สอนการสื่อสาร...ด้วยหลักการรู้เท่าทัน


รู้หลักของ การรู้เท่าทันการสื่อสาร แล้วนำ หลักการรู้เท่าทันการสื่อสาร ไปใช้พิจารณาการสื่อสารแต่ละประเภท

(42)

 

แนวคิด เรื่อง  การรรู้เท่าทันการสื่อสาร 

Concept  of Communication Literacy


มุมมอง : การรู้เท่าทันการสื่อสาร คือ
การ ”ทำความเข้าใจ” กระบวนการและจุดมุ่งหมายที่อยู่เบื้องหลังการสื่อสารประเภทต่างๆอย่างลึกซึ้ง

นำไปสู่ ”ความเข้าใจ” กระบวนการและจุดมุ่งหมายที่อยู่เบื้องหลังการสื่อสารประเภทต่างๆอย่างลึกซึ้ง

เพื่อให้สามารถ "วางท่าที" ต่อการสื่อสารครั้งนั้นๆได้อย่างถูกต้อง

(ใจดิฉันคิดว่าคำว่า "วางท่าที" ยังเข้าใจยากและยากที่จะ "ติด" ในภาษาวิชาการนะคะ  ถ้าท่านใดจะกรุณาปรับแก้ก็จะเป็นพระคุณยิ่งค่ะ)

เน้นที่ : การรู้และเข้าใจ จุดมุ่งหมายแท้ๆที่อยู่เบื้องหลังการสื่อสารประเภทต่างๆ และการวางท่าทีความสัมพันธ์ได้อย่างถูกต้อง

หรือเน้นที่ :

  • การทำความเข้าใจ กระบวนการสร้างและการออกแบบสื่อสาร
  • และผลที่เกิดจากการสื่อสารครั้งนั้น

โดยการ   ถอดกระบวนการการสื่อสาร เพื่อทำความเข้าใจ

  • กระบวนการสื่อสาร รูปแบบต่างๆ
  • และจุดมุ่งหมาย ของการสื่อสาร

          อย่างอย่างลึกซึ้งและ รู้เท่าทัน

โดยให้รู้ถึง

  1. กลไกการเป็นผู้ผลิตสาร
  2. การประกอบสร้างสาร
  3. การออกแบบหรือเลือกช่องทางการสื่อสาร
  4. การเป็นผู้บริโภคสาร ในกระบวนการสื่อสารนั้น
  5. รวมถึงผลโดยตรง
  6. และผลสืบเนื่องอันเกิดจากการสื่อสารนั้น

 จากนั้นก็

  1. ทำความเข้าใจ
  2. และตีความจุดมุ่งหมาย เบื้องหลังกลไกการสื่อสารรูปแบบต่างๆ

                  ด้วยวิธีคิดชุดรู้เท่าทัน

        โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้คนรู้เท่าทันการสื่อสาร

( คำว่า วิธีคิด ชุดรู้เท่าทัน นี้  ดิฉันก็ออกจะจนปัญญาว่าจะนำเสนออย่างไรนะคะ  แต่เข้าใจว่าน่าจะมีอยู่แถวๆคำว่า  critical thinking และคำว่า Literacy  ประเภทต่างๆ  โดยเฉพาะ Media Literacy   ซึ่งนำเสนอขั้นตอนการรู้ทันสื่อไว้เป็นชุดแนวคิด  เพื่อบอกว่า หากท่านมองสื่อโดยแนวคิด หรือการตั้งคำถามเช่นนี้แล้วไซร้  ก็แปลว่าท่านเป็นผู้รู้เท่าทัน  ดังนี้เป็นต้น )

เหมือนเป็น โมเดล ซ้อนโมเดล คือโมเดลทฤษฎีการสื่อสาร ซ้อนกับ โมเดลการรู้เท่าทันการสื่อสาร นะคะ

เหตุที่ซ้อนกันเพื่อให้เห็นว่า   มีกลไก 2 ชุด  ชุดหนึ่งคือกลไกการสื่อสาร อีกชุดหนึ่งคือกลไกการรู้เท่าทัน(กลไกของ**)การสื่อสาร .....(ถึงตรงนี้เพื่อนก็บ่นว่าพูดให้งงอีกแล้ว)

สรุปสั้นๆว่า

  1. เราต้องรู้หลักของ การรู้เท่าทันการสื่อสาร
     
  2. แล้วนำ หลักการรู้เท่าทันการสื่อสาร ไปใช้พิจารณาการสื่อสารแต่ละประเภท

        โดยใช้การวิเคราะห์สังเคราะห์วิพากษ์วิจัยอะไรก็ว่ากันไป เป็นต้น



ด้วยมุมมองนี้ การรู้เท่าทันการสื่อสาร ( Communication Literacy) ก็น่าจะอยู่ในสายการสื่อสาร หรือสายนิเทศศาสตร์

..........................................................

ปรับเพิ่มเติมจาก เว็บไซต์วิชาการด็อตคอม กระทู้ การรู้เท่าทันการสื่อสาร (Communication Literacy)   ความเห็นเพิ่มเติมที่ 74
 17 ก.พ. 2550

 

หมายเหตุ  P

ขอขยายความเพิ่มเติมนิดนะคะ  อันเนื่องมาจากแรงบันดาลใจจากคุณหมอเล็ก ภูสุภาในบันทึกนี้

ไม่รู้ เพียรรู้ 

วิธีคิดชุดรู้เท่าทันการสื่อสาร  เหมือนเป็น โมเดล ซ้อนโมเดล
คือโมเดลทฤษฎีการสื่อสาร ซ้อนกับ โมเดลการรู้เท่าทันการสื่อสาร นะคะ

เหตุที่ซ้อนกันเพื่อให้เห็นว่า  
มีกลไก 2 ชุด  
1. ชุดหนึ่งคือกลไกการสื่อสาร
2. (อีก)ชุดหนึ่งคือกลไกการรู้เท่าทัน
(กลไกของ**)การสื่อสาร .....

ขอบพระคุณท่านผู้อ่านที่ตามอ่านมาถึงบรรทัดนี้นะคะ
: )   : ) 

หมายเลขบันทึก: 82483เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2007 20:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 14:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สรุปสั้นๆว่า

  1. เราต้องรู้หลักของ การรู้เท่าทันการสื่อสาร
     
  2. แล้วนำ หลักการรู้เท่าทันการสื่อสาร ไปใช้พิจารณาการสื่อสารแต่ละประเภท

ด้วยมุมมองนี้ การรู้เท่าทันการสื่อสาร ( Communication Literacy) ก็น่าจะอยู่ในสายการสื่อสาร หรือสายนิเทศศาสตร์

**          ***             **               ***

สัญญาอนุญาตสิทธิ์: อนุญาตให้ใช้โดยไม่มีเงื่อนไข

จากประโยคสุดท้าย

เรา..หมอเล็ก จึงขออนุญาตนำ การรู้เท่าทันการสื่อสาร ไปใช้โดยไม่เลือกสายงานค่ะ ;P

คิดถึงพี่จัง หายไปนาน สนใจเรื่อง critical thinking ครับผม

ขออนุญาตนำ การรู้เท่าทันการสื่อสาร ไปใช้โดยไม่เลือกสายงานค่ะ ;P 

 

สะกิดใจตัวเองจึงขอนำไป ต่อยอดไว้ ที่นี่ ค่ะ

โอ้โห..  คุณหมอเล็ก : )

มามุกนี้เลยอ่า..  พี่ตอบไม่ถูกเลยคราวนี้  อิๆๆๆๆๆ

ช่วงนี้พี่แอมป์กำลังหูตาลายกับการตรวจข้อสอบอัตตาหิอัตโนนาโถของเด็กๆค่ะ  พี่แอมป์ไม่เคยออกข้อสอบปรนัย(มาตั้งแต่เกิด) คืนนี้อยากพักสักสองชั่วโมง   กะว่าจะมาท่อง "ไปให้รู้" ให้หายคิดถึงพี่ๆน้องๆสักครู่  ...  มาเจอเม้นต์หมอเล็กเข้า  พี่แอมป์นั่งหัวเราะกิ๊กๆๆๆเลยอะ

เรื่องลิขสิทธิ์นี้เป็นประเด็นคุยกันได้ยาวนานนะคะคุณหมอเล็ก  พี่แอมป์เคยนั่งเถียงกับเพื่อนเป็นคืนๆ  และรีบสรุปว่า"ลิขสิทธิ์..ขึ้นอยู่กับคนที่เป็นเจ้าของ"  (เพราะง่วงนอนมาก) เพื่อนไม่ยอมให้พี่นอน เพราะเธอบอกว่าพี่ด่วนสรุป  บางสิ่งไม่มีใครเป็นเจ้าของ  เช่นธรรมชาติเป็นต้น  ว่าแล้วคืนนั้นก็ไม่ได้นอนทั้งสมใจ  เพราะมัวแต่งัดเหตุผลมาเถียงกันว่า อะไรมีเจ้าของ  อะไรไม่มี  หวิดจะได้วางมวยกัน อย่างสุภาพบุรุษและสุภาพบุรี  โชคดีที่ไก่ขันหมดยกซะก่อน  อิๆๆๆๆ 

สำหรับบันทึก"การรู้เท่าทันการสื่อสาร"นี้   พอน้องต้นกล้าบอกว่ามีฟีเจอร์สัญญาอนุญาตสิทธิ์พี่ก็กระโดดตุ๊บ(แบบไม่คิดชีวิต)  เข้ามาเลือก "อนุญาตให้ใช้โดยไม่มีเงื่อนไข" ทันควัน  แบบว่าอย่างมั่นใจ   ....ครือมั่นใจว่าเขียนวกวนอลหม่านแบบนี้ถึงให้ควีๆก็คงไม่มีมีใครอยากอ่านแหๆ   : )   : ) 

พอคุณหมอเล็กแวะมา  พี่แอมป์จึงดีใจไชโยจนออกนอกหน้าทุกที  อย่างน้อยพี่แอมป์จะได้ไปบอกเพื่อนว่า  "คุณหมอเค้าอ่านเข้าใจด้วยน้า.."   : )  : ) 
เธอจะได้เลิกค่อนว่าพี่เป็นคน  "พูดไม่รู้เรื่อง" ซะทีอะค่ะ    อิอิอิ

สวัสดีด้วยความรักและคิสถึงมากค่า..น้องขจิต

  • นับเป็นโชคดีของน้องจริงๆจ๊ะนะเนี่ย ที่คืนนี้พี่ตากำลังจะปิด(ส่วนยายนั้นหลับสนิทไปแล้ว)
  • ดังนั้นพี่จึงยั้งมือไว้  ไม่ได้ตอบน้องยาวไปห้าไมล์ ให้น้องตาลาย (และยายงง)อย่างที่ผ่านมา
  • แต่ก็ว่าไม่ได้หรอกน้อง  เพราะหลังทำคะแนนเสร็จ พี่อาจกลับเข้ามาตอบใหม่  เพราะน้องช่างเป็นมิตร  และคิดคำได้ถูกใจนักชวนให้ตอบยาวๆเสียนี่กระไร 
  • ว่าแล้วพี่ก็คิดถึงคุณแม่น้องเจ (อ.มัท) ซึ่งเป็นต้นตำรับ critical thinking ตัวจริงเสียงจริง ขึ้นมาทันที
  • ตรวจข้อสอบเสร็จเมื่อไหร่  พี่จะกระย่องกระแย่งมารังแกเอ๊ยมาตอ ออ บอ ตอบน้องให้ตรงใจ  ตอนนี้ใคร่ขอเสด็จไปบรรทมก่อนเห็นจะเข้าที
  • อ่า .. see you when I see you  นะจ๊ะ  : )  : )

สรุปสั้นๆว่า

  1. เราต้องรู้หลักของ การรู้เท่าทันการสื่อสาร
     
  2. แล้วนำ หลักการรู้เท่าทันการสื่อสาร ไปใช้พิจารณาการสื่อสารแต่ละประเภท

       
ด้วยมุมมองนี้ การรู้เท่าทันการสื่อสาร ( Communication Literacy) ก็น่าจะอยู่ในสายการสื่อสาร หรือสายนิเทศศาสตร์

๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑

 

พี่แอมป์ คะ คิดลงไปอีกนิด

ก่อนที่เราจะรู้หลักของการรู้เท่าทันการสื่อสาร เพื่อจะนำไปสู่หรือนำไปใช้พิจารณาการสื่อสารแต่ละประเภท

เรา "รู้" ในตัวเราเองหรือยัง (insight)

ประการนี้ ครูของน้องเคยพูดให้ได้ยินว่า การจะรักษา คนไข้.. คนไข้ต้องยอมรับแบบ มี insight (ในตัวเขา ว่า เขาป่วย หรือไม่สบายอะไรทำนองนี้)หมอใด ๆ จึงจะรักษาเขาได้

น้องไม่ได้จะมาบอกว่า จะรักษาใคร อะไร ที่ไหน หรือว่าเรา ป่วย

ไม่ใช่

แต่ยิ่งคิด ยิ่งรู้สึกว่า มันลึกนะ การจะไปรู้เท่าทันการสื่อสาร..(เช่นสมมุติเป็นการสื่อสารของคนที่เขา ไม่ต้องการสื่อสารกับเราจริงแต่ส่งข้อความหรือ..การสื่อสาร หรือ..มางั้น ๆ )

แต่ยิ่งคิด ยิ่งรู้สึกว่า มันลึกนะ การจะไปรู้เท่าทันการสื่อสาร..และ ยิ่งเพื่อจะนำไปสู่หรือนำไปใช้พิจารณาการสื่อสารแต่ละประเภท

เรามี insight พอจะแยกแยะหรือ "รู้"..ชีวิต ..ประสบการณ์..และที่สำคัญยิ่ง

เรา รู้เราหรือเปล่า

(เหมือนว่า ถ้าเรารู้เราพอสมควร เราก็สมควรอ่านเรื่องที่พี่แอมป์เขียนต่อ)

แฮ่ งงแล้วยังคะ ตัวเองเริ่ม ฮง ๆ ค่ะ

 

เอาใหม่ ไปตั้งหลักก่อนดีกว่า อิ อิ 

ด้วยมุมมองนี้ กำลังคิดว่า การรู้เท่าทันการสื่อสาร ( Communication Literacy) ก็น่าจะอยู่ในทุกสายการสื่อสาร หรือการดำรงชีวิต เลยเชียวนะคะ 

 

คิดมากไปเปล่านี่..แหะ แหะ

สวัสดีค่ะคุณหมอเล็ก

พี่แอมป์คิดตามที่คุณหมอเล็กพูดไว้อย่างสั้นแต่คม ว่า"ไม่รู้-เพียรรู้" แล้วก็เห็นด้วยจงทุกประการ(เทอญ)  : )  

หลังจากที่(มีวาสนา)ได้คุยกับพี่นุชอย่างมีความสุขในบันทึกนี้แล้ว  พี่แอมป์ก็ได้มองเห็นตามที่พี่นุชกล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า  การรู้เท่าทันการสื่อสาร ( Communication Literacy)  เป็นเรื่องเดียวกับ "การมีสติกับปัจจุบัน รู้เท่าทันทั้งตนเองและผู้อื่น เมื่อมีสติ ปัญญาย่อมเกิดให้เห็นสรรพสิ่งที่เกิดขึ้นตรงตามความเป็นจริง"

พี่แอมป์อยากเชื่อมโยงเรื่องหลักการรู้เท่าทันการสื่อสาร  กับเรื่องที่พี่นุชกล่าวถึงต่อไปนี้ให้ชัดเจนจังเลยค่ะ
1. การมีสติอยู่กับปัจจุบัน
2. การรู้เท่าทันทั้งตนเองและผู้อื่น
3. สิ่งที่เกิดสืบเนื่องจากการมีสติอยู่กับปัจจุบัน และการรู้เท่าทันทั้งตนเองและผู้อื่น  คือ "เกิดปัญญา เห็นสรรพสิ่งที่เกิดขึ้นตรงตามความเป็นจริง"

แต่เนื่องจากที่ได้ออกตัวไปพัลวันทุกครั้งแล้วว่าพี่แอมป์เขียนไปตามความรู้สึก  ไม่ใช่ความรู้ เพราะรู้น้อยเหลือเกิน  แต่พี่ก็เพียรหาความรู้ หาผู้รู้ และหาประสบการณ์ไปด้วยความหวังว่าเราคงเข้าใจอย่างแท้จริงเข้าสักวัน  และพี่แอมป์คิดว่า insight ที่คุณหมอเล็กกล่าวถึง  ก็อาจเกิดขึ้นกับผู้ใดก็ได้ที่มีสติอยู่กับปัจจุบัน  รู้เท่าทันทั้งตนเองและผู้อื่น จนกระทั่งเกิดปัญญา เห็นสรรพสิ่งที่เกิดขึ้นตรงตามความเป็นจริง

ถามว่าเข้าใจยากหรือไม่  พี่ก็คิดว่าอาจจะใช่นะคะคุณหมอเล็ก  ถามว่าแล้วจะเป็นไปได้ไหม (จะเกิด insight ได้ไหม) พี่ก็คิดว่าเป็นไปได้สำหรับบางท่าน ที่ท่าน"เห็น"และ"เข้าใจ"แล้วจริงๆ  ส่วนจะเห็นและเข้าใจในระดับไหนนั้น  พี่แอมป์คิดว่าขึ้นอยู่กับว่าเราจะตัดสินด้วยหลักคิดแบบใด   

สำหรับแบบที่พี่แอมป์แบ่งประเภทการรู้เท่าทันการสื่อสาร  พี่แบ่งด้วยกรอบของวิชา  ระดับการรู้เท่าทันการสื่อสารก็จะยังอยู่ในกรอบของวิชา ที่เป็นความรู้ทางโลก    แต่หากจะให้เกิดการหยั่งรู้และเห็นแจ้งอย่างแท้จริงในทางธรรม  ก็ต้องแบ่งด้วยระดับของการหลุดพ้นกระมังคะ  ความรู้ของพี่แอมป์ยังไปไม่ถึงขั้นนั้น

ความเกี่ยวเนื่องกันระหว่างทางโลกกับทางธรรมของเรื่องการรู้เท่าทันการสื่อสารนี้  คงอยู่ที่การรู้เท่าทันจิตใจตนเองกระมังคะ  หากเรามองว่าสรรพสิ่งที่เราเห็นและเป็นไปนั้น(โลกธรรม)  เกิดจากการที่ใจเราเข้าไปปรุงแต่งด้วย   เมื่อเรารู้เท่าทันที่มาและกระบวนการของเหตุปัจจัย และวางท่าทีความสัมพันธ์ต่อเหตุปัจจัยนั้นอย่างเหมาะสมได้  หรือเราละวางเสียได้ กระบวนการพัฒนาทางจิตอันเป็นธรรมดาโลกนี้  คงจัดเข้าอยู่ในทางธรรมอย่างชัดเจน   

แต่เราก็ยังฝึกและสอนด้วยวิชาที่มีอยู่ในโลกได้  โดยกระบวนการที่เราคิดไตร่ตรองคัดกรองอย่างรอบคอบแยบคายแล้วว่าเหมาะแก่ภาวะของเด็กๆที่เรารับผิดชอบ  เป้าหมายก็ไม่ไกลเกินกว่าที่จะเป็นจริง  ...เป็นจริงในโลกที่เราอยู่ร่วมกันนี้เอง

พี่แอมป์จึงยกมือทุกข้างที่มีเห็นด้วยกับคุณหมอเล็กที่คุณหมอเล็กกล่าวเต็มประตูเลยนะคะ

 "การรู้เท่าทันการสื่อสาร ( Communication Literacy) ก็น่าจะอยู่ในทุกสายการสื่อสาร (และ)หรือการดำรงชีวิต"  เช่นนั้นเป็นแน่แท้ทีเดียวเจียว

ขออนุญาตเติมคำว่าและในวงเล็บไปหนึ่งคำนะคะ  อยากบอกว่าพี่แอมป์ฟังแล้วไม่ฮง  แถมยังรู้สึกว่าคุณหมอเล็กคิดได้ลึกซึ้งกว้างไกลกว่าที่พี่แอมป์เขียนไปหลายกิโลเลยค่ะ  : )

แว๊บมาบอกว่า..

"คิดถึง" ค่ะ.พี่แอมป์..

มีความสุขมากๆนะคะ..ดูแลสุขภาพด้วยค่ะ..

^^

หวัดดีจ้าแอ๊ว

น้องแวะมาตั้งแว้บนึงแน่ะ  แต่พี่ดีใจเกินหนึ่งแว้บไปแล้วละ  อิอิ

ขอบคุณสำหรับกำลังใจและขอให้น้องมีความสุขมากๆกับ"ผีเสื้อหลากสีตัวน้อยๆ" ที่น้องดูแลอยู่นะจ๊ะ 

สิ่งสำคัญที่ครูสอนเด็กโตไม่มีวันจะได้เห็นอีกแล้ว คือความน่ารักไร้เดียงสาของเด็กตัวน้อยๆ ที่ทำให้จิตใจชุ่มชื่นเบิกบานทุกครั้งที่ได้สัมผ้ส  ครูที่สอนเด็กเล็กจึงได้ดูสดใสชื่นบาน   ตามหลักฐานที่แปะมาพร้อมนี้ P   เพราะอยู่ใกล้แหล่งผลิตความสุขตัวเล็กๆ ที่ผลิตความรื่นเริงไร้เดียงสาได้โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ 

ว่าแล้วพี่ก็ขออิจฉาตาร้อนผ่าวๆซะอีกทีนะจ๊ะแอ๊ว  อิอิอิอิ  : )  : ) 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท