Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

การทบทวนความคิดและประสบการณ์เกี่ยวกับ "รัฐประหาร" ในประเทศไทย


ขอเสนอให้คนในประชาคมโกทูโนไม่ย่อท้อที่จะบันทึกประวัติศาสตร์ของประเทศไทยและรัฐประหารครั้งนี้อย่างสร้างสรรค์ บันทึกถึงบทเรียนดี (Best Pracetices) และ บทเรียนไม่ดี (จงใจไม่เรียกว่า บทเรียนเลว เพราะกลัวว่า เดี๋ยวจะเอาเรื่องอารมณ์มาถอดความรู้ จนทะเลาะกัน) บันทึกเหล่านี้จะทักทอแนวคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง "สังคมมนุษย์บนโลกอิเล็กทรอนิกส์ (E-society)" ซึ่งอาจส่งผลดีหรือไม่ดีต่อ "สังคมมนุษย์บนโลกแห่งความเป็นจริง (Real Society)

     พออ่านชื่อบันทึกนี้ เดาว่า อ.จันทรวรรณก็คงจะหนาวและครุ่นคิดมากระหว่าง แนวคิดว่า จะลบดีหรือปล่อยดี ? ลองสังเกตนะคะ วินาทีนี้ อ.จันทรวรรณก็ต้องประมวลผลข้อมูลในสมองทีเดียวว่า ความถูกต้องในการกระทำของเว็บมาสเตอร์อยู่อยู่ตรงไหน ? ถ้าประสบการณ์ในการตัดสินใจมีแล้ว ประสบการณ์เกี่ยวกับผลของการตัดสินใจมีแล้ว อ.จันทรวรรณก็คงได้ "สูตร" หรือ "แนวปฏิวัติ" ของเว็บมาสเตอร์ในสถานการณ์วิกฤตของบ้านเมือง  อาจจะทำแล้วก็ได้นะคะ แต่ อ.แหววอาจจะเชย มัวเขียนงานวิจัย เลยไม่ทันเห็น

        ไม่ทราบว่า อ.จันทรวรรณเริ่มต้นทักทอแนวคิดและประสบการณ์แล้วยัง นอกจากนั้น คนในประชาคมโกทูโนก็น่าจะช่วยกันยกร่าง (Drafting) กฎหมายของประชาคมของเราได้นะคะ ซึ่งกฎเกณณ์ประมาณนี้ จัดเป็นกฎหมายของภาคประชาชน (people law) ซึ่งน่าจะเป็นกฎหมายของนักวิชาชีพ (Professional Law) ด้วยซ้ำ คนที่เข้ามาในโกทูโน โดยส่วนใหญ่ ก็เป็นนักวิจัย หรือที่ภาษาเก๋ของประชาคมโกทูโน เรียกว่า "นักจัดการความรู้"

          รัฐประหาร หรือที่ฝรั่งเรียกว่า Coup d'Etat นั้น เป็นปรากฏการณ์ที่วันนี้ เราคงเอามือปิดตา แล้วบอกว่า ไม่ใช่ เป็นแค่การปฏิรูป ก็คงแปลกดี... ก็เข้าใจท่าทีอยู่ รัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ จากไป จะไม่เรียกว่า รัฐประหารได้อย่างไร

          แล้วจะให้ใครต่อใครเห็นด้วยกับการใช้ปืนและรถถังมารัฐประหาร ก็คงไม่ได้ แล้วจะให้นักวิจัยบันทึกว่า ทุกคนยอมรับปืนและรถถัง ก็คงไม่ได้ และการจะลบทุกบันทึก กล่าวคือ ทำ "บันทึกประหาร" ทุกครั้งที่มีคำว่า "รัฐประหาร" ก็คงไม่ถูก เพราะมันจะเป็นการประหาร "ปัญญา" ที่กำลังทักทอแนวคิดและประสบการณ์ของสังคมไทยต่อรัฐประหาร

          แต่บันทึกที่มิใช่การใช้ปัญญาเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักคิดในสังคมไทย ก็ควรจะถูก "บันทึกประหาร" โดยเว็บมาสเตอร์ค่ะ

           ขอเสนอให้คนในประชาคมโกทูโนไม่ย่อท้อที่จะบันทึกประวัติศาสตร์ของประเทศไทยและรัฐประหารครั้งนี้อย่างสร้างสรรค์ บันทึกถึงบทเรียนดี (Best Pracetices) และ บทเรียนไม่ดี (จงใจไม่เรียกว่า บทเรียนเลว เพราะกลัวว่า เดี๋ยวจะเอาเรื่องอารมณ์มาถอดความรู้ จนทะเลาะกัน) บันทึกเหล่านี้จะทักทอแนวคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง "สังคมมนุษย์บนโลกอิเล็กทรอนิกส์ (E-society)" ซึ่งอาจส่งผลดีหรือไม่ดีต่อ "สังคมมนุษย์บนโลกแห่งความเป็นจริง (Real Society)

             แต่อย่างไรก็ตาม ขอเสนอนี้คงทำให้เว็บมาสเตอร์หนักใจที่จะรักษาความมั่นคงของโกทูโน แต่อยากจะให้สังเกตว่า นักศึกษา มธ.ประท้วงและทำบันทึกประวัติศาสตร์ โดยการแสดงการโต้แย้ง คปค.ทุกวันเลยค่ะ ทหารก็ไม่มาปิด มธ.เลยค่ะ แล้วยังมีข่าวว่า พลเอกสนธิว่า ทำได้ ที่จะไม่เห็นด้วย และแสดงเหตุผลที่ไม่เห็นด้วย

             ลบบันทึกนี้ได้ค่ะ อ.จันทรวรรณ แต่อยากขออีเมลล์หรือบันทึกอธิบายเหตุผลค่ะ หวังว่า คงอภัยที่ใช้โกทูโนเป็น "ห้องทดลองทางสังคม" ครั้งนี้ ลองของจริง คำตอบที่ได้รับ ก็จะเป็นคำตอบจากคนจริง คนทำงาน Social R&D ก็อย่างนี้แหละค่ะ ต้องทำวิจัยบนเรื่องจริงค่ะ

              รอความคิดเห็นของสมาชิกประชาคมโกทูโนค่ะ 

หมายเลขบันทึก: 52142เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2006 13:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (23)
เปลี่ยนชื่อบันทึกหลายหนค่ะ กลัวว่า จะสื่อได้ไม่ตรงกับใจที่อยากเสนอ

สวัสดีคะอาจารย์..

กะปุ๋มนั่งอ่านบันทึกนี้นานเป็นนาน...อ่านและครุ่นคิดตาม..กะปุ๋มนิ่งๆ มาหลานวันทั้งๆ ครุ่นคิดในเรื่องทำนองเดียวกันกับอาจารย์...ถามว่ารู้สึกอย่างไรไหมกับบันทึกของตนเองถูกลบ...ตอบว่าเสียดายคะเพราะเป็นร่องรอยของเหตุการณ์ที่มีความเคลื่อนไหวเวลาต่อเวลา...ที่ดิบๆ...โดยที่ยังไม่ได้มีการเรียบเรียงให้สวยหรูสละสลวยตามภาษาวิชาการที่ควรบันทึก...แต่ช่วงเวลาที่บันทึกตั้งแต่มีเหตุการณ์จนถึงที่ตนเองหลับใหลไปประมาณตีสี่นั้น...ไม่มีการแสดงสิ่งใดใดที่เป็นเชิงลบออกมาทุกคนตามข่าวอย่างสงบ...แต่หลังจากที่ได้หลับไปนั้น..ก็ไม่ทราบเหมือนกันว่ามีอะไรที่ไม่ดีเกิดขึ้นกับบันทึกของตัวเองหรือเปล่า...จนมาพบว่ามีการปิดทำการชั่วคราว...

มีมิตรหลายท่านที่ได้เจอกันผ่านบันทึกนี้...ต่างโทรมาหาเพราะใส่ใจในความรู้สึก แต่กะปุ๋มก็บอกว่าไม่เป็นไร...เพราะเราปกติเราก็ไม่เคยวิพากษ์ด่าการเมืองฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอยู่แล้ว...และบันทึกตนเองที่บันทึกเล่าเหตุการณ์นั้นก็ไม่ได้มีอะไรที่ส่อไปในทางที่ไม่ดี...เพียงแต่ว่าอาศัยตอนนั้นเราตามข่าวได้เร็วกว่าเพื่อนนิดหน่อย...ก็ทราบนะคะว่าเดี๋ยวสายๆ ทีวีคงมีภาพรายละเอียดในทราบ...แต่กะปุ๋มเชื่อว่าในช่วงเกิดเหตุที่เราใครๆ หลายคนมีความรักชาติ...ต่างอย่างทราบความเป็นไป...ว่าเกิดอะไรขึ้น...

หลังเหตุการณ์และมีแถลง...อะไรหลายอย่างในเวทีเสมือนนี้กะปุ๋มมองเห็น...จุดเริ่มเปลี่ยนค่อยๆ...เปลี่ยนไป...ทีละนิดไม่แน่ใจเหมือนกันว่ามีใครมองเห็นบ้างหรือเปล่า...หรืออาจเฉพาะตนเองที่รู้สึกไปเอง...กะปุ๋มติดตามพัฒนาการความเป็นไปของเวทีเสมือนนี้มาตั้งแต่ประมาณเดือนตุลาคมปี 48 และส่วนตนเขียน report บันทึกไว้สำหรับตนภายใต้...กรอบแนวคิด Knowledge best society และ Instructional Design...มีหลายอย่างที่ทำให้มองเห็นรอยแห่งการเปลี่ยนแปลง...เกิดขึ้น...

ส่วนหนึ่งที่มองเห็นได้ชัดเจนมาก คือ ความจริงใจและเจตนาที่ดีงามของนักวิชาการ นักที่เรียกว่า..."นักจัดการความรู้ทั้งหลายต่างมาบันทึกที่นี่...อย่างมากมายและมาด้วยหัวใจศรัทธา...แต่คำถามหนึ่งที่เกิดขึ้นในใจว่า...(แต่ไม่ขอถามเล่าดีกว่าเกรงว่าบันทึกนี้จะถูกลบเพราะความเห็นของกะปุ๋มได้)....

...

เหมือนอยากจะเขียน...แต่เหมือนต้องระวัง...อะไรสักอย่างในใจ...ขอ ลปรร. ไว้เท่านี้แล้วกันนะคะ

ขอบพระคุณอาจารย์มากนะคะที่เขียนบันทึกนี้ให้อ่าน...เพราะโดนใจอย่างแรงเลยคะ

*^__^*

กะปุ๋ม

 

จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

ผมเห็นด้วยกับอาจารย์ครับเต็มที่

ประชาคม Gotoknow ย่อมมีสิทธิในการบันทึกเรื่องของตัวเอง อย่างสร้า้งสรรค์ และบันทึกประวัติศาสตร์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และบันทึกไว้เป็นเรื่องราวเตือนตน เป็นจดหมายเหตุ

ทุกอย่างเป็นเหตุเป็นผล ซึ่งมีหากได้ชื่อว่ามี ปัญญาก็ ใช้ปัญญานั่นหละไตร่ตรอง ...

ความกลัว... กลัวอย่างไม่มีเหตุผล

ความลำเอียง... ลำเอียงแบบไม่มีเหตุผล

นั่นคือ... ไม่ได้ใช้ปัญญา ...หลีกหนีห่างสังคมแห่งการเรียนรู้โดยใช้ปัญญาไปทุกที

ชื่นชอบ ชื่นชม อาจารย์ตลอดเวลา ...ปลื้มอยู่ทุกครั้งที่อาจารย์เขียนบันทึก เพราะ มันโดนใจ "คนชายขอบ" บ้านป่าแบบผม

ขอบคุณครับ 

บางครั้งก็สงสัยเหมือนกันว่าประชาธิปไตยเต็มใบได้ถือกำเนิดขึ้นแล้วจริงหรือ หรือว่าเป็นเพียงการอนุมานเอาจากสิทธิและหน้าที่ของประชาชน  ตามที่มีชาวต่างชาติเขาวางแนวทางไว้ ซึ่งอันนี้ก็คงจะนานาจิตตัง  แต่สำหรับเวทีทางความคิดและอิสระของนักวิชาการที่จะวิจารณ์อย่างสร้างสรรและไม่สร้างมลพิษให้สังคมนั้น ข้าพเจ้าเห็นว่าเป็นสิ่งที่ควรกระทำ และไม่น่าจะขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใด 

เหตุใดการชุมนุมประท้วงในคราวก่อนๆ จึงกระทำได้ แม้จะกระทบสิทธิของคนจำนวนมากก็ตาม แต่ตรงกันข้ามการใช้เวทีทางไซด์เบอร์กลับถูกปิดกัน 

 

ท่ามกลางกระแสความเปลี่ยนแปลงของการเมือง..... การแตกต่างในประเด็นทางความคิดย่อมเกิดขึ้นได้..... แต่สิทธิในการแสดงความเห็นสู่สาธารณชนได้มากน้อยเพียงใดนั้น.... ต้องขึ้นกับสภาพการณ์ในขณะนั้นว่า...จะให้ขอบเขตมากน้อยเพียงใด.... หากแต่เมื่อสถานการณ์เปลี่ยน....เหตุการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนข้อจำกัดมากมาย..... ก็มักจะเปลี่ยนไปด้วย..... บางที....บันทึกของอาจารย์ครั้งนี้...อาจจะไม่มีความจำเป็นที่จะต้องถูกลบก็ได้นะคะ ...เป็นกำลังใจให้ค่ะ ^_^

ก่อนอื่นต้องขอบคุณคุณกะปุ๋มและคุณจตุพรที่มา ลปรร

อยากเรียนว่า บันทึกนี้เป็นความคิดคำนึงที่เกิดขึ้นอย่างสะสม ในวันแรกๆ มันก็ไม่ชัด แต่ในวันนี้ มันชัดขึ้น ตระหนักว่า ถ้าเราเป็นนักวิจัยสังคม แล้วเราไม่บันทึกเพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์ผลกระทบของรัฐประหาต่อสังคมไทย เราก็คงทำความผิดต่อวิชาชีพของเรา

ยิ่งเราสอนกฎหมาย เราจะกลัวที่บอกนักศึกษาของเราว่า การแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญโดยปลายกระบอกปืนนั้น มันเป็นสิ่งที่ผิด เราก็คงต้องลาออกจากจากความเป็นครูสอนกฎหมาย

และยิ่งสำหรับโกทูโนซึ่งเป็นประชาคมวิจัยออนไลน์นะคะ ถ้าเราจะไม่บันทึกความรู้แฝงในสรรพสิ่งที่เราเห็น เราก็คงทำไม่ถูก แต่ถ่าเราใช้บันทึกในโกทูโนเพื่อเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ก็คงผิดเลย

มันคงน่าเสียดายที่เราไม่ได้มี "เสียงวิชาการ" ในการแสดงความคิดเห็นในการร่างธรรมนูญชั่วคราว และจะยิ่งน่าเสียดายที่เราไม่มีส่วนร่วมในการปฏิรูปทางการเมือง

ภาพความจริงของสังคมที่นักวิจัยสะท้อนในโกทูโนนี้ ก็จะเป็นเพียงเรื่องเล่าสู่กันฟัง พลังที่จะผลักดันสังคมให้เข้าใจปัญหาของสังคมเชิงลุก ตลอดจนองค์ความรู้ที่สังเคราะห์ได้ ก็จะไม่มีการสร้างสรรค์และส่งผ่านประชาคมโกทูโนสู่เวทีปฏิรูปการเมือง

จริงอยู่ อ.แหววก็ทำได้ในโลกแห่งความเป็นจริง แต่โอกาสที่เราซึ่งอยู่กันโดยระยะทาง และโดยโอกาสที่จะร่วมงานกัน อย่างคุณกะปุ๋มและคุณจตุพร ก็จะไม่มีโอกาสทักทอแนวคิดร่วมกัน และถอดประสบการณ์ร่วมกัน

เสนอให้เรากลับมาทำหน้าที่ของเราเกี่ยวกับการบันทึกแนวคิดและประสบการณ์เกี่ยวกับ "สังคมไทย" และ "รัฐประหาร" ในมุมมองที่เราแต่ละคนมีภาระหน้าที่อยู่

"บันทึกประหาร" ทำได้ค่ะ ซึ่งอาจจะไม่ลบทันที แต่บล็อกก่อนได้ และหารือกันในประชาคมวิชาการของเรา  ข้อเสนอนี้สร้างความหนักใจให้แก่ อ.จันทรวรรณแน่นอนค่ะ  แต่จำเป็นที่เราจะต้องก้าวข้ามความลำบากตรงนี้ให้ได้ มิฉะนั้น เราก็จะเสียโอกาสที่จะรวบรวมองค์ความรู้มากมายที่เราเดินผ่านจากวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๙ จนถึงวันที่เราสถาปนากฎหมายรัฐธรรมนูญใหม่ได้อย่างสถาพร

อาจารย์คะ...ขอเข้ามาอีกรอบคะ...

หลายวันที่ผ่านมากะปุ๋มเกิดความรู้สึกคับข้องใจอย่างแรง..อย่างที่อาจารย์สะท้อนออกมานะคะ..หากนักวิชาการต่างทำเฉยเมยต่อการเปลี่ยนแปลงเสมือนการขาดความรับผิดชอบต่อการพัฒนาสังคมในด้านหนึ่งนั้น...แล้วที่เราพยายามเรียกตนเองว่า...การพัฒนาสู่สังคมหากแต่ละเลยเรื่องการเมืองการปกครอง...นี้ทำได้ด้วยเหรอ...ก็ยังรู้สึกแปลกใจยิ่งหนัก...กะปุ๋มเห็นนักวิชาการหลายท่าน...ที่มีชื่อมาเขียนเรื่องการเมืองวิพากษ์ผู้นำบ้าง...วิพากษ์...ฝ่ายบริหารบ้าง...แต่บันทึกเหล่านี้ก็ยังคงถูกวนไปวนมา...อยู่ในเวทีเสมือนนี้...

หากแต่พอเป็นการแสดงออกทางคิดเชิงสร้างสรรค์...ที่นักวิชาการพึงควรร่วมช่วยกันทำ แต่กลับถูกปิดกั้นเพียงเพราะเรากลัว...กะปุ๋มเลยมีความรู้สึกว่าตนเองนั้นเป็นเหมือนคนอ่อนเปลี้ยด้อยปัญญาไปเลย..เพราะเกรงกล้วว่าเราจะไปกระทบหรือทำให้ใครเดือนร้อนไปด้วยเพราะเหตุแห่งความกลัวนั้นด้วยเหรือเปล่า...

หรือว่าเราจะรอให้ชาวบ้าน...ผู้มีภูมิปัญญาลุกขึ้นมาเป็นแนวหน้าแห่งการแสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อสังคมก่อนเรานักวิชาการที่ผ่านการเรียนมา ผ่านการฝึกฝนทางกระบวนการคิดที่เป็นระบบ..ค่อยๆ ...แย้มหน้าออกมาเดินตามหลังชาวบ้านนั้น...

...

จริง...การมาแสดงความคิดเห็น ณ บันทึกนี้ไม่ได้ต้องการให้เกิดความแตกแยกใดใดเกิดขึ้น...เพียงแต่อยากร่วมกระตุ้นนำให้นักวิชาการที่รักการสร้างสรรค์และพัฒนา...ช่วยกันขับเคลื่อนบ้านเมืองเรา..เพราะหากเราไม่รวม ไม่ช่วยกัน...แล้วจะให้รอให้ใครมาช่วย...เสียดายภูมิปัญญา...ของนักวิชาการ...ทั้งหลายคะ...อยากเห็นประเทศเรา สังคมเรา...เจริญแบบยั่งยืน...และสรรค์สร้าง...กะปุ๋มเชื่อว่าคนที่วนอยู่ใน GotoKnow นี้ล้วนแล้วแต่เป็นคนดีและพร้อมเป็นผู้ให้...ขอเพียงเราอย่าได้ดูถูกความเป็นผู้มีปัญญาที่ดี..และจิตใจที่งดงามของท่านๆ เหล่านั้นเลยนะคะ...

ขอบคุณคะ

สาระสำคัญ 39 มาตรา ร่าง รธน.(ชั่วคราว)2549.....สิทธิมนุษยชนยังอยู่ไหม. ?...ช่วยกันดูหน่อย

http://www.archanwell.org/newwebboard/main.php?board=000580&topboard=1

มาตรา 3 ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยมีสาระว่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และความเสมอภาคที่ประชาชนเคยได้รับการคุ้มครองตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและตามพันธกรณีของระหว่างประเทศย่อมได้รับการคุ้มครอง

คำว่า "ประชาชน" จะถูกแปลคำว่า "มนุษย์" ไหมคะ ?

หากดูว่า "ตามพันธกรณีของระหว่างประเทศ" ก็ต้องตีความว่า ประชาชน ก็คือ มนุษย์ทุกคนที่พบในประเทศไทย มิใช่แค่คนสัญชาติไทย

ขออัญเชิญบางส่วนของ พระบรมราโชวาท มาให้อ่านครับ.....ในการที่จะประกอบการงานเพื่อตนเพึ่อสวนรวมต่อไปขอให้ทุกคนสำนึกไว้เป็นนิตย์โดยตระหนักว่าการงาน สังคม และบ้านเมืองนั้น ถ้าขาดผู้มีความรู้เป็นผู้บริหารดำเนินการย่อมเจริญก้าวหน้าไปได้โดยยาก แต่ถ้างานใดสังคมใต และบ้านเมืองใดก็ตามขาดบุคคตผู้มีคุณธรรมความสุจริตแล้ว จะดำรงอยู่มิได้เลย... ”

ณ เวลาแรกที่ทราบข่าวมีรัฐประหารในเมืองไทย ก็ตกใจเล็กน้อยและคิดว่าว่า ในยุคปัจจุบันนี้ ที่เป็นยุคของประชาธิปไตยเฟื่องฟูไปทั่วทุกแห่งในโลกยังคงมีอยู่อีกหรือ และก็คิดต่อมาใครเป็นผู้ทำรัฐประการ แต่พอทราบเรื่องก็มีความเห็นว่า การทำรัฐประหารไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องก็จริงสำหรับประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย เพราะเป็นการทำลายรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ แต่ถ้ามองในมุมมองที่ตรงกันข้าม การทำรัฐประหารของประเทศไทยอาจเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับประเทศไทยตอนนี้ก็ได้ เพราะทุกหน่วยงานอิสระมากมายถูกแทรกแซง จนการทำงานที่ต้องเป็นกลางกลับไม่เป็นกลาง ไม่เหมือนที่รัฐธรรมนูยได้บัญญัติไว้ ส่วนนักกฎหมาย นักวิชาการ ถูกนำไปใช้เพื่อเป็นเครื่องมือของคนบางกลุ่ม โดยบุคคลเหล่านั้นอ้างว่ามีกฎหมายที่ชอบธรรมและถูกต้อง ตนเองสามารถกระทำการได้โดยชอบด้วยกฎหมาย แต่การกระทำเหล่านั้นกลับเป็นการแสวงหาประโยชน์ทุกวิถีทางจากประเทศไทย วิถีการเมืองไทยในช่วงห้าปีที่ผ่านมา สังคมและเศรษฐกิจของไทยกลับถูกแทรกแซงโดยแถบจะไม่หลงเหลือเค้าของความเป็นประเทศอันมีระบอบการปกครองที่เป็นประชาธิปไตย มีพวกประชาชนผู้ภูมิปัญญาพยายามเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขในสิ่งเหล่านี้ให้ถูกต้องตามกฎหมายและครรลองธรรม แต่ปราศจากการสนองกลับ ดังนั้นการทำรัฐประหารจึงสมควรที่จะเกิดขึ้นในยุคนี้สำหรับประเทศไทยมากที่สุด เพราะไม่มีใครที่สามารถจะมาแก้ไขการะกระทำที่ชั่วร้ายต่างๆๆของรัฐบาลได้ หากไม่มีการทำรัฐประหารก็คงเชื่อได้ว่า อีกไม่นานประเทศไทยคงต้องเปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นคอมมิวนิสต์เป็นแน่แท้

ดังนั้นการทำรัฐประหารจึงไม่ใช่สิ่งที่ผิดเสมอไปกับบางช่วงของสถานะการณ์ของบ้านเมือง แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องเสียทั้งหมด แต่ถ้าได้มีการทำรัฐประหารไปแล้วก็สมควรที่จะรีบทำให้บ้านเมืองกลับสู่สภาพเดิมให้เร็วที่สุด เพราะถึงอย่างไรแล้วระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยก็ย่อมประเสริฐที่สุดแล้ว  

    เห็นด้วยกับอาจารย์อย่างยิ่งครับ

 ขอเป็นกำลังใจ และขอสนับสนุนด้วยอีกคนหนึ่งครับ  แต่การแสดงความคิดเห็นนั้นต้องอยู่บนหลักการ และ ความถูกต้อง มิใช่ด้วยอารมณ์                                       การแสดงความคิดเห็นด้วยวิธีนี้ ดีกว่าไปเดิน ขบวนอยู่เต็มท้องถนนให้ชาวบ้านเขาเดือดร้อน                         จะทำอย่างไรเมื่อคนในสังคมไทยบางกลุ่ม     บางพวก ไม่ยอมประนีประนอม ทำให้หาทางออก ไม่เจอ จะไปทางซ้ายก็ไม่ได้ ไปทางขวาก็ไม่ดี ตัดสินใจไม่ได้ ความวุ่นวายก็ยังคงอยู่  
        ไม่เห็นด้วยกับการทำรัฐประหาร แต่ก็ไม่อยากให้ สังคมวุ่นวายและแตกแยก                                                   จะอย่างไรก็ตามก็ขอให้มีการเลือกตั้งเร็วๆ ครับ !                                                    (สหรัฐบอกไม่เห็นด้วยกับรัฐประหารในไทย จะตัดความช่วยเหลือทางทหาร แต่่่กับประธานาธิบดี มูชาราฟ แห่งปากีสถาน ทำและอยู่มาแล้วร่วม 9 ปี สหรัฐกับทำเฉย) 

ดิฉันเขียนตอบไว้ในบันทึกนี้นะค่ะอาจารย์ http://gotoknow.org/blog/think/52208 ขอบคุณมากค่ะที่อาจารย์เขียนบันทึกนี้ขึ้นมาค่ะ

อ.จันทรวรรณที่นับถือ

รอคอยการตัดสินใจของอาจารย์มาทั้งวัน และของอีกท่านหนึ่ง ก็น่าจะได้แก่ ของท่าน อ.วิจารณ์

คิดมาหลายวัน และถกเถียงกับ "เหล่านักสิทธิเสรีภาพ" มาหลายวัน แม้กระทั่งในเรื่องของคนทุกข์ยาก สงครามของหลักการประชาธิปไตยก็เข้าไปมีบทบาท จนทำอะไรไม่ได้เลย จนมาถึงวันนี้ ป่วยเป็นหวัด เพราะโดนฝนเมื่อวาน นอนซมอยู่กับเตียงค่อนวัน คิดแต่สิ่งที่เราควรทำ เมื่อวานติดฝนอยู่กับ อ.สรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ ท่านเป็นเอนจีโอระดับครู ท่านสอนให้คิดหลายอย่าง พอเอามานั่งตรึกตรอง เลยคิดออกว่า เราน่าจะต้องมาแปลง "วิกฤต" ให้เป็น "โอกาส"

ในส่วนที่ตัดสินใจทำประการแรก ก็คือ การมาชวน "นักจัดการความรู้" ใน "ประชาคมโกทูโน" ให้มาระดมสมองเพื่อส่งต่อออกไปนอกอินเทอร์เน็ต มันสมองของนักวิชาการที่ใช้ภาษาไทยจากทั่วโลกน่าจะเป็นประโยชน์ต่อ "แผ่นดินไทย" และ "คนบนแผ่นดิน" นี้อย่างยิ่ง

แต่จะเอา "ความรับผิดชอบ" ทั้งหมดไว้แก่ อ.จันทรวรรณ ก็ไม่ถูก แต่คนที่ต้องรับผิดชอบคนแรก ก็หนีไม่พ้น อ.จันทรวรรณ ในฐานะเว็บมาสเตอร์ และคนต่อมา ก็คือ  อ.วิจารณ์ ในฐานะ ผอ.สคส.

ถ้าจะมาระดมความคิดเพื่อผลิต "แนวคิดสำเร็จรูป" เพื่อส่งต่อออกไป ยัง "เวทีปฏิรูปการเมือง" ในประชาคมโกทูโน ก็ต้องมาหารือสมาชิกในประชาคมก่อน

แต่ย้ำนะคะ ขอเรียกแบบขำๆ ว่า "บันทึกประหาร" ให้ตรงกันข้ามกับคำว่า "รัฐประหาร"  ก็ยังทำได้นะคะ แต่เราเองก็ต้องทำอย่างมีเหตุผล

ในระหว่างการระดมสมองเรื่องการปฏิรูปทางการเมืองในประชาคมโกทูโนนี้ เราทุกคน ก็ต้องมาช่วย อ.จันทรวรรณ ในการรักษาความเป็นประชาคมวิชาการของโกทูโน

โกทูโนต้องไม่ใช่ "เครื่องมือทางการเมือง" ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่เป็นของทุกคน เป็น "กลไลของการเมืองภาคประชาชน"

ก็สบายใจแล้วค่ะว่า อ.จันทรวรรณเข้าใจในสิ่งที่พยายามบอก ไม่เข้าใจผิด

เรามานำเสนองานวิจัยเพื่อการพัฒนาการเมืองภาคประชาชนเถอะค่ะ  ต่อไปนี้ คงเห็นบันทึกของ อ.แหววที่แขวนป้าย "ปฏิรูปทางการเมือง" ค่ะ

ทราบมาว่า...อาจารย์แหววไม่สบายจากบันทึกของ ดร.จันทวรรณ...ขอให้หายไวไวนะคะ...

ด้วยความห่วงใยคะ

*^__^*

กะปุ๋ม

 

ขอบคุณค่ะคุณกะปุ๋ม เมื่อวานเปียกฝน ตอนออกจากสำนักงาน กก.สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และที่ร้าย ก็คือ รถติดมาก กว่าจะถึงบ้านเกือบ ๓ ชั่วโมง (ซึ่งปกติ ไม่น่าเกิน ๔๕ นาที)

เสื้อเปียก + แอร์ในรถยนตร์ = เป็นหวัด เจ็บคอ ปวดหัว นอนซม

แต่ที่คุ้มมาก ก็คือ ในรถ เกือบ ๓ ชั่วโมง ได้มีโอกาสนั่งคุยกับ "พี่เขียว สรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์" ท่านถอดประสบการณ์ของวิกฤตการณ์ รัฐประหารของประเทศไทยให้ฟัง และแนะนำวิธีคิดสำหรับคนทำงานวิชาการ คิดอะไรได้ออกมากขึ้น

ที่ดีใจอีกอย่าง ก็คือ "หลักสิทธิมนุษยชน" ถูกบรรจุแล้วในธรรมนูญการปกครองชั่วคราว การคุ้มครองเด็กด้อยโอกาสจะไม่ขาด "เครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพ"  โล่งอกอีกอย่าง 

การบันทึกประวัติศาสตร์ที่เป็นประวัติศาสตร์ในยุคสุโขทัย อยุธยา รัตนโกสินทร์ก็มีมาตลอด

เราบันทึกเพื่อเป็นบทเรียน........บันทึกเพื่อเป็นข้อเท็จจริง........บันทึกเป็นความรู้.........บันทึกแนวคิด.......บันทึกความดีและความไม่ดี ที่สำคัญก็คือ บันทึกสาเหตุ

ไม่อย่างนั้นเราจะไม่รู้เลยว่าเราเคยเสียกรุงถึงสองครั้ง ด้วยเหตุผลที่ไม่ต่างกันมากนัก เรารู้.........เพราะการบันทึก.... เราจะไม่รู้เลยว่าเราเคยมีปฏิวัติกี่ครั้ง รัฐประหารกี่ครั้ง ด้วยสาเหตุอะไร

ครั้งนี้ก็ไม่น่าจะต่างกัน ความคิดเห็นที่แตกต่างไม่ได้หมายความว่าแตกแยกเสมอไป เราลังเผชิญหน้ากับความยากเย็นสำหรับการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และ คำว่า สิทธิเสรีภาพของมนุษย์ในสังคมไทยพึงมี

ในเวลานี้การเร่งร่วมกันสร้างแนวปฏิบัติสำหรับการแสดงความคิดความเห็นบนโลกออนไลน์และโลกจริง "อย่างสร้างสรรค์" เป็นอย่างไร เพื่อเป็นแนวทางในการยึดถือและปฏิบัติน่าจะต้องรีบทำ ....อาจจะต้องรีบพอๆกับการคืนอำนาจให้กับประชาชน

อย่างน้อยอาจารย์แหววพยายามบอกเราว่า การแสดงความคิดความเห็นเพื่อบันทึกเป็นข้อความรู้ ข้อเท็จจริง เพื่อเป็นบทเรียนรู้ถึงที่มาของการเปลี่ยนแปลง (รัฐประหาร) ก็น่าจะทำได้

อย่างนี้ พอเห็นเค้าลางของคำว่า ประมวลจริยธรรมในการใช้เสรีภาพบนระบบออนไลน์ ได้บ้างไหมนะ

 

 

วันนี้นั่งอ่านหนังสือพิมพ์ คำสั่ง คปค.ที่ 7/2549 เรื่องการจัดส่วนงานและการแบ่งมอบหน้าที่รับผิดชอบ ลงวันที่ 20 ก.ย. 2549 แล้วนั้น เพื่อให้การบริหารงานของ คปค. เป็นไปด้วยความรอบคอบ โปร่งใสและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติและประชาชน จึงแต่งตั้งบุคคลประกอบกันเป็นคณะที่ปรึกษาตามคำสั่งดังกล่าว  ๓ ชุด ก็คือ (๑) คณะที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ (๒)คณะที่ปรึกษาต่างประเทศ และ (๓)คณะที่ปรึกษาฝ่ายการเสริมสร้างสมานฉันท์ และความเป็นธรรมในสังคม

ในใจนึกถึงที่ปรึกษาด้านสังคม เพราะเรายังมีปัญหาด้านสังคมอีกมาก

เสนอผ่าน gotoknow ก็น่าจะดี นอจากอยากบอกว่า อยากให้ คปค ตั้งที่ปรึกษาด้านสังคม คู่ขนานไปกับปัญหาเศรษฐกิจ ต่างประเทศ สมานฉันท์ ด้วย น่าจะทำให้สังคมเข้มแข็งขึ้นด้วย

อาจารย์จันทรวรรณ อาจารย์แหวว  เรามาสร้าวที่ปรึกษาด้านสังคมให้กับ คปค ผ่านgotoknow ได้มั้ยครับ ผมสนับสนุน

อ.โก๋ก็เขียนบันทึกขึ้นมาซิ อธิบายเหตุผลซิ ว่า มันจำเป็นอย่างไร

งานของ อ.โก๋ เกี่ยวกับ "ที่ปรึกษาด้านสังคม" ค่ะ

http://gotoknow.org/blog/archangohkl/52249

ลากมาไว้ด้วย คนที่มาอ่าน จะได้ตามไปอ่านแนวคิดของเขาได้ค่ะ

เว็บนี้ ก็รวบรวมสิ่งที่ คปค. และรัฐประหารครั้งนี้ ก่อนให้เกิดขึ้น

http://www.rakbankerd.com/01_jam/thaiinfor/country_info/index.html?topic_id=3904&db_file=

อันนี้ ก็เป็นการทบทวนผลของรัฐประหารต่อสิทธิเสรีภาพบนอินเทอร์เน็ต

Live bloger กับสถานการณ์ 'ห้าม' เห็นต่างในสื่อทางเลือก

http://forknow.weblog.in.th/

จากบันทึกนี้ ก็เลยได้มีโอกาส ส่งต่อ "ข้อเสนอแนะ" ไปยัง "คปค" ผ่านมติชนค่ะ

ร่างรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) และการปรากฏตัวของสิทธิมนุษยชน...จริงหรือ?

มติชน วันที่ 01 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10431

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท