สาระน่ารู้ "การมีส่วนร่วมของชุมชน"


การจัดระเบียบชุมชนมีขั้นตอนและวิธีการที่สำคัญ 3 ประการ คือ การสร้างองค์ความรู้ให้เกิดขึ้นในชุมชนโดยชุมชน การจัดการพัฒนาหรือแก้ปัญหาโดยชุมชน และองค์กรชุมชนที่เป็นแกนนำในการจัดการพัฒนาและแก้ปัญหา
 การจัดระเบียบชุมชน

การจัดระเบียบชุมชนมีขั้นตอนและวิธีการที่สำคัญ 3 ประการ คือ การสร้างองค์ความรู้ให้เกิดขึ้นในชุมชนโดยชุมชน การจัดการพัฒนาหรือแก้ปัญหาโดยชุมชน และองค์กรชุมชนที่เป็นแกนนำในการจัดการพัฒนาและแก้ปัญหา

(1) องค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ของชุมชน

องค์ความรู้นี้ หมายถึง เป็นความรู้ที่เกิดจากผลิตผลของกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในชุมชนโดยการจัดการของชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถคิด ตัดสินใจ และสามารถแก้ปัญหาหรือพัฒนาสิ่งที่เกิดขึ้นหรือเกี่ยวข้องกับชุมชนได้ กระบวนการเรียนรู้ที่จัดการโดยชุมชน โดยการส่งเสริมและสนับสนุนของหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องที่สำคัญในงานจัดการต้นน้ำของหน่วยต้นน้ำที่ผ่านมา คือ เวทีชาวบ้าน ซึ่งองค์ประกอบและการจัดการของเวทีชาวบ้าน โดยสรุปมีดังนี้

การเตรียมการ

  • การสร้างความตื่นตัวในปัญหาแก่ชุมชน โดยใช้กระบวนการต่าง ๆ เช่น การประชาสัมพันธ์ การสื่อสารกับผู้นำชุมชน การประชุมชี้แจง
  • การทำให้เขาเริ่มเกิดความคิดเกี่ยวกับการแก้ปัญหา โดยการพาไปศึกษาดูงานที่เขามีการแก้ปัญหาลักษณะเดียวกันแล้วประสบความสำเร็จในชุมชนอื่น
  • การจัดเตรียมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทั้งหมด แล้วนำมาวิเคราะห์และสื่อสารให้ชุมชนเข้าใจ สื่อที่สำคัญได้แก่ รูปจำลองภูมิประเทศ หรือโมเดล
  • การเตรียมบุคลากรหรือผู้นำจากชุมชนเพื่อเป็นแกนนำการเรียนรู้ในเวทีชาวบ้านให้ผู้นำเหล่านี้มีวิธีคิดที่ถูกต้องรวมทั้งการมุ่งเน้นที่ให้เกิดประโยชน์แก่ ชุมชนเป็นหลัก โดยวิธีการที่เหมาะสม เช่น การพาไปศึกษาดูงาน หรือฝึกอบรม เพื่อให้ได้จำนวนผู้นำที่มากพอสมควรเพื่อที่จะนำชุมชนไปสู่ทิศทางที่ถูกต้อง และไม่เกิดปัญหา

การจัดเวทีชาวบ้าน

ในการจัดเวทีชาวบ้านมีสาระหรือองค์ประกอบที่สำคัญที่จะต้องจัดเตรียม เพื่อให้เกิด การเรียนรู้ที่ถูกต้องสมบูรณ์ คือ

1. ข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับปัญหา ต้องมีความครบถ้วน ถูกต้องและเพียงพอ ในการสนับสนุนให้เวทีชาวบ้านหรือเวทีสาธารณะดำเนินไปได้โดยราบรื่น สามารถบรรลุเป้าหมายในการเรียนรู้ คือสามารถกำหนดปัญหา สาเหตุของปัญหา เป้าหมาย และแนวทาง วิธีการบรรลุเป้าหมายได้ถูกต้อง
2. สื่อ จัดเตรียมสื่อที่เกี่ยวข้องทั้งสื่อบุคคล สื่ออื่นๆที่สามารถทำให้ชุมชนเกิดมโนทัศน์ นำไปสู่การเข้าใจสิ่งต่างๆได้ดีขึ้นและรวมถึงข้อมูลที่ประมวลแล้วลงในแผนภูมิจำลองภูมิประเทศ (โมเดล) ที่แสดงความสัมพันธ์ของปัญหาได้ชัดเจน
3. ผู้นำ ที่ได้รับการพัฒนาหรือเตรียมแล้ว รวมถึงเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วยที่มีจำนวนพอสมควร สามารถนำชุมชน นำขบวนการเรียนรู้ ให้ดำเนินไปได้โดยราบรื่น ซึ่งผู้นำควรจะมีคุณสมบัติที่สำคัญ คือ มีใจเป็นกลางหรือเป็นอิสระ ไม่อยู่ภายใต้อำนาจใด ๆ ทั้งสิ้น มีความรู้ความสามารถ เป็นที่ยอมรับเชื่อถือของชุมชน

4. ผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาต่าง ๆ ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบข้อมูลและแนวทางในการแก้ไขปัญหาของชุมชนในระดับหนึ่ง

5. เรื่องหรือปัญหา ที่จะนำเข้าสู่ที่ประชุมควรนำประเด็นของปัญหาให้ชุมชนทราบเพื่อที่จะได้เตรียมตัวในการเข้าร่วมเวทีชาวบ้านโดยวิธีการประชาสัมพันธ์หรือการประสานงานทำความเข้าใจในระดับหนึ่ง

6. วิธีการคิด ที่จะนำมาสู่การแก้ปัญหาในเวที ซึ่งสามารถนำหลักอริยสัจ 4 มาเป็นหลักได้

  • กำหนดปัญหาได้ชัดเจนถูกต้อง
  • กำหนดสาเหตุของปัญหาที่เกี่ยวข้องได้ทั้งหมดชัดเจนและถูกต้อง
  • กำหนดเป้าหมายหรือสภาพที่ไม่เป็นปัญหาได้
  • กำหนดแนวทางและวิธีการที่จะบรรลุถึงเป้าหมายได้

(2) การจัดการพัฒนาและแก้ปัญหาโดยชุมชน

เมื่อชุมชนสามารถคิดและตัดสินใจ คือ สามารถกำหนดปัญหาเป้าหมายรวมถึงกิจกรรม แผนงานและโครงการในการแก้ไขปัญหาได้แล้ว การจัดการเพื่อดำเนินโครงการและกิจกรรมให้ลุล่วงเพื่อ แก้ไขปัญหานั้น จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่หน่วยงานต่างๆ จะต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนสามารถบริหารจัดการกิจกรรมด้วยชุมชนเองได้ ซึ่งปัจจัยดังกล่าว ได้แก่ งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ รวมถึงการบริหาร การจัดการ ซึ่งมีกิจกรรมที่สำคัญ

3) องค์กรชุมชน

กลุ่มองค์กร หมายถึง องค์กรชุมชนที่ชุมชนจัดตั้งขึ้นมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ชัดเจน มีสมาชิก มีการบริหารการจัดการมีแผนงานและกิจกรรม รวมถึงกฎระเบียบที่เป็นเครื่องมือในการ ดำเนินการ ที่จัดตั้งขึ้นจากสมาชิกในชุมชนที่มีความพร้อมในด้านความรู้ความเข้าใจเสียสละทำงานเพื่อ ชุมชนและอาสาสมัครเข้ามาแก้ปัญหาในชุมชน อาจจะเป็นกรรมการหมู่บ้านด้วยก็ได้  เช่น กลุ่มสตรี กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มเกษตรกร เป็นต้น

" สิ่งเหล่านี้มีพร้อมหรือยังในการขับเคลื่อนการจัดเวทีประชาคม"


คำสำคัญ (Tags): #ชุมชน
หมายเลขบันทึก: 82477เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2007 19:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 14:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับคุณหนึ่งตะวัน

      ขอบคุณครับที่แวะไปเยี่ยม ผมกลับจากนิวซีแลนด์แล้ว มาชื่นชมกับการบันทึกบล็อกจัดกิจกรรมชุมชนของกศน.ปากพนังด้วยครับ

สวัสดีค่ะ

P
ขอบคุณมากน่ะค่ะ ผอ. หวังว่าคงจะมีเรื่องราวนำมาฝากมากมายในการไปนิวซีแลนด์ในครั้งนี้
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท