู้นำ   ·         Conflict Management การบริหารความขัดแย้ง ·         Leveraging Diversity ตระหนักในคุณค่าทางวัฒนธรรม ·         Integrity/Honesty ความจงรักภักดี / ความซื่อสัตย์ ·         Team Building สร้างทีมงาน   3.   RESULTS DRIVING การมุ่งผลสัมฤทธิ์   ·         Accountability . ความรับผิดชอบ ·         Customer Service การให้บริการลูกค้า ·         Decisiveness การตัดสินใจ ·         Entrepreneurship ความเป็นผู้ประกอบการ ·         Problem Solving การแก้ไขปัญหา ·         Technical Credibility มีเทคนิคที่เชื่อถือได้  4.   BUSINESS ACUMENT ความเฉียบคมทางการบริหาร ·         Financial Management การบริหารจัดการด้านการเงิน·         Human Resources Management การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์·         Technology Management การบริหารจัดการด้านเทคโนโลยี·         Customer Management การบริหารลูกค้า 5.    BUILDING COLITIONS  การสร้างความเข้าใจ ·         Influencing/Negotiating การเจรจาต่อรอง·         Interpersonal Skills ทักษะด้านคน การโน้มน้าว·         Oral Communication ความสามารถในการสื่อสารด้วยวาจา·         Partnering ความสามารถในการมีส่วนร่วม ·         Political Savvy ความรอบรู้ด้านการเมือง·         Written Communication ความสามารถในการสื่อสารด้วยการเขียนBest Leaders
  1. Honesty
  2. Responsiveness
  3. Vigilance = Continued Success
  4. Livingness to learn and relearn 
  5.  Sense of adventure
  6. Vision
  7. Altruism
  คุณค่าของผู้นำ/ผู้บริหาร
  1. การมุ่งประโยชน์ส่วนรวม ประโยชน์แผ่นดิน (Social/National Interest)
  2.  ปกครองด้วยหลักธรรมาธิปไตย/ธรรมาภิบาล (Meritocracy/Good Governance)
  3. มีความสามารถ (Competence)
  4.  มีความสำนึกรับผิดชอบ (Accountability)
  5.  มีความเป็นกลาง (Neutrality) 
  6.  การมุ่งสัมฤทธิ์ผล (Result Orientation) 
  7.  ความเป็นมืออาชีพ (Professionalism)
  ลักษณะของผู้นำที่ไม่ดี
  1. มุ่งแสวงหาประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง
  2. ทำตนเข้าสู่กับดักแห่งอำนาจ ยึดมั่นถือมั่น มีอัตตาสูง
  3. ขาดความรับผิดชอบ
  4. การไม่สามารถมอบหมายให้ผู้อื่นทำการตัดสินใจแทนตนได้
  5. ไม่คิด ไม่สร้างตัวตายตัวแทน
  6.  แต่งตั้งคนไม่ได้เรื่องมาดำรงตำแหน่งสำคัญ แสดงความไม่เต็มใจที่จะแบ่งบันข้อมูลอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง
  7.  ขาดความรู้ ขาดความเป็นธรรม
  8. ขาดความสมดุล ขาดเหตุผล ขาดการพอประมาณ
  9.   ดื้อรั้น ทิฐิ หลงตัวเอง ไม่เชื่อ ไม่ฟังใคร ฯลฯ
 ฝึกตนเองให้มีภาวะผู้นำ จากหลักการทรงงาน ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 
  • ระเบิดจากข้างใน
  • ปลูกจิตสำนึก
  • เน้นให้พึ่งตนเองได้
  • คำนึงถึงภูมิสังคม
  • ทำตามลำดับขั้น
  • ประหยัด เรียบง่าย
    ประโยชน์สูงสุด
  • บริการที่จุดเดียว
  • แก้ปัญหาจากจุดเล็ก
  • ไม่ติดตำรา
  • ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ
  • การมีส่วนร่วม
  • รู้ รัก สามัคคี
  • มุ่งประโยชน์คนส่วนใหญ่
การที่จะเป็นผู้นำที่ดีจะต้องเป็นคนที่ใฝ่เรียนรู้อยู่ตลอดเวลาเพราะความรู้นั้นเรียนรู้ไม่มีวันจบสิ้นตราบที่เรายังมีชีวิต อีกทั่งโลกก็การเปลีี่ียนแปลงอยู่ตลอดเวลาต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของการแข่งขันได้ เพื่อนำพาองค์ให้ไปสู่ความเป็นเลิศทางธุรกิจได้ ซึ่งผู้นำที่ดีก็จะต้องมีลูกน้องที่ดีร่วมกันทำงานเป็นทีม มีเป้าหมายร่วมกันไปในทิศทางเดียวกันอย่างชัดเจนและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ขององค์กรทีมีอยู่ด้วย และควรเน้นด้าน CEO คือ        Customer  ลูกค้าต้องได้รับความพึงพอใจ        Employee  พนักงานต้องทำงานอย่างมีความสุขในองค์กร

        Organization องค์กรต้องมีผลการดำเนินงานที่ดีมีกำไร หรือจะต้องไม่   เจ๊งนั่นเอง

ต้องคิดนอกกรอบกล้าคิดกล้าทำ กล้าตัดสินใจ มี Positive Thinking มีความสามารถในการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์เป็น เพราะว่าภาวะผู้นำไม่มีสูตรสำเร็จเฉพาะ

 และที่สำคัญต้องรู้จักการบริหารเวลาให้เป็น เป็นคนที่ตรงต่อเวลาในเรื่องของการทำงานภายในและภายนอกขององค์กร สามารถวัดผลได้ เพื่อให้องค์กรมีประสิทธิภาพและประสบผลสำเร็จ มากยิ่งขึ้น นายชูศักดิ์  ลาภส่งผลน.ศ.ปริญญาโท MBA 6 ม.นานาชาติแสตมฟอร์ด           
การบ้าน  สัปดาห์ที่ 1 วิชา ภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงหัวข้อ วันนี้คุณเรียนแล้วได้อะไรบ้าง              สวัสดีครับท่านศาสตราจารย์ ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ผมดีใจที่ได้มีโอกาสได้เรียนกับท่าน แม้ว่าท่านจะยังไม่ได้สอนก็ตามแต่ดูจากความเป็นห่วงเป็นใยของอาจารย์ที่มีกับศิษย์แล้วทำให้ผมปลื้มมากเนื่องจากขณะที่ท่านอาจารย์ยมสอนอยู่นั้นอาจารย์ใหญ่(ผมเรียกตามอ.ยมน๊ะครับ)ก็โทรเข้ามาหาอ.ยมแล้วอาจารย์ใหญ่ก็ทักทายลูกศิษย์ทำให้ผมมีความคิดไปถึงการศึกษาของไทยถ้าครูบาอาจารย์ในประเทศไทยเอาใจใส่กับศิษย์แล้วตั้งใจถ่ายทอดวิชาความรู้ที่มีในตำราและนอกตำราให้กับศิษย์ผมว่าการศึกษาของไทยคงจะดีขึ้นกว่านี้แน่นอน ในวิชาภาวะผู้นำผมถือว่าครูบาอาจารย์ก็เป็นผู้นำอีกด้านหนึ่งคือท่านต้องนำความรู้ ความมีพลัง ความมีแรงจูงใจ การใช้ชีวิตในสังคม การทำมาหากิน และที่สำคัญนำเรื่องการมีคุณธรรมและจริยธรรมมาถ่ายทอดให้ศิษย์              สิ่งที่ได้ในการเรียนในวันนี้คือการเป็นผู้นำต้อง  รู้เรื่องคน  ใส่ใจ  สนใจ  เอาใจใส่  และสิ่งที่อ.ยมสอนวันนี้อีกคำพูดหนึ่งที่ชอบคือผู้นำจะต้องมีความรู้ที่ใหม่และสดอยู่เสมอและต้องกล้าคิดนอกกรอบ กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ และกล้ารับผิดชอบสุดท้ายนี้ผมขอให้อาจารย์ใหญ่มีสุขภาพแข็งแรง จะได้อยู่เป็นองค์ความรู้ให้กับสังคมไทยได้อีกนานเท่านานสวัสดีครับ                                                          ด้วยความเคารพ                                                นายบุญยอด  มาคล้าย                                         [email protected]
จำเนียร อำภารักษ์ MBA ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด หัวหิน
 จาก จำเนียร อำภารักษ์ เมื่อ จ. 26 ก.พ. 2550 @ 18:42 (175946) MBA สแตมฟอร์ด ที่หัวหิน

เรียน  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์              

ในวันที่  23 และ 24  ก.พ. 2550 เรียนเรื่องภาวะผู้นำ ซึ่งประกอบไปด้วยภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติร่วมกันยกตัวอย่าง โดยใช้ความรู้ใหม่ และจากประสบการณ์เดิม ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้  

คำถาม   เรียนเรื่องภาวะผู้นำได้ความรู้อะไรบ้าง จงอธิบาย              

ถ้าเปรียบดังเช่นสงครามนั้น สิ่งทีเป็นของล้ำค่าของกองทัพ คือ แม่ทัพ ดังเช่น ซุนวูได้ยกให้เป็น 1 ของการทำสงคราม เพราะแม่ทัพหรือผู้นำเป็นจุดชี้เป็นชี้ตายของสงคราม เช่นเดียวกับการดำเนินงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ที่มีผู้นำที่ดี และมีความเป็นเลิศในภาวะผู้นำ ย่อมได้รับการยอมรับ ทำให้องค์กรมีความมั่นคงและประสบความสำเร็จ             

ผู้นำ (Leader) คือบุคคลที่มีอิทธิพลต่อกลุ่ม และสามารถนำกลุ่มปฏิบัติงานต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร

อ.ยม ยกตัวอย่างผู้นำที่ประสบความสำเร็จ เช่น บิลล์ เกตส์ เจ้าพ่อวงการซอฟต์แวร์ของโลกที่ผันการใช้คอมพิวเตอร์ที่ยุ่งยากพัฒนาสู่ระบบการจัดการเพื่อง่ายต่อการใช้งาน

จากการเป็นผู้นำการใช้เทคโนโลยีแล้วยังเป็นคู่แข่งทุกอุตสาหกรรมในการพัฒนาสื่อ Internet และมัลติมิเดีย              

ความหมายของภาวะผู้นำ              Dubrin ให้ความหมายของภาวะผู้นำว่าเป็นความสามารถที่จะสร้างความเชื่อมั่นและให้การสนับสนุนผลักดันบุคคลเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร

สรุปสั้น ๆ ภาวะผู้นำเป็นพฤติกรรมที่แสดงออกถึงการเป็นผู้นำ

ลักษณะของผู้นำที่ดีโดยทั่ว ๆ ไป

  1. มีวิสัยทัศน์ก้าวไกล
  2. มีความซื่อสัตย์
  3. มีความรับผิดชอบ
  4. มีบุคลิกภาพดี
  5. มีความสามารถริเริ่มสิ่งใหม่ ๆอยู่เสมอ
  6. ตรงต่อเวลา
  7.  สุขุม รอบคอบ ใจเย็น มีกลยุทธ์ยอดเยี่ยม ซึ่งเรียกว่า คมในฝัก
  8. มีการกระจายอำนาจอย่างทั่วถึง ให้รางวัลขวัญและกำลังใจ แก่ผู้ทำผลงานดี (ซึ่งอยู่ในการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์)
  9. มีความรู้เรื่องที่ทำงานอย่างชัดเจน ไม่ใช่รู้แต่ทฤษฎีแต่ต้องปฏิบัติได้
  10. ต้องมีพรหมวิหาร 4 (เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา)

ผู้นำที่ฉลาดควรมี 3 ลักษณะอยู่ในตน1.       สามารถนำเสนอความคิดใหม่ ๆ

  • ทุนความรู้ เช่น ใฝ่รู้ หาความรู้อยู่เสมอ
  • ทุนปัญญา เช่น มีสติ-       
  • ทุนทางสังคม  เช่น มีมนุษยสัมพันธ์ คิดดี มี Positive Thinking เป็นบวก-       
  • ทุนทาง IT  เช่น ความรู้ทันเทคโนโลยี 

2.       สามารถสร้างความสุขให้กับตนเองได้

  • ทุนความเป็นมนุษย์ ได้รับการอบรมสั่งสอน มีจริยธรรมมีคุณธรรม
  • ทุนทางความสุข  ซึ่งเผื่อแผ่คนอื่นได้ 

3.       สามารถสร้างความสุขให้กับผู้อื่นได้

  • ทุนจริยธรรม คุณธรรม เช่น พลเอกเปรม  ดิณสูลานนท์
  • ทุนแห่งความยั่งยืน ทำงานไม่เครียด มีเครือข่ายดี

ภาวะผู้นำกับการสร้างอำนาจ

  1. อำนาจจากการให้
  2. สร้างอำนาจโดยการตีเบา ๆ ชมดัง ๆ
  3.  ต้องแสดงเป็นผู้รู้มากกว่าลูกน้อง
  4.  สร้างโดยการอ้างอิง
  5. อำนาจทางนิติกรรม จากตำแหน่งระหว่างคำว่า เจ้านายกับ ผู้นำ ผู้นำมีความยั่งยืนกว่า

 

คุณค่าของผู้นำ

  1. มุ่งประโยชน์ส่วนร่วม
  2.  ปกครองด้วยหลักธรรมาธิปไตย / ธรรมาภิบาล
  3. มีความสามารถ
  4. มีความสำนึกรับผิดชอบ
  5. มีความเป็นกลาง
  6. การมุ่งผลสำเร็จ
  7.  ความเป็นมืออาชีพ

 

อุปสรรคที่ทำลายล้างผู้นำ

  1. มุ่งแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว
  2. ยึดมั่นถือมั่น มีอัตตาสูง
  3. ห้อมล้อมด้วยขุนพลอยพยัก
  4.   ขาดความรับผิดชอบ
  5. ไม่สามารถมอบหมายให้ผู้อื่นตัดสินใจแทนได้
  6.  ไม่คิด ไม่สร้างคนแทน
  7.   ข้อมูลในการแต่งตั้ง บุคลากรไม่ชัดเจน
  8.  ขาดความรู้
  9.   ดื้อรัน ทิฐิ หลงตัวเอง ซึ่ง อ.ยม เน้นว่า ข้อ 9 นี้อันตรายมาก

 

ทฤษฎีภาวะการเป็นผู้นำ

  1.  เกี่ยวกับลักษณะ
  2. ทางด้านพฤติกรร 
  3. ทางด้านสถานการณ์

 

สมรรถนะหลัก 5 ด้าน นำสู่ภาวะผู้นำ

  1. ศักยภาพในการเปลี่ยนแปลง
  2. ศักยภาพในการเป็นผู้นำ
  3. การมุ่งผลสัมฤทธิ์
  4. ความเฉียบคมทางการบริหาร 
  5. การสร้างความเข้าใจ

 

อ.ยม พูดถึงประเทศญี่ปุ่นใช้ PDCA ในเรื่องภาวะผู้นำ      

  • P     มาจาก     Planning      
  • D     มาจาก     Do      
  • C     มาจาก     Check      
  • A     มาจาก     Action

 

สมรรถนะหลักของผู้นำ (ภาครัฐ) มี 4 กลุ่ม

  1. การบริหารคน
  2. ความรอบรู้ทางการบริหาร
  3. การบริหารอย่างมืออาชีพ
  4. มุ่งผลสัมฤทธิ์แต่ อ.ยม เพิ่มให้อีก 1 กลุ่มคือ ........
  5.  ความรอบรู้ ทางด้านความรู้ใหม่ ๆ (ความรู้สด) 

 

ทฤษฎี  8  K’s  ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อ. ยม แนะนำว่า ผู้นำสมัยใหม่ ต้องมีทุน และทุนที่มีต้องมากพอที่จะนำไปพัฒนาทีมงาน พัฒนาองค์กร ทุนดังกล่าว มี  8 อย่างดังนี้

  1. ทุนแห่งความยั่งยืน      
  2. ทุนทางสังคม      
  3. ทุนทางจริยธรรม      
  4. ทุนแห่งความสุข      
  5. ทุนทาง IT      
  6. ทุนทางปัญญา      
  7. ทุนทางความรู้ ทักษะ Mind set      
  8. ทุนมนุษย์

นอกจากนี้ อ.ยม เน้น ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมี 3 ห่วง 2 เงื่อนไขเป็นโมเดลของความเป็นผู้นำ    ภาวะผู้นำตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ 

  1. ความมีเหตุมีผล 
  2. รู้จักประมาณ
  3. มีวิสัยทัศย์ มีภูมิคุ้มกัน
  4. มีความรอบรู้
  5. มีคุณธรรม    

ในช่วงบ่ายของวันเสาร์ที่ 24 กพ. 50 ได้แบ่งกลุ่ม และส่งตัวแทนกลุ่มออกไปพูดในหัวข้อ

  • ผู้นำที่กลุ่มชื่นชอบ คือใคร มีลักษณะของผู้นำที่ดีอย่างไร
  • นายกรัฐมนตรีคนต่อไปของประเทศไทย ควรมีภาวะผู้นำอย่างไรหลัง

จากนั้น อ.ยม สรุปว่า ถ้านำเอาส่วนที่นักศึกษานำเสนอและวิเคราะห์แล้วเอามาหลอมรวมกัน พฤติกรรมเหล่านั้น ก็จะสามารถสร้างผู้นำที่เข้มแข็งได้  

ข้อเสนอแนะและเพิ่มเติมเมื่อได้ศึกษาวิชาภาวะผู้นำ ทำให้มีความรู้ทางทฤษฎีที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จากประสบการณ์ที่ผ่านมาในองค์กรที่ทำงานอยู่ คิดว่าน่าจะเพิ่มคุณสมบัติของผู้นำที่ดี ดังนี้

  1. เชื่อมั่นในการตัดสินใจในของตนเอ
  2. กล้ารับผิดชอบในการตัดสินใจของตนเองเสมอ
  3. เมื่อกล้าคิด กล้าทำ ต้องกล้ารับผิดชอบ 

 

ผู้นำที่ข้าพเจ้าชื่นชอบ คือ คุณธนินท์  เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ เพราะ

  1. มีวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ เป็นที่ยอมรับของนักธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  2. ให้หุ้นกับพนักงานเมื่อมีตำแหน่งสูงขึ้น
  3. สร้างคนและดึงดูดคนเก่ง ๆ เอาไว้
  4.     ให้อภัย
  5.  ศึกษาความเก่งของผู้ใต้บังคับบัญชา
  6.  เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส
  7.  ช่วยเหลือสังคม
  8.  ผู้นำด้านเทคโนโลยี
  9.  กระจายอำนาจให้บริษัทที่อยู่ในเครือสามารถบริหารจัดการได้โดยอิสระ
  10.  ขายธุรกิจในขณะที่ธุรกิจมีกำไร         

เหตุผลดังกล่าวข้างต้น เป็นแบบอย่างที่ดีของผู้นำในการทำธุรกิจในยุคปัจจุบัน         

ชาญชัย พานิชนันทนกุล MBA ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด หัวหิน

ชาญชัย พานิชนันทนกุล เมื่อ จ. 26 ก.พ. 2550 @ 19:30 (175980) MBA ที่หัวหินฯ

 

สวัสดีครับท่านอาจารย์และเพื่อนนักศึกษาทุกท่าน!         

ภาวะผู้นำเรียนแล้วได้อะไรบ้าง?
ภาวะผู้นำเป็นปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสำเร็จ สามารถต่อสู้กับความไม่แน่นอนในธุรกิจของตน  แสวงหา  รักษาพัฒนา กำลังคนให้มีความสามารถอยู่ตลอดเวลา รักษาลูกค้าเก่าได้  และสามารถต่อยอดสร้างลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้น  สร้างคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย 
องค์กรจะประสบความสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับผู้นำเป็นสำคัญ  ผู้นำต้องเป็น
  • ผู้ใฝ่รู้ 
  • มีความคิดสร้างสรรค์ 
  • สามารถคิดนอกกรอบข้ามศาสตร์ทางบวก   
  • มีวิสัยทัศน์กว้างไกล 
  • มีเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน
  • สามารถนำไปวางแผนกลยุทธ์นำไปสู่การปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ  
  • มีการตรวจสอบและปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องสามารถ
  • สร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้าได้          

 

คุณค่าของผู้นำ 

  1. ผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์ 
  2. มีการเรียนรู้ตลอดเวลา 
  3. มองไปที่ประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก 
  4. ปกครองด้วยหลักธรรมาธิปไตยและธรรมาภิบาล 
  5. มีความสามารถรอบด้าน 
  6. มีความสำนึกรับผิดชอบ 
  7. มีความเป็นกลาง  
  8. มีความเป็นมืออาชีพ 
  9. มุ่งสัมฤทธิ์ผล 

 

ผู้นำที่ดีต้องหลีกเลี่ยงเชื้อไวรัสร้าย  เช่น 

  • การมุ่งแสวงหาประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง 
  • ทำตนเข้าสู่กับดักแห่งอำนาจ  ยึดมั่น  มีอัตตาสูง 
  • ห้อมล้อมด้วยขุนพลอยพยัก 
  • ขาดความรับผิดชอบ 
  • ไม่สามารถมอบหมายให้ผู้อื่นทำการตัดสินใจแทนตนได้ 
  • ไม่คิดสร้างตัวตายตัวแทน 
  • แต่งตั้งคนไม่ดีอยู่ในตำแหน่งสำคัญๆ 
  • แสดงความไม่เต็มใจที่จะแบ่งปันข้อมูลอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง 
  • ขาดความรู้ 
  • ความเป็นธรรม 
  • ขาดสมดุล 
  • ไร้เหตุผล  และ
  • ขาดการพอประมาณ 
  • ดื้อรั้น  ทิฐิ  หลงตัวเอง           

ทฤษฎีภาวการณ์เป็นผู้นำ 

  1. ทฤษฎีเกี่ยวกับลักษณะ  ผู้นำที่ดีต้องทำงานสำเร็จด้วยดีและเป็นที่พอใจของผู้ใต้บังคับบัญชา  มีความทะเยอทะยาน  พากเพียร  กล้าหาญ  เชื่อถือศรัทธา  ซื่อสัตย์  คิดริเริ่มสร้างสรรค์  ยืดหยุ่น  ยุติธรรม  มีจุดมุ่งหมาย  กล้าตัดสินใจ  มีวินัยในตนเอง  สามารถนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ        

สมรรถนะหลัก 5 ด้านนำไปสู่ภาวะผู้นำ 

1. Leading  Change 

  • มีการเรียนรู้ต่อเนื่อง 
  • มีความคิดสร้างสรรค์รู้จักใช้  Innovation 
  • สร้างคุณค่าให้แก่องค์กร 
  • ตระหนักถึงผลกระทบจากภายนอก 
  • ปรับเปลี่ยนให้เกิดความยืดหยุ่นจูงใจ
  • ให้พนักงานทุกคนมี Service  Mind
  • มีความสามารถในการคิดเชิงกลยุทธ์ สอดคล้องกับ Vision ที่วางไว้อย่างดี

2. Leading  People 

  • ผู้นำต้องมีศักยภาพในการบริหารความขัดแย้ง
  • สามารถใช้ประโยชน์จากปัญหาความขัดแย้งให้เกิดประโยชน์แก่องค์กร 
  • ตระหนักถึงความสำคัญของวัฒนธรรมองค์กร 
  • มีความซื่อสัตย์  และ
  • สร้างทีมงานที่ดีนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จResults Driven
  • มุ่งไปสู่ผลลัพธ์เน้นการให้บริการ
  • มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ 
  • มีความรู้สึกว่ามีส่วนร่วมเป็นเจ้าของธุรกิจ 
  • กล้าตัดสินใจ  สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องแม่นยำ  โดยใช้เทคนิคที่เชื่อถือได้มีประสิทธิภาพ

3. Business Acumen ความเฉียบคมในการบริหาร

  • ทั้งด้านการเงิน
  • ทรัพยากรมนุษย์
  • เทคโนโลยีและ
  • การบริหารลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ 

4. Building Coalitions การสร้างความเข้าใจ การติดต่อสื่อสาร

  • สามารถโน้มน้าวคนได้ดี
  • เจรจาต่อรองด้วยเทคนิคการสื่อสารที่ดี มีความรอบรู้ด้านการเมือง 
  • มีความสามารถในการมีส่วนร่วม 
  • สร้างโอกาสสู่ความเป็นเลิศขององค์กร 

 

ผู้นำที่ฉลาดควรมี 3 ลักษณะอยู่ในตนเองคือ

  • สามารถนำเสนอความคิดใหม่
  1. ทุนความรู้  หาความรู้เพิ่มตลอดเวลา-         ทุนปัญญา  มีคิดและทำอย่างมีสติ  มองในเชิงสร้างสรรค์-        
  2. ทุนทางสังคม  มีการติดต่อที่ดีกับทุกฝ่าย  สร้างสัมพันธ์ที่ดีกับทุกองค์กร-          
  3. ทุนทาง IT เน้นเทคโนโลยี
  •  สามารถสร้างความสุขให้กับตนเองได้
  1. ทุนความเป็นมนุษย์ ได้รับการอบรมมาดี       
  2. ทุนทางความสุข ทำงานด้วยความร่าเริง แจ่มใส  สามารถเผื่อแผ่คนอื่นได้สามรถสร้างความสุขให้กับผู้อื่นได้-        
  3. ทุนจริยธรรม คุณธรรม-        
  4. ทุนแห่งความยั่งยืน 

 

สรุป ผู้นำที่ดีนอกจากต้องเก่งคน เก่งงาน เก่งคิด เก่งเรียน แล้วยังต้องมีคุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบซื่อสัตย์ มีความคิดกว้างไกล มีเทคนิคในการสร้างทีมงานที่ดี จึงนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ

นายนิคม อำภารักษ์ MBA ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด หัวหิน

จาก นายนิคม อำภารักษ์ เมื่อ จ. 26 ก.พ. 2550 @ 20:30 จาก 125.26.33.142   MBA ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด หัวหิน

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

          หลังจากที่ได้ศึกษาวิชาภาวะผู้นำเมื่อวันที่ 23-24 ก.พ. 50 นั้น ได้รับความรู้ในหัวข้อต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

           องค์กรที่ประสบความสำเร็จได้นั้นจะต้องมีแรงขับเคลื่อนของผู้นำเป็นหลักในการดำเนินธุรกิจโดยผู้นำจะต้องเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดที่จะนำพาองคาพยพทั้ง "คน" และ"องค์กร"นั้น ๆ ดำเนินไปอย่างมั่นคงและก้าวหน้าต่อไป

โจทย์........เรียนวิชาภาวะผู้นำ และการเปลี่ยนแปลงในองค๋กรได้ความรู้อะไรบ้าง

            ผู้นำและภาวะผู้นำแตกต่างกัน

            ผู้นำ คือ บุคคลที่มีอิทธิพลต่อกลุ่ม และสามารถนำกลุ่มปฏิบัติต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร

            ภาวะผู้นำ คือ  พลังชนิดหนึ่งที่สามารถส่งแรงกระทำอันก่อให้เกิดการขับเคลื่อนกลุ่มคน และนำองค์กรไปสู่การบรรลุเป้าประสงค์

            ยกตัวอย่าง บิลล์ เกตส์ ผู้นำซอฟแวร์ของโลก มีภาวะผู้นำดังนี้

  1. ใฝ่รู้
  2. คิดสร้างสรรค์
  3. คิดนอกกรอบข้ามศาสตร์
  4. ทุนทางปัญญา
  5. กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ

ปัญหาของผู้นำ 

  1. ตัวปัญหา
  2. สาเหตุ
  3. แนวทางเลือกในการแก้ปัญหา
  4. ลงมือปฏิบัติ (เลือกวิธีที่ดีที่สุด)
  5. ติดตามผลแล้วพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา

              ทุกอย่างในโลกล้วนมีการเปลี่ยนแปลง

  • สัตว์ในโลกที่ไม่ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมของโลก ได้สูญพันธ์ไปแล้ว เช่น ไดโนเสาร์
  • สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ เช่น การเมือง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
  • ความต้องการของลูกค้า เปลี่ยนแปลงทั้งปริมาณและคุณภาพ ถ้าเราไม่ปรับเปลี่ยน ลูกค้าจะเปลี่ยนไปซื้อรายอื่น

ดังนั้นผู้นำจะต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอ

          การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันด้วย "คน"

  1. Leader Ship Style
  2. Strategics
  3. Human Resource

ผู้นำกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ

  1. Vision
  2. Mission
  3. Goals
  4. Objtive + Target
  5. Strategic Planning
  6. Action

ต้องผ่านการตรวจและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

ความหมายของความสำเร็จในการบริหารจัดการในศตวรรษที่ 21

  1. สามารถต่อกรกับความไม่แน่นอนในธุรกิจของคน ที่นับวันก็ยากแก่การคาดคะเน เล็งถึงผลได้ การวางแผนระยะยาวต้องทอนให้สั้นลง
  2. แสวงหา รักษา พัฒนากำลังคนให้มีความสามารถอยู่เป็นนิจ
  3. สร้างแนวคิดใหม่ ๆ ของการงานของตนเองอยู่เสมอ นวตกรรมในหน่วยงานของคนในแต่ละไตรมาส
  4. ดำเนินการด้วยความมีประสิทธิภาพ ต้นทุนที่ต่ำ ได้ผลดี
  5. แสวงหา รักษาลูกค้าได้ดี
  6. สร้างคุณค่าเพิ่มให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียกับกิจการขององค์การ

การสร้างอำนาจ

  1. อำนาจเกิดได้จากการให้เงิน ให้โอกาส ให้ความรัก ให้ความใกล้ชิด
  2. โดยการตีเบา ๆ ชมดัง ๆ ประเทศญี่ปุ่นกฎกติกา การสร้างอำนาจชัดเจน
  3. ปฏิบัติตนเป็นผู้รู้มากกว่าลูกน้อง
  4. สร้างอำนาจจากการอ้างอิง เช่น อ้างหัวหน้าบอก อ้างประกาศ
  5. อำนาจทางนิติกรรม

เจ้านายและผู้นำ มีความแตกต่างกัน ผู้นำมีความยั่งยืนกว่า เพราะ

  1. ผู้นำสร้างปณิธานให้แก่ผู้ตาม
  2. ผู้นำอาศัยเจตจำนงที่เสรี
  3. ผู้นำแผ่ความรัก ปรารถนาดี
  4. ผู้นำ พูดว่า "เรา"
  5. ผู้นำแสดงให้รู้ว่าอะไรที่ผิด และควรทำอย่างไร
  6. ผู้นำรู้ว่าจะทำงานอย่างไร
  7. ผู้นำบริหารความเคารพ ไม่ใช่เจ้านาย

ผู้นำที่ฉลาดควรมี 3 ลักษณะอยู่ในตน

1.  สามารถนำเสนอความคิดใหม่

  • ทุนความรู้
  • ทุนปัญญา
  • ทุนทางสังคม

2.  สามารถสร้างความสุขให้กับตนเองได้

  • ทุนความเป็นมนุษย์
  • ทุนทางความสุข

3.  สามารถสร้างความสุขให้กับคนอื่นได้

  • ทุนจริยธรรม คุณธรรม
  • ทุนแห่งความยั่งยืน

คุณค่าของผู้นำ/ผู้บริหาร

  1. การมุ่งประโยชน์ส่วนร่วม ประโยชน์แผ่นดิน
  2. ปกครองด้วยหลักธรรมาธิปไตย / ธรรมาภิบาล
  3. มีความสามารถ
  4. มีความสำนึกรับผิดชอบ
  5. มีความเป็นกลาง
  6. การมุ่งสัมฤทธิ์ผล
  7. ความเป็นมืออาชีพ

คุณค่าของผู้นำ/ผู้บริหารข้างต้นนำไปใช้วิเคราะห์

Best Leaders

  1. Honesty
  2. Responsiveness
  3. Vigilance = Continued Success
  4. Livingness to learn and relearn
  5. Sense of adventure
  6. vision
  7. Altruism

อ.ยมเน้น เชื้อไวรัสร้าย ทำลายล้างผู้นำและองค์การ ทังภาครัฐและเอกชน

  1. ม่งแสวงหาประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง
  2. ทำตนเข้าสู่กับดักแห่งอำนาจ ยึดมั่นถือมั่น มีอัตตาสูง
  3. มีแนวโน้มห้อมล้อมด้วยขุนพลอยพยัก
  4. ขาดความรับผิดชอบ
  5. การไม่สามารถมอบหมายให้ผู้อื่นทำการตัดสินใจแทนตนได้
  6. ไม่คิด ไม่สร้างตัวตายตัวแทน
  7. แต่งตั้งคนไม่ได้เรื่องดำรงตำแหน่งสำคัญแสดงความไม่เต็มใจที่จะแบ่งปันข้อมูลอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง
  8. ขาดความรู้ ขาดความเป็นธรรม ขาดความสมดุล ขาดเหตุผล ขาดการพอประมาณ
  9. ดื้อรั้น ทิฐิ หลงตัวเอง ไม่เชื่อ ไม่ฟังใคร

ความหมายของความสำเร็จในการบริหารจัดการ

  1. สามารถต่อกรกับความไม่แน่นอนในธุรกิจของตน ที่นับวันก็ยากต่อการคาดคะเน เล็งถึงผลได้ การวางแผนระยะยาวต้องทอนให้สั้นลง
  2. แสวงหา รักษาพัฒนากำลังคนให้มีความสามารถอยู่เป็นนิจ
  3. สร้างแนวคิดใหม่ๆ ของการงานของตนอยู่เสมอ นวตกรรมในหน่วยงานของคนในแต่ละไตรมาส
  4. ดำเนินการด้วยความมีประสิทธิภาพ ต้นทุนที่ต่ำ ได้ผลดี
  5. แสวงหา รักษาลูกค้าได้ดี
  6. สร้างคุณค่าเพิ่มให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียกับกิจการขององค์การ

ทฤษฎีภาวะการเป็นผู้นำ

  1. เกี่ยวกับลักษณะ
  2. ทางด้านพฤติกรรม
  3. ทางด้านสถานการณ์

สมรรถนะหลัก 5 ด้าน นำสู่ภาวะผู้นำ

  1. ศักยภาพในการเปลี่ยนแปลง
  2.  ศักยภาพในการเป็นผู้นำ
  3. การมุ่งผลสัมฤทธิ์
  4.  ความเฉียบคมทางการบริหาร เช่นความรู้สึกมองการณ์ไกล บริหารเชิงรุก อย่ารอให้ปัญหาเกิด
  5.  การสร้างความเข้าใจ

สมรรถนะหลักของผู้นำแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม

  1. สมรรถนะในการบริหารคน
  2. สมรรถนะในความรอบรู้ทางการบริหาร
  3. สมรรถนะในการบริหารอย่างมืออาชีพ
  4. สมรรถนะการบริหารแบบม่งผลสัมฤทธิ์
  5. สมรรถนะในการเรียนรู้ ความรู้ใหม่ ๆ (ความรู้สด)

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มี 3 ห่วง 2 เงื่อนไข

  1. พอประมาณ
  2. มีเหตุผล
  3. มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี

เงื่อนไขที่ 1 เงื่อนไขความรู้

เงื่อนไขที่ 2 เงื่อนไขคุณธรรม

บรรษัทภิบาลที่ดี

  1. ประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย
  2. ความโปร่งใส
  3. ความซื่อสัตย์
  4. ความรับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติตามหน้าที่
  5. ความสามารถในการแข่งขัน

แนวทางสู่การเป็นผ้นำที่ดีแห่งยุค

  1. มีความรอบรู้
  2. มีคุณธรรม
  3. มีเหตุมีผล
  4. รู้จักประมาณ
  5. มีภูมิคุ้มกัน

ข้อสรุปลักษณะการเป็นผู้นำโดยภาพรวมและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

  1. ความเข้าใจในบทบาทในหน้าที่ ความรับผิดชอบ เป้าหมาย และลำดับความสำคัญของงานตนเองให้ชัดเจน
  2. การมอบหมายงานอย่างมีประสิทธิผล
  3. จะต้องสามารถหักห้ามใจตนเองไว้ให้ได้ที่จะไม่เข้าไปทำงานแทนลูกน้อง โดยตัวผู้นำเองจะต้องเป็นกระจกเงาในการสะท้อนภาพและชี้นำการทำงานของลูกน้อง
  4. อย่าหลงคิดว่างานทุกอย่างเป็นงานที่สำคัญและจะต้องทำ เพราะงานบางอย่างไม่จำเป็นสำหรับผู้นำที่จะต้องทำ
  5. ผู้นำต้องสามารถพูดคำว่า "ไม่" ในงานที่ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิผล

    ผู้นำที่ชื่นชอบ  คือพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์  นายกรัฐมนตรีคนที่ 24 ของประเทศไทยเพราะ

    1. ชอบสันโดษสมถะ
    2. มีความซื่อสัตย์
    3. เวลาให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนสามารถโน้มน้าวให้คล้อยตามได้
    4. สุขุมใจเย็น
    5. ตำแหน่งหน้าที่การงานข้าราชการประจำเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด
    6. หลังจากเกษียณได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นองคมนตรี

          เพราะคุณความดี ความซื่อสัตย์สุจริตและผลงานราชการจึงได้รับการสนับสนุนและผลักดันเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 24 ของประเทศไทยซึ่งเป็นเกียรติและศักดิ์ศรีของชาวจังหวัดเพชรบุรี เนื่องจากท่านเป็นชาวเพชรบุรี จังหวัดเดียวกับกระผม

นายนิคม อำภารักษ์ MBA ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด หัวหิน
นายนิคม อำภารักษ์ เมื่อ จ. 26 ก.พ. 2550 @ 20:30 (176027)

 

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

           หลังจากที่ได้ศึกษาวิชาภาวะผู้นำเมื่อวันที่ 23-24 ก.พ. 50 นั้น ได้รับความรู้ในหัวข้อต่าง ๆ ดังต่อไปนี้          
องค์กรที่ประสบความสำเร็จได้นั้นจะต้องมีแรงขับเคลื่อนของผู้นำเป็นหลักในการดำเนินธุรกิจโดยผู้นำจะต้องเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดที่จะนำพาองคาพยพทั้ง "คน" และ"องค์กร"นั้น ๆ ดำเนินไปอย่างมั่นคงและก้าวหน้าต่อไป
โจทย์........เรียนวิชาภาวะผู้นำ และการเปลี่ยนแปลงในองค๋กรได้ความรู้อะไรบ้าง
ผู้นำและภาวะผู้นำแตกต่างกัน 
           
ผู้นำ คือ บุคคลที่มีอิทธิพลต่อกลุ่ม และสามารถนำกลุ่มปฏิบัติต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร   
        
ภาวะผู้นำ คือ  พลังชนิดหนึ่งที่สามารถส่งแรงกระทำอันก่อให้เกิดการขับเคลื่อนกลุ่มคน และนำองค์กรไปสู่การบรรลุเป้าประสงค์           
ยกตัวอย่าง บิลล์ เกตส์ ผู้นำซอฟแวร์ของโลก มีภาวะผู้นำดังนี้
  1.  ใฝ่รู้
  2. คิดสร้างสรรค์
  3. คิดนอกกรอบข้ามศาสตร์ 
  4.  ทุนทางปัญญา
  5. กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ

 

ผู้นำ กับเทคนิดการแก้ไขปัญหา  เมื่อมีปัญหาต้องแก้ไข 

  1. ต้องรู้ว่าอะไรคือตัวปัญหา
  2. สาเหตุ
  3. แนวทางเลือกในการแก้ปัญหา
  4. ลงมือปฏิบัติ (เลือกวิธีที่ดีที่สุด)
  5. ติดตามผลแล้ว
  6. พัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา             

 

ทุกอย่างในโลกล้วนมีการเปลี่ยนแปลง

  • สัตว์ในโลกที่ไม่ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมของโลก ได้สูญพันธ์ไปแล้ว เช่น ไดโนเสาร์
  • สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ เช่น การเมือง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
  • ความต้องการของลูกค้า เปลี่ยนแปลงทั้งปริมาณและคุณภาพ ถ้าเราไม่ปรับเปลี่ยน ลูกค้าจะเปลี่ยนไปซื้อรายอื่น

ดังนั้นผู้นำจะต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอ         

การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันด้วย "คน"

  1. Leader Ship Style 
  2.  Strategics 
  3.  Human Resource

ผู้นำกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ

  1. Vision 
  2.   Mission 
  3.  Goals
  4. Objtive + Target
  5. Strategic Planning
  6. Action
  7. ต้องผ่านการตรวจและ
  8. ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

 

ความหมายของความสำเร็จในการบริหารจัดการในศตวรรษที่ 21

  1. สามารถต่อกรกับความไม่แน่นอนในธุรกิจของคน ที่นับวันก็ยากแก่การคาดคะเน เล็งถึงผลได้ การวางแผนระยะยาวต้องทอนให้สั้นลง
  2. แสวงหา รักษา พัฒนากำลังคนให้มีความสามารถอยู่เป็นนิจ
  3.  สร้างแนวคิดใหม่ ๆ ของการงานของตนเองอยู่เสมอ นวตกรรมในหน่วยงานของคนในแต่ละไตรมาส
  4. ดำเนินการด้วยความมีประสิทธิภาพ ต้นทุนที่ต่ำ ได้ผลดี
  5. แสวงหา รักษาลูกค้าได้ดี
  6. สร้างคุณค่าเพิ่มให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียกับกิจการขององค์การ

ผู้นำต้องรู้จักการสร้างอำนาจ ที่ถูกต้อง

  1. อำนาจเกิดได้จากการให้เงิน ให้โอกาส ให้ความรัก ให้ความใกล้ชิด
  2. โดยการติ ตีเบา ๆ ชมดัง ๆ ประเทศญี่ปุ่นกฎกติกา การสร้างอำนาจชัดเจน
  3. ปฏิบัติตนเป็นผู้รู้มากกว่าลูกน้อง
  4. สร้างอำนาจจากการอ้างอิง เช่น อ้างหัวหน้าบอก อ้างประกาศ
  5. อำนาจทางนิติกรรม

 

เจ้านายและผู้นำ มีความแตกต่างกัน ผู้นำมีความยั่งยืนกว่า เพราะ

  1. ผู้นำสร้างปณิธานให้แก่ผู้ตาม
  2. ผู้นำอาศัยเจตจำนงที่เสรี
  3. ผู้นำแผ่ความรัก ปรารถนาดี
  4. ผู้นำ พูดว่า "เรา"
  5. ผู้นำแสดงให้รู้ว่าอะไรที่ผิด และควรทำอย่างไร
  6. ผู้นำรู้ว่าจะทำงานอย่างไร
  7. ผู้นำบริหารความเคารพ ไม่ใช่เจ้านาย

 

ผู้นำที่ฉลาดควรมี 3 ลักษณะอยู่ในตน

1.  สามารถนำเสนอความคิดใหม่

  • ทุนความรู้
  • ทุนปัญญา
  • ทุนทางสังคม
2.  สามารถสร้างความสุขให้กับตนเองได้
  • ทุนความเป็นมนุษย์
  • ทุนทางความสุข
3.  สามารถสร้างความสุขให้กับคนอื่นได้
  • ทุนจริยธรรม คุณธรรม
  • ทุนแห่งความยั่งยืน

คุณค่าของผู้นำ/ผู้บริหาร

  1. การมุ่งประโยชน์ส่วนร่วม ประโยชน์แผ่นดิ
  2. ปกครองด้วยหลักธรรมาธิปไตย / ธรรมาภิบาล
  3. มีความสามารถ
  4.   มีความสำนึกรับผิดชอบ
  5.    มีความเป็นกลาง
  6.  การมุ่งสัมฤทธิ์ผล
  7. ความเป็นมืออาชีพ

คุณค่าของผู้นำ/ผู้บริหารข้างต้นนำไปใช้วิเคราะห์Best Leaders

  1.  Honesty
  2. Responsiveness
  3. Vigilance = Continued Success
  4. Livingness to learn and relearn
  5.  Sense of adventure
  6.  vision
  7.    Altruism

อ.ยมเน้น เชื้อไวรัสร้าย ทำลายล้างผู้นำและองค์การ ทังภาครัฐและเอกชน

  1. ม่งแสวงหาประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง
  2. ทำตนเข้าสู่กับดักแห่งอำนาจ ยึดมั่นถือมั่น มีอัตตาสูง
  3.   มีแนวโน้มห้อมล้อมด้วยขุนพลอยพยัก
  4.    ขาดความรับผิดชอบ
  5.   การไม่สามารถมอบหมายให้ผู้อื่นทำการตัดสินใจแทนตนได้
  6. ไม่คิด ไม่สร้างตัวตายตัวแทน
  7. แต่งตั้งคนไม่ได้เรื่องดำรงตำแหน่งสำคัญแสดงความไม่เต็มใจที่จะแบ่งปันข้อมูลอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง
  8.  ขาดความรู้ ขาดความเป็นธรรม ขาดความสมดุล ขาดเหตุผล ขาดการพอประมาณ
  9.  ดื้อรั้น ทิฐิ หลงตัวเอง ไม่เชื่อ ไม่ฟังใคร  

 

ความหมายของความสำเร็จในการบริหารจัดการ

1.    สามารถต่อกรกับความไม่แน่นอนในธุรกิจของตน ที่นับวันก็ยากต่อการคาดคะเน เล็งถึงผลได้ การวางแผนระยะยาวต้องทอนให้สั้นลง

2.    แสวงหา รักษาพัฒนากำลังคนให้มีความสามารถอยู่เป็นนิจ

3.    สร้างแนวคิดใหม่ๆ ของการงานของตนอยู่เสมอ นวตกรรมในหน่วยงานของคนในแต่ละไตรมาส

4.    ดำเนินการด้วยความมีประสิทธิภาพ ต้นทุนที่ต่ำ ได้ผลดี

5.    แสวงหา รักษาลูกค้าได้ดี

6.    สร้างคุณค่าเพิ่มให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียกับกิจการขององค์การ

ทฤษฎีภาวะการเป็นผู้นำ

1.    เกี่ยวกับลักษณะ

2.    ทางด้านพฤติกรรม

3.    ทางด้านสถานการณ์

 

สมรรถนะหลัก 5 ด้าน นำสู่ภาวะผู้นำ

1.    ศักยภาพในการเปลี่ยนแปลง

2.     ศักยภาพในการเป็นผู้นำ

3.    การมุ่งผลสัมฤทธิ์

4.     ความเฉียบคมทางการบริหาร เช่นความรู้สึกมองการณ์ไกล บริหารเชิงรุก อย่ารอให้ปัญหาเกิด

5.     การสร้างความเข้าใจ

สมรรถนะหลักของผู้นำแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม

1.    สมรรถนะในการบริหารคน

2.    สมรรถนะในความรอบรู้ทางการบริหาร

3.    สมรรถนะในการบริหารอย่างมืออาชีพ

4.    สมรรถนะการบริหารแบบม่งผลสัมฤทธิ์

5.    สมรรถนะในการเรียนรู้ ความรู้ใหม่ ๆ (ความรู้สด)

 

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มี 3 ห่วง 2 เงื่อนไข คนที่เป็นผู้นำที่ดีจึงต้องมี

1.    ความพอประมาณ

2.    มีเหตุผล

3.    มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี

เงื่อนไขที่ 1 เงื่อนไขความรู้

เงื่อนไขที่ 2 เงื่อนไขคุณธรรม

บรรษัทภิบาลที่ดี

1.    ประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย

2.    ความโปร่งใส

3.    ความซื่อสัตย์

4.    ความรับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติตามหน้าที่

5.    ความสามารถในการแข่งขัน

แนวทางสู่การเป็นผ้นำที่ดีแห่งยุค

1.    มีความรอบรู้

2.    มีคุณธรรม

3.    มีเหตุมีผล

4.    รู้จักประมาณ

5.    มีภูมิคุ้มกัน

ข้อสรุปลักษณะการเป็นผู้นำโดยภาพรวมและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

1.    ความเข้าใจในบทบาทในหน้าที่ ความรับผิดชอบ เป้าหมาย และลำดับความสำคัญของงานตนเองให้ชัดเจน

2.    การมอบหมายงานอย่างมีประสิทธิผล

3.    จะต้องสามารถหักห้ามใจตนเองไว้ให้ได้ที่จะไม่เข้าไปทำงานแทนลูกน้อง โดยตัวผู้นำเองจะต้องเป็นกระจกเงาในการสะท้อนภาพและชี้นำการทำงานของลูกน้อง

4.    อย่าหลงคิดว่างานทุกอย่างเป็นงานที่สำคัญและจะต้องทำ เพราะงานบางอย่างไม่จำเป็นสำหรับผู้นำที่จะต้องทำ

5.    ผู้นำต้องสามารถพูดคำว่า "ไม่" ในงานที่ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิผล

ผู้นำที่ชื่นชอบ  คือพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์  นายกรัฐมนตรีคนที่ 24 ของประเทศไทยเพราะ

1.    ชอบสันโดษสมถะ

2.    มีความซื่อสัตย์

3.    เวลาให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนสามารถโน้มน้าวให้คล้อยตามได้

4.    สุขุมใจเย็น

5.    ตำแหน่งหน้าที่การงานข้าราชการประจำเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด

6.    หลังจากเกษียณได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นองคมนตรี 

เพราะคุณความดี ความซื่อสัตย์สุจริตและผลงานราชการจึงได้รับการสนับสนุนและผลักดันเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 24 ของประเทศไทยซึ่งเป็นเกียรติและศักดิ์ศรีของชาวจังหวัดเพชรบุรี เนื่องจากท่านเป็นชาวเพชรบุรี จังหวัดเดียวกับกระผม

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ / นักศึกษา MBA ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด (หัวหิน) และท่านผู้อ่านทุกท่าน

นักศึกษา MBA ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด เริ่มส่งข้อมูลมาใน Blog ตามที่ได้แจ้งไว้ ซึ่งมีผู้ส่งมาติดอันดับ TOP 5 คือ

  1. จำเนียร อำภารักษ์ เมื่อ จ. 26 ก.พ. 2550 @ 18:42 (175946) 
  2. นายชูศักดิ์ ลาภส่งผล เมื่อ จ. 26 ก.พ. 2550 @ 19:09 (175965)
  3. นายบุญยอด มาคล้าย เมื่อ จ. 26 ก.พ. 2550 @ 19:14 (175968)
  4. ชาญชัย พานิชนันทนกุล เมื่อ จ. 26 ก.พ. 2550 @ 19:30 (175980)
  5. นายนิคม อำภารักษ์ เมื่อ จ. 26 ก.พ. 2550 @ 20:30 (17602

 

ผมคิดว่า ควรจะเปิด Blog ใหม่ สำหรับ น.ศ. MBA ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด โดยเฉพาะ ครับ สัปดาห์จะได้แจ้งให้นักศึกษาทราบ

สวัสดีครับ

ยม

สวัสดีค่ะ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ จากการที่ได้เรียนวิชาภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงในสัปดาห์แรก ทำให้ได้รู้เกี่ยวกับการเป็นผู้นำและภาวะผู้นำที่ผู้นำของแต่ละองค์การควรจะมี ซึ่งสรุปเนื้อหาได้ดังนี้ หากพูดถึง ผู้นำเราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่มีส่วนช่วย ให้องค์การประสบความสำเร็จหรือความล้มเหลว และสามารถแข่งขันกับองค์การอื่นได้หรือไม่ ในโลกปัจจุบันที่ภาวะการแข่งขันนั้นมีสูง หากองค์การมีผู้นำหรือผู้บริหารที่มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ ฯลฯ องค์การก็สามารถที่จะแข่งขันกับผู้อื่นได้ และประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ผู้นำ (Leader) คือ บุคคลที่สามารถชักจูงหรือชี้นำบุคคลอื่น ให้ปฏิบัติงานสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ได้อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพและทำให้องค์การประสบความก้าวหน้าและบรรลุผลสำเร็จภาวะผู้นำ (Leadership) คือ พฤติกรรมส่วนตัวของบุคคลคนหนึ่งที่จะชักนำกิจกรรมของกลุ่มให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน เป็นความสามารถที่จะมีอิทธิพลเหนือผู้อื่นในด้านการกระทำ และสามารถจูงใจบุคคลอื่นให้กระทำกิจกรรมที่ช่วยให้บรรลุเป้าหมายขององค์การได้ทุกอย่างในโลกล้วนมีการเปลี่ยนแปลง  จะเห็นได้ว่า-         สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ เช่น การเมือง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว-         ความต้องการของลูกค้า มีการเปลี่ยนแปลงทั้งปริมาณและคุณภาพ ถ้าเราไม่เปลี่ยนแปลง ลูกค้าก็จะไปซื้อรายอื่นทฤษฎีภาวะการเป็นผู้นำ1.    ทฤษฎีเกี่ยวกับลักษณะ (Trait Approach)เป็นการวิจัยที่มุ่งเน้นไปยังคุณสมบัติส่วนตัวของผู้นำ เช่น-         มีความทะเยอทะยาน (Ambition)-         มีความอุตสาหะพากเพียร (Persistence)-         มีความกล้าหาญ (Courage)-         มีความเชื่อถือศรัทธา (Faith)-         มีความซื่อสัตย์มั่นคง (Integrity)-         มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creativity)-         มีความยุติธรรม (Justice)-         มีจุดมุ่งหมาย (Objectivity)-         มีความยืดหยุ่น (Flexibility)-         มีความสามารถในการตัดสินใจ (Decisiveness)-         มีวินัยในตนเอง (Self-Discipline) 2.    ทฤษฎีทางด้านพฤติกรรม (Behavioral Approach)จะมุ่งเน้นในเรื่องเกี่ยวกับผู้นำ และผู้จัดการที่ใช้พฤติกรรมในการทำงาน เช่น การสังเกต การสั่งการ การปฏิบัติการ จะทำให้เกิดการทำงานที่ดีและมีประสิทธิภาพ 3.    ทฤษฎีทางด้านสถานการณ์ (Situational Approach)เป็นการวิจัยที่ให้ความสำคัญในเรื่องของปัจจัยที่ทำให้เกิดสถานการณ์ เช่น เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่จะต้องตัดสินใจผู้นำที่ดีจะทำการตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วและให้ดีที่สุด ผู้นำที่ดีควรมีทุนอยู่ในตนดังนี้1.    ทุนความรู้ คือ ต้องมีการใฝ่หาความรู้ตลอดเวลา2.    ทุนปัญญา คือ ต้องเป็นคนที่มีสติ มีเหตุมีผล มีการคิดอย่างสร้างสรรค์3.    ทุนทางสังคม คือ การมีเครือข่าย มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีการเข้าสังคม เป็นที่ยอมรับของคนอื่น มีการคิดที่ดี เป็นด้านบวก4.    ทุนทาง IT คือ การมีความรู้ทางด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ และติดตามความเคลื่อนไหวของข้อมูลข่าวสารใหม่ๆอยู่เสมอ5.    ทุนความเป็นมนุษย์ คือ ผู้นำที่ดีมักจะได้รับการดูแลสั่งสอนมาดีตั้งแต่เล็ก กินดีอยู่ดี มีชีวิตที่ดี เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์6.    ทุนทางความสุข คือ การเป็นผู้นำที่ดีนั้นต้องมีการสะสมความสุข เพื่อจะได้เผื่อแผ่คนอื่นได้7.    ทุนทางจริยธรรม คุณธรรม คือ ในการเป็นผู้นำที่ดีจะต้องมีความเป็นธรรมในการทำงาน และต้องแฝงด้วยจริยธรรมต่างๆ8.    ทุนแห่งความยั่งยืน จะเกิดขึ้นมาได้ถ้าผู้นำมีทุนทั้งหมดข้างต้น  ผู้นำที่ดีที่สุดควรมีพฤติกรรม ดังต่อไปนี้1.    มีความซื่อสัตย์ 2.    มีความรับผิดชอบ 3.    มีความไม่เห็นแก่ตัว คำนึงถึงผู้อื่น4.    มีวิสัยทัศน์5.    มีไหวพริบ6.    มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง7.    มีความระมัดระวังและรอบคอบคุณค่าของผู้นำ / ผู้บริหาร1.    การมุ่งประโยชน์ส่วนรวมและประโยชน์ของแผ่นดิน2.    ปกครองด้วยหลักธรรมาธิปไตย/ธรรมาภิบาล3.    มีความสามารถ4.    มีความสำนึกรับผิดชอบ5.    มีความเป็นกลาง6.    การมุ่งสัมฤทธิ์ผล7.    ความเป็นมืออาชีพ ผู้นำต้องสร้างและรักษาอำนาจ1.    อำนาจเกิดได้จากการให้ คือ ให้โอกาส ให้ความรู้ ให้อภัย ให้ความใกล้ชิด2.    อำนาจเกิดได้โดยการติ คือ เมื่อลูกน้องทำไม่ถูกต้องให้สั่งสอนหรือตำหนิ3.    อำนาจในการแสดงตนเป็นผู้รู้มากกว่า4.    อำนาจสร้างได้โดยการอ้างอิง เช่น การอ้างอิงถึงผู้บังคับบัญชาในกรณีที่มีเหตุจำเป็นให้แก้สถานการณ์เฉพาะหน้า 5.    อำนาจทางพฤติกรรม การเป็นผู้นำที่ดีนั้นต้องมีภาวะผู้นำเพราะองค์การจะประสบความสำเร็จได้ ก็จะต้องมีภาวะผู้นำที่ดี ผู้นำนั้นจะต้องมีการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา เพราะโลกในยุคปัจจุบันนี้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ผู้นำที่ดีจะต้องเป็นคนที่คิดดี หรือมี Positive Thinking คือการคิดในด้านบวก     การเป็นผู้นำจะต้องมีวิสัยทัศน์ ต้องกล้าตัดสินใจ ต้องตัดสันใจได้ทันการณ์ และเมื่อได้ตัดสินใจไปแล้วต้องไม่มีปัญหาตามมา และที่สำคัญผู้นำต้องมีอำนาจ  ต้องสร้างอำนาจและต้องใช้อำนาจให้ถูกต้องอีกด้วย  นางสาวสุพรรษา  อาลี  รหัสประจำตัว  106242002.. ปริญญาโท MBA รุ่นที่ 7มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
กนกลักษณ์ เร้าเลิศฤทธิ์
นางสาวกนกลักษณ์  เร้าเลิศฤทธิ์ MBA ม.นานาชาติแสตมฟอร์ดหัวหิน เมื่อ อ. 27 ก.พ. 50 @ 10:30   ก่อนได้เรียนเรื่องภาวะผู้นำ (Leadership)ตามความเข้าใจผู้นำคือ เจ้าของกิจการและจะต้องมีทั้งพระเดชพระคุณ และจำต้องมีความรู้ความสามารถในกิจการนั้นอย่างดี  หลังจากเรียนเรื่องภาวะผู้นำ ได้รับความรู้มากมายว่า ผู้นำจะต้องมีการตื่นตัวอยู่เสมอและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ตลอด ไม่ใช่เฉพาะในเรื่องกิจการงานที่เราทำ แต่รวมไปถึงความรู้ใหม่ๆ และการใช้หลักธรรมะเข้ามาช่วยในการเป็นผู้นำ อย่างเช่น ผู้นำที่ฉลาดควรมี 3 ลักษณะอยู่ในตน 1.สามารถนำเสนอความคิดใหม่ ซึ่งจะต้องมีทุนความรู้ ทุนปัญญา ทุนทางสังคม ทุนทาง IT  2.สามารถสร้างความสุขให้กับตนเองได้ ซึ่งจะต้องมีทุนความเป็นมนุษย์ ทุนทางความสุข 3.สามารถสร้างความสุขให้กับผู้อื่นได้ ซึ่งจะต้องมีทุนจริยธรรม คุณธรรม ทุนแห่งความยั่งยืน ตามทฤษฎี 8 K’s ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์และผู้นำที่ดีต้องหลีกเลี่ยงเชื้อไวรัสร้าย  เช่น 
  • การมุ่งแสวงหาประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง 
  • ทำตนเข้าสู่กับดักแห่งอำนาจ  ยึดมั่น  มีอัตตาสูง 
  • ห้อมล้อมด้วยขุนพลอยพยัก 
  • ขาดความรับผิดชอบ 
  • ไม่สามารถมอบหมายให้ผู้อื่นทำการตัดสินใจแทนตนได้ 
  • ไม่คิดสร้างตัวตายตัวแทน 
  • แต่งตั้งคนไม่ดีอยู่ในตำแหน่งสำคัญๆ 
  • แสดงความไม่เต็มใจที่จะแบ่งปันข้อมูลอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง 
  • ขาดความรู้ 
สวัสดีครับ ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ เพื่อน ๆ นักศึกษา MBA STAMFORD UNIVERSITY HUAHIN และผู้อ่านทุก ๆ ท่าน ในวันที่ 23 - 24 กุมภาพันธ์ 2550 ได้เรียนเรื่องภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลง จากท่าน อ.ยม นาคสุข และท่านได้แนะนำให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม และให้คำถามว่า เรียนเรื่องภาวะผู้นำเรียนแล้วได้ความรู้อะไรบ้าง จากการเรียนวิชาภาวะผู้นำได้ความรู้ดังนี้ ปัจจุบันเป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง จากสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ เช่น การเมือง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และถ้าใครไม่มีการปรับเปลี่ยนก็จะเปรียบเสมือนไดโนเสาร์ที่ไม่สามารถปรับตัวและดำรงชีวิตมาถึงยุคปัจจุบัน ปัจจัยแห่งความสำเร็จขององค์กร ภาวะผู้นำ : เป็นพลังขับเคลื่อนองค์กรสู่ความเป็นเลิศ The Energy that Drives Your Organization towards Excellence ผู้นำ (Leader) คือบุคคลที่มีอิทธิพลต่อกลุ่ม และสามารถนำกลุ่มปฏิบัติงานต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร ภาวะผู้นำ (Leadership) เป็นความสามารถที่จะสร้างความเชื่อมั่นและให้การสนับสนุนผลักดันบุคคลเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร ผู้นำที่ดีต้อง ผู้นำที่ดีที่ฉลาดควรมี 3 ลักษณะอยู่ในตน(ทฤษฎี 8 K’s ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์) 1. สามารถนำเสนอความคิดใหม่ ๆ  ทุนความรู้  ทุนปัญญา  ทุนทางสังคม  ทุนทาง IT 2. สามารถสร้างความสุขให้กับตนเองได้  ทุนความเป็นมนุษย์  ทุนทางความสุข 3. สามารถสร้างความสุขให้กับผู้อื่นได้  ทุนจริยธรรม คุณธรรม  ทุนแห่งความยั่งยืน ภาวะผู้นำกับการสร้างอำนาจ 1. อำนาจจะเกิดได้จากการให้ ให้โอกาส ให้ความรัก ให้อภัย ให้สิ่งของ (การให้ทาน) 2. อำนาจสร้างด้วยการติ เป็นการติแต่ต้องมีเทคนิคในการติ เช่น เวลาเตือนให้เตือนเบาๆ เวลาชมให้ชมดังๆเพื่อคนอื่นจะได้ชื่นชมด้วย 3. อำนาจสร้างได้จากการแสดงเป็นผู้รู้ เป็นการแสดงความสามารถของตนเอง 4. อำนาจสร้างโดยการอ้างอิง อ้างถึงบุคคลที่มีอำนาจกว่าเราเช่นเจ้านาย อย่างไรก็ตามการอ้างถึงควรอ้างถึงในทางที่ดี ควรคำนึงถึงจริยธรรมและคุณธรรม 5. อำนาจทางนิติกรรม Best Leaders (Susan Annunzio .2006 eLEADERSHIP: 27-32) 1. Honesty 2. Responsiveness 3. Vigilance = Continued Success 4. Livingness to learn and relearn 5. Sense of adventure 6. Vision 7. Altruism คุณค่าของผู้นำ 1. การมุ่งประโยชน์ส่วนรวม ประโยชน์แผ่นดิน 2. ปกครองด้วยหลักธรรมาธิปไตย/ธรรมาภิบาล 3. มีความสามารถ 4. มีความสำนึกรับผิดชอบ 5. มีความเป็นกลาง 6. การมุ่งผลสำเร็จ 7. ความเป็นมืออาชีพ ลักษณะของผู้นำที่ไม่ดี และเป็นเชื้อไวรัสร้าย ทำลายล้างผู้นำและองค์การทั้งภาครัฐและเอกชน 1. มุ่งแสวงหาประโยชน์ส่วนตัว 2. ยึดมั่นถือมั่น มีอัตตาสูง 3. ห้อมล้อมด้วยขุนพลอยพยัก 4. ขาดความรับผิดชอบ 5. ไม่สามารถมอบหมายให้ผู้อื่นตัดสินใจแทนตนได้ 6. ไม่คิด ไม่สร้างตัวตายตัวแทน 7. แต่งตั้งคนไม่ได้เรื่องดำรงตำเเหน่งสำคัญ แสดงความไม่เต็มใจที่จะแบ่งปันข้อมูลอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง 8. ขาดความรู้ ขาดความเป็นธรรม ขาดความสมดุล ขาดเหตุผล ขาดการพอประมาณ 9. ดื้อรั้น ทิฐิ หลงตัวเอง ทฤษฎีภาวะการเป็นผู้นำ 1. ทฤษฎีเกี่ยวกับลักษณะ 2. ทฤษฎีทางด้านพฤติกรรม 3. ทฤษฎีทางด้านสถานการณ์ Leadership Competeny Definitions สมรรถนะหลัก 5 ด้าน นำสู่ภาวะผู้นำ 1. ศักยภาพในการเปลี่ยนแปลง 2. ศักยภาพในการเป็นผู้นำ 3. การมุ่งผลสัมฤทธิ์ 4. ความเฉียบคมทางการบริหาร 5. การสร้างความเข้าใจ/การติดต่อสื่อสาร สมรรถนะหลักของผู้นำ (ภาครัฐ) แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม 1. สมรรถนะการบริหารคน 2. สมรรถนะในความรอบรู้ทางการบริหาร 3. สมรรถนะในการบริหารอย่างมืออาชีพ 4. สมรรถนะการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ และควรเพิ่มอีก 1 กลุ่มคือ 5. สมรรถนะความรอบรู้ ทางด้านความรู้ใหม่ ๆ ทฤษฎี 8 K’s ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ 1. ทุนแห่งความยั่งยืน 2. ทุนทางสังคม 3. ทุนทางจริยธรรม 4. ทุนแห่งความสุข 5. ทุนทาง IT 6. ทุนทางปัญญา 7. ทุนทางความรู้ ทักษะ Mind set 8. ทุนมนุษย์ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข 1. พอประมาณ 2. มีเหตุผล 3. มีภูมคุ้มกันในตัวที่ดี เงื่อนไข 1. เงื่อนไขความรู้ รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง 2. เงื่อนไขคุณธรรม ซื่อสัตว์สุจริต บรรษัทภิบาลที่ดี 1. ประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย 2. ความโปร่งใส 3. ความซื่อสัตย์ 4. ความรับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติตามหน้าที่ 5. ความสามารถในการแข่งขัน หลังจากที่ได้ทำงานกลุ่มก็ได้แนวทางในแก้ปัญหาดังนี้ 1. หาตัวปัญหา 2. สาเหตุ 3. แนวทางเลือกในการแก้ไขปัญหา 4. ลงมือปฏิบัติตามแผน ซึ่งแนวทางการแก้ไขปัญหานี้ก็ได้ตรงกับ อริยสัจ 4 คือ ทุกข์ สมุทัย (เหตุแห่งทุกข์) นิโรธ (ความดับทุกข์) และมรรค (คือทางที่จะพ้นทุกข์) ท้ายนี้ผมขอกราบขอบพระคุณท่าน ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อ.ยม นาคสุข ที่ได้เสียสละเวลาของท่านเพื่อมาให้ความรู้ให้กับพวกเรา ชาว MBA STAMFORD ผมนายวิวัฒน์ นาเวียง นักศึกษา MBA ID 106342001

สวัสดีค่ะ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

 

เรียนเรื่องภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลง จากท่าน อ.ยม นาคสุข ในวันที่ 23 - 24 กุมภาพันธ์ 2550
ฝิ่นส่งการบ้านเข้าไปใน e mail ของ อ. ยม ไปแล้วค่ะ เพราะตอนแรก หา blog ไม่เจอ....
ฝิ่นโทรแจ้ง อ.ยม แล้วขอความกรุณาท่าน อ.ยม ช่วย copy การบ้านส่งมาใส่ที่ blog นี้ค่ะ
ด้วยความเคารพอย่างสูง
จารุวรรณ ยุ่นประยงค์
MBA 6  : 106142009
Stamford International University Hua Hin

 

นายณัฐพงศ์ ชุมนุมพันธ์
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ /นักศึกษา MBA ม.นานาชาติสแตมฟอร์ด หัวหินและผู้อ่านทุกท่าน จาการที่ได้เข้ารับการศึกษาเมื่อวันศุกร์และเสาร์ที่ผ่านมาพอที่จะสรุปใจความสำคัญต่างๆที่ได้เรียนรู้จากท่าน อ.ยม ดังนี้  1.    โลกปัจจุบันยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง2.    ปัจจัยแห่งความสำเร็จขององค์กร3.    ความหมาย ผู้นำ ภาวะผู้นำ คุณลักษณะของผู้นำ 4.    กรอบแนวความคิด แนวคิดทฤษฎีฯ5.    สมรรถนะของผู้นำยุคใหม่6.    แนวทางการพัฒนาตนเองสู่ภาวะผู้นำที่เป็นเลิศ7.    กิจกรรมกลุ่มแต่ที่ท่าน อ.ยม ได้เน้นเป็นพิเศษได้แก่ ·       ความแตกต่างระหว่างผู้นำและภาวะผู้นำ·       ทฤษฏี 8 k’s (ทฤษฏีต้นไม้) ·       ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงผู้นำคือ บุคคลที่มีอิทธิพลต่อกลุ่มและสามารถนำกลุ่มปฏิบัติงานต่างๆเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรได้ (ในที่นี้ผู้นำคือบุคคล)ส่วนภาวะผู้นำคือ เป็นความสารถที่จะสร้างความเชื่อมั่นและให้การสนับสนุนผลักดันบุคคลเพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์กร (หรือกล่าวง่ายๆว่าภาวะผู้นำคือพฤติกรรม)ทฤษฏีต้นไม้ ผู้นำที่ดีควรมี 3 ลักษณะ(8ทุน) อยู่ในตน v   ลักษณะแรก สามารถนำเสนอแนวความคิดใหม่1.    ทุนความรู้     ใฝ่รู้หมั่นศึกษาหาความรู้2.    ทุนปัญญา     มีสติ3.    ทุนสังคม             มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี คิดบวก4.    ทุน IT         มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์v   ลักษณะที่สอง สามารถสร้างความสุขให้กับตัวเราเองได้5.    ทุนมนุษย์     ได้รับการเลี้ยงดูอย่างดีตั้งแต่ในครรภ์มารดา อยู่ดี กินดี6.    ทุนความสุข   มีความสุขที่เผื่อแผ่คนอื่นได้v   ลักษณะสุดท้าย สามารถสร้างความสุขให้กับผู้อื่นได้7.    ทุนจริยธรรม คุณธรรม           มีจริยธรรมและคุณธรรมในจิตใจ8.    ทุนแห่งความยั่งยืน        มีความมั่นคงและยั่งยืน คุณค่าของผู้นำ/ผู้บริหาร1.    การมุ่งประโยชน์ส่วนรวม ประโยชน์แผ่นดิน (Social/National Interest)2.     ปกครองด้วยหลักธรรมาธิปไตย/ธรรมาภิบาล (Meritocracy/Good Governance)3.    มีความสามารถ (Competence)4.     มีความสำนึกรับผิดชอบ (Accountability)5.     มีความเป็นกลาง (Neutrality) 6.     การมุ่งสัมฤทธิ์ผล (Result Orientation) 7.     ความเป็นมืออาชีพ (Professionalism)  ลักษณะของผู้นำที่ไม่ดี1.    มุ่งแสวงหาประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง2.    ทำตนเข้าสู่กับดักแห่งอำนาจ ยึดมั่นถือมั่น มีอัตตาสูง3.    ขาดความรับผิดชอบ 4.    การไม่สามารถมอบหมายให้ผู้อื่นทำการตัดสินใจแทนตนได้5.    ไม่คิด ไม่สร้างตัวตายตัวแทน6.     แต่งตั้งคนไม่ได้เรื่องมาดำรงตำแหน่งสำคัญ แสดงความไม่เต็มใจที่จะแบ่งบันข้อมูลอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง7.     ขาดความรู้ ขาดความเป็นธรรม 8.    ขาดความสมดุล ขาดเหตุผล ขาดการพอประมาณ9.      ดื้อรั้น ทิฐิ หลงตัวเอง ไม่เชื่อ ไม่ฟังใคร ฯลฯทฤษฏีภาวการณ์เป็นผู้นำ1.    ทฤษฏีเกี่ยวกับลักษณะ  (ยุคโบราณนิยมใช้ แต่ปัจจุบันก็ยังใช้อยู่ เช่น ซีพีก่อนรับคนเข้าทำงานก็ยังมีการดูโหวเฮ้ง)2.    ทฤษฏีทางด้านพฤติกรรม กล่าวถึงพฤติกรรมของผู้นำประเภทต่างๆ3.    ทฤษฏีทางด้านสถานการณ์ เช่น ประเทศไทยหลังปฏิรูปต้องการ นายกที่มีลักษณะสมานฉันท์  เราจึงได้ท่าน สุรยุทธ์มากเป็นนายก ความหมายของความสำเร็จในการบริหารจัดการ ใน ศตวรรษที่ 211.    สามารถต่อกรกับความไม่แน่นอนในธุรกิจตน2.    แสงหา  รักษา  พัฒนากำลังคนให้มีความสามารถอยู่ตลอดเวลา3.    สร้างแนวคิดใหม่ๆในการทำงาน4.    ดำเนินการด้วยความมีประสิทธิภาพ ต้นทุนที่ต่ำได้ผลดี  (ผมคิดว่าควรใช้คำว่ามีประสิทธิภาพและประสิทธิผล น่าจะครอบครุมมากกว่านะครับ5.    แสวงหา รักษา ลูกค้าได้ดี6.    สร้างคุณค่าเพิ่มให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียกับกิจการขององค์กร  ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง   3  หลักการ 2 เงื่อนไข  ได้แก่1.    พอประมาณ2.    มีเหตุผล3.    มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี4.    เงื่อนไขความรู้  รอบรู้  รอบคอบ  ระมัดระวัง5.    เงื่อนไขคุณธรรม  ซื่อสัตย์  มีสติปัญญา  ขยัน  อดทน  แบ่งปันจะนำไปสู่  เศรษฐกิจ  สังคม  สิ่งแวดล้อม  วัฒนธรรม  ที่สมดุลพร้อมที่จะรับการเปลี่ยนแปลงต่อไปในอนาคตฝึกตนเองให้มีภาวะผู้นำ จากแนวคิดหลักเศรษฐกิจพอเพียง กับภาวะผู้นำ 1.    รอบรู้ ใฝ่รู้2.    คู่คุณธรรม3.    มีเหตุ มีผล4.    รู้ตน พอประมาณ5.    มองการณ์ไกล ใส่ใจภูมิคุ้มกัน เศรษฐกิจพอเพียง&ทฤษฏีใหม่ทฤษฏีใหม่ขั้นที่ 1ความพอเพียงระดับบุคคล  นำไปสู่  เศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐานทฤษฏีใหม่ขั้นที่ 2 ความพอเพียงระดับชุมชน/องค์กร  นำไปสู่  เศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้าทฤษฏีใหม่ขั้นที่ 3ความพอเพียงระดับประเทศ นำไปสู่  เศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า พัฒนาตนเองสู่ภาวะผู้นำ 1.    คล่องคิด (Mental Agility) ล่วงรู้ปัญหา รู้แจ้ง เผชิญความยุ่งยากได้หลากหลาย อย่างเป็นสุข มีแง่คิด มีปัญญา2.    คล่องคน (People Agility) รู้เขา รู้เรา เรียนรู้จากประสบการณ์ผู้อื่น สร้างโอกาส เย็นสงบ สุขุม สง่างามภายใต้แรงกดดันได้3.    คล่องผล (Result Agility) ทำให้ผู้คนมีพลังทำงานได้สำเร็จ ให้ผลงานได้เกินคาด สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้อื่น ส่งมอบผลงานที่ยากได้4.    คล่องเปลี่ยน (Change Agility) ใฝ่รู้ สู้ยิ่งยาก ไม่ย่นระย่อ ชอบทดลอง ปรับเปลี่ยน สนใจที่จะพัฒนาตน สร้าง นวัตกรรม     นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้วท่าน อ.ยมได้สอนให้ สังเกตภาวะผู้นำของผู้อื่นโดยการให้สังเกตว่าผู้ที่ออกมาพรีเซ้นต์หน้าชั้นมีพฤติกรรมอย่างไรบ้างและพฤติกรรมข้อใดควรเอาเยี่ยงอย่าง  และมีความรู้และคำพูดคมๆให้ขบคิด  เช่น บุญ คือ  สนใจ  ใส่ใจ  และเอาใจใส่  และที่สำคัญและลืมไม่ได้คือ ซึ่งเป็นปัญหาในการเขียนข้อสอบของผม ท่าน อ.ยมได้เสนอแนะวิธี การพูด  การเขียน Blog หรือข้อสอบ คือ  1.เปิดประเด็น  2.ดำเนินเรื่อง  3.สรุปพร้อมเสนอแนะ  ซึ่งกระผมจะพยายามทำให้ได้และข้อให้ท่าน อ.ยม และท่าน ศ.ดร.จีระ  ช่วยวิจารณ์ผมในเรื่องนี้ด้วย จักเป็นประคุณอย่างสูงครับ
น.ส.ปภาวี นาสุข ID 106142008 MBA 6

ขอสวัสดี  อาจารย์จีระ และ อาจารย์ยม ที่เคารพค่ะ  จากที่ดิฉันได้เรียนวิชา ภาวะผู้นำ สอนโดย อ.ยม นาคสุข  เมื่อวันที่ 23 ก.พ.2550 ทำให้ทราบถึงความหมายของคำว่า ผู้นำ และ ภาวะผู้นำ นั่นก็คือ ผู้นำ หมายถึง ตัวบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ที่มีหน้าที่ในการบริหารจัดการองค์กร เพื่อนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้  ส่วน ภาวะผู้นำ คือ พฤติกรรม และความคิดของผู้นำที่นำมาใช้ในการบริหารจัดการองค์กร ซึ่งผู้นำที่ดีนั้น เป็นสิ่งสำคัญที่จะนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้ และการเป็นผู้นำที่ดีต้องเป็นบุคคลที่มีลักษณะ และความประพฤติตรงกับทฤษฎีที่ว่าด้วยคุณค่าของผู้นำ, ทฤษฎี 8 K’s  และทฤษฎีภาวการณ์เป็นผู้นำที่ดี เป็นต้น ดังที่อาจารย์ได้อธิบายอย่างละเอียดไปแล้วนั้น และสิ่งหนึ่งที่ อาจารย์ได้เน้นย้ำ และดิฉันก็จำได้ขึ้นใจว่า การจะเป็นผู้นำที่ดี มีคสามสามารถ อีกทั้งสามารถพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสได้นั้น สิ่งสำคัญคือ ต้องเป็นผู้นำที่มี  Positive Thinking และให้ความสำคัญกับสิ่งที่เรียกว่าทรัพยากรมนุษย์ Human Resource

                สุดท้ายนี้ดิฉันขอขอบพระคุณท่าน อ.ยม เป็นอย่างสูงที่ช่วยให้ความกระจ่างในความหมายของคำว่า ผู้นำ และภาวะผู้นำได้เป็นอย่างดี ซึ่งแต่ก่อนเข้าใจเพียงแค่ว่า การเป็นคนเก่ง และเป็นคนดี ก็เป็นผู้นำที่ดีได้ แต่จากการที่ได้มาเรียน ทำให้รู้เลยว่า ยังมีกลยุทธ์ต่างๆ อีกมากมายที่จะสร้างเสริมภาวะผู้นำ ให้เป็นผู้นำที่ดีได้
นางสาววิลาวัลย์ พวงอุบล

กรบเรียนท่าน ศ. ดร. จีระ  หงส์ลดารมณ์ , ท่านอาจารย์ยม  นาคสุข  และสวัสดี พี่ ๆ ทีมงานที่น่ารักทุกท่าน

 เมื่อวันอาทิตย์ที่ 4  กุมภาพันธ์ 2550  ที่ผ่านมา  ดิฉันรู้สึกยินดีเป็นอย่ายิ่งที่ได้มีโอกาสฟังการบรรยายขอท่าน Mr. Leigh Scott  ในหัวข้อเรื่อง “Leadership & Coaching”  ซึ่งเป็นหัวข้อที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก  และที่ขาดเสียมิได้คือ อาจารย์ยม  นาคสุข  ที่ช่วยกรุณาถ่ายทอดเป็นภาษาไทยได้อย่างดีเยี่ยม  ขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะค่ะ  และดิฉันขอชื่นชมในความตั้งใจจริงของท่านอาจารย์ Mr. Leigh Scott  ที่ท่านได้ทำเอกสารการเรียนการสอนเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ  เนื้อหาในวันนั้น  เริ่มด้วยการทำความเข้าใจรูปแบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ  หรือทฤษฎีของ  ซูนวู  ที่ว่า  “รู้เขา  รู้เรา”  เพราะทำให้เรารู้ว่าคนที่เราทำงานด้วยนั้นมีพฤติกรรมเช่นไร  โดยท่านอาจารย์ Mr. Leigh Scott  ให้นักศึกษาทำแบบสอบถาม  I- Speak Your Longuage เพื่อให้นักศึกษารู้จักตัวเองก่อนว่ามีพฤติกรรมเช่นไร  ควรปรับปรุงอะไร  เพราะการทำงานที่มีประสิทธิภาพนั้น  จะต้องพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  ฉะนั้นผู้นำต้องเน้นคน  เน้นงาน  และมองการณ์ไกล
 ในช่วงบ่าย  ได้รับเกียรติอย่างสูงจากท่านทูต  ดร. พิทยา  พุกมาน  ได้กรุณาบรรยายเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจ  ระหว่างญี่ปุ่นกับอาเจนตินา  ท่านพูดถึงประเทศญี่ปุ่น  ว่าทำไมถึงได้เจริญมากกว่าหลาย ๆ ประเทศในภูมิภาคเอเชีย  ทั้ง ๆ ที่ญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงคราม  อีกทั้งภูมิประเทศก็มีทรัพยากรธรรมชาติน้อย  แต่ญี่ปุ่นมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ  อีกทั้งระบบการบริหารงานก็เข็มแข็งกว่าประเทศไทย  คนญี่ปุ่นพัฒนาตนเองอยู่เสมอ  ท่านอาจารย์ ดร. พิทยา  ได้สรุปเป็นบัญญัติ  10  ประการ  ดังนี้
1. ความมีวินัย  คนญี่ปุ่นถือเรื่องการตรงต่อเวลามาก
2. ความขยัน  อดทนเป็น
3. Enterpire Sperit  กล้าริเริ่มสิ่งใหม่ ๆ
4. Team Work  คนญี่ปุ่นยึดฉันทามติ จงรักภักดีต่อองค์กร  ทำงานแบบอุทิศ  ทุ่มเท
5. มีนิสัยรักการอ่าน
6. รักความสะอาด  ความบริสุทธิ์
7. มีความรับผิดชอบต่อสังคมสูง
8. มีมารยาททางสังคม  ซึ่งถือเป็นจุดเด่นของญี่ปุ่น
9. หยิ่งในศักดิ์ศรี
10. พัฒนาตลอดเวลา  ไม่หยุดนิ่ง  และกระตือรือร้น
ในส่วน  ลาตินอเมริการ  นั้นประชาชนส่วนใหญ่เป็นพวกรักสวยรักงาม ใช้ชีวิตหรูหร่า  ฟุ่มเฟือย  ไม่มีวินัยทางการเงิน ฯลฯ  ซึ่งก็ทำให้ได้มุมมองว่าประเทศไทยควรนำแบบอย่างในด้านดี  ของทั้ง 2 ประเทศมาใช้  เพื่อให้เกิดประโยชน์  และพัฒนาประเทศให้ก้าวไปสู่ประเทศผู้นำในอนาคต  ต่อไป
 

จริยา ลิ้มธรรมรักษ์ MBA ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด

 จาก

จริยา ลิ้มธรรมรักษ์ เมื่อ อ. 27 ก.พ. 2550 @ 22:09 (177366)

วัสดีค่ะศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ อ.ยม นาคสุข และผู้อ่านทุกท่าน  

 

    ตามที่อาจารย์ยม นาคสุขได้ให้เกียรติมาสอนวิชาภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงในวันที่ 23 -24 กุทภาพันธ์ 2550 ทำให้ดิฉันรู้สึกประทับใจและได้ความรู้เพิ่มมากค่ะ โดยอาจารย์ได้เริ่มสอนในหัวข้อเรื่องดังนี้

 

1.  โลกปัจจุบันยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง

 

-คนงานส่วนใหญ่ในปัจจุบันนี้สามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา มีความฉลาดขึ้น ดังนั้นกฎระเบียบการทำงานแบบเก่าๆ ไม่สามารถใช้ได้แล้ว

 

-PEST {politic economic social technology} เป็นปัจจัยภายนอกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีผลกระทบต่อภาวะผู้นำ

 

-ความต้องการของลูกค้าเปลี่ยนแปลงปริมาณและคุณภาพ ถ้าไม่ปรับเปลี่ยน ลูกค้าจะเปลี่ยนแปลงไปซื้อรายอื่น        

 

2. ปัจจัยแห่งความสำเร็จขององค์กร

 

-สามารถต่อกรกับความไม่แน่นอนในธุรกิจของตนที่นับวันยากแก่การคาดคะเน

 

-แสวงหา รักษา พัฒนากำลังคนให้มีความสามารถอยู่เป็นนิจ

 

-สร้างแนวคิดใหม่ๆของการงานของตนอยู่เสมอ

 

-ดำเนินการด้วยความมีประสิทธิภาพ ต้นทุนที่ต่ำได้ผลดี

 

-แสวงหา รักษาลูกค้าได้ดี

 

-สร้างคุณค่าเพิ่มให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับกิจกรรมขององค์กร

 

-โดยการสร้างความได้เปรียบขององค์กรในการแข่งขันเรื่องคน ถ้าคนในองค์กรนั้นเก่ง และดี องค์กรนั้นจะได้เปรียบ

 

3.ผู้นำ หมายถึงบุคคลที่มีอิทธิพลต่อกลุ่มและความสามารถนำกลุ่มปฏิบัติงานต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ 

 

ภาวะผู้นำ หมายถึง เป็นความสามารถที่จะสร้างความเชื่อมั่นและให้การสนับสนุนผลักดันบุคคลเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร      

 

3.1ผู้นำที่ฉลาดควรมีลักษณะดังนี้      

-สามารถเสนอแนวความคิดใหม่ คือมีทุนความรู้ ทุนปัญญา ทุนทางสังคม ทุนทางIT       

 

-สามารถสร้างความสุขให้กับตนเองได้ คือมีทุนความเป็นมนุษย์  ทุนทางความสุข      

 

-สามารถสร้างความสุขให้กับผู้อื่นได้ คือ มีทุนทางจริยธรรมคุณธรรม ทุนแหเงความยั่งยืน      

 

3.2คุณค่าของผู้นำ      

 

-การมุ่งประโยชน์ส่วนรวม      

-ปกครองด้วยหลักธรรมาธิปไตย/ธรรมาภิบาล      

-มีความสามารถ      

-มีความสำนึกรับผิดชอบ      

-มีความเป็นกลาง      

-การมุ่งสัมฤทธิ์ผล      

-ความเป็นมืออาชีพ

 

*****ผู้นำที่ดีต้องมีภาวะผู้นำ ซึ่งเป็นพลังขับเคลื่อนพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ******

 

เช่น BILL GATES มีภาวะผู้นำคือใฝ่รู้ คิดสร้างสรรค์ คิดนอกกรอบข้ามศาสตร์ มีอัฉริยะทางปัญญา กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ      

 

3.3ผู้นำต้องมีการสร้างและรักษาอำนาจ ซึ่งจะเกิดได้จาก      

 

-การให้(ให้โอกาส ให้ความรู้ ให้อภัย)

-การติด้วยความเมตตา

-การแสดงเป็นผู้รู้มากกว่าลูกน้อง

-อำนาจสร้างได้ด้วยการอ้างอิง

-อำนาจทางนิติกรรม      

 

4.กรอบแนวความคิด ทฤษฎี               

4.1ทฤษฎีเกี่ยวกับลักษณะ : ลักษณะและทักษะของผู้นำที่ดีจะทำงานสำเร็จด้วยดีและเป็นที่พอใจของผู้ใต้บังคับบัญชาจะทำให้เกิดประสิทธิภาพ             

 

4.2ทฤษฎีทางด้านพฤติกรรม               

4.3ทฤษฎีทางด้านสถานการณ์      

 

5.สมรรถนะของผู้นำยุคใหม่               

 

5.1ศักยภาพในการเปลี่ยนแปลง             

 

-การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง มีการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ตระหนักถึงผลกระทบจากภายนอก ความยืดหยุ่น จูงใจใฝ่บริหาร การคิดเชิงกลยุทธ์  มองการณ์ไกลได้ดี             

 

5.2ศักยภาพในการเป็นผู้นำ             

-การบริหารความขัดแย้ง ตระหนักในคุณค่าทางนวัตกรรม ความจงรักภักดี สร้างทีมงาน             

 

5.3มุ่งไปสู่ผลลัพธ์             

-ความรับผิดชอบ การให้บริการลูกค้า การตัดสินใจ ความเป็นผู้ประกอบการ การแก้ไขปัญหา มีเทคนิคที่เชื่อถือได้             

 

5.4ความเฉียบคมทางการบริหาร             

 

-มีความรู้ลึก มีวิสัยทัศน์ บริหารเชิงรุกเช่น CEO concept ผู้นำต้องสนใจ customer satisfaction,employee satisfaction,organization result             

 

5.5การสร้างความเข้าใจ/การติดต่อสื่อสาร             

 

-การเจรจาต่อรอง การโน้มน้าวใจ ความสามารถในการสื่อสารด้วยวาจา ความสามารถในการมีส่วนร่วม ความรอบรู้ด้านการเมือง ความสามารถในการสื่อสารด้วยการเขียน      

 

6.แนวทางการพัฒนาตนเองสู่ภาวะผู้นำที่เป็นเลิศ

 

-ภาวะผู้นำตามทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง (3ห่วง2เงื่อนไข)คือ

 

3 ห่วงคือผู้นำต้องมีเหตุมีผล มีความพอดีพอประมาณ มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี

 

2 เงื่อนไขคือ เงื่อนไขความรู้(รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง) เงื่อนไขคุณธรรม(ซื่อสัตย์สุจริต สติปัญญาขยันอดทน แบ่งปัน)

 

สรุปและข้อเสนอแนะ      

 

คนเมื่อมีทุนมนุษย์ที่ (ได้รับการเลี้ยงดู อบรมสั่งสอนมาอย่างดี) จะทำให้สามารถเป็นผู้นำที่ดี และต้องมีภาวะผู้นำคือ มีความคิดดี {positive ting} มีอัตตาต่ำมีทุนทั้ง 8 ประการดังที่ได้กล่าวมาแล้ว มีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลง เป็นผู้นำที่ความเฉียบคมทางการบริหาร  มุ่งสัมฤทธิ์ผล สร้างความเข้าใจ ภาวะผู้นำในอนาคตควรจะต้องมีทุนแห่งความพอเพียงเพิ่มขึ้นมารวมทั้งในการปกครองภาครัฐและภาคเอกชน คือมีความรอบรู้ มีคุณธรรม มีเหตุมีผล รู้จักประมาณ มีภูมิคุ้มกัน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้องค์กรไปสู่ความสำเร็จ และมีภาวะผู้นำที่ยั่งยืน      

 

**ข้อแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนายกรัฐมนตรีในอนาคตของประเทศไทย ควรจะมีภาวะผู้นำแบบไหน      

-ต้องมาจากการเมือง  รอบรู้เรื่องเศรษฐศาสตร์    ต้องมีความสนใจ ใส่ใจ เอาใจใส่เห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก   ต้องศึกษาหาความรู้อยู่ตลอดเวลาเป็นความรู้ที่สด    มีความเป็นนักวิชาการ รู้แล้วถ่ายทอดได้    มีความเป็น GLOBALIZATION

 

7.ภาพรวมของการจัดการทรัพยากรมนุษย์      

 

การบริหารทรัพยากรมนุษย์ เป็นศิลปะการจัดการเกี่ยวกับบุคคล ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงาน เพื่อให้งานบรรลุผลตามเป้าหมายขององค์การอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ปฏิบัติงาน  

 

หน้าที่ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์คือ 1.สรรหา 2. พัฒนา 3.รักษาไว้ 4.ใช้ประโยชน์ 

 

**จักรยานนานไปก็เสื่อม แต่คนถ้าทะนุบำรุง พัฒนา ยิ่งนานยิ่งเก่งกล้า แต่ในทำนองเดียวกัน คนถ้าไม่ดูแลพัฒนาก็เสื่อมหรือเสื่อมเร็วกว่าวัตถุด้วย**

 

การบริหารจัดการองค์กรยุคใหม่ คือ ใช้คนน้อย มืออาชีพ มีมาตรฐานทางคุณธรรม จริยธรรม โปร่งใส พร้อมรับผิด มีการทำข้อตกลงหรือผิดสัญญา

 

จริยา ลิ้มธรรมรักษ์

106242001 MBA7

ราเชนทร์ แดงโรจน์ MBA ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด
จาก นายราเชนทร์ แดงโรจน์ เมื่อ พ. 28 ก.พ. 2550 @ 10:35 (177932) มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด (หัวหิน)
 
 หลักสูตร บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตรหัสวิชา / ชื่อวิชา ภว.524 ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลงในองค์กร

อาจารย์ผู้สอน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และทีม Chira Academy

  

ในการสอนของอาจารย์ยม นาคสุข ในวันศุกร์ ที่ 23 และ เสาร์ ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2550 มีคำถามให้กับนักศึกษาในชั้นเรียนว่า ทั้ง 2 วันที่ผ่านมานั้นเรียนกับอาจารย์แล้วได้อะไร?”

 

ผมเป็นหนึ่งในนักศึกษาในชั้นเรียนที่อาจารย์ยมสอน เนื้อหาที่อาจารย์สอนจะครอบคลุมเน้นในเรื่อง ความหมายของผู้นำและภาวะผู้นำทำให้สิ่งที่ผมได้รับคือ

  1. ได้เข้าใจความหมายของผู้นำ และภาวะผู้นำ แยกออกจากกันโดยชัดเจน
  2. ผู้นำที่ดีควรมีคุณสมบัติอย่างไร / แนวทางสู่การเป็นผู้นำที่ดีแห่งยุค
  3. สมรรถนะหลัก 5 ด้าน นำสู่ภาวะผู้นำ
  4. ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 
  5.  แนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำ
  6. ความหมายของความสำเร็จในการบริหารจัดการในศตวรรษที่ 21
 

จากความรู้ดังกล่าวข้างต้น ผมสามารถนำกลับมาใช้พิจารณาปรับปรุงตนเองในส่วนที่ขาดหรือยังไม่เคยปฏิบัติหรือปฏิบัติยังไม่ถูกต้องในฐานะส่วนที่จะต้องแสดงบทบาทเป็นผู้นำ

  

ตลอดจนสามารถนำความรู้ดังกล่าวข้างต้นมาประยุกต์เป็นแผนงานใช้กับองค์กรที่ทำงานอยู่ในปัจจุบัน พร้อมกับนึกถึงสังคมไทย ในแง่มุมของผู้นำประเทศไทยในอดีต, ปัจจุบัน และอนาคตที่อาจจะมีการเลือกตั้งรัฐบาลที่มาจากประชามติของประชาชนชาวไทย ที่คาดว่าจะมีการเลือกตั้งภายในปี 2550 นี้ ว่าผู้นำของประเทศไทยควรจะมีคุณสมบัติและมีภาวะผู้นำอย่างไร

  

ซึ่งในฐานะที่เราเป็นประชาชนคนไทยที่มีสิทธิออกเสียงคงจะต้องพิจารณาและชี้ชวนให้บุคคลรอบข้างเลือกผู้นำในแนวทางที่อาจารย์ได้สอน หรือมีภาวะผู้นำใกล้เคียงกับทฤษฎี เนื่องจากผู้นำจะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงมาสู่สังคมไทยจากสังคมที่เล็กที่สุด คือ ครอบครัว และครอบครัวใหญ่ ก็คือประเทศชาติว่าจะมีทิศทางหรือแนวโน้มดีหรือไม่ดีได้อย่างไร

  

ราเชนทร์ แดงโรจน์

 รหัส 106242005 

ชื่อ: Jaruwan Yunprayong ( Finn) MBA 6 106142009


อีเมล: [email protected]


ชื่อเรื่อง: ได้อะไรจากการเรียน ภาวะการเป็นผู้นำ (Feb 23-24,2007)

เนื้อความ:

 

  1. ได้รู้เรียนรู้หลักการเป็นผู้นำที่ดี รายละเอียดตามที่ อาจารย์สอน และสามารถอ่านในหนังสือและชีทประกอบการสอน จึงไม่ได้เขียนนะค๊ะ
    เพราะลอกในชีทได้....ฝิ่นว่าอาจารย์ก็รู้อยู่ดีว่าลอกมาจากชีท
  2. ได้เห็นการแสดงออกและความคิด รวมทั้งวิสัยทัศน์ของเพื่อนๆในห้อง
    ที่แตกต่างกันไป
  3. ได้เห็นการ present ของเพื่อนๆ ในห้องที่แตกต่างกันและสามารถนำข้อดีของแต่ละคนมาพัฒนาตัวเองได้
  4. ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องต่างกับเพื่อนๆ และอาจารย์ซึ่งแต่ละคนก็มีความคิดเห็นและมุมมองต่างกัน ทำให้เราได้มองเห็นอีกมุมหนึ่งที่คิดไม่ถึง
  5. เป็นการวัดความรู้รอบตัวของแต่ละกลุ่มที่ออกมา persent ด้วย เพราะบางเรื่องที่เพื่อนพูดเราก็ไม่เคยรู้ และเรื่องที่เราพูดเพื่อนบางคนก็ไม่เคยรู้เช่นกัน
  6. ได้รู้ว่าเพื่อนๆ แต่ละคนมีประสบการณ์แตกต่างกัน เพราะบางคนกล้าที่จะแสดงออกและมีความเป็นผู้นำในตัวเองจากการที่ได้แสดงออกมา และบางคนก็ยังอายและประหม่าในการพูด ซึ่งทำให้เห็นถึงชั่วโมงบินที่ต่างกัน
    หมายถึงประสบการณ์ที่ต่างกัน
  7. การที่อาจารย์ comment ในการ present ของแตละคนเป็นข้อดี ทำให้ทุกคนสามารถนำไปปรับปรุงในสิ่งที่บกพร่องได้
  8. นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้เลย
  9. เรียนแล้วอยากเป็นผู้นำที่ดี และเก่งค่ะ
  10. อยากให้ถึงวันศุกร์เร็วๆ

ค่ะ จะได้เรียนอีก....


------------------------------------------------------------
อีเมลฉบับนี้ส่งมาจาก
203.113.28.4


ขอบคุณ

Jaruwan

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ /นักศึกษา MBA ม.นานาชาติสแตมฟอร์ด หัวหินและผู้อ่านทุกท่าน จาการที่ได้เข้ารับการศึกษาเมื่อวันศุกร์และเสาร์ที่ผ่านมาพอที่จะสรุปใจความสำคัญต่างๆที่ได้เรียนรู้จากท่าน อ.ยม ดังนี้  1.   โลกปัจจุบันยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง2.   ปัจจัยแห่งความสำเร็จขององค์กร3.   ความหมาย ผู้นำ ภาวะผู้นำ คุณลักษณะของผู้นำ 4.   กรอบแนวความคิด แนวคิดทฤษฎีฯ5.   สมรรถนะของผู้นำยุคใหม่6.   แนวทางการพัฒนาตนเองสู่ภาวะผู้นำที่เป็นเลิศ7.   กิจกรรมกลุ่มแต่ที่ท่าน อ.ยม ได้เน้นเป็นพิเศษได้แก่ ·       ความแตกต่างระหว่างผู้นำและภาวะผู้นำ·       ทฤษฏี 8 k’s (ทฤษฏีต้นไม้) ·       ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงผู้นำคือ บุคคลที่มีอิทธิพลต่อกลุ่มและสามารถนำกลุ่มปฏิบัติงานต่างๆเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรได้ (ในที่นี้ผู้นำคือบุคคล)ส่วนภาวะผู้นำคือ เป็นความสารถที่จะสร้างความเชื่อมั่นและให้การสนับสนุนผลักดันบุคคลเพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์กร (หรือกล่าวง่ายๆว่าภาวะผู้นำคือพฤติกรรม)ทฤษฏีต้นไม้ ผู้นำที่ดีควรมี 3 ลักษณะ(8ทุน) อยู่ในตน v   ลักษณะแรก สามารถนำเสนอแนวความคิดใหม่1.   ทุนความรู้     ใฝ่รู้หมั่นศึกษาหาความรู้2.   ทุนปัญญา     มีสติ3.   ทุนสังคม             มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี คิดบวก4.   ทุน IT         มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์v   ลักษณะที่สอง สามารถสร้างความสุขให้กับตัวเราเองได้5.   ทุนมนุษย์     ได้รับการเลี้ยงดูอย่างดีตั้งแต่ในครรภ์มารดา อยู่ดี กินดี6.   ทุนความสุข   มีความสุขที่เผื่อแผ่คนอื่นได้v   ลักษณะสุดท้าย สามารถสร้างความสุขให้กับผู้อื่นได้7.   ทุนจริยธรรม คุณธรรม           มีจริยธรรมและคุณธรรมในจิตใจ8.   ทุนแห่งความยั่งยืน        มีความมั่นคงและยั่งยืน คุณค่าของผู้นำ/ผู้บริหาร1.   การมุ่งประโยชน์ส่วนรวม ประโยชน์แผ่นดิน (Social/National Interest)2.    ปกครองด้วยหลักธรรมาธิปไตย/ธรรมาภิบาล (Meritocracy/Good Governance)3.   มีความสามารถ (Competence)4.    มีความสำนึกรับผิดชอบ (Accountability)5.    มีความเป็นกลาง (Neutrality) 6.    การมุ่งสัมฤทธิ์ผล (Result Orientation) 7.    ความเป็นมืออาชีพ (Professionalism)  ลักษณะของผู้นำที่ไม่ดี1.   มุ่งแสวงหาประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง2.   ทำตนเข้าสู่กับดักแห่งอำนาจ ยึดมั่นถือมั่น มีอัตตาสูง3.   ขาดความรับผิดชอบ 4.   การไม่สามารถมอบหมายให้ผู้อื่นทำการตัดสินใจแทนตนได้5.   ไม่คิด ไม่สร้างตัวตายตัวแทน6.    แต่งตั้งคนไม่ได้เรื่องมาดำรงตำแหน่งสำคัญ แสดงความไม่เต็มใจที่จะแบ่งบันข้อมูลอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง7.    ขาดความรู้ ขาดความเป็นธรรม 8.   ขาดความสมดุล ขาดเหตุผล ขาดการพอประมาณ9.     ดื้อรั้น ทิฐิ หลงตัวเอง ไม่เชื่อ ไม่ฟังใคร ฯลฯทฤษฏีภาวการณ์เป็นผู้นำ1.   ทฤษฏีเกี่ยวกับลักษณะ  (ยุคโบราณนิยมใช้ แต่ปัจจุบันก็ยังใช้อยู่ เช่น ซีพีก่อนรับคนเข้าทำงานก็ยังมีการดูโหวเฮ้ง)2.   ทฤษฏีทางด้านพฤติกรรม กล่าวถึงพฤติกรรมของผู้นำประเภทต่างๆ3.   ทฤษฏีทางด้านสถานการณ์ เช่น ประเทศไทยหลังปฏิรูปต้องการ นายกที่มีลักษณะสมานฉันท์  เราจึงได้ท่าน สุรยุทธ์มากเป็นนายก ความหมายของความสำเร็จในการบริหารจัดการ ใน ศตวรรษที่ 211.   สามารถต่อกรกับความไม่แน่นอนในธุรกิจตน2.   แสงหา  รักษา  พัฒนากำลังคนให้มีความสามารถอยู่ตลอดเวลา3.   สร้างแนวคิดใหม่ๆในการทำงาน4.   ดำเนินการด้วยความมีประสิทธิภาพ ต้นทุนที่ต่ำได้ผลดี  (ผมคิดว่าควรใช้คำว่ามีประสิทธิภาพและประสิทธิผล น่าจะครอบครุมมากกว่านะครับ5.   แสวงหา รักษา ลูกค้าได้ดี6.   สร้างคุณค่าเพิ่มให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียกับกิจการขององค์กร  ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง   3  หลักการ 2 เงื่อนไข  ได้แก่1.   พอประมาณ2.   มีเหตุผล3.   มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี4.   เงื่อนไขความรู้  รอบรู้  รอบคอบ  ระมัดระวัง5.   เงื่อนไขคุณธรรม  ซื่อสัตย์  มีสติปัญญา  ขยัน  อดทน  แบ่งปันจะนำไปสู่  เศรษฐกิจ  สังคม  สิ่งแวดล้อม  วัฒนธรรม  ที่สมดุลพร้อมที่จะรับการเปลี่ยนแปลงต่อไปในอนาคตฝึกตนเองให้มีภาวะผู้นำ จากแนวคิดหลักเศรษฐกิจพอเพียง กับภาวะผู้นำ 1.   รอบรู้ ใฝ่รู้2.   คู่คุณธรรม3.   มีเหตุ มีผล4.   รู้ตน พอประมาณ5.   มองการณ์ไกล ใส่ใจภูมิคุ้มกัน เศรษฐกิจพอเพียง&ทฤษฏีใหม่ทฤษฏีใหม่ขั้นที่ 1ความพอเพียงระดับบุคคล  นำไปสู่  เศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐานทฤษฏีใหม่ขั้นที่ 2 ความพอเพียงระดับชุมชน/องค์กร  นำไปสู่  เศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้าทฤษฏีใหม่ขั้นที่ 3ความพอเพียงระดับประเทศ นำไปสู่  เศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า พัฒนาตนเองสู่ภาวะผู้นำ 1.   คล่องคิด (Mental Agility) ล่วงรู้ปัญหา รู้แจ้ง เผชิญความยุ่งยากได้หลากหลาย อย่างเป็นสุข มีแง่คิด มีปัญญา2.   คล่องคน (People Agility) รู้เขา รู้เรา เรียนรู้จากประสบการณ์ผู้อื่น สร้างโอกาส เย็นสงบ สุขุม สง่างามภายใต้แรงกดดันได้3.   คล่องผล (Result Agility) ทำให้ผู้คนมีพลังทำงานได้สำเร็จ ให้ผลงานได้เกินคาด สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้อื่น ส่งมอบผลงานที่ยากได้4.   คล่องเปลี่ยน (Change Agility) ใฝ่รู้ สู้ยิ่งยาก ไม่ย่นระย่อ ชอบทดลอง ปรับเปลี่ยน สนใจที่จะพัฒนาตน สร้าง นวัตกรรม     นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้วท่าน อ.ยมได้สอนให้ สังเกตภาวะผู้นำของผู้อื่นโดยการให้สังเกตว่าผู้ที่ออกมาพรีเซ้นต์หน้าชั้นมีพฤติกรรมอย่างไรบ้างและพฤติกรรมข้อใดควรเอาเยี่ยงอย่าง  และมีความรู้และคำพูดคมๆให้ขบคิด  เช่น บุญ คือ  สนใจ  ใส่ใจ  และเอาใจใส่  และที่สำคัญและลืมไม่ได้คือ ซึ่งเป็นปัญหาในการเขียนข้อสอบของผม ท่าน อ.ยมได้เสนอแนะวิธี การพูด  การเขียน Blog หรือข้อสอบ คือ  1.เปิดประเด็น  2.ดำเนินเรื่อง  3.สรุปพร้อมเสนอแนะ  ซึ่งกระผมจะพยายามทำให้ได้และข้อให้ท่าน อ.ยม และท่าน ศ.ดร.จีระ  ช่วยวิจารณ์ผมในเรื่องนี้ด้วย จักเป็นประคุณอย่างสูงครับ
นางสาวปณิธาน เชื้อชาติ MBA 6 ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด หัวหิน

 สวัสดี ดร.จีระ และผู้อ่านทุกท่าน

จากที่ดิฉันได้เรียนในห้องวันที่ 23-24 กุมภาพันธ์ 2550 ทำให้ทราบถึงเนื้อหาดังนี้ผู้นำ  คือ บุคคลที่มีอิทธิพลต่อกลุ่ม และสามารถนำกลุ่มปฏิบัติงานต่างๆเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ ภาวะผู้นำ  เป็นความสามารถที่จะสร้างความเชื่อมั่นและให้การสนับสนุนผลักดันบุคคลเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร  ลักษณะผู้นำที่ดีผู้นำที่ฉลาดควรมี 3 ลักษณะอยู่ในตน1.  สามารถนำเสนอความคิดใหม่
  • ทุนความรู้
  • ทุนปัญญา
  • ทุนทางสังคม
2.  สามารถสร้างความสุขให้กับตนเองได้
  • ทุนความเป็นมนุษย์
  • ทุนทางความสุข
3.  สามารถสร้างความสุขให้กับคนอื่นได้
  • ทุนจริยธรรม คุณธรรม
  • ทุนแห่งความยั่งยืน
คุณค่าของผู้นำ/ผู้บริหาร
  1. การมุ่งประโยชน์ส่วนรวม ประโยชน์แผ่นดิน
  2.  ปกครองด้วยหลักธรรมาธิปไตย/ธรรมาภิบาล
  3. มีความสามารถ
  4.  มีความสำนึกรับผิดชอบ
  5.  มีความเป็นกลาง
  6.  การมุ่งสัมฤทธิ์ผล
  7.  ความเป็นมืออาชีพ
ลักษณะของผู้นำที่ไม่ดี
  1. มุ่งแสวงหาประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง
  2. ทำตนเข้าสู่กับดักแห่งอำนาจ ยึดมั่นถือมั่น มีอัตตาสูง
  3. ขาดความรับผิดชอบ
  4. การไม่สามารถมอบหมายให้ผู้อื่นทำการตัดสินใจแทนตนได้
  5. ไม่คิด ไม่สร้างตัวตายตัวแทน
  6.  แต่งตั้งคนไม่ได้เรื่องมาดำรงตำแหน่งสำคัญ แสดงความไม่เต็มใจที่จะแบ่งบันข้อมูลอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง
  7.  ขาดความรู้ ขาดความเป็นธรรม
  8. ขาดความสมดุล ขาดเหตุผล ขาดการพอประมาณ
  9.   ดื้อรั้น ทิฐิ หลงตัวเอง ไม่เชื่อ ไม่ฟังใคร ฯลฯ
ทฤษฎีภาวะการเป็นผู้นำ
  1. ทฤษฎีเกี่ยวกับลักษณะ
  2. ทฤษฎีทางด้านพฤติกรรม
  3. ทฤษฎีทางด้านสถานการณ์
พัฒนาตนเองสู่ภาวะผู้นำ
  1. คล่องคิด  ล่วงรู้ปัญหา รู้แจ้ง เผชิญความยุ่งยากได้หลากหลาย อย่างเป็นสุข มีแง่คิด มีปัญญา
  2. คล่องคน  รู้เขา รู้เรา เรียนรู้จากประสบการณ์ผู้อื่น สร้างโอกาส เย็นสงบ สุขุม สง่างามภายใต้แรงกดดันได้
  3. คล่องผล  ทำให้ผู้คนมีพลังทำงานได้สำเร็จ ให้ผลงานได้เกินคาด สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้อื่น ส่งมอบผลงานที่ยากได้
  4. คล่องเปลี่ยน ใฝ่รู้ สู้ยิ่งยาก ไม่ย่นระย่อ ชอบทดลอง ปรับเปลี่ยน สนใจที่จะพัฒนาตน สร้างนวัตกรรม
สรุป การที่จะเป็นผู้นำที่ดีต้องมีภาวะผู้นำ องค์กรจะสำเร็จได้อยู่ที่ภาวะผู้นำที่มีอัตราต่ำ และต้องมีPositive Thinking  ผู้นำต้องคิดบวกมากกว่าคิดลบ และมองลูกน้องต้องมอง 2 ด้าน จึงจะทำให้องค์กรประสบผลสำเร็จ
นางสาวนภาพร พิพัฒน์ MBA 6 ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด หัวหิน
สวัสดี ดร.จีระ และผู้อ่านทุกท่าน          จากที่ดิฉันได้เรียนในห้องทำให้ทราบถึงคำว่าผู้นำหมายถึง บุคคลที่มีอิทธิพลต่อกลุ่มและสามารถนำกลุ่มปฏิบัติงานต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร ภาวะผู้นำหมายถึงความสามารถที่จะสร้างความเชื่อมันและให้การสนับสนุน ผลักดันบุคคล เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรทฤษฎีภาวะการณ์เป็นผู้นำแบ่งออกเป็นดังนี้
  1. ทฤษฎีเกี่ยวกับลักษณะ
  2. ทฤษฎีทางด้านพฤติกรรม
  3. ทฤษฎีทางด้านสถานการณ์
สรุป ผู้นำคือตัวบุคคล ภาวะผู้นำคือพฤติกรรม การเป็นผู้นำที่ดีนั้นต้องมีภาวะผู้นำรวมอยู่ด้วย และสิ่งที่สำคัญคือคุณค่าของผู้นำเอง จึงจะทำให้องค์กรประสบผลสำเร็จถึงเป้าหมายอย่างดีเยี่ยม นางสาวนภาพร  พิพัฒน์  รหัส 106142007
นายเตชะสิทธิ์ หอมฟุ้ง MBA 6 ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด หัวหิน
 สวัสดี ดร.จีระ และผู้อ่านทุกท่าน 

จากการที่ได้เรียนในวิชา ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลงในองค์กร ทำให้ผมได้ทราบถึงเนื้อหาดังนี้

 

ผู้นำ (Leader) คือ บุคคลที่มีอิทธิพลต่อกลุ่ม และสามารถนำกลุ่มปฏิบัติงานต่างๆเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ 

 ภาวะผู้นำ Leadership เป็นความสามารถที่จะสร้างความเชื่อมั่นและให้การสนับสนุนผลักดันบุคคลเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร  ทฤษฎีภาวะการเป็นผู้นำ1.      ทฤษฎีเกี่ยวกับลักษณะ 2.      ทฤษฎีทางด้านพฤติกรรม3.      ทฤษฎีทางด้านสถานการณ์  1.   ทฤษฎีเกี่ยวกับลักษณะ   มีความเชื่อว่า ผู้นำที่มีคุณลักษณะดี จะนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จตามศาสตร์ของจีน มีการเก็บข้อมูลลักษณะของผู้นำว่า มีลักษณะสูงใหญ่ คิ้วดก ขนดกดำ สังเกตจากรูปภาพแม่ทัพจีนโบราณ ซุนวู เป็นต้น สัตว์ป่าจ่าฝูง เพศผู้จะมีลักษณะโครงสร้างใหญ่ มีขนสวยสง่างาม เป็นต้น ต่อมาภายหลังมีการพัฒนาการศึกษาลักษณะผู้นำ ว่าเป็นผู้ที่มีลักษณะ ดังนี้
  • มีความทะเยอทะยาน (Ambition)
  • มีความอุสาหะพากเพียร (Persistence)
  • มีความกล้าหาญ (Courage)
  • มีความเชื่อถือศรัทธา (Faith)
  • มีความซื่อสัตย์มั่นคง (Integrity)
  • มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creativity)
  • มีความยุติธรรม (Justice)
  • มีจุดมุ่งหมาย (Objectivity)
  • มีความยืดหยุ่น (Flexibility)
  • มีความสามารถในการตัดสินใจ (Decisiveness)
  • มีวินัยในตนเอง (Self-Discipline)
 2. ทฤษฎีทางด้านพฤติกรรม 
  • ผู้นำที่เน้นความสนใจที่คน ไม่ค่อยเน้นที่งาน
  • ผู้นำที่ไม่สนใจทั้งงานและคน
  • ผู้นำที่เอาใจใส่ทั้งคนและงาน
  • ผู้นำที่เน้นความสนใจที่งาน ไม่ค่อยเน้นที่คน
  • ผู้นำที่เดินสายกลาง
 3. ทฤษฎีทางด้านสถานการณ์
  • เมื่อสถานการณ์เอื้อต่อการใช้ความเป็นผู้นำ กลุ่มจะตั้งใจทำงานโดยไม่ต้องมีการคะยั้นคะยอมาก
  • บุคคลแต่ละคนจึงควรทำงานในสถานการณ์ที่เหมาะกับแบบภาวะการเป็นผู้นำของเขา
  • ต้องเปลี่ยนแปลงสถานการณ์เพื่อให้สอดคล้องกับแบบภาวะการเป็นผู้นำของเขาเอง
  • (The Hersey-Blanchard Life Cycle Theory of Leadership) 
 สรุป  การที่จะเป็นผู้นำที่ดีจะต้องเป็นคนที่ใฝ่เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา คิดแบบสร้างสรรค์ คิดนอกกรอบ กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ  และ ผู้นำคือตัวบุคคล ภาวะผู้นำคือการกระทำ

 

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ / นักศึกษา MBA ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด (หัวหิน) และท่านผู้อ่านทุกท่าน

การที่เราได้เข้ามาเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยนั้นผมคิดว่าการเรียนในสิ่งที่เราไม่รู้มาก่อนจะทำให้เราได้รับรู้มากขึ้นเพราะเราจะได้มุมมองที่กว้างไกลจากเดิมมากขึ้น  "ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลงในองค์กร" ทำให้ผู้บริหารต้องเปลี่ยนมุมมองใหม่ในแนวทางที่ถูกต้องเพื่อการพัฒนาที่ดียิ่งขึ้นและสามารถแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ยกตัวอย่างเช่นในหัวข้อต่อไปนี้

ความแตกต่างระหว่างผู้นำและภาวะผู้นำ

ผู้นำ คือ บุคคลที่มีอิทธิพลต่อกลุ่ม และสามารถนำกลุ่มปฏิบัติต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร   
        
ภาวะผู้นำ คือ  พลังชนิดหนึ่งที่สามารถส่งแรงกระทำอันก่อให้เกิดการขับเคลื่อนกลุ่มคน และนำองค์กรไปสู่การบรรลุเป้าหมายและจุดประสงค์           
ยกตัวอย่าง บิลล์ เกตส์ ผู้นำซอฟแวร์ของโลก มีภาวะผู้นำดังนี้
  1.  ใฝ่รู้
  2. คิดสร้างสรรค์
  3. คิดนอกกรอบข้ามศาสตร์ 
  4.  ทุนทางปัญญา
  5. กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ

ผู้นำ กับการแก้ไขปัญหา  เมื่อมีปัญหาต้องแก้ไข 

  • ต้องรู้ว่าอะไรคือตัวปัญหา
  • สาเหตุ
  • แนวทางเลือกในการแก้ปัญหา
  • ลงมือปฏิบัติ (เลือกวิธีที่ดีที่สุด)
  • ติดตามผลแล้ว
  • พัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา
หัวข้อที่ผมยกขึ้นมานี้ แสดงให้เห็นและเข้าใจถึง การที่จะเป็นผู้นำและแรงขับดันความรู้สึกของผู้นำหรือสิ่งที่ผู้นำควรมี และรูปแบบการแก้ไขปัญหาแบบผู้นำ อีกหัวข้อหนึ่งที่ทำให้ผมเข้าใจและเห็นภาพคือความแตกต่างระหว่างการเป็นเจ้านายกับการเป็นผู้นำ
  1. ผู้นำสร้างปณิธานให้แก่ผู้ตาม
  2. ผู้นำอาศัยเจตจำนงที่เสรี
  3. ผู้นำแผ่ความรัก ปรารถนาดี
  4. ผู้นำ พูดว่า "เรา"
  5. ผู้นำแสดงให้รู้ว่าอะไรที่ผิด และควรทำอย่างไร
  6. ผู้นำรู้ว่าจะทำงานอย่างไร
  7. ผู้นำบริหารความเคารพ

 นี่เป็นแค่ส่วนหนึ่งที่ผมยกมาเป็นตัวอย่างจากการเรียนเรื่อง"ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลงในองค์กร" บทเรียนนี้ได้เปิดมุมมองใหม่ในการเป็นผู้นำและพัฒนาองค์กรซึ่งเราสามารถนำไปใช้ในการบริหารงานได้เป็นอย่างดี

    การนำเอากระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเรื่อง"เศรษฐกิจพอเพียง" นำมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานและได้กำหนดการพึ่งตนเองที่เป็นรูปธรรม เป็นกรอบการดำเนินงานอันจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ทั้งภาคราชการ ภาคธุรกิจเอกชน และองคืกรซึ่งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน จึงเห็นสมควรจำเป็นต่อการพัฒนาและกำหนดอนาคตของตัวเราเป็นอย่างยิ่ง

 สรุป  อย่างไรก็ตาม จำเป็นที่จะต้องมีผู้นำและผู้มีความสามารถในการบริหารจัดการ ตอบสนองความต้องการ ทั้งทางราชการและองค์กร ตลอดจนมีการบูรณาการ การแก้ไขปัญหาและพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ ทั้งยังต้องมีความสามารถในการพัฒนาศักยภาพ เพื่อให้การบริการและการจัดการขององค์กร นั้นได้ประสบความสำเร็จของความต้องการ ดังจุดประสงค์ของการเรียนที่เราเรียนอยู่

น.ส. พนาวัลย์ คุ้มสุด นักศึกษาปริญญาโท บริหารธุรกิจ ID 106142010

                                สรุปองค์ความรู้ในภาพรวม ของ น.ส.พนาวัลย์ คุ้มสุด  จากการศึกษาระดับปริญญาโท  บริหารธุรกิจ    มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมป์ฟอร์ด 

                                ดิฉัน  น.ส. พนาวัลย์  คุ้มสุด  นักศึกษาปริญญาโท  บริหารธุรกิจ  ID  106142010         ได้เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโท  บริหารธุรกิจ  ณ มหาวิทยาลัยแห่งนี้ตั้งแต่ปี 2549     ถึงปัจจุบัน       รายวิชาต่าง ๆ ที่ได้ศึกษาผ่านไปแล้วรวม  8  วิชา  ได้แก่  1.     กง. 524  การเงินเพื่อการจัดการ*** (FIN 524)2.     กจ. 521  องค์การและการจัดการ (MGN  521)3.     กจ. 530  กลยุทธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์ (วิชาเลือก) *** (MGN 530)4.     ศศ. 557  เศรษฐศาสตร์เพื่อการจัดการ (ECO 557)5.     กต. 548  การบริหารการตลาด (MKT  548)6.     กจ. 562  การบริหารการปฏิบัติการ***(MGN 562)7.     กบ. 543  การวิเคราะห์บัญชีเพื่อผู้บริหาร (ACC 543) *****8.     กจ. 590  กลยุทธ์การจัดการ *** (MGN  590) จากความรู้ทั้งด้านวิชาการและทักษะต่าง ๆ  ที่ได้รับมีความหลากหลายมากถือว่า                เป็นการเติมเต็ม  ให้แก่ตัวดิฉันเอง  ทำให้เกิดประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม  โดยเฉพาะการนำ               องค์ความรู้ต่าง ๆ มาพัฒนาอาชีพที่ดิฉันรับผิดชอบอยู่  ได้แก่  ร้านค้าโทรศัพท์มือถือ , ทำหน้าที่                รองนายกเทศมนตรีเมืองลพบุรี  ฝ่ายการศึกษา  สรุปเนื้อหาสาระที่ได้รับจากคณาจารย์ , การสัมมนา ,    ค้นคว้าเพิ่มเติม , มีประเด็นสำคัญ  ดังนี้1.  ความรู้ด้านวิชาการรายละเอียดด้านวิชาการมีความหลากหลายมาก โดยเนื้อหาในภาพรวมแบ่งได้ออกเป็น  2  กลุ่ม  คือ1.1  เนื้อหาสาระที่เป็นพื้นฐานในการบริหารจัดการองค์กร ได้แก่  ความรู้ด้านการเงิน , บัญชี , เศรษฐศาสตร์  จากการเรียนรู้ทำให้เข้าใจระบบบริหารต่าง ๆ , การบริหารด้านการเงินที่เหมาะสม  ตลอดจนแนวทางเศรษฐกิจในรูปแบบต่าง ๆ   ทำให้ดิฉันสามารถนำมาเป็นพื้นฐานปรับใช้ประโยชน์ได้1.2 เนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องกับเทคนิคการจัดการองค์กร ในรูปแบบต่างๆ  ,   กลยุทธ์ต่าง ๆ    ที่นำมาใช้ประกอบการดำเนินการ , การวิเคราะห์สถานการณ์ขององค์กรในประเด็นต่าง ๆ , การบริหารงานบุคคลที่มีคุณภาพ ,  ตลอดจนแนวทางการแก้ปัญหาและการบริหารงานในช่วงวิกฤติจากรายละเอียดของเนื้อหาทั้ง  8  วิชา  ที่ดิฉันได้ศึกษาแล้วมีผลอย่างมาก  ต่อตัวดิฉันและผู้เรียนทุกอื่น ๆ โดยเฉพาะแนวความคิด , การดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ถูกปรับเปลี่ยนอย่างมาก  เช่น-  แนวทางการบริหารองค์กร  ทั้งภาครัฐและเอกชน  ทำเป็นระบบมากขึ้นตั้งแต่การวางแผนจัดโครงสร้างองค์กร , การจัดตั้งองค์กร , การมอบหมายงาน , การตรวจสอบ- แนวทางการจัดการทางการเงิน  โดยเฉพาะองค์กรธุรกิจเกี่ยวกับการระดมทุน ,                 การลงทุนที่เหมาะสม , กระแสเงินสด , การรักษาสภาพคล่อง , รวมทั้งการบริหารหนี้สินอย่างฉลาด-  แนวทางการบริหารงานบุคคลในองค์กร  ซึ่งรูปแบบการบริหารงานบุคคลในลักษณะต่าง ๆ เช่น  การได้มา , การรักษาไว้ , การจากไปของบุคลากร  เป็นไปอย่างมีระบบตลอดจน          ทำให้มีจริยธรรมคุณธรรม , เมตตาธรรม มากขึ้น-  แนวทางการวิเคราะห์สถานะขององค์กรในช่วงเวลาต่าง ๆ ทำได้อย่างเหมาะสม                 ด้วยการทำ SWOT  และการวิเคราะห์จาก Matrix  ต่าง ๆ ทำให้สามารถทราบความเป็นไปขององค์กร ได้อย่างชัดเจน  ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการแก้ไขและพัฒนาต่อไป-  แนวทางการแก้ไขปัญหายามวิกฤติต่าง ๆ ตามปกติผู้ที่ทำการค้า , พนักงาน ,                      ข้าราชการ  เมื่อพบกับวิกฤติรูปแบบต่าง ๆ ก็มักจะใช้ประสบการณ์ , การปรึกษา , เข้ามาแก้ปัญหา       แต่การใช้หลักวิทยาการมาร่วมด้วย  จะทำให้สามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ไปได้อย่างดีและรวดเร็ว-  แนวทางการสร้างความสัมพันธ์กับองค์กรต่าง ๆ ซึ่งอาจจะมีทั้งคู่แข่งขัน , เพื่อนร่วมอาชีพ , องค์กรที่เกี่ยวข้อง , สามารถนำความรู้ไปปรับใช้ได้อย่างมีคุณภาพ  ทำให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น  ซึ่งจะเป็นผลดี  (Win Win)  ทั้ง 2 ฝ่าย-  ทำให้เกิดความเข้าใจถึงความเกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อมของระบบการเมือง , เศรษฐกิจ , สังคม  โดยรวมมากขึ้น  อันจะเป็นพื้นฐานในการนำไปวิเคราะห์และวางแผนต่อไป-  แนวทางการปรับองค์กรให้เหมาะสม  ได้แก่  การสร้างความเจริญเติบโต ,              การยกเลิก  , การชะลอ  ให้เป็นไปตามสถานะ การณ์ที่เหมาะสมและเป็นจริงที่สุด2.  ด้านประสบการณ์ , ทักษะต่าง ๆ ที่ได้จากการศึกษาในการเรียนรู้จาก  เนื้อหา  8  รายวิชาที่ผ่านมา  ดิฉันได้มีโอกาสได้รับรู้รายละเอียด  ทางวิชาการจากคณาจารย์ , การแลกเปลี่ยนความรู้  ความเข้าใจกับคณาจารย์ , เพื่อนนักศึกษา ,                     การสัมมนา , การนำเสนอในห้องทำให้พฤติกรรมโดยส่วนตัวของดิฉันพัฒนามากขึ้น  ในหลาย ๆ ด้าน  เช่น2.1  ทำให้กล้าแสดงออกมากขึ้น2.2  ทำให้การตัดสินใจในงานต่าง ๆ ทั้งงานในอาชีพ  และชีวิตประจำวันเป็นไปอย่างรวดเร็ว , มั่นใจ  มากขึ้น2.3  ทำให้ดิฉันมีจริยธรรม , คุณธรรม , เมตตาธรรมมากขึ้น  โดยเฉพาะกับบุคลากร          ในความดูแลโดยตรงและผู้เกี่ยวข้อง2.4  ทำให้เกิดความกล้าที่จะบริหารธุรกิจของตนเอง  ให้ก้าวไกลในทุก ๆ ด้าน2.5  ทำให้ตนเองยอมรับ  การดำเนินการต่าง ๆ โดยใช้การวางแผนเป็นแม่บทในการจัดการ  และสามารถนำเสนอแผนงานที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กรและสังคมได้อย่างมาก3.  ด้านสังคมในโอกาสนี้ดิฉันได้เข้ามาเป็นนักศึกษา  ของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ได้มีโอกาสพบปะกับคณาจารย์ , เพื่อนนักศึกษา , สถานประกอบการณ์ , ถือว่าเป็นประสบการณ์ที่สำคัญที่สุด  ที่ทำให้ดิฉันมีสังคมที่กว้างไกลมากขั้น , มีเพื่อนรู้ใจมากขึ้น , ตลอดจนทำให้เข้าใจความเป็นมาของสังคมในด้านต่าง ๆ มากขึ้น4.  แนวทางในอนาคตแม้ว่าดิฉันจะเริ่มเข้าเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยแห่งนี้และได้ศึกษาตามรายวิชา             บางส่วนของหลักสูตรที่ผ่านมา  ดิฉันเห็นว่าเป็นประโยชน์อย่างมากที่มีโอกาสได้เข้ามารับการเติมเต็ม  ให้แก่ตนเองอันจะเป็นผลโดยตรงต่อการพัฒนาทั้งอาชีพและงานที่รับผิดชอบอื่น ๆ สำหรับแนวทาง               ในอนาคต  ดิฉันคาดว่า4.1  พื้นฐานจาก 8 ราชวิชา ที่ได้ศึกษาแล้วจะเป็นพื้นฐานในการเรียน  ตามรายวิชาสภาวะผู้นำได้ระดับหนึ่ง4.2  จะนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในอาชีพที่ดำเนินการอยู่4.3  ต้องการทำหน้าที่ผู้นำสถาบันการศึกษา , องค์การต่าง ๆ หรือการพัฒนาสังคมให้ความรู้ที่ยั่งยืนตลอดไปถึงแม้ว่าดิฉันจะผ่านการศึกษาตามหลักสูตร  เพียงบางส่วนของหลักสูตรก็ถือว่าเป็นประสบการณ์ที่ล่ำค่าอย่างมาก  สำหรับการศึกษาต่อไป  ตามหลักสูตรจะมีผลอย่างไรก็ตามดิฉันคิดว่า  ทั้งสาระ , ประสบการณ์ที่ได้รับทั้งหมดจะเป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคมอย่างมากตลอดไป  พนาวัลย์    คุ้มสุ ID 106142010
น.ส. พนาวัลย์ คุ้มสุด นักศึกษาปริญญาโท บริหารธุรกิจ ID 106142010

              สรุปองค์ความรู้ในภาพรวมของ น.ส.พนาวัลย์ คุ้มสุด  จากการศึกษาระดับปริญญาโท  บริหารธุรกิจ   มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมป์ฟอร์ด

              ดิฉัน  น.ส. พนาวัลย์  คุ้มสุด  นักศึกษาปริญญาโท  บริหารธุรกิจ  ID  106142010 ได้เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโท  บริหารธุรกิจ ณ มหาวิทยาลัยแห่งนี้ตั้งแต่ปี 2549 ถึงปัจจุบัน รายวิชาต่าง ๆ ที่ได้ศึกษาผ่านไปแล้วรวม  8  วิชา ได้แก่ 

  • กง. 524  การเงินเพื่อการจัดการ*** (FIN 524)
  • กจ. 521  องค์การและการจัดการ (MGN  521)
  • กจ. 530  กลยุทธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์ (วิชาเลือก) *** (MGN 530)
  • ศศ. 557  เศรษฐศาสตร์เพื่อการจัดการ (ECO 557)
  • กต. 548  การบริหารการตลาด (MKT  548)
  • กจ. 562  การบริหารการปฏิบัติการ***(MGN 562)
  • กบ. 543  การวิเคราะห์บัญชีเพื่อผู้บริหาร (ACC 543) *****
  • กจ. 590  กลยุทธ์การจัดการ *** (MGN  590)

               จากความรู้ทั้งด้านวิชาการและทักษะต่าง ๆ  ที่ได้รับมีความหลากหลายมากถือว่าเป็นการเติมเต็ม  ให้แก่ตัวดิฉันเอง  ทำให้เกิดประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม  โดยเฉพาะการนำองค์ความรู้ต่าง ๆ มาพัฒนาอาชีพที่ดิฉันรับผิดชอบอยู่ ได้แก่ ร้านค้าโทรศัพท์มือถือ , ทำหน้าที่รองนายกเทศมนตรีเมืองลพบุรี  ฝ่ายการศึกษา  สรุปเนื้อหาสาระที่ได้รับจากคณาจารย์ , การสัมมนา ,    ค้นคว้าเพิ่มเติม , มีประเด็นสำคัญ  ดังนี้

               1.  ความรู้ด้านวิชาการรายละเอียดด้านวิชาการมีความหลากหลายมาก โดยเนื้อหาในภาพรวมแบ่งได้ออกเป็น  2  กลุ่ม  คือ

               1.1  เนื้อหาสาระที่เป็นพื้นฐานในการบริหารจัดการองค์กร ได้แก่  ความรู้ด้านการเงิน , บัญชี ,เศรษฐศาสตร์  จากการเรียนรู้ทำให้เข้าใจระบบบริหารต่าง ๆ , การบริหารด้านการเงินที่เหมาะสม  ตลอดจนแนวทางเศรษฐกิจในรูปแบบต่าง ๆ ทำให้ดิฉันสามารถนำมาเป็นพื้นฐานปรับใช้ประโยชน์ได้       

               1.2 เนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องกับเทคนิคการจัดการองค์กร ในรูปแบบต่างๆ  ,   กลยุทธ์ต่าง ๆ ที่นำมาใช้ประกอบการดำเนินการ , การวิเคราะห์สถานการณ์ขององค์กรในประเด็นต่าง ๆ , การบริหารงานบุคคลที่มีคุณภาพ ,  ตลอดจนแนวทางการแก้ปัญหาและการบริหารงานในช่วงวิกฤติจากรายละเอียดของเนื้อหาทั้ง  8  วิชา  ที่ดิฉันได้ศึกษาแล้วมีผลอย่างมาก  ต่อตัวดิฉันและผู้เรียนทุกอื่น ๆ โดยเฉพาะแนวความคิด , การดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ถูกปรับเปลี่ยนอย่างมาก  เช่น

               -  แนวทางการบริหารองค์กร  ทั้งภาครัฐและเอกชน  ทำเป็นระบบมากขึ้นตั้งแต่การวางแผนจัดโครงสร้างองค์กร , การจัดตั้งองค์กร , การมอบหมายงาน , การตรวจสอบ       

               - แนวทางการจัดการทางการเงิน  โดยเฉพาะองค์กรธุรกิจเกี่ยวกับการระดมทุน , การลงทุนที่เหมาะสม , กระแสเงินสด , การรักษาสภาพคล่อง , รวมทั้งการบริหารหนี้สินอย่างฉลาด

               -  แนวทางการบริหารงานบุคคลในองค์กร  ซึ่งรูปแบบการบริหารงานบุคคลในลักษณะต่าง ๆ เช่น  การได้มา , การรักษาไว้ , การจากไปของบุคลากร  เป็นไปอย่างมีระบบตลอดจน ทำให้มีจริยธรรมคุณธรรม , เมตตาธรรม มากขึ้น

               -  แนวทางการวิเคราะห์สถานะขององค์กรในช่วงเวลาต่าง ๆ ทำได้อย่างเหมาะสมด้วยการทำ SWOT  และการวิเคราะห์จาก Matrix  ต่าง ๆ ทำให้สามารถทราบความเป็นไปขององค์กร ได้อย่างชัดเจน  ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการแก้ไขและพัฒนาต่อไป

               -  แนวทางการแก้ไขปัญหายามวิกฤติต่าง ๆ ตามปกติผู้ที่ทำการค้า , พนักงาน , ข้าราชการ  เมื่อพบกับวิกฤติรูปแบบต่าง ๆ ก็มักจะใช้ประสบการณ์ , การปรึกษา , เข้ามาแก้ปัญหา แต่การใช้หลักวิทยาการมาร่วมด้วย  จะทำให้สามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ไปได้อย่างดีและรวดเร็ว

               -  แนวทางการสร้างความสัมพันธ์กับองค์กรต่าง ๆ ซึ่งอาจจะมีทั้งคู่แข่งขัน , เพื่อนร่วมอาชีพ , องค์กรที่เกี่ยวข้อง , สามารถนำความรู้ไปปรับใช้ได้อย่างมีคุณภาพ  ทำให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น  ซึ่งจะเป็นผลดี  (Win Win)  ทั้ง 2 ฝ่าย

               -  ทำให้เกิดความเข้าใจถึงความเกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อมของระบบการเมือง , เศรษฐกิจ , สังคม  โดยรวมมากขึ้น  อันจะเป็นพื้นฐานในการนำไปวิเคราะห์และวางแผนต่อไป

               -  แนวทางการปรับองค์กรให้เหมาะสม  ได้แก่  การสร้างความเจริญเติบโต , การยกเลิก  , การชะลอ  ให้เป็นไปตามสถานะ การณ์ที่เหมาะสมและเป็นจริงที่สุด

               2.  ด้านประสบการณ์ , ทักษะต่าง ๆ ที่ได้จากการศึกษา ในการเรียนรู้จาก  เนื้อหา  8  รายวิชาที่ผ่านมา  ดิฉันได้มีโอกาสได้รับรู้รายละเอียด  ทางวิชาการจากคณาจารย์ , การแลกเปลี่ยนความรู้  ความเข้าใจกับคณาจารย์ , เพื่อนนักศึกษา , การสัมมนา , การนำเสนอในห้องทำให้พฤติกรรมโดยส่วนตัวของดิฉันพัฒนามากขึ้น  ในหลาย ๆ ด้าน เช่น

               2.1  ทำให้กล้าแสดงออกมากขึ้น

               2.2  ทำให้การตัดสินใจในงานต่าง ๆ ทั้งงานในอาชีพ  และชีวิตประจำวันเป็นไปอย่างรวดเร็ว , มั่นใจ  มากขึ้น

               2.3  ทำให้ดิฉันมีจริยธรรม , คุณธรรม , เมตตาธรรมมากขึ้น  โดยเฉพาะกับบุคลากรในความดูแลโดยตรงและผู้เกี่ยวข้อง

               2.4  ทำให้เกิดความกล้าที่จะบริหารธุรกิจของตนเอง  ให้ก้าวไกลในทุก ๆ ด้าน

               2.5  ทำให้ตนเองยอมรับ  การดำเนินการต่าง ๆ โดยใช้การวางแผนเป็นแม่บทในการจัดการ  และสามารถนำเสนอแผนงานที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กรและสังคมได้อย่างมาก

               3.  ด้านสังคม ในโอกาสนี้ดิฉันได้เข้ามาเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ได้มีโอกาสพบปะกับคณาจารย์ , เพื่อนนักศึกษา , สถานประกอบการณ์ , ถือว่าเป็นประสบการณ์ที่สำคัญที่สุด  ที่ทำให้ดิฉันมีสังคมที่กว้างไกลมากขั้น , มีเพื่อนรู้ใจมากขึ้น , ตลอดจนทำให้เข้าใจความเป็นมาของสังคมในด้านต่าง ๆ มากขึ้น

               4.  แนวทางในอนาคต แม้ว่าดิฉันจะเริ่มเข้าเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยแห่งนี้และได้ศึกษาตามรายวิชาบางส่วนของหลักสูตรที่ผ่านมา  ดิฉันเห็นว่าเป็นประโยชน์อย่างมากที่มีโอกาสได้เข้ามารับการเติมเต็ม  ให้แก่ตนเองอันจะเป็นผลโดยตรงต่อการพัฒนาทั้งอาชีพและงานที่รับผิดชอบอื่น ๆ สำหรับแนวทางในอนาคต  ดิฉันคาดว่า

               4.1  พื้นฐานจาก 8 ราชวิชา ที่ได้ศึกษาแล้วจะเป็นพื้นฐานในการเรียน  ตามรายวิชาสภาวะผู้นำได้ระดับหนึ่ง

               4.2  จะนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในอาชีพที่ดำเนินการอยู่

               4.3  ต้องการทำหน้าที่ผู้นำสถาบันการศึกษา , องค์การต่าง ๆ หรือการพัฒนาสังคมให้ความรู้ที่ยั่งยืนตลอดไปถึงแม้ว่าดิฉันจะผ่านการศึกษาตามหลักสูตร  เพียงบางส่วนของหลักสูตรก็ถือว่าเป็นประสบการณ์ที่ล้ำค่าอย่างมาก  สำหรับการศึกษาต่อไป  ตามหลักสูตรจะมีผลอย่างไรก็ตามดิฉันคิดว่า  ทั้งสาระ , ประสบการณ์ที่ได้รับทั้งหมดจะเป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคมอย่างมากตลอดไป 

 

พนาวัลย์    คุ้มสุด

ID 106142010

 

ภาวะผู้นำ จากการฟังการบรรยายในสัปดาห์ที่ผ่านมาทำให้เข้าใจถึงบทบาทที่ผู้นำควรปฏิบัติในระดับหนึ่ง คือการเป็นผู้นำนั้นต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความรู้ความสามารถ ที่สามารถถ่ายทอดให้แก่ผู้อื่นได้ การที่ลูกน้องทำผิดพลาดก็ต้องมีการตำหนิติเตียนตามเหตุผลพร้อมทั้งอธิบายวิธีการแก้ไขให้ทราบด้วย

มีการวางแผนงานที่ชัดเจน รอบคอบ เพื่อที่จะทำให้องค์กรไปสู่เป้าหมายได้  ซึ่งต้องใช้ความรู้ ความสามารถ เป็นอย่างมาก เมื่อผู้นำแสดงให้เห็นถึงความสามารถก็จะเป็นที่ยอมรับของคนในหน่วยงานนั้น

บางครั้งผู้นำก็ควรจะเป็นผู้ให้ เช่น ความรู้

บางครั้งก็ต้องเป็นผู้รับ เช่น รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม

นางสาวหยาดอรุณ อาสาสำเร็จ

สวัสดีค่ะ ศ.ดร.จีระ/นักศึกษา MBA ม.นานาชาติแสตมฟอร์ดและท่านผู้อ่านทุกท่าน

  ดิฉัน  นางสาวหยาดอรุณ  อาสาสำเร็จ นักศึกษาปริญญาโท  บริหารธุรกิจ (หัวหิน)  รหัส 106142012สัปดาห์แรกของการศึกษาวิชาภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลงในองค์กรกับอาจารย์ยม ซึ่งท่านได้มอบหมายการบ้านให้ทำในสัปดาห์แรกจากหัวข้อจากการศึกษาเรื่องภาวะผู้นำของสัปดาห์แรก ได้อะไรกับตัวเราบ้างของ ความหมาย        ผู้นำ และภาวะผู้นำมีความแตกต่างกันตรงที่ ผู้นำคือบุคคลที่มีอิทธิพลในการชักจูง โน้มน้าวบุคคลอื่นๆให้ปฏิบัติตามเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กรสำหรับ ภาวะผู้นำคือพฤติกรรมที่ถ่ายทอดออกมา ซึ่งสามารถทำให้บุคคลอื่นยอมรับและได้รับการสนับสนุนจากบุคคลอื่นๆในการดำเนินการใดๆเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร ลักษณะที่ดีของผู้นำโดยทั่ว ๆ ไป 1.          มีวิสัยทัศน์2.          มีความสามารถริเริ่มและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆตลอดเวลา 3.          มีความยุติรรม และมีคุณธรรม4.          มีความซื่อสัตย์ 5.          มีความรับผิดชอบทั้งต่อตนเอง และต่อหน้าที่ 6.          มีบุคลิกภาพดี 7.          ตรงต่อเวลา 8.          สุขุม รอบคอบ ใจเย็น 9.          มีการกระจายอำนาจอย่าง10.     ต้องเป็นผู้ที่ใฝ่รู้11.     มีความรู้เรื่องที่ทำงานอย่างชัดเจน 12.     ต้องรู้จักการให้อภัยและการวางเฉย  ผู้นำที่ดีจะต้องมี 7 ข้อที่สำคัญดังนี้1.    การมุ่งประโยชน์ส่วนรวม ประโยชน์แผ่นดิน2.   ปกครองด้วยหลักธรรมาธิปไตย/ธรรมาภิบาล (จะต้องมีความโปร่งใส, ซื่อสัตย์, ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของทุกฝ่าย, มีความรับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติงานตามหน้าที่ และมีสามารถในการแข่งขัน)3.    มีความสามารถ4.     มีความสำนึกรับผิดชอบ 5.     มีความเป็นกลาง6.     การมุ่งสัมฤทธิ์ผล

7.     ความเป็นมืออาชีพ 

 ลักษณะของผู้นำที่ไม่ดี1.    มุ่งแสวงหาประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง2.    ทำตนเข้าสู่กับดักแห่งอำนาจ ยึดมั่นถือมั่น มีอัตตาสูง3.    ขาดความรับผิดชอบ 4.    การไม่สามารถมอบหมายให้ผู้อื่นทำการตัดสินใจแทนตนได้5.    ไม่คิด ไม่สร้างตัวตายตัวแทน6.     แต่งตั้งคนไม่ได้เรื่องมาดำรงตำแหน่งสำคัญ แสดงความไม่เต็มใจที่จะแบ่งบันข้อมูลอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง7.     ขาดความรู้ ขาดความเป็นธรรม 8.    ขาดความสมดุล ขาดเหตุผล ขาดการพอประมาณ9.      ดื้อรั้น ทิฐิ หลงตัวเอง ไม่เชื่อ ไม่ฟังใคร ฯลฯ   ลักษณะผู้นำที่ดีควรมี 3 ลักษณะดังนี้1.    สามารถนำเสนอความคิดใหม่·         ทุนความรู้  ·         ทุนปัญญา ·         ทุนทางสังคม·         ทุนทาง IT 2.       สามารถสร้างความสุขให้กับตนเองได้·         ทุนความเป็นมนุษย์·         ทุนทางความสุข 3.        สามารถสร้างความสุขให้กับผู้อื่นได้·         ทุนจริยธรรม คุณธรรม·         ทุนแห่งความยั่งยืน การที่จะเป็นผู้นำที่ดีนั้นต้องมีคุณลักษณะตามทฤษฏีภาวะผู้นำซึ่งมี 3 แบบดังนี้1.    ทฤษฎีเกี่ยวกับมีความทะเยอทะยาน (Ambition)·         มีความอุสาหะพากเพียร (Persistence)·         มีความกล้าหาญ (Courage)·         มีความเชื่อถือศรัทธา (Faith)·         มีความซื่อสัตย์มั่นคง (Integrity)·         มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creativity)·         มีความยุติธรรม (Justice)·         มีจุดมุ่งหมาย (Objectivity)·         มีความยืดหยุ่น (Flexibility)·         มีความสามารถในการตัดสินใจ (Decisiveness)·         มีวินัยในตนเอง (Self-Discipline)2.    ทฤษฎีทางด้านพฤติกรรม โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ มุ่งที่พนักงาน และมุ่งที่ผลผลิต/งาน ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 กลุ่มตามตารางพฤติกรรมการบริหาร ของ Robert R. Blake & Jane S. Mouton ดังนี้·         ผู้นำที่เน้นความสนใจที่คน ไม่ค่อยเน้นที่งาน·         ผู้นำที่ไม่สนใจทั้งงานและคน·         ผู้นำที่เอาใจใส่ทั้งคนและงาน·         ผู้นำที่เน้นความสนใจที่งาน ไม่ค่อยเน้นที่คน·         ผู้นำที่เดินสายกลาง3.    ทฤษฎีทางด้านสถานการณ์  สามารถแบ่งยอยออกได้เป็น 3 ลักษะคือ3.1.   ตัวแบความไม่แน่นอนของเฟรด ฟิดเลอร์·   เมื่อสถานการณ์เอื้อต่อการใช้ความเป็นผู้นำ กลุ่มจะตั้งใจทำงานโดยไม่ต้องมีการคะยั้นคะยอมาก·         บุคคลแต่ละคนจึงควรทำงานในสถานการณ์ที่เหมาะกับแบบภาวการณ์เป็นผู้นำของเขา·         ต้องเปลี่ยนแปลงสถานการณ์เพื่อให้สอดคล้องกับแบบภาวการณ์เป็นผู้นำของเขาเอง3.2.   ทฤษฏีวิถีทางสู่เป้าหมาย3.3.   ทฤษฏีภาวการณ์เป็นผู้นำตามสถานการณ์ของเฮอร์ซี

และเบลนชาร์ด

  สมรรถนะหลัก 5 ด้าน ในการนำไปสู่ภาวะผู้นำยุคใหม่1. ศักยภาพในการเปลี่ยนแปลง ซึ่งต้องมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่างๆดังนี้·         การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง·         มีความคิดสร้างสรรค์และใช้นวัตกรรม ·         ตระหนักถึงผลกระทบจากภายนอก ·         ความยืดหยุ่น ·         ปรับเปลี่ยนได้·         จูงใจใฝ่บริหาร ·         การคิดเชิงกลยุทธ์ ·         การมีวิสัยทัศน์ มองการณ์ไกลได้ดี    2.   ศักยภาพในการเป็นผู้นำ·         การบริหารความขัดแย้ง ·         ตระหนักในคุณค่าทางวัฒนธรรม ·         ความจงรักภักดี / ความซื่อสัตย์ ·         สร้างทีมงาน    3.   การมุ่งผลสัมฤทธิ์·         ความรับผิดชอบ ·         การให้บริการลูกค้า ·         การตัดสินใจ ·         ความเป็นผู้ประกอบการ ·         การแก้ไขปัญหา ·         มีเทคนิคที่เชื่อถือได้   4.   ความเฉียบคมทางการบริหาร ·         การบริหารจัดการด้านการเงิน·         การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์·         การบริหารจัดการด้านเทคโนโลยี·         การบริหารลูกค้า  5.    การสร้างความเข้าใจ ·         การเจรจาต่อรอง·         ทักษะด้านคน การโน้มน้าว·         ความสามารถในการสื่อสารด้วยวาจา·         ความสามารถในการมีส่วนร่วม ·         ความรอบรู้ด้านการเมือง·         ความสามารถในการสื่อสารด้วยการเขียน  ในการเป็นผู้นำที่ดีนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการสร้างและการรักษาอำนาจของตนไว้ เพื่อให้การศรัทธาและบารมีในการทำการใดๆ ซึ่งเทคนิค 5 ข้อทีสำคัญคือ1.     การให้ (โดยการให้ความรู้, โอกาส, ให้อภัย)2.     การติ / สั่งสอน (โดยการติอย่างมีเมตตา และใช้ความประนีประนอม)3.     การแสดงตนว่าเป็นผู้รู้มากกว่าลูกน้อง4.     การอ้างอิงถึงผู้ที่มีความสำคัญและเป็นที่เคารพของบุคคลอื่น5.     นิติกรรม หรือการดำเนินการใดทีแสดงเป็นลายลักษณ์อักษร (ผังการแต่งตังในองค์กร)  การชี้วัดผู้นำที่ดีจะต้องมี CEO ในการดำเนินธุรกิจคือC คือ ความพึงพอใจของลูกค้าE คือ ความพึงพอใจของพนักงานO คือ ผลประกอบการ  ทฤษฎี  8  K’s  ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ 1.    ทุนแห่งความยั่งยืน       2.    ทุนทางสังคม       3.    ทุนทางจริยธรรม       4.    ทุนแห่งความสุข       5.    ทุนทาง IT       6.    ทุนทางปัญญา       7.    ทุนทางความรู้ ทักษะ Mind set       8.    ทุนมนุษย์  แนวทางการพัฒนาตนเองสู่ภาวะผู้นำที่เป็นเลิศตามหลักของ JACK WELCH จะต้องมี 4E’s 1.     ENERGY Drive/ Embraces/ Change2.     ENERGIZE Vision / Sparks / Others3.     EDGE Strong Competitor/ Makes Difficult Decisions 4.     EXECUTION Delivers Results/Consistent / Performer  การพัฒนาตนเองสู่ภาวะผู้นำที่มีศักยภาพสูง  ซึ่งจะต้องรู้จักเรียนรู้ให้มากขึ้นโดการพัฒนาความตนเองในด้านต่างๆดังนี้1.    คล่องคิด ล่วงรู้ปัญหา รู้แจ้ง เผชิญความยุ่งยากได้หลากหลาย อย่างเป็นสุข มีแง่คิด มีปัญญา2.    คล่องคน รู้เขา รู้เรา เรียนรู้จากประสบการณ์ผู้อื่น สร้างโอกาส เย็นสงบ สุขุม สง่างามภายใต้แรงกดดันได้3.    คล่องผล ทำให้ผู้คนมีพลังทำงานได้สำเร็จ ให้ผลงานได้เกินคาด สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้อื่น ส่งมอบผลงานที่ยากได้4.    คล่องเปลี่ยน ใฝ่รู้ สู้ยิ่งยาก ไม่ย่นระย่อ ชอบทดลอง ปรับเปลี่ยน สนใจที่จะพัฒนาตน สร้างนวัตกรรม 3 หลักการ กับ 2 เงื่อนไข ปรัชญาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีดังนี้·        3 หลักการ คือการรู้จักพอประมาณ, การมีเหตุมีผล, และมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี·   2 เงื่อนไข คือ เงื่อนไขความรู้ (จะต้องมีความรอบรู้ รอบคอบ และรู้จักระมัดระวัง) และเงื่อนไขคุณธรรม (จะต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต, มีสติ ปัญญา ขยัน และอดทน และรู้จักการแบ่งปัน) การฝึกตนเองให้มีภาวะผู้นำ จากหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  มีดังนี้
  • ระเบิดจากข้างใน
  • ปลูกจิตสำนึก
  • เน้นให้พึ่งตนเองได้
  • คำนึงถึงภูมิสังคม
  • ทำตามลำดับขั้น
  • ประหยัด เรียบง่าย
    ประโยชน์สูงสุด
  • บริการที่จุดเดียว
  • แก้ปัญหาจากจุดเล็ก
  • ไม่ติดตำรา
  • ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ
  • การมีส่วนร่วม
  • รู้ รัก สามัคคี
  • มุ่งประโยชน์คนส่วนใหญ่
        นางสาวหยาดอรุณ อาสาสำเร็จ

รหัส 106142012

  

     

  

สวัสดีค่ะ ศ.ดร.จีระ/อ.ยม นาคสุข และนักศึกษา MBA ม.นานาชาติแสตมฟอร์ดและท่านผู้อ่านทุกท่าน

ขออนุญาตแชร์ไอเดียเพิ่มเติมในส่วนเนื้อหาที่อาจารย์ยมได้สอนเรื่อง ภาวะผู้นำ ซึ่งมีเนื้อหาที่ดีและทันสมัย เป็นเรื่องใหม่และสมารถนำไปสู่การบูรณาการได้เป็นอย่างดี คะ ดิฉันมีความคิดเห็นเพิ่มเติม ดังนี้

ในโลกปัจจุบันเป็นสังคมฐานความรู้ (Knowledge - Base Society) ความรู้ ถือ เป็นทรัพยากรหลักในการพัฒนาระดับความเป็นอยู่ของผู้คนในสังคม

และเจ้าของความรู้ก็คือ คน(Human) ดังนั้น ภาวะผู้นำควรต้องเป็นบุคคลที่ เป็น Knowledge Worker จะต้องใช้ ความรู้ เป็นหลักในการทำงาน

ปีเตอร์ เอฟ ดรักเกอร์ ปรมาจารย์นักจัดการของโลก กล่าวไว้ในคศ.ที่19 ซึ่งน้าจะยังคงเป็นจริงในคศ.ที่21 และในอนาคตต่อไป

ได้เสนอปัจจัยหลักที่กำหนด Knowledge Worker productivity 6 ปัจจัย ดังนี้

1 What is the task ? งานคืออะไร

2 Autonomy อิสระควบคุมตัวเองได้

3 Continuing Innovation นวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง

4 Continuing learning เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

5 Continnuing teaching สอนอย่างต่อเนื่อง

6 Productivity = Quality ผลงานมีคุณภาพ

7 Asset มองและปฎิบัติอย่างเป็นสินทรัพย์

       6 ปัจจัยดังกล่าวน่าจะเป็นพฤติกรรมหนึ่งของ  ภาวะผู้นำต้องมีและสำคัญที่สุดในตัวผู้นำต้องมี คือ การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง (Continuing Learning)หรือที่เราเรียกว่า การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life - Long Learning) หาความรู้ให้อาหารสมองและพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ

สวัสดีคะ

อาจารย์สุดาภรณ์ (A' Lotus)

นายเอกราช ดลยสกุล MBA 6
สวัสดีท่าน อาจารย์ ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์และนักศึกษาทุกคน
เรียนแล้วได้อะไรบ้าง
 พูดถึงในสังคมยุคปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จนทำให้หลายองค์กรต้องพบกับความหายนะในปัจจุบันที่เป็นอยู่แต่ในทางตรงกันข้ามการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันก็ยังสร้างโอกาสให้กับองค์กรให้ประสบความสำเร็จมาแล้วในปัจจุบันด้วยเช่นกัน ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการที่มีผู้นำที่มีภาวะผู้นำที่ดีที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงหรือปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของปัจจุบันได้และสามารถนำพาองค์กรไปสู่การแข่งขันที่เป็นเลิศทางธุรกิจได้
ผู้นำ คือ บุคคลที่มีอิทธิพลต่อกลุ่ม และสามารถนำกลุ่มปฏิบัติต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร   
        
ภาวะผู้นำ คือ  พลังชนิดหนึ่งที่สามารถส่งแรงกระทำอันก่อให้เกิดการขับเคลื่อนกลุ่มคน และนำองค์กรไปสู่การบรรลุเป้าหมายและจุดประสงค์           
ยกตัวอย่าง บิลล์ เกตส์ ผู้นำซอฟแวร์ของโลก มีภาวะผู้นำดังนี้
  1.  ใฝ่รู้
  2. คิดสร้างสรรค์
  3. คิดนอกกรอบข้ามศาสตร์ 
  4.  ทุนทางปัญญา
  5. กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ
 ลักษณะผู้นำที่ดีผู้นำที่ฉลาดควรมี 3 ลักษณะอยู่ในตน1.  สามารถนำเสนอความคิดใหม่
  • ทุนความรู้
  • ทุนปัญญา
  • ทุนทางสังคม

2.  สามารถสร้างความสุขให้กับตนเองได้

  • ทุนความเป็นมนุษย์
  • ทุนทางความสุข

3.  สามารถสร้างความสุขให้กับคนอื่นได้

  • ทุนจริยธรรม คุณธรรม
  • ทุนแห่งความยั่งยืน

คุณค่าของผู้นำ/ผู้บริหาร

  1. การมุ่งประโยชน์ส่วนรวม ประโยชน์แผ่นดิน
  2.  ปกครองด้วยหลักธรรมาธิปไตย/ธรรมาภิบาล
  3. มีความสามารถ
  4.  มีความสำนึกรับผิดชอบ
  5.  มีความเป็นกลาง
  6.  การมุ่งสัมฤทธิ์ผล
  7.  ความเป็นมืออาชีพ

ลักษณะของผู้นำที่ไม่ดี

  1. มุ่งแสวงหาประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง
  2. ทำตนเข้าสู่กับดักแห่งอำนาจ ยึดมั่นถือมั่น มีอัตตาสูง
  3. ขาดความรับผิดชอบ
  4. การไม่สามารถมอบหมายให้ผู้อื่นทำการตัดสินใจแทนตนได้
  5. ไม่คิด ไม่สร้างตัวตายตัวแทน
  6.  แต่งตั้งคนไม่ได้เรื่องมาดำรงตำแหน่งสำคัญ แสดงความไม่เต็มใจที่จะแบ่งบันข้อมูลอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง
  7.  ขาดความรู้ ขาดความเป็นธรรม
  8. ขาดความสมดุล ขาดเหตุผล ขาดการพอประมาณ
  9.   ดื้อรั้น ทิฐิ หลงตัวเอง ไม่เชื่อ ไม่ฟังใคร ฯลฯ

ทฤษฎีภาวะการเป็นผู้นำ

  1. ทฤษฎีเกี่ยวกับลักษณะ
  2. ทฤษฎีทางด้านพฤติกรรม
  3. ทฤษฎีทางด้านสถานการณ์

พัฒนาตนเองสู่ภาวะผู้นำ

  1. คล่องคิด  ล่วงรู้ปัญหา รู้แจ้ง เผชิญความยุ่งยากได้หลากหลาย อย่างเป็นสุข มีแง่คิด มีปัญญา
  2. คล่องคน  รู้เขา รู้เรา เรียนรู้จากประสบการณ์ผู้อื่น สร้างโอกาส เย็นสงบ สุขุม สง่างามภายใต้แรงกดดันได้
  3. คล่องผล  ทำให้ผู้คนมีพลังทำงานได้สำเร็จ ให้ผลงานได้เกินคาด สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้อื่น ส่งมอบผลงานที่ยากได้
  4. คล่องเปลี่ยน ใฝ่รู้ สู้ยิ่งยาก ไม่ย่นระย่อ ชอบทดลอง ปรับเปลี่ยน สนใจที่จะพัฒนาตน สร้างนวัตกรรม

ผู้นำ กับการแก้ไขปัญหา  เมื่อมีปัญหาต้องแก้ไข 

  • ต้องรู้ว่าอะไรคือตัวปัญหา
  • สาเหตุ
  • แนวทางเลือกในการแก้ปัญหา
  • ลงมือปฏิบัติ (เลือกวิธีที่ดีที่สุด)
  • ติดตามผลแล้ว
  • พัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา
หัวข้อที่ผมยกขึ้นมานี้ แสดงให้เห็นและเข้าใจถึง การที่จะเป็นผู้นำและแรงขับดันความรู้สึกของผู้นำหรือสิ่งที่ผู้นำควรมี และรูปแบบการแก้ไขปัญหาแบบผู้นำ อีกหัวข้อหนึ่งที่ทำให้ผมเข้าใจและเห็นภาพคือความแตกต่างระหว่างการเป็นเจ้านายกับการเป็นผู้นำ
  1. ผู้นำสร้างปณิธานให้แก่ผู้ตาม
  2. ผู้นำอาศัยเจตจำนงที่เสรี
  3. ผู้นำแผ่ความรัก ปรารถนาดี
  4. ผู้นำ พูดว่า "เรา"
  5. ผู้นำแสดงให้รู้ว่าอะไรที่ผิด และควรทำอย่างไร
  6. ผู้นำรู้ว่าจะทำงานอย่างไร
  7. ผู้นำบริหารความเคารพ

การที่องค์กรมีผู้นำที่ดีและสามารถอยู่รอดได้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงไม่ใช่ว่าจะเป็นผู้ที่แข็งแกร่งที่สุดหรือฉลาดที่สุดแต่เป็นผู้ที่สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้ดีที่สุดและสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการสร้างศรัทธาให้กับบุคคลอื่นได้ให้เกิดความเชื่อถือศรัทธาในต้วของผู้นำเองด้วย

นายเอกราช  ดลยสกุล

มหาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

MBA 6

นายบุญยอด มาคล้าย
นายบุญยอด  มาคล้าย  106242011 MBA 7 สวัสดีครับท่าน ศ.ดร.จีระ ท่าน อ.ยมและเพื่อนนักศึกษาทุกท่านครับ เป็นสัปดาห์ที่สองแล้วที่ผมได้เรียนภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ได้รู้คือได้รู้ถึงแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำว่าในฐานะที่เราเป็นผู้นำเราควรพัฒนาตัวเราหรือตัวผู้นำเพื่อนำพาองค์กรที่เราบริหารอยู่ให้ไปในทิศทางใดถึงจะนำองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศและพร้อมที่จะเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงผันแปรต่างๆที่จะเกิดขึ้นต่อไปภายหน้าโดยท่าน อ.ยมได้ให้แนวทางในการเป็นผู้นำที่ดีจะต้องมีสิ่งต่อไปนี้คือ-ผู้นำจะต้องเป็นผู้รอบรู้มีความรู้ที่ใหม่และสดเสมอ-ผู้นำจะต้องเป็นคนที่มีเหตุมีผล-ผู้นำจะต้องรู้จักประมาณตนเองหรือเป็นอยู่อย่างพอประมาณ-ผู้นำจะต้องสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเองและองค์กร-และสุดท้ายผู้นำจะต้องมีคุณธรรมและจริยธรรม         ในสิ่งที่กล่าวมาแล้วนั้นเป็นลักษณะหรือเป็นภาพกว้างๆของผู้นำที่ดีท่าน อ.ยมได้สอนลงลึกไปถึงการป้องกันองค์กรล่มสลาย  สอนถึงว่าถ้าจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงจะมีเทคนิคในการเปลี่ยนแปลงอย่างไรเพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อคนเหล่านี้คือ-ลูกค้า-พนักงาน-เจ้าของกิจการหรือหุ้นส่วนโดยถ้าจะต้องเปลี่ยนแปลงจริงๆนั้นสิ่งที่จะต้องคำนึงถึงสิ่งเป็นสำคัญ 3 อย่างต่อไปนี้คือ-ความพึงพอใจของลูกค้า-ความพึงพอใจของพนักงาน-ผลประกอบการถ้ามีการเปลี่ยนแปลงแล้วไม่กระทบสามอย่างที่กล่าวมาแล้วนั้นนับว่าประสบผลสำเร็จไปขั้นหนึ่งที่บอกว่าขั้นหนึ่งนั้นเพราะการเป็นผู้นำนั้นจะต้องตื่นตัวตลอดเวลาไหนจะต้องมาเจอกับปัญหาความขัดแย้งในองค์กรผู้นำจะต้องเข้าไปแก้ปัญหาให้ความขัดแย้งนั้นหมดไปและเป็นไปตามความพึงพอใจของทุกฝ่ายและยังมีปัญหาอีกหลายๆอย่างให้ต้องแก้ไขตลอดเวลาจะอย่างไรก็แล้วแต่ ใครในฐานะที่สวมบทบาทผู้นำ  การบริหารใดๆไม่มีสูตรสำเร็จที่จะวางหลักการบริหารครั้งเดียวแล้วใช้ได้ไปตลอดจะต้องวางแผน ปรับปรุง แก้ไขตลอดเวลาเพื่อให้เกิดการพัฒนาองค์กรและต้องแข่งขันกับคู่แข่งทางธุรกิจเพื่อความเติบโตขององค์กร ในส่วนของยุทธศาสตร์กับการเปลี่ยนแปลง 2แนวทางคือ แนวทางแรกTOP DOWN กับ BOTTOM UP จะไม่ขอพูดถึงและอีกเรื่องหนึ่งคือการบริหารโดยนำหลักทศพิศราชธรรมมีอะไรบ้างผมได้คัดลอกทางอินเตอร์เน็ทมาฝากเพื่อนๆก็อ่านกันเอาเองน๊ะครับเพราะมีประโยชน์มากท้ายนี้ก็ขอฝากขอบพระคุณท่านอาจารย์ยมที่ตั้งใจถ่ายทอดวิชาทั้งในและนอกเวลาและขอบคุณในความตั้งใจดีมา ณ ที่นี้ด้วยขอบคุณครับ 

 

ทศพิศราชธรรม

ขอเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ภูมิพลอดุลยเดชเนื่องในปีมหามงคลฉลองครบรอบ 60 ปี แห่งการครองราชย์  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489 นับเนื่องมาจนปัจจุบัน พระองค์ได้ทรงดำรงมั่นใน ทศพิธราชธรรมหลักธรรมแห่งพระมหากษัตริย์ โดยมีพระปฐมบรมราชโองการที่ว่า เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม ทศพิธราชธรรม เป็นคุณธรรมหลักของพระมหากษัตริย์ไทย ซึ่งได้ปฏิบัติสืบทอดต่อเนื่องยาวนานมาแต่โบราณกาล ในการปกครองบ้านเมืองให้มีความร่มเย็นเป็นสุข ซึ่งประกอบด้วย
  1. ทาน คือการให้ เป็นการช่วยผู้ที่ต้องการความช่วยเหลืออันเนื่องมาจากความขัดข้องแร้นแค้น ด้วยการสละทรัพย์ สิ่งของ เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ด้อยและอ่อนแอกว่าบนผืนดินแผ่นฟ้าเดียวกัน
  2. ศีล คือการรักษาความสุจริต มีความประพฤติดีงาม ละเว้นจากสิ่งไม่ดีทั้งหลาย สำรวมกาย และวจีกรรม และประพฤติตนเป็นตัวอย่างที่ดี ให้เกิดความสงบงามอยู่เสมอ
  3. บริจาคะ คือการสละสิ่งที่มีประโยชน์น้อย เพื่อสิ่งที่มีประโยชน์มาก ดั่งการแบ่งปันทรัพย์สินนอกกาย ให้เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ อันเป็นการเสียสละความสุขส่วนตัว เพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม
  4. อาชชวะ คือความประพฤติซื่อตรง มีความจริงใจด้วยการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตต่อหน้าที่การงานตลอดจนสังคมชนหมู่มาก
  5. มัททวะ คือความอ่อนโยน สุภาพ ทั้งกาย วาจา ใจ ในทุกสภาวการณ์ มีสัมมาคารวะอ่อนน้อม ไม่แสดงความแข็งกระด้าง และไม่แสดงการยกตนเหนือคนอื่น
  6. ตบะ คือความเพียร กล้าทำในสิ่งที่ควรทำ ไม่เกียจคร้าน ปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างสม่ำเสมอ ไม่บกพร่อง มีจิตใจหนักแน่น ไม่อ่อนแอและไม่ย่อท้อโดยง่าย
  7. อักโกธะ คือความไม่โกรธ มีจิตที่ประกอบด้วยเมตตา และปรารถนาดีเป็นที่ตั้ง รู้จักให้อภัย ข่มใจให้เย็นอยู่เป็นนิจ
  8. อวิหิงสา คือการไม่ทำอะไรที่เป็นการเบียดเบียนผู้อื่นให้เดือดร้อนทั้งทางตรงและทางอ้อม มีจิตประกอบด้วยกรุณาและช่วยเหลืออยู่เสมอ พร้อมให้เกียรติผู้อยู่แวดล้อม
  9. ขันติ คือการมีความอดทนอดกลั้น รู้จักอดทนต่อความตรากตรำต่าง ๆ สามารถเผชิญต่อความยากลำบากได้อย่างเข้มแข็ง ไม่หวาดหวั่นและท้อแท้ต่อสิ่งใด ๆ
  10. อวิโรธนะ คือการวางตนให้หนักแน่น ตั้งมั่นในธรรม ไม่มีความเอนเอียงหวั่นไหว รอบคอบ ยึดถือความเที่ยงธรรมและความยุติธรรมเป็นหลัก
 ของฝากจากบุญยอดครับ  4 มีนาคม 2550    02.50 น.
นายบุญยอด มาคล้าย
นายบุญยอด มาคล้าย เมื่อ อ. 04 มี.ค. 2550 @ 11:36 (182028)
นายบุญยอด  มาคล้าย  106242011 MBA 7 สวัสดีครับท่าน ศ.ดร.จีระ ท่าน อ.ยมและเพื่อนนักศึกษาทุกท่านครับ เป็นสัปดาห์ที่สองแล้วที่ผมได้เรียนภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ได้รู้คือได้รู้ถึงแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำว่าในฐานะที่เราเป็นผู้นำเราควรพัฒนาตัวเราหรือตัวผู้นำเพื่อนำพาองค์กรที่เราบริหารอยู่ให้ไปในทิศทางใดถึงจะนำองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศและพร้อมที่จะเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงผันแปรต่างๆที่จะเกิดขึ้นต่อไปภายหน้าโดยท่าน อ.ยมได้ให้แนวทางในการเป็นผู้นำที่ดีจะต้องมีสิ่งต่อไปนี้คือ-ผู้นำจะต้องเป็นผู้รอบรู้มีความรู้ที่ใหม่และสดเสมอ-ผู้นำจะต้องเป็นคนที่มีเหตุมีผล-ผู้นำจะต้องรู้จักประมาณตนเองหรือเป็นอยู่อย่างพอประมาณ-ผู้นำจะต้องสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเองและองค์กร-และสุดท้ายผู้นำจะต้องมีคุณธรรมและจริยธรรม         ในสิ่งที่กล่าวมาแล้วนั้นเป็นลักษณะหรือเป็นภาพกว้างๆของผู้นำที่ดีท่าน อ.ยมได้สอนลงลึกไปถึงการป้องกันองค์กรล่มสลาย  สอนถึงว่าถ้าจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงจะมีเทคนิคในการเปลี่ยนแปลงอย่างไรเพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อคนเหล่านี้คือ-ลูกค้า-พนักงาน-เจ้าของกิจการหรือหุ้นส่วนโดยถ้าจะต้องเปลี่ยนแปลงจริงๆนั้นสิ่งที่จะต้องคำนึงถึงสิ่งเป็นสำคัญ 3 อย่างต่อไปนี้คือ-ความพึงพอใจของลูกค้า-ความพึงพอใจของพนักงาน-ผลประกอบการถ้ามีการเปลี่ยนแปลงแล้วไม่กระทบสามอย่างที่กล่าวมาแล้วนั้นนับว่าประสบผลสำเร็จไปขั้นหนึ่งที่บอกว่าขั้นหนึ่งนั้นเพราะการเป็นผู้นำนั้นจะต้องตื่นตัวตลอดเวลาไหนจะต้องมาเจอกับปัญหาความขัดแย้งในองค์กรผู้นำจะต้องเข้าไปแก้ปัญหาให้ความขัดแย้งนั้นหมดไปและเป็นไปตามความพึงพอใจของทุกฝ่ายและยังมีปัญหาอีกหลายๆอย่างให้ต้องแก้ไขตลอดเวลาจะอย่างไรก็แล้วแต่ ใครในฐานะที่สวมบทบาทผู้นำ  การบริหารใดๆไม่มีสูตรสำเร็จที่จะวางหลักการบริหารครั้งเดียวแล้วใช้ได้ไปตลอดจะต้องวางแผน ปรับปรุง แก้ไขตลอดเวลาเพื่อให้เกิดการพัฒนาองค์กรและต้องแข่งขันกับคู่แข่งทางธุรกิจเพื่อความเติบโตขององค์กร ในส่วนของยุทธศาสตร์กับการเปลี่ยนแปลง 2แนวทางคือ แนวทางแรกTOP DOWN กับ BOTTOM UP จะไม่ขอพูดถึงและอีกเรื่องหนึ่งคือการบริหารโดยนำหลักทศพิศราชธรรมมีอะไรบ้างผมได้คัดลอกทางอินเตอร์เน็ทมาฝากเพื่อนๆก็อ่านกันเอาเองน๊ะครับเพราะมีประโยชน์มากท้ายนี้ก็ขอฝากขอบพระคุณท่านอาจารย์ยมที่ตั้งใจถ่ายทอดวิชาทั้งในและนอกเวลาและขอบคุณในความตั้งใจดีมา ณ ที่นี้ด้วยขอบคุณครับ         
ทศพิศราชธรรม

ขอเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ภูมิพลอดุลยเดชเนื่องในปีมหามงคลฉลองครบรอบ 60 ปี แห่งการครองราชย์  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489 นับเนื่องมาจนปัจจุบัน พระองค์ได้ทรงดำรงมั่นใน ทศพิธราชธรรมหลักธรรมแห่งพระมหากษัตริย์ โดยมีพระปฐมบรมราชโองการที่ว่า เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม ทศพิธราชธรรม เป็นคุณธรรมหลักของพระมหากษัตริย์ไทย ซึ่งได้ปฏิบัติสืบทอดต่อเนื่องยาวนานมาแต่โบราณกาล ในการปกครองบ้านเมืองให้มีความร่มเย็นเป็นสุข ซึ่งประกอบด้วย1.  ทาน คือการให้ เป็นการช่วยผู้ที่ต้องการความช่วยเหลืออันเนื่องมาจากความขัดข้องแร้นแค้น ด้วยการสละทรัพย์ สิ่งของ เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ด้อยและอ่อนแอกว่าบนผืนดินแผ่นฟ้าเดียวกัน 2.  ศีล คือการรักษาความสุจริต มีความประพฤติดีงาม ละเว้นจากสิ่งไม่ดีทั้งหลาย สำรวมกาย และวจีกรรม และประพฤติตนเป็นตัวอย่างที่ดี ให้เกิดความสงบงามอยู่เสมอ 3.  บริจาคะ คือการสละสิ่งที่มีประโยชน์น้อย เพื่อสิ่งที่มีประโยชน์มาก ดั่งการแบ่งปันทรัพย์สินนอกกาย ให้เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ อันเป็นการเสียสละความสุขส่วนตัว เพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม 4.  อาชชวะ คือความประพฤติซื่อตรง มีความจริงใจด้วยการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตต่อหน้าที่การงานตลอดจนสังคมชนหมู่มาก 5.  มัททวะ คือความอ่อนโยน สุภาพ ทั้งกาย วาจา ใจ ในทุกสภาวการณ์ มีสัมมาคารวะอ่อนน้อม ไม่แสดงความแข็งกระด้าง และไม่แสดงการยกตนเหนือคนอื่น 6.  ตบะ คือความเพียร กล้าทำในสิ่งที่ควรทำ ไม่เกียจคร้าน ปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างสม่ำเสมอ ไม่บกพร่อง มีจิตใจหนักแน่น ไม่อ่อนแอและไม่ย่อท้อโดยง่าย 7.  อักโกธะ คือความไม่โกรธ มีจิตที่ประกอบด้วยเมตตา และปรารถนาดีเป็นที่ตั้ง รู้จักให้อภัย ข่มใจให้เย็นอยู่เป็นนิจ 8.  อวิหิงสา คือการไม่ทำอะไรที่เป็นการเบียดเบียนผู้อื่นให้เดือดร้อนทั้งทางตรงและทางอ้อม มีจิตประกอบด้วยกรุณาและช่วยเหลืออยู่เสมอ พร้อมให้เกียรติผู้อยู่แวดล้อม 9.  ขันติ คือการมีความอดทนอดกลั้น รู้จักอดทนต่อความตรากตรำต่าง ๆ สามารถเผชิญต่อความยากลำบากได้อย่างเข้มแข็ง ไม่หวาดหวั่นและท้อแท้ต่อสิ่งใด ๆ 10.                   อวิโรธนะ คือการวางตนให้หนักแน่น ตั้งมั่นในธรรม ไม่มีความเอนเอียงหวั่นไหว รอบคอบ ยึดถือความเที่ยงธรรมและความยุติธรรมเป็นหลัก

      ของฝากจากบุญยอดครับ 

      4 มีนาคม 2550    02.50 น.
  
นางจำเนียร อำภารักษ์ ID 106142002 รุ่น 6

เรียน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ อ.ยม และสวัสดีเพื่อนนักศึกษาทุกท่าน  

              เมื่อวันที่  2 - 3 มีนาคม  2550 ศึกษาภาวะผู้นำจาก อ.ยม ได้รับความรู้และการปฏิบัติฝึกให้นักศึกษาได้ปฏิบัติจริง พร้อมทั้งให้คำแนะนำเกี่ยวกับการพูดบุคลิกภาพ และอื่น ๆ

              วันที่  2  มีนาคม  2550 อ.ยม สอนเรื่อง ทศพิธราชธรรม

               ทศพิธ  แปลว่า  10  อย่าง

               ราชธรรม  แปลว่า  ธรรมสำหรับพระราชา

               ทศพิธราชธรรม  เป็นธรรมของนักปกครอง 10 ประการ ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารระดับใดก็ตาม ควรยึดมั่นในทศพิธราชธรรม

                พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงปกครองบ้านเมืองให้ร่มเย็นเป็นสุขด้วยทศพิธราชธรรม  ดังพระปฐมบรมราชโองการ เมื่อครั้งเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติเมื่อวันที่  5  พฤษภาคม 2493 ความว่า

                "เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม  เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"

                ทศพิธราชธรรม  10  ประการ ได้แก่

  1. ทาน คือ  การให้
  2. ศีล  ผู้นำต้องตั้งอยู่ในศีลธรรม
  3. จาคะ  คือ  การบริจาค เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่น
  4. อาชวะ ผู้นำต้องมีความซื่อตรงต่อตนเอง ต่อหน้าที่ ต่อผู้ร่วมงาน
  5. มัทวะ  คือ ความสุภาพ อ่อนโยน
  6. ตปะ  การแผดเผาความโลภ  ดังคำกล่าวว่า รู้จักพอไม่ก่อทุกข์
  7. อักโกธะ  คือ ความไม่โกรธ  ระงับอารมณ์
  8. อวิหิงสา คือ การไม่เบียดเบียนผู้อื่น
  9. ขันติ คือ ความอดทน
  10. อวิโรธนะ  คือ ความไม่คลาดจากธรรม ปกครองแบบธรรมาธิปไตย

ช่วงเช้าของวันที่  3  มีนาคม  2550 

 การบริหารองค์กร สาเหตุของความเสี่ยง

  1. การต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
  2. สมาชิกในองค์กรสำคัญตนผิด คิดว่าองค์กรยิ่งใหญ่ สามารถการันตีอนาคตได้
  3. ไม่ไยดีในนวัตกรรมใหม่ ๆ
  4. ขาดการวางแผนระยะยาว ขาดวิสัยทัศน์ ขาดงบประมาณ ขาดคน  ขาดลูกค้า
  5. การไม่ให้ความสำคัญทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะคนที่มีคุณค่าในองค์กร การสุญเสียคนที่มีคุณค่า ยิ่งกว่าเสียเงินมากมาย อ.ยม ยกตัวอย่าง ผู้บริหารบริษัทปูนซีเมนต์ไทย ที่ประสบความสำเร็จใช้ทฤษฎี "กางร่ม"

ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลง

  1. การตื่นตัวขององค์กร
  2. การตั้งทีมเจ้าภาพ
  3. ให้ทีมกำหนดวิสัยทัศน์ , กลยุทธ์ Action Plan
  4. ทีมเจ้าภาพ เข้าใจกลยุทธ์ , สอนได้ , สื่อได้ , โน้มน้าวได้
  5. ให้ทุกคนมีส่วนร่วม ร่วมมือในการที่จะเปลี่ยนแปลง พัฒนา นวัตกรรมขึ้นมา
  6. รวบรวมผลลัพธ์จากการกระทำ มาสรุปผล และประเมินผล
  7. การสร้างชัยชนะในระยะสั้น
  8. การกำหนดแนวปฏิบัติใหม่เป็นรูปธรรมมากขึ้น
  9. พัฒนาอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่ความพึงพอใจของลูกค้า , ขององค์กร และของพนักงาน

แนวทางนำไปประยุกต์ใช้ใน "ธุรกิจบริการ"

  1. รวดเร็ว
  2. ลูกค้าสะดวกสบาย
  3. เชื่อถือได้
  4. ปฏิบัติเสมอภาค
  5. สร้างความไว้วางใจได้
  6. การดูแลเอาใจใส่

อ.ยม พูดถึง คุณธรรมและจริยธรรม ซึ่งดิฉันได้สรุปคำ 2 คำ นี้แล้ว ตามความคิดของตนเองว่าแตกต่างกันดังนี้

คุณธรรม คือ  แนวหลักในการปฏิบัติ ซึ่งปรากฎในทุก ๆ ศาสนา แต่สำหรับศาสนาพุทธ คุณธรรมใช้หลักธรรม อริยสัจ 4 และอิทธิบาท 4 แล้วนำเอาหลักธรรมที่กล่าวนี้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของแต่ละบุคคล

จริยธรรม  คือ  พฤติกรรมที่ถูกต้องดีงาม ดังนั้นคนที่มีจริยธรรมดี ต้องมีคุณธรรมทีดีมาก่อน

อ.ยมให้แบ่งกล่มทำงานส่ง แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ๆ ละ 7 คน โดยให้ไปสรุปเนื้อหาภาคภาษาอังกฤษ เป็นภาษาไทยประมาณ 1 หน้ากระดาษ A4

ในช่วงบ่ายของวันที่  3 มีนาคม 2550 อ.ยม            ให้ทำงานกลุ่ม ในหัวข้อ

  1. ในความเห็นของกลุ่ม จริยธรรมของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยนานาชาติ แสตมฟอร์ดมีอะไรบ้าง
  2. ในฐานะที่ท่านเป็นผู้นำ จริยธรรมของผู้นำที่พึ่งมีต่อองค์กร ต่อทีมงาม ต่อสังคม และต่อประเทศชาติ เป็นอย่างไร

ใช้กลุ่มเดิมที่แบ่งในช่วงเช้า ระดมความคิดประมาณ 30 นาที ส่งตัวแทนพูด

      หลังจากนั้น อ.ยม ฝึกความเป็นผู้นำให้นักศึกษาทุกคนได้แสดงออก โดยให้นักศึกษาพูดถึงหัวข้อ

" ในชีวิตท่าน ณ วันนี้ มีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้ท่านประสบผลความสำเร็จและมีจริยธรรมประจำใจอะไร"

         เมื่อทุกคนนำเสนอความคิดเห็น อ.ยมกล่าวสรุปและข้อเสนอแนะที่ต้องปรับปรุง

         อ.ยม  แนะนำให้จำโมเดลที่เป็นรูปต้นไม้

         เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง

         ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในหลวงทรงมีพระราชดำริ ให้คนไทยมีความสุขอย่างยั่งยืนแนวทางการดำเนินชีวิต เป็นกรอบแนวความคิด เพื่อความยั่งยืนตั้งอย่บนหลักการและเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันรองรับความเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งจะต้องมีความรู้คู่คุณธรรม

       สุดท้ายนี้ ดิฉันได้ยกเอาคำกลอน ของ ศ.อำไพ  สุจริตกุล ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่สำคัญของผู้นำ 

                        "  ความรู้  คู่  คุณธรรม  "

       เมื่อความรู้         ยอดเยี่ยม        สูงเทียมเมฆ

แต่คุณธรรม              ต่ำเฉก             ยอดหญ้านั่น

อาจเสกสร้าง            มิจฉา               สารพัน

ด้วยจิตอัน                 ไร้อาย             ในโลกา

     แม้นคุณธรรม       สูงเยื่ยม            ถึงเทียมเมฆ

แต่ความรู้                  ต่ำเฉก              เพียงยอดหญ้า

ย่อมเป็นเหยื่อ            ทรชน               จนอุรา

ด้วยปัญญา                อ่อนด้อย           น่าน้อยใจ

      หากความรู้           สูงล้ำ                คุณธรรมเลิศ

แสนประเสริฐ              กอปรกิจ           วินิจฉัย

จะพัฒนา                    ประชาราษฎร์   ทั้งชาติไทย

ต้องฝึกให้                   ความรู้              คุ่คุณธรรม      

 

 

 

 

 

 

นางจำเนียร อำภารักษ์ ID 106142002 รุ่น 6
เรียน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ อ.ยม และสวัสดีเพื่อนนักศึกษาทุกท่าน                 เมื่อวันที่  2 - 3 มีนาคม  2550 ศึกษาภาวะผู้นำจาก อ.ยม ได้รับความรู้และการปฏิบัติฝึกให้นักศึกษาได้ปฏิบัติจริง พร้อมทั้งให้คำแนะนำเกี่ยวกับการพูดบุคลิกภาพ และอื่น ๆ               วันที่  2  มีนาคม  2550 อ.ยม สอนเรื่อง ทศพิธราชธรรม               ทศพิธ  แปลว่า  10  อย่าง               ราชธรรม  แปลว่า  ธรรมสำหรับพระราชา               ทศพิธราชธรรม  เป็นธรรมของนักปกครอง 10 ประการ ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารระดับใดก็ตาม ควรยึดมั่นในทศพิธราชธรรม                พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงปกครองบ้านเมืองให้ร่มเย็นเป็นสุขด้วยทศพิธราชธรรม  ดังพระปฐมบรมราชโองการ เมื่อครั้งเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติเมื่อวันที่  5  พฤษภาคม 2493 ความว่า                "เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม  เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"                ทศพิธราชธรรม  10  ประการ ได้แก่1.    ทาน คือ  การให้2.    ศีล  ผู้นำต้องตั้งอยู่ในศีลธรรม 3.    จาคะ  คือ  การบริจาค เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่น4.    อาชวะ ผู้นำต้องมีความซื่อตรงต่อตนเอง ต่อหน้าที่ ต่อผู้ร่วมงาน5.    มัทวะ  คือ ความสุภาพ อ่อนโยน6.    ตปะ  การแผดเผาความโลภ  ดังคำกล่าวว่า รู้จักพอไม่ก่อทุกข์7.    อักโกธะ  คือ ความไม่โกรธ  ระงับอารมณ์8.    อวิหิงสา คือ การไม่เบียดเบียนผู้อื่น9.    ขันติ คือ ความอดทน10.   อวิโรธนะ  คือ ความไม่คลาดจากธรรม ปกครองแบบธรรมาธิปไตยช่วงเช้าของวันที่  3  มีนาคม  2550   การบริหารองค์กร สาเหตุของความเสี่ยง1.    การต่อต้านการเปลี่ยนแปลง2.    สมาชิกในองค์กรสำคัญตนผิด คิดว่าองค์กรยิ่งใหญ่ สามารถการันตีอนาคตได้3.    ไม่ไยดีในนวัตกรรมใหม่ ๆ 4.    ขาดการวางแผนระยะยาว ขาดวิสัยทัศน์ ขาดงบประมาณ ขาดคน  ขาดลูกค้า5.    การไม่ให้ความสำคัญทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะคนที่มีคุณค่าในองค์กร การสุญเสียคนที่มีคุณค่า ยิ่งกว่าเสียเงินมากมาย อ.ยม ยกตัวอย่าง ผู้บริหารบริษัทปูนซีเมนต์ไทย ที่ประสบความสำเร็จใช้ทฤษฎี "กางร่ม"ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลง1.    การตื่นตัวขององค์กร2.    การตั้งทีมเจ้าภาพ3.    ให้ทีมกำหนดวิสัยทัศน์ , กลยุทธ์ Action Plan4.    ทีมเจ้าภาพ เข้าใจกลยุทธ์ , สอนได้ , สื่อได้ , โน้มน้าวได้5.    ให้ทุกคนมีส่วนร่วม ร่วมมือในการที่จะเปลี่ยนแปลง พัฒนา นวัตกรรมขึ้นมา6.    รวบรวมผลลัพธ์จากการกระทำ มาสรุปผล และประเมินผล7.    การสร้างชัยชนะในระยะสั้น8.    การกำหนดแนวปฏิบัติใหม่เป็นรูปธรรมมากขึ้น9.    พัฒนาอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่ความพึงพอใจของลูกค้า , ขององค์กร และของพนักงาน แนวทางนำไปประยุกต์ใช้ใน "ธุรกิจบริการ"1.    รวดเร็ว2.    ลูกค้าสะดวกสบาย3.    เชื่อถือได้4.    ปฏิบัติเสมอภาค5.    สร้างความไว้วางใจได้6.    การดูแลเอาใจใส่อ.ยม พูดถึง คุณธรรมและจริยธรรม ซึ่งดิฉันได้สรุปคำ 2 คำ นี้แล้ว ตามความคิดของตนเองว่าแตกต่างกันดังนี้คุณธรรม คือ  แนวหลักในการปฏิบัติ ซึ่งปรากฎในทุก ๆ ศาสนา แต่สำหรับศาสนาพุทธ คุณธรรมใช้หลักธรรม อริยสัจ 4 และอิทธิบาท 4 แล้วนำเอาหลักธรรมที่กล่าวนี้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของแต่ละบุคคลจริยธรรม  คือ  พฤติกรรมที่ถูกต้องดีงาม ดังนั้นคนที่มีจริยธรรมดี ต้องมีคุณธรรมทีดีมาก่อนอ.ยมให้แบ่งกล่มทำงานส่ง แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ๆ ละ 7 คน โดยให้ไปสรุปเนื้อหาภาคภาษาอังกฤษ เป็นภาษาไทยประมาณ 1 หน้ากระดาษ A4 ในช่วงบ่ายของวันที่  3 มีนาคม 2550 อ.ยม            ให้ทำงานกลุ่ม ในหัวข้อ1.    ในความเห็นของกลุ่ม จริยธรรมของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยนานาชาติ แสตมฟอร์ดมีอะไรบ้าง2.    ในฐานะที่ท่านเป็นผู้นำ จริยธรรมของผู้นำที่พึ่งมีต่อองค์กร ต่อทีมงาม ต่อสังคม และต่อประเทศชาติ เป็นอย่างไรใช้กลุ่มเดิมที่แบ่งในช่วงเช้า ระดมความคิดประมาณ 30 นาที ส่งตัวแทนพูด       หลังจากนั้น อ.ยม ฝึกความเป็นผู้นำให้นักศึกษาทุกคนได้แสดงออก โดยให้นักศึกษาพูดถึงหัวข้อ" ในชีวิตท่าน ณ วันนี้ มีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้ท่านประสบผลความสำเร็จและมีจริยธรรมประจำใจอะไร"         เมื่อทุกคนนำเสนอความคิดเห็น อ.ยมกล่าวสรุปและข้อเสนอแนะที่ต้องปรับปรุง         อ.ยม  แนะนำให้จำโมเดลที่เป็นรูปต้นไม้         เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง          ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในหลวงทรงมีพระราชดำริ ให้คนไทยมีความสุขอย่างยั่งยืนแนวทางการดำเนินชีวิต เป็นกรอบแนวความคิด เพื่อความยั่งยืนตั้งอย่บนหลักการและเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันรองรับความเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งจะต้องมีความรู้คู่คุณธรรม        สุดท้ายนี้ ดิฉันได้ยกเอาคำกลอน ของ ศ.อำไพ  สุจริตกุล ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่สำคัญของผู้นำ                 ความรู้  คู่  คุณธรรม  "      เมื่อความรู้     ยอดเยี่ยม    สูงเทียมเมฆแต่คุณธรรม         ต่ำเฉก       ยอดหญ้านั่นอาจเสกสร้าง       มิจฉา         สารพันด้วยจิตอัน          ไร้อาย        ในโลกา     แม้นคุณธรรม  สูงเยื่ยม      ถึงเทียมเมฆแต่ความรู้           ต่ำเฉก      เพียงยอดหญ้าย่อมเป็นเหยื่อ      ทรชน        จนอุราด้วยปัญญา         อ่อนด้อย    น่าน้อยใจ      หากความรู้    สูงล้ำ        คุณธรรมเลิศแสนประเสริฐ      กอปรกิจ      วินิจฉัยจะพัฒนา         ประชาราษฎร์   ทั้งชาติไทยต้องฝึกให้        ความรู้           คู่คุณธรรม   
นายนิคม อำภารักษ์ ID 106142006 รุ่น 6
       สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ  และ อ.ยม       จากการเรียนในวันที่  2-3 มี.ค. 2550  อ. ได้พูดถึงจริยธรรมของการเป็นผู้นำจริยธรรม มาจาก จริย + ธรรม คือ ความประพฤติที่ควรปฏิบัติในหมู่คณะจริยธรรม จึงเป็นหลักเกณฑ์หรือกฎที่สังคมใช้ในการตัดสินว่า การกระทำใด เป็นสิ่งที่ถูกต้องดีงาม ควรปฏิบัติและการกระทำใดที่ไม่ควรปฏิบัติทั้งต่อตัวเองและผู้อื่นประโยชน์ของจริยธรรม·       อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข·       สำนึกในหน้าที่ความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ·       พัฒนาชีวิตให้สำเร็จตามเป้าหมาย·       สามารถแก้ปัญหาชีวิตและความทุกข์ให้หมดไปได้·       เป็นเครื่องยึดเหนี่ยมและป้องกันการเบียดเบียนในทางส่วนตัวของสังคม·       พัฒนาคุณภาพชีวิตจริยธรรมของผู้นำรัฐ + เอกชน ตามแนวความคิดของ พลเอกเปรม  ·       ซื่อสัตย์·       ปฏิบัติตามกฎระเบียบ·       บริหารการจัดการด้วยความเป็นธรรม·       บริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ·       บริหารให้เกิดความมั่นใจ มั่งคง โดยใช้หลักพุทธศาสนา·       ปลูกฝังค่านิยมให้ถูกต้อง·       เป็นคุณงามความดี ความรัก ความเมตตาจริยธรรมของผู้นำ ต่อองค์กร ·       มุ่งทำงานทุ่มเทการทำงานเพื่อความก้าวหน้าขององค์กร·       ศึกษาใฝ่เรียนใฝ่รู้อยู่เสมอ เพื่อนำความรู้มาพัฒนาองค์กร·       ซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อองค์กร·       มีความเป็นธรรม มีความเมตตากรุณาต่อเพื่อนร่วมงาน·       มีความคิดริเริ่ม สิ่งใหม่ ๆ เพื่อสร้างให้องค์กรก้าวหน้าจริยธรรมของผู้นำต่อสังคม·       ดูแลเอาใจใส่กิจการขององค์กรไม่ให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม·       ให้ความร่วมมือกับชุมชนและสังคม·       ละเว้นการประกอบธุรกิจที่ทำให้สังคม·       เคารพสิทธิของผู้อื่นLeadership Strategies for  change(ผู้นำกับการเปลี่ยนแปลง)2 ทฤษฎีในการเปลี่ยนแปลง1.    Top  down  เบื้องบนสั่งการ (ส่วนใหญ่เป็นองค์กรในระบบราชการ)2.    Bottom  up (เปลี่ยนแปลงจากระดับล่าง) ทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วมบทบาทของผู้นำต่อการเปลี่ยนแปลง (Leadership Strategies for  change)

·       ให้ทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วม

สามารถโน้มน้าวจิตใจผู้ร่วมงาน·       มีความอดทนอดกลั้น

·       กำหนดเป้าหมายชัดเจนว่า

เปลี่ยนแปลงอะไร

·       ผุ้นำที่เก่งต้องบริหาร

การขัดแย้งได้ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงขององค์กร·       ประชาสัมพันธ์ให้คนในองค์กรทราบ ตั้งคณะกรรมการกำหนดกลยุทธ์ วิสัยทัศน์ ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการคิด·       ให้ทุกส่วนขององค์กรมีส่วนร่วม ร่วมมือในการที่จะเปลี่ยนแปลงพัฒนา·       รวบรวมผลลัพธ์กับการกระทำ , รวบรวมข้อมูลสรุปผลประเมินผล·       นำผลสำเร็จมาดำเนินงาน·       กำหนดแนะปฏิบัติใหม่ให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น     
นายชาญชัย พานิชนันทนกุล ID:105342002
สวัสดีครับท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ อ.ยม  นาคสุขและเพื่อนๆนักศึกษาม.นานาชาติสแตมฟอร์ดทุกท่าน        จากการศึกษาวิชาภาวะผู้นำในวันที่2และ3มีนาคมที่ผ่านมาท่านอ.ยมได้ให้ความรู้ในเรื่องChange-Leadership หัวข้อจริยธรรม ยุทธศาสตร์พัฒนาภาวะผู้นำ        -ประโยชน์ของภาวะผู้นำ (ระดมความคิดเห็น)        -ยุทธศาสตร์การพํฒนาภาวะผู้นำ        -จริยธรรม ความหมายและกรอบแนวคิดภาวะผู้นำมีประโยชน์อย่างไร?จากความเห็นของข้าพเจ้าภาวะผู้นำมีประโยชน์ในด้านต่างๆดังนี้-ต่อตนเอง   1.มีโอกาสรู้จักคนได้มากขึ้น                2.มีความอดทนมากขึ้น                3.ทำให้มีคุณธรรม จริยธรรม                4.มีความรับผิดชอบในหน้าที่ตนเองดีขึ้น-ต่อครอบครัว       1.มีความซื่อสัตย์                        2.สร้างกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว                        3.เปิดโอกาสให้คนในครอบคร้วแสดงความคิดเห็น-ต่อสังคม    1.สร้างจิตสำนึกให้รักชุมชน                2.รับผิดชอบต่อสังคม-ต่อองค์กร   1.นำองค์กรสู่ความสำเร็จ                2.สร้างความเชื่อมั่นให้องค์กร                3.พนักงานมีขวัญกำลังใจดี แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเทคนิค 10 ประการฝึกตนให้เป็นผู้นำ แบบญี่ปุ่น 1.    ฝึกเป็นคนมีมีวินัย เช่น ตรงต่อเวลา ปฏิบัติตามกฎ กติกา มารยาท2.    มีมารยาททางสังคม  ซึ่งถือเป็นจุดเด่นของญี่ปุ่น3.    ฝึกเป็นคนขยัน  อดทนเป็น4.    Enterprise Spirit  กล้าริเริ่มสิ่งใหม่ ๆ5.    Team Work  คนญี่ปุ่นยึดฉันทามติ จงรักภักดีต่อองค์กร  ทำงานแบบอุทิศ  ทุ่มเท6.    มีนิสัยรักการอ่าน7.    รักความสะอาด  ความบริสุทธิ์8.    มีความรับผิดชอบต่อสังคมสูง9.    รักในศักดิ์ศรี ชาตินิยม10.พัฒนาตลอดเวลา  ไม่หยุดนิ่ง  และกระตือรือร้น      หลักธรรมที่ใช้ยึดถือในการควบคุม การใช้อำนาจของผู้นำ  1.    หิริ  ได้แก่ความละอายใจ  ละอายต่อการกระทำชั่ว2.     โอตตัปปะ  ความเกรงกลัวต่อบาป  ความชั่ว3.     ขันติ  ความอดทน อดกลั้นที่จะไม่กระทำสิ่งที่ไม่ดีทั้งหลาย4.     โสรัจจะ  ความสงบเสงี่ยม  รักษาอากัปกิริยาให้เหมาะสม พัฒนาภาวะผู้นำ ตามทศพิศราชธรรม๑. ทานัง คือ การให้ ซึ่งได้แก่ อามิสทาน(การให้สิ่งของ) ธรรมทาน(การให้ความรุ้) และ อภัยทาน
๒. ศีล คือการมีความประพฤติดีงาม สำรวมกาย วาจาใจ ประพฤติตนเป็นตัวอย่างที่ดี ให้เป็นที่เคารพนับถือของประชาชน

๓. บริจาคะ (การบริจาค) การเสียสละความสุขส่วนตัว เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน และความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
๔. อาชชวะ ได้แก่ การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีความจริงใจ ไม่หลอกลวงประชาชน ซื่อตรงต่อคำพูด ซื่อตรงต่อวิชาชีพ
๕. มัททวะ ได้แก่ ความอ่อนโยน การมีอัธยาศัยดี ซึ่งถ้าเป็นยุคนี้ต้องเรียกว่ามีความใจกว้างในการรับฟัง ไม่ดื้อ ไม่รั่น ไม่บ้า หรือมัวเมาในอำนาจ
                               ๖. ตปะ ได้แก่ ความเพียรเพื่อกำจัดความเกียจคร้านและความชั่ว พยายามลดกิเลสของตน ซึ่งเป็นธรรมดาของคนที่มีอำนาจ ที่จะมีโอกาสจะเห็นผลประโยชน์รูปแบบต่างๆวิ่งผ่านหน้า ตปะ จะเป็นสิ่งที่เหนี่ยวรั้ง ไม่ให้คนดี เสียคน

๗. อักโกธะ คือการไม่ถือโกรธ ไม่ผูกพยาบาท หรือจงเกลียดจงชังคนใดคนหนึ่งหรือ กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง นักปกครองคนใด ครองธรรมมะข้อนี้ไม่ได้ ก้อาจจะนำไปสุ่การสร้างความอยุติธรรมในการตัดสินใจ

๘. อวิหิงสา คือการไม่เบียดเบียน ประชาชน เพื่อนร่วมงาน, ลูกน้องของตน ,หน่วยงาน และครอบครัวตนเอง เพราะการเบียดเบียนนำไปสุ่การเอาเปรียบ การเอาเปรียบบ่อยๆ ก็ทำให้เสียนิสัยและนำไปสุ่ พฤติกรรมคอร์รัปชั่น

๙. ขันติ ได้แก่ การมีความอดทนอดกลั้นความโลภ ต่อแรงกดดันต่างๆ

๑๐. อวิโรธนะ ความโปร่งใส วิโรธนะ การทำงาน อย่าให้ประชาชนเคลือบแคลงสงสัย นั่นคือการทำงานอย่างโปร่งใส ตรงไปตรงมา
 ฝึกตนเป็นคนมีภาวะผู้นำ
กำจัด รักษา พัฒนา ป้องกัน
1.เพียรกำจัด (ลด ละ เลิก) สิ่งที่ไม่ดี ข้อบกพร่องหรืออกุศล ให้หมดไป                       2.เพียรรักษา (รักษา) สิ่งที่ดี คุณภาพดีๆ มาตรฐานงานดีๆ วินัย หรือกฎข้อบังคับ ความรู้ ภูมิปัญญา ของตน ขององค์กร ให้คงอยู่ ยั่งยืนนาน                                                                   3.เพียรระวัง (ป้องกัน) มิให้สิ่งที่ไม่ดี เข้าครอบงำ มีข้อบกพร่อง ก็ต้องป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น โดยเน้นที่การดับที่เหตุรากเหง้า 4.เพียรเจริญ (พัฒนาปรับปรุง) สิ่งที่ดีๆ สิ่งที่ทำอยู่ให้เจริญขึ้น หรือดีขึ้นเรื่อยๆ จนกว่าจะบรรลุเป้าหมายขั้นสูง Yom, 2005, 6 . สำหรับฝึกภาวะผู้นำ ท.ที่ 1 ท่าที  มีท่าทีที่ดีท.ที่ 2 ท้าทาย ทำงานที่ยากกว่า คิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ท.ที่ 3 ทน ต้องอดทนท.ที่ 4 เที่ยงธรรมท.ที่ 5  ทำท.ที่ 6 ทบทวน หมั่นทบทวน 4 E’s Leadership1. Energy  ฝึกตนให้เป็นคนมีพลังเหนือชั้น ฝึกจิตใต้สำนึก 2. Energize ฝึกตนให้เป็นคนที่สามารถกระตุ้นให้ทุกคนมีศักยภาพ    ทำงานในทิศทางเดียวกันและมีพลัง(ทฤษฎีกางร่ม)3. Edge ฝึกตนให้กล้าตัดสินใจ ให้ถูกจังหวะ 4. Execution  ฝึกตนให้เป็นผู้ที่ต้องทำให้เสร็จและสำเร็จวัดผลได้ 6 C’s Leadership1.    Conversations ติดต่อ ปราศรัย สร้างสัมพันธ์ดี2.    Communicating ฝึกสื่อสาร สื่อสารให้เป็น3.    Culture  มีวัฒนธรรม เข้าได้ทุกระดับ4.    Creating change  สร้าง/บริหารการเปลี่ยนแปลง5.    Creating team  สร้าง/บริหารทีม6.    Charisma  เก่ง กล้า สามารถ     จริยธรรม =จริยะ +  ธรรมะ =  (คำกริยา) ความประพฤติ  กริยาที่ควรปฏิบัติ  ธรรมะ  หรือ ธรรม   แปลได้หลายอย่างธรรมะ  แปลว่า  หน้าที่  กฎ  หลักเกณฑ์ธรรมะ  แปลว่า  ธรรมชาติ  ธรรมดา  สิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ ความแตกต่างระหว่าง ศีลธรรม จริยธรรม จรรณยาบรรณ 
ลักษณะความแตกต่าง ศีลธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ
รากฐานที่มา ศาสนา ประเพณีวัฒนธรรม กลุ่มวิชาชีพกำหนดขึ้น
การบังคับใช้ ใช้เฉพาะคนในศาสนา ไม่บังคับใช้ขึ้นกับจิตสำนึก คุมความประพฤติเฉพาะกลุ่มในวิชาชีพเดียวกันเท่านั้น
ลักษณะการประพฤติปฎิบัติ หลักคำสอนทางศาสนา เป็นเรื่องของจิตใจที่ดีงามกระทำออกมาถูกต้อง เป็นกติกาที่กลุ่มบุคคลยึดเป็นแนวทางปฎิบัติ
ประโยชน์ ผู้ประพฤติธรรมย่อมเป็นสุข สังคมสงบสุข ต่อผู้ประกอบอาชีพผู้ใช้บริการสังคมและประเทศ
 ภาพรวม ประโยชน์ของ จริยธรรม ช่วยให้มนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขสำนึกในหน้าที่ความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว สังคม ประเทศชาติพัฒนาชีวิตให้สำเร็จตามเป้าหมายสามารถแก้ปัญหาชีวิตและความทุกข์ให้หมดไปได้มีเครื่องยึดเหนี่ยว และป้องกันการเบียดเบียนกันในทางส่วนตัวและสังคมพัฒนาคุณภาพชีวิตให้เป็นชีวิตที่สมบูรณ์ จริยธรรม มีประโยชน์อย่างไร?Quality worker : คนมีคุณภาพQuality Organization : องค์การมีคุณภาพQuality Product : สินค้า บริการ มีคุณภาพEmployee Retention : เก็บรักษาบุคลากรไว้ได้Customer Satisfaction : สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้Orientation Trust : สร้างความเชื่อมั่นให้กับองค์การMarket Orientation : ทำตลาดได้Profitability : สร้างผลกำไรได้Team Building : สร้างทีมงานOrganization result: ผลประกอบการดีขึ้นผู้นำกับการเปลี่ยนแปลง เทคนิคขั้นตอนในการเปลี่ยนแปลงมีดังนี้1.ต้องทำให้ตื่นตัวทั่วทั้งองค์กร2.ตั้งทีมเจ้าภาพ3.ตั้งแผนเพื่อทำการชี้วัดแผนกลยุทธ์4.สื่อวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ ให้เข้าใจและสามารถโน้มน้าวเชิญชวนได้5.ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงสร้างInnovationใหม่ๆ6.รวบรวมผลลัพธ์จากการทำมาประเมินผลดูว่าเป็นอย่างไรบ้าง7.สร้างชัยชนะระยะสั้น8.กำหนดแผนระยะสั้นลึกลงไปเป็นวัฒนธรรมองค์กร9.พัฒนาอย่างต่อเนื่องสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า     2 Strategies for Changes Top Down (Programmatic)“Teaching & Application of Existing Knowledgeรวดเร็ว ประหยัด  แต่พนักงานระดับล่างไม่มีส่วนร่วม  มีการต่อต้าน Bottom-Up (Learning)“Stepwise Creation of Meaning & Understandingพนักงานระดับล่างต้องมีส่วนร่วม ทำให้รู้สึกเป็นเจ้าของ  ความสำเร็จระยะยาว   แต่ต้องใช้เวลามากในการทำความเข้าใจ LEADERSHIP FOR CHANGE (ความเป็นผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลง)ผู้นำที่ดีต้องมีความสามารถในการบริหารความขัดแย้งได้n     Partnership (มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน)n     Endurability (มีความอดทน อดกลั้น)n     Management by objectives (MBO)(บริหารโดยวัตถุประสงค์)n     Acting as driving force (ลงมือปฏิบัติเพื่อขับเคลื่อน)n     Conflict solving (คลี่คลายข้อโต้แย้ง IMPLEMENTATION SKILLS (ทักษะในการดำเนินการ)n     Sustainability (มีความคงเส้นคงวา)n     Applying appropriate change methods (เลือกใช้วิธีการที่เหมาะสมให้เกิดการเปลี่ยนแปลง)n     Reinforcing and correcting feedback loops (แก้ไขผลสะท้อนที่ได้รับกลับมา และทำให้เกิดผล)n     Developing shared mental models      (วางรูปแบบความรู้สึกร่วมกันในสภาวะทางใจ)    THE ROLE OF THE LEADER WHEN IMPLEMENTING CHANGE
(บทบาทของผู้นำเมื่อปฏิบัติให้เกิดการเปลี่ยนแปลง)
n     The leader represents the company and the change – However needs to listen to the staff (ผู้นำ คือ ตัวแทนขององค์กร และการเปลี่ยนแปลง แต่ควรต้องฟังความคิดเห็นของพนักงานด้วย)n     The leader tends to overestimate how to inform the staff (ผู้นำอาจมองข้ามความสำคัญในการชี้แจงให้พนักงานทราบ)n     The leader must create good communication channels (ผู้นำควรสร้างช่องทางการสื่อสารที่ดี)ผู้นำคือ Brand ถาม…..ในชีวิตของท่านมีอะไรที่ประสบความสำเร็จด้านใดบ้าง  มีภาวะผู้นำอะไรบ้าง  มีจริยธรรมประจำใจอะไรบ้างด้านการศึกษา                -จบการศึกษาระดับม.ปลายที่ ร..เทพศิรินทร์                -จบปริญญาตรีที่ ม.หอการค้าไทยด้านธุรกิจ    ประสบความสำเร็จในด้านยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์   สูงสุดในจ.ประจวบคีรีขันธ์-ได้รับรางวัลโชว์รูมยามาฮ่าสแควร์ยอดเยี่ยม  คะแนนเต็ม    100%  8 เดือนติดต่อกัน-ได้รับเกียรติให้เป็นศูนย์บริการยามาฮ่าระดับ 5ดาว  โดยเป็นศูนย์บริการดีเด่น 3 ปี ด้านสังคม   -ทำโครงการ Matching Grant สโมสรโรตารีปราณบุรีโครงการเครื่องมือแพทย์เพื่อชุมชนให้แก่ร..ปราณบุรี และสถานีอนามัย 7แห่งในเขตอ.ปราณบุรี                -ส่งน..แลกเปลี่ยนไป U.S.A. ภาวะผู้นำ-มีวิสัยทัศน์และสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วทันเวลา 

จริยธรรมประจำใจ: คุณธรรมค้ำจุนโลก

 สรุป  ผู้นำคือBrand ขององค์กรต้องมีคุณธรรมและจริยธรรมที่ดีมีการติดต่อสื่อสารแบบ 2ทางและต้องร่วมกันกำหนดจริยธรรมในทุกส่วนทุกระดับไม่ว่าจะเป็นระดับพนักงาน  หัวหน้างาน  ผู้บริหาร  หน่วยงาน  องค์การ  จึงจะเกิดความร่วมมือที่ดี ง่ายในการบริหารงาน นำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ     
  1. น.ส. พนาวัลย์ คุ้มสุด นศ. ม.นานาชาติแสตมป์ฟอร์ด หัวหิน ID: 106142010: 05/03/06: 01.20 น.

จากการศึกษาสัปดาห์ที่ผ่านมาได้ทราบว่าดิฉันได้ทำการบ้านของสัปดาห์ก่อนไม่ตรงประเด็น และการที่ไม่ได้จัดสรรเวลามาอ่านงานของเพื่อน ๆ  ใน Blog ทำให้พลาดโอกาสที่จะได้แก้ไขเพิ่มเติมในการบ้านของตน

  1. สำหรับการเรียนในสัปดาห์นี้ดิฉันได้ยอมรับกับตัวเองว่าพอมีเวลาให้กับงาน ได้อ่านการบ้านของเพื่อนทุกคนทำให้ได้เห็นพัฒนาการของเพื่อนบางคน ทำให้ตนเองได้ค้นพบวิธีการและยอมรับในวิธีการนำเสนอของอาจารย์ใหญ่ และอาจารย์ยมว่าเป็นกุศโลบายในการสอนที่ทำให้พวกเราต้องทบทวน และส่งงานทาง Blog ก็เพื่อให้โอกาสพวกเราได้มี ทุนทาง IT ซึ่งเป็นหนึ่งในทุนที่ผู้นำที่มีสภาวะผู้นำควรจะมี

ความรู้ทางวิชาการที่ได้ในสัปดาห์นี้พอสรุปโดยสังเขปดังนี้

  1. การพัฒนาภาวะผู้นำ
  2. จริยธรรมของการเป็นผู้นำ
  3. ภาวะผู้นำมีประโยชน์อย่างไร และจะพัฒนาให้ดี และคงอยู่ได้อย่างไร

แนวทางในการพัฒนาผู้นำ

  1. การพัฒนาแบบญี่ป่น 10 ประการ
  2. การพัฒนาแนวพุทธศาสนา สัปปุริสธรรม
  3. การพัฒนาผู้นำตามทศพิศราชธรรม
  4. การพัฒนาผู้นำตามแนวคิด Yom 2006
  5. การพัฒนาผู้นำตามแนวคิด Bennis
  6. การพัฒนาผู้นำตามแนวคิดตะวันตก ที่ประกอบด้วย 6C's, 5D's, 4E's, 4K's, 6L's, 5M's, 2R's, 4S's, 5T's

ความหมายของ จริยธรรม (Ethics)

     "ความประพฤติ กริยา ที่ควรปฏิบัติ"  หรือ

     "การกระทำที่ควรประพฤติในหมู่คณะ"

ได้ทราบถึงความแตกต่างระว่าง "ศีลธรรม" "จริยธรรม" และ"จรรยาบรรณ"

ประโยชน์ของการมีจริยธรรม

  1. อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
  2. สำนึกในหน้าที่ ความรับผิดชอบ
  3. พัฒนาชีวิตให้สำเร็จตามเป้าหมาย
  4. แก้ปัญหาชีวิต และขจัดความทุกข์
  5. เครื่องยึดเหนี่ว และป้องกันการเห็นแก่ตัว
  6. พัฒนาคุณภาพชีวิตให้สมบรูณ์  
  7. สร้างสันติภาพ

จริยธรรมของผู้นำ

  1. มุ่งมั่นทำงานเพื่อความก้าวหน้าขององค์กร
  2. มีเมตตากรุณา ยึดหลักพรหมวิหารสี่ และหลักธรรมทางศาสนา
  3. ประพฤติตนเป็นตัวอย่างดที่ดี
  4. ตั้งมั่นอยูในความยุติธรรม เสมอภาค
  5. มั่นศึกษาหาความรู้ ทันสมัยเสมอ
  6. ไม่ใช้วิธีการ หรืออิทธิพลแสวงหาผลประโยชน์เพื่อตนเอง
  7. รักษาความลับของผู้ใต้บังคับบัญชา
  8. รับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ปัดความรับผิดชอบ
  9. อดทน เยือกเย็นต่อคำพูดขัดแย้ง
  10. เอาใจใส่ทุกข์ สุข ผู้ใต้บังคับบัญชา
  11. ระมัดระวังคำพูด ไม่ดุด่าต่อหน้าผู้อื่น
  12. เว้นอบายมุข ที่สังคมรังเกียจ
  13. สุภาพ อ่อนโยนต่อผู้ใต้บังคับบัญชา
  14. ต้องมีความซื่อสัตย์
  15. ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ตน และผู้อื่น

ผู้กำหนดจริยธรรมคือ พนักงาน หัวหน้างาน ผู้บริหาร หน่วยงาน องค์กร โดยเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม จะทำให้จริยธรรมนั้นมีการยอมรับมากขึ้น เป็นประโยชน์มากขึ้น

จากกิจกรรมที่อาจารย์มอบในห้อง โดยให้ทำเป็นกลุ่ม ทำให้ทุกคนได้ทราบถึง

  1. จริยธรรมของนศ. รุ่น 6 และ 7
  2. จริยธรรมขององค์กร
  3. จริยธรรมของทีมงาน
  4. จริยธรรมของชุมชน
  5. จริยธรรมของสังคม
  6. จริยธรรมของประเทศชาติ

สิ่งที่สำคัญที่ดิฉันได้จากการเรียนในสัปดาห์นี้ คือ วิชาการที่อาจารย์มอบให้ทำให้ดิฉันพอจะประเมินตนได้คร่าว ๆ ว่าอยู่ในภาวะใด และจะต้องพัฒนาต่อไปอย่างไร และทำให้มีความพร้อมที่จะเปิดใจกว้างเพื่อรับรู้วิชาการที่จะได้รับจากอาจารย์ใหญ่ในชั่วโมงต่อไปได้เป็นอย่างดี

ดิฉันมั่นใจว่า ความรู้ที่ได้รับจากวิชานี้ จะทำให้ดิฉันค้นพบเส้นทางที่จะพัฒนาตนไปส่การเป็นผู้นำที่มีสภาวะการเป็นผู้นำที่ดีต่อไปในอนาคต ทั้งภาคกิจการส่วนตัว และภาคผู้บริหารท้องถิ่นเพื่อนำชุมชนไปสู่การพัฒนาทั้งรูปธรรม นามธรรม โดยมีจริยธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว

                    ด้วยความเคารพอย่างสูง

          น.ส. พนาวัลย์ คุ้มสุด ID: 106142010

เรียนท่าน ศ.ดร.จีระ ท่านอ. ยม เพื่อนนักศึกษา MBA รุ่น 6, 7 และท่านผู้อ่านทุกท่าน

ดิฉันทำการบ้านบน Blog หลังจากส่ง Mail แล้วพบว่าต้องเพิ่มคำทักทาย และแก้ไขในย่อหน้าแรกที่มีหัวข้อ 1. หน้า น.ส.พนาวัลย์ และย่อหน้าที่ 3 มีห้วข้อ 1. หน้า สำหรับการเรียน ดิฉันขอความกรุณาอาจารย์ยม ช่วยเพิ่มคำทักทาย และ ลบหัวข้อ 1. จาก 2 ย่อหน้าดังกล่าวให้ด้วยนะคะ

                   ด้วยความเคารพอย่างสูง

           น.ส. พนาวัลย์ คุ้มสุด ID: 106142010

นายชูศักดิ์ ลาภส่งผล
สวัสดีครับ ท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  อ.ยม และนักศึกษาทุกท่าน จากการที่ได้เรียนภาวะผู้นำแล้วได้อะไรบ้างภาวะผู้นำนอกจากจะต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถหลายด้านแล้วสิ่งที่สำคัญคือเรื่องของคุณธรรมและจริยธรรมที่มีอยู่ในตัวของผู้นำเอง ต้องมีการพัฒนาตัวเองอยู่สม่ำเสมอ ผู้นำต้องมีคุณค่าและควรมีทศพิศราชธรรม เนื้้อหาที่สอนทำให้ทราบเกี่ยวกับ ·        ทราบถึงศีลธรรม จริยธรรม จรรณยาบรรณแยกออกจากกันได้อย่างชัดเจน ·        ผู้นำที่ดีควรมีการเปลี่ยนแปลงในองค์ได้อย่างได้ ·        เทคนิควิธี และการพัฒนาภาวะผู้นำ ·        จริธรรมของผู้นำที่พึงมีต่อการเป็นผู้นำ ·        ทศพิศราชธรรมของผู้นำที่ดี ·        ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของผู้นำในศตวรรษที่ 21 การอยู่ร่วมกันหรือศีลธรรมถือเป็นหัวใจของการพัฒนาทุกชนิด                ศีลธรรม (การอยู่ร่วมกัน) ·        เศรษฐกิจ·        การเมืองการปกครอง·        วัฒนธรรม·        สังคม·        สิ่งแวดล้อม·        การศึกษา·        ครอบครัว·        ชุมชน 

ผู้นำที่ดีนอกจากจะเป็นบุคคลที่รอบรู้ ยังต้องมีการปรับตัวและสามารถเปลี่ยนแปลงภายในองค์กรได้โดยที่ไม่ทำให้เกิดความขัดแย้ง และผู้นำควรจะต้องมีคุณธรรม จริยธรรมในการพัฒนาบริหารจัดการ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกผ่ายสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างปรองดองกัน ทั้งในด้านของความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ ให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย

 

นายชูศักดิ์  ลาภส่งผล

นักศึกษา MBA 6

ม.นานาชาติแสตมฟอร์ด                             

เรียน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์, อาจารย์ยม และเพื่อนๆนักศึกษาทุกท่าน  

              เมื่อวันที่  2 - 3 มีนาคม  2550 ศึกษาภาวะผู้นำจาก ได้อะไรจากการเรียนบ้าง

อาทิตย์นี้ทางมหาวิทยาลัยทำ ชีท ประกอบการสอนให้นักศึกษาไม่ทันจึง ต้องจดบันทึกจากเอง อ.ยมในการบรรยาย ซึ่งก็ได้เนื้อหา ความรู้และสนุกกับการเรียนเหมือนเดิมค่ะการให้ที่ดีที่สุด ประเสริฐที่สุดคือการให้อะไร คำตอบคือ การให้ปัญญา จึงนำไปสู่ความคิดทั้งปวง1.        ไม่น่าเชื่อว่าต้นไม้ของ อ.ยมแค่ต้นเดียวจะสามารถสร้างคนให้เป็นผู้นำที่ดีได้ ดูเหมือนง่ายๆนะคะ แต่จะมีสักกี่คนที่สามารถปฏิบัติตามหลักต่างๆ ในต้นไม้ของ อ.ยมได้ครบทุกข้อ??2.        อ.ยม เน้นเสมอเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง กับ 3 ห่วง 2 เงื่อนไขที่เข้าใจง่าย และมีความหมายดีค่ะ ซึ่งประกอบด้วย·        เงื่อนไขความรู้ : รอบรู้, รอบคอบและระมัดระวัง·        เงื่อนไขคุณธรรม: ซื่อสัตย์สุจริต, สติ ปัญญา, ขยัน อดทน, แบ่งปันส่วน 3 ห่วงนั้น ประกอบด้วย พอประมาณ, มีเหตุผลและ มี๓มิคุ้มกันในตัวที่ดี นำไปสู่ เศรษฐกิจ, สังคม, สิ่งแวดล้อม, วัฒนธรรม, สมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง3.        ฝิ่นชอบประโยคหนึ่งที่ อ.ยม ยกมาจาก อ.เต็มศิริ บุญสิทธ คือ ก่อนนอนให้ทบทวนว่าวันนี้ได้ทำ ข้อผิด พลาดอะไรไปบ้าง แล้วพรุ่งนี้จะต้องไม่ทำผิดพลาดอีกในเรื่องเดิม ตอนนี้กลับมานอนคิดทุกคืนเลยค่ะ4.        ได้แลกเปลี่ยน ประวัติส่วนตัวบางส่วนของเพื่อนๆ ในห้อง (ชอบมากเลยค่ะ!) แต่ให้เวลาคนละ 5 นาทีเอง ทำให้ได้ทราบถึงความพยายามและความอดทน บวกกับปัจจัยหลายๆอย่าง ที่ทำให้พี่ๆ และเพื่อนๆ บางคนที่ผ่านอุปสรรคอะไรมากมายหลายอย่างในชีวิต จนก้าวมาถึงวันนี้ได้ ฝ่าฟันกันมามากมาย จนประสบ    ความสำเร็จ น่าทึ่งมากๆ และ สำหรับเพื่อนๆ และน้องๆ บางคนเช่นกันที่ เพิ่งเริ่มก้าวเดิน เพื่ออนาคต และยังมีอุปสรรคข้างหน้าที่ยังไปไม่ถึง และ สามารถนำข้อแนะนำ หรือตัวอย่างจากพี่ๆ ที่ผ่านประสบการณ์มาแล้วไปประยุกต์ใช้ได้ในอนาคต5.        มีจริยธรรมประจำใจจากหลายคนที่ชอบมากๆๆ เช่น จะรู้ว่าโลกนี้มันกว้างใหญ่ ต่อเมื่อเราออกเดินทาง อันนี้เกิดขึ้นกับตัวเองเลยค่ะ จะรู้ความหมายของ ฟ้าหลังฝน ก็ต่อเมื่อเราผ่านพ้นมันมาได้แล้วจะรู้ว่าในหนังสือมีอะไร เมื่อเราเปิดอ่าน ที่สำคัญคือ ความกตัญญู เพราะความสำเร็จที่ทำให้ บุบพการีมีความสุขและตื้นตัน ก็ถือว้าเป็นความกตัญญูอย่างหนึ่งเช่นเดียวกัน อันนี้เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดของตัวฝิ่นเอง6.        อ.ยมให้ Shear idea เกี่ยวกับภาวะผู้นำในฝ่ายต่างๆ·        จริยธรรมของภาวะผู้นำของนักศึกษา·        จริยธรรมของภาวะผู้นำของสังคม·        จริยธรรมของภาวะผู้นำของทีมงาน หรือ องค์กร·        จริยธรรมของภาวะผู้นำของประเทศ7.        อ.ยมให้ทุกคนประเมินตัวเองในการมีภาวะผู้นำ 50 หัวข้อ และให้เรียงความสำคัญจาก 1 50 ซึ่งเชื่อว่า ทุก          คนเรียงไม่เหมือนกันแน่นอน ตามวิสัยทัศน์และประสบการณ์ที่แตกต่างกัน แล้วอ.ยมจะมาแจ้งให้ทราบอาทิตย์หน้าค่ะ8.        เรียนเรื่องคุณค่าของผู้นำ 7 ข้อ·        มุ่งประโยชน์ส่วนรวม, ประโยชน์แผ่นดิน·        ปกครองด้วยหลักธรรมาธิปไตย, ธรรมมาภิบาล·        มีความสามารถ·        มีความสำนึกรับผิดชอบ·        มีความเป็นกลาง·        การมุ่งสัมฤทธิผล·        ความเป็นมืออาชีพ9.        เรียนเรื่องภาวะผู้นำแบบญี่ปุ่น 10 ข้อ·        มีวินัย, ตรงต่อเวลา กติกา มารยาท·        มีมารยาททางสังคม ซึ่งเป็นจุดเด่นของคนญี่ปุ่นข้อนี้ฝิ่นจำได้ติดตาในข่าวช่อง 7 เมื่อภูเขาไฟระเบิดที่ โกฮามา หลายปีมาแล้วตั้งแต่อยู่ ม. ปลายแล้วมีคนเสียชีวิตมากมาย ทรัพย์สิน บ้านเรือนเสียหาย ประมาณค่าไม่ได้ และทางรัฐบาลของญี่ปุ่นก็มาแจกของ ซึ่งน่าประทับใจอย่างมาก คนเหล่านั้นที่ประสบเคราะห์ร้าย ยืนเรียนแถวตอน 1 คนเพื่อรับสิ่งของที่ทางรัฐบาลเอามาบริจาคช่วยเหลืออย่างเป็นระเบียบ ไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อนเลยจริงๆ ค่ะ ยอมรับว่าพวกเค้าได้รับการปลูกฝังมาอย่างดี และสุดยอดมาก·        ขยันและอดทน·        มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ใช้ระบบ QC ในการคิด Innovation·        มีความจงรักภัคดีต่อองค์กร ทำงานอย่างทุ่มเทเป็น Team work·        มีนิสัยการรักอ่าน (ข้อนี้ตัวฝิ่นเองต้องปรับปรุงอย่างมากเลยค่ะ)·        รักสะอาด ความบริสุทธิ์ และยังหมายความว่า คนที่ไม่มีคุณภาพ คือคนที่สกปรก อีกด้วย·        มีความรับผิดชอบต่อสังคมสูง·        รักศักดิศรี และมีความเป็นชาตินิยม·        มีการพัฒนาตลอดเวลา ไม่หยุดนิ่งและมีความกระตือรือร้นสูง10.     เรียนเรื่องทศพิษราชธรรม 10 ข้อ (กำจัด, รักษา, พัฒนาและป้องกัน)·        ทานัง                       อามิสทาน, ธรรมทานและอภัยทาน·        ศีล                           ประพฤติดี ทั้ง กาย วาจาและใจ·        บริจาคะ                   การบริจาค เป็นการเสียสละความสุขส่วนตัว·        อาชชวะ                   ความซื่อสัตย์สุจริต·        มัททวะ                    ความอ่อนโยน (ไม่อ่อนแอ) มีอัธยาศัยดี·        ตปะ                         ความเพียรเพื่อกำจัดความเกียจคร้าน·        อักโกธะ                  ความไม่โกรธ ไม่ผูกพยาบาท·        อวิสังหา                  ความไม่เบียดเบียน·        ขันติ                        มีความอดทน อดกลั้น ต่อแรงกดดันต่างๆ รวมทั้งความโลภ·        อวิโรชนะ                ความโปร่งใส วิโรชนะ การทำงานอย่าให้เคลือบแคลงสงสัย11.     เรียนเรื่อง 6 ท. ของอ.ยม·        ท่าที         มีท่าทีที่ดี·        ท้าทาย     ทำวานที่ยากกว่าเดิมและคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ·        ทน·        เที่ยงธรรม·        ทำ·        ทบทวน         หวังเป็นอย่างยิ่งว่า อาทิตย์หน้าจะได้มีโอกาสเรียนกับ อาจารย์ ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ นะคะ ทั้งนี้ฝิ่นขอออกตัวนิดหนึ่งและขอเป็นการขออนุญาตจากท่านอาจารย์ ศ.ดร.จิระ ในวันเสาร์ที่ 10 มีนาคม ที่ฝิ่นสามารถไปเรียนหนังสือได้ตอนช่วยบ่าย เนื่องจาก คณะ สสร. มาร่างรัฐธรรมนูญที่ โรงแรม Springfield Village Golf and Spa ที่ฝิ่นทำงานอยู่ จึงสามารถไปเรียนได้หลังจากที่ คณะท่านได้ check out จากโรงแรมไปแล้วค่ะ ด้วยความเคารพอย่างสูงจารุวรรณ ยุ่นประยงค์

 

น.ส.ปภาวี นาคสุข ID 106142008 MBA 6

เรียน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์, อ.ยม และสวัสดีเพื่อนนักศึกษาทุกท่าน เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา (2-3 มี.ค.2550) ดิฉันได้ความรู้เพิ่มเติมมากมายเกี่ยวกับจริยธรรมของการเป็นผู้นำ และการพัฒนาภาวะผู้นำจากการสอนโดย อ.ยม ซึ่งสามารถสรุปได้เป็นเนื้อหาสำคัญ ดังนี้  แนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาภาวะผู้นำ มีด้วยกันหลายแนวทาง คือ แบบญี่ปุ่น 10 ประการ, ตามแนวพุทธศาสตร์สัปปุริสธรรม 7, ตามแนวทศพิศราชธรรม, ตามแนวคิด Bennis 1989 และตามแนวคิดของ อ.ยม ที่ใช้ ทฤษฎี 6 ท. (ท่าที, ท้าทาย, ทน, เที่ยงธรรม, ทำ, ทบทวน) ดิฉันขออนุญาตเพิ่มของอาจารย์ยม อีก 1 ท. นะคะ คือ ทัน ซึ่งทันในที่นี้ คือ ทันต่อเหตุการณ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนไป รวมไปถึงทันต่อเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นมาใหม่ตลอดเวลา เหตุผลที่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีเพราะปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทต่อสังคมปัจจุบันอย่างปฏิเสธไม่ได้ โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์

สำหรับในเรื่องของจริยธรรมนั้น ผู้นำควรมีต่อองค์กร, สังคม, ผู้ร่วมงาน และประเทศชาติ ซึ่งก่อนที่จะมุ่งประเด็นไปที่ส่วนต่างๆ ก่อนอื่นผู้นำต้องมีจริยธรรมประจำใจของตนเองเสียก่อน เพื่อใช้เป็นหลักยึดถือในการประพฤติปฏิบัติ และเพื่อให้การบริหารงานเกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์ประกอบภายนอกต่างๆ 

 

ปภาวี  นาคสุข ID 106142008

กนกลักษณ์ เร้าเลิศฤทธิ์
เรียน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ อ.ยม และสวัสดีเพื่อนนักศึกษาทุกท่าน   ดิฉัน นางสาวกนกลักษณ์ เร้าเลิศฤทธิ์ ID:106342003 MBA  ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด หัวหิน จากการเรียนในวันที่ 2-3 มีนาคม 2550 ที่ผ่านมา อ.ได้สอนบรรยาย ในหัวข้อหลักๆ คือ1.ประโยชน์ของภาวะผู้นำ2.ยุทธ์ศาสตร์การพัฒนาภาวะผู้นำ3.จริยะธรรม ประโยชน์ของภาวะผู้นำ-         ต่อตนเอง ทำให้เรามีความรับผิดชอบ-         ต่อองค์กร นำองค์กรสู่ความสำเร็จง่ายขึ้น สร้างความเชื่อมั่นให้กับองค์กร-         ต่อสังคมและประเทศชาติ สร้างจิตสำนึกในการรักสังคมและประเทศชาติ *ถ้าภาวะผู้นำดีทำให้พนักงานมีขวัญและกำลังใจที่ดี และมีคนที่มีคุณภาพ แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำแบบญี่ปุ่น1.    ฝึกเป็นคนมีมีวินัย เช่น ตรงต่อเวลา ปฏิบัติตามกฎ กติกา มารยาท 2.     มีมารยาททางสังคม  ซึ่งถือเป็นจุดเด่นของญี่ปุ่น 3.    ฝึกเป็นคนขยัน  อดทนเป็น 4.    nterprise Spirit  กล้าริเริ่มสิ่งใหม่ ๆ 5.    Team Work  คนญี่ปุ่นยึดฉันทามติ จงรักภักดีต่อองค์กร  ทำงานแบบอุทิศ  ทุ่มเท 6.    มีนิสัยรักการอ่าน 7.     รักความสะอาด  ความบริสุทธิ์ 8.     มีความรับผิดชอบต่อสังคมสูง 9.    รักในศักดิ์ศรี ชาตินิยม 10.พัฒนาตลอดเวลา  ไม่หยุดนิ่ง  และกระตือรือร้น  พัฒนาภาวะผู้นำ ตามทศพิศราชธรรม1.    ทานัง คือ การให้ ซึ่งได้แก่ อามิสทาน(การให้สิ่งของ) ธรรมทาน(การให้ความรุ้) และ อภัยทาน 2.    ศีล คือการมีความประพฤติดีงาม สำรวมกาย วาจาใจ ประพฤติตนเป็นตัวอย่างที่ดี ให้เป็นที่เคารพนับถือของประชาชน 
 
3.    บริจาคะ (การบริจาค) การเสียสละความสุขส่วนตัว เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน และความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง 4.    อาชชวะ ได้แก่ การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีความจริงใจ ไม่หลอกลวงประชาชน ซื่อตรงต่อคำพูด ซื่อตรงต่อวิชาชีพ 5.    มัททวะ ได้แก่ ความอ่อนโยน การมีอัธยาศัยดี ซึ่งถ้าเป็นยุคนี้ต้องเรียกว่ามีความใจกว้างในการรับฟัง ไม่ดื้อ ไม่รั่น ไม่บ้า หรือมัวเมาในอำนาจ                             6.    ตปะ ได้แก่ ความเพียรเพื่อกำจัดความเกียจคร้านและความชั่ว พยายามลดกิเลสของตน ซึ่งเป็นธรรมดาของคนที่มีอำนาจ ที่จะมีโอกาสจะเห็นผลประโยชน์รูปแบบต่างๆวิ่งผ่านหน้า ตปะ จะเป็นสิ่งที่เหนี่ยวรั้ง ไม่ให้คนดี เสียคน
 
7.    อักโกธะ คือการไม่ถือโกรธ ไม่ผูกพยาบาท หรือจงเกลียดจงชังคนใดคนหนึ่งหรือ กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง นักปกครองคนใด ครองธรรมมะข้อนี้ไม่ได้ ก้อาจจะนำไปสุ่การสร้างความอยุติธรรมในการตัดสินใจ
 
8.    อวิหิงสา คือการไม่เบียดเบียน ประชาชน เพื่อนร่วมงาน, ลูกน้องของตน ,หน่วยงาน และครอบครัวตนเอง เพราะการเบียดเบียนนำไปสุ่การเอาเปรียบ การเอาเปรียบบ่อยๆ ก็ทำให้เสียนิสัยและนำไปสุ่ พฤติกรรมคอร์รัปชั่น
 
9.    ขันติ ได้แก่ การมีความอดทนอดกลั้นความโลภ ต่อแรงกดดันต่างๆ
 
10.           อวิโรธนะ ความโปร่งใส วิโรธนะ การทำงาน อย่าให้ประชาชนเคลือบแคลงสงสัย นั่นคือการทำงานอย่างโปร่งใส ตรงไปตรงมา ฝึกตนเป็นคนมีภาวะผู้นำ
กำจัด รักษา พัฒนา ป้องกัน
1.    เพียรกำจัด (ลด ละ เลิก) สิ่งที่ไม่ดี ข้อบกพร่องหรืออกุศล ให้หมดไป                      2.    เพียรรักษา (รักษา) สิ่งที่ดี คุณภาพดีๆ มาตรฐานงานดีๆ วินัย หรือกฎข้อบังคับ ความรู้ ภูมิปัญญา ของตน ขององค์กร ให้คงอยู่ ยั่งยืนนาน                                                                   3.    เพียรระวัง (ป้องกัน) มิให้สิ่งที่ไม่ดี เข้าครอบงำ มีข้อบกพร่อง ก็ต้องป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น โดยเน้นที่การดับที่เหตุรากเหง้า 4.    เพียรเจริญ (พัฒนาปรับปรุง) สิ่งที่ดีๆ สิ่งที่ทำอยู่ให้เจริญขึ้น หรือดีขึ้นเรื่อยๆ จนกว่าจะบรรลุเป้าหมายขั้นสูง Yom, 2005, 6 . สำหรับฝึกภาวะผู้นำ 
  • ท.ที่ 1 ท่าที  มีท่าทีที่ดี
  • ท.ที่ 2 ท้าทาย ทำงานที่ยากกว่า คิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่
  • ท.ที่ 3 ทน ต้องอดทน
  • ท.ที่ 4 เที่ยงธรรม
  • ท.ที่ทำ
  • ท.ที่ 6 ทบทวน หมั่นทบทวน 
4 E’s Leadership1.    Energy  ฝึกตนให้เป็นคนมีพลังเหนือชั้น ฝึกจิตใต้สำนึก 2.    Energize ฝึกตนให้เป็นคนที่สามารถกระตุ้นให้ทุกคนมีศักยภาพ    ทำงานในทิศทางเดียวกันและมีพลัง(ทฤษฎีกางร่ม) 3.    Edge ฝึกตนให้กล้าตัดสินใจ ให้ถูกจังหวะ 4.    Execution  ฝึกตนให้เป็นผู้ที่ต้องทำให้เสร็จและสำเร็จวัดผลได้ 6 C’s Leadership1.    Conversations ติดต่อ ปราศรัย สร้างสัมพันธ์ดี 2.    Communicating ฝึกสื่อสาร สื่อสารให้เป็น   3.     Culture  มีวัฒนธรรม เข้าได้ทุกระดั 4.    Creating change  สร้าง/บริหารการเปลี่ยนแปลง  5.    Creating team  สร้าง/บริหารที 6.    Charisma  เก่ง กล้า สามารถ  4 K’s Leadership   1.Knowing your competitors รู้คู่แข่ง คู่แข่งทางการค้า2.Knowing your customer รู้ลูกค้า ลูกค้าในอนาคตและปัจจุบัน และมีการวางแผน 3.Knowing your people รู้ทีมงาน ทีมงานในอนาคตเป็นอย่างไรจุดอ่อนจุดแข็ง4.Knowing your yourself รู้ตัวเอง รู้จักตัวเอง เช่นการศึกษา วางแผนการพัฒนาตนเอง 6 L’s leadership1.Learning to love youeself รักตัวเอง ใส่ใจ ออกกำลังกาย สนใจเรื่องอนาคต2.Learning to love business รักธุระกิจ ทำอย่างไรให้ลูกน้องรักธุรกิจ3.Learning to love team รักทีม ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม4.Learning to love customer รักลูกค้า5.Learning to love suppliers รักผู้ที่เกี่ยวข้อง ดูแลทุกคน6.Learning to relax โดยการหาความรู้ใหม่ๆ ตลอดเวลา              5 M’s leadership1.Mission วิสัยทัศน์ ภาระกิจที่ชัดเจน2.Meeting-learn-chair-develop ประชุมเรียนรู้แชร์ และพัฒนา3.Measurement การวัดความพึงพอใจของลูกค้า พนักงาน4.Memory จำได้ว่าข้อมูลที่แล้วมาเป็นอย่างไร โดยอาจจะมีตัวชี้วัด เช่นการบันทึก5.Mastering time เวลา 4 S’s Leadership1.Strategy เขียนกลยุทธ์เป็น2.Setting goals ต้องตั้งเป้าหมายเป็น3.Sleep well หาทางที่มันดี4.Selecting the right people เลือกคนที่ถูกต้อง 5 T’s Leadership1.Taking responsibility รู้จักมีความรับผิดชอบเอาใจใส่2.teachimg responsibility ต้องสอนถึงโทษและดี3.Take care of HR,Employee การดูแลพนักงานและทรัพยากรมนุษย์4.Take care of customer satisfaction ทำให้ลูกค้าพึงพอใจมากขึ้น5.Take care of Organization การดูแลองค์กรก็จะดีขึ้นผลประมาณการก็จะดีตามขึ้นไป สาเหตุของความล้มสลายขององค์กร ได้แก่ 1.     การต่อต้านการเปลี่ยนแปลง2.     สมาชิกในองค์กรสำคัญตนผิด3.    ไม่ไยดีในนวัตกรรมใหม่ ๆ 4.     ขาดการวางแผนระยะยาว 5.    การไม่ให้ความสำคัญทรัพยากรมนุษย์ (การสูญเสียคนที่มีคุณค่า ยิ่งกว่าเสียเงินมากมาย)กลยุทธ์การเปลี่ยนแปลง มี 2 กลยุทธ์ คือ (2 Strategies for Changes) 1.    Top Down (Programmatic)“Teaching & Application of Existing Knowledge" เบื้องบนสั่งลงมา คนเกี่ยวข้องไม่กี่คน ข้อดี รวดเร็ว ประหยัด  แต่พนักงานระดับล่างไม่มีส่วนร่วม  มีการต่อต้าน  2.    Bottom-Up (Learning)“Stepwise Creation of Meaning & Understanding" พนักงานระดับล่างต้องมีส่วนร่วม ทำให้รู้สึกเป็นเจ้าของ  ความสำเร็จระยะยาว   แต่ต้องใช้เวลามากในการทำความเข้าใจ LEADERSHIP FOR CHANGE (ความเป็นผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลง)จริยธรรม =จริยะ +  ธรรมะ =  (คำกริยา) ความประพฤติ  กริยาที่ควรปฏิบัติ จริยธรรม มีประโยชน์อย่างไร? 
  • Quality worker : คนมีคุณภาพ
  • Quality Organization : องค์การมีคุณภาพ
  • Quality Product : สินค้า บริการ มีคุณภาพEmployee
  • Employee Retention เก็บรักษาบุคลากรไว้ได้
  • Customer Satisfaction : สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้
  • Orientation Trust : สร้างความเชื่อมั่นให้กับองค์การ
  • Market Orientation : ทำตลาดได้
  • Profitability : สร้างผลกำไรได้
  • Team Building : สร้างทีมงาน
  • Organization result: ผลประกอบการดีขึ้น
 จริยธรรมต่อสังคม1.ละเว้นการประกอบธุรกิจทำให้สังคมเสื่อมนำความเดือนร้อนมาสู่สังคมทำลายวัฒนธรรมที่ดีงาม2.พึงดูแลเอาใจใส่กิจการของตนไม่ให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม3.พึงเคารพให้สิทธิทางปัญญาของผู้อื่น4.พึงให้ความร่วมมือกับชุมนุมชนและสังคม จริยธรรมต่อพนักงาน/ทีมงาน1.พึงให้ค่าจ้าง ค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถให้รางวัลเมื่อมีกำไรมากขึ้น2.พึงเอาใจใส่สวัสดิการ จัดหาเครื่องป้องกันอันตราย อันเกิดจากการทำงาน3.พึงพัฒนาให้ความรู้เพื่อเพิ่มความชำนาญ4.พึงยุติธรรมต่อพนักงานทุกคน ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง5.พึงศึกษานิสัยใจคอของพนักงานแต่ละคน6.พึงเคารพสิทธิส่วนบุคคลของพนักงาน7.พึงเชื่อถือไว้วางใจในงานที่มอบหมาย8.พึงให้คำแนะนำปรึกษาช่วยเหลือ9.พึงสนับสนุนให้พนักงานประพฤติตนดี ห้ามปรามถ้าพบว่าพนักงานทำไม่ดี จริยธรรมต่อลูกค้า1.พึงขายสินค้าบริการในราคายุติธรรม2.พึงขายสินค้าบริการที่มีคุณภาพตามที่แจ้งแก่ลูกค้า ในราคาที่ตกลงกัน3.พึงดูแลลูกค้าทุกคนเท่าเทียมกัน ใส่ใจในข้อร้องเรียนของลูกค้า4.พึงงดเว้นการสร้างเงื่อนไขให้ลูกค้าต้องทำตามเงื่อนไขเพื่อต่อรอง5.พึงปฏิบัติต่อลูกค้าด้วยอัธยาศัยไมตรีอันดี จริยธรรมต่อเพื่อนร่วมงาน1.พึงมีความจริงใจ2.พึงหลีกเลี่ยงการนินทาเพื่อน3.อย่าซัดทอดความผิดให้เพื่อน4.พึงยกย่องชมเชยเพื่อนในสิ่งที่สมควร5.พึงให้ความร่วมมือในกิจการของเพื่อนด้วยความเต็มใจ6.พึงรับฟังความคิดเห็นของเพื่อน7.พึงหลีกเลี่ยงการทำตัวเหนือเพื่อน จริยธรรมต่อคู่แข่งขัน1.พึงละเว้นการกลั่นแกล้ง ให้ร้ายป้ายสี การขายตัดราคา การแย่งลูกค้าและข้อมูลของคู่แข่งมาโดยมิชอบ2.พึงให้ความร่วมมือในการแข่งขัน เพื่อสร้างสภาวะการตลาดที่ดี และรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้เกิด ประโยชน์สูงสุดร่วมกันป้องกันดูและทรัพย์สินต่างๆ สรุป ดิฉันคิดว่าจะสามารถนำแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองในหน้าที่การงาน พร้อมทั้งฝึกให้ตนเองมีจริยธรรม
นางสาวสุพรรษา อาลี ID 106242002 MBA 7

สวัสดีค่ะ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์   .ยม นาคสุข ที่เคารพ  และเพื่อนๆนักศึกษา MBA ทุกท่าน

     จากการที่ได้เรียนวิชาภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงในสัปดาห์ที่2 (วันที่2-3มีนาคม) ทำให้ได้รู้เกี่ยวกับการพัฒนาภาวะผู้นำ  จริยธรรมของการเป็นผู้นำ และกลยุทธ์ในการเปลี่ยนแปลงองค์การสำหรับผู้นำ  ซึ่งสามารถสรุปเนื้อหาได้ดังนี้

     ในทุกองค์การนั้นจะต้องมีผู้นำเป็นผู้บริหารงานและคอยขับเคลื่อนให้พนักงานทำงานได้บรรลุเป้าหมายขององค์การ  ทำให้ผู้นำอาจจะต้องเผชิญกับปัญหาที่มีมากมายอยู่เป็นประจำ  ดังนั้นผู้นำจึงต้องมีการพัฒนาตนให้มีภาวะผู้นำมากยิ่งขึ้น ด้วยวิธีการพัฒนาภาวะผู้นำดังต่อไปนี้

เทคนิค 10 ประการ ในการฝึกตนให้เป็นผู้นำที่เข้มแข็ง (แบบชาติญี่ปุ่น)

1.    ฝึกเป็นคนมีระเบียบวินัย เช่น การตรงต่อเวลา ปฏิบัติตามกฎ กติกา มารยาท2.    มีมารยาททางสังคม3.    ต้องขยัน และ มีความอดทน4.    กล้าที่จะริเริ่มสิ่งใหม่ๆ5.    มีความจงรักภักดีต่อองค์กร  ทำงานให้องค์กรแบบอุทิศและทุ่มเท6.    มีนิสัยรักการอ่าน7.    รักความสะอาด8.    มีความรับผิดชอบต่อสังคมสูง9.    รักในศักดิ์ศรี และ ชาตินิยม

10.พัฒนาอยู่ตลอดเวลา  ไม่หยุดนิ่ง และมีความกระตือรือร้น

การพัฒนาผู้นำตามหลักทศพิศราชธรรม

1.    การให้ ได้แก่ ให้สิ่งของ  ให้ความรู้  ให้ทาน2.    ศีล  คือ  การมีความประพฤติที่ดีงาม ทำตนเป็นตัวอย่างที่ดี3.    การบริจาค คือ การสละประโยชน์ส่วนตัวเพื่อประโยชน์ส่วนรวม4.    การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต คือ มีความจริงใจ5.    ความอ่อนโยน การมีอัธยาศัยดี คือ ต้องใจกว้างและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น6.    การบำเพ็ญความเพียร เพื่อจำกัดความเกียจคร้าน 7.    การไม่ถือโกรธ ไม่ผูกพยาบาท 8.    การไม่เบียดเบียน ประชาชน เพื่อนร่วมงาน ลูกน้องของตน และหน่วยงาน9.    การมีความอดทนอดกลั้น ความโลภ และแรงกดดันต่างๆ

10. ความโปร่งใส ในการทำงาน และมีความตรงไปตรงมา

                การที่จะเป็นผู้นำที่ดีและมีคุณค่าได้นั้นผู้นำทุกคนจะต้องมีจริยธรรมของการเป็นผู้นำ เพราะการมีจริยธรรมนั้นจะเป็นประโยชน์มากที่จะช่วยทำให้คนในองค์การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข  

 

จริยธรรม  หมายถึง  พฤติกรรมที่ควรทำ        ในการกำหนดจริยธรรมนั้น ทุกคนจะต้องมีส่วนร่วม ได้แก่ -         พนักงาน-         หัวหน้างาน-         ผู้บริหาร-         หน่วยงาน-         องค์การ

 

ผู้นำควรมีจริยธรรมดังต่อไปนี้1.    จริยธรรมของผู้นำ ต่อสังคม-         ไม่ประกอบธุรกิจที่นำความเดือดร้อนมาสู่สังคม-         คอยดูแลกิจการของตนไม่ให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม-         พึงเคารพในสิทธิทางปัญญาของผู้อื่น-         พึงให้ความร่วมมือกับชุมนุมและสังคม2.    จริยธรรมของผู้นำ ที่มีต่อพนักงานและทีมงาน-         ให้ค่าจ้าง ค่าตอบแทนให้เหมาะสมกับความรู้ความสามารถ-         เอาใจใส่ในสวัสดิการ-         พัฒนาให้ความรู้เพื่อเพิ่มความชำนาญ-         มีความยุติธรรมต่อพนักงานทุกคน-         ควรศึกษานิสัยใจคอของพนักงาน-         เคารพสิทธิส่วนบุคคลของพนักงาน-         ให้คำแนะนำและคำปรึกษาเมื่อลูกน้องมีปัญหา3.    จริยธรรมของผู้นำ ที่พึงมีต่อลูกค้า-         ขายสินค้าและบริการในราคายุติธรรม-         ขายสินค้าและบริการที่มีคุณภาพตามที่แจ้งลูกค้าไว้-         ดูแลและใส่ใจลูกค้าสม่ำเสมอ-         มีอัธยาศัยดีกับลูกค้า4.     จริยธรรมของผู้นำ ที่พึงมีต่อเพื่อน ร่วมงาน-         มีความจริงใจ-         ให้ความร่วมมือ-         รับฟังความคิดเห็นของเพื่อนร่วมงาน-         ไม่นินทาเพื่อนร่วมงาน

    -   ไม่ทำตัวเหนือกว่าผู้อื่น

 

เมื่อองค์การได้ดำเนินกิจการได้ระยะหนึ่งแล้ว ผู้นำควรที่จะมีการเปลี่ยนแปลงองค์การเพื่อให้องค์การมีการพัฒนาเพราะจะทำให้องค์การมีผลกำไรมากขึ้น แต่ในการที่จะเปลี่ยนแปลงองค์การนั้น อาจจะได้รับการต่อต้านจากพนักงาน ดังนั้นผู้นำควรใช้ความสามารถและการมีภาวะผู้นำมาแก้ไขปัญหาเหล่านั้นที่จะเกิดขึ้น

 

ขั้นตอนในการเปลี่ยนแปลงองค์กร1.    มีการชี้แจงล่วงหน้าเพื่อให้พนักงานมีการตื่นตัว และต้องมีการประชาสัมพันธ์ให้คนในองค์การทราบ โดยมีการประชุมอย่างสม่ำเสมอ2.    มีการจัดตั้งทีมเจ้าภาพที่จะทำการเปลี่ยนแปลงองค์การขึ้นมา3.    ให้ทีมเจ้าภาพกำหนดวิสัยทัศน์4.    ทีมเจ้าภาพที่จะทำการเปลี่ยนแปลง ต้องเข้าใจในกลยุทธ์และสามารถโน้มน้าวใจได้5.    ให้ทุกส่วนในองค์การมีส่วนร่วมและร่วมมือในการที่จะเปลี่ยนแปลง พัฒนา และสร้าง Innovation ใหม่ๆ6.    รวบรวมข้อมูลมาสรุปและประเมินผลออกมาดูว่าเป็นอย่างไร7.    นำผลสำเร็จที่ประเมินออกมาได้มาสร้างชัยชนะในระยะสั้น8.    มีการกำหนดแนวปฏิบัติใหม่ ให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ให้เป็นวัฒนธรรมขององค์การ

9.    ทำการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่ความพึงพอใจของลูกค้า พนักงาน ทีมงาน และผลประกอบการขององค์การ

 

กลยุทธ์ในการเปลี่ยนแปลงองค์การเพื่อการพัฒนา มี 2 แนวทาง ดังนี้

1.    Top Down (Programmatic)ลักษณะ : เป็นกลยุทธ์ในการเปลี่ยนแปลงที่สั่งลงมาจากด้านบนของแผนภูมิองค์การ กลยุทธ์นี้จะมีผู้เกี่ยวข้องอยู่ไม่กี่คน เนื่องจากมีทรัพยากร และ งบประมาณจำกัด และใช้ได้ในระยะสั้น

ข้อดี      :  รวดเร็ว  ประหยัด  ไม่เสียเวลามาก

ข้อเสีย   : มีผู้เกี่ยวข้องอยู่ไม่กี่คน ทำให้เกิดกระแสการต่อต้านมาก

2.    Bottom - Up (Learning)ลักษณะ : เป็นกลยุทธ์ในการเปลี่ยนแปลงที่ให้ระดับล่างมีส่วนร่วมในการเสนอแนวคิดสู่เบื้องบน กลยุทธ์นี้จะมีผู้เกี่ยวข้องอยู่มาก

ข้อดี      :  คนระดับล่างมีส่วนร่วม ทำให้คนเหล่านั้นรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ ทำให้ลดการต่อต้าน และจะทำให้เกิดความสำเร็จในระยะยาว

ข้อเสีย       : เสียเวลามาก

 

    ในการที่จะเป็นผู้นำที่ดีและมีคุณค่านั้น ผู้นำต้องพัฒนาตนให้มีภาวะผู้นำมากยิ่งขึ้น โดยอาจจะใช้หลักการฝึกตนให้เป็นผู้นำของประเทศญี่ปุ่น หรืออาจใช้หลักทศพิศราชธรรมของไทย หรือหลักอื่นๆก็ได้

    ผู้นำต้องมีการเปลี่ยนแปลงโดยการพัฒนาองค์การให้ดีขึ้นกว่าเดิม โดยใช้ความรู้ ใช้เหตุผล และการมีคุณธรรม ถึงจะทำให้องค์การมีความสุขสำเร็จและมีความยั่งยืน

    และที่สำคัญที่สุดที่ผู้นำทุกคนจะต้องมีนั้นก็คือ จริยธรรม เพราะถึงแม้ว่าผู้นำคนนั้นจะเก่งและมีความสามารถเพียงใด แต่ถ้าไม่ยึดหลักจริยธรรมในการบริหารแล้วก็ไม่สามารถเป็นผู้นำที่ดีได้

นางสาวสุพรรษา  อาลี

ID  106242002   MBA 7

. นานาชาติแสตมฟอร์ด หัวหิน

นายประเสริฐ ชัยยะศิริสุวรรณ MBA 7

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  .ยม นาคสุข   และเพื่อนๆนักศึกษา MBA ทุกท่าน จากการที่ได้เรียนวิชาภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงในวันที่2-3 มีนาคม สามารถสรุปเนื้อหาได้ดังนี้

การพัฒนาผู้นำ ตามหลักทศพิศราชธรรม

1.    การให้ ได้แก่ ให้สิ่งของ  ให้ความรู้  ให้ทาน2.    ศีล  คือ  การมีความประพฤติที่ดีงาม ทำตนเป็นตัวอย่างที่ดี3.    การบริจาค คือ การสละประโยชน์ส่วนตัวเพื่อประโยชน์ส่วนรวม4.    การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต คือ มีความจริงใจ5.    ความอ่อนโยน การมีอัธยาศัยดี คือ ต้องใจกว้างและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น6.    การบำเพ็ญความเพียร เพื่อจำกัดความเกียจคร้าน 7.    การไม่ถือโกรธ ไม่ผูกพยาบาท 8.    การไม่เบียดเบียน ประชาชน เพื่อนร่วมงาน ลูกน้องของตน และหน่วยงาน9.    การมีความอดทนอดกลั้น ความโลภ และแรงกดดันต่างๆ10.           ความโปร่งใส ในการทำงาน และมีความตรงไปตรงมา 

 
จริยธรรมขององค์กร
 
- รับฟังความคิดเห็นของพนักงานในองค์กร
- มีความจริงใจต่อเพื่อนร่วมงาน
- มีความเสมอภาคกับพนักงานทุกระดับ
- ให้โอกาสและให้อภัยแก่ผู้ร่วมงานในองค์กร
- มีความเคารพต่อกฎระเบียบในองค์กร
- ให้ความเคารพสิทธิส่วนบุคคลของพนักงาน
จริยธรรมต่อทีมงาน
- มีทัศนคติที่ดีต่อเพื่อนร่วมงาน
- มีความยุติธรรม
- ช่วยเหลือเพื่อนร่วมงาน ด้วยความจริงใจ
- ให้ความเป็นกันเอง
- มีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
- ให้เกียรติและยอมรับความคิดเห็นของเพื่อนร่วมงาน
- ให้คำปรึกษาและช่วยกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
จริยธรรมต่อสังคม
 
- มีคุณธรรม
- มีความสามัคคี
- ไม่สร้างความเดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่น
- ทำตนเป็นตัวอย่างที่ดีในสังคม
- ช่วยเหลือสังคม เมื่อมีโอกาส
- มุ่งประโยชน์ถือส่วนรวม
- มีความเมตตากรุณา
- ให้ความร่วมมือกับชุมชนและสังคม
- ดูแลองค์กรไม่ให้สร้างความเดือดร้อนกับสังคม

ขั้นตอนในการเปลี่ยนแปลงองค์กร1.    มีการชี้แจงล่วงหน้าเพื่อให้พนักงานมีการตื่นตัว และต้องมีการประชาสัมพันธ์ให้คนในองค์การทราบ โดยมีการประชุมอย่างสม่ำเสมอ2.    มีการจัดตั้งทีมเจ้าภาพที่จะทำการเปลี่ยนแปลงองค์การขึ้นมา3.    ให้ทีมเจ้าภาพกำหนดวิสัยทัศน์4.    ทีมเจ้าภาพที่จะทำการเปลี่ยนแปลง ต้องเข้าใจในกลยุทธ์และสามารถโน้มน้าวใจได้5.    ให้ทุกส่วนในองค์การมีส่วนร่วมและร่วมมือในการที่จะเปลี่ยนแปลง พัฒนา และสร้าง Innovation ใหม่ๆ6.    รวบรวมข้อมูลมาสรุปและประเมินผลออกมาดูว่าเป็นอย่างไร7.    นำผลสำเร็จที่ประเมินออกมาได้มาสร้างชัยชนะในระยะสั้น8.    มีการกำหนดแนวปฏิบัติใหม่ ให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ให้เป็นวัฒนธรรมขององค์การทำการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่ความพึงพอใจของลูกค้า พนักงาน ทีมงาน และผลประกอบการขององค์การ

นายประเสริฐ  ชัยยะศิริสุวรรณ

รหัส 106242007  MBA 7

มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

 

นางสาวปณิธาน เชื้อชาติ ID 106142013 MBA 6
เรียน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ อ.ยม นาคสุข และสวัสดีเพื่อนนักศึกษาทุกท่าน!!!    จากการเรียนในวันที่ 2-3 มีนาคม 2550 ที่ผ่านมา ทำให้ได้ทราบเนื้อหาดังนี้ 1.ประโยชน์ของภาวะผู้นำ 2.ยุทธ์ศาสตร์การพัฒนาภาวะผู้นำ 3.จริยะธรรม  ประโยชน์ของภาวะผู้นำ          ต่อตนเอง ทำให้เรามีความรับผิดชอบ ต่อองค์กร นำองค์กรสู่ความสำเร็จง่ายขึ้น สร้างความเชื่อมั่นให้กับองค์กร ต่อสังคมและประเทศชาติ สร้างจิตสำนึกในการรักสังคมและประเทศชาติ   แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำแบบญี่ปุ่น 1.    ฝึกเป็นคนมีมีวินัย เช่น ตรงต่อเวลา ปฏิบัติตามกฎ กติกา มารยาท  2.     มีมารยาททางสังคม  ซึ่งถือเป็นจุดเด่นของญี่ปุ่น  3.    ฝึกเป็นคนขยัน  อดทนเป็น  4.    nterprise Spirit  กล้าริเริ่มสิ่งใหม่ ๆ  5.    Team Work  คนญี่ปุ่นยึดฉันทามติ จงรักภักดีต่อองค์กร  ทำงานแบบอุทิศ  ทุ่มเท 6.    มีนิสัยรักการอ่าน  7.     รักความสะอาด  ความบริสุทธิ์  8.     มีความรับผิดชอบต่อสังคมสูง  9.    รักในศักดิ์ศรี ชาตินิยม  10.พัฒนาตลอดเวลา  ไม่หยุดนิ่ง  และกระตือรือร้น   พัฒนาภาวะผู้นำ ตามทศพิศราชธรรม 1.    ทานัง คือ การให้ ซึ่งได้แก่ อามิสทาน(การให้สิ่งของ) ธรรมทาน(การให้ความรุ้) และ อภัยทาน 2.    ศีล คือการมีความประพฤติดีงาม สำรวมกาย วาจาใจ ประพฤติตนเป็นตัวอย่างที่ดี ให้เป็นที่เคารพนับถือของประชาชน 
 
3.    บริจาคะ (การบริจาค) การเสียสละความสุขส่วนตัว เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน และความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง  4.    อาชชวะ ได้แก่ การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีความจริงใจ ไม่หลอกลวงประชาชน ซื่อตรงต่อคำพูด ซื่อตรงต่อวิชาชีพ  5.    มัททวะ ได้แก่ ความอ่อนโยน การมีอัธยาศัยดี ซึ่งถ้าเป็นยุคนี้ต้องเรียกว่ามีความใจกว้างในการรับฟัง ไม่ดื้อ ไม่รั่น ไม่บ้า หรือมัวเมาในอำนาจ                              6.    ตปะ ได้แก่ ความเพียรเพื่อกำจัดความเกียจคร้านและความชั่ว พยายามลดกิเลสของตน ซึ่งเป็นธรรมดาของคนที่มีอำนาจ ที่จะมีโอกาสจะเห็นผลประโยชน์รูปแบบต่างๆวิ่งผ่านหน้า ตปะ จะเป็นสิ่งที่เหนี่ยวรั้ง ไม่ให้คนดี เสียคน
7.
    อักโกธะ คือการไม่ถือโกรธ ไม่ผูกพยาบาท หรือจงเกลียดจงชังคนใดคนหนึ่งหรือ กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง นักปกครองคนใด ครองธรรมมะข้อนี้ไม่ได้ ก้อาจจะนำไปสุ่การสร้างความอยุติธรรมในการตัดสินใจ
 
8.    อวิหิงสา คือการไม่เบียดเบียน ประชาชน เพื่อนร่วมงาน, ลูกน้องของตน ,หน่วยงาน และครอบครัวตนเอง เพราะการเบียดเบียนนำไปสุ่การเอาเปรียบ การเอาเปรียบบ่อยๆ ก็ทำให้เสียนิสัยและนำไปสุ่ พฤติกรรมคอร์รัปชั่น
 
9.    ขันติ ได้แก่ การมีความอดทนอดกลั้นความโลภ ต่อแรงกดดันต่างๆ
 
10.  อวิโรธนะ ความโปร่งใส วิโรธนะ การทำงาน อย่าให้ประชาชนเคลือบแคลงสงสัย นั่นคือการทำงานอย่างโปร่งใส ตรงไปตรงมา  ฝึกตนเป็นคนมีภาวะผู้นำ

 1.    เพียรกำจัด (ลด ละ เลิก) สิ่งที่ไม่ดี ข้อบกพร่องหรืออกุศล ให้หมดไป                       2.    เพียรรักษา (รักษา) สิ่งที่ดี คุณภาพดีๆ มาตรฐานงานดีๆ วินัย หรือกฎข้อบังคับ ความรู้ ภูมิปัญญา ของตน ขององค์กร ให้คงอยู่ ยั่งยืนนาน                                                                    3.    เพียรระวัง (ป้องกัน) มิให้สิ่งที่ไม่ดี เข้าครอบงำ มีข้อบกพร่อง ก็ต้องป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น โดยเน้นที่การดับที่เหตุรากเหง้า  4.    เพียรเจริญ (พัฒนาปรับปรุง) สิ่งที่ดีๆ สิ่งที่ทำอยู่ให้เจริญขึ้น หรือดีขึ้นเรื่อยๆ จนกว่าจะบรรลุเป้าหมายขั้นสูง 6 . สำหรับฝึกภาวะผู้นำ   
  • ท.ที่ 1 ท่าที  มีท่าทีที่ดี
  • ท.ที่ 2 ท้าทาย ทำงานที่ยากกว่า คิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่
  • ท.ที่ 3 ทน ต้องอดทน
  • ท.ที่ 4 เที่ยงธรรม
  • ท.ที่ทำ
  • ท.ที่ 6 ทบทวน หมั่นทบทวน 
 4 E’s Leadership 1.    Energy  ฝึกตนให้เป็นคนมีพลังเหนือชั้น ฝึกจิตใต้สำนึก  2.    Energize ฝึกตนให้เป็นคนที่สามารถกระตุ้นให้ทุกคนมีศักยภาพ    ทำงานในทิศทางเดียวกันและมีพลัง(ทฤษฎีกางร่ม)  3.    Edge ฝึกตนให้กล้าตัดสินใจ ให้ถูกจังหวะ  4.    Execution  ฝึกตนให้เป็นผู้ที่ต้องทำให้เสร็จและสำเร็จวัดผลได้  6 C’s Leadership 1.    Conversations ติดต่อ ปราศรัย สร้างสัมพันธ์ดี  2.    Communicating ฝึกสื่อสาร สื่อสารให้เป็น    3.    Culture  มีวัฒนธรรม เข้าได้ทุกระดับ 4.    Creating change  สร้าง/บริหารการเปลี่ยนแปลง   5.    Creating team  สร้าง/บริหารที  6.    Charisma  เก่ง กล้า สามารถ   4 K’s Leadership    1.Knowing your competitors รู้คู่แข่ง คู่แข่งทางการค้า 2.Knowing your customer รู้ลูกค้า ลูกค้าในอนาคตและปัจจุบัน และมีการวางแผน  3.Knowing your people รู้ทีมงาน ทีมงานในอนาคตเป็นอย่างไรจุดอ่อนจุดแข็ง 4.Knowing your yourself รู้ตัวเอง รู้จักตัวเอง เช่นการศึกษา วางแผนการพัฒนาตนเอง  6 L’s leadership 1.Learning to love youeself รักตัวเอง ใส่ใจ ออกกำลังกาย สนใจเรื่องอนาคต 2.Learning to love business รักธุระกิจ ทำอย่างไรให้ลูกน้องรักธุรกิจ 3.Learning to love team รักทีม ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม 4.Learning to love customer รักลูกค้า 5.Learning to love suppliers รักผู้ที่เกี่ยวข้อง ดูแลทุกคน 6.Learning to relax โดยการหาความรู้ใหม่ๆ ตลอดเวลา               5 M’s leadership 1.Mission วิสัยทัศน์ ภารกิจที่ชัดเจน 2.Meeting-learn-chair-develop ประชุมเรียนรู้แชร์ และพัฒนา 3.Measurement การวัดความพึงพอใจของลูกค้า พนักงาน 4.Memory จำได้ว่าข้อมูลที่แล้วมาเป็นอย่างไร โดยอาจจะมีตัวชี้วัด เช่นการบันทึก 5.Mastering time เวลา  4 S’s Leadership 1.Strategy เขียนกลยุทธ์เป็น 2.Setting goals ต้องตั้งเป้าหมายเป็น 3.Sleep well หาทางที่มันดี 4.Selecting the right people เลือกคนที่ถูกต้อง  5 T’s Leadership 1.Taking responsibility รู้จักมีความรับผิดชอบเอาใจใส่ 2.teachimg responsibility ต้องสอนถึงโทษและดี 3.Take care of HR,Employee การดูแลพนักงานและทรัพยากรมนุษย์ 4.Take care of customer satisfaction ทำให้ลูกค้าพึงพอใจมากขึ้น 5.Take care of Organization การดูแลองค์กรก็จะดีขึ้นผลประมาณการก็จะดีตามขึ้นไป  กลยุทธ์การเปลี่ยนแปลง มี 2 กลยุทธ์ คือ (2 Strategies for Changes)  1.    Top Down (Programmatic)“Teaching & Application of Existing Knowledge" เบื้องบนสั่งลงมา คนเกี่ยวข้องไม่กี่คน ข้อดี รวดเร็ว ประหยัด  แต่พนักงานระดับล่างไม่มีส่วนร่วม  มีการต่อต้าน   2.    Bottom-Up (Learning)“Stepwise Creation of Meaning & Understanding" พนักงานระดับล่างต้องมีส่วนร่วม ทำให้รู้สึกเป็นเจ้าของ  ความสำเร็จระยะยาว   แต่ต้องใช้เวลามากในการทำความเข้าใจ LEADERSHIP FOR CHANGE (ความเป็นผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลง)จริยธรรม =จริยะ +  ธรรมะ =  (คำกริยา) ความประพฤติ  กริยาที่ควรปฏิบัติ  จริยธรรม มีประโยชน์อย่างไร?   
  • Quality worker : คนมีคุณภาพ
 
  • Quality Organization : องค์การมีคุณภาพ
  • Quality Product : สินค้า บริการ มีคุณภาพEmployee
  • Employee Retention เก็บรักษาบุคลากรไว้ได้
  • Customer Satisfaction : สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้
  • Orientation Trust : สร้างความเชื่อมั่นให้กับองค์การ
  • Market Orientation : ทำตลาดได้
  • Profitability : สร้างผลกำไรได้
  • Team Building : สร้างทีมงาน
  • Organization result: ผลประกอบการดีขึ้น
  จริยธรรมต่อสังคม 1.ละเว้นการประกอบธุรกิจทำให้สังคมเสื่อมนำความเดือนร้อนมาสู่สังคมทำลายวัฒนธรรมที่ดีงาม 2.พึงดูแลเอาใจใส่กิจการของตนไม่ให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม 3.พึงเคารพให้สิทธิทางปัญญาของผู้อื่น 4.พึงให้ความร่วมมือกับชุมนุมชนและสังคม  จริยธรรมต่อพนักงาน/ทีมงาน 1.พึงให้ค่าจ้าง ค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถให้รางวัลเมื่อมีกำไรมากขึ้น 2.พึงเอาใจใส่สวัสดิการ จัดหาเครื่องป้องกันอันตราย อันเกิดจากการทำงาน 3.พึงพัฒนาให้ความรู้เพื่อเพิ่มความชำนาญ 4.พึงยุติธรรมต่อพนักงานทุกคน ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง 5.พึงศึกษานิสัยใจคอของพนักงานแต่ละคน 6.พึงเคารพสิทธิส่วนบุคคลของพนักงาน 7.พึงเชื่อถือไว้วางใจในงานที่มอบหมาย 8.พึงให้คำแนะนำปรึกษาช่วยเหลือ 9.พึงสนับสนุนให้พนักงานประพฤติตนดี ห้ามปรามถ้าพบว่าพนักงานทำไม่ดี  จริยธรรมต่อลูกค้า 1.พึงขายสินค้าบริการในราคายุติธรรม 2.พึงขายสินค้าบริการที่มีคุณภาพตามที่แจ้งแก่ลูกค้า ในราคาที่ตกลงกัน 3.พึงดูแลลูกค้าทุกคนเท่าเทียมกัน ใส่ใจในข้อร้องเรียนของลูกค้า 4.พึงงดเว้นการสร้างเงื่อนไขให้ลูกค้าต้องทำตามเงื่อนไขเพื่อต่อรอง 5.พึงปฏิบัติต่อลูกค้าด้วยอัธยาศัยไมตรีอันดี  จริยธรรมต่อเพื่อนร่วมงาน 1.พึงมีความจริงใจ 2.พึงหลีกเลี่ยงการนินทาเพื่อน 3.อย่าซัดทอดความผิดให้เพื่อน 4.พึงยกย่องชมเชยเพื่อนในสิ่งที่สมควร 5.พึงให้ความร่วมมือในกิจการของเพื่อนด้วยความเต็มใจ 6.พึงรับฟังความคิดเห็นของเพื่อน 7.พึงหลีกเลี่ยงการทำตัวเหนือเพื่อน  จริยธรรมต่อคู่แข่งขัน 1.พึงละเว้นการกลั่นแกล้ง ให้ร้ายป้ายสี การขายตัดราคา การแย่งลูกค้าและข้อมูลของคู่แข่งมาโดยมิชอบ 2.พึงให้ความร่วมมือในการแข่งขัน เพื่อสร้างสภาวะการตลาดที่ดี และรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้เกิด ประโยชน์สูงสุดร่วมกันป้องกันดูและทรัพย์สินต่างๆ  สรุป  ดิฉันมั่นใจว่าสิ่งที่ดิฉันได้เรียนในสัปดาห์นี้ จะสามารถนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาไปสู่การเป็นภาวะผู้นำที่ดีในอนาคตได้ โดยมีจริยธรรมในการดำเนินชีวิตควบคู่ไปด้วย นางสาวปณิธาน  เชื้อชาติ  ID : 106142013
นาย สราวุฒิ ฉายแสง
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์   อ.ยม นาคสุขและเพื่อนนักศึกษาทุกท่าน            จากที่ อ.ยมบรรยายถึงเรื่องการฝึกตนให้เป็นผู้นำของญี่ปุ่นดังนี้            1.ฝึกเป็นคนมีวินัย            2.มีมารยาททางสังคม            3.ฝึกเป็นคนขยัน            4.มีความคิดริเริ่ม            5.จงรักพักดีต่อองค์กร            6.มีนิสัยรักการอ่าน            7.รักความสะอาด            8.มีความรับผิดชอบต่อสังคมสูง            9.รักในศักดิ์ศรี            10.พัฒนาตลอดเวลานี่อาจเป็นเหตุผลที่ทำให้ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จในด้านต่างๆเพราะทุกคนรู้จักหน้าที่ของตัวเองว่า ควรทำอะไรและไม่ควรทำอะไร            กล่าวถึง การพัฒนาภาวะผู้นำ ตามทศพิศราชธรรม ดังนี้            1.การให้            2.ศีล            3.การบริจาค            4.การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต            5.ความอ่อนโยน การมีอัธยาศัยดี            6.การบำเพ็ญความเพียร            7.การไม่ถือโกรธ ไม่ผูกพยาบาท            8.การไม่เบียดเบียน            9.การมีความอดทน อดกลั้น            10.ความโปร่งใสในการทำงานเมื่อเชื่อมโยงหลักการของทั้งสองประเทศแล้วก็ทำให้ทราบว่าการเป็นผู้นำนั้นต้องเป็นคนดี และเก่ง โดยการเป็นคนดีนั้นต้องมีความเคารพต่อกฎกติกาของสังคม ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เพราะถ้าเก่งแต่ไม่ดีก็จะทำให้องค์กรเสียหาย โกงกิน ส่วนการเป็นคนเก่งนั้น ก็หมายถึง การที่เป็นผู้ใฝ่รู้อยู่ตลอดเวลา มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ที่จะพัฒนาองค์กรให้ดียิ่งขึ้น  นาย สราวุฒิ ฉายแสงรหัส 106142011มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด(หัวหิน) 

                                                                                   

เรียน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ อ.ยม นาคสุข และสวัสดีเพื่อนนักศึกษาทุกท่าน!!!    
จากการเรียนในวันที่ 2-3 มีนาคม 2550 ที่ผ่านมา ทำให้ได้ทราบเนื้อหาดังนี้ 
  1. ประโยชน์ของภาวะผู้นำ 
  2. ยุทธ์ศาสตร์การพัฒนาภาวะผู้นำ 
  3. จริยะธรรม  
ประโยชน์ของภาวะผู้นำ          
ต่อตนเอง ทำให้เรามีความรับผิดชอบ ต่อองค์กร นำองค์กรสู่ความสำเร็จง่ายขึ้น สร้างความเชื่อมั่นให้กับองค์กร ต่อสังคมและประเทศชาติ สร้างจิตสำนึกในการรักสังคมและประเทศชาติ   
แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำแบบญี่ปุ่น 
  1. ฝึกเป็นคนมีมีวินัย เช่น ตรงต่อเวลา ปฏิบัติตามกฎ กติกา มารยาท  
  2. มีมารยาททางสังคม  ซึ่งถือเป็นจุดเด่นของญี่ปุ่น  
  3. ฝึกเป็นคนขยัน  อดทนเป็น  
  4. Interprise Spirit  กล้าริเริ่มสิ่งใหม่ ๆ  
  5. Team Work  คนญี่ปุ่นยึดฉันทามติ จงรักภักดีต่อองค์กร  ทำงานแบบอุทิศ  ทุ่มเท 
  6. มีนิสัยรักการอ่าน  
  7. รักความสะอาด  ความบริสุทธิ์  
  8. มีความรับผิดชอบต่อสังคมสูง  
  9.  รักในศักดิ์ศรี ชาตินิยม  
  10. พัฒนาตลอดเวลา  ไม่หยุดนิ่ง  และกระตือรือร้น   
พัฒนาภาวะผู้นำ ตามทศพิศราชธรรม 
  1. ทานัง คือ การให้ ซึ่งได้แก่ อามิสทาน(การให้สิ่งของ) ธรรมทาน(การให้ความรุ้) และ อภัยทาน 
  2. ศีล คือการมีความประพฤติดีงาม สำรวมกาย วาจาใจ ประพฤติตนเป็นตัวอย่างที่ดี ให้เป็นที่เคารพนับถือของประชาชน
  3. บริจาคะ (การบริจาค) การเสียสละความสุขส่วนตัว เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน และความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง  
  4. อาชชวะ ได้แก่ การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีความจริงใจ ไม่หลอกลวงประชาชน ซื่อตรงต่อคำพูด ซื่อตรงต่อวิชาชีพ 
  5. มัททวะ ได้แก่ ความอ่อนโยน การมีอัธยาศัยดี ซึ่งถ้ายุคนี้ต้องเรียกว่ามีความใจกว้างในการรับฟัง ไม่ดื้อ ไม่รั่น ไม่บ้า หรือมัวเมาในอำนาจ                              
  6. ตปะ ได้แก่ ความเพียรเพื่อกำจัดความเกียจคร้านและความชั่ว พยายามลดกิเลสของตน ซึ่งเป็นธรรมดาของคนที่มีอำนาจ ที่จะมีโอกาสจะเห็นผลประโยชน์รูปแบบต่างๆวิ่งผ่านหน้า ตปะ จะเป็นสิ่งที่เหนี่ยวรั้ง ไม่ให้คนดี เสียคน
  7. อักโกธะ คือการไม่ถือโกรธ ไม่ผูกพยาบาท หรือจงเกลียดจงชังคนใดคนหนึ่งหรือ กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง นักปกครองคนใด ครองธรรมมะข้อนี้ไม่ได้ ก้อาจจะนำไปสุ่การสร้างความอยุติธรรมในการตัดสินใจ
  8. อวิหิงสา คือการไม่เบียดเบียน ประชาชน เพื่อนร่วมงาน, ลูกน้องของตน ,หน่วยงาน และครอบครัวตนเอง เพราะการเบียดเบียนนำไปสุ่การเอาเปรียบ การเอาเปรียบบ่อยๆ ก็ทำให้เสียนิสัยและนำไปสุ่ พฤติกรรมคอร์รัปชั่น
  9. ขันติ ได้แก่ การมีความอดทนอดกลั้นความโลภ ต่อแรงกดดันต่างๆ
  10. อวิโรธนะ ความโปร่งใส วิโรธนะ การทำงาน อย่าให้ประชาชนเคลือบแคลงสงสัย นั่นคือการทำงานอย่างโปร่งใส ตรงไปตรงมา  
ฝึกตนเป็นคนมีภาวะผู้นำ 
  1. เพียรกำจัด (ลด ละ เลิก) สิ่งที่ไม่ดี ข้อบกพร่องหรืออกุศล ให้หมดไป                     
  2. เพียรรักษา (รักษา) สิ่งที่ดี คุณภาพดีๆ มาตรฐานงานดีๆ วินัย หรือกฎข้อบังคับ ความรู้ ภูมิปัญญา ของตน ขององค์กร ให้คงอยู่ ยั่งยืนนาน                                                                
  3. เพียรระวัง (ป้องกัน) มิให้สิ่งที่ไม่ดี เข้าครอบงำ มีข้อบกพร่อง ก็ต้องป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น โดยเน้นที่การดับที่เหตุรากเหง้า  
  4. เพียรเจริญ (พัฒนาปรับปรุง) สิ่งที่ดีๆ สิ่งที่ทำอยู่ให้เจริญขึ้น หรือดีขึ้นเรื่อยๆ จนกว่าจะบรรลุเป้าหมายขั้นสูง 
 6 . สำหรับฝึกภาวะผู้นำ   

 

  • ท.ที่ 1 ท่าที  มีท่าทีที่ดี
  • ท.ที่ 2 ท้าทาย ทำงานที่ยากกว่า คิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่
  • ท.ที่ 3 ทน ต้องอดทน
  • ท.ที่ 4 เที่ยงธรรม
  • ท.ที่ทำ
  • ท.ที่ 6 ทบทวน หมั่นทบทวน 

 4 E’s Leadership 

  1. Energy  ฝึกตนให้เป็นคนมีพลังเหนือชั้น ฝึกจิตใต้สำนึก  
  2. Energize ฝึกตนให้เป็นคนที่สามารถกระตุ้นให้ทุกคนมีศักยภาพ    ทำงานในทิศทางเดียวกันและมีพลัง(ทฤษฎีกางร่ม)  
  3. Edge ฝึกตนให้กล้าตัดสินใจ ให้ถูกจังหวะ  
  4. Execution  ฝึกตนให้เป็นผู้ที่ต้องทำให้เสร็จและสำเร็จวัดผลได้ 

 6 C’s Leadership 

  1. Conversations ติดต่อ ปราศรัย สร้างสัมพันธ์ดี  
  2. Communicating ฝึกสื่อสาร สื่อสารให้เป็น    
  3. Culture  มีวัฒนธรรม เข้าได้ทุกระดับ 
  4. Creating change  สร้าง/บริหารการเปลี่ยนแปลง   
  5. Creating team  สร้าง/บริหารที  
  6.  Charisma  เก่ง กล้า สามารถ   

4 K’s Leadership    

  1. 1.Knowing your competitors รู้คู่แข่ง คู่แข่งทางการค้า 
  2. 2.Knowing your customer รู้ลูกค้า ลูกค้าในอนาคตและปัจจุบัน และมีการวางแผน  
  3. 3.Knowing your people รู้ทีมงาน ทีมงานในอนาคตเป็นอย่างไรจุดอ่อนจุดแข็ง 
  4. 4.Knowing your yourself รู้ตัวเอง รู้จักตัวเอง เช่นการศึกษา วางแผนการพัฒนาตนเอง  

6 L’s leadership 

  1. 1.Learning to love youeself รักตัวเอง ใส่ใจ ออกกำลังกาย สนใจเรื่องอนาคต 
  2. 2.Learning to love business รักธุระกิจ ทำอย่างไรให้ลูกน้องรักธุรกิจ 
  3. 3.Learning to love team รักทีม ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม 
  4. 4.Learning to love customer รักลูกค้า 
  5. 5.Learning to love suppliers รักผู้ที่เกี่ยวข้อง ดูแลทุกคน 
  6. 6.Learning to relax โดยการหาความรู้ใหม่ๆ ตลอดเวลา              

 5 M’s leadership 

  1. 1.Mission วิสัยทัศน์ ภารกิจที่ชัดเจน 
  2. 2.Meeting-learn-chair-develop ประชุมเรียนรู้แชร์ และพัฒนา 
  3. 3.Measurement การวัดความพึงพอใจของลูกค้า พนักงาน 
  4. 4.Memory จำได้ว่าข้อมูลที่แล้วมาเป็นอย่างไร โดยอาจจะมีตัวชี้วัด เช่นการบันทึก 
  5. 5.Mastering time เวลา 

 4 S’s Leadership 

  1. 1.Strategy เขียนกลยุทธ์เป็น 
  2. 2.Setting goals ต้องตั้งเป้าหมายเป็น 
  3. 3.Sleep well หาทางที่มันดี 
  4. 4.Selecting the right people เลือกคนที่ถูกต้อง  

5 T’s Leadership 

  1. 1.Taking responsibility รู้จักมีความรับผิดชอบเอาใจใส่
  2.  2.teachimg responsibility ต้องสอนถึงโทษและดี 
  3. 3.Take care of HR,Employee การดูแลพนักงานและทรัพยากรมนุษย์ 
  4. 4.Take care of customer satisfaction ทำให้ลูกค้าพึงพอใจมากขึ้น 
  5. 5.Take care of Organization การดูแลองค์กรก็จะดีขึ้นผลประมาณการก็จะดีตามขึ้นไป  

กลยุทธ์การเปลี่ยนแปลง มี 2 กลยุทธ์ คือ (2 Strategies for Changes)  

  1. 1.    Top Down (Programmatic)“Teaching & Application of Existing Knowledge" เบื้องบนสั่งลงมา คนเกี่ยวข้องไม่กี่คน ข้อดี รวดเร็ว ประหยัด  แต่พนักงานระดับล่างไม่มีส่วนร่วม  มีการต่อต้าน   
  2. 2.    Bottom-Up (Learning)“Stepwise Creation of Meaning & Understanding" พนักงานระดับล่างต้องมีส่วนร่วม ทำให้รู้สึกเป็นเจ้าของ  ความสำเร็จระยะยาว   แต่ต้องใช้เวลามากในการทำความเข้าใจ LEADERSHIP FOR CHANGE (ความเป็นผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลง)จริยธรรม =จริยะ +  ธรรมะ =  (คำกริยา) ความประพฤติ  กริยาที่ควรปฏิบัติ  

จริยธรรม มีประโยชน์อย่างไร?   

  • Quality worker : คนมีคุณภาพ
  • Quality Organization : องค์การมีคุณภาพ
  • Quality Product : สินค้า บริการ มีคุณภาพEmployee
  • Employee Retention เก็บรักษาบุคลากรไว้ได้
  • Customer Satisfaction : สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้
  • Orientation Trust : สร้างความเชื่อมั่นให้กับองค์การ
  • Market Orientation : ทำตลาดได้
  • Profitability : สร้างผลกำไรได้
  • Team Building : สร้างทีมงาน
  • Organization result: ผลประกอบการดีขึ้น

  จริยธรรมต่อสังคม 

  1. 1.ละเว้นการประกอบธุรกิจทำให้สังคมเสื่อมนำความเดือนร้อนมาสู่สังคมทำลายวัฒนธรรมที่ดีงาม 
  2. 2.พึงดูแลเอาใจใส่กิจการของตนไม่ให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม 
  3. 3.พึงเคารพให้สิทธิทางปัญญาของผู้อื่น 
  4. 4.พึงให้ความร่วมมือกับชุมนุมชนและสังคม  

จริยธรรมต่อพนักงาน/ทีมงาน 

  1. 1.พึงให้ค่าจ้าง ค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถให้รางวัลเมื่อมีกำไรมากขึ้น 
  2. 2.พึงเอาใจใส่สวัสดิการ จัดหาเครื่องป้องกันอันตราย อันเกิดจากการทำงาน 
  3. 3.พึงพัฒนาให้ความรู้เพื่อเพิ่มความชำนาญ 
  4. 4.พึงยุติธรรมต่อพนักงานทุกคน ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง 
  5. 5.พึงศึกษานิสัยใจคอของพนักงานแต่ละคน 
  6. 6.พึงเคารพสิทธิส่วนบุคคลของพนักงาน 
  7. 7.พึงเชื่อถือไว้วางใจในงานที่มอบหมาย 
  8. 8.พึงให้คำแนะนำปรึกษาช่วยเหลือ 
  9. 9.พึงสนับสนุนให้พนักงานประพฤติตนดี ห้ามปรามถ้าพบว่าพนักงานทำไม่ดี  

จริยธรรมต่อลูกค้า 

  1. 1.พึงขายสินค้าบริการในราคายุติธรรม 
  2. 2.พึงขายสินค้าบริการที่มีคุณภาพตามที่แจ้งแก่ลูกค้า ในราคาที่ตกลงกัน 
  3. 3.พึงดูแลลูกค้าทุกคนเท่าเทียมกัน ใส่ใจในข้อร้องเรียนของลูกค้า 
  4. 4.พึงงดเว้นการสร้างเงื่อนไขให้ลูกค้าต้องทำตามเงื่อนไขเพื่อต่อรอง 
  5. 5.พึงปฏิบัติต่อลูกค้าด้วยอัธยาศัยไมตรีอันดี  

จริยธรรมต่อเพื่อนร่วมงาน 

  1. 1.พึงมีความจริงใจ 
  2. 2.พึงหลีกเลี่ยงการนินทาเพื่อน 
  3. 3.อย่าซัดทอดความผิดให้เพื่อน 
  4. 4.พึงยกย่องชมเชยเพื่อนในสิ่งที่สมควร 
  5. 5.พึงให้ความร่วมมือในกิจการของเพื่อนด้วยความเต็มใจ 
  6. 6.พึงรับฟังความคิดเห็นของเพื่อน 
  7. 7.พึงหลีกเลี่ยงการทำตัวเหนือเพื่อน  

จริยธรรมต่อคู่แข่งขัน 

  1. 1.พึงละเว้นการกลั่นแกล้ง ให้ร้ายป้ายสี การขายตัดราคา การแย่งลูกค้าและข้อมูลของคู่แข่งมาโดยมิชอบ 
  2. 2.พึงให้ความร่วมมือในการแข่งขัน เพื่อสร้างสภาวะการตลาดที่ดี และรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้เกิด ประโยชน์สูงสุดร่วมกันป้องกันดูและทรัพย์สินต่างๆ  

สรุป  ดิฉันมั่นใจว่าสิ่งที่ดิฉันได้เรียนในสัปดาห์นี้ จะสามารถนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาไปสู่การเป็นภาวะผู้นำที่ดีในอนาคตได้ โดยมีจริยธรรมในการดำเนินชีวิตควบคู่ไปด้วย 

นางสาวปณิธาน  เชื้อชาติ  ID : 106142013

นางสาวปณิธาน เชื้อชาติ ID 106142013 MBA 6
เรียน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ อ.ยม นาคสุข และสวัสดีเพื่อนนักศึกษาทุกท่าน!!!    
จากการเรียนในวันที่ 2-3 มีนาคม 2550 ที่ผ่านมา ทำให้ได้ทราบเนื้อหาดังนี้ 
  1. ประโยชน์ของภาวะผู้นำ 
  2. ยุทธ์ศาสตร์การพัฒนาภาวะผู้นำ 
  3. จริยะธรรม  
ประโยชน์ของภาวะผู้นำ          
ต่อตนเอง ทำให้เรามีความรับผิดชอบ ต่อองค์กร นำองค์กรสู่ความสำเร็จง่ายขึ้น สร้างความเชื่อมั่นให้กับองค์กร ต่อสังคมและประเทศชาติ สร้างจิตสำนึกในการรักสังคมและประเทศชาติ   
แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำแบบญี่ปุ่น 
  1. ฝึกเป็นคนมีมีวินัย เช่น ตรงต่อเวลา ปฏิบัติตามกฎ กติกา มารยาท  
  2. มีมารยาททางสังคม  ซึ่งถือเป็นจุดเด่นของญี่ปุ่น  
  3. ฝึกเป็นคนขยัน  อดทนเป็น  
  4. Interprise Spirit  กล้าริเริ่มสิ่งใหม่ ๆ  
  5. Team Work  คนญี่ปุ่นยึดฉันทามติ จงรักภักดีต่อองค์กร  ทำงานแบบอุทิศ  ทุ่มเท 
  6. มีนิสัยรักการอ่าน  
  7. รักความสะอาด  ความบริสุทธิ์  
  8. มีความรับผิดชอบต่อสังคมสูง  
  9.  รักในศักดิ์ศรี ชาตินิยม  
  10. พัฒนาตลอดเวลา  ไม่หยุดนิ่ง  และกระตือรือร้น   
พัฒนาภาวะผู้นำ ตามทศพิศราชธรรม 
  1. ทานัง คือ การให้ ซึ่งได้แก่ อามิสทาน(การให้สิ่งของ) ธรรมทาน(การให้ความรุ้) และ อภัยทาน 
  2. ศีล คือการมีความประพฤติดีงาม สำรวมกาย วาจาใจ ประพฤติตนเป็นตัวอย่างที่ดี ให้เป็นที่เคารพนับถือของประชาชน
  3. บริจาคะ (การบริจาค) การเสียสละความสุขส่วนตัว เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน และความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง  
  4. อาชชวะ ได้แก่ การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีความจริงใจ ไม่หลอกลวงประชาชน ซื่อตรงต่อคำพูด ซื่อตรงต่อวิชาชีพ 
  5. มัททวะ ได้แก่ ความอ่อนโยน การมีอัธยาศัยดี ซึ่งถ้ายุคนี้ต้องเรียกว่ามีความใจกว้างในการรับฟัง ไม่ดื้อ ไม่รั่น ไม่บ้า หรือมัวเมาในอำนาจ                              
  6. ตปะ ได้แก่ ความเพียรเพื่อกำจัดความเกียจคร้านและความชั่ว พยายามลดกิเลสของตน ซึ่งเป็นธรรมดาของคนที่มีอำนาจ ที่จะมีโอกาสจะเห็นผลประโยชน์รูปแบบต่างๆวิ่งผ่านหน้า ตปะ จะเป็นสิ่งที่เหนี่ยวรั้ง ไม่ให้คนดี เสียคน
  7. อักโกธะ คือการไม่ถือโกรธ ไม่ผูกพยาบาท หรือจงเกลียดจงชังคนใดคนหนึ่งหรือ กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง นักปกครองคนใด ครองธรรมมะข้อนี้ไม่ได้ ก้อาจจะนำไปสุ่การสร้างความอยุติธรรมในการตัดสินใจ
  8. อวิหิงสา คือการไม่เบียดเบียน ประชาชน เพื่อนร่วมงาน, ลูกน้องของตน ,หน่วยงาน และครอบครัวตนเอง เพราะการเบียดเบียนนำไปสุ่การเอาเปรียบ การเอาเปรียบบ่อยๆ ก็ทำให้เสียนิสัยและนำไปสุ่ พฤติกรรมคอร์รัปชั่น
  9. ขันติ ได้แก่ การมีความอดทนอดกลั้นความโลภ ต่อแรงกดดันต่างๆ
  10. อวิโรธนะ ความโปร่งใส วิโรธนะ การทำงาน อย่าให้ประชาชนเคลือบแคลงสงสัย นั่นคือการทำงานอย่างโปร่งใส ตรงไปตรงมา  
ฝึกตนเป็นคนมีภาวะผู้นำ 
  1. เพียรกำจัด (ลด ละ เลิก) สิ่งที่ไม่ดี ข้อบกพร่องหรืออกุศล ให้หมดไป                     
  2. เพียรรักษา (รักษา) สิ่งที่ดี คุณภาพดีๆ มาตรฐานงานดีๆ วินัย หรือกฎข้อบังคับ ความรู้ ภูมิปัญญา ของตน ขององค์กร ให้คงอยู่ ยั่งยืนนาน                                                                
  3. เพียรระวัง (ป้องกัน) มิให้สิ่งที่ไม่ดี เข้าครอบงำ มีข้อบกพร่อง ก็ต้องป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น โดยเน้นที่การดับที่เหตุรากเหง้า  
  4. เพียรเจริญ (พัฒนาปรับปรุง) สิ่งที่ดีๆ สิ่งที่ทำอยู่ให้เจริญขึ้น หรือดีขึ้นเรื่อยๆ จนกว่าจะบรรลุเป้าหมายขั้นสูง 
 6 . สำหรับฝึกภาวะผู้นำ   

 

  • ท.ที่ 1 ท่าที  มีท่าทีที่ดี
  • ท.ที่ 2 ท้าทาย ทำงานที่ยากกว่า คิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่
  • ท.ที่ 3 ทน ต้องอดทน
  • ท.ที่ 4 เที่ยงธรรม
  • ท.ที่ทำ
  • ท.ที่ 6 ทบทวน หมั่นทบทวน 

 4 E’s Leadership 

  1. Energy  ฝึกตนให้เป็นคนมีพลังเหนือชั้น ฝึกจิตใต้สำนึก  
  2. Energize ฝึกตนให้เป็นคนที่สามารถกระตุ้นให้ทุกคนมีศักยภาพ    ทำงานในทิศทางเดียวกันและมีพลัง(ทฤษฎีกางร่ม)  
  3. Edge ฝึกตนให้กล้าตัดสินใจ ให้ถูกจังหวะ  
  4. Execution  ฝึกตนให้เป็นผู้ที่ต้องทำให้เสร็จและสำเร็จวัดผลได้ 

 6 C’s Leadership 

  1. Conversations ติดต่อ ปราศรัย สร้างสัมพันธ์ดี  
  2. Communicating ฝึกสื่อสาร สื่อสารให้เป็น    
  3. Culture  มีวัฒนธรรม เข้าได้ทุกระดับ 
  4. Creating change  สร้าง/บริหารการเปลี่ยนแปลง   
  5. Creating team  สร้าง/บริหารที  
  6.  Charisma  เก่ง กล้า สามารถ   

4 K’s Leadership    

  1. 1.Knowing your competitors รู้คู่แข่ง คู่แข่งทางการค้า 
  2. 2.Knowing your customer รู้ลูกค้า ลูกค้าในอนาคตและปัจจุบัน และมีการวางแผน  
  3. 3.Knowing your people รู้ทีมงาน ทีมงานในอนาคตเป็นอย่างไรจุดอ่อนจุดแข็ง 
  4. 4.Knowing your yourself รู้ตัวเอง รู้จักตัวเอง เช่นการศึกษา วางแผนการพัฒนาตนเอง  

6 L’s leadership 

  1. Learning to love youeself รักตัวเอง ใส่ใจ ออกกำลังกาย สนใจเรื่องอนาคต 
  2. Learning to love business รักธุระกิจ ทำอย่างไรให้ลูกน้องรักธุรกิจ 
  3. Learning to love team รักทีม ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม 
  4. Learning to love customer รักลูกค้า 
  5. Learning to love suppliers รักผู้ที่เกี่ยวข้อง ดูแลทุกคน 
  6. Learning to relax โดยการหาความรู้ใหม่ๆ ตลอดเวลา              

 5 M’s leadership 

  1. Mission วิสัยทัศน์ ภารกิจที่ชัดเจน 
  2. Meeting-learn-chair-develop ประชุมเรียนรู้แชร์ และพัฒนา 
  3. Measurement การวัดความพึงพอใจของลูกค้า พนักงาน 
  4. Memory จำได้ว่าข้อมูลที่แล้วมาเป็นอย่างไร โดยอาจจะมีตัวชี้วัด เช่นการบันทึก 
  5. Mastering time เวลา 

 4 S’s Leadership 

  1. Strategy เขียนกลยุทธ์เป็น 
  2. Setting goals ต้องตั้งเป้าหมายเป็น 
  3. Sleep well หาทางที่มันดี 
  4. Selecting the right people เลือกคนที่ถูกต้อง  

5 T’s Leadership 

  1. Taking responsibility รู้จักมีความรับผิดชอบเอาใจใส่
  2.  teachimg responsibility ต้องสอนถึงโทษและดี 
  3. Take care of HR,Employee การดูแลพนักงานและทรัพยากรมนุษย์ 
  4. Take care of customer satisfaction ทำให้ลูกค้าพึงพอใจมากขึ้น 
  5. Take care of Organization การดูแลองค์กรก็จะดีขึ้นผลประมาณการก็จะดีตามขึ้นไป  

กลยุทธ์การเปลี่ยนแปลง มี 2 กลยุทธ์ คือ (2 Strategies for Changes)  

  1.  Top Down (Programmatic)“Teaching & Application of Existing Knowledge" เบื้องบนสั่งลงมา คนเกี่ยวข้องไม่กี่คน ข้อดี รวดเร็ว ประหยัด  แต่พนักงานระดับล่างไม่มีส่วนร่วม  มีการต่อต้าน   
  2.  Bottom-Up (Learning)“Stepwise Creation of Meaning & Understanding" พนักงานระดับล่างต้องมีส่วนร่วม ทำให้รู้สึกเป็นเจ้าของ  ความสำเร็จระยะยาว   แต่ต้องใช้เวลามากในการทำความเข้าใจ LEADERSHIP FOR CHANGE (ความเป็นผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลง)จริยธรรม =จริยะ +  ธรรมะ =  (คำกริยา) ความประพฤติ  กริยาที่ควรปฏิบัติ  

จริยธรรม มีประโยชน์อย่างไร?   

  • Quality worker : คนมีคุณภาพ
  • Quality Organization : องค์การมีคุณภาพ
  • Quality Product : สินค้า บริการ มีคุณภาพEmployee
  • Employee Retention เก็บรักษาบุคลากรไว้ได้
  • Customer Satisfaction : สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้
  • Orientation Trust : สร้างความเชื่อมั่นให้กับองค์การ
  • Market Orientation : ทำตลาดได้
  • Profitability : สร้างผลกำไรได้
  • Team Building : สร้างทีมงาน
  • Organization result: ผลประกอบการดีขึ้น

  จริยธรรมต่อสังคม 

  1. ละเว้นการประกอบธุรกิจทำให้สังคมเสื่อมนำความเดือนร้อนมาสู่สังคมทำลายวัฒนธรรมที่ดีงาม 
  2. พึงดูแลเอาใจใส่กิจการของตนไม่ให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม 
  3. พึงเคารพให้สิทธิทางปัญญาของผู้อื่น 
  4. พึงให้ความร่วมมือกับชุมนุมชนและสังคม  

จริยธรรมต่อพนักงาน/ทีมงาน 

  1. พึงให้ค่าจ้าง ค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถให้รางวัลเมื่อมีกำไรมากขึ้น 
  2. พึงเอาใจใส่สวัสดิการ จัดหาเครื่องป้องกันอันตราย อันเกิดจากการทำงาน 
  3. พึงพัฒนาให้ความรู้เพื่อเพิ่มความชำนาญ 
  4. พึงยุติธรรมต่อพนักงานทุกคน ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง 
  5. พึงศึกษานิสัยใจคอของพนักงานแต่ละคน 
  6. พึงเคารพสิทธิส่วนบุคคลของพนักงาน 
  7. พึงเชื่อถือไว้วางใจในงานที่มอบหมาย 
  8. พึงให้คำแนะนำปรึกษาช่วยเหลือ 
  9. พึงสนับสนุนให้พนักงานประพฤติตนดี ห้ามปรามถ้าพบว่าพนักงานทำไม่ดี  

จริยธรรมต่อลูกค้า 

  1. พึงขายสินค้าบริการในราคายุติธรรม 
  2. พึงขายสินค้าบริการที่มีคุณภาพตามที่แจ้งแก่ลูกค้า ในราคาที่ตกลงกัน 
  3. พึงดูแลลูกค้าทุกคนเท่าเทียมกัน ใส่ใจในข้อร้องเรียนของลูกค้า 
  4. พึงงดเว้นการสร้างเงื่อนไขให้ลูกค้าต้องทำตามเงื่อนไขเพื่อต่อรอง 
  5. พึงปฏิบัติต่อลูกค้าด้วยอัธยาศัยไมตรีอันดี  

จริยธรรมต่อเพื่อนร่วมงาน 

  1. พึงมีความจริงใจ 
  2. พึงหลีกเลี่ยงการนินทาเพื่อน 
  3. อย่าซัดทอดความผิดให้เพื่อน 
  4. พึงยกย่องชมเชยเพื่อนในสิ่งที่สมควร 
  5. พึงให้ความร่วมมือในกิจการของเพื่อนด้วยความเต็มใจ 
  6. พึงรับฟังความคิดเห็นของเพื่อน 
  7. พึงหลีกเลี่ยงการทำตัวเหนือเพื่อน  

จริยธรรมต่อคู่แข่งขัน 

  1. พึงละเว้นการกลั่นแกล้ง ให้ร้ายป้ายสี การขายตัดราคา การแย่งลูกค้าและข้อมูลของคู่แข่งมาโดยมิชอบ 
  2. พึงให้ความร่วมมือในการแข่งขัน เพื่อสร้างสภาวะการตลาดที่ดี และรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้เกิด ประโยชน์สูงสุดร่วมกันป้องกันดูและทรัพย์สินต่างๆ  

 

สรุป  ดิฉันมั่นใจว่าสิ่งที่ดิฉันได้เรียนในสัปดาห์นี้ จะสามารถนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาไปสู่การเป็นภาวะผู้นำที่ดีในอนาคตได้ โดยมีจริยธรรมในการดำเนินชีวิตควบคู่ไปด้วย 

นางสาวปณิธาน  เชื้อชาติ  ID : 106142013

นายเอกราช ดลยสกุล MBA 6

เรียน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ อ.ยม นาคสุข และสวัสดีเพื่อนนักศึกษาทุกท่าน!!!  

  พัฒนาภาวะผู้นำ ตามทศพิศราชธรรม ทานัง คือ การให้ ซึ่งได้แก่ อามิสทาน(การให้สิ่งของ) ธรรมทาน(การให้ความรุ้) และ อภัยทาน ศีล คือการมีความประพฤติดีงาม สำรวมกาย วาจาใจ ประพฤติตนเป็นตัวอย่างที่ดี ให้เป็นที่เคารพนับถือของประชาชน 
 
บริจาคะ (การบริจาค) การเสียสละความสุขส่วนตัว เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน และความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง  อาชชวะ ได้แก่ การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีความจริงใจ ไม่หลอกลวงประชาชน ซื่อตรงต่อคำพูด ซื่อตรงต่อวิชาชีพ  มัททวะ ได้แก่ ความอ่อนโยน การมีอัธยาศัยดี ซึ่งถ้าเป็นยุคนี้ต้องเรียกว่ามีความใจกว้างในการรับฟัง ไม่ดื้อ ไม่รั่น ไม่บ้า หรือมัวเมาในอำนาจ                              ตปะ ได้แก่ ความเพียรเพื่อกำจัดความเกียจคร้านและความชั่ว พยายามลดกิเลสของตน ซึ่งเป็นธรรมดาของคนที่มีอำนาจ ที่จะมีโอกาสจะเห็นผลประโยชน์รูปแบบต่างๆวิ่งผ่านหน้า ตปะ จะเป็นสิ่งที่เหนี่ยวรั้ง ไม่ให้คนดี เสียคน
อักโกธะ คือการไม่ถือโกรธ ไม่ผูกพยาบาท หรือจงเกลียดจงชังคนใดคนหนึ่งหรือ กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง นักปกครองคนใด ครองธรรมมะข้อนี้ไม่ได้ ก้อาจจะนำไปสุ่การสร้างความอยุติธรรมในการตัดสินใจ
 
อวิหิงสา คือการไม่เบียดเบียน ประชาชน เพื่อนร่วมงาน, ลูกน้องของตน ,หน่วยงาน และครอบครัวตนเอง เพราะการเบียดเบียนนำไปสุ่การเอาเปรียบ การเอาเปรียบบ่อยๆ ก็ทำให้เสียนิสัยและนำไปสุ่ พฤติกรรมคอร์รัปชั่น
 
ขันติ ได้แก่ การมีความอดทนอดกลั้นความโลภ ต่อแรงกดดันต่างๆ
 

อวิโรธนะ ความโปร่งใส วิโรธนะ การทำงาน อย่าให้ประชาชนเคลือบแคลงสงสัย นั่นคือการทำงานอย่างโปร่งใส ตรงไปตรงมา 

 

 ฝึกตนเป็นคนมีภาวะผู้นำ

 เพียรกำจัด (ลด ละ เลิก) สิ่งที่ไม่ดี ข้อบกพร่องหรืออกุศล ให้หมดไป                       เพียรรักษา (รักษา) สิ่งที่ดี คุณภาพดีๆ มาตรฐานงานดีๆ วินัย หรือกฎข้อบังคับ ความรู้ ภูมิปัญญา ของตน ขององค์กร ให้คงอยู่ ยั่งยืนนาน                                                                    เพียรระวัง (ป้องกัน) มิให้สิ่งที่ไม่ดี เข้าครอบงำ มีข้อบกพร่อง ก็ต้องป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น โดยเน้นที่การดับที่เหตุรากเหง้า  เพียรเจริญ (พัฒนาปรับปรุง) สิ่งที่ดีๆ สิ่งที่ทำอยู่ให้เจริญขึ้น หรือดีขึ้นเรื่อยๆ จนกว่าจะบรรลุเป้าหมายขั้นสูง

 

 จริยธรรมต่อพนักงาน/ทีมงาน 1.พึงให้ค่าจ้าง ค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถให้รางวัลเมื่อมีกำไรมากขึ้น 2.พึงเอาใจใส่สวัสดิการ จัดหาเครื่องป้องกันอันตราย อันเกิดจากการทำงาน 3.พึงพัฒนาให้ความรู้เพื่อเพิ่มความชำนาญ 4.พึงยุติธรรมต่อพนักงานทุกคน ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง 5.พึงศึกษานิสัยใจคอของพนักงานแต่ละคน 6.พึงเคารพสิทธิส่วนบุคคลของพนักงาน 7.พึงเชื่อถือไว้วางใจในงานที่มอบหมาย 8.พึงให้คำแนะนำปรึกษาช่วยเหลือ 9.พึงสนับสนุนให้พนักงานประพฤติตนดี ห้ามปรามถ้าพบว่าพนักงานทำไม่ดี  จริยธรรมต่อลูกค้า 1.พึงขายสินค้าบริการในราคายุติธรรม 2.พึงขายสินค้าบริการที่มีคุณภาพตามที่แจ้งแก่ลูกค้า ในราคาที่ตกลงกัน 3.พึงดูแลลูกค้าทุกคนเท่าเทียมกัน ใส่ใจในข้อร้องเรียนของลูกค้า 4.พึงงดเว้นการสร้างเงื่อนไขให้ลูกค้าต้องทำตามเงื่อนไขเพื่อต่อรอง 5.พึงปฏิบัติต่อลูกค้าด้วยอัธยาศัยไมตรีอันดี  จริยธรรมต่อเพื่อนร่วมงาน 1.พึงมีความจริงใจ 2.พึงหลีกเลี่ยงการนินทาเพื่อน 3.อย่าซัดทอดความผิดให้เพื่อน 4.พึงยกย่องชมเชยเพื่อนในสิ่งที่สมควร 5.พึงให้ความร่วมมือในกิจการของเพื่อนด้วยความเต็มใจ 6.พึงรับฟังความคิดเห็นของเพื่อน 7.พึงหลีกเลี่ยงการทำตัวเหนือเพื่อน  จริยธรรมต่อคู่แข่งขัน 1.พึงละเว้นการกลั่นแกล้ง ให้ร้ายป้ายสี การขายตัดราคา การแย่งลูกค้าและข้อมูลของคู่แข่งมาโดยมิชอบ 

2.พึงให้ความร่วมมือในการแข่งขัน เพื่อสร้างสภาวะการตลาดที่ดี และรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้เกิด ประโยชน์สูงสุดร่วมกันป้องกันดูและทรัพย์สิ

สรุป การจะสามารถเป็นภาวะผู้นำที่ดีได้ ต้องมีจริยธรรมด้วย 

 

นายเอกราช ดลยสกุล  ID: 106142015

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อ.ยม และสวัสดีเพื่อนนักศึกษาทุกท่าน ผมนายวิวัฒน์ นาเวียง ID:106342001 MBA 7 ม.นานาชาติ แสตมฟอร์ด หัวหิน หลังจากที่ได้เรียนในวันที่ 2-3 มีนาคม 2550 ที่ผ่านมา อ.ยม ได้บรรยาย และได้ทำกิจกรรมร่วมกันดังนี้

1.ภาวะผู้นำมีประโยชน์อย่างไร

    • ทำให้มีบุคลิกภาพ ท่าทางที่ดี
    • ทำให้มีความรับผิดชอบ
    • สามารถนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ
    • สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับทีมงาน
    • นำพาประเทศชาติไปสู่ความเจริญและยั่งยืน
    • สร้างจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมและรักประเทศชาติ

2.แนวทางการพัฒนาผู้นำ

-แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบญี่ปุ่น

1. ฝึกคนมีวินัยเช่นตรงต่อเวลา ปฏิบัติตามกฎ กติกา มารยาท

2. มีมารยาททางสังคม ซึ่งถือเป็นจุดเด่นของชาวญี่ปุ่น

3. ฝึกเป็นคนขยัน อดทนเป็น

4. Enterprise Spirit กล้าริเริ่มส่งใหม่ๆ

5. Team Work คนญี่ปุ่นยึดฉันทามติ จงรักภัคดีต่อองค์กร ทำงานแบบอุทิศ ทุ่มเท

6. มีนิสัยรักการอ่าน

7. รักความสะอาด ความบริสุทธิ์

8. มีความรับผิดชอบต่อสังคมสูง

9. รักในศักดิ์ศรี ชาตินิยม

10. พัฒนาตลอดเวลา ไม่หยุดนิ่ง และกระตือลือล้น

-แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำ ตามทศพิศราชธรรม

    1. ทานัง คือ การให้ ซึ่งได้แก่ อามิสทาน(การให้สิ่งของ) ธรรมทาน(การให้ความรุ้) และ อภัยทาน ให้ปัญญา
    2. ศีล คือการมีความประพฤติดีงาม สำรวมกาย วาจาใจ ประพฤติตนเป็นตัวอย่างที่ดี ให้เป็นที่เคารพนับถือของประชาชน
    3. บริจาคะ (การบริจาค) การเสียสละความสุขส่วนตัว เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน และความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
    4. อาชชวะ ได้แก่ การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีความจริงใจ ไม่หลอกลวงประชาชน ซื่อตรงต่อคำพูด ซื่อตรงต่อวิชาชีพ
    5. มัททวะ ได้แก่ ความอ่อนโยน การมีอัธยาศัยดี ซึ่งถ้าเป็นยุคนี้ต้องเรียกว่ามีความใจกว้างในการรับฟัง ไม่ดื้อ ไม่รั้น ไม่บ้า หรือมัวเมาในอำนาจ
    6. ตปะ ได้แก่ ความเพียรเพื่อกำจัดความเกียจคร้านและความชั่ว พยายามลดกิเลสของตน ซึ่งเป็นธรรมดาของคนที่มีอำนาจ ที่จะมีโอกาสจะเห็นผลประโยชน์รูปแบบต่างๆวิ่งผ่านหน้า ตปะ จะเป็นสิ่งที่เหนี่ยวรั้ง ไม่ให้คนดี เสียคน
    7. อักโกธะ คือการไม่ถือโกรธ ไม่ผูกพยาบาท หรือจงเกลียดจงชังคนใดคนหนึ่งหรือ กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง นักปกครองคนใด ครองธรรมมะข้อนี้ไม่ได้ ก้อาจจะนำไปสุ่การสร้างความอยุติธรรมในการตัดสินใจ
    8. อวิหิงสา คือการไม่เบียดเบียน ประชาชน เพื่อนร่วมงาน, ลูกน้องของตน ,หน่วยงาน และครอบครัวตนเอง เพราะการเบียดเบียนนำไปสุ่การเอาเปรียบ การเอาเปรียบบ่อยๆ ก็ทำให้เสียนิสัยและนำไปสุ่ พฤติกรรมคอร์รัปชั่น
    9. ขันติ ได้แก่ การมีความอดทนอดกลั้นความโลภ ต่อแรงกดดันต่างๆ
    10. อวิโรธนะ ความโปร่งใส วิโรธนะ การทำงาน อย่าให้ประชาชนเคลือบแคลงสงสัย นั่นคือการทำงานอย่างโปร่งใส ตรงไปตรงมา
    11. สัปปุริสธรรม 7
      1. ธัมมัญญุตา (รู้จักเหตุ) , 2. อัตถัญญุตา (รู้จักผล) 3.อัตตัญญุตา (รู้จักตน) 4. มัตตัญญุตา (รู้จักประมาณ), 5. กาลัญญุตา (รู้จักกาล), 6. ปริสัญญุตา (รู้จักชุมชน), 7.ปุคคลัญญุตา (เข้าใจความแตกต่างบุคคล)

ราชสังคหะ ๔
๑.สัสสเมธะ ฉลาดบำรุงธัญญาหาร
๒.ปุริสเมธะ ฉลาดบำรุงข้าราชการ
๓.สัมมาปาสะ ผูกประสานปวงประชา
๔.วาชไปยะ มีวาทะดูดดื่มใจ

กำจัด รักษา พัฒนา ป้องกัน

    1. เพียรกำจัด (ลด ละ เลิก) สิ่งที่ไม่ดี ข้อบกพร่องหรืออกุศล ให้หมดไป
    2. เพียรรักษา (รักษา) สิ่งที่ดี คุณภาพดีๆ มาตรฐานงานดีๆ วินัย หรือกฎข้อบังคับ ความรู้ ภูมิปัญญา ของตน ขององค์กร ให้คงอยู่ ยั่งยืนนาน
    3. เพียรระวัง (ป้องกัน) มิให้สิ่งที่ไม่ดี เข้าครอบงำ มีข้อบกพร่อง ก็ต้องป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น โดยเน้นที่การดับที่เหตุรากเหง้า
    4. เพียรเจริญ (พัฒนาปรับปรุง) สิ่งที่ดีๆ สิ่งที่ทำอยู่ให้เจริญขึ้น หรือดีขึ้นเรื่อยๆ จนกว่าจะบรรลุเป้าหมายขั้นสูง

Yom, 2005, 6 ท. สำหรับฝึกภาวะผู้นำ

    • ท.ที่ 1 ท่าที มีท่าทีที่ดี
    • ท.ที่ 2 ท้าทาย ทำงานที่ยากกว่า คิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่
    • ท.ที่ 3 ทน ต้องอดทน
    • ท.ที่ 4 เที่ยงธรรม
    • ท.ที่ 5 ทำ
    • ท.ที่ 6 ทบทวน หมั่นทบทวน

4 E’s Leadership

    1. Energy ฝึกตนให้เป็นคนมีพลังเหนือชั้น ฝึกจิตใต้สำนึก
    2. Energize ฝึกตนให้เป็นคนที่สามารถกระตุ้นให้ทุกคนมีศักยภาพ ทำงานในทิศทางเดียวกันและมีพลัง(ทฤษฎีกางร่ม)
    3. Edge ฝึกตนให้กล้าตัดสินใจ ให้ถูกจังหวะ
    4. Execution ฝึกตนให้เป็นผู้ที่ต้องทำให้เสร็จและสำเร็จวัดผลได้

6 C’s Leadership

    1. Conversations ติดต่อ ปราศรัย สร้างสัมพันธ์ดี
    2. Communicating ฝึกสื่อสาร สื่อสารให้เป็น
    3. Culture มีวัฒนธรรม เข้าได้ทุกระดับ
    4. Creating change สร้าง/บริหารการเปลี่ยนแปลง
    5. Creating team สร้าง/บริหารที
    6. Charisma เก่ง กล้า สามารถ

4 K’s Leadership

1.Knowing your competitors รู้คู่แข่ง คู่แข่งทางการค้า2.Knowing your customer รู้ลูกค้า ลูกค้าในอนาคตและปัจจุบัน และมีการวางแผน

3.Knowing your people รู้ทีมงาน ทีมงานในอนาคตเป็นอย่างไรจุดอ่อนจุดแข็ง

4.Knowing your yourself รู้ตัวเอง รู้จักตัวเอง เช่นการศึกษา วางแผนการพัฒนาตนเอง

6 L’s leadership

1.Learning to love youeself รักตัวเอง ใส่ใจ ออกกำลังกาย สนใจเรื่องอนาคต

2.Learning to love business รักธุระกิจ ทำอย่างไรให้ลูกน้องรักธุรกิจ

3.Learning to love team รักทีม ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม4.Learning to love customer รักลูกค้า

5.Learning to love suppliers รักผู้ที่เกี่ยวข้อง ดูแลทุกคน6.Learning to relax โดยการหาความรู้ใหม่ๆ ตลอดเวลา

5 M’s leadership

1.Mission วิสัยทัศน์ ภาระกิจที่ชัดเจน

2.Meeting-learn-chair-develop ประชุมเรียนรู้แชร์ และพัฒนา

3.Measurement การวัดความพึงพอใจของลูกค้า พนักงาน4.Memory จำได้ว่าข้อมูลที่แล้วมาเป็นอย่างไร โดยอาจจะมีตัวชี้วัด เช่นการบันทึก5.Mastering time เวลา

4 S’s Leadership

1.Strategy เขียนกลยุทธ์เป็น

2.Setting goals ต้องตั้งเป้าหมายเป็น

3.Sleep well หาทางที่มันดี

4.Selecting the right people เลือกคนที่ถูกต้อง

5 T’s Leadership1.Taking responsibility รู้จักมีความรับผิดชอบเอาใจใส่2.teachimg responsibility ต้องสอนถึงโทษและดี3.Take care of HR,Employee การดูแลพนักงานและทรัพยากรมนุษย์4.Take care of customer satisfaction ทำให้ลูกค้าพึงพอใจมากขึ้น5.Take care of Organization การดูแลองค์กรก็จะดีขึ้นผลประมาณการก็จะดีตามขึ้นไป

สาเหตุของความล้มสลายขององค์กร ได้แก่
    1. การต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
    2. สมาชิกในองค์กรสำคัญตนผิด
    3. ไม่ไยดีในนวัตกรรมใหม่ ๆ
    4. ขาดการวางแผนระยะยาว
    5. การไม่ให้ความสำคัญทรัพยากรมนุษย์ (การสูญเสียคนที่มีคุณค่า ยิ่งกว่าเสียเงินมากมาย)
    6. กลยุทธ์การเปลี่ยนแปลง มี 2 กลยุทธ์ คือ (2 Strategies for Changes)

      1. Top Down (Programmatic)“Teaching & Application of Existing Knowledge" เบื้องบนสั่งลงมา คนเกี่ยวข้องไม่กี่คน ข้อดี รวดเร็ว ประหยัด แต่พนักงานระดับล่างไม่มีส่วนร่วม มีการต่อต้าน
      2. Bottom-Up (Learning)“Stepwise Creation of Meaning & Understanding" พนักงานระดับล่างต้องมีส่วนร่วม ทำให้รู้สึกเป็นเจ้าของ ความสำเร็จระยะยาว แต่ต้องใช้เวลามากในการทำความเข้าใจ LEADERSHIP FOR CHANGE (ความเป็นผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลง)จริยธรรม =จริยะ + ธรรมะ = (คำกริยา) ความประพฤติ กริยาที่ควรปฏิบัติ

จริยธรรม มีประโยชน์อย่างไร?

จริยธรรมเป็นกฏเกณฑ์ที่สังคมสร้างขึ้นเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขทำให้เกิดจิตสำนึกในหน้าที่ความรับผิดของตนเอง เป็นการกระทำหรือพฤติกรรมที่ถูกต้องและดีงามในสังคมนั้นๆ

จริยธรรมทำให้เกิด

  • Quality worker : คนมีคุณภาพ
  • Quality Organization : องค์การมีคุณภาพ
  • Quality Product : สินค้า บริการ มีคุณภาพEmployee
  • Employee Retention เก็บรักษาบุคลากรไว้ได้
  • Customer Satisfaction : สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้
  • Orientation Trust : สร้างความเชื่อมั่นให้กับองค์การ
  • Market Orientation : ทำตลาดได้
  • Profitability : สร้างผลกำไรได้
  • Team Building : สร้างทีมงาน
  • Organization result: ผลประกอบการดีขึ้น

 

 

 

 

จริยธรรมของผู้นำในความเห็นของผมดังนี้

  1. เป็นผู้เห็นการไกล
  2. คล่องเเคล่วว่องไว ในความคิด ทันเหตุการณ์
  3. ส่งเสริมสนับสนุนคนดีและความสามัคคี
  4. ดำเนินตามทางสายกลาง ไม่ลำเอียง (อคติ4)รู้จักพอประมาณ
  5. รู้จักฟัง หยั่งเสียง รู้ถึงความต้องการ
  6. ชอบความสะอาด ไม่กินของสกปก
  7. รู้จักทำหน้าที่ ที่เหมาะสม
  8. มีความละอายในการทำผิด(หิริโอตัปปะ)
  9. ไม่ปล่อยปะละเลยหน้าที่ ให้การทำงาน ควรทำให้แล้วเสร็จ
  10. รู้จักที่ต่ำที่สูง

สรุป ผู้นำที่สมบูรณ์แบบคือผู้นำทีเปี่ยมด้วยความรู้ ความสามารถและมีคุณธรรมจริยธรรม ผู้นำที่ได้รับการยอมรับนับถือ มีอำนาจบารมีได้ เพราะความมีคุณธรรมจริยธรรม เป็นที่เลื่องลือทำให้การดำเนินงานขององค์กรได้รับการยอมรับ เชื่อถือ เพราะผู้นำมีคุณธรรมจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ ใช้หลักความมี
จริยธรรมตามหลักธรรมาภิบาล หรือหลักบรรษัทภิบาลในการบริหารงานถือเป็นคุณธรรมอันสำคัญอย่างยิ่งของผู้นำ

ยม รายงานการส่งบทความ สัปดาห์ที่สอง ของ นักศึกษา MBA ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด หัวหิน

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ / นักศึกษา MBA ม.นานาชาติสแตมฟอร์ด หัวหิน และท่านผู้อ่านทุกท่าน 

 

จากการรวบรวมข้อมูล จาก blog MPA MBA และภาวะผู้นำ  สรุปได้ว่า สัปดาห์นี้ ขณะนี้ มีนักศึกษา ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสังคมแห่งการเรียนรู้ใน Blog นี้ เรียงตามลำดับ ได้ดังนี้ 

  1. นายบุญยอด มาคล้าย เมื่อ อ. 04 มี.ค. 2550 @ 11:36 (182028)
  2. นางจำเนียร อำภารักษ์ ID 106142002 รุ่น 6 เมื่อ อ. 04 มี.ค. 2550 @ 17:25 (182328)  
  3. นายนิคม อำภารักษ์ ID 106142006 รุ่น 6 เมื่อ อ. 04 มี.ค. 2550 @ 17:53 (182349)
  4. นายชาญชัย พานิชนันทนกุล ID:105342002 เมื่อ จ. 05 มี.ค. 2550 @ 00:56 (182777)
  5. พนาวัลย์ คุ้มสุด เมื่อ จ. 05 มี.ค. 2550 @ 02:14 (182822) ID: 106142010
  6. นายราเชนทร์ แดงโรจน์ เมื่อ จ. 05 มี.ค. 2550 @ 10:41 (183017)
  7. นายณัฐพง์ ชุมนุมพันธื เมื่อ จ. 05 มี.ค. 2550 @ 13:19 (183177)
  8. นายชูศักดิ์ ลาภส่งผล เมื่อ จ. 05 มี.ค. 2550 @ 18:59 (183472)
  9. เสาวนีย์ ทวีเผ่า เมื่อ จ. 05 มี.ค. 2550 @ 23:33 (183723)
  10. Jaruwan Yunprayong MBA 6 ID:106142009 เมื่อ อ. 06 มี.ค. 2550 @ 13:09 (184299)
  11. น.ส.ปภาวี นาคสุข ID 106142008 MBA 6 เมื่อ อ. 06 มี.ค. 2550 @ 13:14 (184311)
  12. กนกลักษณ์ เร้าเลิศฤทธิ์ เมื่อ อ. 06 มี.ค. 2550 @ 13:48 (184346)
  13. นริศรา ทรัพย์ชโลธร เมื่อ อ. 06 มี.ค. 2550 @ 23:09 (184948)
  14. จริยา ลิ้มธรรมรักษ์ เมื่อ อ. 06 มี.ค. 2550 @ 23:44 (184997)
  15. นางสาวสุพรรษา อาลี ID 106242002 MBA 7 เมื่อ อ. 06 มี.ค. 2550 @ 23:50 (185009)
  16. นายประเสริฐ ชัยยะศิริสุวรรณ MBA 7 เมื่อ พ. 07 มี.ค. 2550 @ 00:14 (185033)
  17. ศรีสุดา วรรณสมบูรณ์ ID 106342002 เมื่อ พ. 07 มี.ค. 2550 @ 01:12 (185104)
  18. นางสาวปณิธาน เชื้อชาติ ID 106142013 MBA 6 เมื่อ พ. 07 มี.ค. 2550 @ 12:25 (185393)
  19. นาย สราวุฒิ ฉายแสง เมื่อ พ. 07 มี.ค. 2550 @ 13:03 (185413)
  20. นายเอกราช ดลยสกุล MBA 6 เมื่อ พ. 07 มี.ค. 2550 @ 15:07 (185543)
  21. วิวัฒน์ นาเวียง เมื่อ พ. 07 มี.ค. 2550 @ 15:53 (185570)
  22. นายเตชสิทธิ์ หอมฟุ้ง เมื่อ พ. 07 มี.ค. 2550 @ 23:50 (186007)
  23. นางสาวสุพรรษา อาลี ID 106242002 MBA 7 เมื่อ อ. 06 มี.ค. 2550 @ 23:50 (185009)
  24. นางสาวหยาดอรุณ อาสาสำเร็จ เมื่อ พฤ. 08 มี.ค. 2550 @ 08:02 (186168)

 ขอชื่นชม นักศึกษาที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจเขียนแชร์ไอเดีย ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสังคมแห่งการเรียนรู้ ทั้ง 24 ท่าน  

อย่างไรก็ตามขอชื่นชมมากเป็นพิเศษ สำหรับนักศึกษาที่ส่งเข้ามาติดอันดับ Top Ten ได้แก่

 
  1. นายบุญยอด มาคล้าย เมื่อ อ. 04 มี.ค. 2550 @ 11:36 (182028)
  2. นางจำเนียร อำภารักษ์ ID 106142002 รุ่น 6 เมื่อ อ. 04 มี.ค. 2550 @ 17:25 (182328)  
  3. นายนิคม อำภารักษ์ ID 106142006 รุ่น 6 เมื่อ อ. 04 มี.ค. 2550 @ 17:53 (182349)
  4. นายชาญชัย พานิชนันทนกุล ID:105342002 เมื่อ จ. 05 มี.ค. 2550 @ 00:56 (182777)
  5. พนาวัลย์ คุ้มสุด เมื่อ จ. 05 มี.ค. 2550 @ 02:14 (182822) ID: 106142010
  6. นายราเชนทร์ แดงโรจน์ เมื่อ จ. 05 มี.ค. 2550 @ 10:41 (183017)
  7. นายณัฐพง์ ชุมนุมพันธื เมื่อ จ. 05 มี.ค. 2550 @ 13:19 (183177)
  8. นายชูศักดิ์ ลาภส่งผล เมื่อ จ. 05 มี.ค. 2550 @ 18:59 (183472)
  9. เสาวนีย์ ทวีเผ่า เมื่อ จ. 05 มี.ค. 2550 @ 23:33 (183723)
  10. Jaruwan Yunprayong MBA 6 ID:106142009 เมื่อ อ. 06 มี.ค. 2550 @ 13:09 (184299)
 ผู้นำยุคใหม่ นอกจากเก่ง ดีแล้ว ต้องรวดเร็วด้วย จึงจะสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันได้ การเขียนแชร์ไอเดียของนักศึกษาโดยรวมมีการพัฒนาการที่ดี  ทั้งปริมาณ คุณภาพ และความรวดเร็ว  นักศึกษาที่เขียนได้ดี ดูได้จากแนวทางการเขียน ได้แก่
  1. ต้องมีครบ 3 ขั้นตอน คือ เปิดประเด็น ดำเนินเรื่อง และสรุป
  2. อย่างน้อยต้องแชร์ไอเดียตรงประเด็น ให้ครอบคลุม  สาระที่ได้มีการเรียนการสอน อยู่ในขั้นตอนดำเนินเรื่อง
  3. ที่ดีไปกว่านั้นคือสามารถกลั่นกรองความรู้บูรณาการประสบการณ์ และความรู้เดิม นำมาต่อยอดได้  ซึ่งมักจะอยู่ในขั้นตอนสรุป เสนอแนะ
  4. ต้องแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นพยายาม ไม่เขียนสั้นจน เกินไป คือแทบไม่ได้สาระอะไร ตามที่ระบุไว้ใน ข้อ 2 3 ข้างต้น

นักศึกษาที่ส่งมา ติดอันดับ Top Ten ส่วนใหญ่ทำได้ดี และถ้าศึกษาแนวการเขียนทั้ง 4 ประการที่กล่าวมาข้างต้นนี้ หลายท่านคงจะทราบว่า แนวการเขียนของท่านเป็นอย่างไร   นักศึกษาที่ทำได้ดี จะเปรียบเวลาเขียนสอบในทุกวิชา

ส่วนนักศึกษาที่ส่งมาช้าสุด และเขียนมาสั้นที่สุด ขอให้ทบทวนน๊ะครับ  ท.ทบทวนดูว่าเราจะพัฒนาอย่างไรให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป ในยุคโลกาภิวัฒน์ ความดี ความเก่ง ความรอบรู้ ความรวดเร็ว และคุณธรรมฯ เป็นสิ่งที่เราต้องลับเลื่อยให้คมอยู่เสมอ 

สัปดาห์นี้ ศุกร์และเสาร์ที่จะถึงนี้จะมีการเรียนการสอน โดยอาจารย์ใหญ่ของเรา ศ.ดร.จีระ แน่นอน ในสัปดาห์นี้ ผมอาจจะไม่ได้ไปร่วมกิจกรรมด้วย เนื่องจากติดสัมมนาในกรุงเทพฯ ในโครงการเศรษฐกิจพอเพียง และโครงการปริญญาเอก

การเขียนบทความแชร์ความรู้ ของพวกเรา ขอให้ย้ายไปเขียนใน Blog ของ ศ.ดร.จีระ ที่ Blog ของ MBA ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด ซึ่ง ศ.ดร.จีระ ได้เปิด Blog เรียบร้อยแล้ว โดยเข้าไปที่http://gotoknow.org/blog/chirakm/81898 

 

ส่วนเนื้อหา  ใน Blog เกี่ยวกับผู้นำ ที่ผมตั้งขึ้นรองรับความเห็นของพวกเรานี้จะยังคงมีข้อความเกี่ยวกับผู้นำ ต่อเนื่อง ตลอดไป อย่างน้อย สัปดาห์ละครั้ง

ผมจะเขียน บทความแชร์ไอเดีย เพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเกี่ยวกับผู้นำ ภาวะผู้นำ ในโครงการปริญญาโท และปริญญาเอก เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ต่อไป

สองสัปดาห์ที่ผ่านมา นักศึกษาส่วนใหญ่ทำได้ดีอยู่แล้ว คือ ตั้งใจเรียน มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น รู้จักสร้างความสัมพันธ์ รับฟังความคิดเห็นของเพื่อนร่วมชั้นเรียน และส่งบทความมาตามเวลา ขอให้ดำรงรักษาและพัฒนาไว้ให้ดี 

ท้ายนี้อย่าลืม ว่ามีงานแปลบทความ ที่แต่ละกลุ่มจะต้องส่งมาร่วมแชร์กัน น๊ะครับ

 

ขอความสวัสดีจงมีแด่นักศึกษาและท่านผู้อ่าน


อาจารย์ยม

081-9370144

[email protected]

http://gotoknow.org/blog/yom-nark11/80586

นายชาญชัย พานิชนันทนกุล ID:105342002
สวัสดีครับท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์/อ.ยม/และเพื่อนนักศึกษาทุกท่าน                 จากการอ่านหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ของท่านพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยาและท่าน ศ. ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์ สรุปได้เป็น 5       ส่วนดังนี้    1.เรื่องของ 2 แชมป์                2.คัมภีร์คนพันธ์แท้                3.จักรวาลแห่งการเรียนรู้                4.สู่การเพิ่มผลผลิต                5.ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้- เรื่องของ 2 แชมป์จะพูดถึงความเชื่อและศรัทธาและความมุ่งมั่นในเรื่องของคนของทั้ง 2 ท่านที่เหมือนกันคือ เป็นผู้ใฝ่เรียนรู้ กระหายกับการหาความรู้อย่างไม่รู้จักอิ่มและ เน้นการเพิ่มมูลค่าเพิ่มในทรัพยากรมนุษย์ เช่นจักรยานนานไปก็เสื่อม แต่ถ้าคนพัฒนายิ่งนานยิ่งเก่งกล้า คนจึงเป็นผลกำไรไม่ใช่ต้นทุน คนเป็นสมบัติที่มีค่าที่สุดขององค์กร  คุณภาพของคน กับการเพิ่มผลผลิตเป็นความสัมพันธ์ที่จะนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ เน้นที่การมีส่วนร่วมของพนักงานให้เกิดความผูกพันกับบริษัทเป็นสำคัญ 
4L’S พารณ 4L’S จีระ
Village that Learn Learning Methodology
School that Learn Learning Environment
Industry that Learn Learning Opportunity
Nation that Learn Learning Community
 คนที่จะนำพาองค์กรสู่ความสำเร็จต้องเก่งคน เก่งงาน เก่งคิด เก่งเรียนและต้องดีด้วย ประพฤติดี มีน้ำใจ ใฝ่ความรู้ คู่คุณธรรมการพัฒนาคนต้องพัฒนาพนักงานทุกระดับรวมไปถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ทั้งด้านคุณธรรมและจริยธรรม รวมไปถึงการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดี ใช้นโยบายการดึงคนเป็นพวก มีการลงทุนในการพัฒนาบุคลากร Bench-markสร้างเครือข่ายมีความพึงพอใจในที่ทำงานผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์ Listening Skill Network and Partnership        ทฤษฏี 3 วงกลมChanging Managementวงกลมที่ 1 เรื่อง Context หรือบริบท IT มีความสำคัญในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ทำงานแบบProcessวงกลมที่ 2 เรื่องภาวะผู้นำ นวัตกรรม การบริหารเวลา เรียกว่าทฤษฏีเพิ่มศักยภาพของคนวงกลมที่ 3 ต้องมีแรงบันดาลใจใช้หลัก Pm-Personnel management มีความโปร่งใส ทำงานเป็นทีม  - เรื่องคัมภีร์คนพันธุ์แท้ บอกแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เช่นปรัชญาของทรัพยากรมนุษย์ที่ว่าคนคือ ทรัพยากรที่มีค่าที่สุดขององค์กร  การพัฒนามนุษย์โดยมุ่งเน้นการเรียนรู้ พร้อมทั้งกลยุทธ์สร้างแรงจูงใจนำองค์กรสู่ความเป็นเลิศเล่าถึงประสบการณ์ ง่ายต่อการนำไปประยุกต์ใช้คุณภาพด้านการศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญต่อคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ถ้าเป็นจุดอ่อนองค์กรต้องทดแทนด้วยการสร้างวัฒนธรรมในการเรียนรู้ หรือLearning Organization การเพาะปลูกสำคัญแต่การเก็บเกี่ยวสำคัญกว่าเครือซิเมนต์ไทยกำหนดกรอบแนวคิดไว้ 4 ประเด็นหลัก        1ปรัชญาหรือแนวคิดของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์        2เป้าหมายการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์        3วิธีที่จะทำให้การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ประสบความสำเร็จ        4ปัจจัยต่าๆที่ก่อให้เกิดความสำเร็จในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อุดมการณ์ 4 ประการ1เป็นธรรม 2เป็นเลิศ  3เชื่อมั่นในคุณค่าของคน 4ถือมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคมต้องดึงศักยภาพออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรสูงสุด8K’S          K1  Human Capital        K2  Intellectual Capital        K3  Ethical Capital        K4  Happiness Capital        K5  Social  Capital        K6  Sustainable Capital        K7  DIGITAL Capital        K8  Talented  Capitalบันไดแห่งความเป็นเลิศ1.ลองทำ Plan Do Check Act2.ต้องจัดลำดับก่อนหลัง3.มีPaticipationทุกคนทุกระดับ Team4.ทุกโครงการต้องมีผู้เป็นเจ้าของในประเทศโลกตะวันออกมีวัฒนธรรมมีความจงรักภักดีอยู่ในสายเลือดขณะที่อเมริกาเป็นประเทศเสรีนิยมแรงจูงใจ การได้ทำงานเป็นทีม การให้รางวัลพิเศษ การจ่ายค่าตอบแทนที่ยุติธรรม - จักรวาลแห่งการเรียนรู้ ส่วนนี้จะบอกถึงการขยายการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สู่ประชาชน โดยให้ประชาชนมีความสามารถในการเรียนรู้และสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิตGlobal Citizenมีคุณสมบัติ        1ความคล่องแคล่วในภาษาไทย/อังกฤษ        2เทคโนโลยี        3คุณธรรม   - สู่การเพิ่มผลผลิต  มองภาพกว้างบอกถึงการสร้างศักยภาพในการแข่งขันระดับประเทศ โดยได้รับความร่วมมือจาก รัฐบาล เอกชน นักวิชาการ และแรงงาน เมื่อมีการแข่งขันมากขึ้นต้องมองคน 2 ประเภท คือ คนใน และคนนอกซึ่งหมายถึงลูกค้าปัจจุบันให้ความสำคัญกับลูกค้ามาก  - ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้  สรุปและย้ำถึงความเชื่อในแนวทางที่มุ่งมั่นในเรื่องทรัพยากรมนุษย์ จากความคล้ายคลึงของท่านทั้งสองนี้1 เดินสู่สนามของงานสร้างทรัพยากรมนุษย์อย่างบังเอิญ2 มุ่งมั่นพัฒนาทรัพยากรมนุษย์บนปรัชญาแห่งความยั่งยืน3 จากความยั่งยืนสู่การเป็นผู้มีอิทธิพลทางความคิดต่อสังคม4 มีบุคลิกลักษณะแบบ Global Man ทำให้เป็นคนมีวิสัยทัศน์5 มีความเป็นผู้ใหญ่ พร้อมจะเป็นผู้ให้ ทั้งความรู้และความรัก แก่คนใกล้ชิด6 มีความสุขกับการเป็นผู้ให้ ต่อสังคมโดยไม่สนใจว่าจะได้รับกล่องหรือการเชิดชูเกียรติจากใคร               
ราเชนทร์ แดงโรจน์
1. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด (หัวหิน) หลักสูตร                 บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตรหัสวิชา/ชื่อวิชา     ภว.524 ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลงในองค์กรอาจารย์ผู้สอน         ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ และทีม Chira  Academy สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ/อาจารย์ยม/นักศึกษา MBA มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด หัวหิน  เพื่อน ๆ ร่วมวิชาเรียนในหัวข้อดังกล่าวทุกท่าน สัปดาห์ที่ผ่านมาในวันศุกร์ ที่ 9  และเสาร์ ที่ 10  มีนาคม 2550   ผมและนักศึกษาร่วมชั้นในการเรียนวิชา ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลงในองค์กร  ได้รับฟังการสอนและบรรยายจาก ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์ เป็นครั้งแรก ซึ่งสร้างความประทับใจให้กับตัวผมเป็นอย่างมาก  เพราะสัปดาห์ที่ผ่านมาทุกท่านคงได้รับทราบข่าวอาจารย์ในเรื่องเกี่ยวกับภารกิจที่ท่านอาจารย์ได้รับมอบหมายในการบริหารสถานีโทรทัศน์ไอทีวี  ผ่านสื่อทั้ง TV. และหนังสือพิมพ์  ผมจึงเห็นว่าภารกิจของท่านดังกล่าวมีความสำคัญมาก  แต่ท่านกลับให้ความสำคัญกับลูกศิษย์ในการเผยแพร่ความรู้หรือพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นไปตามปณิธานที่ท่านตั้งไว้มากกว่า  จึงเป็นความโชคดีของผมและเพื่อน ๆ  ที่ได้รับฟังการสอนและการบรรยายในหัวข้อดังกล่าวจาก Guru ในเรื่อง ภาวะผู้นำซึ่งเกี่ยวเนื่องกับ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระดับชาติและสากลโดยตรงอย่างไรก็ตาม ภายหลังจากผมและเพื่อน ๆ ได้เรียนในชั้นเรียนทั้ง 2 วัน ก็ได้รับมอบหมายจากท่านอาจารย์ให้นักศึกษาจัดส่งรายงานลง Blog ใน 3 ห้วข้อเรื่อง คือ1. ให้สรุปการอ่านหนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ของ ท่านอาจารย์ และ คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ว่า  นักศึกษาได้อะไรจากหนังสือเล่มดังกล่าว พร้อมกับให้ตั้งข้อสังเกตความแตกต่างระหว่างสองท่าน ถึงแม้ทั้งสองท่านจะมีเป้าหมายอย่างเดียวกัน คือ การมุ่งมั่นในการพัฒนาทรัพยากรมนษย์ หรือ คน นั่นเอง.2.  ให้สรุปว่า ในการเรียนทั้ง 2 วัน กับท่านอาจารย์ ได้อะไรจากการเรียนนั้นพร้อมให้พิจารณาถึงตนเองทั้งในด้านจุดแข็งและจุดอ่อนเปรียบเทียบ 3 ข้อ เสนออาจารย์ 3.  ให้นักศึกษาเลือกผู้นำที่นักศึกษาชอบเป็นพิเศษ  และเสนอประวัติพร้อมกับวิเคราะห์ภาวะผู้นำของผู้นำที่ตนเองชื่นชอบรายงานลง Blog จากทั้งสามหัวข้อดังกล่าว  ผมจึงขอสรุปดังต่อไปนี้1.     สิ่งที่ผมได้รับจากการอ่านหนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้คือ1.     ได้รับทราบประวัติย่อส่วนตัว ประวัติการทำงาน ประสบการณ์ทั้งในอดีตจนถึงปัจจุบันของ คู่รู้ ในเรื่องทรัพยากรมนุษย์2.     ได้ทราบถึงทฤษฎี 4L’s คุณพารณ  และ 4L’s อาจารย์จีระ3.     ได้รับทราบประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในกลุ่มบริษัทในเครือปูนซิเมนต์ไทยผ่านคำบอกเล่าจากคุณพารณซึ่งคงปฏิเสธไม่ได้ว่า บริษัทดังกล่าวเป็นที่ยอมรับจากสังคมในเรื่องของคุณภาพของคนและบุคลากรที่อยู่ในองค์กร  ทั้งในเรื่องของความเป็นคนเก่งและเป็นคนดีที่ถูกหล่อหลอมโดยวัฒนธรรมองค์กรจากท่านพารณ ซึ่งให้ความสำคัญและเชื่อมั่นว่า คน เป็นสมบัติที่มีค่าที่สุดขององค์กร4.     ได้รับรู้ถึงความรู้สึกของ ผู้ให้ คือ ท่านอาจารย์จีระ ที่มีความสุขกับการเป็นผู้ให้ต่อสังคมโดยไม่สนใจว่าจะได้รับ กล่อง หรือการเชิดชูเกียรติจากใคร พร้อมกับได้ทราบถึงปรัชญาชีวิตที่น่าสนใจของอาจารย์ที่ว่าเกิดมาเพื่อที่จะเรียนรู้ และเรียนรู้อย่างสนุก พร้อมกับนำความรู้มาใช้เพื่อสร้างสรรค์5.     ผมคงจะต้องหยิบหนังสือเล่มนี้มาอ่านอีกหลาย ๆ ครั้ง ที่จะได้ซึมซับความรู้ ความคิด จากนักปฏิบัติในเรื่องพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ต่อองค์กร ต่อสังคม และต่อประเทศชาติ  คงจะทำให้กระผมเป็นคนดีเพิ่มขึ้นตามแนวคิดจากหนังสือที่ท่านทั้งสองสนทนามุ่งเน้นให้ผู้อ่านตระหนักถึงการเป็นคนดีที่มีคุณธรรมต่อเพื่อนมนุษยชาติ สำหรับความแตกต่างระหว่างสองท่าน  ทั้งที่มีเป้าหมายเดียวกันในด้านมุ่งเน้นในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์บนเป้าหมายเดียวกัน  ผมคงจับประเด็นได้ดังต่อไปนี้ 
ข้อเปรียบเทียบ คุณพารณ อาจารย์จีระ
วัยวุฒิ เป็นผู้มีอาวุโสมากกว่าอาจารย์ จิระ กว่า 20 ปี อาวุโสน้อยกว่า  แต่ประสบความสำเร็จค่อนข้างเร็วกว่าบุคคลที่ประสบความสำเร็จโดยเฉลี่ย
คุณวุฒิ จบทางด้านวิทยาศาสตร์ คือ วิศวกรรม จบทางด้านสังคมศาสตร์  คือ เศรษฐศาสตร์
ประวัติการทำงาน อยู่ในภาคธุรกิจเอกชนเป็นส่วนใหญ่ อยู่ในภาคการศึกษาโดยเฉพาะสถาบันการศึกษา
ประสบการณ์ เป็นผู้ประสบความสำเร็จในการบริหารภาคธุรกิจ เป็นผู้ประสบความสำเร็จทางด้านนักวิชาการและวิจัย
                   อย่างไรก็ตาม  เมื่อนำส่วนต่างของท่านทั้งสองมาผนึกรวมกันโดยมีเป้าหมายเดียวกัน ทำให้บทสนทนาว่าด้วยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของนักคิดและนักปฏิบัติแห่งยุค กลมกลืนกัน  จนกล่าวว่า  หนังสือเล่มนี้มีประโยชน์ทั้งในด้านการศึกษาและการนำไปประยุกต์ในองค์กรสำหรับพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้เป็นอย่างดียิ่ง 2.     เรียนแล้วได้อะไร1.     ผมได้เรียนรู้ ภาวะผู้นำ (Excellent Leadership)  จากการบรรยายในชั้นเรียนและการมีส่วนร่วมในการแสดงออกถึงความคิดเห็นภายหลังจากที่อาจารย์บรรยายเสร็จสิ้นลงในแต่ละหัวข้อ  เพื่อทบทวนให้ผมและนักศึกษาได้เข้าใจและนำประยุกต์เอาไปใช้ทั้งส่วนตน องค์กร และสังคม2.     ผมได้รับ Quotations ดี ๆ และทฤษฎีต่าง ๆ จากเอกสารประกอบการบรรยาย  ซึ่งผมสามารถนำมาทบทวนและทำความเข้าใจ3.     บรรยากาศในชั้นเรียนเป็นไปอย่างสนุกและมีความสุขในการฟังอย่างมีสาระ ต่างกับ การเรียนในชั้นเรียนที่ผ่าน ๆ มา ซึ่งเป็นทฤษฎีเฉพาะตนของอาจารย์จีระ ที่มีความตั้งใจในการเป็นผู้ให้ต่อศิษย์อย่างยั่งยืน4.     เมื่อเรียนแล้วสร้างความรู้สึกที่จะต้องเป็นผู้ใฝ่รู้เพิ่มมากขึ้น เพราะการเรียนรู้ไม่มีการจบสิ้น  ด้วยเทคนิคการสอนของอาจารย์ และได้ข้อคิดในการต่อยอดธุรกิจหรือชีวิตส่วนตัวได้เป็นอย่างดี5.     ประทับใจในความรักความเมตตาของอาจารย์ที่มีต่อศิษย์โดยมิได้คำนึงถึงวุฒิภาวะในทุก ๆ ด้านของนักศึกษาในชั้นเรียน   สำหรับข้อพิจารณาถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของตนเอง  มีดังต่อไปนี้
จุดแข็ง จุดอ่อน
1. ใฝ่รู้  และรักการอ่าน 1. ไม่ค่อยดูแลสุขภาพ
2. ขยันและตั้งใจทำงาน 2. ขาดการพักผ่อน
3. เป็นที่เชื่อถือของผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา 3. มีความเชื่อมั่นในตนเองมากเกินไป
  3.  ผู้นำที่ผมชื่นชมเป็นพิเศษ  คือ มาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์

                   ประวัติ มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ (Martin Luther King, Jr. 15 มกราคม พ.ศ. 2472-4 เมษายน พ.ศ. 2511) เป็นนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียง (civil right) และหมอสอนศาสนานิกายแบปติส เกิดที่นครแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย เป็นบุตรชายของพระแบปติส ได้รับการศึกษาจากวิทยาลัยมอร์เฮาส์ แอตแลนตา จากวิทยาลัยการศาสนาโครเซอร์ รัฐเพนซิลเวเนีย และจากมหาวิทยาลัยบอสตัน ต่อมาได้กลายเป็นผู้นำขบวนการเรียกร้องสิทธิเสมอภาคของชาวผิวดำเนื่องจากนโยบาย และแนวทางต่อต้านที่ใช้ความนุ่มนวลตามแนวทางของมหาตมะ คานธี และจากทักษะการพูดต่อสาธารณะที่เป็นที่เลื่องลือ คิงได้เป็นผู้นำในการคว่ำบาตรไม่ยอมรับการแบ่งแยกคนผิวดำที่ไม่ให้โดยสารรถประจำทาง ร่วมกับคนผิวขาวที่เมืองมอนต์โกเมอรี รัฐแอละบามาและจัดประชุมผู้นำศาสนาคริสเตียนตอนใต้ ในระหว่างนี้เขาถูกจับขังคุกหลายครั้งในปี พ.ศ. 2506 คิงเป็นผู้นำในการเดินขบวนอย่างสันติที่อนุสาวรีย์ลิงคอล์นในวอชิงตัน ดี.ซี. โดยมีผู้เข้าร่วมเดินมากถึง 200,000 คน ในการประชุมครั้งนี้เองที่คิงได้แสดงสุนทรพจน์ที่มีชื่อเสีงคือ "ข้าพเจ้ามีความฝัน" (I Have a Dream)ในโอกาสนี้เขายังได้ประกาศว่า อเมริกาจะปราศจากความลำเอียงและไม่มีอคติต่อคนผิวสีในปี พ.ศ. 2507ในปี พ.ศ. 2507 มาร์ติน ลูเธอร์ คิง ได้รับรางวัลสันติภาพเคเนดี (Kendy Peace Prize) รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ความสำเร็จสูงสุดของเขาได้แก่การท้าทายอำนาจของกฎหมายแบ่งแยกผิวในภาคใต้ของสหรัฐฯ หลังจากปี พ.ศ. 2508 เป็นต้นไป มาร์ติน ลูเธอร์ คิงได้หันความสนใจไปเน้นการรณรงค์ให้มีการปรับปรุงสภาพสังคมของคนผิวดำ และคนยากจนในภาคเหนือของประเทศซึ่งพบว่าง่ายกว่า นอกจากนี้ คิงได้รณรงค์ต่อต้านการทำสงครามเวียดนามและจะจัดการชุมนุมใหญ่ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. อีกครั้งหนึ่งมาร์ติน ลูเธอร์ คิง ถูกลอบยิงถึงแก่ชีวิตที่เมืองเมมฟิส รัฐเทนเนสซี โดยเจมส์ เอิร์ล เรย์ ชาวผิวขาว ซึ่งต่อมาถูกจับกุมได้ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษและถูกศาสลพิพากษาจำคูก 99 ปีหลังจากเขาถูกลอบสังหารในปี 1968 เขาได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของการต่อต้านเพื่อความยุติธรรมทางเชื้อชาติจวบจนทุกวันนี้วันที่ 15 มกราคมทุกๆ ปี ซึ่งเป็นวันเกิดของมาร์ติน ลูเธอร์ คิง ได้รับการประกาศให้เป็น "วันมาร์ติน ลูเธอร์ คิง" วันนักขัตรระดับชาติและค่อยๆ ได้รับทยอยการยอมรับจากรัฐต่างๆ เพิ่มขึ้นเป็นลำดับนับตั้งแต่ พ.ศ. 2529 เป็นต้นมาคิงมีชื่อเสียงในเรื่องการพูดต่อสาธารณชน สุนทรพจน์ "I Have a Dream" ที่เขากล่าวในการเดินขบวนปี 1963 ได้รับการยกย่องอย่างสูง ว่าทรงพลังและเป็นแบบอย่างของการพูดในที่สาธารณะ สาเหตุที่ชื่นชม คือ เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2549  ผมได้เข้ารับการอบรม “The 7 Habits of Highly Effective People” จาก บริษัท Pacrim ซึ่งเป็นบริษัทรับฝึกอบรมให้กับองค์กรที่ผมร่วมงานอยู่  วิทยากรได้นำภาพยนตร์ประวัติของ มาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์ มาแพร่ภาพให้กับผู้เข้าอบรมชม  มีประโยคหนึ่งที่ประทับใจผมเป็นพิเศษ คือ คำกล่าวสุนทรพจน์ของ มาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์ ที่กล่าวกับสาธารณชนที่เข้าฟัง ประโยคที่ว่า คือ I have a dream” ผมคิดว่ามนุษย์ทุกคนควรจะต้องมี Dream ของตัวเอง และสร้าง Dream นั้นให้บังเกิดเป็นความจริงโดย Dream ที่ตั้งไว้จะต้องไม่มุ่งร้ายหรือเอาเปรียบผู้อื่นและตนเอง  Dream ในที่นี้ ผมคิดว่าเป็นการวางแผนในทุก ๆ ด้านทั้งส่วนตน องค์กร สังคม และประเทศชาติ  สำหรับ Dream ของมาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์ คือผู้นำต้องมองโลกในแง่ดี  ต้องมีความเชื่อและศรัทธาในสิ่งที่ตนมุ่งหมายจะทำด้วยคุณธรรม มาร์ติน  ลูเธอร์ คิงส์ ถูกวิจารณ์ว่า  เขามีความฝันที่อยากเห็นบุคคลได้รับการตัดสินด้วยบุคลิกภาพของความเป็นคน มิใช่สีผิว ว่าเป็นคนผิวดำหรือคนผิวขาวนั้น  เป็นความฝันที่เป็นไปไม่ได้  แต่ความฝันของเขาก็เป็นจริงในเวลาต่อมา  แม้ว่า สัมฤทธิผลแห่งความฝันของเขาจะไม่ได้เห็นในช่วงชีวิตของเขาก็ตาม  เพราะแม้เขาตายไปแล้วก็ยังมีผู้สานต่อเจตนารมณ์นั้นของเขาต่อไป  ผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์มองเห็นอนาคตที่ดีกว่า  และจะก้าวสู่จุดนั้นได้อย่างไร  โดยการตั้งเป้าหมายกำหนดกรอบการปฏิบัติงาน  มอบหมายงานและประเมินผล                                                                    กราบขอบพระคุณครับ ราเชนทร์  แดงโรจน์                                                                   รหัส  106242005  
นายชาญชัย พานิชนันทนกุล ID:105342002
สวัสดีครับท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์/อ.ยม/และเพื่อนนักศึกษาทุกท่านผู้นำที่ชอบเลือกมาใช้ในที่นี้ของผมคือ Jack Welch เป็น CEO ของ GEที่ประสบความสำเร็จเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลกแจ๊ก เวลช์ คือจีอี และจีอีคือ แจ๊ก เวลช์ คงเป็นคำกล่าวที่ไม่ผิด สำหรับช่วงเวลา 20 ปีที่เวลช์ขึ้นเป็นผู้บริหารสูงสุดของจีอี (GE-General Electric) และนำบริษัทอเมริกันที่เก่าแก่แห่งนี้ ยืนหยัดเป็นบริษัทที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง เมื่อปี2000 จีอีมีรายได้สูงกว่า 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเติบโตถึง 11 เปอร์เซ็นต์ และ เวลช์ได้รับการยกย่องจากนิตยสารฟอร์จูน (Fortune) ให้เป็น "ผู้บริหารแห่งศตวรรษ - Manager of the Century" เวลช์เขียนหนังสือใหม่ออกมาเล่มหนึ่ง ซึ่งไทม์ วอร์เนอร์ เทรด พับลิชชิง (Time Warner Trade Publishing) ในเครือของไทม์ วอร์เนอร์ ชนะประมูลได้ลิขสิทธิ์หนังสือที่ยังไม่ได้ตั้งชื่อเล่มนี้ของเวลช์ ด้วยจำนวนเงินที่สูงถึง 7 ล้าน 1 แสนเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 284 ล้านบาท ซึ่งเป็นค่าลิขสิทธิ์ เฉพาะในทวีปอเมริกาเหนือเท่านั้น ไม่รวมถึงลิขสิทธิ์ทั่วโลก นับเป็นค่าลิขสิทธิ์หนังสือซึ่งไม่ใช่นวนิยาย (non-fiction) ที่สูงที่สุด เวลช์ได้นำเงินค่าลิขสิทธิ์นี้เขาจะนำไปบริจาคเพื่อการกุศลทั้งหมด ประวัติของ Jack Welch                                         แจ๊ก เวลช์ หรือ จอห์น ฟรานซิส เวลช์ จูเนียร์ (John Francis Welch Jr.) เกิดเมื่อปี พ.ศ.2478 ที่เมืองซาเลม รัฐแมสซาชูเซตส์ ทางฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกา เป็นลูกชายคนเดียวของครอบครัวชนชั้นกลาง บ้านหลังใหญ่ที่ครอบครัวเวลช์อาศัยอยู่นั้น ล้อมรอบด้วยสุสานถึง 3 ด้านด้วยกัน ซึ่งพ่อของ เขาบอกว่า นั่นแหละคือ เพื่อนบ้านที่ดีที่สุด! พ่อของเขาทำงานรถไฟกับ Boston & Maine Railroad ขณะที่แม่เป็นแม่บ้าน ซึ่งเวลช์บอกว่า จุดนี้เอง ที่ทำให้เขากับแม่มีความใกล้ชิดสนิทสนมกันอย่างมาก และแม่ได้สอนบทเรียนที่สำคัญ 3 ประการให้เขา คือให้เป็นคนพูดจาเปิดเผย เผชิญกับความจริง และควบคุมให้ชีวิตดำเนินไปตามจุดมุ่งหมาย เวลช์ชอบกีฬามาตั้งแต่เด็ก โดยเฉพาะเบสบอล บาสเกตบอล และฮ็อกกี้ กีฬานี่เองที่ทำให้แววการเป็นผู้นำของเขาฉายออกมา ในสมัยเด็ก เวลช์ได้ชื่อว่าเป็นเด็กที่ช่างพูดและชอบส่งเสียงดังที่สุดในชั้นเรียนอีกด้วย แจ๊ก เวลช์กับเพื่อนร่วมชั้นอีกคนหนึ่ง เคยถูกเสนอชื่อให้ได้ทุนของโรงเรียนนายเรือ แต่ปรากฏว่าเวลช์พลาด ทุนดังกล่าว แม้จะทำให้เขาและครอบ ครัวผิดหวังอย่างมาก แต่ก็นับเป็นจุดหักเหที่สำคัญในชีวิตของเขา ถึงแม้เวลช์จะเป็นเด็กที่เรียนหนังสือไม่เลว แต่เขาก็ไม่เลือกเรียนที่สถาบันซึ่งมีชื่อเสียงอย่างเอ็มไอที (MIT - Massachusetts Institute of Tech-nology) กลับเลือกที่จะเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยแมสซาชูเซตส์ (University of Massachusetts - UMass) แทน ด้วยเหตุผลเฉพาะตัวที่น่าสนใจทีเดียว เขาบอกว่า ถ้าเรียนที่เอ็มไอที เขาก็จะกลายเป็นเพียงนักศึกษาระดับหัวปานกลางคนหนึ่งในหมู่นักเรียนระดับสุดยอดของประเทศ แต่การไปเรียนในมหา วิทยาลัยอย่าง UMass ทำให้เขาสามารถ เปล่งประกายได้อย่างเต็มที่ เวลช์เป็นคนแรกของตระกูลที่ได้เรียนในระดับมหาวิทยาลัย แต่กระนั้น เวลช์ก็ไม่ได้เรียนอย่างที่ครอบครัวของเขาฝันหรือต้องการ แม่น่าจะพอใจมากกว่า ถ้าหากว่าลูกชาย คนเดียวจะเป็นพระหรือเป็นหมอ แต่เวลช์ก็กลับไปหลงรักวิชาเคมีและเลือกเรียนทางด้านวิศวกรรมเคมี เมื่อจบจาก UMass เขาก็ได้รับการส่งเสริมจากบรรดาคณาจารย์ด้วยการจัดหาทุนให้เขาไปเรียนต่อในระดับปริญญาโท และปริญญาเอกทางด้านวิศวกรรมเคมีที่มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ (University of Illinois) และที่นี่เองที่ทำให้เขาได้ พบกับ แคโรลิน ออสเบิร์น (Carolyn Osburn) ภรรยาคนแรก และร่วมชีวิตกันในปี 2502 ทั้งคู่มีบุตรชาย 2 คน หญิง 2 คนและครองชีวิตคู่กัน 26 ปี หลังจากแยกทางกับภรรยาคนแรก 4 ปี เวลช์ได้แต่งงานใหม่กับเจน บีสลี (Jane Beasly) นักกฎหมายผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการควบกิจการ เมื่อเวลช์จบปริญญาเอกในปี 2503 เขาได้รับการเสนองาน 3 แห่งด้วย กัน แต่เขาเลือกจีอี เพราะจะได้กลับมาทำงานที่แมสซาชูเซตส์ - ความรู้สึกว่าได้ กลับบ้าน ทำให้เขาเลือกจีอี เขาขับรถโฟล์คเต่าที่เป็นของขวัญในโอกาสจบปริญญาเอกจากพ่อ พาเจ้าสาวคนแรกของเขาไปเริ่มงานทางด้านพลาสติกกับ จีอีที่เมืองพิตส์ฟิลด์ เวลช์ทำงานเต็มที่ ถึงสิ้นปีแรก เขาได้เงินเดือนขึ้นเท่ากับคนอื่นๆ ซึ่งทำให้เขาไม่พอใจกับระบบดังกล่าว ยื่นใบลาออกและจะไปทำงานที่อื่น แต่นาทีสุดท้าย รองประธานจีอีในสมัยนั้นก็ได้ดึงให้เขากลับมาอยู่กับจีอี โดยมอบหมายงานให้รับผิดชอบมากขึ้นและให้เงินเดือนสูงขึ้น... ทำให้เวลช์ไปไหนไม่รอด ต้องกลับมาตายรังจีอี! ในปี 2511 ด้วยวัย 33 ปี เวลช์ขึ้นเป็นระดับผู้จัดการที่อายุน้อยที่สุดของจีอี พออายุ 37 เขาก็ได้เป็นผู้บริหาร กลุ่ม และดูเหมือนจะไม่มีอะไรมาหยุดยั้งการเติบโตของเวลช์ในจีอีได้ ในปี 2524 ขณะที่อายุได้ 45 ปี เวลช์ได้เป็นเบอร์หนึ่งของจีอี นับเป็นประธานบริษัทที่มีอายุน้อยที่สุด เวลช์เริ่มต้นวันของเขาด้วยการเดินบนเครื่องออกกำลังกายเป็นระยะทาง 3 ไมล์ ก่อนที่รถจะมารับเขาไปยังที่ทำงานเมื่อหลัง 7 โมงเช้า และหลังจากนั้น ชีวิตเขาก็เลื่อนไหลไปกับการงานของ จีอี บางครั้งเขาก็ขึ้นเฮลิคอปเตอร์ไปยังหน่วยงานต่างๆ เวลช์จะเดินทางไปยุโรป ปีละครั้ง ซึ่งมักจะเป็นในช่วงฤดูใบไม้ผลิ เพื่อพูดคุยกับบรรดาผู้บริหารของจีอีในภาคพื้นยุโรป ส่วนตะวันออกไกลนั้น เขามักจะมาในช่วงฤดูใบไม้ร่วง โดยใช้เวลาครั้งละหลายสัปดาห์ด้วยกันในการดูงานของจีอีในย่านนี้ เวลช์ชอบที่จะได้ใกล้ชิดกับเพื่อนร่วมงานของเขาเสมอ ไม่มีระบบราชการในจีอี! ว่ากันว่า เวลช์พยายามทำให้จีอีเป็นประชาธิปไตยแบบอเมริกา ด้วยการให้พนักงานธรรมดาๆ มีสิทธิ์มีเสียง ในขณะเดียวกัน ก็ทำให้จีอีกลายเป็นบริษัทชั้นนำของโลก แม้จะมีบางเสียงค่อนแคะว่า เขาคือเผด็จการตัวจริงก็ตาม เวลช์เชื่อว่า การสื่อสารที่ดีภายในองค์กรจะช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงาน โดยเฉพาะควรมี "ข้อเท็จจริง" หนึ่ง ที่ทุกคนในองค์กรไม่ว่าจะอยู่ในระดับใด มีโอกาสรับรู้อย่างเท่าเทียมกัน นอกจากนั้น เวลช์เชื่อในการฝึกอบรม โดยเฉพาะในการเตรียมสร้างทีมผู้บริหาร รุ่นใหม่ให้กับจีอี เวลช์เคยพูดเสมอว่า มีบริษัทอยู่ 2 ประเภท พวกแรกเป็นพวกที่บอกว่า อนาคตจะทำให้เราประหลาดใจก็จริง แต่เราจะไม่ประหลาดใจกับสิ่งที่ทำให้ประหลาดใจดังกล่าว ขณะที่พวกที่สอง เป็นพวกที่ต้องประหลาดใจจริงๆ เพราะไม่ได้เตรียมตัวที่จะเผชิญกับความประหลาดใจ อีกทั้งยังต่อต้านการเปลี่ยนแปลงอีกด้วย เวลช์บอกว่าจีอีอยู่ในพวกแรก... หัวใจสำคัญคือ จงเปลี่ยนแปลง ก่อนที่จะถูกบังคับให้ต้องเปลี่ยนแปลง!    Jack Welch ตำนานซีอีโอ

ชื่อเสียงการบริหารและนำพา GE ให้เจริญก้าวหน้าเป็นองค์กรที่แข็งแกร่ง จนตัวเขาเองได้รับยกย่องให้เป็นสุดยอดซีอีโอดีเด่นในรอบร้อยปีนั้น เป็นภาพที่คนทั่วไปรู้จักดีอยู่แล้ว แต่หลายคนอาจไม่เคยทราบว่า เมื่อเขาจบปริญญาเอกด้านวิศวกรรมเคมีจากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เมื่อปี ค.ศ. 1960 แล้วมาร่วมงานกับ GE ในตอนแรกนั้น อยู่ได้แค่ปีเดียวเขาก็ตัดสินใจลาออกเสียแล้ว เพราะระอากับระบบระเบียบขององค์กรใหญ่ที่งุ่มง่ามเงอะงะ แม้จะขึ้นเงินเดือนให้ 1,000 $ เขาก็ไม่สน คนที่มีส่วนให้เวลช์เป็นสุดยอดนักบริหารได้ในในวันนี้ ย่อมหนีไม่พ้น Reuben Gutoff หัวหน้าของเวลช์ในตอนนั้น ที่เห็นแววในตัวเขา และเกลี้ยกล่อมจนยอมอยู่ต่อได้สำเร็จ โดยเวลช์ยื่นข้อเสนอขอปรับสภาพแวดล้อมการทำงานในองค์กรให้มีความคล่องตัวมากขึ้นคล้ายบริษัทขนาดเล็ก

อย่างที่รู้กันทั่วไปว่าเวลช์ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นรองประธานในปี 1972 เป็นรองประธานอาวุโสในปี 1977 เป็นรองประธานบริษัทในอีก 2 ปีถัดมา และกลายเป็นซีอีโออายุน้อยที่สุดในปี 1981 ซึ่งตอนนั้นเขามีอายุย่าง 46 ปี ตลอดเวลาการเป็นผู้นำของ GE เวลช์ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้บริหารที่กวาดล้างพนักงานออกไปมากที่สุด จนได้ฉายา Neutron Jack จากตัวเลขจำนวนพนักงาน 411,000 คนช่วงปี 1980 ลดลงไปเกือบครึ่งในอีก 5 ปีถัดมา และยังคงลดอีกเรื่อยๆ ส่วนหนึ่งมาจากแนวคิดการแบ่งเกรด A B C ซึ่งกลุ่มหลังนี้จะถูกย้ายออกไปเพื่อให้เกิดผลดีแก่บริษัทและตัวพนักงานเอง

ความสำเร็จที่เกิดขึ้นกับ GE คือการเปลี่ยนสภาพจากอุตสาหกรรมการผลิต มาเป็นบริษัทผู้ผลิตสินค้าและบริการ ครอบครองตลาดค่อนโลก มีอัตราเติบโตของรายได้แบบก้าวกระโดด จาก 26,800 ล้านเหรียญในปี 1980 ไปสู่ 130,000 ล้านเหรียญในปี 2000 ก่อนที่เข้าจะวางมือเกษียณไปในปีถัดมา จนปัจจุบัน GE ยังคงเติบโตไม่หยุด

ใน Winning หนังสือเล่มใหม่ของเวลช์และภรรยา พูดถึงหลัก 8 ข้อ ของการเป็นผู้นำที่ดีว่า

1. ผู้นำต้องพัฒนาทีมตลอดเวลา ทุกครั้งที่พบปะกันนั่นคือโอกาสของการประเมิน การแนะนำ และสร้างความมั่นใจให้กับทีม
2. ผู้นำไม่ใช่เพียงแค่ทำให้ลูกทีมเข้าใจในวิสัยทัศน์ แต่ต้องทำให้เขารับสิ่งนั้นเข้าไปในวิถีปฏิบัติของชีวิตและการทำงานด้วย
3. ต้องแทรกซึมเข้าสู่ทุกตัวตนของลูกทีม คอยแสริมและกระตุ้นพลังงานรวมทั้งทัศนคติในเชิงบวก
4. สร้างความไว้วางใจให้เกิดแก่ลูกทีม ด้วยความจริงใจ ความโปร่งใส และความน่าเชื่อถือ
5. มีความกล้าหาญที่จะทำการใดๆ ที่อาจขัดแย้งกับความรู้สึกของคนหมู่มาก หรือแม้แต่ความรู้สึกส่วนตัว
6. ลงมือกระทำด้วยตัวเอง เพื่อพิสูจน์ความคิดและผลักดันลูกทีม ข้อสงสัยหรือความไม่แน่ใจใดๆ ให้ใช้การกระทำเป็นคำตอบ
7. จุดประกายให้ทีมกล้าที่จะเสี่ยง ขณะเดียวกันก็สร้างสถานการณ์ตัวอย่างเพื่อเรียนรู้
และ 8. สังสรรค์กันบ้าง
Jack Welch ค้นหาวิธีการสร้างภาวะผู้นำที่ดีที่ทำให้เขาประสบกับความสำเร็จอย่างสูงสุดคือ ผู้นำ 4E ที่มีพลัง  สามารถจุดประกายให้ผู้อื่นมีพลัง มีคมความคิด กล้าตัดสินใจ ลงมือปฎิบัติให้เกิดผลสำเร็จ ทำให้จีอี กลายเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก-Energy มีพลังขับเคลื่อนและน้อมรับการเปลี่ยนแปลง บุคคลที่รักงานที่จะทำบุคคลพวกนี้ตื่นขึ้นมาก็อยากจะทำงานที่มีอยู่ในมือทันที-Energizes รู้วิธีจุดประกายให้ผู้อื่นมีผลงาน ใช้วิสัยทัศน์วางแนวทางและจุดประกายให้ผู้อื่นปฏิบัติตามวิสัยทัศน์นั้น เขาพร้อมที่จะมอบชื่อเสียงให้ผู้อื่นเมื่องานสำเร็จและยอมรับผิดเมื่อเกิดปัญหา ซึ่งเป็นการจุดพลังให้กับเพื่อนร่วมงาน-Edge ผู้ที่มีคม คือพวกที่มีความแข็งแกร่ง เขารู้ว่าจะตัดสินใจในเรื่องที่ยากจริงๆได้อย่างไร และจะไม่ยอมแพ้ให้แก่ความยากลำบากนั้น ไม่ลังเลที่จะตัดสินใจ-Executes การลงมือปฎิบัติ ผู้นำที่เก่งจะรู้วิธีการใช้พลังและคมทำให้เกิดผลงาน ต่อเนื่องก่อนหน้า 4E ผู้นำต้องมีคุณสมบัติต่างๆเช่น คุณธรรม บุคลิก และจริยธรรมJack Welch ได้เพิ่ม E ตัวที่5 เมื่อมาอยู่ที่ โฮมดีโป้ คือ Endurance  ความอดทนเพราะใน 1 ปีมีวันหยุดแค่ 2วันคือวันขอบคุณพระเจ้าและวันคริสต์มาส ความอดทนจึงเป็นตัวสำคัญในธุรกิจค้าปลีกJack Welch ได้เป็น CEOในปี1981 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงกฎการแข่งขันหลายอย่าง เกิดกระแสโลกาภิวัตน์  การปฎิวัติของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล การปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ มีผลให้ธุรกิจประสบปัญหาเขาเชื่อว่าขนาดเป็นปัญหาของ GE ทำให้เชื่องช้าจากระบบการทำงานแบบราชการ Jack Welch ใช้ความเด็ดขาด ขายธุรกิจ 100 แห่งออกไปและไล่พนักงานออกมากกว่า 100,000 คน ขั้นตอนนี้เรียกว่าการปรับฮาร์ดแวร์ขั้นตอนการปรับซอฟแวร์ การปรับเปลี่ยนที่มุ่งการส่งเสริมขวัญ กำลังใจ  และผลผลิตให้สูงขึ้น การปรับปรุงทั้ง 2 ขั้นถ้าไม่ทำให้ GE เกิด ก็จะทำให้GE ตายใน 10ปี  Jack Welch ต้องสร้างขวัญกำลังใจของพนักงานขึ้นมาใหม่พร้อมกับทำให้พนักงานมีผลงานที่สูงขึ้นกว่าเดิม เพิ่มผลผลิตในระดับที่ไม่เคยทำได้มาก่อนสิ่งที่ท้าทายที่สำคัญคือการเปลี่ยนจากการเติบโตจากภายในมาเป็นการเติบโตจากภายนอก และมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับตลาด และลูกค้าJack Welch กำหนดรูปแบบผู้บริหาร 3 ประเภท คือ A B Cกลุ่ม A ยอมรับค่านิยมและมีผลงานตามเป้า พวกนี้ขานรับแนวทางที่บริษัทวางไว้ พร้อมๆไปกับการดูแลธุรกิจของบริษัทกลุ่มนี้   Jack Welch และทีมของเขาใช้ความพยายามอย่างดีที่สุดที่จะเก็บรักษาไว้ ทำให้พวก A มีความสุข GE สามารถรักษาพวก A ได้ถึง 99%  ทุกครั้งที่พวก A ลาออกจะมีการหาสาเหตุในการออกอย่างละเอียดกลุ่ม B ยอมรับค่านิยม แต่ผลงานได้ตามเป้าบ้างไม่ได้บ้าง Jack Welchเห็นว่าสมควรให้โอกาสพวกนี้อีกครั้งในตำแหน่งเดิมหรือในตำแหน่งใหม่กลุ่ม C ไม่ยอมรับค่านิยมแต่อาจมีผลงานตามเป้า  สมควรให้ออกไป เพราะมองระยะยาวแล้วบริษัทจะประสบความสำเร็จได้ก็ต่อเมิ่อทุกคนในทีมยึดถือกฎระเบียบเล่มเดียวกันGE แยกลูกน้องโดยตรงออกเป็น 3 ประเภทกลุ่ม เก่งสุด 20%กลุ่มสำคัญ 70%กลุ่มล่างสุด 10% จะถูกให้ออกกลุ่มA ได้รับข้อเสนอเรื่องหุ้นและการปรับเงินเดือนอย่างสูงกลุ่มB มี 50-60%ที่เรียกว่า กลุ่มมีคุณค่าสูงเท่านั้นที่จะได้รับข้อเสนอเรื่องหุ้นรูปแบบผู้นำ GE ของจริงE เป็นอักษรย่อของรูปแบบผู้นำในอุดมคติของ Jack Welch รูปแบบผู้นำของจริงที่เป็นเรื่องของ 4E และยังอธิบายลักษณะของผู้นำในอุดมคติของเวลซ์อย่างอื่นๆ รายละเอียดที่มากกว่าที่เคยมีมาในรูปแบบใดๆรูปแบบละเอียดนี้ประกอบด้วยลักษณะ 12 ประการดังนี้1 ผู้นำที่แข็งแกร่งนำด้วยบุคลิก/จริยธรรม ผู้นำที่ดีที่สุดคือ ผู้ที่มีความน่าไว้ใจมากที่สุด2 ผู้นำที่แข็งแกร่งมีความสามารถในการแข่งขันธุรกิจ/ไหวพริบเฉียบแหลมเขามีสัญชาตญาณทางธุรกิจ ความกล้า ที่นำทางให้เขา3 ผู้นำที่แข็งแกร่งคิดแบบสากล แนวคิดใหม่อย่างแรกของเวลช์ที่นำมาใช้กับทั้งบริษัทคือ เรื่องโลกาภิวัตน์ และเขาต้องการให้ผู้นำทั้งหมดของเขามีมุมมองที่กว้างไกลครอบคลุมทั้งโลก4 ผู้นำที่แข็งแกร่งมีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ลูกค้าเป็นผู้กำหนดธุรกิจ5 น้อมรับการเปลี่ยนแปลงและขจัดระบบราชการออกไป6 ผู้นำที่ดีต้องมีความสามารถในการสื่อสารสูง เอาใจเขาใส่ใจเรา รู้จักพูด รู้จักฟัง7 สร้างทีมที่มีประสิทธิภาพ8 ผู้นำที่ดีต้องพุ่งความสำคัญไปที่การทำให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรผลงานของแต่ละบุคคลจะมีค่าก็ต่อเมื่อช่วยให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร9 ผู้นำที่ดีที่สุดจะต้องมีพลังมหาศาลและสามารถจุดประกายให้ผู้อื่นสร้างสรรค์ผลงานได้ มีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน และโน้มน้าวผู้อื่นให้เกิดแรงบันดาลใจได้10 ต้องมีการแพร่กระจายความกระตือรือร้น เพิ่มความสามารถขององค์กร11 มีความสามารถในการบรรลุเป้าหมายและสร้างผลงาน12 รักในสิ่งที่ทำอยู่  งานไม่ใช่งาน แต่งานคือ สิ่งที่เขารักสรุป  ผู้นำที่ดีที่สุดจะมีสไตล์ที่ ไร้ขอบเขต เปิดเผย จริงใจ เข้าใจลูกค้าน้อมรับการเปลี่ยนแปลง เกลียดระบบราชการ ไม่ขอให้ลูกน้องทำในสิ่งที่ตัวเองไม่ทำ และเป็นผู้ที่มีพรสวรรค์ในการมีพลังและศักยภาพที่ไม่มีวันหมด รู้จักวิธีสร้างทีม  และวิธีสร้างผลงานต้องเป็นผู้มีความสามารถในการสื่อสารที่ดีเข้ากับลูกค้าได้และสามารถจุดประกายพลัง มีระบบการประเมินผลให้รางวัลและบทลงโทษที่ชัดเจน มีคุณธรรม จริยธรรมและมีความโปร่งใส   
มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด  หัวหิน สวัสดีค่ะ  ท่านดร.จีระ  / อาจารย์ยม   และผู้อ่านทุกท่าน   จากการเรียนสัปดาห์ที่  9  และ  10  มีนาคม   2550  จากการได้เรียนกับอาจารย์จีระครั้งแรก มีความรู้สึกถึงแบบอย่างการสอนของอาจารย์ไม่เหมือนอาจารย์อื่น ๆ  มีความตื่นตัว  และ ตื่นเต้นตลอดระยะเวลาการเรียน  ทำให้มีความรู้สึกสนุกในการเรียนทำให้เข้าใจความตั้งใจของอาจารย์ในการที่จะให้ความรู้นอกตำรา หัดฟังและหัดคิดนอกกรอบ   และอาจารย์ได้ให้ไปสรุปการอ่านหนังสือ ทรัพยากรแฟนมนุษย์พันธ์แท้ ของอาจารย์จีระ  และ คุณพารณ  ว่าอ่านแล้วได้อะไร  และทั้งสองท่านมีความแตกต่างกันอย่างไร 1.    ได้ทราบรายละเอียดประวัติการทำงานของคุณพารณ  ว่าท่านมีความสามารถในการทำงานบริหารงานให้กับองค์กรที่ท่านทำอยู่ สามารถทำงานในตำแหน่งที่ฝรั่งเคยทำได้  และก้าวหน้าในหน้าที่การงานได้รวดเร็วมาก  2.     และได้ทราบประวัติการศึกษาของ อาจารย์จีระ  และประวัติการทำงานตั้งแต่ท่านอายุน้อย  ท่านมีความพยามยามในการที่จะพัฒนาคน ให้ความสำคัญของคน เช่นเดียวกับคุณพารณ    และท่านอาจารย์จีระจะเป็นคนที่มุ่งมั่นในการที่จะให้ เพราะอาจารย์บอกว่าตำแหน่งอื่นที่ท่านทำงานอยู่ ท่านไม่ได้ต้องการหวังเงินทองจากหน้าที่ตรงนั้น  แต่ท่านรักในการสอน เป็นครู เพื่อให้ความรู้แก่ลูกศิษย์ในการที่จะได้ช่วยพัฒนาประเทศชาติ  และสำหรับข้อแตกต่างของอาจารย์จีระ  และคุณพารณ จะเห็นได้ชัด มี ดังนี้  
ข้อแตกต่าง อาจารย์จีระ คุณพารณ
การศึกษา จบด้านเศรษฐศาสตร์ จบด้านวิศวกรรม
อายุ น้อยกว่ามากต่างกัน 20  ปี อวุโสมากแต่ทำงานด้วยกันได้ดี
ข้อแตกต่าง 4 L’s จีระ 4 L’s พารณ
  Learning Methodology เข้าใจวิธีการเรียนรู้ Village that Learn  หมู่บ้านแห่งการเรียนรู้
  Learning Environment สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ School that Learn โรงเรียนแห่งการเรียนรู้
  Learning Opportunity สร้างโอกาสในการเรียนรู้ Industry that Learn  อุตสาหกรรมแห่งการเรียนรู้
  Learning community สร้างชุมชนการเรียนรู้ Nation that Learn ชาติแห่งการเรียนรู้
                             และอาจารย์จีระได้ให้วิเคราะห์  จุดแข็ง และจุดอ่อนของตนเองว่าเป็นอย่างไรบ้าง                  จุดแข็ง      ในด้านการทำงานสำหรับผู้ใต้บังคับบัญชา  และทีมงาน เป็นคนอดทน  มีความรับผิดชอบ    สู้งาน    และสามารถให้ลูกน้องช่วยกันทำงานเป็นทีมได้ด้วยความสนุกสนาม ทั้งที่เป็นงานบัญชี ไม่เครียด  เป็นกันเองกับลูกน้อง และทีมงาน  ลูกกน้องเชื่อฟังและสามารถช่วยแก้ไขปัญหาให้ลูกน้องได้                     ในด้านการทำงานกับผู้บังคับบัญชา  มีความเชื่อใจและไว้วางใจในการทำงานต่อผู้บังคับบัญชา                จุดอ่อน      ด้านภาษาอังกฤษโดยทั่วไปแค่พอใช้  ไม่ดีเท่าที่ควร   มีความเชื่อมั่นตนเองน้อย   ขอบคุณมากค่ะ เสาวนีย์    ทวีเผ่า 106242006
มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด   หัวหินจากการเรียน  เมื่อวันเสาร์ที่  10  มีนาคม  ท่านอาจารย์ จิระ  หงส์ลดารมภ์  ให้เสนอชื่อผู้นำ  และประวัติ ของผู้นำที่เราชื่นชอบ    ดิฉันขอเสนอ   อาจารย์สัญญา   ธรรมศักดิ์ ประวัติอาจารย์สัญญา  ธรรมศักดิ์                ศาสตราจารย์สัญญา  ธรรมศักดิ์  เกิดเมื่อวันศุกร์ที่  5  เมษายน  พ.ศ  2450  ที่บ้านข้างวัดอรุณราชวราราม  ต.บางกอกใหญ่  จังหวัดธนบุรี(ในสมัยนั้น)   บิดาชื่อ มหาอำมาตย์ตรี  พระยาธรรมสารเวทย์ วิเศษภักดี  ศรีสัตยวัตตา พิริยะพาหะ (ทองดี  ธรรมศักดิ์)  มารดาชื่อคุณหญิงชื้น  ธรรมสารเวทย์   และท่านอาจารย์สัญญา  ธรรมศักดิ์  สมรส กับท่านผู้หญิงพะงา  ธรรมศักดิ์(เพ็ญชาติ)  มีบุตรด้วยกัน  2  คน  คือ นายชาติศักดิ์   ธรรมศักด์  และนายแพทย์จักรธรรม  ธรรมศักดิ์                ท่านอาจารย์สัญญา  ธรรมศักด์   เริ่มเรียนหนังสือครั้งแรกที่โรงเรียนทวีธาภิเษก  เมื่ออายุได้6  ขวบ  แล้วได้ย้ายไปเรียนที่โรงรียนอัสสัมชัญ  พออายุได้  11  ปี  ท่านบิดาถึงอสัญกรรม  ท่านเล่าว่าชีวิตท่านผกผันทันที  ครอบครัวที่เคยสุขสบายต้องประสบกับความลำบากยากจน  เคยนั่งรถเก๋งไปโรงเรียนจำต้องเดินไปโรงเรียน  ท่านได้รับทุกข์โทมนัสอย่างแสนสาหัสอีกครั้ง  เมื่อนายบรรจง  ธรรมศักดิ์ ซึ่งได้รับทุนของกรมการรถไฟไปเรียนวิศวกรรมที่ฟิลาเดลเฟีย  สหรัฐอเมริกาเสียชีวิตที่สหรัฐ แต่ท่านก็ยังเรียนต่อจนจบมัธยมหกที่โรงเรียนอัสสัมชัญ                ท่านเริ่มรับราชการครั้งแรกเป็นนักเรียนล่าม  ที่กระทรวงยุติธรรม และเรียนกฎหมายไปด้วยจนจบเป็นเนติบัณฑิต  เมื่อปี พ.ศ 2471  อายุ  21  ปี  ในปีรุ่งขึ้นคือ พ.ศ 2472  เข้าสอบแข่งขันได้คะแนนสูงสุดและได้รับทุนเล่าเรียน รพีบุญนิธิ ไปศึกษาวิชากฏหมายต่อในประเทศอังกฤษ ที่สำนักมิดเดิลเทมเปิล ศึกษาอยู่ 3 ปี  ก็สอบไล่ได้สำเร็จเป็นเนติบัณฑิตอังกฤษ เมื่อพ.ศ   2475                  เมื่อกลับจากอังกฤษมาเป็นผู้พิพากษา  ท่านยังไม่ทิ้งพระพุทธศาสนายังศึกษาพุทธธรรมอยู่อย่างสม่ำเสมอ  ความจริงท่านเริ่มสนใจพระพุทธศาสนาตั้งแต่อยุ่ที่อังกฤษ   ก่อนที่ท่านจะสอบได้ทุนรพีบุญนิธิ ของเนติบัณฑิตสภา ไปเรียนกฎหมายต่อนั้น ท่านได้อุปสมบทหนึ่งพรรษาที่วัดเบญจมพิตรได้ศึกษาเล่าเรียนทางธรรมเท่าที่พระบวชเรียนได้                ต่อมาในปี พ.ศ 2477  ท่านได้ร่วมกับชาวพุทธอีกหลายท่านก่อตั้งพุทธสมาคมแห่งประเทศไทยขึ้น  ในสมัยเริ่มแรกท่านได้เป็นเลขานุการของสมาคมฯนานหลายปี  จนสุดท้ายได้เป็นนายกสมาคมฯ เป็นเวลาถึง10  ปี   และท่านก็ได้ถึงแก่อสัญกรรม ณ.โรงพยาบาลรามาธิบดี กรุงเทพมหานคร  เมื่อวันที่  6  มกราคม  พ.ศ  2545  สิริอายุได้  94  ปี                สาเหตุที่ชอบ    จากประโยคหนึ่งของนายแพทย์จักรธรรม  ธรรมศักดิ์   ลูกชายคนเล็ก ได้กล่าวถึงอาจารย์สัญญา  ธรรมศักดิ์ว่า    พ่อไม่เพียงเป็นที่รักเคารพของลูกๆแต่ยังเป็นที่รักนับถือของคนไทย   จะเห็นได้ว่าอาจารย์สัญญา  ธรรมศักดิ์  มีภาวการณ์เป็นผู้นำสูง มีทั้งคุณธรรมและจริยธรรม  มีความซื่อสัตย์สุจริต  ต่อครอบครัวและประเทศชาติ  และปฎิบัติตามทศพิราชธรรม  และใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง  มีความจงรักภักดีต่อพระเจ้าอยู่หัวมาก  จึงทำให้คนไทยมีความระลึกถึงอาจารย์สัญญา  ธรรมศักดิ์  อยู่เสมอ                                เสาวนีย์    ทวีเผ่า                106242006

เรียน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์, อาจารย์ยม และเพื่อนๆนักศึกษาทุกท่าน  

 เมื่อวันที่ 9-10 มีนาคม  2550 ศึกษาภาวะผู้นำ ประวัติผู้นำที่ชื่นชอบและได้อะไรจากการอ่านหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

1.ขอเริ่มจากประวัติผู้นำที่ชื่อนชอบ ซึ่งเป็นผู้หญิงแกร่งคนหนึ่งเธอคือ ออง ซาน ซูจี อยากหยิบยกตัวอย่างของผู้นำที่เป็นผู้หญิงบ้าง ที่มีความเสียสละเยี่ยงชาย และยึดมั่นในอุดมการณ์

ผู้นำพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย ในประเทศพม่า เกิดเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2488. บิดาของเธอคือ นายพล ออง ซาน ผู้นำการเรียกร้องเอกราชของพม่า ซึ่งถูกสังหารเสียชีวิตเมื่อเธอมีอายุเพียง 2 ขวบ. ซูจีได้สมรสกับ ศ.ดร. ไมเคิล อริส อาจารย์สอนวิชาทิเบตศึกษา ที่สถาบันตะวันออก มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ มีบุตรชายสองคน คือ อเล็ก และ คิม ปัจจุบัน ศ.ดร.ไมเคิล อริสได้เสียชีวิตแล้วด้วยโรคมะเร็ง

การศึกษา

ประวัติการทำงานและผลงาน

ซูจีเริ่มทำ งานกับสำนักงานเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ที่นิวยอร์ก ตั้งแต่ปี พ.ศ.2512-2514 จากนั้นไปทำงานเป็นเจ้าหน้าที่วิจัย กระทรวงต่างประเทศ ของรัฐบาลภูฐาน

ออง ซาน ซูจี เดินทางกลับบ้านเกิดในพม่าในเดือนมีนาคม พ.ศ.2531 เพื่อมาพยาบาลมารดาที่กำลังป่วยหนัก เธอไม่ได้คาดคิดว่าการเดินทางกลับบ้านครั้งนี้ จะทำให้ชีวิตเรียบง่ายของเธอพลิกผัน กลายเป็นตำนานการต่อสู้เพื่อสันติภาพของโลกในขวบปีต่อมา

สุภาพสตรีร่างเล็กและบอบบางที่ยืนหยัดต่อสู้กับคณะทหารที่ปกครองพม่า (สภารื้อฟื้นกฎหมายและความสงบเรียบร้อยของรัฐ - State Law and Order Restoration Council หรือ SLORC) ที่ปกครองพม่าด้วยอำนาจเผด็จการอันโหดเหี้ยม....อองซาน ซูจี มีคุณสมบัติทุกประการที่จะเป็นนักการเมืองที่สามารถของประชาชนพม่า และคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของเธอก็คือ ความกล้า..กล้าพูด กล้าวิจารณ์ แล้วก็กล้าท้าทายคณะทหานหรือสลอร์คมาโดยตลอด

ประเทศพม่าเผชิญกับสถานการณ์ทางการเมืองที่สำคัญหลายเหตุการณ์ ผู้หญิงในประเทศพม่านับเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในกระบวนการต่อสู้เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมซึ่งกระบวนการต่อสู้ของผู้หญิงในพม่าตลอดเวลากว่าครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา นับตั้งแต่ก่อนประเทศพม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี ค.ศ. 1948 มาจนถึงปัจจุบัน นับเป็นกระบวนการต่อสู้ที่มีพลังสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมพม่าให้ก้าวหน้าและได้รับการยอมรับในสายตานานาชาติมากขึ้นเรื่อย ๆ

เดือนพฤษภาคม 2533 พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยของเธอชนะการเลือกตั้ง แต่รัฐบาลเผด็จการทหารไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งดังกล่าว กลับได้ยื่นข้อเสนอว่า จะยอมปล่อยเธอเป็นอิสระ ถ้าเธอยินยอมเดินทางออกนอกประเทศพม่า เพื่อไปอยู่กับสามีและบุตรชายสองคนที่ประเทศอังกฤษ ออง ซาน ซูจี ปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว
นางซูจีรู้ดีว่า วันใดที่เธอก้าวพ้นประเทศพม่า รัฐบาลเผด็จการทหารจะไม่ยอมให้เธอได้กลับคืนมาร่วมต่อสู้กับผู้คน ร่วมแผ่นดินเกิดอีกเลย เธอจึงเลือกที่จะอยู่เป็นสัญลักษณ์แห่งการต่อสู้อย่างสันติวิธีเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยในพม่า และปฏิเสธที่จะเดินทางออกนอกประเทศแม้ว่าต่อมาสภาฟื้นฟูกฎระเบียบแห่งรัฐจะพยายามกดดัน โดยแก้กฎหมาย

 ดวงประทีบนำทางของพม่าที่มีค่าควรยิ่งแก่รางวัลสันติภาพ " เป็นคำกล่าวในบทพรรณาธิการหนังสือพิมพ์ Bangkok Post ฉบับประจำวันที่ 16 กรกฎาคม 1991 เนื่องในโอกาสที่อองซานซูจีได้รับรางวัลโนเบล

ในที่สุด ออง ซาน ซูจี ได้รับรางวัลโนเบล (Nobel Prize) สาขาสันติภาพเป็นรางวัล ที่มอบให้ในฐานะที่เธอจากการต่อสู้โดยสันติวิธีในการเรียกร้องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน ในปี 2534

สิบปีหลังจากได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ออง ซาน ซูจี ยังคงมั่นคงอยู่กับความเชื่อในแนวทางสันติวิธีของเธอ และเลือกที่จะต่อสู้กับอำนาจเผด็จการทหารอยู่ภายในแผ่นดินเกิด เธอใช้ชีวิตภายใต้อิสรภาพที่ถูกจำกัด บันทึกเรื่องราวของประชาชนพม่าที่มีชีวิตขมขื่น ทุกข์ยาก ภายใต้เงื้อมมือเผด็จการ ซูจีบอกเล่าสถานการณ์ความเป็นไปในบ้านเกิดให้โลกรู้ผ่านตัวหนังสือ เรียกร้องต่อโลกภายนอก โดยเฉพาะเพื่อนบ้านใกล้ชิดอย่างประเทศไทย ให้เมตตาเอื้ออารีต่อชีวิตของพี่น้องร่วมชาติของเธอที่ข้ามพรมแดนหนีตายจากอำนาจเผด็จการมาพึ่งพิงผืนดินไทย

นาง ออง ซาน ซูจี ถูกกักบริเวณโดยปราศจากข้อกล่าวหาและความผิดอีกเป็นครั้งที่สอง ในระยะเวลา 13 ปี ของการใช้สันติวิธีต่อสู้กับ ความรุนแรงและอำนาจเผด็จการในประเทศพม่า วันที่ 8 ธันวาคม 2544 ขณะที่ผู้รักสันติภาพทั่วโลกร่วมกันเฉลิมฉลองวาระครบรอบหนึ่งร้อยปีของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ พร้อมกับฉลองวาระครบสิบปีที่นาง ออง ซาน ซูจี ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ นางออง ซาน ซูจี ผู้นำ พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย ยังคงถูกจำกัดอิสรภาพอยู่ในประเทศพม่า ไม่มีโอกาสเดินทางไปร่วมพิธี เฉลิมฉลองรางวัลเกียรติยศแห่งชีวิตพร้อมกับผู้ได้รับรางวัลคนอื่นๆ ที่กรุงออสโล ประเทศนอรเวย์
 

ถึงอย่างไรก็ตาม นาง ออง ซาน ซูจี ยังใช้ชีวิตอย่างปราศจากความกลัว หากเปี่ยมไปด้วยพลังแห่งความหวัง และกำลังใจ ที่พร้อมจะยืนหยัดมั่นคงกับการร่วมต่อสู้เคียงข้างพี่น้องร่วมชาติของเธอบนแผ่นดินเกิด
ด้วยความเชื่อว่า "ความรักและสัจจะจะโน้มน้าวหัวใจมหาชน ได้มากกว่าการบังคับ และกำแพงคุกจะส่งผลสะเทือนต่อผู้ที่อยู่ข้างนอกด้วยเช่นกัน" และมีถ้อยคำหนึ่งที่ฝากถึงประชาชนชาวพม่าร่วมสายเลือดคือ

"ดิฉันหวังว่าชาวพม่าเป็นจำนวนมาก จะตระหนักถึงสัญชาติญาณภายในที่กระตุ้นให้เราพยายามมองหาสวรรค์และเสียงอันหนักแน่น ที่คอยพร่ำบอกแก่เราว่า เบื้องหลังก้อนเมฆที่เรียงรายสลับซับซ้อน ยังคงมีพระอาทิตย์ที่คอยเวลาอันเหมาะสม ที่จะโผล่พ้นออกมาให้แสงสว่างและความอบอุ่นคุ้มครองแก่เรา"

2. ได้อะไรจากการอ่านหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

  • อีกครั้งที่ได้อ่านและเจอข้อความที่ทำให้ประทับใจอีกครั้งหลังจากที่ได้ยินคำพูดนี้จากปากของท่าน อาจารย์ ศ.ดร. จิระ คือ "ผมได้ดีเพราะความรักและความห่วงใยจากคุณ พ่อและคุณแม่"
  • เป็นหนังสือเล่มแรกของอาจารย์ ศ.ดร. จิระ ที่แสดงให้เห็นถึงอุดมคติและแนวทางในการทำงานที่น่ายกย่องและเป็นแบบอย่างที่ดีในความมุ่งมันจนประสบความสำเร็จอย่างไม่ย่อท้อ
  • ศ.ดร.จิระ และคุณพารณ มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน ถึงแม้ว่าวัยและวิสัยทัศน์อาจแตกต่างกัน คือ การมุ่งเน้นเรื่องคน เพราะคนถือว่าเป็นสินทรัพย์ที่มีค่าทีสุดขององค์กร และเชื่ออีกว่า องค์กรจะดีเพราะมีคนเก่งและองค์กรจะแย่เพราะมีคนไม่เก่งและคนไม่ดี
  • การนำประสบการณ์ในชีวตที่ผ่านมา มาประยุกต์ใช้กับปัจจุบันสามารถช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ดี และเป็นแนวทางที่ดีในการจัดระเบียบองค์กร เช่น คุณพารณ นำการบริหารที่ทันสมัยจากบริษัทเชลล์ มาประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน เหนือสิ่งอื่นใด การทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงจะเกิดความเสียหายและผิดพลาดน้อย
  • ปัจจัยที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้การเพิ่มผลผลิตประสบความสำเร็จคือ ความจงรักภัคดีและความมีวินัยของคนในองค์กร
  • ความภูมิใจของ ศ.ดร.จิระ คือ การได้รับเลือกให้เป็นสภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติ ทั้งที่ขณะนั้นวัยแค่ 44 ซึ่งถือว่าเป็นผู้ที่มีคนให้ความเชื่อถือและไว้ใจในความสามารถ และสามารถช่วยผลักดันให้เกิดกฎหมายประกันสังคม ในยุค นายกฯ ชาติชาย และมีส่วนผลักดันให้เกิดกระทรวงแรงงานอีกด้วย







 

Jaruwan Yunprayong ต่อ

2. ได้อะไรจากการอ่านหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

  • ได้ทราบถึงประวัติ ความเป็นมาของทั้ง 2 ท่านที่ฟันฝ่า อุปสรรคมากมายกว่าจะมายืนหยัดอยู่จุดนี้ได้ ด้วยความยอมรับนับถือจากคนในประเทศ และต่างประเทศอีกด้วย อุปสรรคที่ท่านทั้งสองผ่านมาและได้นำเสนอในหนังสือเล่มนี้ เป็นประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมและผู้อ่านทุกท่านสามารถ นำมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจ หรือชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี
  • ทฤษฎี 4 L's กับสองแชมป์ที่แตกต่างบนเป้าหมายเดียวกัน
  • หนังสือแล่มนี้แสดงให้เห้นถึงคุณสมบัติของผู้นำที่ดีและเราก็สามารถเรียนรู้และเริ่มปฏิบัติได้เพื่อการเป็นผู้นำที่ดีของตัวเราเอง...เริ่มตั้งแต่วันนี้ค่ะ
  • หนังสืเล่มนี้ยังสามารถแสดงถึงวิสัยทัศน์ของคนหลายคนที่มีส่วนร่วมในการเขียนหนังสือเล่มนี้ และแต่ละท่านต่างมีความคิดเห็นเป็นของตัวเอง เป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญในด้สนต่างๆ และยกย่องชื่นชม คุณพารณและ ศ.ดร. จิระ ที่มีจุดยืนและมีความมุ่งมันที่จะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มาโดยตลอด ซึ่งเป็นการให้ที่ดีที่สุด
  • ชอบบทความจาก คุณจำเนียร จวงตระกูล "มรดกที่ศ.ดร. จิระ ได้ทิ้งไว้ให้สังคมไทย คือ การสร้างความตระหนัก รับรู้ ของทุกฝ่ายในสังคม ให้หันมาให้ความสนใจในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งเป็นฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศ และมรดกชิ้นนี้ก็เหมือน Brand ของ ศ.ดร.จิระ หรือ เรียกได้ว่า   ศ.ดร.จิระคือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์"

 วิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของตัวเอง

จุดแข็ง

  • เป็นคนอารมณ์ดี มีมนุษยสัมพันธ์ดี ตลกๆเสมอ
  • มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่เพื่อนๆ และเพื่อนร่วมงานเสมอ
  • ไม่เก็บเอาความทุกข์มาคิด และไม่แสดงออกให้คนอื่นรู้ว่าเรามีปัญหา
  • มองโลกในแง่ดี และมีความจริงใจต่อเพื่อนๆ
  • เป็นคนกล้าพูดความจริงและพูดตรงไปตรงมาโดยไม่กลัวที่จะรับผิด
  • ให้อภัยเสมอถ้ามีคำว่าขอโทษจากใจจริง
  • ไม่เคยเอาเปรียบใครและรักษาคำพูด
  • รับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายดีและกล้าแสดงออก

 จุดอ่อน

  • ต้องปรับปรุงเรื่องการอ่านให้มาก เพื่อความรู้รอบตัวที่กว้างขึ้น
  • เจ็บแล้วไม่จำ (ไม่ใช่เรื่องความรักนะค๊ะ) เรื่องเพื่อนๆ
  • บางทีพูดจาแรงเกินไป ทำให้คนรอบข้างน้อยใจ
  • ไม่ชอบรอ จะโมโหมากๆ แล้วจะไม่ฟังเหตุผล
  • พูดและหัวเราะเสียงดัง (นินทาใครไม่ได้เลย เขาได้ยินหมด) ถือว่าไม่สำรวม
  • ไม่เคารพในศาสนาใดศาสนาหนึ่งเลย
  • ความคิดริเริ่มสร้างสรรยังน้อยไป
  • ความอดทนน้อย

นริศรา ทรัพย์ชโลธร
สวัสดีค่ะอาจารย์  จีระ  หงส์ลดารมภ์  อาจารย์  ยม  นาคสุข และเพื่อนๆนักศึกษาทุกท่าน         จากที่ได้เรียนกับอาจารย์จีระในวันที่ 18 มีนาคมที่ผ่านมา ทำให้ดิฉันได้เข้าใจเรื่องภาวะผู้นำและความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากได้รับความรู้ในสิ่งที่ไม่เคยรู้มาก่อน  และอาจารย์จะเน้นเรื่องการเอาความรู้ที่อาจารย์สอนนั้นมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันให้เกิดประโยชน์สูงสุด  สอนให้คิดนอกกรอบอย่าคิดแต่ในกรอบและจากที่อาจารย์ได้ให้ดิฉันและเพื่อนๆทุกคนในห้องเสนอความคิดเห็นในชั้นเรียนทำให้ดิฉันได้แนวคิดและมุมมองใหม่ๆจากเพื่อนๆมากมาย  สุดท้ายเรื่องของจริยธรรมและคุณธรรมอาจารย์ได้สอนให้เห็นความสำคัญ กับเรื่องนี้ด้วยมากๆเช่นกัน         สรุปภาวะผู้นำจากผู้นำที่ได้เลือกไว้ - ประวัติของผู้นำที่ประทับใจ   NAME:  โชค  บูลกุลBORN:  เกิด 24 สิงหาคม 2510     EDUCATION:   ประถมศึกษาปีที่ 1- 6 โรงเรียนสาธิตเกษตรมัธยมศึกษาปีที่ 1–5 St.Joesph’s College,Sydney,Australiaมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน Worcester Academy, Massachusetts,U.S.A.ปริญญาตรี ทางด้านการจัดการฝูงโคนมจาก Vermont Technical Collegeปริญญาตรี ทางด้านวิทยาศาสตร์ สาขาสัตวศาสตร์ จาก Vermont Technical CollegeCareer Highlight: 2535 ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ  สายงานธุรกิจ    การเกษตร  ฟาร์มโชคชัย2537-2539 รองกรรมการผู้จัดการ2539-2544 กรรมการผู้อำนวยการ2544- ปัจจุบัน กรรมการผู้จัดการ  กลุ่มบริษัทฟาร์มโชคชัยFamily:   -บิดา นายโชคชัย  บูลกุล    -มารดา นางสุจริต บูลกุล    -น้องสาว นางอร  วัฒนวรางกูล      -น้องชาย นายชัย  บูลกุล     Positioning:   -   เป็นทายาทคนโตของ โชคชัย บูลกุล ผู้บุกเบิกฟาร์มโชคชัย  ต้นตำนานคาวบอยเมืองไทย-   พลิกธุรกิจที่เคยติดลบให้ทำกำไร  และเป็นที่รู้จักด้วยการเปลี่ยนฟาร์มโคนมให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว-   เป็นผู้บริหารฟาร์มโคนมที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (เนื้อที่ 20,000 ไร่ วัว 5,000 ตัว)-         บุกเบิกการส่งออกแม่พันธุโคนม  จากเดิมที่ ประเทศแถบเอเชียต้องสั่งวัวเข้ามาจากประเทศออสเตรเลีย ปัจจุบันไทยมีข้อตกลงทวิภาคีทำ FTA กับออสเตรเลีย  เกษตรกรได้รับผลกระโดยตรงจากการผ่อนปรนเงื่อนไขภาษีนำเข้าสินค้าเกษตร  ดังนั้นการส่งออกวัวไปประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งสินค้าเกี่ยวเนื่องอย่างอาหารวัว จึงเป็นการเผื่อทางรอดให้กับฟาร์มโชคชัย        ผู้บริหารยุคใหม่ต้องเข้าใจสถานการณ์โลก  และบริษัทให้ดี รู้จักว่าศักยภาพตัวเองให้ดี ต้องเข้าใจตัวเอง  และกำหนดนโยบายของบริษัทให้สมบูรณ์ทั้งแนวรับและแนวรุกให้สัมพันธ์กัน        เรื่องแนวรุก คือ การวางแผนการตลาด การใช้เงินลงทุนๆ เป็นต้น ส่วนแนวรับคือ การสร้างความพร้อมขององค์กรทั้งเรื่องคน การวางแผน การวางระบบต่างๆ ไม่ใช่ว่าจะบริหารเชิงรุกอย่างเดียว        นักธุรกิจหรือผู้บริหารยุคใหม่ต้องเข้าใจการทำธุรกิจ มีจุดยืนของตัวเองว่าควรทำอย่างไรให้ธุรกิจมีความยั่งยืน ไม่ใช่ว่าเอาแต่ทำตามคนอื่นที่ประสพความสำเร็จ ซึ่งอาจจะได้แต่เป็นระยะสั้นๆ ทำให้ธุรกิจไม่มีเสถียรภาพ  ดังนั้นควรรู้จักศักยภาพตัวเองทำในสิ่งที่ตัวเองเชี่ยวชาญ        การทำงานควรเป็นระบบ ซึ่งต้องเรียนรู้จากคนรุ่นเก่า  ต้องผสมผสานกัน คือ คนรุ่นก่อนโดยเฉพาะยุคบุกเบิกว่าเขามีความโดดเด่นต่อเรื่องความอดทนอย่างไร ขณะที่คนรุ่นเก่ามีน้อยแต่ก็ดีตรงที่มีความกล้าตัดสินใจ มีวินัยการทำงาน มองงานอย่างเป็นระบบ ดังนั้นควรเอาทั้งสองรุ่นมาผสมผสานกันนี่คือวิสัยทัศน์และวิธีคิดของโชค บูลกุล ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีแนวความคิดที่มีภาวะผู้นำครบถ้วนและสามารถนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้ในระยะยาวจากข้อมูลและบทความข้างต้นนี้สรุปได้ว่าผู้นำท่านนี้มีครบทุกอย่างในทฤษฎีทุน 8 ประเภท คือทุนมนุษย์ทุนทางปัญญาประถมศึกษาปีที่ 1- 6 โรงเรียนสาธิตเกษตรมัธยมศึกษาปีที่ 1–5 St.Joesph’s College,Sydney,Australiaมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน Worcester Academy, Massachusetts,U.S.A.ปริญญาตรี ทางด้านการจัดการฝูงโคนมจาก Vermont Technical Collegeปริญญาตรี ทางด้านวิทยาศาสตร์ สาขาสัตวศาสตร์ จาก Vermont Technical Collegeทุนทางจริยธรรมเวลาที่โชค บูลกุล ว่างมักจะขับรถไปเยี่ยมเด็กๆยากไร้ที่เขารับอุปการะไว้ ณ ชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดทางภาคอีสานตามลำพัง และไปชนิดไม่อยากเป็นข่างเอิกเริกทุนแห่งความสุขโชค บูลกุลมีความสุขในแบบส่วนตัวอยู่สองสามอย่าง คือ สุขที่จะได้ออกกำลังกาย เช่น วิ่งที่ละหลายๆกิโล ว่ายน้ำต่อเนื่องและยาวนาน เล่นดนตรีเงียบๆคนเดียวในห้องบันทึกเสียงส่วนตัวทุนแห่งความยั่งยืน-เป็นผู้บริหารฟาร์มโคนมที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (เนื้อที่ 20,000 ไร่ วัว 5,000 ตัว)-ปัจจุบันไทยมีข้อตกลงทวิภาคีทำ FTA กับออสเตรเลีย  เกษตรกรได้รับผลกระโดยตรงจากการผ่อนปรนเงื่อนไขภาษีนำเข้าสินค้าเกษตร  ดังนั้นการส่งออกวัวไปประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งสินค้าเกี่ยวเนื่องอย่างอาหารวัว จึงเป็นการเผื่อทางรอดให้กับฟาร์มโชคชัย     ทุนทาง ITโชค บูลกุล ให้ความสำคัญกับเรื่องการจัดเก็บข้อมูลเป็นอย่างมาก จะไม่พึ่งการแบ็คอัพข้อมูลในคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียว ยิ่งเรื่องไหนที่ถือว่าสำคัญกับชีวิตเขาจะต้องจดไว้อย่างเป็นระเบียบด้วยฝีมือตัวเอง แต่บนโต๊ะทำงานยังปรากฎว่ามีคอมพิวเตอร์โน็ตบุคถึงสองเครื่อง และแต่ละเครื่องมีหน่วยความจำถึง 30 gb เป็นความรอบคอบในการมีเครื่องสำรองหากเครื่องใดเครื่องหนึ่งมีปัญหา ทุนทาง knowledge,skill,mindset                                                                -บุกเบิกการส่งออกแม่พันธุโคนม  จากเดิมที่ประเทศแถบเอเชียต้องสั่งวัวเข้ามาจากประเทศออสเตรเลีย โชค บูลกุล ส่งออกโคนมแข่งกับออสเตรเลีย ประเทศที่มีโนว์ฮาวเรื่องโคนมมาหลายชั่วอายุคน ใครจะคิดว่าส่วนหนึ่งมาจากการคิดแบบเด็กแล้วทำแบบผู้ใหญ่ แต่ก็เป็นสิ่งที่โยงถึงชื่อ bizkids  นางสาว นริศรา ทรัพย์ชโลธรมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมป์ฟอร์ด

            สาเหตุที่ดิฉันเลือก เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ เป็นผู้นำในดวงใจเพราะท่านเป็น   ผู้นำด้านนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งจนติดอันดับอยู่ในทำเนียบนักธุรกิจโลกจนทุกวันนี้โดยที่ท่านมีกลยุทธและวิสัยทัศน์กว้างไกล และให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับทรัพยากรมนุษย์ และเพื่อพิสูจน์ว่า การมีปริญญาไม่สำคัญเท่ากับการมีปัญญา

 

ผู้นำในดวงใจ เจ้าสัว ธนินท์ เจียรวนนท์

 

                เจ้าสัว ธนินท์  เจียรวนนท์ หรือ เจ้สัว ซี.พี. ติดอันดับมหาเศรษฐีอันดับที่ 300 กว่าของโลก ผู้ซึ่งนำไทยก้าวสู้ความเป็นครัวโลก ท่านมีคำคม และวาทะว่า

ในโลกนี้ไม่มีคนไหนเก่งไปตลอดกาล วันนี้คุณอาจเก่ง แต่พรุ่งนี้ อาจมีคนเก่งกว่าคุณ เพราะฉะนั้น คนใดก็ตามที่ภูมิใจว่าตนเองเก่ง จงจำเอาไว้ได้เลยว่า ความหายนะใกล้มาถึงตัวคุณแล้ว  ความโง่    คืบคลานมาใกล้ตัวคุณแล้ว

ประวัติย่อ  :  เป็นชาวจีน แซ่เจีย  เดินทานมาเผชิญโชคในไทย เมื่อ พ.ศ. 2464 เริ่มทำธุรกิจค้าขายเมล็ดพืชแถวเยาวราช ชื่อเจียไต๋ และร่ำรวยขึ้นมาจากการค้าหมู ไข่ไก่ และนำเข้าเมล็ดพืช ปุ๋ย            ยาฆ่าแมลงจากจีน และฮ่องกง

จบการศึกษา  :  อนุปริญญาจากมหาวิทยาลัยฮ่องกง

แล้วผันตัวเองไปหาความรู้และประสบการณ์จาก บริษัท สามัคคีค้าสัตว์ ระยะหนึ่งก่อนลาออก และเดินทางไปศึกษาวิธีการเลี้ยงไก่เพิ่มเติมที่ บริษัท อาร์เบอร์ เอเคอร์ส ที่อเมริกา และกลับมาเติบโต จนกลายเป็น บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด ที่ยิ่งใหญ่ในปัจจุบัน

มีบริษัทในเครือทั่วโลกกว่า 250 บริษัท พนักงานรวมกว่า 100,000 คนรายได้รวมกว่า US$ 13,000 ล้านต่อปี  โดยมีทรัพย์สินมากกว่า US$ 1,000 ล้านขึ้นไปกลยุทธ์เพื่อเป็นผู้นำธุรกิจการค้าโลก                อีกช่วงหนึ่งที่สำคัญมาก คือช่วงพัฒนาการเรียนรู้เทคโนโลยีการจัดการ ตั้งแต่การได้มาซึ่งโครงสร้างระบบโทรศัพท์ 3 ล้านเลขหมายในเขตเมืองหลวง                เรื่องเจริญโภคภัณฑ์ ให้ความสำคัญในธุรกิจหลักที่มีทั้งธุรกิจผลิตและจำหน่ายอาหาร ธุรกิจโทรคมนาคม และธุรกิจค้าปลีก ซึ่งใช้กลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจคือ การสร้างเครือข่าย       การขายและการสร้างเครื่องหมายการค้า (TRADEMARK) ให้แข็งแกร่งมากขึ้นเพื่อเป็นผู้นำในธุรกิจการค้าโลก โดยให้ความสำคัญกับการสร้าง TRADEMARK ให้แข็งแกร่ง ทำให้ ซี.พี. เจริญเติบโตเป็น GLOBAL THAI COMPANY ที่น่าภาคภูมิใจ กลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจของ ซี.พี. ให้ความสำคัญ 5 เรื่อง1.     การสร้างเครือข่ายทางการค้าโยงใยทั่วโลก2.     การสร้างตราสินค้า (TRADEMARK)3.     การแปรรูปอาหารที่เน้นอาหารเพื่อสุขภาพ ปลอดสารพิษ4.     การสร้างเครือข่ายระบบขนส่ง และจัดจำหน่ายให้มีต้นทุนการดำเนินงานต่ำ และมีบริการที่ดี5.     การเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีทันสมัยของโลก คัมภีร์บริหาร ข้อมูลสำคัญที่สุด :  ต้องมองล่วงหน้า ต้องสร้าง คน                ซี.พี. ร่ำรวยได้มาทุกวันนี้ ก็เพราะซี.พี. มองล่วงหน้า ทำล่วงหน้า และให้ความสำคัญกับเรื่อง คน และศึกษาอย่างเต็มที่ เพื่อหาข้อมูลให้ได้มากที่สุข เพราะศตวรรษนี้เป็นยุคข้อมูลสื่อสาร เราต้องมีข้อมูลเพื่อนำมาปฏิบัติ และนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ หลักการในการบริหารคนและองค์กรของเจ้าสัว รู้จักเลือกคน รู้จักใช้คน                เจ้าสัวธนินท์ กล่าวว่า ไม่ควรมองที่จุดด้อยของคนอื่น แล้วมองแต่จุดเด่นของตัวเอง เพราะถ้าพยายามมองจุดด้อยคนอื่นก็คิดว่าตัวเองเก่งอยู่ทุกครั้งทุกทีไป ต้องมองจุดเด่นของผู้อื่น    แล้วหาทางใช้จุดเด่นของเขาให้เป็นประโยชน์ จึงสามารถทำงานใหญ่ได้                ธนินท์ มีเหตุผลว่า ธุรกิจจะดำเนินไปได้หรือขยายตัวได้ และจะสำเร็จหรือไม่อยู่ที่คน      ทุกอย่างล้วนมาจากคน เงินก็มาจากคน เทคโนโลยีก็มาจากคน เขาถือว่า คนเป็นทรัพยากรที่สำคัญล้ำค่าอันเป็นหัวใจของทุกองค์กร จึงต้องมีคนที่มีความรับผิดชอบสูง มีความมานะพยายาม มีความรู้ ความสามารถ มีความซื่อสัตย์สุจริตอยู่ในองค์กรให้มาก ๆ จึงจะสามารถนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ                หากองค์กรอยากเจริญก้าวหน้าอย่างไม่สิ้นสุด ก็ต้องพัฒนาคนไม่มีสิ้นสุดเช่นกัน ต้องสร้างคนให้มีคุณภาพ เมื่อมีประสิทธิภาพก็เกิดประสิทธิผลในการทำงาน ซึ่งสร้างประโยชน์ทั้งต่อบริษัทและสังคม ไม่มีอะไรที่ให้สังคมดีที่สุดเท่ากับการพัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถ                เจ้าสัวธนินท์ ให้ข้อคิดกับคนเก่งว่า อย่าเป็นคนที่เหลิง หลงตัวเองว่าเก่ง เพราะวันนี้เก่ง พรุ่งนี้อาจไม่เก่งก็ได้ อาจมีคนเก่งกว่าเรา ถ้าเหลิงก็จะมีแต่ถอยหลัง เพราะโลกเรามีแต่จะก้าวไป  ข้างหน้า                ผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จ นอกจากตัวเองจะมีความรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจอย่างถูกจังหวะรวมถึงมองการณ์ไกล แล้วยังต้องได้รับความร่วมมือจากพนักงานในระดับปฏิบัติอย่างเต็มความสามารถนั่นคือ การเป็นเจ้านายที่ดี ต้องอย่าทำตัวเหมือน นก แต่ให้เป็นเหมือน หนอน เพราะการทำตัวเหมือน นก ก็มักแต่ชอบบินสูง อยู่บนฟ้า คิดว่าตัวเองเหนือผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา ซึ่งบางครั้งก็อยู่สูงเกินไปจนมองไม่เห็นความเป็นไปบนพื้นดินเจ้าสัวธนินท์ ยังยึดหลักคติพจน์ ความล้มเหลว คือแม่ของความสำเร็จ คือ คุณธนินท์ชอบคนที่ทำงานเสียหายแล้วรู้ว่าเสียหายอย่างไร และให้โอกาสเขาแก้ตัวใหม่ แต่ถ้าทำเสียหายแล้วบอกว่าทำดีที่สุดแล้ว ทำถูกต้องแล้วแถมยังโยนความผิดไปให้คนอื่น เขาจะไม่กล้าใช้งานเขาอีกต่อไปเจ้าสัว ซี.พี. เผยเคล็ดลับในการดำเนินธุรกิจและทำงานให้ประสบความสำเร็จ มีองค์ประกอบ 5 ประการ1.     รู้จักดูแลรักษาและบริหารเงินที่ได้มา เพราะหากไม่มีจุดนี้ ไม่ว่าจะเก่งแค่ไหนสุดท้ายจะไปไม่รอด 2.     ขยัน ไม่ขี้เกียจ อดทน มีมานะ รู้จักสรรหา ศึกษา เรียนรู้จากคนอื่น ขณะเดียวกัน ต้องมีความรับผิดชอบสูงทั้งต่อตัวเองและคนอื่น ๆ และสังคมด้วย เขาเชื่อว่า            ถ้าต้องการจะทำธุรกิจให้ยิ่งใหญ่ต้องคิดถึงสังคมก่อนคิดถึงตัวเอง เพราะสินค้าขายให้คนส่วนใหญ่3.     ให้คิดว่าในโลกนี้ไม่มีใครทำถูกทุกเรื่อง ทุกคนมีทั้งจุดแข็งและจุดอ่อน ต้องศึกษาตนเองอยู่เสมอว่า ทำผิดพลาดอะไร มีจุดอ่อนอะไร พยายามศึกษาจุดเด่นของคนอื่นทำให้มีโอกาสเรียนรู้จากคนอื่นเขาเชื่อว่า การเรียนรู้จากหนังสือตำราไม่เพียงพอ ต้องเรียนรู้ตลอดเวลา เปิดหูเปิดตาตลอด เราทำงาน 10 จะเรียนรู้แค่ 10 ไม่ได้ ต้องเรียนรู้ถึง 80 ถึงจะทำงานได้ 104.     เรียนรู้ทุกวันทั้งจากเพื่อนฝูง สังคม ต้องคิดว่าเหนือฟ้ายังมีฟ้า ให้เคารพผู้มีความสามารถมากกว่า เรียนรู้ว่าผู้ใต้บังคับบัญชามีจุดแข็ง จุดอ่อนอะไร พยายามหลีกเลี่ยงจุดอ่อนและใช้จุดเด่นของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา5.     ผู้นำที่ดีต้องรู้จักประชาสัมพันธ์ เพื่อให้สังคมเข้าใจตนเอง เพราะการทำแบบปิดทองหลังพระ บางครั้งอาจทำให้เราไม่มีโอกาสเกิด หรือ ของดีก็กลายเป็นของเสียเพราะคนไม่เข้าใจ โดยนึกว่าสิ่งที่เราทำเป็นเรื่องไม่เป็นประโยชน์ต่อสังคมเบื้องหลังความสำเร็จ การดำเนินธุรกิจเครือเจริญโภคภัณฑ์ มีนโยบายประโยชน์ 3 ประการ1.     ประเทศชาติต้องได้ประโยชน์2.     ประชาชนต้องได้ประโยชน์3.     บริษัทต้องได้ประโยชน์ซึ่งเป็นนโยบายที่สร้างความแข็งแกร่ง เป็นรากฐานมั่นคงของเครือเจริญโภคภัณฑ์ จนเติบโตยาวนานหลายทศวรรษ                เจ้าสัวธนินท์ เป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ มองการณ์ไกล เป็นผู้กำหนดเป้าหมายว่าเครือเจริญโภคภัณฑ์คือผู้ผลิตอาหารป้อนชาวโลก ได้แก่ อาหารสำหรับมนุษย์ ซึ่งมีวิสัยทัศน์ให้เครือเจริญโภคภัณฑ์เป็น ครัวของโลก ส่วน อาหารสมอง ได้แก่ ธุรกิจด้านโทรคมนาคม ซึ่งปัจจุบันมี ทรูคอร์ปอเรชั่น เป็นหัวหอกบุกหนักทั้งโทรศัพท์บ้าน โทรศัพท์มือถือ อินเตอร์เน็ต เคเบิลทีวี ยังมีวิสัยทัศน์การลงทุนต่างประเทศเป็นเวลากว่า 25 ปีทฤษฎีที่นำมาจับกับเจ้าสัวธนินท์1.  ทฤษฎี 8K’S ของ ดร.จีระ คือ ทฤษฎีทุน HR. 1.       HUMAN CAPITAL (ทุนมนุษย์) ทุนที่ได้มาจากความรู้พื้นฐานของการศึกษาในสถาบันการศึกษา คือ คุณธนินท์จบอนุปริญญาจากมหาวิทยาลัยฮ่องกง2.       INTELLECTUAL CAPITAL (ทุนทางปัญญา) -  การมีปริญญาไม่สำคัญเท่ากับการมีปัญญา ท่านมีความสามารถในการคิดเป็น วิเคราะห์เป็น พร้อมประสบการณ์   เพื่อนำไปสร้างมูลค่าเพิ่ม3.       ETHICAL CAPITAL (ทุนทางจริยธรรม) ความรู้ ความสามารถที่มีต้องใช้ในทางที่ถูกต้อง คือ ท่านเป็นคนดีมีคุณธรรม และช่วยเหลือสังคมไม่เห็นแก่ตัว4.       HAPPINESS CAPITAL (ทุนแห่งความสุข) ทำในสิ่งที่ตนทำแล้วมีความสุข ไม่ว่าจะเป็นสุขกาย หรือสุขใจ คือ ท่านประกอบธุรกิจด้วยใจรัก และมีความสุขกับการพัฒนาบุคลากรและองค์กรของท่าน5.       SOCIAL CAPITAL (ทุนทางสังคม) การรู้จักเข้าสังคม รู้จักวางตัว หน้าที่ บทบาท ทำให้เกิดการยอมรับในสังคม6.       SUSTAINABILITY  CAPITAL (ทุนแห่งความยั่งยืน) ในยุคโลกกาภาวัตน์         ไร้พรมแดน การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเร็วมาก ต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ท่านเป็นผู้นำด้านธุรกิจจวบจนปัจจุบัน7.       DIGITAL CAPITAL (ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ) ในโลกแห่งข่าวสาร เทคโนโลยีจำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ท่านพัฒนาความสามารถในด้าน IT เพื่อมาใช้ในกิจการ และพัฒนาบุคลากรของท่านให้เก่ง

8.       TALENTED CAPITAL (ทุนทางความรู้ ทักษะ ทัศนคติ (MINDSET) ที่ถูกต้องในการทำงาน) ทุนนี้สำคัญสำหรับทรัพยากรมนุษย์ เพื่อการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ 

ท่านธนินท์มีภาวะผู้นำตามทฤษฎี ของ JACK WELCH ดังนี้ คือ1.     ท่านธนินท์มีการพัฒนาลูกน้องให้เก่งขึ้น ต้องให้ลูกน้องฝึกฝน COACHING + ฟูมฟัก INCUBATING2.     ท่านมีวิสัยทัศน์(VISION) และให้ VISION นี้อยู่ในลมหายใจของลูกน้อง (LIVE&BREATH)3.     ท่านอยู่ในความรู้สึกของลูกน้อง คือ ให้ลูกน้องมอง VISION ให้ออก คือ จิตวิญญาณของผู้นำอยู่ในปรัชญา แนวคิดตลอดเวลา ดังนั้นผู้นำไม่จำเป็นต้องอยู่กับลูกน้องตลอด4.     ท่านมีคุณธรรม โปร่งใส เป็นที่ยอมรับในสังคมทุกด้าน5.     ท่านต้องกล้าตัดสินใจในการแก้ปัญหา6.     ท่านเรียนรู้ตลอดเวลา + มีความอยากรู้อยากเห็น (CURIOSITY)7.     ท่านบริหารความเสี่ยง ถ้าลูกน้องทำงานเสี่ยงท่านก็ปกป้อง8.     ท่านพร้อมจะยกย่องหรือจัดงานฉลองเมื่อประสบความสำเร็จ2.ทฤษฎี 3 วงกลม เป็นทฤษฎีที่เป็นกลยุทธ์ในการพัฒนา + บริหาร HRท่านธนินท์เป็นผู้นำที่มี วิสัยทัศน์ที่ถูกต้อง + สามารถระบุภารกิจที่ชัดเจนได้ก่อนจึงจะนำทฤษฎี 3วงกลม  มาปรับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้คือ

1.       CONTEXT (บริบท) พิจารณาจาก

 ·     บริบทภายนอก  - เช่นท่านพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัตน์ , เศรษฐกิจ , การเมือง กฎหมาย ฯลฯ·     บริบทภายใน เช่นท่านนำระบบ IT มาใช้ ,  ขั้นตอนการทำงาน (PROCESS) วิธีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ฯลฯ2.       COMPETENCIES (ศักยภาพ) + SKILLS (ทักษะ) พิจารณาจาก·     ท่านอบรมบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะที่สามารถทำงาน     ได้อย่างมี  ประสิทธิภาพ3.       MOTIVATION (การสร้างแรงจูงใจ) คือท่านตระหนักว่านอกจากบุคลากรมีความรู้ ความสามารถ มีสถานที่ทำงานที่มีความพร้อมแล้ว บุคลากรต้องมีกำลังใจ มีทัศนคติที่ดีในการทำงาน ดังนั้นการสร้างแรงจูงใจเป็นสิ่งจำเป็นยิ่ง    เจ้าสัวธนินท์ มองความจริง (REALITY) ,  มองตรงประเด็น และเข้ากับสถานการณ์ (RELEVANCE) – ทฤษฎี 2 R’Sเจ้าสัวธนินท์ ตระหนักถึงความสำคัญ HUMAN RESOURCE (HR) &INNOVATION ท่านเห็นว่าหากคนดีมีคุณภาพก็จะเกิดนวตกรรมดีมีคุณภาพ เพื่อส่งเสริมให้นวตกรรมของไทยดีขึ้นได้ ท่านตระหนักว่า 1.     ต้องส่งเสริมให้คนมีความรู้ มีปัญญา สามารถรับการเปลี่ยนแปลงได้2.     ส่งเสริมให้ตระหนักถึงความต้องการของลูกค้า3.     ผู้บริหารต้องมีภาวะผู้นำที่ดี  คนดีมีคุณภาพ เริ่มจาก ต้นน้ำ                    -  คือการสรรหาคนเก่ง คนดี  ระหว่างทางน้ำ -  ทำให้คนในองค์กรเก่ง + ดี โดยใช้เครื่องมือปลายน้ำ -  ให้คนเก่ง คนดี ใช้ความรู้ความสามารถเพื่อส่วนรวม 3.  เจ้าสัวธนินท์ มีบทบาทการเป็นผู้นำที่ดี เพราะ1.     ไม่ได้ให้ความสำคัญกับตนเองมาก คือ ไม่มี EGO สูง2.     มองอนาคต3.     มีคุณธรรม4.     พัฒนาผู้ร่วมงานให้มีความสามารถเป็นผู้นำในอนาคต5.     ไม่บริหารแบบควบคุม + สั่งการ (COMMAND & CONTROL)6.        การเป็นพันธมิตร มี 3 เรื่องใหญ่ หลักการของท่านธนินท์ คือว่า1.       TRUSTมีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน2.       RESPECTการนับถืออย่างจริงใจ + ยกย่องเพื่อนร่วมงาน3.       DIFFERENT SKILLSมีความหลากหลายต่างกันในศักยภาพ แต่รวมกันแล้วดี      เจ้าสัวรู้จักการเอาชนะความลำบาก อุปสรรคโดย1.     คิดทุกอย่างเป็นยุทธศาสตร์ + ยุทธวิธี2.     มีทีมงานเก่ง + ทำงานร่วมกันได้3.     ตัดสินใจเร็ว + เด็ดขาด4.     วางแผนโดยใช้ทรัพยากรที่จำกัดให้ได้ผลสูงสุด5.     สร้างแรงจูงใจให้ทีมเต็มที่6.     เข้าใจความหลากหลายของความคิด + วัฒนธรรม7.     ต้องรับฟัง + วิเคราะห์ให้ดีจากข้อมูลหลาย ๆ ด้าน8.     มองระยะสั้นให้สอดคล้องกับระยะยาว9.     เรียนรู้จากความผิดพลาด10.   มีวิธีการแก้ปัญหาที่สร้างสรรค์11.   อดทน และสู้กับความเจ็บปวด และเอาชนะมัน                   จากการศึกษาวิชาภาวะผู้นำจากท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์                สำหรับนักธุรกิจได้ประโยชน์จากการศึกษาภาวะผู้นำเพราะเป็นประโยชน์ในการบริหารองค์กร เนื่องด้วยปัจจุบันธุรกิจทั้งภายในและต่างประเทศอยู่ในสภาวะแข่งขันอย่างรุนแรง การมีผู้นำที่ดีช่วยให้องค์กรมีการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพ แนวทางการดำเนินงานทำให้เกิดการลดต้นทุน ปรับปรุงคุณภาพ เพิ่มผลผลิต อันเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และใช้ความรู้นี้นำมาถ่ายทอดให้บุคลากรในองค์กรเพราะในด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล : การบริหารบุคคลเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการบริหารธุรกิจในยุคที่มีการแข่งขัน ธุรกิจจะเติบโตได้ก็ต้องมีพนักงานที่มีความสามารถและเต็มใจในการใช้ความสามารถให้เกิดประโยชน์ต่อบริษัท                ในวิธีการเรียนรู้ (METHODOLOGY) และบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ (ENVIROMENT)  ของท่าน ศ.ดร.จีระ โดยตระหนักถึงความเป็นโลกาภิวัตน์ ทำให้นักศึกษารวมทั้งดิฉันได้รับประโยชน์1.     การคิดนอกรอบ การมีความกล้าหาญในสิ่งที่ถูกต้อง2.     การมีจินตนาการ3.    
ทำให้นักศึกษารวมทั้งดิฉันได้รับประโยชน์1.     การคิดนอกรอบ การมีความกล้าหาญในสิ่งที่ถูกต้อง2.     การมีจินตนาการ3.     การต้องมีความรู้ ข้อมูลสด ๆ อยู่ตลอดเวลา4.     นักบริหารให้ตระหนักถึงการมีความรับผิดชอบ ต่องานที่ทำ ต่อตนเอง ต่อสังคม สิ่งแวดล้อม น.ส. สมร  ดีสมเลิศ
นางสาวอรุณรุ่ง พึ่งร่วมกลาง
กราบเรียนท่าน อาจารย์  ศ.ดร จีระ  หงส์ลดารมภ์                 และสวัสดีเพื่อน    พี่    นักศึกษา ป.โท ชาว  Stamford ฯ (MPA.) ทุกท่าน  ดิฉันขอส่งงานอาจารย์ที่การสอบปากเปล่าได้เสร็จสิ้นลงเมื่อ  วันเสาร์ ที่  31  มีนาคม  2550  สาเหตุที่ดิฉันเลือก  นายเติ้งเสี่ยวผิง  เป็นผู้นำในดวงใจเพราะท่านเป็น   ผู้นำที่ดีทั้งเป็นนักทฤษฎีมาร์กซิสม์  นักปฏิวัติ นักการเมือง นักการทหาร นักการทูต และเป็นผู้วางรากฐานเศรษฐกิจสมัยใหม่ของประเทศจีน เพราะเป็นผู้ริเริ่มแนวทางเศรษฐกิจและการปกครองแบบฉบับเติ้งเสี่ยวผิง และได้ทำประประโยชน์อีกมากมายให้แก่ประเทศจีนและประสบความสำเร็จอย่างยิ่งจนติดอันดับอยู่ในโลกจนทุกวันนี้โดยที่ท่านมีกลยุทธและวิสัยทัศน์กว้างไกล และให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับทรัพยากรมนุษย์ และทุนทางปัญญา ทุนแห่งความยั่งยืน      ทุน IT   ผู้นำในดวงใจ นายเติ้งเสี่ยวผิง 

                เติ้งเสี่ยวผิง หรือฉายาแมวเก้าชีวิต เขาเป็นผู้นำที่มีหัวใจรักชาติเป็นคนพูดน้อยแต่ทำจริง เป็นนักออกแบบมีความกระตือรือร้นอย่างมากในการหาหนทางขจัดอุปสรรคแนวคิดจากระบบเก่าให้พ้นทาง  เพื่อปลดปล่อยกำลังการผลิตตามความคิดเศรษฐกิจแบบกลไกตลาดที่เขานำเสนอและเป็น  ผู้นำจีนสู่ความมั่งคั่งร่ำรวย  และยังคงยืนหยัดในหลักการอันที่จะนำพาประเทศจีนไปสู่ความเป็นสังคมกินดีอยู่ดี และเขามักจะพูดอยู่เสมอว่า ข้าพเจ้าคือลูกชายของมวลชนแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน แม้ว่าจะเป็นคำพูดที่เรียบง่ายแต่ก็มีความตรึงใจประชาชนชาวจีนอยู่ตลอดเวลาและได้สะท้อนถึงความเป็นลูกผู้ชายที่เปลี่ยมล้นด้วยหัวใจรักชาติ เพราะนายเติ้งเสี่ยวผิงเป็นผู้นำรุ่นที่  2  ต่อจากนายโจวเอินไหล และเป็นผู้ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวจีนในปัจจุบันนี้ ได้สัมผัสกับคำว่า  มั่งคั่งร่ำรวยท่านมีคำคม และวาทะว่า

ไม่ว่าแมวขาวหรือแมวดำ  ขอเพียงจับหนูได้ก็คือแมวที่ดี , ข้าพเจ้าคือลูกชายของมวลชนแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นคำพูดที่เรียบง่ายแต่ก็มีความตรึงใจประชาชนคนจีนทั้งประเทศ ประวัติย่อ  :  นายเติ้งเสี่ยวผิง  เกิดวันที่  22  สิงหาคม  1904  เป็นชาวซื่อชวน(เสฉวน) เป็นบุตรชายคนโต  เข้าเรียนหนังสือเมื่ออายุ 5 ขวบ ในเวลานั้นใช้ชื่อ  เติ้งซีเสี่ยน จบชั้นประถมและมัธยมในเมืองกว่างอัน และสอบได้ทุนไปเรียนต่อที่ประเทศฝรั่งเศส เรียนรุ่นเดียวกันกับโฮจิมินท์  จบการศึกษา  :  ที่ประเทศฝรั่งเศส และ มอสโค พอเรียนจบนายเติ้งเสี่ยวผิงก็ได้เดินทางกลับมาตุภูมิ ในช่วงนั้นเป็นเวลาที่ความสัมพันธ์ระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์และก๊กมินตั๋งอยู่ในภาวะตึงเครืยดนายเติ้งได้รับมอบหมายจากพรรคฯให้เดินทางไปซีอันและทำงานในสถาบันการทหารและการเมืองซุนยัดเซน ในชีวิตของนายเติ้งเสี่ยวผิงวนเวียนอยู่ในการปฏิบัติหน้าที่อันสูงสุดของจีนอยู่หลายครั้งและได้ร่วมการปฎิรูปเหตุการณ์สำคัญ หลายเหตุการณ์สำคัญและสำคัญที่สุดก็คืนในช่วง ปี 1966  ได้มีการปฏิวัติวัฒนธรรมขึ้น นายเติ้งเสี่ยวผิงได้ประสบกับมรสุมทางการเมือง ถูกปลดออกจากตำแหน่งทางการเมืองทั้งหมดและได้รับคำสั่งให้ไปทำงานในโรงงานผลิตรถแทรกเตอร์ในมณฑลเจียงซี แต่ต่อมาถูกแก๊ง 4 คนใส่ร้ายป้ายสี จนต้องออกจากตำแหน่ง พอแก๊ง 4 คนถูกล้มล้างลงพร้อมกับการสิ้นสุดการปฏิวัติวัฒนธรรม นายเติ้งเสี่ยวผิงก็กลับมามีบทบาททางการเมืองที่สำคัญอีกครั้งและได้ทบทวนนโยบายที่เคยผิดพลาดมาจากอดีตโดยให้ พรรคฯ  หันมามุ่งเน้นเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นหลัก  เพื่อเปิดศักราชใหม่ของประเทศจีน ได้พัฒนาด้านการปฏิรูประบบเศรษฐกิจและการพัฒนาระบอบสังคมนิยมพิเศษหรือสังคมประชาธิปไตย  ท่านเติ้งมองว่าการที่จะนำพาประเทศจีนเข้าสู่ความทันสมัยนั้น ต้องก่อเกิดจากความคิดที่ทันสมัยก่อน นั้นคือ ต้องคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลตามหลักวิทยาศาสตร์  เคารพกฎแห่งการพัฒนาของสรรพสิ่ง  ตลอดจนต้อง ยึดมั่นแนวคิดการพัฒนาที่เป็นจริงเชิงปฏิบัติ  เป็นไปอย่างรอบด้าน และมีความเป็นมหาชน  เนื่องจาก   ประเทศจีนปิดประเทศไปนาน บวกกับความบอบช้ำภายในประเทศจีนเอง จากการปฏิวัติวัฒนธรรม  ดังนั้น  ยิ่งความคิดถูกปลดปล่อยจากพันธนาการต่าง ๆ  มากเท่าไร  การปฏิรูปประเทศก็จะยิ่งก้าวหน้ามากเท่านั้น  การเพิ่มกำลังการผลิตของชาติ  จำเป็นต้องอาศัยนโยบายการปฏิรูปและการเปิดกว้าง บนแนวทางการการปฏิบัติที่เป็นจริง  ดังคำที่ว่า            การปฏิบัติคือมาตรฐานเพียงหนึ่งเดียวที่จะทดสอบสัจธรรม  คือในทฤษฎีด้านสังคมนิยมแบบฉบับของเติ้งเสี่ยวผิง   ก็คือ ปลดปล่อยความคิด  และค้นหาสัจจะ   จากความเป็นจริง  ซึ่งตรงกับทฤษฎี  2R  ของท่านอาจารย์ คือมองความจริง และ ตรงประเด็น  เบ่งบอกถึงทัศนะการพัฒนาองค์รวมของนายเติ้งเสี่ยวผิง  ที่เน้นการทำลายกรอบทางความคิด  มุ่งเรียนรู้จาการปฏิบัติ จากสภาพที่เป็นจริงและพิสูจน์กันที่ผลของการกระทำและได้ชักจูงให้ทุกฝ่ายได้เริ่มปฏิบัติจาก ความเป็นจริง และให้ยุติการถกเถียงที่ยึดถือแต่ทฤษฎี   กลยุทธ์เพื่อเป็นผู้นำธุรกิจ   ของนายเติ้งเสี่ยวผิงกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจ เพราะบทเรียนเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจที่แล้วมา ที่ยึกการวางแผนจากส่วนกลางเป็น แม่แบบ  ซึ่งดำเนินรอยตามแนวทางของอดีตสหภาพโซเวียตและได้เรียนรู้ว่า ประเทศจีนจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างสรรค์รูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตัวเอง  นโยบายที่เด่นชัดที่สุดในยุคของท่านเติ้ง และเป็นส่วนหนึ่งใน ทฤษฎีเติ้งเสี่ยวผิง  คือ การปฏิรูปเศรษฐกิจด้วยการปลดปล่อยกำลังการผลิต และ การเปิดประเทศ  (เปิดม่านไม้ไผ่)  เพื่อดูดซับทรัพยากรการผลิตจากภายนอก  ซึ่งเติ้งเสี่ยวผิงเชื่อว่าจะเป็นวิธีการสร้างสรรค์สังคมนิยมของประเทศจีนให้ทันสมัย แต่แนวคิดนี้ก็มีคนโต้แย้งจากหลายฝ่ายเพราะประเทศจีนยึดถือระบบสังคมนิยมแต่ตอนนี้กำลังเดินทางเข้าสู่ ระบบทุนนิยม  ประเทศจีนภายใต้การนำของนายเติ้งเสี่ยวผิงมีทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจโดยกำหนดเป้าหมาย ในการยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนจีน  ที่เริ่มต้นจาก  ขจัดความยากจน  ไปจากสังคม  ประเทศจีนภายใต้ผู้นำเติ้งเสี่ยวผิง มีทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจโดยกำหนดเป้าหมายในการยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนจีน  ที่เริ่มต้นจาก  การขจัดความจน  ไปจากสังคมจีน  และค่อย ๆ พัฒนาไปสู่สังคม พอมีอยู่มีกิน  และ กินดีอยู่ดี  โดยถ้วนหน้า  จนกระทั่งเจริญขึ้นเป็น  สังคมที่เจริญรุ่งเรืองมั่งคั่ง  การปลดปล่อยทางความคิด  ตามทฤษฎีของเติ้งเสี่ยวผิง  ช่วยเปิดกว้างแนวทางต่าง ๆ  ที่เป็นไปได้ในอันที่จะเอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวม  ซึ่งบทพิสูจน์จากแนวคิดดังกล่าว  ได้เกิดผลในทางปฏิบัติกับประเทศที่ยากจนในอดีต  ซึ่งกลายเป็นประเทศที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ร้อนแรงในโลกปัจจุบัน นี่แหละคือทุนแห่งความยั่งยืนของนายเติ้งเสี่ยวผิงและประชาชนคนจีนทุกคนนี่คือกลยุทธ์เพื่อเป็นผู้นำธุรกิจการค้าโลก   

  นอกจากการพัฒนาเศรษฐกิจ  ที่ถือเป็นแนวทางหลักของประเทศแล้วผู้นำเติ้งเสี่ยวผิงยังเล็งเห็นว่า  วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นพลังการผลิตอันดับหนึ่ง ที่ต้องส่งเสริมและได้รับการสนับสนุนให้ก้าวหน้า ควบคู่ไปกับการยกระดับคุณภาพผู้ใช้แรงงานด้วย   เติ้งเสี่ยวผิงเป็นบุคคลที่มีทุนทางปัญญา เพราะเขามีความคิดที่เฉียบแหลม แม่นยำและเป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล และชอบเรียนรู้ในสิ่งใหม่ ๆอย่างทันท่วงที  หรือที่เรียกว่า สด  อยู่ตลอดเวลา นายเติ้งเสี่ยวผิงยังให้ความสำคัญต่อการศึกษาอย่างมาก  ซึ่งถือให้การพัฒนการศึกษาสำคัญเหนือสิ่งอื่น ใด และนโยบายนี้ได้รับการสนับสนุนจากชาวสหรัฐอเมริกาเชื้อสายจีนที่มีชื่อเสียงในสหรัฐอเมริกา  ส่วนทางด้านอุตสาหกรรม  เติ้งเสี่ยวผิงได้มุ่งความสำคัญไปที่การศึกษาและรับเอานโยบายและประสบการณ์ของประเทศที่ พัฒนาแล้วมาใช้  จากการได้ใช้นโยบายทั้งสองข้อนี้แล้วทำให้ประเทศจีนได้พัฒนาก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว และนายเติ้งเสี่ยวผิงยัง เคารพความรู้  เคารพความสามารถของบุคคลอื่นด้วย   โดยได้ให้ทัศนะว่า กุญแจดอกสำคัญที่จะพาประเทศจีนก้าวสู่ความทันสมัยได้สำเร็จนั้น คือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ซึ่งต้องอาศัยการพัฒนาการด้านการศึกษาเป็นรากฐาน  การพูดเพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้เกิดความทันสมัยได้ จำเป็นต้องมีความรู้ความสามารถ หากไม่มีความรู้ความสามารถของคนก็ไม่เกิด  ดังนั้นต้องพัฒนาวิทยาศาสตร์ควบคู่กับการศึกษา อีกทั้งต้องส่งเสริมให้อุตสาหกรรมและธุรกิจต่าง ๆ สร้างหน่วยงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขึ้นพร้อม ๆ  กับส่งเสริมให้มีบุคลากรด้านนี้ด้วย  และควรให้ความสำคัญและเคารพความสามารถของคนทุกคน  โดยไม่จำกัดว่า บุคคลนั้นเป็นผู้ใช้กำลังกายหรือกำลังสมองเพราะทั้งสองฝ่ายต่างเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติ   ส่วนแนวความคิดนอกกรอบหรือแนวคิดเชิงสร้างสรรค์ของนายเติ้งเสี่ยวผิงเพื่อบรรลุภารกิจการรวมจีนเข้าเป็นเอกภาพเรื่องปัญหาของเกาะฮ่องกง  คือ  แนวคิด                  หนึ่งประเทศสองระบอบ   นี่ก็อีกเรื่องหนึ่งที่ไม่เคยมีใครได้ยินเลยในโลกนี้คำว่าหนึ่งประเทศสองระบอบและคือการได้อนุมัติให้ใช้สองระบอบในประเทศจีน และได้สะท้อนให้เห็นถึงความยืดหยุ่นในระดับสูงของเติ้งเสี่ยวผิงอีกทั้งได้เห็นความเด็ดเดี่ยวแน่วแน่ของเติ้งเสี่ยวผิง อีกนั่นคือการที่ การใช้  หนึ่งประเทศสองระบอบ  นั้นยังได้ให้แง่คิดต่อการแก้ไขข้อพิพาทระหว่างประเทศจีนด้วยสันติวิธี ด้วย  นี้คือ ทำให้เกิดความสมานฉันท์ในชาติ   เพราะ  แนวคิด  หนึ่งประเทศ สองระบอบ  ของเติ้งเสี่ยวผิงได้ถูกนำไปปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาเกาะฮ่องกงเป็นอันดับแรก  และปัญหาของมาเก๊าด้วยสันติวิธี โดยได้เกาะฮ่องกงและมาเก๊ากลับคืนสู่มาตุภูมิ และได้กลายเป็นเขตบริหารการปกครองพิเศษสองเขต คือ ฮ่องกง  มาเก๊า ขึ้นอยู่ในเขตเดียวกันซึ่งใช้ระบอบทุนนิยม  และนโยบาย หนึ่งประเทศสองระบอบ ก็ยังเหมาะสมกับการแก้ไขปัญหาในใต้หวันด้วยเช่นกัน  ความคิดด้านการต่างประเทศของเติ้งเสี่ยวผิง  นายเติ้งเสี่ยวผิงเป็นผู้วางแผนการปฏิรูปเปิดประเทศและการสร้างสรรค์แบบทันสมัย ของประเทศจีน ในขณะเดียวกันก็เป็นนักการทูตที่ยอดเยี่ยมท่านหนึ่งด้วย  ภายใต้การชี้นำของความคิดการต่างประเทศ ของนายเติ้งเสี่ยวผิงกิจการต่างประเทศของจีนได้ประสบผลสำเร็จอันอุดมสมบูรณ์  หัวใจสำคัญของความคิดด้านการต่างประเทศของนายเติ้งเสี่ยวผิงคือ  ได้  ยึดถือสถานการณ์ระหว่างประเทศเป็นที่ตั้ง โดยที่ท่านได้เสนอก่อนคนอื่นว่าสันติภาพและการพัฒนาเป็นปัญหาสำคัญสองปัญหาของโลกยุคปัจจุบัน ก่อนที่สงครามเย็นจะสิ้นสุดลง  เพื่อผลักดันการสร้างสรรค์แบบทันสมัยของจีน จีนต้องการบรรยากาศ  สันติภาพของโลกที่มั่นคงและเป็นระยะยาว  ต้องจัดการความสัมพันธ์กับประเทศรอบข้างให้ดี และแก้ไขปัญหาที่ตกทอดจากประวัติศาสตร์มากว่า  20  ปี  การพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับประเทศรอบข้างก็เป็นการแสดงออกให้เห็นความคิดด้านการต่างประเทศของ     นายเติ้งเสี่ยวผิง  นอกจากนี้เติ้งเสี่ยวผิงยังเป็นนักลัทธิมาร์กส์ผู้ยิ่งใหญ่อีกเพราะต้องผสมผสานสัจธรรมทั่วไปของลัทธิมาร์กส์ให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของประเทศจีนและประชาชนคนจีนทั้งประเทศ  ด้านการต่างประเทศที่มองได้ชัดเจนคือเติ้งเสี่ยวผิงกับทิเบตเพราะเติ้งเสี่ยวผิงแต่ไหนแต่ไรมาก็มีความสนใจในงานเกี่ยวกับชนชาติส่วนน้อย และสนใจการพัฒนาการของเขตชนชาติส่วนน้อยมาโดยตลอดเติ้งเสี่ยวผิงได้เน้นว่างานเกี่ยวกับชนชาติส่วนน้อยนั้นต้องยืนหยัดถือสภาพความเป็นจริงเป็นที่ตั้ง เพราะความจริงใจของนายเติ้งเสี่ยวผิงที่ได้รับใช้ชนชาติส่วนน้อยด้วยความจริงใจนี่เอง นี่ได้แสดงให้เห็นอย่างโดดเด่นถึงความคิดที่ได้แสวงหาสัจจะ จากความเป็นจริงทุกสิ่งทุกอย่างถือสภาพความเป็นจริงเป็นที่ตั้งและความเอาใจใส่ที่มีต่อชนชาติส่วนน้อยตลาอดจนการพัฒนาชองเขตท้องที่ชนชาติส่วน้อยที่อาศัยอยู่   และยังมีแนวคิด  4  ทันสมัยของ เติ้งเสี่ยวผิงที่เน้นการพัฒนาประเทศให้ทันสมัยใน ด้านการเกษตรกรรม  อุตสาหกรรม  วิทยาศาสตร์  และการป้องกันประเทศ  อีกด้วย  อีกช่วงหนึ่งที่สำคัญมาก คือช่วงพัฒนาการเรียนรู้เรื่องผู้อื่น    แล้วหาทางใช้เทคโนโลยีเพราะเติ้งเสี่ยวผิงได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาเป็อย่างมาก และสำคัญที่สุด :  ต้องมองการไกล  ต้องสร้างคน    ที่ประเทศจีนร่ำรวยขึ้นมาได้มาทุกวันนี้ ก็เพราะนายเติ้งเสี่ยวผิง มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล  คือ มอง  เหตุการณ์  ล่วงหน้า ทำล่วงหน้า และให้ความสำคัญกับเรื่อง คน และศึกษาอย่างเต็มที่ เพื่อหาข้อมูลให้ได้มากที่สุด เพราะศตวรรษนี้เป็นยุคข้อมูลสื่อสาร เราต้องมีข้อมูลเพื่อนำมาปฏิบัติ และนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ หลักการในการบริหารคนและองค์กรของนายเติ้งเสี่ยวผิง รู้จักเลือกคน รู้จักใช้คน  เติ้งเสี่ยวผิง กล่าวว่า ไม่ควรมองที่จุดด้อยของคนอื่น แล้วมองแต่จุดเด่นของตัวเอง เพราะถ้าพยายามมองจุดด้อยคนอื่นก็คิดว่าตัวเองเก่งอยู่ทุกครั้งทุกทีไป ต้องมองจุดเด่นของจุดเด่นของเขาให้เป็นประโยชน์ จึงสามารถทำงานใหญ่ได้    นายเติ้งเสี่ยวผิง มีเหตุผลว่า ไม่ว่าเทคโนโลยีหรือระบบเศรษฐกิจจะดำเนินไปได้หรือขยายตัวได้ และจะสำเร็จหรือไม่อยู่ที่คน      ทุกอย่างล้วนมาจากคน เงินก็มาจากคน เทคโนโลยีก็มาจากคน เขาถือว่า คนเป็นทรัพยากรที่สำคัญล้ำค่าอันเป็นหัวใจของทุกองค์กร จึงต้องมีคนที่มีความรับผิดชอบสูง มีความมานะพยายาม มีความรู้ ความสามารถ มีความซื่อสัตย์สุจริตอยู่ในองค์กรให้มาก ๆ จึงจะสามารถนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ  หากองค์กรอยากเจริญก้าวหน้าอย่างไม่สิ้นสุด ก็ต้องพัฒนาคนไม่มีสิ้นสุดเช่นกัน ต้องสร้างคนให้มีคุณภาพ เมื่อมีประสิทธิภาพก็เกิดประสิทธิผลในการทำงาน ซึ่งสร้างประโยชน์ต่อประเทศชาติและสังคม ไม่มีอะไรที่ให้สังคมได้ดีที่สุดเท่ากับการพัฒนาบุคลากรและให้การศึกษาที่ดีมีการเรียนรู้และให้มีความสามารถ  ประเทศชาติก็จะเจริญต่อไป   เติ้งเสี่ยผิงในการดำเนินธุรกิจและการทำงานให้ประสบความสำเร็จ มีองค์ประกอบ 4 ประการ   1.     นำจีนก้าวจากเศรษฐกิจแบบวางแผนสู่เศรษฐกิจการตลาดทำให้ประเทศจีน(ชาวจีน)มั่งคั่งขึ้นมา  2.     ก้าวจากวัฒนธรรมการเมืองแบบดั้งเดิมสู่วัฒนธรรมการเมืองประชาธิปไตย  ทำให้คนจีนมีความเชื่อมั่นขึ้นมา   ขยัน ไม่ขี้เกียจ อดทน มีมานะ รู้จักสรรหา ศึกษา เรียนรู้จากคนอื่น ขณะเดียวกัน ต้องมีความรับผิดชอบสูงทั้งต่อตัวเองและคนอื่น ๆ และสังคมด้วย 3.     ความเปลี่ยแปลงตั้งแต่คนรุ่นใหม่ไปจนถึงผู้อาวุโสคนจีนเรียนรู้ที่วางแผนการคลอดบุตรอย่างเหมาะสม 4.   จากวัฒนธรรมเกษตรดั้งเดิมยอมรับวัฒนธรรมตะวันตก  ชาวจีนได้มีอารยธรรมขึ้นมา เบื้องหลังความสำเร็จ การดำเนินการปฏิรูปพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศจีนภายใต้การนำของนายเติ้งเสี่ยวผิงรัฐบุรุษจีน  คือ  นโยบายประโยชน์  4  ประการ   1.     ความเปลี่ยนแปลง คือ ยิ่งมั่งคั่ง  ยิ่งไม่คิดให้กำเนิดบุตร เพราะชาวจีนได้ผ่านช่วงเวลายากจนก้าวสู่ความร่ำรวย  ที่เกินความคาดหมายแม้แต่ชาวจีนเอง คือการให้กำเนิดน้อย  ไม่อยากให้กำเนิดมาก  จนถึงไม่อยากให้กำเนิด ก็คือชาวจีนมีความเป็นอยู่ที่สูงขี้นอัตราการเกิดก็ย่อมลดต่ำลงโดยธรรมชาติประเทศชาติได้ประโยชน์ 2.     ยิ่งพัฒนา  ก็ยิ่งไม่อยากให้กำเนิดบุตร   3.     ยิ่งเปิดเสรี  ยิ่งไม่อยากให้กำเนิดบุตร  4.  ระดับวัฒนธรรมยิ่งสูง  ยิ่งไม่อยากให้กำเนิดบุตร  ประเทศจีนใช้เวลากว่า 25 ปี        ในการแก้ไขปัญหาเรื่องปากท้องของประชากรที่ยากจน จนถึงปัจจุบัน  และ   ทฤษฎีที่ได้นำมาจับกับนายเติ้งเสี่ยวผิง  1.  ทฤษฎี 8K’S ของ ดร.จีระ คือ ทฤษฎีทุน HR.    1.       HUMAN CAPITAL (ทุนมนุษย์)ทุนที่ได้มาจากความรู้พื้นฐานของการศึกษาในสถาบันการศึกษา คือ เติ้งเสี่ยวผิงเรียจบมาจากประเทศฝรั่งเศสและ มอสโคและเป็นผู้นำทฤษฎีมาร์กซิสม์มาใช้ในการปกครองและพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศจีน     2.     INTELLECTUAL CAPITAL (ทุนทางปัญญา)การมีปริญญาไม่สำคัญเท่ากับการมีปัญญาท่านมีความสามารถในการคิดเป็น วิเคราะห์เป็น มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล  พร้อมกับประสบการณ์ในชีวิตที่ได้ร่วมการปฏิวัติในประเทศจีน   เพื่อนำสิ่งต่าง ๆ ที่ผ่านมาในชีวิตของตัวท่านเองไปสร้างประเทศชาติให้ยิ่งใหญ่และให้มีความยั่งยืนในโลก      3.       ETHICAL CAPITAL (ทุนทางจริยธรรม)ความรู้ ความสามารถที่มีต้องใช้ในทางที่ถูกต้อง คือ ท่านเป็นคนดีมีคุณธรรม และ จริยธรรมที่สูงตลอดเวลาที่นายเติ้งเสี่ยวผิงได้บริหารประเทศชาติอยู่นั้นไม่เคยคดโกงประเทศชาติของตัวเองมีแต่ให้และช่วยเหลือสังคมมาตลอดชีวิตไม่เคยเห็นแก่ตัวคิดเอาสิ่งของ ๆ ชาติจีนมาเป็นของตัวท่านเอง  4.       HAPPINESS CAPITAL (ทุนแห่งความสุข)ทำในสิ่งที่ตนทำแล้วมีความสุข ไม่ว่าจะเป็นสุขกาย หรือสุขใจ คือ ท่านเติ้งเสี่ยวผิงรักในมาตุภูมิของท่านและทำทุกอย่างเพื่อประเทศชาติของท่านด้วยใจรัก และมีความสุขกับการพัฒนาและได้วางรากฐากระบบเศรษฐกิจของประเทศจีนมาจนถึงปัจจุบัน      5.       SOCIAL CAPITAL (ทุนทางสังคม)การรู้จักเข้าสังคม รู้จักวางตัว หน้าที่ บทบาท ทำให้เกิดการยอมรับในสังคม ทุกชนชั้นไม่ว่าชาติใดท่านเติ้งเสี่ยวผิงก็เป็ผู้นำที่ยิ่งใหญ่อยู่ในใจอยู่เสมอมาจนทุกวันนี้  6.       SUSTAINABILITY  CAPITAL (ทุนแห่งความยั่งยืน)ในยุคโลกกาภาวัตน์         ไร้พรมแดน การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเร็วมาก ต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ท่านเป็นผู้นำด้านธุรกิจโดยเป็นผู้วางรากฐานเศรษฐกิจจีนสมัยใหม่มาจวบจนปัจจุบัน7.       DIGITAL CAPITAL (ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ)ในโลกแห่งข่าวสาร เทคโนโลยีจำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ท่านพัฒนาความสามารถในด้าน IT      หรือการนำเอาวิทยาศาสตร์มาปรับปรุงเพื่อนำมาใช้ในระบบเศรษฐกิจ และพัฒนาบุคลากรและประเทศชาติของท่านให้มีความรู้ความสามารถและทันกับโลกปัจจุบัน    8.       TALENTED CAPITAL (ทุนทางความรู้ ทักษะ ทัศนคติ (MINDSET) ที่ถูกต้องในการทำงาน)ทุนนี้สำคัญสำหรับทรัพยากรมนุษย์ เพื่อการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เติ้งเสี่ยวผิงเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลและเป็นที่ยอมรับของในประเทศและต่างประเทศ  เพราะเติ้งเสี่ยวผิงเป็นผู้ที่มีความรู้ดี มีทักษะในการบริหารประเทศ  มีทัศนคติที่ดีและเป็นผู้เปลี่ยนแปลงทัศนคติของคนจีนทั้งประเทศ 

เติ้งเสี่ยวผิงมีภาวะผู้นำตามทฤษฎี ของ JACK WELCH ดังนี้ คือ   1.     มีการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศจีนให้ทันสมัย และ พัฒนาให้การศึกษากับประชาชนจีนให้เก่งขึ้น   ท่านมีวิสัยทัศน์กว้างไกลมองออกว่าประเทศจีนต้องการอะไรแล้วทำแล้วได้อะไรกลับมาบ้าง มองเห็นคุณค่าของคนอื่นและเคารพความรู้ เคารพความสามารถของบุคคล และให้ความสำคัญกับผู้ใช้กำลังกายหรือกำลังสมอง  เพราะทั้งสองฝ่ายต่างเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติของท่านเอง  2.     ท่านอยู่ในความรู้สึกของคนทั้งประเทศไม่ใช่เฉพาะประชาชนคนจีนเท่านั้นต่างประเทศ ก็ยังต้องยกย่องให้เติ้งเสี่ยวผิงเป็นรัฐบุรุษของโลกอีกคนหนึ่งและมี จิตวิญญาณของผู้นำอยู่ในปรัชญา แนวคิดตลอดเวลาที่ปกครองประเทศจีน   3.     ท่านมีคุณธรรม  จริยธรร ค่อนข้างสูง โปร่งใส เป็นที่ยอมรับในสังคมทุกด้าน  4.     ท่านกล้าตัดสินใจในการแก้ปัญหาทุกอย่างในประเทศจีน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาความยากจน  ปัญหาเศรษฐกิจ หรือ การเปิดประเทศจีนในยุคของท่าน การใช้นโยบาย หนึ่งประเทศ สองระบอบ   5.     ท่านเรียนรู้ตลอดเวลา + มีความอยากรู้อยากเห็น     6.     ท่านบริหารความเสี่ยงทุก ๆ ด้านของประเทศจีนและท่านพร้อมที่จะรับผิดชอบเมื่อเกิดปัญหาและปกป้องประเทศชาติด้วยชีวิต  2.ทฤษฎี 3 วงกลมเป็นทฤษฎีที่เป็นกลยุทธ์ในการพัฒนา + บริหาร HRท่านเติ้งเสี่ยวผิงเป็นผู้นำที่มี วิสัยทัศน์ที่กว้างไกลและถูกต้อง + สามารถระบุภารกิจที่ชัดเจนได้ก่อนจึงจะนำทฤษฎี 3วงกลม  มาปรับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้คือ

1.       CONTEXT (บริบท)พิจารณาจาก

 บริบทภายนอก  - เช่นท่านพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัตน์ , เศรษฐกิจ , การเมือง กฎหมาย ฯลฯ และเป็นผู้นำคนเดียวที่เปลี่ยนแปลงประเทศจีนให้ไปในทิศทางที่ดีขึ้นเป็นผู้วางแผนการปฏิรูปเปิดประเทศและการสร้างสรรค์แบบทันสมัยของจีนขณะเดียวกันท่านก็เป็นนักการทูตที่ยอดเยี่ยม มาจนถึงปัจจุบันนี้ และนี้คือความยั่งยืนในประเทศและประชาชนคนจีนทุกคน    บริบทภายในเช่นท่านได้พัฒนาประเทศจีน  ทั้ง  4 ด้าน ไม่ว่าจะเป็น ด้านการเกษตรกรรม  อุตสาหกรรม  วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการป้องกันประเทศ  เป็นวิธีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ฯลฯ     2.       COMPETENCIES (ศักยภาพ) + SKILLS (ทักษะ)พิจารณาจาก   ท่านเติ้งเสี่ยวผิงมีความสามารถอบรมและเปลี่ยนแปลงทัศนะคติของคนทั้งประเทศได้และให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะที่สามารถในการทำงานได้อย่างมี ประสิทธิภาพ       3.       MOTIVATION (การสร้างแรงจูงใจ)คือ ท่านตระหนักว่านอกจากบุคลากรมีความรู้ ความสามารถแล้วยังไม่พอตัวท่านเองต้องเป็นตัวอย่างในการที่จะกระทำโดยการนำเอาทฤษฎีของเติ้งเสี่ยวผิงเข้ามาใช้ในการปกครองจีนและพัฒนาทุกด้านจนเกิดความพร้อมและยอมของคนในประเทศและมีกำลังใจ มีทัศนคติที่ดีในการทำงาน ดังนั้นการสร้างแรงจูงใจและความศรัธาในตัวของผู้นำของจีนก็จำเป็นยิ่ง    เติ้งเสี่ยวผงมองความจริง (REALITY) ,  มองตรงประเด็น และเข้ากับสถานการณ์ (RELEVANCE) – ทฤษฎี 2 R’S  เติ้งเสี่ยวผิง ตระหนักถึงความสำคัญ  ท่านเห็นว่าการพัฒนาเศรษฐกิจที่ถือเป็นแนวทางหลักของประเทศแล้ว ผู้นำเติ้งยังเล็งเห็นว่า  วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นพลังการผลิตอันดับหนึ่งที่ต้องส่งเสริมสนับสนุนให้ก้าวหน้า  ควบคู่ไปกับการยกระดับคุณภาพผู้ใช้แรงงานปลดปล่อยความคิด  และค้นหาสัจจะ   จากความเป็นจริง  หากคนดีมีคุณภาพก็จะเกิดผลสำเร็จดีมีประสิทธิภาพ เพื่อส่งเสริมให้เศรษฐกิจของจีนดีขึ้นได้ ท่านตระหนักว่า 1.     ต้องส่งเสริมให้คนมีความรู้ มีปัญญา สามารถรับการเปลี่ยนแปลงได้2.     ส่งเสริมให้ตระหนักถึงความต้องการของลูกค้า3.     ผู้บริหารต้องมีภาวะผู้นำที่ดี  คนดีมีคุณภาพ เริ่มจาก ต้นน้ำ                    -  คือการสรรหาคนเก่ง คนดี  ระหว่างทางน้ำทำให้คนในองค์กรเก่ง + ดี โดยใช้เครื่องมือหรือความรู้ความมีปัญญา  มีไหวพริบ  ปลายน้ำ ให้คนเก่ง คนดี ใช้ความรู้ความสามารถเพื่อส่วนรวม 3.  นายเติ้งเสี่ยวผิง มีบทบาทการเป็นผู้นำที่ดี เพราะ1.     ไม่ได้ให้ความสำคัญกับตนเองมาก คือ ไม่มี EGO สูง    2.     มองการณ์ไกลในอนาคต     3.     มีคุณธรรม-จริยธรรม    4.     วางรากฐานเศรษฐกิจภายในประเทศทันสมัย   5.     บริหารแบบควบคุมไปกับการนำทฤษฎีของเติ้งเสี่ยวผิง 6.มีจุดยืนและนโยบายเด่นชัดในปัญหาเกาะฮ่องกง        เติ้งเสี่ยวผิงรู้จักการเอาชนะความลำบาก อุปสรรคโดย1.     คิดทุกอย่างเป็นยุทธศาสตร์ + ยุทธวิธี +ทฤษฎี    2.     มีเพื่อนร่วมงานดี ทำงานร่วมกันได้    3.     ตัดสินใจเร็ว + เด็ดขาด     4.     วางแผนโดยใช้ทรัพยากรที่จำกัดให้ได้ผลสูงสุด5.     สร้างแรงจูงใจและความศรัธาให้กับประชาชนทั้งประเทศ    6.     เข้า
กราบเรียน  ท่านอาจารย์ ศ.ดร  จีระ  หงส์ลดารมภ์                 เนื่องจากในวันขึ้นปีใหม่ไทย (วันสงกานต์)  ดิฉันในฐานะลูกศิษย์ของท่านอาจารย์ ศ.ดร จีระ หงส์ลดารมภ์ ขอให้ท่านอาจารย์มีสุขภาพ ร่างกาย สมบูรณ์  แข็งแรง  ตลอดปีใหม่นี้ค่ะ                                นางสาวอรุณรุ่ง  พึ่งร่วมกลาง  ID 006150012  (MPA.)  STAMFORD INTERNAIONAL  UINVERSITY                   คุณเอ  ได้ส่งการบ้านประวัติผู้นำแล้วนะค่ะ เมื่อวันที่ 5/4/2550
            กราบเรียนท่าน  ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพ และสวัสดีท่านผู้อ่าน Blog ทุกท่าน           ดิฉันนางสาวทัศวรรณ  วังคะฮาด  นักศึกษาคณะ MPA มหาวิทยาลัยแสตมฟอร์ด  ดิฉันขออนุญาตส่งงานที่ได้รับมอบหมายจากการเรียนวิชาภาวะผู้นำ กับท่าน ศ.ดร.จีระฯ ที่ยังไม่ได้ส่ง จำนวน 3 ครั้ง ดังนี้ (1) สรุปความรู้วันที่เรียนกับ Mr. Leigh Scott และท่าน ดร.พิทยา พุกมาน พร้อมกับ อ.ยม  นาคสุข เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2550  (2) งานที่ท่านมอบหมายวันที่ 11 กุมภาพันธุ์ 2550 คือให้เขียนประวัติโดยย่อของนักศึกษา  (3) สรุปผลงานและประวัติโดยสังเขปของผู้นำที่นักศึกษาเลือกมาเป็นผู้นำที่ชอบ    และขอกราบขอบพระคุณท่าน ศ.ดร.จีระฯ พร้อมคณะที่ได้ถ่ายทอดความรู้ให้นักศึกษาซึ่งเป็นประโยชน์ยิ่ง  ทั้งนี้จะได้นำความรู้และประสบการณ์ที่ท่านถ่ายทอดให้กับนักศึกษาไปใช้เป็นประโยชน์ต่อไป  Ø     เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2550 ก็นับว่าเป็นโอกาสที่ดีของคณะนักศึกษา MPA   ได้รับความรู้จาก Mr.Leigh Scott และท่าน ดร.พิทยา พุกมาน ซึ่งท่านเป็นอดีตเอกอัครราชทูตประจำประเทศญี่ปุ่น  และลาตินอเมริกา  รวมทั้ง อ.ยม นาคสุข ท่านทั้งสามได้มาให้ความรู้กับนักศึกษาคณะ MPA โดยสรุปได้ดังนี้  

        Mr.Leigh Scot   ท่านได้สรุปถึงรูปแบบหรือพฤติกรรมของบุคคลว่ามี 4 แบบ คือ

  

I = Intuitor ช่างคิด คาดการณ์ ชักนำ

 

 

T=Thinking วิเคราะห์  มีเหตุผล

 

 

F=Feeler     เชื่อมโยง  เข้าใจอารมณ์และสนองตอบ

 

 S=Senser         เน้นประสบการณ์ของตน  ซึ่งถ้าผู้มีคุณสมบัติที่ครบทั้ง 4 แบบ  นี้ ก็จะเป็นผู้นำที่ดี  และ Mr.Leigh Scot ยังได้พูดถึงเรื่องการสื่อสารทางอีเมล์ ว่าต้องเป็นการสื่อสารที่ดี  คือการใช้ภาษาต้องสุภาพ  มีความรอบคอบในเรื่องการใช้ไวยกรณ์มีความถูกต้อง  เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้รับสาร  จากนั้น Mr.Leigh Scot ยังได้พูดถึงการเป็นผู้นำนั้นต้องทราบและรับรู้ถึงพฤติกรรมของลูกน้องด้วยเพื่อจะได้นำมาเป็นข้อมูลในการบริหารจัดการในองค์กรให้เข้ากับพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของผู้นำและองค์กร เช่น ถ้าลูกน้องเป็นคนชอบมาสายหรือไม่ขยัน  จะต้องนำวิธีที่จะทำให้ลูกน้องนั้นไม่มาสายและขยันมาปรับแก้  

ดร.พิทยา  พุกมาน      ท่านได้บรรยายถึงการบริหารและเศรษฐกิจของประเทศที่มีลักษณะเป็นผู้นำอย่างญี่ปุ่น และเปรียบกับทางลาติอเมริกา  ที่ท่านได้เคยเป็นเอกอัครราชทูตมา  ซึ่งสรุปได้ถึงปัจจัยที่ทำให้ญี่ปุ่นมีความเจริญและถือเป็นประเทศที่มีการพัฒนาสูง ดังนี้

 

 

1.  เป็นประเทศที่มีวินัย  ตรงต่อเวลา

 

 

2.  การบริหารดี  ประหยัด

 

 

3.  มีความขยันและอดทน

 

 

4.  ทำงานเป็นทีม

 

 

5.  ชอบศึกษา และใฝ่รู้อยู่เสมอ

 

 

6.  รักความสะอาด  ความบริสุทธิ์

 

 

7.  มีความรับผิดชอบต่อสังคมที่อยู่อาศัย

 

 

8.  มีมารยาททางสังคม

 

 

9.  มีความหยิ่งในศักดิ์ศรี

 

        10.  มีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ

สำหรับลาตินอเมริกานั้นยังไม่ค่อยมีวินัยในทางการเงิน  ซึ่งถ้าจะเปรียบเทียบในด้านทั้งเศรษฐกิจ  การเมือง  และสังคมแล้ว ถือว่ายังด้อยกว่าทางเอเชียตะวันออกอยู่  แต่อย่างไรก็ตามประเทศไทยก็ควรจะนำสิ่งทีดีของญี่ปุ่นมาปรับใช้เพื่อให้ก้าวเป็นประเทศที่พัฒนาต่อไปหรือนำข้อเสียของลาตินอเมริกามาเป็นบทเรียนได้

 Ø     เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2550 ท่าน ศ.ดร.จีระฯ ได้สอนสรุปในชั่วโมงสุดท้ายและให้นักศึกษาได้เขียนประวัติของตนเองที่เกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำ ซึ่งดิฉันขอสรุปประวัติโดยย่อค่ะ  

ประวัติโดยย่อ นางสาวทัศวรรณ  วังคะฮาด 

ประวัติส่วนตัว 

ชื่อ นางสาวทัศวรรณ  วังคะฮาด เกิด        12  ตุลาคม ภูมิลำเนาเดิม จ.กาฬสินธุ์ ที่อยู่ปัจจุบัน 1614/432 ม.6 ต.ท้ายบ้านใหม่ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 10280 อาชีพ  รับราชการ  ตำแหน่ง  เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล 5  สังกัด สำนักกฎหมายและระเบียบกลาง  สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี  สำนักนายกรัฐมนตรีชื่อบิดา นายเตย วังคะฮาด อาชีพ เกษตรกรรม ชื่อมารดา นางน้อม วังคะฮาดอาชีพ เกษตรกรรม

ประวัติการศึกษา 

2531 จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จาก ร.ร.บ้านห้วยแดง  จ.กาฬสินธุ์2534 จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  จาก ร.ร.หนองสูงสามัคคีวิทยา จ.มุกดาหาร

2538 จบ ปวช. (สาขาการบัญชี) จาก ร.ร.พณิชยการกาฬสินธุ์  จ.กาฬสินธุ์ 

2542 จบ ปวส. (สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ) จาก ร.ร. พณิชยการกาฬสินธุ์ จ.กาฬสินธุ์2545 จบปริญญาตรี (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง  

ประวัติการทำงาน  

   2541 เข้ารับราชการตำแหน่ง จ.บันทึกข้อมูล  1    สังกัดกองกฎหมายและระเบียบ  สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี 

  2545 ตำแหน่ง จ.บันทึกข้อมูล  3 สำนักกฎหมายและระเบียบกลาง  สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี    

2548-2549  ตำแหน่ง จ.บันทึกข้อมูล 5 ช่วยราชการสำนักงานรองนายกรัฐมนตรี (พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์) 

 ปัจจุบัน ตำแหน่ง จ.บันทึกข้อมูล 5 ช่วยราชการสำนักงานรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล)   

       สำหรับชีวิตการทำงานของดิฉันนั้นถือว่าโชคดีมากที่ได้มีโอกาสเข้ามาทำงานที่ทำเนียบรัฐบาล  ซึ่งเป็นสถานที่ทำงานของผู้นำระดับนายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรี    เป็นส่วนกลางของการบริหารราชการแผ่นดิน  ตลอดจนเป็นสถานที่ที่ใช้รับรองแขกที่มาเยือนรัฐบาล และเป็นสถานที่ใช้ประชุมคณะรัฐมนตรี  จึงทำให้ดิฉันได้เรียนรู้และเก็บเกี่ยวประสบการณ์การทำงานซึ่งเป็นงานด้านนโยบายของประเทศ  และสัมผัสกับผู้นำและแนวทางการบริหารของผู้นำแต่ละท่าน  และยิ่งดิฉันได้เรียนรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นำจาก ศ.ดร.จีระฯ ทำให้ดิฉันได้รู้ว่าผู้นำแต่ละท่านเป็นอย่างไร ทฤษฎี Leadership ข้อใดที่ท่านผู้นำคนไหนมีมากที่สุดและควรนำมาใช้และพัฒนาตนเอง และข้อใดที่ท่านผู้นำมีน้อยเพื่อนำไปพัฒนาและปรับปรุงตนเองต่อไปค่ะ 

------------------------------------------------------------------------------------------- 

Ø     เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2550  นักศึกษาคณะ MPA  จำนวน 8 คน ที่ยังไม่ได้ทำการสอบปากเปล่าเรื่องผู้นำที่ชอบและที่เป็น Role Model  สำหรับตนเอง ได้ไปสอบกับท่าน ดร.จีระฯ ที่สำนักงานปิ่นเกล้า พร้อมนี้ท่านได้ให้นักศึกษานำข้อมูลของผู้นำที่เลือกมาลง Blog ด้วย  ซึ่งดิฉันได้เลือก ศ.ดร.ปุระชัย  เปี่ยมสมบูรณ์  เป็นผู้นำที่ชอบค่ะ  ซึ่งดิฉันคิดว่าชีวิตของบุคคลระดับผู้นำนั้นน่าสนใจ และน่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากวิถีชีวิต หลักคิด และมุมมอง ของท่านไม่ธรรมดา มีความล้ำลึกเป็นพิเศษ ที่เรียกว่าพิเศษ อาทิเช่น สมองดีเป็นพิเศษ ความจำดีเป็นเลิศ ขยันเป็นเยี่ยม อดทนเป็นยอด แนวคิดทันสมัย มีความเป็นสากล รวมทั้งวิสัยทัศน์กว้างไกล

          ศ.ดร.ปุระชัย  เปี่ยมสมบูรณ์  คนดีไม่มีเสื่อม ซื่อสัตย์ ตรงไปตรงมา ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ประจำตัวท่านและเป็นที่รู้จักของทุกคนเพราะท่านเป็นคนมีคุณธรรมและจริยธรรมสูงมาก  ท่านเป็นบุคคลระดับผู้นำคนหนึ่งที่ประสบความสำเร็จในชีวิตทั้งด้านการงานและด้านครอบครัว ซึ่งท่านเป็นคนที่มีอุปนิสัยเป็นคนที่ชอบการแสวงหาความรู้ และเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ท่านเป็นคนที่มีทุนทั้ง 8 ประการ ครบถ้วน ตามทฤษฎี 8 K’s ของท่าน ดร.จีระฯ  ก็คือ (1) Human Capital  (2) Intellectual Capital  (3) Ethical Capital  (4) Happiness Capital (5) Social Capital (6) Sustainability Capital (7) Digital  Capital (8) Talented Capital   โดยพื้นฐานท่านเป็นคนที่มีการศึกษาดีและเรียนเก่งมาตั้งแต่เด็ก ด้านชีวิตครอบครัวท่านเป็นพ่อที่แสนดีของลูก และเป็นผู้นำที่ดีของครอบครัว ท่านยังมี Heritage – รากเหง้า  Head – คิดเป็น  Heart  มีคุณธรรม และ Happiness – มีความสุข ความสมดุลในชีวิต ตามทฤษฎี 8H ของคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ ด้วย 

          ทุนที่ท่านมีมากที่สุดคือ Ethical Capital หรือทุนทางจริยธรรม Human Capital หรือทุนมนุษย์ และ Talented Capital  หรือทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ  ซึ่งเป็นภาพที่ทำให้คนมองเห็นว่าท่านเป็นคนดีของสังคมไทยโดยแท้จริง ซึ่งก็ส่งผลให้ท่านได้เข้ารับหน้าที่เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติในขณะนี้ 

         โดยตลอดระยะเวลาในการทำงานของท่านปุระชัย ท่านได้ยึดหลักในการทำงานโดยใช้หลักย่อว่า “IDEAL” 

        I  ย่อมาจาก  Innovation  แปลว่า นวัตกรรม

        ท่านปุระชัยกล่าวว่า เมื่อเวลาเปลี่ยนไปองค์กรจะต้องมีการปรับเปลี่ยน เปรียบเสมือนการดูแลสิ่งมีชีวิต จะต้องได้รับการดูแลในแต่ละช่วงเวลาที่แตกต่างกันไป เช่นเดียวกับการบริหารงานเราต้องนำนวัตกรรมใหม่ ๆ หรือแนวคิดใหม่ ๆ มาใช้ในการบริหาร ซึ่งศัตรูที่ร้ายแรงที่สุดขององค์กร คือ การรักษาสภาพเดิมให้คงอยู่ หน่วยงานใดที่ยังคงสภาพอยู่กับที่หรือก้าวไปอย่างช้า ๆ ก็จะทำให้องค์กรนั้นไม่ทันและอาจกล่าวได้ว่าเป็นการถอยหลังเนื่องจากกระแสโลกจะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และท่านได้กล่าวอีกว่าการหานวัตกรรมหรือสิ่งใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นได้สิ่งสำคัญขึ้นอยู่กับการเรียนรู้แบบยึดหลักองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) อันได้แก่ การทำงานโดยอาศัยความรู้ทางวิทยาการใหม่ ๆ ทุกวัน เป็นการทำงานแบบมีการวางแผน มีการนำไปปฏิบัติจริง และมีการประเมินผลการดำเนินงานที่ผ่านมา เพื่อนำมาปรับแผนใหม่คล้ายกับขดลวดที่ทำงานเป็นวงจรและค่อย ๆ สูงขึ้น  โดยหลักในข้อนี้ก็จะตรงกับทฤษฎี 5 K’s ของท่าน ศ.ดร.จีระฯ  คือ Innovation Capital หรือทุนทางนวัตกรรม

           D  ย่อมาจาก Dedication  แปลว่า ความทุ่มเทอุทิศตน 

         คือการทำงานที่พึงมีความรับผิดชอบอยู่ในงานตลอดเวลามีความอดทนในการปฏิบัติงาน ตรงต่อเวลา และควรปฏิบัติงานด้วยความจริงใจ และตั้งใจ โดยเต็มกำลังความสามารถ มีความขยันหมั่นเพียรไม่ย่อท้อต่อปัญหาและอุปสรรค มีความเสียสละเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม ไม่แสวงหาผลประโยชน์ใด ๆ อันมิควรได้ ท่านได้กล่าวไว้ว่า ท่านจะไม่ยอมรับทรัพย์สินจากคนโกงเด็ดขาด เพราะเปรียบเสมือนกับน้ำเน่า น้ำครำ ท่านจะไม่เอามาผสมกับน้ำดี ทำให้ทรัพย์สินที่หามาได้ด้วยความสะอาดบริสุทธิ์ ด้วยหยาดเหงื่อแรงงานต้องแปดเปื้อนไปด้วย  

        E  ย่อมาจาก   Experimentation  แปลว่า  การศึกษาทดลอง

        ท่านปุรชัยฯ กล่าวว่า การนำนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ทุกอย่างต้องมีความเสี่ยง กำไรขึ้นอยู่กับความเสี่ยง อย่างเช่นผู้นำต้องเสี่ยงต่อการแก้ไขปัญหาของชาติ ถ้าสำเร็จก็ภูมิใจ ผู้นำต้องทำตัวแบบนักสำรวจจึงจะทำให้องค์กรก้าวไปอย่างมีอนาคต  เช่นงานราชการเป็นงานแบบ Endless job คือ ไม่มีที่สิ้นสุด มีแต่จะพัฒนาให้ดีขึ้นไม่มีจบสิ้น ดังนั้นการทำหน้าที่ของผู้นำจึงไม่มีคำว่าสิ้นสุด เพราะการบริหารถือเป็นหัวใจของความสำเร็จทั้งหมด ผู้นำต้องหาความรู้ทางวิทยาการใหม่ ๆ ทั้งจากสิ่งรอบตัว ทั้งในองค์กรและนอกองค์กร แล้วนำความรู้นั้นมาวิเคราะห์และปรับใช้กับตนเองอย่างถูกต้องเหมาะสมและเพื่อนำมาพัฒนาองค์กรอยู่ตลอดเวลา ซึ่งก็ตรงกับกับทฤษฎี 5 K’s คือ Knowledge Capital หรือทุนทางความรู้  

 A  ย่อมาจาก Adaptation แปลว่า

การปรับตัว 

           คือต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพราะยุคนี้เป็นยุคแห่งการแข่งขันต้องเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ดี (Change Agent) มีทัศนคติที่ยอมรับความเปลี่ยนแปลง กล้าคิดนอกกรอบและกล้าที่จะแสวงหาสิ่งใหม่ ๆ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่หาความรู้อย่างต่อเนื่อง สำรวจปรับปรุงตนเองและทำงานในหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ท่านยกตัวอย่าง เช่น การทำงานใน 10 ปี ถ้าทำงานเหมือนเดิมทุกปีจะถือว่าเป็นเพียงประสบการณ์ 1 ปีเท่านั้น เนื่องจากเป็นการทำงานแบบเดิมที่ซ้ำซากจำเจถึง 10 ปี ดังนั้นแต่ละปีต้องปรับตัวอยู่ตลอดเวลา จึงจะเป็นองค์กรที่เคลื่อนที่ไปข้างหน้า  ตรงกับทฤษฎี 5 K’s คือ Creativity Capital หรือทุนทางความคิดสร้างสรรค์  

 L ย่อมาจาก Leadership  แปลว่า ภาวะผู้นำ 

   ท่านปุระชัยกล่าวว่า ผู้นำต้องยึดหลักคุณธรรม ความถูกต้อง

    และผลประโยชน์ส่วนรวมในการบริหารงาน โดยการบริหารงานที่มีผลสัมฤทธิ์ดีที่สุดต้องมีคุณธรรมควบคู่กับจริยธรรม ผู้นำต้องกล้าคิด กล้าพูด กล้าทำ และกล้ารับผิดชอบ บนพื้นฐานของความถูกต้องและชอบธรรม พึงปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ต้องเปิดใจกว้าง รับฟังความคิดเห็นของคนอื่น และร่วมมือในการทำงานเป็นทีม เป็นผู้มีวิสัยทัศน์ เรียนรู้และพัฒนาศักยภาพส่วนบุคคล งาน และองค์กรอย่างไม่หยุดนิ่ง เพื่อไปสู่การได้รับความเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับ ปฏิบัติต่อผู้ร่วมงานในองค์กรอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม          ท้ายนี้ดิฉันอยากฝากบทความที่ท่านปุระชัยฯ ได้กล่าวไว้ว่า   สิ่งใดก็ตามที่เราทำเพื่อตัวเราเองมันก็จะตายไปพร้อมกับเรา แต่สิ่งใดก็ตามถ้าเราทำเพื่อประเทศชาติสิ่งนั้นจะเป็นอมตะ         ท่านจะเห็นว่า มหาราช หรือ มหาบุรุษ แต่ละท่านยิ่งใหญ่เพราะท่านไม่ได้ทำเพื่อตัวเองเป็นหลัก แต่เพื่อสังคม เพื่อมวลมนุษยชาติ เพื่อสรรพสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง แต่ใครก็ตามที่คิดว่าทำเพื่อตัวเอง เพื่อกลุ่มเล็ก ๆ ของตนแล้ว คนเหล่านั้นจะจบลงอย่างน่าเสียดาย

    

 

ศ.ดร.ปุระชัย  เปี่ยมสมบูรณ์

                “คนดีสังคมไทย

ประวัติส่วนตัว

         ศ.ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ เกิดวันที่ 1 สิงหาคม 2493 ที่จังหวัดปราจีนบุรี เป็นบุตรคนที่สองของ พล.ต.ต.ชวน และ นางโปรยทิพย์ เปี่ยมสมบูรณ์ สมรสกับผู้ช่วยศาสตราจารย์สมศรี (เครือวิทย์) เปี่ยมสมบูรณ์  มีบุตรชาย ๒ คน และธิดา ๑ คน 

 การศึกษา

  •  พ.ศ. 2509   มัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเซนต์คาเบรียล 
  • พ.ศ. 2511   มัธยมศึกษาปีที่ 5  โรงเรียนเตรียมทหาร 
  •   พ.ศ. 2515   รัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิตโรงเรียนนายร้อยตำรวจ                                
  •  พ.ศ. 2518   Master of Science, Michigan State University  สหรัฐอเมริกา (ทุน ก.พ.) 
  •  พ.ศ. 2522   Ph.D., Florida State University สหรัฐอเมริกา   (ทุน ก.พ.)  

ประวัติการทำงาน

  •  พ.ศ. 2530-2532  คณบดีคณะรัฐศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์    
  • พ.ศ. 2532-2534  รองอธิการบดีฝ่ายวางแผน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์       
  • พ.ศ. 2534-2538  อธิการบดี  สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์  
  • พ.ศ. 2540-2544  อธิการบดี มหาวิทยาลัยชินวัตร        
  • พ.ศ. 2544-2545  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย        
  • พ.ศ. 2545-2546  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม       
  •  พ.ศ. 2545-2546  รองนายกรัฐมนตรี        
  • ปัจจุบันมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ  

เกียรติประวัติ

  •  ได้รับโล่รางวัลคะแนนเฉลี่ยสูงสุด จากโรงเรียนนายร้อยตลอด 4 ปี        
  • ได้รับโล่รางวัลความประพฤติดีประจำปี 2511 จาก ร.ร. นรต.        
  •  ได้รับทุนรัฐบาลไทยไปศึกษาต่อระดับปริญญาโทและปริญญาเอกในสหรัฐอเมริกา        
  •  ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสมาคมนักศึกษาเกียรตินิยม ระดับชาติของฟีแคปปาฟี และของสมาคมเกียรตินิยามสาขากระบวนการยุติธรรมของ อัลฟา ฟี ซิกมา จากมหาวิทยาลัยฟลอริดาเสตท สหรัฐอเมริกา       
  • ได้รับคัดเลือกเป็นสมาชิกของ Who’s Who Away Students in AmericanUniversities and Colleges สหรัฐอเมริกา        
  •  นักศึกษาดีเด่นของ Florida State University       
  • รางวัลนักเรียนเก่าดีเด่น (Hubert Award) ร.ร.เซ็นต์คาเบียล        
  • รางวัลเกียรติยศดาว ร.ร.เตรียมทหาร        
  •  รางวัลผลการวิจัยดีเยี่ยมสาขาสังคมวิทยา  สภาวิจัยแห่งชาติ        
  • รางวัลนักรัฐประศาสนศาสตร์ดีเด่นจากสมาคม รัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย ในฐานะนักบริหารรัฐกิจผู้มีผลงานริเริ่มสร้างสรรค์สังคมด้านความซื่อสัตย์และอุทิศตนในปี พ.ศ. 2538        
  • รางวัลคนดีสังคมไทย ของมูลนิธิเพื่อสังคมไทย ในปี 2541       
  • รางวัลบุคคลผู้เป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคมไทย จากสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ร่วมกับรายการคนต้นแบบ ในปี 2544        
  • รางวัลบุคคลดีเด่นในสายตาช่างภาพสื่อมวลชน สาขานักการเมืองดีเด่นจากสมาคมช่างภาพสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2545       
  • รางวัลผู้แต่งกายดีเด่นประเภทผู้บริหารระดับสูงภาคราชการและการเมือง จากสมาคมช่างตัดเสื้อไทย ในปี พ.ศ. 2545        
  •  รางวัลเกียรติคุณเป็นผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเยาวชนสาขาพัฒนาเยาชน จากคณะกรรมการจัดงานเยาวชนแห่งชาติ ในปี 2545        
  • รางวัลเกียรติคุณเพชรสยาม สาขาการบริหารและการปกครอง ทางการจัดระเบียบสังคม จากสถาบันราชภัฏจันทรเกษมในปี พ.ศ. 2545        
  • รางวัลสัญลักษณ์แห่งเกียรติคุณเป็นบุคคลสาธารณะสาขาอาชีพนักการเมืองดีเด่นในด้านการใช้ภาษาไทย จากประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ในปี พ.ศ. 2545 

------------------------------------------------

นางสาวชนากานต์ วังคะฮาด
กราบเรียน ท่าน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมณ์สวัสดีนักศึกษาปริญญาโท ทุกท่าน  ดิฉันเป็นนักศึกษา MPA. ม.แสตมฟอร์ด เป็นลูกศิษย์คนหนึ่งของท่าน ดร.จีระ หงส์ลดารมณ์  วันนี้ดิฉันเลือกผู้นำที่ควรยกย่องและตัวดิฉันเองชื่นชอบท่าน  เพราะท่านเป็นบุคคลที่มีทุนทางจริยธรรมสูง และถ้าเปรียบเทียบเข้ากับ ทฤษฎี 8 K’s ของท่าน  ดร.จีระ แล้วมีอยู่หลาย K’s ที่ตรงกับตัวท่าน  ถ้าเอ่ยถึงบุคคลดังกล่าวทุกท่านคงรู้จักกันดีเพราะท่านได้ทิ้งมรดกให้พวกเราได้จดจำและได้รู้จักคำว่าประชาธิปไตย   จากลูกชาวนาสู่ผู้อภิวัฒน์ 2475 ผู้นำเสรีไทยแต่สุดท้ายเป็นคนดีที่เมืองไทยไม่ต้องการ  บุคคลผู้นี้คือ   ศ.ดร.ปรีดี  พนมยงค์   ประวัติของ ศ.ดร.ปรีดี  พนมยงค์   ปรีดี  พนมยงค์  :  เกิดเมื่อวันที่ 11  พฤษภาคม พ.ศ. 2443  ถือกำเนิดในเรือนแพหน้าวัดพนมยงค์  อำเภอกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา    บิดาชื่อ  : นายเสียง เป็นคนเชื้อสายจีนแต้จิ๋ว  ซึ่งมีบรรพบุรุษข้างปู่สัมพันธ์กับพระเจ้าตากสิน  มารดาชื่อ  : นางจันทน์  สืบเชื้อสายมาจากพระนมแห่งกษัตริย์พระองค์หนึ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา ชื่อ "ประยงค์"  ซึ่งเป็นผู้สร้างวัดห่างจากกำแพงพระราชวังด้านตะวันตกชื่อ วัดนมยงค์ หรือ "พนมยงค์"   เมื่อครั้งมีการประกาศพระราช บัญญัติขนานนามสกุล พ.ศ. 2456 ครอบครัวนี้จึงได้ใช้นามสกุลว่า "พนมยงค์" การศึกษา   :  สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่โรงเรียนวัดศาลาปูน อำเภอกรุงเก่า  : เข้าศึกษาต่อชั้น มัธยมเตรียมที่โรงเรียน    สวนกุหลาบ    : เข้าศึกษาที่โรงเรียน กฎหมาย กระทรวงยุติธรรม    : ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2460 จึง สอบไล่วิชากฎหมาย ชั้นเนติบัณฑิตได้ เมื่ออายุเพียง 19 ปี ต่อมาเมื่ออายุ 20 ได้รับการแต่งตั้ง ให้เป็นสมาชิกเนติ บัณฑิตยสภา   : ได้ไปเรียนต่อกฎหมายที่ประเทศฝรั่งเศส   เข้าเรียนชั้นปริญญาตรีทางกฎหมาย ที่มหาวิทยาลัยก็อง(Univesite de Caen) นายปรีดีได้รับ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ทางกฎหมาย(Docteur en Droit) และสอบไล่ได้ประกาศนียบัตรทางการศึกษาชั้นสูงในทางเศรษฐกิจ(DiplÔmed'  Economie  Politique ) จากมหาวิทยาลัยปารีส เมื่ออายุได้ 26 ปี สถานภาพ   :  สมรสกับ ท่านผู้หญิงพูนสุข พนมยงค์
นางสาวชนากานต์ วังคะฮาด
ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2496 ปรีดี  พนมยงค์ ได้ร่วมกับเพื่อนอีก 6   คน คือ ร.ท.ประยูร  ภมรมนตรี, ร.ท.แปลก  ขีตตะสังคะ(หลวงพิบูลสงคราม) นักศึกษา วิชาทหารปืนใหญ่, ร.ต. ทัศนัย  มิตรภักดี นักศึกษาวิชาการทหารม้า, นายตั้ว  ลพนุกรม นักศึกษาวิทยาศาสตร์ ระดับปริญญาเอกในสวิตเซอร์แลนด์, หลวงสิริราชไมตรี (จรูญ  สิงหเสนี) ผู้ช่วยเลขานุการทูตประจำกรุงปารีส และนายแนบ  พหลโยธิน  เนติบัณฑิตอังกฤษ ประชุม ครั้งแรกในการก่อตั้งคณะราษฎร  ที่หอพัก Rue du summerard ในกรุงปารีส เพื่อตกลงที่จะทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากกษัตริย์เหนือกฎหมาย  มาเป็นการปกครองที่มีกษัตริย์ใต้กฎหมาย โดยใช้วิธีการยึดอำนาจโดยฉับพลันและจับกุมบุคคลสำคัญไว้เป็นตัวประกัน ซึ่งเป็นยุทธวิธีที่ใช้สำเร็จมาแล้วในการปฏิวัติ ฝรั่งเศส และรัสเซีย อีกทั้งเป็นการป้องกันมิให้ประเทศ มหาอำนาจอังกฤษและฝรั่งเศสถือโอกาสยกกำลังทหาร เข้ามายึดสยามขณะที่เกิดความไม่สงบภายในประเทศ ที่ประชุมตกลงกันว่า เมื่อกลับประเทศแล้วหากการ ก่อการครั้งนี้ล้มเหลวหรือพ่ายแพ้ ให้นายแนบ พหลโยธิน ซึ่งมีฐานะดีกว่าเพื่อนเป็นผู้ดูแลครอบครัวของเพื่อนที่ติดคุกหรือตาย                                       

นายปรีดีเดินทางกลับเมืองไทยขณะอายุได้ ๒๖ ปี ถือว่าเป็นคนไทยคนแรก ที่จบดุษฎีบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยปารีส นายปรีดีเข้ารับราชการเป็นผู้พิพากษา ประจำกระทรวงยุติธรรม ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ เป็นหลวงประดิษฐ์มนูธรรม นอกจากนี้ ยังเป็นผู้สอนในโรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรม นับเป็นอาจารย์กฎหมายหนุ่มชื่อดังมากในเวลานั้น นายปรีดีเปิดการอบรมทบทวนวิชากฎหมาย ให้แก่นักเรียนกฎหมาย ที่บ้านถนนสีลมโดยไม่คิดค่าสอน เป็นโอกาสให้นายปรีดีได้เผยแพร่อุดมการณ์ ความจำเป็น ในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยให้แก่คนรุ่นใหม่ ซึ่งต่อมาลูกศิษย์จำนวนมากของนายปรีดีได้เป็นกำลังสำคัญ ของคณะราษฎร อาทิ  นายซิม วีระไวทยะ นายสงวน   ตุลารักษ์      นายดิเรก ชัยนาม  
                                                                                  


 
ในช่วงเวลานั้น นายปรีดีซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้นำคณะราษฎรฝ่ายพลเรือน ได้ติดต่อลับ ๆ กับบรรดาผู้ก่อการ เพื่อวางแผนยึดอำนาจโดยปราศจากการ       นองเลือด  

๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ คณะราษฎรที่วางแผนรอคอยมาถึงเจ็ดปี ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินอย่างสายฟ้าแลบ โดยลวงทหารจากกรมกองต่าง ๆ ให้มาชุมนุมพร้อมหน้ากันที่ลานพระบรมรูปทรงม้าและถือโอกาสประกาศเปลี่ยนแปลงการปกครองทันที กำลังอีกส่วนหนึ่งไปเชิญพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่หลายพระองค์มาเป็นตัวประกัน  วันนั้นนายปรีดี พนมยงค์ ในวัย ๓๒ ปี   หลังจากทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้สำเร็จ ท่านปรีดี ได้มีบทบาททางการเมืองและได้รับตำแหน่งสำคัญ ๆ หลายอย่าง   มรสุมชีวิตเกิดขึ้นกับท่านความไม่แน่นอนของการเมืองทำให้ชีวิตของท่านต้องผกผัน ท่านปรีดี ต้องลี้ภัยการเมืองไปอยู่ที่ประเทศจีนเป็นเวลากว่ายี่สิบปีจนกระทั่งในปี พ.. 2513 จึงได้ย้ายมาอยู่ที่อองโตนี ชานเมืองปารีส  ในขณะลี้ภัยการเมืองในต่างประเทศนั้น ท่านปรีดียังคงใส่ใจสภาพความเป็นไปของบ้านเมือง และเสนอหลักการของสันติภาพ การอยู่ร่วมกันอย่างสันติของทั้งฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวา ผ่านทางข้อเขียน บทความ หนังสือ และปาฐกถา อย่างสม่ำเสมอ  และในวันที่ 2 พฤษภาคม 2526 เวลา 11 นาฬิกา ท่านปรีดีก็ได้ถึงแก่กรรม ด้วยอาการหัวใจวาย และฟุบลงสิ้นใจอย่างสงบ ขณะกำลังเขียนหนังสือที่โต๊ะทำงานในบ้านพักที่ฝรั่งเศส   ท่าน ปรีดี มิได้มุ่งหมายเปลี่ยนแปลงการปกครอง เพียงเพื่อให้ได้มาซึ่ง ระบอบประชาธิปไตย ทางการเมืองเท่านั้น หากแสดงเจตนารมณ์ และแสดงบทบาทอย่างแจ่มชัด ที่จะก้าวไปสู่ประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา เหนือสิ่งอื่นใด เขาปรารถนาที่จะให้ระบอบประชาธิปไตย เป็นบรรทัดฐาน ในการพัฒนาประชาชาติเล็ก ๆ อย่างสยาม ให้ยืนหยัดอยู่อย่างมีเอกราช และศักดิ์ศรีในทุกด้าน ท่ามกลางนานาอารยประเทศ ในประชาคมโลกยุคใหม่ เจตนารมณ์ประชาธิปไตยของเขาปรากฏอย่างชัดเจนในหลัก ๖ ประการของ "ประกาศคณะราษฎร" ที่เขาเป็นผู้ร่างขึ้นเพื่อใช้เป็นคำแถลงการณ์ในวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ หลัก ๖ ประการมีดังนี้

 

 

 

1. รักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่นเอกราชในทางการเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง    2. รักษาความปลอดภัยในประเทศให้การประทุษร้ายต่อกันลดลงให้มาก    3. บำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะหางานให้ราษฎรทุกคนทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก 

 


    4. ให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน 

 


    5. ให้ราษฎรมีเสรีภาพที่ไม่ขัดต่อหลัก ๔ ประการดังกล่าวแล้ว 

 


    ๖. ให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร

 


      หลัก ๖ ประการนี้นายปรีดีมิได้เขียนขึ้นให้เป็นเพียงอุดมการณ์ที่ดูสวยหรู กาลเวลาต่อมาจะพิสูจน์ให้เห็นว่า นายปรีดีมีความมุ่งมั่นเพียงใดที่จะผลักดันหลัก ๖ ประการให้ได้รับการปฏิบัติอย่างจริงจัง
  ศาสตราจารย์  ดร.ปรีดี พนมยงค์  หรือ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม ( 11 พฤษภาคม  พ.ศ. 2443 2  พฤษภาคม  2526 ) อดีต นายกรัฐมนตรีของไทย 3 สมัย รวมทั้งตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ อีกหลายสมัย  ได้เข้าร่วมขบวนการเสรีไทย เพื่อต่อต้านกองทัพของญี่ปุ่น ท่านเป็นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็นผู้ประศาสน์การ (อธิการบดี)คนแรกของมหาวิทยาลัยฯ นอกจากนี้ยังเคยดำรงตำแหน่ง ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ยกย่องในฐานะ รัฐบุรุษอาวุโส ด้วย  ในปี พ.ศ. 2543 องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ  หรือ ยูเนสโก ได้ประกาศบรรจุชื่อของท่านไว้ใน ปฏิทินบุคคลสำคัญของโลก ปี ค.ศ. 2000-2001
นางสาวชนากานต์ วังคะฮาด
ถ้ากล่าวถึง  ทฤษฎี 8 K’s ของท่านอาจารย์ ดร. จีระ  หงส์ลดารมณ์แล้ว ทุนที่ท่าน ดร. ปรีดีมีคือ  1.   Human  capital   หรือ ทุนมนุษย์   คือทุนที่ได้มาจากความรู้ขั้นพื้นฐานของการศึกษาเล่าเรียนในสถาบันการศึกษา  ทุนที่ได้มาจากการอบรมสั่งสอนเลี้ยงดูจากบิดา-มารดา ถือว่าเป็นทุนขั้นพื้นฐานที่ทุกคนจะต้องมีมา เมื่อมีพื้นฐานมนุษย์มาดีเมื่อเข้าสู่ระบบการเรียนการสอนก็จะสามารถต่อยอดทุนมนุษย์สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตัวเอง สังคม องค์กร และประเทศชาติได้เป็นอย่างดีจะเห็นได้ว่าท่าน ดร. ปรีดี เกิดมาในครอบครัวที่มีความสัมพันธ์กับพระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา และเป็นครอบครัวที่อบอุ่นเป็นรากฐานแห่งการเริ่มต้น  ทำให้ท่านปรีดีมีโอกาสได้เรียนหนังสือในสถาบันศึกษาที่ดี  มากกว่าคนอื่น ๆ   2.   Intellectual capital   หรือ  ทุนทางปัญญา  หมายถึง   การคิดเป็น วิเคราะห์เป็น และการนำไปสร้างมูลค่าเพิ่ม  ท่านปรีดีรู้จักคิด  วิเคราะห์สถานการณ์และนำไปสร้างให้เกิดมูลค่าเพิ่ม เช่น การก่อตั้งวิทยาลัยวิชากฎหมาย การก่อตั้งธนาคารชาติ  การเป็นผู้นำในขบวนการเสรีไทย  เป็นต้น                          3.  Ethical Capital  ทุนทางจริยธรรม  ผู้ที่มีคุณธรรมจริยธรรมมักจะมีคนเคารพนับถือมาก  บุคลากรที่มีความรู้ดี สติปัญญาดี จะสร้างให้เกิดทุนทางจริยธรรมได้  ในด้านของทุนทางคุณธรรมและจริยธรรมแล้วท่านปรีดีมีอยู่มากทีเดียวเพราะท่านต่อสู้เพื่อให้ได้ประชาธิปไตยนั้นเพราะท่านเห็นว่ามีหลายสิ่งหลายอย่างที่ไม่เป็นธรรมผู้มีอำนาจเอารัดเอาเปรียบแก่ผู้ที่ด้อยกว่า โดยเฉพาะชาวนาผู้ยากไร้             4. Happiness    ทุนแห่งความสุข  การที่จะอยู่อย่างมีความสุขนั้น  ไม่ว่าเราจะคิด หรือทำสิ่งใดก็ตามก็ต้องคำนึงถึงความสุขกับสิ่งที่ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งแก่ตนและผู้อื่น  นอกจากตัวท่านและครอบครัวมีความสุขและท่านปรีดียังปรารถนาที่จะให้คนไทยทุกคนมีความสุขด้วย          5. Social   Capital   ทุนทางสังคม  หมายถึง  รู้จักเข้าสังคม  การรู้จักวางตัว  หน้าที่และบทบาทของตนเองต่อสังคม ซึ่งก็จะเป็นการสร้างให้เกิดยอมรับในสังคม   ท่านปรีดีได้รับการยอมรับไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา หรือด้านการทำงานจะสังเกตได้จากผลงานต่าง ๆ ของท่านและตำแหน่งที่ท่านได้รับ  6.  Talented  Capital  ทุนทางความรู้  ทักษะ และทัศนคติ  ผู้นำต้องมีความรู้กว้าง มีทักษะเฉพาะตัวหรือจากการศึกษาเรียนรู้ และมีทัศนคติที่ดี  ท่านปรีดีมีทุนทางความรู้ดีและมีทัศนคติที่ดี และท่านก็ยังศึกษาหาความรู้อยู่ตลอดเวลาถึงแม้ว่าในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้นระบบการสื่อสารเทคโนโลยียังไม่รวดเร็วอย่างปัจจุบันนี้ก็ตาม  7.  Sustainabilty  Capital  ทุนแห่งความยั่งยืน  ทุนแห่งความยั่งยืนเป็นทุนที่สำคัญของทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์    เพราะเนื่องจากว่าการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันนั้นเกิดขึ้นรวดเร็วมาก  หากเราไม่พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนแล้วนั้นเราก็จะไม่สามารถอยู่รอดและแข่งขันได้ในโลกยุคไร้พรมเดน  ความยั่งยืนที่ท่านฝากได้ไว้ให้กับพวกเรา ถ้าเราจะพิจารณาดูแล้วก็จะเห็นว่า หลักคิดของท่านอาจารย์ปรีดี และคณะราษฎร ก็คือ หลักคิดประชาธิปไตย เป็นการวางหลักพื้นฐานประชาธิปไตย และก็หลักสำคัญอันหนึ่งที่คิดว่าสอดคล้องกับสังคมไทย วัฒนธรรมไทย นั่นคือ หลักการที่จะเอื้ออาทรต่อประชาชน ในข้อที่มุ่งหวังจะให้ราษฎรทุกคนมีงานทำ โดยวางเค้าโครงเศรษฐกิจของชาติไม่ให้ราษฎรอดอยาก จะให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร อันนี้เป็นข้อเด่นของนักคิดไทยทุกยุคทุกสมัยที่ผ่านมา ก็คือ การไม่แยกออกจากพื้นฐานวัฒนธรรมของเรา โดยเฉพาะความคิดทางพุทธศาสนา ที่มุ่งหวังจะให้เกิดความยุติธรรม ความเป็นธรรมแก่สังคมเป็นสำคัญมากกว่าจะเน้นเฉพาะเรื่องสิทธิและเสรีภาพ

            

               คำพูดของท่านก็คือว่าไม่ควรที่จะให้คนมี มีจนเกินไปนัก และไม่จำเป็นต้องให้คนจน จนลงไปมาก  ถ้าใครเกิดมามีน้อยบ้านเมืองพึงให้มาก ๆ นี่เป็นสุภาษิตที่ควรจะมีไว้ประจำใจสรุปก็คือว่าความคิดของท่านก็คือความคิดประชาธิปไตย ซึ่งนอกจากจะเน้นในเรื่องของเสรีนิยมแบบตะวันตก ท่านยังเน้นหลักธรรมะ หลักความเมตตาเอื้ออาทรต่อกัน ที่จะพึงมีในสังคมประชาธิปไตยของบ้านเรา สิ่งสำคัญอีกอันหนึ่งก็คือ ท่านเน้นว่า อำนาจควรจะเริ่มต้นจากประชาชนโดยประชาชนที่ใช้ธรรมะ ใช้ความรับผิดชอบ อันนี้เป็นหัวใจสำคัญของหลักสันติประชาธรรม  สำหรับดิฉันคิดว่าความยึดมั่นในคุณธรรม  ความจริงถ้าหากเราทำในสิ่งที่ถูกต้องยุติธรรมแล้วถึงแม้ไม่มีคนที่เห็นดีด้วยในวันนี้สักวันหนึ่งความดีนั่นย่อมปรากฏแล้วก็คงมีคนที่เห็นดีด้วยอย่างแน่นอน   ท่านสามารถศึกษาชีวประวัติและผลงานของท่านศาสตราจารย์  ดร.ปรีดี พนมยงค์  ได้ที่  สถาบันปรีดี  พนมยงค์  เลขที่  เลขที่ 64/1ซอยทองหล่อ ถนนสุขุมวิท 55 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา
กรุงเทพมหานคร 10110
โทรศัพท์ 0-2381-3860-1โทรสาร 0-2381-3849  อีเมล [email protected] เวลาทำการ จันทร์-ศุกร์ 9.00 – 17.00.
(เสาร์-อาทิตย์ เปิดทำการเมื่อมีกิจกรรม
  ชนากานต์  วังคะฮาด
นางสาววลัยพร วงษ์งาม
        ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (Florence Nightingale)    เธอเกิดเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1820 ในประเทศอิตาลี ซึ่งชื่อของเธอนั้นก็ได้มาจากสถานที่เกิดของเธอนั่นเอง พ่อแม่ของเธอเป็นคู่สามีภรรยาที่ร่ำรวยของประเทศอังกฤษ พวกเขาได้ใช้เวลาฮันนีมูนโดยการท่องเที่ยวรอบยุโรปเป็นเวลาถึง 2 ปี ความทรงจำเกี่ยวกับการทำงานของเธอนั้นส่วนใหญ่จะเป็นงานด้านการพยาบาล ซึ่งเธอได้เป็นผู้บุกเบิกงานด้านพยาบาลและปฏิรูประบบทางด้านสาธารณสุขในโรงพยาบาล นอกจากนี้ฟลอเรนซ์ยังได้ให้ความสนับสนุนการปรับปรุงระบบการดูแลสุขภาพของทหารรวมทั้งผลักดันให้มีการพัฒนาการดูแลทางด้านสุขภาพแก่ทหารอังกฤษ ซึ่งถือเป็นความพยายามที่น่ายกย่องอย่างยิ่ง มีอีกด้านหนึ่งซึ่งแม้จะทราบกันไม่มากนัก ก็คือ ฟลอเรนซ์ถือเป็นผู้บุกเบิกทางคณิตศาสตร์อีกท่านหนึ่ง โดยเธอได้ริเริ่มแนวทางทางสถิติวิเคราะห์เธอได้พัฒนาแผนภาพที่เรียกว่า โพลา-แอเรียไดอะแกรม (Polar-areadiagram) ที่แสดงข้อมูลเกี่ยวกับการเสียชีวิตที่มาจากสภาพหรือการปฏิบัติที่ไม่ถูกสุขลักษณะ การวิเคราะห์นี้ได้ใช้รูปลิ่มที่มีขนาดแตกต่างกันแทนอัตราส่วนของสิ่งที่ต้องการวิเคราะห์แสดงในแผนภาพรูปวงกลม ด้วยข้อมูลที่ชัดเจนและวิธีการนำเสนอที่น่าสนใจที่เธอได้เสนอผ่านแผนภูมินี้เอง ทำให้การต่อสู้เพื่อขอความช่วยเหลือในการส่งเสริมสวัสดิภาพทางด้านสุขภาพของเหล่าทหารนั้นสัมฤทธิผล
                หลังจากนั้น เธอก็ได้พัฒนาการเสนอข้อมูลอีกหลายวิธี เช่น การเก็บข้อมูล การนำเสนอโดยใช้ตารางแสดงผล, การอธิบายโดยใช้แผนภูมิรูปภาพ ซึ่งการริเริ่มในงานด้านคณิตศาสตร์วิเคราะห์ของเธอนี้เองเป็นการปฏิวัติทางความคิดเกี่ยวกับการวัดปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมอย่างมีจุดมุ่งหมาย
ความน่าสนใจของผู้หญิงคนนี้คือพรสวรรค์และความเชี่ยวชาญทางความคิดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ที่น่าทึ่งและสิ่งนี้เองที่ทำให้เธอพิเศษกว่าสตรีรุ่นเดียวกันยุควิคตอเรีย ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้รับการศึกษาหรือทำงานทางด้านนี้ แต่วิลเลียม ไนติงเกล บิดาของเธอมีความเชื่อมั่นเป็นอย่างมากว่าสตรีโดยเฉพาะบุตรสาวของเขาจะสามารถเป็นนักคณิตศาสตร์ที่ยอดเยี่ยมหากได้ลองศึกษาศาสตร์ทางการคำนวณเช่นเดียวกับบิดาและป้าของเธอ
                ใน ค.ศ. 1854 ซิดนีย์ เฮอร์เบิร์ต เลขาธิการทางด้านสงคราม ได้เกณฑ์ให้ไนติงเกลและนางพยาบาลอีก 38 คนทำการดูแลเหล่าทหารที่เมืองสคูทารีระหว่าสงครามไครเมีย ซึ่งขณะที่เธอทำหน้าที่ในเมืองสคูทารีนั้น เธอก็ได้ทำการรวบรวมและเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบแล้วนำข้อมูลที่เธอได้นั้นมาใช้เป็นเครื่องมือในการผลักดันให้มีการพัฒนาโรงพยาบาลทหาร เธอได้คำนวณอัตราการตายเพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาทางสุขอนามัย ซึ่งด้วยวิธีการประมวลของเธอ ระบุว่าอัตราการตายจะลดลงอย่างมาก หากมีการปรับปรุงระบบสาธารณสุขใหม่ เธอได้วิเคราะห์ข้อมูลที่แสดงผ่านแผนภาพไดอะแกรมและพัฒนาการเก็บข้อมูลโดยปรับปรุงแบบฟอร์มของโรงพยาบาลเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง แน่นอนและเชื่อถือได้ ซึ่งใน ค.ศ. 1858 เธอก็ได้รับเกียรติให้เป็นสมาชิกของราชสมาคมด้านสถิติ และได้รับการยกย่องให้เป็นสมาชิกผู้มีเกียรติของสมาคมนักสถิติแห่งสหรัฐอเมริกาใน ค.ศ. 1874
                ฟลอเรนซ์ ไนติงเกลได้เสียชีวิตเมื่ออายุได้ 90 ปี เธอได้รับการขนานนามว่า สตรีผู้นำหนทางแห่งแสงสว่าง (Lady of the lamp) ในฐานะเป็นผู้บุกเบิกด้านการพยาบาลเช่นเดียวกับที่เธอมีส่วนให้การศึกษาทางด้านคณิตศาสตร์รุ่งเรืองมาจนปัจจุบัน
เมื่อเธออายุ 87  ปี  ได้รับเหรียญ The Other of Merit เป็นเกียรติอย่างสูง ไม่ว่าครั้งใดที่เธอมีโอกาสนั่งรถเที่ยวเล่นในสวน ผู้คนที่พบเห็นจะพากันแสดงความยินดี  วิ่งมาล้อมรถของนางไว้ เพื่อแสดงความเคารพและเทอดทูนเธออย่างจริงใจ  ไม่ว่านางจะมีอายุเข้าวัยชราก็ตาม ก็ยังไม่ยอมที่จะหยุดทำงาน ทุกวันจะนั่งคิดวาดโครงการว่าจะสร้างโรงพยาบาลแบบใดดี สร้างโบสถ์แบบไหน  ตลอดจนคิดจะให้โลกเป็นอย่างไรจึงจะทำให้ชีวิตทุกชีวิตมีความสุขกัน ถ้วนหน้า  ฟลอเรนซ์ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 13  สิงหาคม ค.ศ.  1910  อายุประมาณ  90  ปีนับว่าฟลอเรนซ์เป็นสตรีผู้เต็มไปด้วยความเมตตากรุณาเป็นผู้เสียสละแล้วทุกสิ่งของชีวิตไม่ว่าจะเป็นความรุ่งเรือง  ความก้าวหน้า  ตลอดจนสมบัติพัสถาน  เพื่อประโยชน์ของมวลมนุษย์เป็นสตรีตัวอย่าง ยากที่จะมีผู้ใดเสมอเหมือน ทุกท่านที่ทราบเรื่องราว ก็อดที่ยกย่องนับถือไม่ได้  นางจึงเปรียบดังนางฟ้าบนสวรรค์ที่ลงมาโปรดมนุษย์โลก. 
นางสาววลัยพร วงษ์งาม ID
ผู้นำที่ดิฉันชื่นชอบ และเป็นแบบอย่างผู้นำที่ดี คือ ท่าน ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (Florence Nightingale)เหตุผลที่ชื่นชอบคือ ท่านฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (Florence Nightingale) เป็นผู้นำที่มีคุณสมบัติโดดเด่นในเรื่อง คุณธรรม จริยธรรม ซึ่ง ผู้นำประเทศส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีคุณสมบัตินี้ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่ผู้นำควรจะต้องมี  เมื่อเธออายุ 87  ปี  ได้รับเหรียญ The Other of Merit เป็นเกียรติอย่างสูง  เธอได้รับการขนานนามว่า สตรีผู้นำหนทางแห่งแสงสว่าง (Lady of the lamp) ในฐานะเป็นผู้บุกเบิกด้านการพยาบาลเช่นเดียวกับที่เธอมีส่วนให้การศึกษาทางด้านคณิตศาสตร์รุ่งเรืองมาจนปัจจุบัน  คุณสมบัติของผู้นำที่ดีของท่านฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (Florence Nightingale) นั้นตรงกับทฤษฎีที่เรียนกับท่าน อาจารย์ หลายข้อคือดังนี้ทฤษฎี 8K’S   8 H’S
  • ทุนแห่งความยังยืน    Sustainable  Capital                      Heritage                รากฐานของชีวิต
ท่านฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (Florence Nightingale) พ่อแม่ของเธอเป็นคู่สามีภรรยาที่ร่ำรวยของประเทศอังกฤษ ได้รับการอบรมสั่งสอนที่ดีจากสังคมชั้นสูงแต่ท่านไม่ได้แบ่งชนชั้นวรรณะ  ความทรงจำเกี่ยวกับการทำงานของเธอนั้นส่วนใหญ่จะเป็นงานด้านการพยาบาล ซึ่งเธอได้เป็นผู้บุกเบิกงานด้านพยาบาลและปฏิรูประบบทางด้านสาธารณสุขในโรงพยาบาล
  • ทุนทางสังคม              Social capital                  Harmony       ความปองดอง
ท่านฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (Florence Nightingale) อยู่ในสังคมชั้นสูง แต่เป็นมิตรกับบุคคลทุกชนชั้น  มีฐานะทางสังคมที่ดี บุคคลทุกชนชั้นให้ความรักเคารพในความมีเมตตากรุณาช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกันของท่าน
  • ทุนทางจริยธรรม        Ethical  Capital                              Heart            จิตใจดี
เมื่อเธออายุ 87  ปี  ได้รับเหรียญ The Other of Merit เป็นเกียรติอย่างสูง ไม่ว่าครั้งใดที่เธอมีโอกาสนั่งรถเที่ยวเล่นในสวน ผู้คนที่พบเห็นจะพากันแสดงความยินดี  วิ่งมาล้อมรถของนางไว้ เพื่อแสดงความเคารพและเทอดทูนเธออย่างจริงใจ  ไม่ว่านางจะมีอายุเข้าวัยชราก็ตาม ก็ยังไม่ยอมที่จะหยุดทำงาน ทุกวันจะนั่งคิดวาดโครงการว่าจะสร้างโรงพยาบาลแบบใดดี สร้างโบสถ์แบบไหน  ตลอดจนคิดจะให้โลกเป็นอย่างไรจึงจะทำให้ชีวิตทุกชีวิตมีความสุขกัน ถ้วนหน้า
  • ทุนแห่งความสุข         Happiness  Capital                        Happiness        ดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข 
ท่านฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (Florence Nightingale) มีความสุขที่จะคิดหาวิธีการต่างเพื่อแก้ปัญหาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์  และวิธการให้ผู้อื่นมีความสุข  ท่านไม่เคยเหนื่อยหรืท้อแท้หรือคิดที่จะหยุดคิดทำ
  • ทุนทาง IT                     Digital  Capital                             Health           สุขภาพพลานมัยที่สมบูรณ์
ท่านฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (Florence Nightingale) รักสุขภาพพลานามัยของตนเองและผู้อื่น ฟลอเรนซ์ยังได้ให้ความสนับสนุนการปรับปรุงระบบการดูแลสุขภาพของทหารรวมทั้งผลักดันให้มีการพัฒนาการดูแลทางด้านสุขภาพแก่ทหารอังกฤษ ซึ่งถือเป็นความพยายามที่น่ายกย่องอย่างยิ่ง
  • ทุนทางปัญญา             Intellectual  Capital      Head                   คิดเป็น คิดดี
ฟลอเรนซ์ถือเป็นผู้บุกเบิกทางคณิตศาสตร์อีกท่านหนึ่ง โดยเธอได้ริเริ่มแนวทางทางสถิติวิเคราะห์เธอได้พัฒนาแผนภาพที่เรียกว่า โพลา-แอเรียไดอะแกรม (Polar-areadiagram) ที่แสดงข้อมูลเกี่ยวกับการเสียชีวิตที่มาจากสภาพหรือการปฏิบัติที่ไม่ถูกสุขลักษณะ
  • ทุนทางความรู้  ทักษะ  ทัศนคติ   Talent  Capital            Hand                   มืออาชีพ
ใน ค.ศ. 1854 ซิดนีย์ เฮอร์เบิร์ต เลขาธิการทางด้านสงคราม ได้เกณฑ์ให้ไนติงเกลและนางพยาบาลอีก 38 คนทำการดูแลเหล่าทหารที่เมืองสคูทารีระหว่าสงครามไครเมีย  ซึ่งใน ค.ศ. 1858 เธอก็ได้รับเกียรติให้เป็นสมาชิกของราชสมาคมด้านสถิติ และได้รับการยกย่องให้เป็นสมาชิกผู้มีเกียรติของสมาคมนักสถิติแห่งสหรัฐอเมริกาใน ค.ศ. 1874
  • ทุนมนุษย์                      Human  Capital                            Home                บ้านและครอบครัว
พ่อแม่ของเธอเป็นคู่สามีภรรยาที่ร่ำรวยของประเทศอังกฤษ พวกเขาได้ใช้เวลาฮันนีมูนโดยการท่องเที่ยวรอบยุโรปเป็นเวลาถึง 2 ปี  ครอบครัวของท่านดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี แม้กระทั่งเธอเลือกเรียนพยาบาลบดา  มารดา ของท่านก็มิได้ห้าม  ถึงจะเป็นอาชีพที่ต้องเสี่ยง และเสียสละอย่างมาก  ทำให้ไม่มีผู้สืบทอดกิจการของครอบครัวก็ตามทฤษฎี  5 K’S  ได้แก่ 1.       Innovation  Capital   ทุนทางนวัตกรรมฟลอเรนซ์ถือเป็นผู้บุกเบิกทางคณิตศาสตร์อีกท่านหนึ่ง โดยเธอได้ริเริ่มแนวทางทางสถิติวิเคราะห์เธอได้พัฒนาแผนภาพที่เรียกว่า โพลา-แอเรียไดอะแกรม (Polar-areadiagram)2.       Creativity  Capital     ทุนแห่งการสร้างสรรค์ท่านฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (Florence Nightingale) ได้เป็นผู้บุกเบิกงานด้านพยาบาลและปฏิรูประบบทางด้านสาธารณสุขในโรงพยาบาล3.       Knowledge  Capital   ทุนทางความรู้ท่านฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (Florence Nightingale) พรสวรรค์และความเชี่ยวชาญทางความคิดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ที่น่าทึ่งและสิ่งนี้เองที่ทำให้เธอพิเศษกว่าสตรีรุ่นเดียวกันยุควิคตอเรีย ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้รับการศึกษาหรือทำงานทางด้านนี้ แต่วิลเลียม ไนติงเกล บิดาของเธอมีความเชื่อมั่นเป็นอย่างมากว่าสตรีโดยเฉพาะบุตรสาวของเขาจะสามารถเป็นนักคณิตศาสตร์ที่ยอดเยี่ยมหากได้ลองศึกษาศาสตร์ทางการคำนวณ4.       Cultural  Capital     ทุนทางประสบการณ์ท่านฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (Florence Nightingale)  ในช่วงชีวิตของท่านสัมผัสกับประสบการมากมาย หลายด้าน ไม่ว่าจะด้านสังคม  ด้านการแพทย์  ด้านการคำนวณ   ด้านการทหาร  ทำให้ท่านเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ชีวิตที่มาก  จากการเรียนรู้ในชีวิตของท่าน  ทำให้ท่านประสบความสำเร็จในชีวิต5.       Emotional  Capital    ทุนทางอารมณ์ท่านฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (Florence Nightingale) เป็นผู้ที่มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่ดีเพราะท่านได้สัมผัสกับบุคคลหลายๆลักษณะมากมายทั้งผู้ป่วยในอาการต่าง  ท่านสามารถช่วยแก้ปัญหาและให้คำปรึกษา support ด้านจิตใจของผู้ป่วยให้มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่ดีได้  4E
  • Energy  
ท่านฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (Florence Nightingale) เป็นผู้ที่มีพลังในตัวเองมาก ทำให้พลักดันเกิดผลงานมากมาย  จะเห็นได้จากผลงานต่างๆของท่านที่ปรากฎดังประวัติ
  • Energize
 ท่านฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (Florence Nightingale) มักจะกระตุ้นให้ผู้อื่นนั้นได้กระทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ช่วยเหลือผู้อื่น และเพื่อนมนุษย์ เช่นการสร้าง รร. การพยาบาลขึ้นเพื่อสืบทอดเจตนารมณ์ที่ดีของท่านต่อไป
  • Edge 
ท่านฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (Florence Nightingale) มีความฉับไว กล้าตัดสินใจ เห็นได้จากการเข้าไปช่วยเหลือทหารในสงครามไครเมีย  ในการตัดสินใจการพยาบาลทหารในเรื่องใดก่อน-หลัง เพื่อให้ทหารนั้นหายเจ็บป่วย
  • Execute
 ท่านฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (Florence Nightingale)  มีผลงานที่สำเร็จ แปลกใหม่หลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น บุกเบิกทางคณิตศาสตร์  บุกเบิกงานด้านพยาบาลและปฏิรูประบบทางด้านสาธารณสุขในโรงพยาบาล4L
  • Learning methodology
ท่านฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (Florence Nightingale)  ทราบและเข้าใจวิธีการเรียนรู้อย่างไรให้ตนเองได้ความรู้ที่หลากหลาย โดยเป็นเด็กกิจกรรม แต่เรื่องวิชาการก็ทำได้ผลการเรียนที่ดีเด่น
  • Learning environment
ท่านฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (Florence Nightingale)  ไม่ได้เรียนรู้แต่ในห้องเรยน  แต่ได้ขวนขวายหาบรรยากาศที่แปลกใหม่นอกห้องเรียนจากการทำกิจกรรมต่างๆในสถานศึกษา
  •  Learning oppertunities
ท่านฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (Florence Nightingale)  หลังจากศึกษาพยาบาลเปิด รร. การพยาบาลซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้มนุษย์ที่มีใจที่เข้ามาช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์
  • Learning  communities
ท่านฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (Florence Nightingale)  เป็นผู้ที่ออกไปอนามัยชุมชน และแนะนำ ฝึกหัดให้คนในชุมชนได้มีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้2R
  • Reality
ในการดูแลผู้ป่วย ท่านฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (Florence Nightingale)  ไม่ได้ดูแลแค่การช่วยให้ผู้ป่วยหายทางด้านร่างกาย แต่ยัง support ด้านจิตใจ จิตสังคม และจิตวิญญาณ อีกด้วย
  • Relevance
ท่านฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (Florence Nightingale)  ให้การพยาบาลโดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางรักษาตรงประเด็นLeadership roles by chira1. Crisis management            การแก้วิกฤต  ท่านฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (Florence Nightingale)  เป็นผู้ที่สามารถแก้ปัญหา วิกฤต ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่คับขัน ซึ่งมีความสำคัญเกี่ยวกับ ความเป็น-ความตาย ของชีวิตผู้ป่วย 2. Anticipate change  แก้ปัญหาก่อนที่จะเกิดปัญหาขึ้น ท่านฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (Florence Nightingale)  รู้สถานการณ์ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เป็นผู้ที่ช่างสังเกตโดยประเมินผู้ป่วยตั้งแต่แรกรับ  และให้การรักษาหรือคำแนะนำเพื่อป้องกันภาวะการเจ็บป่วยที่จะเกิดขึ้น เมื่อมีภาวะผู้นำข้อนี้ก็จะทำให้บริหารจัดการ ดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ3. Motivate others to excellent          เน้นทฤษฎีการกระตุ้นให้ผู้อื่นเก่ง  ท่านฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (Florence Nightingale)  และพยาบาลจะมีระบบงานแบบพี่-น้อง  คือเมื่อจบเข้ามาทำงานแล้วก็จะมี รุ่นพี่พยาบาลทำหน้าที่แนะนำสั่งสอนน้องพยาบาลและผู้ช่วยพยาบาลแทนท่านอาจารย์  โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้น้องเก่ง ทำงานมีประสิทธิภาพและก้าวหน้าขึ้นในหน้าที่การงาน และความรู้ความสามารถ  ซึ่งเป็นบทบาทผู้นำที่ ท่านฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (Florence Nightingale)มี4. Conflict resolution  การหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง  ท่านฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (Florence Nightingale)มีการทำงานร่วมกับทีมสุขภาพซึ่งมีหลากหลายอาชีพ  และทำงานที่ต้องสัมผัสกับผู้คนในระดับต่างๆแต่ละคนก็แตกต่างกัน  การจะเกิดความขัดแย้งนั้นย่อมเกิดขึ้นได้ง่าย  ท่านฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (Florence Nightingale)หลีกเลี่ยงความขัดแย้งให้ได้ เพื่อลดหรือขจัดปัญหาที่จะเกิดขึ้น5. Explore opportunities  เปิดโอกาส สร้างโอกาสให้กับตัวเองและผู้อื่น  ท่านฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (Florence Nightingale)เปิดโอกาสให้ตนเองและผู้อื่นได้เรียนรู้งาน ศึกษาหาความรู้ให้มีเพิ่มมากขึ้นตลอดเวลา  และทำให้เกิดความก้าวหน้าในวิชาชีพ เช่น การเข้าร่วมการวิจัยกับแพทย์ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมสัมมนาวิชาการต่างๆ ฯลฯ  6. Rhythm + Speed  การมีจังหวะที่ดีในการทำงาน ท่านฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (Florence Nightingale)รู้จังหวะว่า จังหวะไหน ช่วงไหนที่ควรเข้าไปทำหัตถการกับผู้ป่วย จะต้องดูว่าอารมณ์ ร่างกายของผู้ป่วยพร้อมที่จะทำหรือไม่ มิฉะนั้นอาจจะทำให้การรักษาไม่สำเร็จ หรืออาจจะทำให้ผู้ป่วยไม่ไว้วางใจได้  หรือกรณีเข้าไปเตือน สั่งสอน ชี้แนะผู้ช่วยพยาบาลเมื่อทำผิดพลาดก็ต้องดูจังหวะเพื่อมิให้ผู้ถูกตักเตือนเสียหน้าและต่อต้านเรา  7. Edge < Decisiveness >  การตัดสินใจเร็ว ในการทำงานในวิชาชีพของดิฉันนั้นพยาบาล ท่านฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (Florence Nightingale)ตัดสินใจเร็วเพื่อรักษาชีวิตผู้ป่วย ยกตัวอย่างเช่นเมื่อพยาบาลประเมินได้ว่าผู้ป่วยหยุดหายใจ พยาบาลมิใช่จะมัวตกใจ ไม่รู้จะทำอะไร แต่พยาบาลทุกคนต้องมีสัญชาติญาณของพยาบาลคือ รีบทำการช่วยกระตุ้นหัวใจ หรือเพิ่ม ออกซิเจนให้ผู้ป่วยโดยปั้มหัวใจและทำตามกระบวนการช่วยเหลือผู้ป่วยเมื่อหยุดหายใจ ตามทฤษฎีและประสบการณ์ที่เรียนมาอย่างรวดเร็ว  บทบาทผู้นำข้อนี้จะทำให้ทุกคนเชื่อมั่นในตัวพยาบาล  8. Teamwork  การทำงานเป็นทีม  ท่านฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (Florence Nightingale)มีความร่วมมือกับทีมสุขภาพทั้งหมดเพื่อที่จะดูแลรักษาผู้ป่วยให้หายป่วย  ท่านฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (Florence Nightingale)มีคุณสมบัติ บทบาทผู้นำเรื่อง Teamwork ทำให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นับว่าฟลอเรนซ์เป็นสตรีผู้เต็มไปด้วยความเมตตากรุณาเป็นผู้เสียสละแล้วทุกสิ่งของชีวิตไม่ว่าจะเป็นความรุ่งเรือง  ความก้าวหน้า  ตลอดจนสมบัติพัสถาน  เพื่อประโยชน์ของมวลมนุษย์เป็นสตรีตัวอย่าง ยากที่จะมีผู้ใดเสมอเหมือน ทุกท่านที่ทราบเรื่องราว ก็อดที่ยกย่องนับถือไม่ได้  นางจึงเปรียบดังนางฟ้าบนสวรรค์ที่ลงมาโปรดมนุษย์โลก.   
วิลาวัลย์ พวงอุบล
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์  ปราโมช  นายรัฐมนตรีคนที่  13  ของประเทศไทย                 -  เกิดเมื่อวันที่ 20  เมษายน  2454  ณ.  จังหวัดสิงห์บุรี                -  เป็นโอรสของ  พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ  กับ  หม่อมแดง (บุนนาค)                -  สมรส  กับ หม่อมราชวงศ์พักตร์พริ้ง (ทองใหญ่)  (ดาของ พล.ตรี หม่อมเจ้าทองฑีฆายุ  ทองใหญ่                     และ  หม่อมลุมมิลา  ทองใหญ่)  -          มีบุตร ธิดา  2  คน  ได้แก่  1.  หม่อมหลวงรองฤทธิ์  ปราโมช        2.  หม่อมหลวงวิสุมิตรา  ปราโมช                -  ได้รับพระราชทานนาม  คึกฤทธิ์  จากสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง  ในรัชกาลที่  6การศึกษา  -          เริ่มการศึกษาที่โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย (วังหลัง)-          โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย  -          โรงเรียนเทรนท์คอลเลจ-          ปริญญาตรีเกียรตินิยม  มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด  ประเทศอังกฤษ  -          ปริญญาโท  มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด  ประเทศอังกฤษ-          ปริญญาวารสารศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต  กิตติมศักดิ์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์การรับราชการ-          กรรมสรรพากร-          กระทรวงการคลัง  ตำแหน่งเลขานุการที่ปรึกษา-          ทหารราชองครักษ์พิเศษ  ยศ  พลตรี-          จุฬาลงกรณ์  มหาวิทยาลัย  คณะรัฐศาสตร์-          อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์-          ผู้ก่อตั้ง  คณะโขนธรรมศาสตร์ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญตราต่าง ๆ-          เครื่องราชอิสริยาภรณ์ปฐมจุลจอมเกล้า-          เครื่องราชอิสริยาภรณ์มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก-          เครื่องราชอิสริยาภรณ์มหาวชิรมงกุฎ-          เหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลปัจจุบัน  ชั้นที่ 3  ตำแหน่งทางการเมือง-          กรรมการวิสามัญแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย-          สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ-          สมาชิกวุฒิสภา-          สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ-          ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติงานด้านธุรกิจ   -          ผู้จัดการ  ธนาคารไทยพาณิชย์-          ประธานกรรมการ  ธนาคารกรุงเทพพาณิชยการ-          ประธานกรรมการ  บริษัท  อุตสาหกรรมวิวฒน์  จำกัด-          ประธานกรรมการ  บริษัท  บาโฮมา  จำกัดงานด้านหนังสือพิมพ์  และวรรณกรรม -          ผู้ก่อตั้ง  หนังสือพิมพ์สยามรัฐ  เขียนคอลัมม์ ซอยสวนพูล วิจารณ์เรื่องการเมือง-          ศิลปินแห่งชาติ  สาขาวรรณศิลป์-          ผลงานการประพันธ์  เช่น ไผ่แดง  สี่แผ่นดิน  หลายชีวิต  พม่าเสียเมือง  ซูสีไทเฮา ฯลฯงานด้านการเมือง-          ผู้ก่อตั้งพรรคการเมืองพรรคแรกในเมืองไทย  คือ พรรคก้าวหน้า-          ร่วมก่อตั้ง พรรคประชาธิปัตย์  กับ  นายควง  อภัยวงศ์  และ มรว.เสนีย์  ปราโมช-          ก่อตั้ง  พรรคกิจสังคม  ภายใต้สโลแกน  เราทำได้ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่  10 (ปี 2518  ปลายสมัยรัฐบาลนายสัญญา  ธรรมศักดิ์ )  พรรคประชาธิปัตย์ได้เสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรแต่ไม่สามารถเข้าบริหารประเทศได้  เนื่องจากสภาผู้แทนราษฎรไม่ให้ความเห็นชอบตามนโยบายที่แถลงต่อสภาผู้แทนราษฎรจากนั้นพรรคกิจสังคม  ซึ่งมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพียง 18 คน  โดยการนำของ มรว. คึกฤทธิ์  ปราโมช  ผู้เป็นหัวหน้าพรรคได้จัดตั้งรัฐบาลผสมขึ้นสำเร็จหรือเรียกว่า สหพรรค  และสามารถจัดตั้งรัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศได้  แถลงนโยบายลต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  จนได้รับความไว้วางใจด้วยคะแนน  140/124  เสียงหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์  ปราโมช  เป็นนายกรัฐมนตรี  ประกาศพระบรมราชโองการ  เมื่อวันที่  14  มีนาคม  2518  พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศ  นายประสิทธ์  กาญจนวัฒน์  ประธานรัฐสภา  เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

กราบเรียน 

ท่านอาจารย์ ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ที่ได้กรุณามาสอนในเรื่องภาวะผู้ และตอนนี้ท่านอาจารย์ได้สอนจบและการสอบก็เสร็จสิ้นไปแล้วนั้น ดิฉันในฐานะลูกศิษย์ของท่านอาจารย์คนหนึ่งในคณะ (MPA.) STAMFOODฯ  มีความภาคภูมิใจมากที่ได้เรียนกับท่านอาจารย์และเป็นประโยชน์ที่ได้นำมาใช้ในหน่วยงานของดิฉันเอง และขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ยม  นาคสุข  ที่ได้มาให้ความรู้เพิ่มเติมในเรื่องภาวะผู้นำ และ ขอบคุณทีมงานของท่านอาจารย์ทุกท่าน   ขอบคุณมากค่ะ   006150012

นายอัคระ ประธานนักศึกษาและคณะนักศึกษา MPA

กราบเรียน ท่าน ศ.ดร.จิระ  หงส์ลดารมภ์

กระผมนายอัคระ ในนามตัวแทนของนักศึกษา MPA ขอกราบขอบคุณที่ท่านได้กรุณาให้เกียรติมาบรรยายเสริมเพิ่มองคค์ความรู้ในวิชา ภาวะผู้นำ ( Leadership) ขณะนี้ การเรียนได้สิ้นสุดลงแล้วและนักศึกษาทุกท่านได้รับทราบผลการเรียนครบถ้วนแล้วจึงขอกราบขอบคุณท่านมา ณ โอกาสนี้ และฝากความระลึกถึง อ.ยมและทีมงานทุกท่าน

                                     ด้วยความเคารพอย่างสูง

นายอัคระ ดาวล้อมจันทร์ ประธานนักศึกษา MPA

 

                             

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท