ควรใช้คำใดในภาษาไทยแทนคำ best practice


คำ best practice หากแปลตามตัวเป็น "การปฏิบัติที่ดีที่สุด" เกรงว่าจะไม่ได้แทนความหมายที่เราต้องการจริงๆ

เมื่อคืนวาน ผมได้เรียนถามพระมหาชัยวุธ ฐานุตฺตโม ว่าคำ best pracitce ที่เป็นคำสำคัญคำหนึ่งในกระบวนการจัดการความรู้ ควรสร้างคำไทยขึ้นจากภาษาบาลี-สันสกฤตอย่างไร ที่เรียนถามท่านก็เพราะท่านรู้ภาษาบาลี-สันสฤตดีมาก ประกอบกับผมสังเกตพบว่าคำที่เราสร้างขึ้นเพื่อใช้แทนคำภาษาอังกฤษที่มีความหมายเป็นนามธรรมส่วนใหญ่จะใช้คำจากบาลี-สันสกฤตมาสร้างขึ้น เช่น วิสัยทัศน์ ใช้แทน vision ท่านไม่ขัดข้องได้กรุณาช่วยสร้างคำให้ เช่น เศรษฐกรณีย์ เชษฐกรณีย์ แต่ท่านก็ให้ความคิดว่าควรสร้างจากคำไทยแท้ๆ ก่อน (ดูhttp://gotoknow.org/ask/bmchaiwut/4887)

ผมได้แนวคิดท่านมาคิดต่อว่า คำ best practice หากแปลตามตัวเป็น "การปฏิบัติที่ดีที่สุด" เกรงว่าจะไม่ได้แทนความหมายที่เราต้องการจริงๆ (ตามความเข้าใจของผม) เพราะเวลาใครเล่าเรื่องที่เขาปฏิบัติมา ผู้เล่าทั่วไป(รวมทั้งผม)ไม่ได้คิดว่าการปฏิบัติของเรา "ดีที่สุด" บางคนอาจจะเขินด้วยหากจะบอกว่าสิ่งที่ฉันทำนี้ดีที่สุด โดยสรุปแล้วความหมายที่ใช้กันอาจเพียงแค่ "รู้สึกว่าดี" หรือ "ทำแล้วตัวเองรู้สึกว่าได้ผลดี"

จากความคิดเกี่ยวกับความหมายของคำ best practice ตามที่ผมเข้าใจข้างต้นข้างบน มาบวกกับความเห็นของพระคุณเจ้าว่าควรเริ่มจากคำไทยแท้ก่อนที่จะไปภาษาอื่นข้างต้น ผมเลยคิดว่าจะใช้คำ "สิ่งดีๆ" แทนคำว่า best practice ครับ

หมายเลขบันทึก: 85451เขียนเมื่อ 21 มีนาคม 2007 21:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

สวัสดีครับ

  • คำนี้ผมสนับสนุนว่าน่าแปล เพราะใช้บ่อย แปลแล้วน่าจะคุ้ม
  • คำว่า best น่าจะไปไกลกว่า ดี คือต้อง เลิศ หรือ เฉียบขาด หรือ แจ๋ว
  • อย่างเช่น
  • ..ทำได้แจ๋ว
  • ..ทำได้เนียน
  • ..ทำได้เฉียบ
  • ..โห..ทำได้ไง (เอ้อ..จำจากเด็กครับ)
  • ..ทำไงได้ (=...นึกออกแค่นี้..แหะๆ)

อาจารย์สุรเชษฐ...

ยังตกไปนิดครับ ไม่ได้บอก...

best practice  คำนี้ มีคำจำกัดความหรือนิยามว่าอย่างไร ?

เมื่อได้คำจำกัดความแล้วก็อาจหาหรือสร้างคำสวยๆ ขึ้นมาใช้ได้ครับ...เหมือนกับ การตั้งชื่อภาพยนต์ต่างประเทศจะมีหลักการอยู่ ๓ นัย คือ

๑. แปลตามศัพท์

๒ ตั้งชื่อใหม่

๓. ทับศัพท์

ไม่ต้องเอาตัวอย่างนะครับ เพราะอาตมาไม่ได้ดูหนังมานานแล้ว 5 5 5

......

ส่วนคำว่า สิ่งดีๆ เห็นว่าคำนี้ไม่ โดน ครับ ...และความเห็นของคุณ wwibul  ก็น่าสนใจครับ เพื่อจะนำไปสู่คำที่เหมาะสมในภายหลัง...

เจริญพร

คุณวีร์ครับ คำ "ท่าเจ๋ง" จริงๆ แล้วคือ "ทำเจ๋ง" หรือเปล่าครับ

ถ้าเอาตามวิกิพีเดีย  technique, method, process, activity, incentive or reward รวมๆ แล้วผมใช้คำว่า ท่า แล้วกันครับ :-P

พอดีผมก็ไม่ค่อยคุ้นเคยเสียด้วย ไม่ทราบว่าพอยกตัวอย่างประโยคที่มีคำว่า best practice แทรก อยู่ในรูปแบบต่างกันสัก 3-4 ตัวอย่างได้ไหมครับ จะได้พอนึกออกว่าคำที่เราจะคิดขึ้นมันจะพอไปเข้ากับประโยคดังกล่าวได้เนียนไหม

ใน G2K มีตัวอย่างมากเลยครับ โปรดคลิกลิงก์ไปดูที่ http://gotoknow.org/post/tag/best

ผมอ่านดูใน http://gotoknow.org/blog/yaimai/63255 เขียนว่า Best Practices จะหมายถึง วิธีการ / วิธีปฏิบัติ ที่ทำให้องค์การประสบความสำเร็จ เป็นวิธีที่เหนือชั้นซึ่งได้ถูกพิสูจน์แล้วโดยองค์การชั้นนำต่างๆ ที่มาเป็นกรณีศึกษาว่าได้มีการปฏิบัติและทำให้เกิดผลที่ดีในองค์กร

ถ้าเอาตามแนวคิดนี้คำๆ นี้จะต้องบ่งถึง 4 องค์ประกอบข้างต้น  แต่ผมว่าภาษาไทยที่เราคิดขึ้นไม่จำเป็นต้องให้ครอบคลุมขนาดนั้นก็ได้ เพราะมันจะเยิ่นเย้อมาก เอาเพียงแค่พอเข้าเค้าเท่านั้น เพราะเราจะเห็นว่าถ้าดูภาษาอังกฤษแค่ความหมายตรงตัวก็ไม่ได้ครอบคลุมทั้ง 4 ความหมายข้างต้น เป็นสิ่งที่เรามาขยายความกันเองให้เข้าใจกัน เพราะฉะนั้นคำๆ นี้เป็นลักษณะเชิงสัญญลักษณ์มากกว่า ที่จะใช้แบบตรงตัวเป๊ะๆ

ประโยคต่างๆ

ขอรายชื่อหมู่บ้านที่เป็น Best Practice ในการไปนิเทศ
วันนี้ให้ Best practice ของโรงพยาบาลเรามานำเสนอ
แนวคิดหลักก็คือ ใครที่มาดูที่ห้องนี้แล้ว จะเห็น Best Practice ของหน่วยงานการศึกษานอกโรงเรียนทุกจังหวัด
วันอบรมเชิงปฏิบัติการ KM เพื่อค้นหา Best Practice ในครูภาษาอังกฤษ
น่าจะรวบรวม " Best Practice " ในแต่ละประเด็น และ " How To" ออกมาเผยแพร่ เป็น Tacit Knowledge

ดูแล้วความหมายน่าจะไปในทำนอง "แนวปฏิบัติยอดเยี่ยม"

แต่ก็จับไปลงประโยคแรกไม่ได้ ผมยังงงๆ เหมือนกันว่าประโยคแรกเขาจะหมายถึงอะไร

concept ขาดไปอีกข้อครับคือ เป็นกรณีศึกษา รวมแล้วมี 5 องค์ประกอบ

ผมคิดเพิ่มเอาเองว่าหากจะให้ดีจริงต้อง เป็นกรณีที่ให้แรงบันดาลใจ ด้วย เป็นองค์ประกอบที่ 6

P
P

ศัพท์บัญญัติ อาจใช้ได้...

อาจารย์สุรเชษฐ และอาจารย์หมอ ลองพิจารณา...

 ขอรายชื่อหมู่บ้านที่เป็นเศรษฐกรณีย์ในการไปนิเทศ

วันนี้ให้เศรษฐกรณีย์ของโรงพยาบาลเรามานำเสนอ

 แนวคิดหลักก็คือ ใครที่มาดูที่ห้องนี้แล้ว จะเห็นเศรษฐกรณีย์ของหน่วยงานการศึกษานอกโรงเรียนทุกจังหวัด

วันอบรมเชิงปฏิบัติการ KM เพื่อค้นหาเศรษฐกรณีย์ในครูภาษาอังกฤษ

น่าจะรวบรวมเศรษฐกรณีย์ในแต่ละประเด็น และ " How To" ออกมาเผยแพร่ เป็น Tacit Knowledge

ก็พอจะใช้ได้ แต่มีปัญหาว่า เศรษฐกรณีย์ คือ อะไร ?

เจริญพร

P

นมัสการพระคุณเจ้า ศัพท์ "เศรษฐกรณีย์" อาจจะตรงกับ best practice แต่ไม่ทราบว่าคนไทยจะคุ้นเคยกับความหมายของคำว่าเศรษฐในความหมายว่าดีหรือเจริญหรือเปล่า คือได้ยินแล้วมันไม่(พอ)เข้าใจได้ทันทีเหมือนคำว่าวิสัยทัศน์หรือโลกาภิวัฒน์ คำว่า "เศรษฐ" นี้เคยได้ยินหมอประเวศ วะสี พูดอธิบายความหมายแบบที่พระคุณเจ้าใช้เหมือนกัน

P

คุณหมอครับ ความหมายที่คุณ yaimai ให้นั้น ผูกติดกับบริบทขององค์กร เรื่องดีๆ (best practice) บางเรื่องก็ไม่เกี่ยวกับองค์กร เช่น นักศึกษาในโครงการมหาวิทยาลัยชีวิตผมคนหนึ่ง เป็นทหารเรืออยู่จังหวัดตราด ก่อนเรียนวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตและงาน ๑ (สปช.๑) ที่ผมเป็นอาจารย์ประจำวิชา เลิกงานแล้วตั้งวงก๊งเหล้ากันเกือบทุกวัน พอต้องทำโครงงาน สปช.๑ ที่แต่ละคนต้องทำอะไรสักอย่างเพื่อให้ชีวิตตัวเองดีขึ้น แกคิดทำโครงงานสร้างเสริมสุขภาพตัวเองโดยลดการร่วมวงก๊งแล้วออกกำลังกายหลังเลิกงาน เพราะรู้สึกสุขภาพแย่ เหนื่อยง่าย วิ่งเหยาะๆ นิดหน่อยก็เหนื่อยหอบ จุกเสียดท้อง ทำมาได้พักหนึ่งแข็งแรงขึ้น มาพบว่าพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปนี้อยู่ในสายตาผู้บังคับบัญชาเพราะเย็นวันหนึ่งผู้บังคับบัญชามาชมในขณะกำลังวิ่งอยู่ในชุดกีฬา แกดีใจมากเพราะไม่เคยได้รับคำชมจากผู้บังคับบัญชามาก่อน เกิดกำลังใจทำให้ดีขึ้นอีก ต่อมาได้รับเลือกร่วมทีมไปฝึกการรบพิเศษ ในการฝึกครั้งหนึ่งต้องเดินเท้าหลายสิบกิโลเมตรตลอดทั้งคืนให้ถึงที่หมายก่อนตะวันขึ้น ทุกคนจะคอยถามแกว่า "ไหวไหมพี่" ปรากฏว่าสบายมาก ไปถึงที่หมายทันเวลาและก่อนคนอื่นอีกหลายคน ก็เลยกลายเป็นว่าชีวิตทางกายภาพดีขึ้นแล้ว การงานก็ดีขึ้นด้วย เรื่องดีๆ ที่แกเล่าในวันนำเสนอผลของโครงงาน ในวิชา สปช.๑ ที่ผมไปฟังมาเมื่อวันที่ ๒๔ มีค.ที่ผ่านมานี้เอง  ที่ตราดมีนักศึกษาอยู่ ๗๐ คน แต่ละคนทำเรื่องดีๆ กับตัวเองที่ล้วนแล้วแต่น่าทึ่ง ผมเองก็ได้เรียนรู้มากมาย โจทย์ที่ผมให้คือให้ทำกับตัวเอง ชื่อโครงงานบังคับว่าต้องมีคำว่า "...ของข้าพเจ้า" ห้ามทำโครงงานพัฒนาคนอื่น(เด็ดขาด) ห้ามพัฒนาชุมชนหรือสังคมด้วย เพราะอันนั้นจะอยู่ในกลุ่มวิชาจัดการชุมชน ส่วนวิชานี้อยู่ในกลุ่มจัดการชีวิต(ตัวเอง) จะพัฒนาชาวบ้านต้องพัฒนาตัวเองก่อน วันต่อมาผมไปฟังการนำเสนอโครงงาน สปช.๑ ที่ศูนย์เรียนรู้มหาวิทยาลัยชีวิตแม่กลอง ก็ได้ฟังเรื่องดีๆ ที่น่าทึ่ง (best practice) จนแทบสำลัก เลือดลมพลุ่งพล่าน ขนลุกตลอดเวลา บุรุษไปรษณีย์คนหนึ่งทำโครงงานออกกำลังการเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง เล่าว่าไม่ได้คิดหรือเขียนในเค้าโครงของโครงงานก่อนทำว่าจะมีผลกระทบอะไรกับงาน แต่มาพบว่าเมื่อตัวเองมีร่างกายแข็งแรงขึ้น ตื่นเช้าไม่เพลีย กระปรี้กระเปล่า สามารถจัดเรียงจดหมายได้เร็วและแม่นยำขึ้น ลากและยกถุงเมล์ได้คราวละมากขึ้น ไม่เหนื่อย จากที่เคยขี่มอเตอร์ไซต์ส่งจดหมาย ๔ ชั่วโมงต่อวัน ทุกวันนี้ใช้เวลาแค่ ๒ ชั่วโมงครึ่งเสร็จ นักศึกษาอีกคนหนึ่งทำโครงงานลดการสูบบุหรี่หลังจากที่สูบมา ๒๔ ปี ปรากฏว่าไม่เพียงแต่ลดกลับเป็นเลิกได้ ต่อมาทราบว่าลูกสาวนำเรื่องเลิกบุหรี่ของพ่อไปทำนิทรรศการที่โรงเรียนในวันเลิกบุหรี่โลก ผมถามว่าให้คะแนนตัวเองเท่าไร (วิชานี้ผมให้นักศึกษาให้คะแนนตัวเองด้วยโดยมีแบบฟอร์มให้กรอกพร้อมบอกเหตุผลว่าทำไมจึงให้เท่านั้น) แกบอกว่าอาจารย์จะให้เท่าไรให้ไปเลย แกไม่สนใจแล้ว เพราะสิ่งสำคัญที่สุดคือได้คะแนนเต็มจากลูกสาวและครอบครัวแล้ว นักศึกษาอีกคนหนึ่งเป็นแม่บ้านลูกสาม ทำโครงงานประหยัดพลังงานในบ้าน โดยค่าไฟฟ้า(ตามใบเสร็จ)ที่ลดลงได้แต่ละเดือนจะฝากเข้าบัญชีออมทรัพย์ของลูกๆ ปรากฏว่านอกจากลูกๆ จะคอยปิดไฟ ปิดพัดลม วิทยุ ทีวี ทุกครั้งที่ออกจากห้อง หรือเมื่อไม่ใช้แล้ว จะคอยบอกผู้ใหญ่ในบ้านให้ปิดด้วย "แม่ยังไม่ปิดไฟ" เพราะแม่เองก็ลืมบ่อย ส่วนนักศึกษาที่อายุมากหน่อยที่กินยาลดความดัน ลดไขมัน ลดเบาหวาน ลดปวดข้อปวดเข่ากันไปหลายสิบคน มีหลายสิบคนที่หมอสั่งให้ลดยาลงหลังจากทำโครงงานออกกำลังกายและกินอย่างระมัดระวังขึ้น

สิ่งที่ผมพบอีกอย่างคือ แม้ว่าวิชานี้ไม่มีการบรรยายความรู้ใดๆ โดยอาจารย์นอกจากแนะนำวิธีเขียนเค้าโครงของโครงงานและวิธีเขียนรายงานผลโครงงาน(ตามแบบที่คณะกรรมการรายวิชากำหนด) แต่ปรากฏว่าในขณะที่นำเสนอกันนั้นมีเนื้อหาสาระในเชิงความรู้ที่นักศึกษาแต่ละคนไปค้นคว้ากันมาเองมากมายทั้งจากหนังสือ จากเน็ต และจากการไปเที่ยวถามผู้ที่มีประสบการณ์ในเรื่องตัวเองทำโครงงาน ล้วนเป็นความรู้ดีๆ ทั้งนั้น

สิ่งที่ผมรู้สึกได้อีกอย่างคือ นักศึกษาที่ทำเรื่องดีๆ (best practice) กับตัวเองได้สำเร็จนี้ มีแนวโน้มว่าจะ "เสพติด" ความสำเร็จ หลายคนที่บอกว่าจะทำเรื่องนี้ให้ดีขึ้นไปอีก บางคนก็บอกว่าจะไปหาเรื่องดีๆ เรื่องอื่นทำต่อไปอีก

ขณะนี้โครงการมหาวิทยาลัยชีวิตมีศูนย์เรียนรู้อยู่ ๗๙ ศูนย์ใน ๒๓ จังหวัด ผมกำลังรวบรวมประสบการณ์จากศูนย์ต่างๆ อยู่ว่าวิธีการสอนแบบ "สอนน้อย เรียนมาก" และเรียนโดยไม่เอาวิชาเป็นตัวตั้ง แต่เอา "ชีวิต" เป็นตัวตั้ง (ตามชื่อมหาวิทยาลัยชีวิต) นี้จะกลับทำให้เกิดปัญญามากกว่าระบบการศึกษากระแสหลักที่เน้นที่ตัววิชาความรู้แค่ไหน

"ก็ได้ฟังเรื่องดีๆ ที่น่าทึ่ง (best practice) จนแทบสำลัก เลือดลมพลุ่งพล่าน ขนลุกตลอดเวลา"

 +

หากจะให้ดีจริงต้อง เป็นกรณีที่ให้แรงบันดาลใจ ด้วย

เพราะฉะนั้นการใช้คำว่า ดี ดีเยี่ยม มันไม่ให้อารมณ์แบบว่าคนฟังเกิดพลัง  ผมคิดว่า "เรื่องน่าทึ่ง"  แบบที่คุณสุรเชษฐใช้ ดีอยู่แล้ว เพราะพอเรารู้สึกทึ่ง เราก็อยากทำมั่ง โดย sense มันได้นะครับ   โดยอาจปรับคำเล็กน้อยตามบริบทที่คำๆ นี้จะไปลง เช่น  "สิ่งน่าทึ่ง" "วิธีการน่าทึ่ง" " ...น่าทึ่ง น่าจะเหมาะนะครับ

เห็นด้วยกับคุณหมอครับ ตอนเขียนลงไปก็ไม่ได้คิดมาก่อน มันไหลออกมาเอง

ในหนังสือ KM วันละคำ คุณหมอวิจารณ์ พานิช ใช้คำว่า "วิธีเลิศ" (หน้า ๖๑) และ "วิธีการเลิศ" (หน้า ๖๗)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท