เรื่องเล่าจากดงหลวง 38 ผักหวานป่า เป็นพืชซาดิสม์


ความรู้นี้มีมานานแล้ว พ่อเวช ไชยเพชร ผู้นำไทบรูคนหนึ่งบอกว่า..”บางทีผมก็เลียนแบบธรรมชาติ โดยจุดไฟกับฟางข้าวแล้วเอาไปรนต้น รนกิ่งมัน แล้วใบมันจะล่วงเกือบหมดแล้วก็แตกใบออ่นทันทีอีกไม่กี่วันถัดมา”... นี่คือเรื่องจริง ผักหวานป่าเหมือนกัน อย่าสงสารมันโดยการเอากรรไกรไปบรรจงเก็บใบอ่อน กลัวมันจะช้ำ อย่า ให้หักเอาเลยแม้ว่ากิ่งมันจะเหนียวกว่ากระถินก็ไม่ต้องสงสารมัน หักเอาโลด...แล้วมันจะรีบแตกใบอ่อนใหม่ หากไปบรรจงเก็บใบอ่อนมัน เสร็จมันไม่แตกใบอ่อนเลยครับ..

 

...เอ้าผักหวาน สวย สวย กองละ 10 บาทจ้า เสียงแม่ค้าในตลาดสดเทศบาล 1 มุกดาหารเชิญชวนผู้ที่มาจับจ่ายตอนเย็นวันหนึ่ง เอามาจากไหนครับ ผู้เขียนถาม ..ช่วงเด็กนักเรียนว่างๆก็ขึ้นไปเก็บบนภูมาขายค่ะ..แม่ค้าตอบ หน้านี้เป็นหน้าผักหวานมีแม่ค้ามากกว่า 10 รายนั่งขายทั้งแบบกองเล็กๆ กองใหญ่ๆ ทั้งใส่ใบตองห่อไว้ และใส่ถุงพลาสติก พร้อมที่จะให้ผู้ซื้อหิ้วกลับบ้านได้ 

 

 ยิ่งฝนแรกตกลงมาอย่างนี้ผักหวานป่าแตกใบอ่อน ขนาดยังเล็กมากอยู่เลย มีดอกมาด้วย นี่เองที่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ชาวดงหลวงว่าเมล็ดผักหวานป่าหายากยิ่งนัก เพราะเอาดอกมาขาย มากินหมด ก็ไม่มีเหลือให้ผสมพันธ์เป็นเมล็ดเพื่อขยายเผ่าพันธุ์ต่อไป ผู้เขียนเห็นแล้วก็นึกว่า การเก็บผักหวานป่ามาขายเอาเงินนั้นรุกรานธรรมชาติมากเพียงใด  

   ยอดอ่อนผักหวานป่า 

                   ดอกผักหวานป่าที่ยังอ่อน

 การขยายพันธุ์ผักหวานป่าต้องเซียนเท่านั้น: เป็นที่รู้กันดีว่าการขยายพันธุ์มันยากเย็นมากนัก สหายธีระ บ้านโพนสว่างเป็นผู้หนึ่งที่บุกเบิกความรู้ด้านนี้จนเรียกได้ว่าเป็นผู้มีประสบการณ์มากที่สุดคนหนึ่งในดงหลวงและในเครือข่ายอินแปง ท่านได้สรุปกับผู้เขียนแบบคร่าวๆถึงโอกาสรอดของการขยายพันธุ์ผักหวานป่าดังนี้ 

วิธีการ

% การรอดชีวิต

เหตุผลประกอบ

การเพาะเมล็ดพันธุ์ 70-80 ·       เป็นวิธีที่รอดชีวิตสูงสุด·       แต่เมล็ดพันธุ์หายากมากขึ้นทุกวัน·       ใช้เวลานานกว่าจะโตพร้อมที่จะเก็บใบอ่อนกินได้·       ต้องปลูกใต้ร่มไม้ใหญ่ หรืออยู่ในกลุ่มไม้ใหญ่
การตอน 20-30 % ·       ต้องเป็นผู้มีประสบการณ์เท่านั้น เพราะต้องการเทคนิคเฉพาะสูงทีเดียว·       แต่เติบโตพร้อมจะเก็บใบอ่อนกินได้เร็วกว่าวิธีเพาะเมล็ดพันธุ์
ขุดเอาต้นอ่อนมาปลูก 5-10 % ·       โอกาสรอดน้อยมาก

 สหายธีระเริ่มตั้งแต่ออกจากป่ามาก็ทดลองตอนผักหวานป่าที่ริมเถียงนา 2 กิ่ง นำมาปลูกตายไป 1 เหลือ 1 ปีต่อมาตอน 3 กิ่ง นำมาปลูกตายไป 2 กิ่ง เหลือ 1 กิ่ง ปีถัดมาคราวนี้คิดการใหญ่เตรียมวัสดุการตอนพร้อมจึงขึ้นภูทำการตอน ที่ภูไก่เขี่ย 300 กิ่ง ภูวัดดอย 200 กิ่ง ผลปรากฏว่าไม่ได้สักต้นเดียว 

 

                                        สหายธีระเซียนผักหวานป่า

            การตอนผักหวานป่า

จึงสรุปบทเรียนว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น  ปีถัดมาจึงเอาใหม่ ตอน 30 กิ่งโดยใช้เทคนิคใหม่ได้ผักหวานออกรากที่ตอน 10 กิ่ง นำมาปลูกเหลือเจริญเติบโตเพียง 3 กิ่ง สรุปบทเรียนอีกว่าทำไม ก็พบว่า ต้องเลือกกิ่งที่มีอายุเพียง 1 ปีเท่านั้น อ่อนหรือแก่กว่านี้ไม่ได้  และการนำไปปลูกอิงไม้ใหญ่พี่เลี่ยงนั้นก็ต้องปลูกด้านตะวันออก เพื่อตอนบ่ายแสงแดดจัดร่มไม้ใหญ่จะช่วยบังแสงให้ และเมื่อปลูกลงหลุมแล้วไม่พอใจอยากย้ายไปปลูกที่อื่น ไม่ได้ ตายสนิท และ..... 

ลักษณะเฉพาะของผักหวานป่า: การนำเมล็ดผักหวานป่ามาปลูกก็ไม่ง่ายนัก เพราะหายากขึ้น และต้องเก็บเมล็ดที่ไม่แก่จัด ซึ่งการขึ้นไปเก็บในป่าต้องพอดีกับช่วงนั้นหากเร็วไป หรือเลยไปก็ไม่ได้ โอกาสการงอกก็ลดลงมาก เมื่อได้เมล็ดมาก็ต้องมีกรรมวิธีหลายขั้นตอนก่อนปลูก ต้นผักหวานป่ามีทั้งต้นตัวผู้และตัวเมีย ต้นตัวผู้นั้นหลังออกดอกแล้วก็จะไม่ติดเมล็ดจะล่วงหล่นหมด  แต่ต้นตัวเมียจะติดเมล็ด  ดอกของต้นผักหวานตัวเมียจะออกที่ลำต้นมีขนาดดอกยาวกว่า โตกว่า ส่วนดอกผักหวานป่าตัวผู้จะออกที่กิ่งฝอยหรือกิ่งแขนงมีขนาดเล็กกว่า ดอกผักหวานป่าตัวผู้นี้เก็บเอาไปกินได้ ราคาแพงมากถึง กิโลกรัมละ 300 บาทขึ้นไป  

 ต้นผักหวานป่าอายุ 20 ปีเศษ

 สหายธีระมีข้อสังเกตว่า ช่วง 3 ค่ำเดือน 3 ซึ่งเป็นวันตรุษโซ่นั้น หากหลังทำพิธีแล้วฝนตกลงมาผักหวานป่าจะทิ้งใบเกือบหมดต้นแล้วออกใบใหม่พร้อมดอกที่พร้อมเป็นเมล็ดเต็มต้นเลย  หากฝนไม่ตกใบจะล่วงลงน้อยกว่า แต่ก็แตกใบอ่อนเช่นกัน 

พ่อเวช ไชยเพชร กล่าวว่า รากผักหวานป่าแปลกมาก ไม่เหมือนรากพืชอื่นๆ มันจะมีรากใหญ่เพียง 1-3 รากที่ชอนไชไปใต้ผิวดินเท่านั้น ไม่ลงลึกเหมือนรากแก้ว มันเป็นพืชป่าและชอบที่จะขึ้นตามซอกหิน การชอนไชของรากผักหวานใต้ผิวดินนั้นพบว่ามีความยาวถึง 5-10 เมตรเลยทีเดียว และรากนี้บางทีก็แตกเป็นต้นอ่อนขึ้นมาบนผิวดินพร้อมโตเป็นต้นใหม่ด้วย เมื่อระบบรากเป็นอย่างนี้ การปลูกจึงไม่ต้องขุดหลุมลึกมาก  ชาวบ้านบางคนเลียนแบบธรรมชาติ โดยเอาหินมารองก้นหลุม หรือพ่อแสนเอาหินมาวางรอบๆต้นผักหวานป่า พ่อเวชกล่าวต่อไปว่า ศัตรูผักหวานป่าคือ จิ้งหรีด มันจะมากัดกินต้นอ่อนตาย หนอนบางชนิดมาเจาะลำต้น ด้วงบางชนิด และที่สำคัญ ปลวกดิน มันมากินผิวเปลือกลำต้นผักหวาน 

ผักหวานป่าเป็นพืช Sadism : เราเคยได้ยินชาวบ้านบอกบ่อยๆว่า ที่เผาป่าเพราะต้องการกินผักหวานป่า เพราะไฟป่าจะลวกลำต้นเหมือนเป็นการกระตุ้นให้มันรีบออกใบอ่อนเพื่อเตรียมการออกดอก ออกเมล็ด เพื่อขยายพืชพันธุ์ต่อไป  ความรู้นี้มีมานานแล้ว พ่อเวช ไชยเพชร ผู้นำไทบรูคนหนึ่งบอกว่า..บางทีผมก็เลียนแบบธรรมชาติ โดยจุดไฟกับฟางข้าวแล้วเอาไปรนต้น รนกิ่งมัน แล้วใบมันจะล่วงเกือบหมดแล้วก็แตกใบออ่นทันทีอีกไม่กี่วันถัดมา...  

ไข่มดแดงที่ชาวบ้านมักจะเอาไปประกอบอาหารพร้อมกับผักหวานป่า

สหายธีระกล่าวต่อไปว่า อาจารย์เห็นชาวบ้านเขาเก็บใบกระถินมากินไหม เขาเก็บอย่างไรอาจารย์ลองบอกซิ เอ้าก็ต้นกระถินมันอ่อนก็โน้มกิ่งมันลงมาแล้วก็หักเอายอดอ่อนไป  อาจารย์รู้ไหมว่าหากโน้มกิ่งกระถินลงมาแล้วเอากรรไกตัดกิ่งไม้ไปค่อยๆตักยอดอ่อนกระถินลงมามันจะเป็นไง..มันจะไม่แตกใบอ่อนอีกครับ.. ผู้เขียนงง เราคนเมืองไม่เคยสังเกตธรรมชาติของมันเลย ดีแต่กินมัน..

นี่คือเรื่องจริง ผักหวานป่าเหมือนกัน อย่าสงสารมันโดยการเอากรรไกรไปบรรจงเก็บใบอ่อน กลัวมันจะช้ำ  อย่า ให้หักเอาเลยแม้ว่ากิ่งมันจะเหนียวกว่ากระถินก็ไม่ต้องสงสารมัน หักเอาโลด...แล้วมันจะรีบแตกใบอ่อนใหม่  หากไปบรรจงเก็บใบอ่อนมัน เสร็จมันไม่แตกใบอ่อนเลยครับ.. 

สหายธีระย้ำข้อเท็จจริงนี้ แถบอธิบายตามความเข้าใจของหมอป่าว่า การหักมันเหมือนการสร้างแรงสะเทือนแก่ต้นมัน  หากไปเก็บอย่างทนุถนอมนั้นมันไม่ได้สร้างแรงสะเทือนแก่ต้นมันครับ  เมื่อพ้นฤดูใบอ่อนแล้วชาวบ้านยังเก็บใบที่ไม่แก่มากมาย่างไฟกินกับป่น แซบ..หรือเอามาผัดน้ำมันเปล่าๆกินก็ได้ พ่อเวชทิ้งท้ายว่า รู้ไหมว่าเอาใบผักหวานไปผัดน้ำมัน น่ะ มันไม่สุกนะ วิธีทำให้สุกคือเอาไปลวกหรือต้มใบผักหวานก่อนแล้วจึงเอามาผัด มันจึงสุก...

สุดยอดจริงๆผักหวานป่านี่ เซียน หรือครูผักหวานป่าที่ดงหลวงคือสหายธีระและพ่อแสน วงษ์กระโซ่ พ่อเวช ไชยเพชร และอีกหลายท่านที่ไม่เปิดเผยนาม

คำสำคัญ (Tags): #sadism tree#ผักหวานป่า
หมายเลขบันทึก: 82116เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2007 23:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (32)

สวัสดีค่ะ ไม่รู้จักแล้วก็ไม่เคยทานผักหวานเลย แต่อ่านดูแล้วน่าลองไปหาทานบ้าง แต่ กทม. ไม่รู้มีขายที่ไหน

อ่านแล้วได้ความรู้ดี  ไม่เคยสังเกตเลย ทีหลังจะไม่เอากรรไกรไปตัดกระถินแล้วค่ะ   : )

สวัสดีครับคุณ   จินตนา อิ่มรักษา

  • ในกรุงเทพฯต้องไปทานร้านอาหารอีสาน แล้วถามว่ามีผักหวานป่าหรือไม่  ฤดูนี้น่าที่จะมีขายครับ เขาจะมำแกงลาว หรือผักน้ำมันอร่อยมากครับ ต้องลองทานสักครั้งนะครับ
  • ใช่ครับเรื่องกระถินของใกล้ตัว คนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจธรรมชาติมัน
  • ขอบคุณครับที่มาเยี่ยม
  • มาทักทาย
  • ที่บ้านใช้เผาเหมือนกัน
  • แต่ว่ายังไม่เคยตอนใช้เก็บเมล็ดมาเพาะ
  • จะลองกลับไปตอนดู
  • แกงส้มอร่อยมากเลยครับผักหวาน
  • แม่ผมชอบกิน
  • อ่าวประวัติแล้วไม่กล้ากินเลย กลัวผักหวานหมดป่าก่อน :>
  • ชาวบ้านคงต้องหาผักหวานกันแบบพอเพียงหน่อยกระมังครับ ไม่งั้นหมดป่าแน่
  • อาจารย์ขจิตครับ ที่เมืองกาญจนบุรีน่าจะมีผักหวานป่ามากนะครับ เพราะป่าเยอะ
  • ผมก็ชอบกิน แต่เสียดายที่มีดอก เรามีการรณรงค์กันบ้างว่าหากเข้าป่าเก็บผักหวานแล้วอย่าเก็บดอกมาด้วย แต่ยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร
  • ขอบคุณครับ 

ท่านAj Kae  ครับ

  • การสร้างสำนึกในการอนุรักษ์ป่าไม้ หรือการใช้ประโยชน์จากป่าแบบสมดุลย์นั้นนังเป็นเรื่องที่หลายแห่งทำไม่ได้ผล เหมือนจับปูใส่กระด้ง คนนี้หยุด คนนั้นไปทำ  พอคนนั้นหยุดทำ คนโน้นทำอีกแล้ว
  • การรณรงค์เชิง Mass ยังไม่ได้ผล มันสู้กระแสความต้องการเงินไม่ได้ครับ
  • บางทีเราคิดเล่นๆว่าหากการรณรงค์เหมือนกับระบบธุรกิจทำงานโฆษณา ประชาสัมพันธ์นั้นก็น่าจะเกิด Mass ขึ้นมาบ้าง  แต่ที่สำคัญที่สุดคือการกระตุ้นสำนึก ซึ่งบางทีมันสวนทางกับความยากจนและต้องการเงินดังกล่าว
  • ดังนั้นเราทำสองวิธีคือ รณรงค์ในกลุ่ม และสร้างขึ้นใหม่คือ การรีบเร่งขยายพันธุ์ผักหวานป่าด้วยทุกวิธีที่คนนั้นถนัด ชอบครับ
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ คุณบางทราย

       ไม่เคยเห็น ไม่เคยทานค่ะ  อยากเห็นภาพจัง และคงได้มีโอกาสทาน ตอนไปบ้านครูบาฯ ช่วงเมษาฯ นะคะ

http://gotoknow.org/blog/Mikhama/22515

เคยเขียนบันทุกเกี่ยวกับผักหวานไว้ค่ะ เอามาฝาก มีรูปให้ดูด้วย แต่.... แทบไม่รู้ว่าเป็นผักหวาน

ดูเอาแล้วกันนะคะ

P  ขอบคุณ คุณ Kawao มากค่ะ
           ตามไปอ่านแล้วค่ะ  โอ้โห ไม่น่าเชื่อนะคะ ว่าต้นจะเล็กขนาดนั้น  แล้วเด็ดแต่ละที มิโล้นต้นเลยเหรอค่ะ
     

อ.รัตติยา ครับ

  • ผมกำลังจะเอารูปขึ้น พอดีน้องกาเหว่าช่วยรูป ขอบคุณมากเลยครับ
  • ผมพยายามจะยืดอายุผักหวานป่าให้คงเหลือถึงช่วงนั้นจังเลย ไม่แน่ใจครับ  แต่หากมีก็ไม่พลาดแน่ๆครับ
  • ที่ว่ายืดอายุคือสั่งชาวบ้านที่ปลูกผักหวานป่าว่าขอเก็บไว้แล้วไปเก็บช่วงนั้นได้ไหมครับ  พยายามครับ
  • ขอบคุณน้องกาเหว่านะครับ พี่ตามเข้าไปดูแล้ว เห็นชาวบ้านกำลังเก็บใหม่เลย
  • เห็นอาจารย์วินัยด้วย  คราวนั้นอาจารย์ไปเล่านิทานให้ชาวบ้านฟังกี่เรื่องล่ะ
  • ชาวบ้านชอบอาจารย์นะครับ
  • ขอบคุณครับ
  • อ่านบทความนี้บอกได้เลยว่า โดนใจผมมากๆ เลยครับ ทำให้ผมอยากศึกษาต้นผักหวานป่าชนิดนี้ขึ้นมาจับใจครับ อยากรู้ว่าจะขยายพันธุ์แบบตอนกิ่งหรือวิธีอื่นๆ ได้อย่างไร กำลังคิดว่า ปักชำแบบงูเลื้อย น่าจะได้ผล คือ ให้ย่าน(ลำต้นหรือรากใต้ดิน)ของรากมันนะครับ แบบฝังใต้ดินปล่อยให้ส่วนหนึ่งอยู่เหนือดินสลับกันไปเรื่อยๆ ประมาณว่ารูปคลื่น มีการอยู่ในดินและใต้ดิน ท้าทายมากๆ ครับ
  • สำหรับการหักกิ่ง จริงๆ หลายๆ ชนิดครับ หากใช้กรรไกรตัดไม่ค่อย แตกมากเหมือนกับการใช้มือหักครับ เช่นดอกขี้เหล็ก กิ่งขี้เหล็กก็เช่นกัน
  • การใช้ไฟลนเช่น ต้นมะขาม เวลาคนอยากได้ยอดมะขามอ่อนมากินก็มักก่อกองไฟใต้โคนต้นแล้วควันไฟจะขึ้นไป ทำให้ใบร่วง แล้วอีกไม่นานก็จะได้กินยอดมะขามครับ (ไม่เกิดเป็นต้นไม้บ้างให้รู้ไปครับ จะสำลักควันหรือไม่)
  • นี่หล่ะครับ สุดยอดความต้านทานของต้นไม้ครับ
  • การรณรงค์ปลูกป่าในเมืองไทย มักเป็นแบบชั่ววูบครับ ขอให้ได้ทำกันแล้วก็ปล่อยกันทิ้งไปครับ
  • ให้ถึงวันที่ภัยร้ายแรงมาถึงก่อนครับ คนจะรักธรรมชาติขึ้นอีกเยอะครับ
  • ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ ของคุณไพศาลครับ เก็บมาเล่าอีกนะครับ

คุณเม้งครับ

  • มีเกษตรกรเอารากที่แตกเป็นต้นอ่อนมาปลูกเหมือนกัน ได้ครับ แต่อัตราการรอดยังต่ำอยู่
  • อย่างไรก็ตามผมคิดว่ามีแต่ชาวบ้านทำการทดลองมากมาย นักวิชาการก็มีเหมือนกัน แต่ยังน้อยอยู่ ผมว่าธรรมชาติของต้นไม้ที่ต้องหักกิ่ง หรือเอาไฟลนต้นแล้วจะได้ดอก ได้ใบกอนนั้นน่าจะมีอีกหลายชนิด 
  • ชาวบ้านเขาเฉยๆ แต่เรานี่แหละตื่นเต้น
  • หากสนใจการขยายพันธุ์ผักหวานป่าลองมาดงหลวงซิครับ ยินดีต้อนรับครับ
  • ขอบคุณครับ
  • ครับน่าสนใจครับ ผมสนใจลักษณะการทำงานระบบต่างๆ ของต้นไม้นะครับ ว่ามันจะดูดอาหารอย่างไร ส่งไปทางลำต้นอย่างไร เด็ดยอด เกิดปรากฏการณ์การทำลายระบบตายอดข่มตาข้าง อะไรทำนองนี้ครับ ทำแตกกิ่งเยอะตอนที่เราหักด้วยมือ เกิดการกระตุ้นฮอร์โมน Cytokinin หรือ Auxin อะไรทำนองนี้ครับ
  • น่าสนใจมากๆ เพราะแต่ละชนิดก็แต่ละแบบครับ อยากศึกษาเพื่อช่วยเกษตรกรนะครับ เค้าจะได้เดินถูกทางแล้วเร็วในการพัฒนาในสิ่งที่เค้าสนใจ ให้ออกมาในเชิงการผสมผสานนะครับ
  • ขอบคุณมากๆ เลยครับ
  • การตอนชาวบ้านใช้ขุยมะพร้าวแช่น้ำไหมครับ หากไม่ใช้แนะนำขุยมะพร้าวแช่น้ำไว้หนึ่งคืนแล้วเอามาใส่ถุงแล้วค่อยไปตอนครับ
  • ตอนจะห่อ ให้เยื่อมันแห้งสนิทก่อนครับ
  • จากความซาดิสม์ของต้นนี้ เผลอลองทดลองด้วยกันทุบบริเวณกิ่งให้ช้ำๆ ดูครับ เผื่อจะงอกรากดี ห้าๆๆ (มั่วเอานะครับ)
  • ขอบคุณครับ

ผักตัวนี้ เป็นไม้ปราบเซียน

ปลูกยากมาก  ผมมีต้นเท่าแขนต้นหนึ่ง ปีนี้แตกยอดบ้างแล้ว ส่วนต้นเล็กๆบางต้นขึ้นช้า บางต้นขึ้นเร็ว

แต่ส่วนใหญ่โตช้า จะโตเร็วบางต้น ทั้งที่ปลูกที่เดียวกัน เวลาใกล้เคียงกัน เอาใจยากยิ่งกว่าแม่ยายบางคนเสียอีก ขอบคุณมากที่เอาเรื่องดีๆมาให้เรียน

  • คุณเม้งครับ เมื่อคืนไม่ได้ตอบทันที เพราะต้องไปดูคุณแม่เฒ่าที่นอนโรงพยาบาลน่ะครับ
  • ชาวบ้านบอกว่าขุยมะพร้าวถูกแช่น้ำก่อนครับ ใช่แล้ว แช่น้ำมากกว่า 1 คืนครับเพื่อเอาความฝาดของมันออกไปก่อน จึงเอาไปใช้หุ้มเพื่อตอน
  • "ตอนจะห่อ ให้เยื่อมันแห้งสนิทก่อนครับ" อันนี้ผมต้องถามเซียนก่อนครับ
  • "จากความซาดิสม์ของต้นนี้ เผลอลองทดลองด้วยกันทุบบริเวณกิ่งให้ช้ำๆ ดูครับ เผื่อจะงอกรากดี ห้าๆๆ (มั่วเอานะครับ)"  น่าสนใจเป็นประเด็นที่ทดลองได้ครับผมจะลองเอาไปเสนอชาวบ้านดูครับ
  • ขอบคุณมาก
  • มัววุ่นๆกับแม่เฒ่าอยู่ครับท่านครูบาเลยเพิ่งจะมาตอบ
  • จริงๆครับครูบาเอาใจยากมาก ชาวบ้านถ้าไม่อดทนและใจรักจริงๆเนี่ย เลิกกันเป็นแถวแล้ว มีพืชผักอื่นๆมากมายที่เล่นแล้วไม่เสียอารมณ์  นี่แสดงว่าคนที่เล่นจริงๆจะต้องเป็นคนอดทนจริงๆ ผมสังเกตพ่อแสน สหายธีระ พ่อเวช เป็นคนนิ่มนวนจริงๆ ใจเย็น
  • แม่ยายผมหรือครับ แค่ไปบีบๆ นวดๆให้ท่านหน่อยก็ยิ้มไปทั้งวันแล้วครับ ตอนนี้นอนแบบอยู่บนเตียงมา 7 ปีแล้ว
  • ขอบคุณครูบามากครับ

สวัสดีค่ะ

เพิ่งทานแกงส้มผักหวานไปเมื่อวันอาทิตย์นี่เองค่ะ..แต่เป็นผักหวานที่มาจากกระทรวงเกษตรแพ็คใส่ถุงขายที่แมคโครฯ.. เห็นติดว่ากิโลละ 160 บาท เพาะพันธุ์เองและปลอดสารพิษแถมยังอุดมไปด้วยแคลเซี่ยม  ฟอสฟอรัสและสารอาหารอีกหลายชนิด ( ขออภัยที่จำที่เหลือไม่ได้ เนื่องจากทิ้งถุงไปแล้ว ) ไม่แน่ใจว่าจะเป็นผักหวานป่าเหมือนของคุณบางทรายหรือไม่..ผักหวานมีกี่ชนิดคะ?

คุณเบิร์ดครับ

  • ผมเองก็ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องผักหวานนะครับ  ออกตัวก่อน
  • เท่าที่ผมเข้าใจนั้น ผักหวานมี 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ ผักหวานบ้านกับผักหวานป่า ผักหวานบ้านก็ปลูกกับตามหลังบ้านทั่วไปและสามารถเก็บใบอ่อนมาทำอาหารกินได้ แต่ความอร่อยนั้นใครต่อใครยกนิ้วให้กับผักหวานป่าครับ
  • ผักหวานป่าผมคิดว่ามีหลายชนิดย่อยลงไป ผมยังไม่พบนักวิทยาศาสตร์มาจำแนกแยกแยะออกไปนะครับ(หรืออาจมีแต่ผมไม่ทราบก็ได้ครับ)
  • ชาวบ้านแนะนำผมว่าผักหวานป่ามี 2 ชนิดย่อยคือ ผักหวานโคก และผักหวานดง  ชาวบ้านเลือกผักหวานโคกครับเพราะอร่อยกว่า ส่วนผักหวานดงชาวบ้านบอกว่ารสชาดจะออกฝาดๆ ครับ มีลักษณะรายละเอียดบ่งส่วนที่แตกต่างกันตามบันทึกข้างต้นครับ
  • ขอบคุณมากครับ
  • คุณเบิร์ดครับ
  • เนื่องจากผักหวานป่าเป็นพืชเฉพาะฤดู เขาจะออกยอดอ่อนช่วงต้นฤดูร้อนเช่นปัจจุบันนี้ และจะไปหมดเอาในเดือนปลายมีนาคม และเมษายน ถือว่าเป็นช่วงสั้นๆที่จะหาผักหวานกินได้ และเป็นของหายากมากขึ้น ราคาจึงแพง
  • ราคาโดยทั่วไปขีดละ 10-20 บาทแล้วแต่คุณภาพและปริมาณของผักหวานป่านั้นๆ และมักจะขายคู่กับ ไข่มดแดงครับ เพราะเอาไปประกอบอาหารด้วยกัน
  • มีคนที่เห็นช่องทางทำธุรกิจกับผักหวานป่า เพราะราคาที่แพงนี่เอง แต่เนื่องจากผักหวานป่าเป็นพืชปราบเซียนอย่างที่ครูบาสุทธินันท์กล่าว จึงยังไม่เห็นที่ใดทำสำเร็จนอกจากที่จังหวัดสระบุรีแห่งเดียวซึ่งมีทุนเดิมของธรรมชาติอยู่ก่อนบ้างแล้ว
  • ผักหวานป่าส่วนใหญ่ในปัจจุบันที่มีการซื้อขายกันนั้นมาจากป่าครับ
  • ทุกที่ที่จะแตกกิ่งใหม่ หรือบริเวณตานะครับ จะสามารถเปลี่ยนเป็น ราก หรือกิ่งใหม่ ก็ได้ครับ อยู่ที่ความเหมาะสมของแวดล้อมครับ มีวิธีครับ ไปลองซื้อฮอร์โมนเร่งรากมาทานะครับ ก่อนจะตอนครับ อาจจะช่วยได้ดีขึ้นคับผม
  • ผมเองอยากทดลองมากครับ ของพวกนี้ต้องทดลองให้รู้แจ้งเห็นจริงครับ รู้เรารู้เรา แล้วอยู่ร่วมกันครับ
  • แม่เฒ่าดีขึ้นยังครับ ขอให้หายในเร็ววันครับ
  • กราบขอบพระคุณมากสำหรับมิตรภาพที่ดีครับ
  • ผมเห็นด้วยครับน่าทดลอง ผมจะไปคุยกับสหายธีระ และพ่อแสน ดูครับ ได้ผลว่าอย่างไรค่อยคุยกันครับ
  • แม่เฒ่าดีขึ้นแล้วครับ ท่านอายุ 97 ครับท่านเป็นคนตรัง ทานอาหารทะเลมาตลอด ได้สารโอเมกา 3 มาก ทำให้คุณหมองงว่าอายุขนาดนี้แล้วความจำยังนับว่าดีเลิศกว่าคนสูงอายุทั่วไป 
  • ขอบคุณมากครับ

เหตุเพราะบันทึกนี้ เหว่าเลยต้องไปหาแกงผักหวาน จากตลาดโรงอาหารชาย มข. มาทานเลยนะเนี้ย

  • อร่อยละซี
  • พี่เองเขียนไปเขียนมา เลิกงานก็ไปตลาด ซื้อมาซะ 3 กอง ต้มใส่มามาต้มยำ(เจ) แซบ อย่าบอกใครเชียว
  • คิดว่ากว่าจะหมดฤดูของผักหวานคงจะกินอีกหลายครั้งแหละครับ
  • ขอบคุณครับ
  • เห็นแล้วเกิดอาการอิจฉาอย่างรุนแรง
  • แกงผักหวานนี่สุดยอกแกงผระเภทผักครับ
  • ยิ่งมีไข่มดแดงยิ่งแซบไปใหญ่
  • แต่ก้อยใข้มดแดงนี่สุดยอกของสูงครับ
  • หากได้น้อยแกงใส่ปลาค่อ เนี่ยแหม หิวครับหิว
  • อยากมีโอกาสไปเก็บผักหวานมาก ต้องหาเวลาเดินป่าแล้วครับ
  • ใช่แล้วคุณออต
  • ผักหวานป่าเป็นผักที่คนชื่นชอบมากที่สุดชนิดหนึ่ง ไม่ว่าชาวบ้าน ชาวเมือง แม้แต่ชาวเขา
  • ของสูง ของสูง หายาก มีน้อย ราคาแพง มีเฉพาะฤดูกาล
  • ขอบคุณครับ
  • ที่ขายๆส่วนมาก มาจากชายแดนเขมร มีการชุบสารฟอร์มาลีน (ไม่แน่ใจว่าเขียนอย่างนี้หรือเปล่า) เพื่อให้มันดูสดๆอยู่นาน 
  • ผู้บริโภครับกรรม แทนที่จะเป็นผักหวาน  ก็กลายเป็นผักขมปี๋
  • ทางที่ดีปลูกเอง กินเอง แบบ สหายธระ สุดยอด!!
P
ใช่แล้วครับท่านครูบา การทำงานในระยะใหม่คงต้องรณรงค์เรื่องนี้กันมากทีเดียวครับ
พวกแม่ค้ามุ่งเอาแต่เงินอย่างเดียวไม่นึกถึงสุขภาพของคน ทำบาปกรรมแท้ๆ  งานพัฒนาเป็นแบบนี้ เหมือนตะกร้ารั่วเอาไปตักน้ำ อุกตรงนี้ ไปรั่วตรงโน้น อุดตรงโน้นรั่วตรงนี้ ไม่มีวันจบสิ้น ก็เข็นครกขึ้นภูเขาแหละครับ ทำไปจนตาย แต่ก็ต้องทำครับ

เป็นเด็กดงหลวงค่ะชอบกินมากอร่อยมาก ที่บ้านก็ซื้อต้นกล้าไปปลูกเยอะเลย เป็นของป่าที่เริ่มหากินยากและมีราคาแพง ช่วยกันปลูกเยอะๆ เพราะในป่ามันเริ่มหากินยากแล้ว

สวัสดีครับ ชนญชนก อยู่ดงหลวงหรือ ดีจัง ช่วยกันอนุรักษ์ผักหวานป่านะครับ อย่าซื้อดอกมากิน และต้องบอกต่อไปด้วย อย่าเก็บดอกมาขายมากินปล่อยให้เขาโตมีเมล้ดบ้างจะได้เอาไปขยายพันธุ์ต่อนะครับ  ชอบกินก็ต้องช่วยกันนะครับ ไม่เช่นนั้นดงหลวงก็ไม่เหลือผักหวานป่าแล้ว ยินดีรู้จักครับ

ยากปลูกผักหวานเป็นมั้ง....ทำไงดีครับ...ไปหาซื้อที่ไหนได้บ้าง.และมีการปลูกและดูแลอย่างไรบ้าง..ผมอยู่นครพนมแถวบ้าน

ก็มีภูเขาผักหวานป่าก็มี..แต่ผมไม่รู้วิธีนำมาปลูก เคยขุดต้นเล็กๆจากเขาลงมาปลูก แต่ไม้ติดครับ ใครมีวิธีช่วยแนะนำผมด้วย.....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท