คนบนดอยพึ่งตนเอง : บทเรียนจากการพัฒนา คนลาหู่


สิ่งที่อยากนำเสนอตรงนี้คือ การพยายามนำเสนอตัวตนคนชาติพันธุ์ ผ่านงานวิชาการ ที่หลายคนบอกว่ามันยากนัก ...

   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">จากที่ผมเขียนใน สวรรค์บนดอย วิจัยเพื่อท้องถิ่น เป็นการเกริ่น ชมบรรยากาศก่อนที่จะเกิดเวทีเสวนา ชุมชนคนวิจัยที่แม่ฮ่องสอน ที่เราจัดกันที่บ้านพี่น้องลาหู่แดง ผาเจริญ อ.ปางมะผ้า แม่ฮ่องสอน</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>บ่อยครั้งที่หลายๆคนแซวผมว่า ผมแวะรายทางมากเกินไป กว่าที่จะถึงเนื้อหา …ก็จริงครับ ผมให้ความสำคัญกับบริบทข้างทางก่อนที่จะถึงเนื้อหาจริงๆ ผมว่าสำคัญครับ การซึมซับเอาบริบทต่างๆก่อนที่จะกล่าวถึงเนื้อหา ผมคิดว่าสำคัญ ยิ่งการทำงานที่ต้องใช้อารมณ์ ความรู้สึก พลังใจมากๆ ผมก็เป็นเช่นนี้ ดังนั้นงานของผมจึงออกมาในรูปแบบอธิบายเสียจนหลายท่านบอกอืดอาดเสียเวลา…ก็ตามแต่จริตของแต่ละท่านเถอะครับ  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">เนื้อหาในเวทีชุมชนคนวิจัยแม่ฮ่องสอน ช่วงเช้าเป็นการนำเสนอผมงานวิจัยลาหู่แดง เจ้าของสถานที่ ว่าก้าวหน้าไปแค่ไหน และเกิดอะไรขึ้นบ้างในระหว่างการทำงาน มีบทเรียนที่สำคัญอย่างไร และเกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างไร โดยหนุ่มน้อยนักวิจัยชาวบ้านลาหู่ น้องแสนสะอาด</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">น้องแสนสะอาดหนุ่มน้อยลาหู่ กับพ่อเฒ่าแอโจ ปราชญ์ลาหู่ บ.ผาเจริญ อ.ปางมะผ้า แม่ฮ่องสอน</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ที่บ้านผาเจริญ ด้วยบริบทของชุมชนเกี่ยวข้องกับการผลิตไม้ผลเมืองหนาวที่หลากหลายกว่า ๒๐ ชนิด ปัญหาที่เกิดขึ้น คือ การจัดการผลผลิตหลังจากผลผลิตผลิดอกออกผลเต็มที่ ที่ท่านๆเห็นผลไม้เมืองหนาวราคาแพงในห้างใหญ่ๆในกรุง แต่ที่บนดอยที่ผู้ผลิตตรงนี้ ราคาถูกและปล่อยให้เน่าทิ้งอย่างน่าเสียดาย จึงเป็นที่มาของ โจทย์วิจัยที่ชาวบ้านลาหู่ช่วยกันขบคิดขึ้นเพื่อแสวงหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยใช้ กระบวนการจากงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นเป็นทางเลือกในการพัฒนา</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">เกิดโครงการวิจัย การพัฒนาศักยภาพในการจัดการจัดการไม้ผลเมืองหนาวปลอดสารเคมี ขึ้น โดยชูประเด็น เศรษฐกิจพอเพียง ควบคู่กันไปด้วย น่าสนใจยิ่งนัก</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>งานชิ้นนี้กำลังดำเนินการในช่วงที่หนึ่งครับ กระบวนการส่วนใหญ่จึงเป็นการเก็บข้อมูล เรียนรู้ตนเองก่อน ใช้เวลากับช่วงนี้นานถึง ๖ เดือน ทั้งเก็บข้อมูลบริบทชุมชน ประวัติศาสตร์ ชุมชน เก็บข้อมูลการปลูก การผลิต ที่ลงลึกในรายละเอียดแทบบอกได้ว่านักวิจัย ลงไปนับต้นไม้เมืองหนาวมทุกต้นที่อยู่บนดอย จำแนกชนิด รวมถึงคำนวณผลผลิต ที่ขายได้ ที่เหลือจากขายนำมาแปรรูปและ เน่าเสีย เป็นข้อมูลเชิงปริมาณที่นักวิจัยชาวบ้านนำมาเสนออย่างน่าสนใจ…เป็นจุดเริ่มต้นที่ให้ชาวบ้านรู้ตนเองเป็นเบื้องต้น  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">งานวิจัยชิ้นนี้ผมมองเห็นรูปแบบก็เป็นรูปแบบที่ก้าวไปตาม Step ของงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นหาก แต่งานชิ้นนี้ทำโดยนักวิจัยชาวลาหู่ โดยมีพี่เลี้ยงอยู่ห่างๆ ช่วยในการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง เกิดรูปแบบการทำงานที่ต่อเนื่อง ชัดเจน และเริ่มเห็นแนวทางการแก้ไขปัญหาขึ้นอย่างเป็นระบบ…ผมว่าคนเมืองต้องไปดูเป็นแบบอย่างแล้วครับ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ด้วยกระบวนการแบ่งออกเป็น ๓ ขั้นตอนหลัก(ตลอดโครงการวิจัย) ดังนี้ครับ (ผมดูจากวัตถุประสงค์งานวิจัย)</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><ul>

  • ช่วงของการเรียนรู้ตนเอง Inside out ---à วิเคราะห์ตนเอง ---à รู้ตนเอง
  • ช่วงเรียนรู้ปัจจัยข้างนอก Outside In -----à SWOT ---à รู้เขา ย้อนมาดูเรา
  • ช่วงของการปฏิบัติการพัฒนา Action Development ---à วิเคราะห์ สังเคราะห์ ทดลอง และลุย!!!
  • </ul><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ถึงแม้จะออกมาในแนว ธุรกิจชุมชน แต่ทีมวิจัยบอกว่า ไม่ได้เป็นการแสวงหากำไรทางธุรกิจ แต่เป็นการจัดการผลผลิตชุมชนเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และดำเนินตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่เน้น ทางสายกลาง พออยู่พอกิน จัดการผลิต เหลือกินก็ขายไป</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">สิ่งที่เกิดขึ้นควบคู่กับการพัฒนาด้วยกระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่บ้านผาเจริญ คือ การเกิดกลุ่มต่างๆขึ้น ทั้งกลุ่มผลิต กลุ่มแปรรูป และกลุ่มที่ทำงานด้านตลาด รวมถึงกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ที่มีการจัดการอย่างเป็นระบบ…</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">สิ่งที่อยากนำเสนอตรงนี้คือ การพยายามนำเสนอตัวตนคนชาติพันธุ์ ผ่านงานวิชาการ ที่หลายคนบอกว่ามันยากนัก  …จริงๆงานวิจัย ก็เป็นเพียงแค่คำๆหนึ่ง เขียนมาดูขลังชอบกล พูดกันง่ายๆทำกันง่ายๆ คือ ตั้งคำถามทำไม อย่างไร และจะทำให้ดีขึ้นอย่างไร และหาคำตอบอย่างเป็นระบบ ร่วมกันคิด ร่วมกันทำ พร้อมทั้งปฏิบัติการในที่สุด …ชาวบ้านทำกันอยู่แล้วเป็นวิถี ครับ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ต้องติดตามเรียนรู้กับพื้นที่อย่างต่อเนื่อง…และนำองค์ความรู้ กระบวนการที่น่าสนใจ ถอดออกมาเผยแพร่เป็นระยะๆไป เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  และนำไปประยุกต์ทำงานในพื้นที่อื่นๆได้</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>

    หมายเลขบันทึก: 79437เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2007 12:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (18)
    • งานของน้องคงจะเป็น Action research ซึ่งเป็นวิธีการที่ดี น่าสนับสนุนมาก
    • พี่มีบทเรียนเรื่องกลุ่มออมทรัพย์ที่สะเมิง สมัยนั้นเราใช้ approach ด้วยกลุ่ม Credit Union ก้หลักการใหญ่อันเดียวกัน กลุ่มออมทรัพยเพื่อการผลิตนั้น กรมการพัฒนาชุมชนมาดัดแปลงให้เข้ากับระบบการผลิตขิงบ้านเรามากขึ้น ที่สะเมิงพี่ไปตั้งไว้ตั้งแต่ปี 2518 - 2520 ทราบว่าปัจจุบันมีเงินหลายล้านแล้ว และปรับตัวเองเป็นระดับตำบล ซึ่งแต่ก่อนเป็นระดับหมู่บ้าน
    • ส่วนเรื่องตลาดนั้น เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับกิจกรรมพื้นฐานชาวบ้านภาคเหนือเรามี  กาดงาย กาดแลง  ... เป็นพื้นฐานอยู่แล้ว พี่ก็ทำกิจกรรมนี้ในพื้นที่ของพี่ที่ดงหลวง มีตลาดชุมชนเกิดขึ้น เงินหมุนเวียนในชุมชนมากมายไม่น่าเชื่อ ปีละ 2 ล้านกว่า  หากสนใจพี่จะส่งเอกสารมาให้นะ
    • จะติดตามงานของน้องครับ

    เช้าบ้านทำอยู่เป็นวิถี

     แต่ชาวเรา (มหาลัย) บางแห่งต่างคนต่างอยู่ ไม่ร่วมกู่สร้างสรรค์ น่าสงสารครับ

    แวะมาราตรีสวัสดิ์ค่ะ

    น้องเค้าชื่อน่ารักจังแฮะ น้องแสนสะอาด

    บายจ้า

    ^_________^

     

    z z Z Z Z

    พี่ไพศาล ที่เคารพ

    ด้วยความเคารพครับพี่ ต้องขอบคุณที่พี่มาอ่านและให้ข้อคิดเห็น ขึ้นไปกาแลครั้งใด ไม่วายจะคิดถึงพี่นะครับ บรรยากาศที่เชียงใหม่ยังเย็นๆอยู่เลย

    เรื่องเครติตยูเนี่ยนมีหลายๆแห่งที่ดำเนินการต่อไปค่อนข้างดีมากๆ และบางแห่งก็ล้มเหลว อยากให้มีการถอดบทเรียนเรื่องนี้นะครับ เพราะจะได้ประโยชน์มาก

    เครติตยูเนี่ยน ส่งผลต่อการเข้มแข็งของชุมชนมาก เป็นกิจกรรมที่แสดงถึงการพึ่งพาตนเองให้ได้ อย่างมีระบบ

    ผมสนใจเรื่อง "ตลาด" ที่ดงหลวงครับ ผมคงต้องขอรบกวนพี่แล้วละครับ

    ส่วนผมมีหนังสือเล่มหนึ่ง เกี่ยวกับ ประสบการณ์การทำกระบวนการเรียนรู้  กรณีFood bank แม่ฮ่องสอน ผมเป็นหนึ่งในกระบวนการนั้นด้วย ซึ่งมีเนื้อหา กระบวนการต่างๆที่น่าสนใจทีเดียวครับ สอดคล้องกับงานของพี่ไพศาลเลย ผมตั้งใจมาก่อนหน้านี้แล้วที่จะส่งไปให้ครับ

    ผมจะส่งให้ตามที่อยู่ในBlog พี่นะครับ

    ขอบคุณมากครับ

    อาจารย์หมอ JJ

    ไม่กี่วันผมคุยกับพี่สาวคนหนึ่งเรื่องของการจัดอันดับมหาวิทยาลัย และ มีหลายๆมหาวิทยาลัยได้อันดับที่ดี

    ผมเองไม่ทราบเรื่องการประเมินหรอกครับผม แต่ทราบจากพี่ว่า มีปัญหาหลายอย่างในการประเมิน

    ผมมองว่า มอ. มข. มน. ม.อุบล และ มมส. ที่ผมคุ้นเคยใน การอ่านบันทึกของ gotoknow เป็นมหาวิทยาลัยที่รุกด้วยยุทธศาสตร์สร้างสังคมอุดมปัญญาอย่างแท้จริง ไม่นาน "ของแท้" และ "ของเทียม" คงได้เห็นประจักษ์ชัด

    การหลงไหลได้ปลื้มกับการจัดอันดับของ สกอ. เป็นหลุมดำหลุมมหึมาของมหาวิทยาลัยไทยครับ ดูกันง่ายๆดูคุณภาพชีวิตของ "พนักงานมหาวิทยาลัย" ก็คงพอได้คำตอบครับผม

    คุณแนนนี่ครับ      IS

    น้องแสนสะอาด เป็นหนุ่มน้อยลาหู่ที่น่าสนใจมากครับ น้องเป็นคนที่ทำงานเพื่อถิ่นเกิด ได้เห็นความคิด การปฏิบัติแล้ว ผมทึ่งมากๆครับ

    มีโอกาสผมจะเขียนถึงน้องแสนสะอาดผ่านบันทึกของผมครับ

    เป็นงานวิจัยท้องถิ่นที่น่าติดตามครับ ทำให้นึกถึงประโยคนึงที่ปราชญ์ชาวบ้านท่านหนึ่งกล่าวเอาไว้คือ "การแก้ไขปัญหา ต้องรู้ว่าตนเองเป็นใคร ดูตนเองให้ออก บอกตนเองให้ได้ ต้องพึ่งตนเอง และปฏิบัติตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง" ในความคิดเห็นของผม คิดว่าการเริ่มจากการเรียนรู้ตนเองเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี....และคิดว่านักวิจัยชาวบ้านลาหู่ กำลังเดินมาถูกทางแล้ว...

    • บทรำพึงเบื้องต้น..ทำให้ผมนึกภาพตนเองว่าบันทึกของผมยิ่งซอกแซกออกนอกทางบ่อยครั้งจนเหลือทน...บางทีก็วกกลับมาแบบหักมุม  แต่ก็มีความสุขที่จะปล่อยไปตามวิถีนี้ก่อน..ยืดยาด เยิ่นเย้อ  บ้างจะได้ไม่เครียดตรงจนเกินไป
    • วันนี้ขณะที่นั่งพิจารณาเลือกพื้นที่ค่ายเรียนรู้คุณธรรม นำชีวิตพอเพียง  มีช่วงหนึ่งที่ผมอธิบายต่อเจ้าหน้าที่ให้เข้าใจในวิถีความพอเพียงในชุมชนในทำนองเดียวกับคุณเอกที่กล่าวว่า "ทางสายกลาง พออยู่พอกิน จัดการผลิต เหลือกินก็ขายไป"
    • เพราะบางพื้นที่มีศักยภาพก็จริงและเน้นผลผลิตเชิงธุรกิจส่งออกจากหมู่บ้านไปสู่ตลาดเมือง แต่ไม่ใคร่มุ่งเน้นการบริโภคในชุมชน  สุดท้ายคนในชุมชนกลับต้องซื้อผลผลิตเหล่านั้นมาบริโภคซะเอง..อย่างนี้คงไม่ใช่ความพอเพียงเป็นแน่..
    • ขอบคุณครับ..ขอบคุณที่บันทึกนี้มาในช่วงที่ผมกำลังหาคนสนับสนุนแนวคิดเหล่านี้พอดี

    คุณอัศนัย ชอลิ้วเฮียง

    คาราวะครับ ท่านจอมยุทธ ขอต้อนรับสู่ยุทธจักรครับผม

    คุณอัสนัยครับ

    ขอเพิ่มจากตัวบันทึกครับ การที่จะพัฒนาอะไรต่อมิอะไรนั้น เริ่มจากการพัฒนาตนเอง นักพัฒนาก็เช่นกันครับ หากตนเองไม่พัฒนา เรียนรู้ตนเองแล้ว จะไปพัฒนาเขาก็กะไรอยู่

    การเรียนรู้ตนเองเพื่อเข้าใจและพัฒนาจึงเป็นปฐมบทของการคิดต่อ

    การรู้จักตนเองให้ดีพอสำคัญอย่างยิ่ง ในพุทธธรรมท่านก็สอนให้คนรู้จักตนเองครับ

    ยินดีที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้กำลังใจในการเขียนบันทึกต่อเนื่องของคุณอัศนัยด้วย

    ชอบคำนี้ครับ ขอยกมา ดังนี้

    "การแก้ไขปัญหา ต้องรู้ว่าตนเองเป็นใคร ดูตนเองให้ออก บอกตนเองให้ได้ ต้องพึ่งตนเอง และปฏิบัติตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง"

    คุณพนัสแผ่นดิน  ครับ

    บันทึกและวิธีเขียนของคุณพนัสน่าสนใจ และทำให้ผมไม่ลืมที่ติดตามเสมอๆในอันดับต้นๆ

    ทั้งถ้อยคำ และการประดิษฐ์คำผมชื่นชมมากครับ

    ผมเห็นอีกอย่างหนึ่งว่า ในภาระกิจของคุณพนัสมีกิจกรรมดีๆรังสรรค์อยู่ตลอดเวลา เป็นโอกาสและเป็นกุศลกรรมด้วย ผมขอให้กำลังใจมากๆคนหนึ่งครับ และที่สำคัญเห็นบอกว่า พักผ่อนน้อย หาเวลาพักผ่อนมากๆ ใช้เวลาคุณภาพกับเจ้าจอมซนสองคนด้วยนะครับ

    ขอบคุณมิตรภาพดีๆ และ การแลกเปลี่ยนสม่ำเสมอครับ

    • คุณเอกครับ น่าสนใจมากเลยครับโดยเฉพาะประเด็นผลไม้ในเมืองแพง แต่ชาวสวนกลับได้ราคาถูก
    • ปราชญ์ชาวบ้านมีความรู้มากเลยครับ งานของคุณเอกจะช่วยถ่ายทอดความรู้ให้แก่คนรุ่นหลังได้อีกเยอะครับ :>

    อาจารย์ Kae

    นั่นนะสิครับ ...ผมไปในห้าง โห...ราคาผลไม้เมืองหนาว ทำไมแพงจัง แต่มาดูที่บ้านชาวบ้านถูกมากๆด้วยสิ แถมยังเหลือปล่อยไว้ทิ้งเน่าเสียอีก...เรามีงานวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องนี้เป็นวิจัยเพื่อท้องถิ่นครับ

    งานของผม หมายถึง การที่ผมเขียนใช่มั้ยครับ ...ผมเองก็อยู่ในบทบาทเป็นผู้ถ่ายทอดครับ เพื่อสมานให้เกิดความเข้ามจ และชมเชยคนดีๆที่ไม่ม่โอกาสได้นำเสนอตัวเองสู่สังคม

    แต่งานที่ผมมีความสุขคือ การที่เป็น RC ของงานที่เกิดขึ้นแถบๆแม่ฮ่องสอน เราภูมิใจว่าเรามีส่วนไม่ว่าจะแค่ไหน ก็มีความสุขมากๆแล้วครับผม

    • แวะมาขอบคุณ
    • งานวิจัยเกี่ยวกับชาวบ้านมีชีวิตมากกว่างานวิจัยของมหาวิทยาลัยที่เขียนแล้วนำไปขึ้นหิ้งครับน้องเอก
    • ขอบคุณมากครับ
    • ขอให้มีความสุขกับการทำงานครับ

    ผมเคยไปฝึกอบรมนักวิชาการที่ทำงานแถบชายแดนภาคเหนือที่ทำงานกับคนไทยภูเขา สามสี่ครั้ง ผมประทับใจมากกับวิถีชีวิต ความฉลาดในการเลือกที่อยู่อาศัย และทำกิน ผมจึงอิจฉาคุณจตุพร จนไม่ค่อยอยากอ่านงานคุณ ให้เกิดอาการ "ตาร้อน"

    ผมมีประสบการณ์น้อยในเรื่องนี้ ไม่กล้านำมาสาธยาย อยากฝากภาระนี้ให้หนุมรูปหล่อแห่งเทือกเขาแม่ฮ่องสอน ไม่ทราบว่าจะยินดีรับหรือไม่

    แล้วผมจะคอยตามอ้าน และเติมในบางประเด็นที่พอมีอยู่บ้างครับ

    อาจารย์ขจิต ครับ

    การติดอาวุธทางปัญญา ผ่านปฏิบัติการเรียนรู้ของคนท้องถิ่น ใน"ชุมชนเรียนรู้" เกิดผลผลิตที่ไม่คาดฝัน เมื่อชาวบ้านเก่งขึ้น จัดการปัญหาที่ซับซ้อนได้

    งานแบบนี้ RC เองก็มองว่าน่าท้าทายครับ

    ขอบคุณอาจารย์ครับ ผมชื่นชมอาจารย์เสมอที่พูดจริง ทำจริง ...จนเป็นที่ประจักษ์ ขอให้กำลังใจมากๆๆๆเลยครับ

    อาจารย์ ดร. แสวง รวยสูงเนิน

    ผมขอออกตัวอีกเหมือนกัน เวลาเขียนบันทึกแต่ละเรื่อง ก็ต้องอ่านแล้วอ่านอีก เพราะ ความรู้เท่าหางอึ่งที่มี จะสร้างบันทึกออกมาแล้วผู้อ่านได้ประโยชน์ได้อย่างไร

    ผมคิดมากเหมือนกันครับ หลายครั้งที่ทบทวน อ่านตำรับตำราซ้ำไปมา ขีดเขียนบนกระดาษเปล่าๆ จนได้ความคิดที่สังเคราะห์ออกมา ก่อนเขียน รวบรวมความมั่นใจเขียนลงไป และคิดว่า ถูก ผิด ก็ดูตรงที่การแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้น

    ในฐานะ RC และคนทำงานที่ทำงานกับท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นท้องถิ่นใด เสน่ห์ของมันดึงดูดผมเข้าไปเกี่ยวข้อง ...อดไม่ได้ที่จะนำเรื่องราวเหล่านั้นมานำเสนอ

    สิ่งที่เกิดขึ้น ...ผมก็ได้พันธมิตรเพิ่มขึ้น และที่สำคัญได้ประชาสัมพันธ์งานดีๆที่ชุมชนทำ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน

    ยินดีเป็นอย่างมากครับ ท่านอาจารย์ ผมศรัทธาท่านเสมอ เมื่อท่านมาให้ข้อคิดเห็น มาเติมเต็มให้กระผม ก็เป็นเกียรติอย่างยิ่งครับ

    "การแก้ไขปัญหา ต้องรู้ว่าตนเองเป็นใคร ดูตนเองให้ออก บอกตนเองให้ได้ ต้องพึ่งตนเอง ''ชอบคำนี้มากคะเพราะเมื่อเกิดอะไรขึ้น เรามักจะกลับมาถามตนเองเสมอๆ ว่าแล้วเราคิดอย่างไร ต้องการอะไร สิ่งที่เกิดขึ้นคืออะไร (มีบ้างเหมือนกันที่ลืมบ่อยๆ)

    สวัสดีครับคุณก้ามปู

    P

    การพึ่งตนเอง เหมือนเป็นคำตอบสุดท้ายของการเดินทางพัฒนาหมู่บ้าน

    ดัชนีชี้วัดความเข้มแข็งของการพัฒนาเราก็ดูกันถึงการพึ่งคนเองได้ของชุมชน

    สถานการณ์ภายนอกชุมชนมีปัญหามาก ชุมชนเองก็ต้องปรับตัว การพึ่งตนเอง ทางเลือกและทางรอดครับ

     

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท