แวะอ่านสักนิด...จุดเด่นของร่างรัฐธรรมนูญ 2550


เชิญชวนลงประชามติวันที่ 19 ส.ค. 50

            เมื่อวันก่อนได้ไปเข้าประชุมมา มีการพูดคุยกันถึงจุดเด่นของร่างรัฐธรรมนูญ2550  แต่ยังไม่ได้มีการเผยแพร่ เลยเก็บมาฝากชาว g2k  ที่ไม่อยากอ่านเนื้อหาทั้งเล่มค่ะ  

ขยายและเพิ่มสิทธิและเสรีภาพให้มากขึ้น อย่างชัดเจน

 1.            ประชาชน 50,000 คน เข้าชื่อเสนอขอแก้ไขรัฐธรรมนูญได้

2.            ประชาชนเข้าชื่อ  เสนอกฎหมายเพียง 10,000 คน ถอดถอนนักการเมืองเพียง 20,000 คน

3.            ห้ามแทรกแซงหรือปิดกิจการสื่อทุกแขนง

4.             ผู้สูงอายุ ที่ไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ มีสิทธิได้รับสวัสดิการ สิ่งอำนวยความสะดวกอย่างสมศักดิ์ศรีจากรัฐ

5.             ผู้พิการ มีสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสวัสดิการ สิ่งอำนวยความสะดวกอย่างเหมาะสมจากรัฐ 

6.             บุคคลวิกลจริต ได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ

7.             คนเร่ร่อน ไร้ที่อยู่อาศัย และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ  มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือที่    เหมาะสมจากรัฐ

8.             ผู้ใช้แรงงาน มีสิทธิได้รับหลักประกันความปลอดภัย และสวัสดิการในการทำงาน รวมทั้งหลักประกันในการดำรงชีพ ทั้งในระหว่างและพ้นภาวการณ์ทำงาน

9.            ประชาชนได้เรียนฟรี 12 ปี

 10.     การศึกษาทางเลือก  การเรียนรู้ด้วยตนเองและตลอดชีวิต  ย่อมได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมจากรัฐ

จัดตั้งกลไกสนับสนุนการเมืองภาคพลเมือง เป็นครั้งแรก

 1.             ให้มีกฎหมายจัดตั้ง องค์กรเพื่อปฏิรูปกฎหมาย ภายใน 1 ปี เพื่อทำการปรับปรุงและพัฒนากฎหมายของประเทศ  รวมทั้งสนับสนุนและช่วยเหลือประชาชนในการร่างกฎหมายเสนอต่อรัฐสภา

2.             ให้มีกฎหมายจัดตั้ง องค์กรเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมภายใน 1 ปี

3.             ให้มีกฎหมายจัดตั้ง องค์กรเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ที่เป็นอิสระจากหน่วยงานภาครัฐ อีกทั้งรัฐให้การสนับสนุนงบประมาณด้วย ภายใน 1 ปี

4.             ให้มีกฎหมายจัดตั้ง กองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง ภายใน 1 ปี เพื่อสนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งให้กับการรวมกลุ่ม/ชุมชน/และเครือข่ายทุกรูปแบบ

5.             ส่งเสริมการจัดตั้ง สภาเกษตรกรในรูปแบบใหม่ เพื่อวางแผนการเกษตร และรักษาผลประโยชน์ร่วมกันของเกษตรกร

 ที่มา:   การประชุมคณะกรรมาธิการและอนุกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนประจำจังหวัดพิษณุโลก 



ความเห็น (15)

สวัสดีค่ะ

ดีมากค่ะ ขอบคุณที่สรุปรวมไว้เฉพาะที่น่าสนใจ

อยากให้แวะมาดู เรื่องธรรมะ 

ของชอบของอาจารย์และติชมด้วยค่ะ

  • P สวัสดีค่ะพี่ sasinanda
  • ยุ่งมากเลยค่ะช่วงนี้  ต้องจัดเวทีให้ความรู้ร่างรํฐธรรมนูญทั้งเดือนเลย
  • ขอบคุณค่ะที่แวะมาเยี่ยมเยียนกัน
  • แล้วหว้าจะแวะมาเยี่ยมค่ะ
  •   บุคคลพิการรักควร ได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ 
  • น่าสนใจนะครับ
  • ขอบคุณครับ
  • P  คุณพี่
  • คิดได้ไงเนี่ย  บุคคลพิการรัก
  • โถๆๆๆ   ไม่มีปัญญาถึงกับให้รัฐต้องช่วยเหลือเชียวหรือเนี่ยพี่เรา...
  • ป่วนไม่เลิกเลยนะเนี่ย

สวัสดีครับอาจารย์ลูกหว้า

ไม่ได้แวะมาทักทายนานแล้ว

สำหรับจุดเด่นนั้น คือ สิ่งที่แตกต่างไปจากฉบับเดิม ปี 40 ซึ่งผ่านมา 10 ปี ก็มีบทเรียนหลายๆอย่างที่ยังต้องเพิ่มเติม

รัฐธรรมนูญ ผมคิดว่าเหมือนสิ่งมีชีวิต ต้องปรับ ต้องเปลี่ยน ให้สอดคล้อง เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงในโลกที่เรียกกันว่า โลกาภิวัฒน์ ของสังคมไทยเป็นเฉพาะ

แต่อย่างไรทุกสิ่งย่อมต้องมาจากความเห็นพ้องจากเสียงส่วนมากครับ

ผมเชื่อว่าอะไรๆคงก้าวเดินต่อไปอย่างไม่สดุด

ถึงแม้สิ่งเหล่านี้จะดูเหมือนอยู่ห่างตัวเรา เรื่องของการเมือง แต่แท้จริงแล้วอยู่ข้างตัวเราตลอดเวลาครับ

ขอบคุณครับ

  • ขอบคุณที่สรุปประเด็นสาระหลักสำคัญมาให้อ่าน
  • พี่อ่านแล้วแต่ จำได้ไม่หมดค่ะ

 

  • P  น้องแจ๊คคะ
  • ที่ประชุมบอกให้เราวางตัวเป็นกลาง
  • มีหน้าที่เพียงให้ความรู้และรณรงค์การทำประชามติ
  • ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็มีการปรับปรุงให้เหมาะสมกับยุคสมัย  แก้ไขข้อบกพร่องบางส่วน
  • แต่ก็นั่นแหล่ะค่ะ  ยังคงมีข้อบกพร่องอยู่อย่างแน่นอน 
  • ซึ่งต้องอยู่ที่ประชาชนจะเป็นผู้ตัดสินใจค่ะ
  • เมื่อตอนสมัยปี 40 พี่ก็ไม่รู้เรื่องหรอกค่ะ
  • เขาชวนให้รับพี่ก็รับ  ทั้งๆที่ก็มีหลายกลุ่มออกมาติงถึงข้อบกพร่อง
  • แต่พอมาปีนี้เราทำงาน ทำให้ได้รับรู้ว่ารัฐธรรมนูญเป็นเรื่องของประชาชนทุกคนจริงๆค่ะ
  • คนรอบๆข้างก็ไม่ค่อยได้อ่านกันเลย   พี่เลยนำเฉพาะจุดเด่นมาให้อ่านกันค่ะ
  • เราจะได้มองหลายๆมุมก่อนการตัดสินใจในการทำประชามติค่ะ
  • P  สวัสดีค่ะพี่อัมพร
  • ไม่ได้เจอกันซะนานเลย
  • หว้าเห็นไม่ชอบอ่านกันค่ะ มีทั้งหมด 309 มาตรา  แต่สรุปมาแค่นี้แหล่ะค่ะ
  • เพราะไม่เห็นมีข่าวเอาไปพูดเลย  ทั้งๆที่เรื่องเหล่านี้จะเป็นประโยชน์กับคนมากมาย
  • รู้ว่าผู้หญิงกับการเมืองเป็นเรื่องห่างไกลกัน เลยฝากมาให้อ่านนิดๆหน่อยๆค่ะ
  • สวัสดีครับ อ.ลูกหว้า
  • คิดถึง  ซึ่งหมายรวมถึงระลึกถึงเสมอนะครับ
  • ตอนนี้ผมก็ศึกษารัฐธรรมนูญอยู่ประจำ  โดยเฉพาะความแตกต่างจากฉบับที่แล้ว
  • หยิบมาอ่านเมื่อไหร่... นึกถึง อ.ลุกหว้าทุกทีเลย . ยิ้ม ๆ  ...
  • ....
  • ตอนนี้เร่งประชาสัมพันธ์เชิญชวนนิสิตไปยื่นคำร้องขอใช้สิทธิ์ล่วงหน้าต่างท้องที่ภายในวันที่  19  ก.ค. นี้
  • สำหรับผม, โดยส่วนตัวแล้ว  อยากให้มีการเลือกตั้งในเร็ววัน  ไม่อยากให้ประเทศชาติต้องหยุดชะงักอันใดอีกต่อไป
  • เข้าใจและเห็นใจทุกฝ่าย...
  • ....
  • เป็นกำลังใจให้นะครับ
  • P อิอิ..เจอกันอีกแล้ว
  • วันนี้ที่มหา'ลัยก็ให้นักศึกษายื่นคำร้องขอใช้สิทธิล่วงหน้าต่างท้องที่เหมือนกันค่ะ
  • รอบนี้เพิ่งจะเวทีที่สองค่ะ  งานก็เยอะเลย
  • พรุ่งนี้ก็มีงานด้วย  ต้องเป็นพิธีกรคุยกับเซียนพันธุ์แท้พระเครื่อง  โครงการเรางบน้อยมากค่ะ  สงสารทีมงานเลยเข้าไปช่วยซะหน่อยตามกำลังทรัพย์  จะถ่ายรูปมาให้ชมค่ะว่าเราจัดแบบพอเพียงอย่างไรกันบ้าง
  • แล้วอย่าลืมไปทำประชามตินะคะ

สวัสดีครับท่านอาจารย์

ขอบคุณมากครับ ที่อ่านๆ มาก็รู้สึกดีส่วนใหญ่ครับ แต่มีอยู่ข้อหนึ่งครับ ติดใจครับ คือ

 9.            ประชาชนได้เรียนฟรี 12 ปี

หมายถึงเหมือนที่เค้าถกกันอยู่หรือเปล่าครับ ว่าจะอนุบาลถึง ม.ต้น หรือ ป.หนึ่งถึง ม.ปลาย

ผมว่าน่าจะเป็นการกำหนดไปเลย ว่าให้ทุกคนมีสิทธิ์เรียน จบ.ม.ปลาย หรือเทียบเท่าฟรี ไม่มีแบ่งชนชั้นและพื้นที่ครับ ที่ใช้คำว่ามีสิทธิ์ เพราะเปิดโอกาสให้คนที่ไม่อยากจะเรียนด้วยครับ แต่สนับสนุนให้เรียนจนจบ ม.ปลายครับ

ส่วนอีกข้อที่จำนวนคนเข้ารายชื่อกัน สองหมื่นคน ก็น้อยกว่าเมื่อก่อนใช่ไหมครับ ก็นับว่าดีครับคนในหมู่บ้านในเขตต่างๆ จะได้ไล่ออกได้ง่ายขึ้นครับ คนไหนกลายพันธุ์ก็ยิกออกได้เลยครับ

ขอบคุณมากครับ สำหรับข้อมูลดีๆนะครับ

  • P สวัสดียามดึกหรือเอ..เช้าวันใหม่ดีกว่าค่ะ
  • เม้งคิดถูกแล้วค่ะ   ก็ที่นำมาให้อ่านคือจุดเด่นค่ะ  แต่ไม่ค่อยมีคนนำมาพูดถึง
  • ฝ่ายที่ต้องการให้ไม่รับก็ไม่ชูจุดเด่นค่ะ   เลือกแต่ข้อที่คิดว่าเป็นจุดด้อยมาโปรโมท
  • ส่วนจำนวนคนเข้ารายชื่อก็ไม่ต่ำกว่าห้าหมื่นคนค่ะ  มีการปรับลดหมดค่ะ
  • คือประชาชนต้องชั่งใจเอาเองว่าจะตัดสินใจอย่างไร  มองทั้งสองด้านค่ะ
  • อิอิ  เรื่องจุดเด่นเนี่ย จริงๆเขายังไม่ให้เผยแพร่ค่ะ  เพิ่งเผยแพร่ที่เวทีวันนี้วันแรก  แต่แอบมาบอกที่นี่  อย่าบอกใครเชียวนะ

สวัสดีครับ อ.ลูกหว้า

P

ไม่ได้คุยกันนานแล้ว  เป็นห่วงคิดถึงครับ

ถ้าจะต้องออกความเห็นเพิ่มเติม ว่า เห็นด้วยกับคุณเม้งครับ  และ การศึกษาเป็นหัวใจของการพัฒนาฯ ทั้งคุณภาพ ทั้งทิศทางอนาคตของเมืองไทย 

ผมเศร้าสลดมากที่ผู้ที่มีอำนาจ ให้ความสนใจในเรื่องนี้น้อยมาก  ความจริงจำเป็นต้องทุ่มเทให้มันอย่างถล่มทลาย  เรื่องอื่นเป็นรองครับ  จะต้องสร้างเครือข่ายการศึกษาให้ดี มั่นคง มีศักยภาพ  โดยให้มืออาชีพที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาดูแล  ปัญหาอื่นๆจะแก้ไขได้ตามกันมาครับ

เรื่องนี้ยังจะต้องคุยกันครับ ถกกันให้รอบด้าน เรียกร้องให้แวดวงใน g2k ช่วยกันผลักดันให้ได้ครับ

ถกกัน แลกเปลี่ยนกันอย่างเป็นจริงเป็นจังครับ

ผมมาขออนุญาตินำบทความของ อาจารย์ไปรวมในรวมตะกอนนะครับ  ขอบคุณมากๆครับ

http://gotoknow.org/blog/mrschuai/107076#

  • P พี่สิทธิรักษ์...
  • เห็นด้วยค่ะเรื่องการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญมากค่ะ  
  • เคยถูกถามมาแล้วเกี่ยวกับเรื่องนี้ในรัฐธรรมนูญ
  • เรื่องที่เกี่ยวกับการศึกษาก็มีเรื่องนี้เรื่องเดียวค่ะ
  • ความจริงก็มีผู้ใหญ่บางท่านที่เสนอเกี่ยวกับการศึกษาค่ะ  แต่เป็นเสียงส่วนน้อย เลยออกมาอย่างที่เห็นค่ะ
  • ถ้าผ่านก็ถึงจะมีกฎหมายลูกออกมาค่ะ
  • ยินดีค่ะพี่ถ้าบันทึกของหว้าจะเป็นประโยชน์

ผมเกรียดรัฐธรรมนูญฉบับนี้มากครับ

และผมเกรียดไอพวงอันทะมาร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท