กระบวนการเรียนรู้ของชาวบ้านที่น่าชื่นใจ


กิจกรรมของหมู่บ้านนี้เห็นแล้วว่ามีมากมายจริงๆ ในฐานะครู กศน. คงจะได้ต่อยอดกิจกรรมของหมู่บ้านต่อไป ใช้เป็นหมู่บ้านครูสำหรับหมู่บ้านอื่นๆเรียนรู้ต่อไป ผมคิดว่าหลายท่านคงได้ข้อสรุปเช่นเดียวกับผมแล้วว่าทุนเงินสำหรับชาวบ้านแล้วสำคัญน้อยกว่าทุนความรู้และ การร่วมไม้ร่วมมือกันอย่างไม่ย่อท้อ หน่วยงานที่เข้าไปทำงานกับชาวบ้านจะต้องระมัดระวัง อย่าใช้เงินเป็นตัวล่อให้เขาเข้ามาร่วมมืออีกต่อไป สิ่งนี้ต้องเปลี่ยนไปแล้ว

บ่ายโมงครึ่งวันศุกร์ที่ 9 ก.พ.อาจารย์ภีม ภคเมธาวี จาก มวล. เสร็จจากประชุมวงเรียนรู้คุณเอื้อจังหวัดแล้ว ก็เดินทางมาหาผม ณ ที่ทำงาน กศน.อำเภอเมืองนครศรีธรรมราชก่อนถึงเวลานัดหมายเล็กน้อย จากนั้นก็เดินทางไปหมู่บ้านบางสะพาน หมูู่่ที่ 7 ตำบลบางจาก    เพื่อร่วม ในงานชื่นชมกับโล่รางวัลพระราชทาน จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงชนะเลิศระดับประเทศ      หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง "อยู่เย็น เป็นสุข" ประจำปี 2549
 
บ่ายสองโมงเราก็ถึงสถานที่จัดงาน เหตุที่ไปให้ถึงก่อนเวลาเพราะต้องการจะได้มีเวลาสำหรับพูดคุย กับผู้ใหญ่ศรและคณะเกี่ยวกับที่มาของความสำเร็จให้เสร็จสิ้น กระบวนความเสียก่อนก่อนที่พิธีการ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราชจะได้เริ่มต้นดังที่ผมได้ตั้งใจไว้
 
ผมจะถ่ายทอดข้อมูลที่ได้รับจากผู้ใหญ่ศรและคณะจากคำถามบางคำถามต่อไปนี้
 
เรื่องความภาคภูมิใจ ผู้ใหญ่ศรบอกว่ามีความภาคภูมิใจกับรางวัลพระราชทานนี้มาก นึกไม่ถึงว่าจะได้รับรางวัลนี้ ทุกคนในหมู่บ้าน หรืออาจจะทุกคนในตำบลต่างก็มีความภาคภูมิใจเช่นเดียวกัน
 
วิธีการดำเนินงานที่เป็นเบื้องหลังความสำเร็จ ผู้ใหญ่ศรกล่าวโดยย่อว่าเริ่มจากการรายงานข้อมูลของกระทรวงมหาดไทย ทั้งโดยกรมการปกครองและกรมการพัฒนาชุมชน ว่าหมู่ที่ 7           คือบ้านบางสะพาน ตำบลบางจากนี้ เป็นหมู่บ้านที่มีศักยภาพในการพัฒนา เช่นเดียวกับหมู่บ้านอื่นๆ จากนั้น กระทรวงมหาดไทยได้เชิญผู้ใหญ่บ้านและกำนันของหมู่บ้านลักษณะดังกล่าวจำนวน 12 หมู่บ้านทั่วประเทศไปประชุมเพื่อกำนดเป้าหมายและวิธีการดำเนินงาน ซึ่งผู้ใหญ่ศรบอกว่าถกเถียงกันหลายรอบมากกว่าจะได้ข้อยุติ จากนั้นจึงดำเนินการปฏิบัติการในพื้นที่
 
ในระหว่างที่ดำเนินงานนี้อยู่ ก็พอดีกับจังหวัดนครศรีธรรมราชจัดโครงการจัดการความรู้องค์กรการเงินชุมชน ทดลองนำร่องในพื้นที่ 3 ตำบล ของอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช หมู่ที่ 7 ของผู้ใหญ่ศรก็คือพื้นที่เป้าหมายการทดลองนำร่องนี้ ทำให้ผู้ใหญ๋ศรและชาวบ้านหมู่ 7 ได้ตัวช่วยขับเคลื่อนงานที่สำคัญในแนวของการทำงานแบบจัดการความรู้
 
เนื้อหาเรียนรู้หรือกิจกรรมการเรียนรู้ ผู้ใหญ่ศร บอกว่าเริ่มต้นทำและทำอย่างต่อเนื่องจริงจังในเรื่องของกลุ่มออมทรัพย์  ชาวบ้านได้เรียนรู้และเข้าเข้าร่วมมากทำใหใช้เนื้อหานี้เป็นเนื้อหายุทธศาสตร ์เชื่อมโยงไปสู่การเรียนรู้เนื้อหาอื่น เช่น กลุ่มอาชีพในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเลี้ยงหมู กลุ่มผลิตอาหารสัตว์ ปุ๋ยหมัก ซ่อมจักรยานยนต์ กลุ่มนาข้าว กลุ่มอื่นๆ เช่น กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มกลองยาว กลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์ ฯลฯ
 
กิจกรรมของหมู่บ้านนี้เห็นแล้วว่ามีมากมายจริงๆ ในฐานะครู กศน. คงจะได้ต่อยอดกิจกรรมของหมู่บ้านต่อไป ใช้เป็นหมู่บ้านครูสำหรับหมู่บ้านอื่นๆเรียนรู้ต่อไป ผมคิดว่าหลายท่านคงได้ข้อสรุปเช่นเดียวกับผมแล้วว่าทุนเงินสำหรับชาวบ้านแล้วสำคัญน้อยกว่าทุนความรู้และ การร่วมไม้ร่วมมือกันอย่างไม่ย่อท้อ หน่วยงานที่เข้าไปทำงานกับชาวบ้านจะต้องระมัดระวัง อย่าใช้เงินเป็นตัวล่อให้เขาเข้ามาร่วมมืออีกต่อไป สิ่งนี้ต้องเปลี่ยนไปแล้ว
 
ผมมีภาพกิจกรรมบางส่วนของงานมาฝากครับ

ผู้ใหญ่ภานุวัชร เพ็ขรรัตน์ กับโล่พระราชทานสมเด็จพระเทพฯ
 ผู้ใหญ่ภานุวัชร เพ็ชรรัตน์ หรือผู้ใหญ่ศร กับรางวัลโล่พระราชทานสมเด็จพระเทพฯ
 
 กลองยาวเด็กนักเรียนที่มาช่วยสร้างบรรยากาศ 
ภาพที่เป็นกิจกรรมระหว่างพิธีการ ต้องขออภัยนะครับ เพราะผมมีภาระกลับก่อน 
หมายเลขบันทึก: 77986เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2007 16:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
อยากรู้เรื่อง เกี่ยวกับกลุ่มผู้สูงอายุในหมู่บ้านจังเลยค่ะ ... ครูนงพอจะมีประสบการณ์ หรือเห็นเรื่องราวเกี่ยวกับผู้สูงอายุ หรือชมรมผู้สูงอายุ หรือชมรมสร้างสุขภาพภายในหมู่บ้านบ้างไหมคะ

สว้สดีค่ะ อาจารย์จำนงค์  ขอบคุณมากน่ะค่ะสำหรับคำแนะนำการจัดการความรู้ และการบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ  ที่อาจารย์แนะนำ  และจะนำไปปฏิบัติต่อไปค่ะ

                                             

     อ่านแล้วหลับตา มองเห็นรอยยิ้มอย่างอิ่มใจของทั้ง อาจารย์ภีม และ ครูนงเมืองคอน  ครับ .. แล้วตัวเองก็ยิ้มกว้าง ในใจเช่นกัน 
     อย่าใช้เงินเป็นตัวล่อให้เขาเข้ามาร่วมมืออีกต่อไป สิ่งนี้ต้องเปลี่ยนไปแล้ว
     ใช่ครับ ..  ยุค บูชา หรือ รอคอย อัศวินขี่ม้าขาวมายื่นมือช่วย  ควรจบสิ้นได้แล้ว

คุณหมอนนทลี ครับ

            เรื่องราวเกี่ยวกับผู้สูงอายุ หรือชมรมผู้สูงอายุ หรือชมรมสร้างสุขภาพภายในหมู่บ้าน มีแน่อน จะได้นำมาฝากในโอกาสต่อไป ของหมู่ที่ 7 นี้ก็มีครับ สัญญาว่าจะเจาะรายละเอียดมาฝากครับ

น้องคุณครูหนึ่งตะวัน ครับ

           ขอบคุณครับที่จะนำคำแนะนำไปปปฏิบัติ เรื่อง KM นี้ อย่าเรียกว่าแนะนำเลยนะครับ เราถือเสียว่าเรามา ลปรร.กันดีกว่า คุณครูน้องหนึ่งตะวันเองก็มีประสบการณ์มานาน ในวงเรียนรู้คุณลิขิตคิดว่าคงจะได้ฟังเรื่องเล่าดีๆแน่นอนจากคุณครูน้องหนึ่งตะวัน

อ.พินิจ ครับ

          หมดยุคบูชา..หรือรอคอยอัศวิน ขี่ม้าขาว ขี่ม้า....แล้วจริงๆครับอาจารย์ ชาวบ้านฉลาดพอที่จะรวมตัวกันจัดการงานของตนเองโดยใช้ความรู้ที่มีและที่จะหาเพิ่มได้ ใครขืนทำตัวเป็นอัศวินอยู่ละก็....ตกยุคแน่นอน เมื่อไหร่อาจารย์จะกลับสุราษฎร์บ้างละครับ อย่าลืมเลยมาไว้พระธาตุเมืองนครบ้างนะครับ

ทุนเงินสำหรับชาวบ้านแล้วสำคัญน้อยกว่าทุนความรู้

เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ

เงินยังทำให้คนทะเลาะกันได้ง่ายมาก แต่ความรู้ จะไม่มีวันทะเลาะกัน แต่รักกันมากขึ้น เพราะยิ่งให้ยิ่งเพิ่มครับ

อีกอย่างที่ชาวบ้านชอบมองข้าม คือทุนทางร่างกายที่เขามี ทุกส่วนมีค่าทั้งนั้น

ลองไปขอซื้อลูกตาสักข้างละล้านบาทซิครับ มีใครจะขายบ้าง

หรือขอซื้อหัวใจสัก ๕ ล้าน จะขายไหม รวมทั้งตัวกี่ล้านเข้าไปแล้วครับ

แล้วบ่นว่าจนอย่างไรครับ

แค่เส้นเลือดในหัวใจก็เส้นละ ๕ แสน นี่หมอหัวใจบอกผมครับ

(ครูนงเลิกใช้มาร์คแดงหรือสีเข้มๆ บนตัวหนังสือได้ไหมครับ อ่านยากมากเลยครับ เห็นไม่มีใครบ่น อาจเป็นที่จอของผมคนเดียวหรือเปล่า)

ดร.แสวง ครับ

       ทุนร่างกายเป็นทุนดั้งทุนเดิมทีีี่มีอยู่แล้วกับทุกคน แต่มักจะไม่ค่อยได้รับความสนใจเท่าที่ควรในยุคทุนนิยม ชุมชนอาศัยทุนประเภทนี้แหละครับถึงได้สร้างเนื้อสร้างสร้างตัวและ พึ่งตนเองได้ ขอบคุณที่ช่วยเติมเต็มให้

      สีแดง ผมแก้เป็นสีฟ้าแล้วครับ  

  

ทุนความรู้ใช้แล้วไม่หมด  ยิ่งใช้ยิ่งเพิ่มเติม และยังสามารถเผื่อแผ่ให้สังคมได้ด้วย

ขอแสดงความยินดีกับผู้ใหญ่และทุกท่านที่เกี่ยวข้องค่ะ

อ.ปัทมาวดีครับ

           ใช่แล้วครับทุนความรู้ใช้แล้วไม่หมด  ยิ่งใช้ยิ่งเพิ่มเติม และยังสามารถเผื่อแผ่ให้สังคมได้ด้วย

            ขอบคุณที่ให้กำลังใจครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท