เหล็กแพงกว่าข้าว ... เพชรแพงกว่าน้ำ


นี่เป็นเรื่องแรกๆที่ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์พยายามชี้ให้เห็นถึงความขัดแย้ง ระหว่าง "คุณค่า" กับ "มูลค่า"

สืบเนื่องจากการคุยกับอาจารย์เอกใน blog  nmintra  วันที่ 15 กพ. เรื่อง ผมรู้แล้ว...ตกไม่รู้จักเข็ดจากหลาบ..ตกจนชิน  ซึ่งอาจารย์เอกเขียนไว้น่าสนใจมาก

ตอนหนึ่งในข้อคิดเห็นของบันทึกนี้ลงวันที่ 17 กพ.  อาจารย์เอกตั้งคำถามว่า ทำไมเหล็กแพงกว่าข้าวไปได้  แม้ว่าประเด็นนี้ไม่ใช่ประเด็นหลักในข้อเขียนของอาจารย์ แต่ก็เป็นคำถามทีอยากจะลองตอบ

ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จะอธิบายว่า เหล็กแพงกว่าข้าว เพราะเหล็กหายากกว่า  ต้องใช้ความพยายาม ใช้ทรัพยากรมากเพื่อให้ได้เหล็กมา ทำให้มีต้นทุนสูง ประการหนึ่ง    และอีกประการหนึ่ง อาจมี ค่าเช่าทางเศรษฐกิจ (ที่ขออธิบายง่ายๆให้พอเข้าใจกันว่าคล้ายๆ  margin) ที่เกิดจากใครบางคนบางกลุ่มเท่านั้นได้เป็นเจ้าของทรัพยากรที่หายากนี้  จึงสามารถมีอำนาจต่อรองที่จะตั้งราคาสูงได้

คล้ายๆกับในบทแรกๆของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์  ที่จะพยายามอธิบายว่า  ทำไม เพชรแพงกว่าน้ำ”  ทั้งๆที่น้ำมีคุณค่าต่อชีวิตมากกว่า        และนี่เป็นเรื่องแรกๆที่ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์พยายามชี้ให้เห็นถึงความขัดแย้ง ระหว่าง "คุณค่า" กับ "มูลค่า"  แต่ไม่รู้ว่าคนเรียนจะเข้าใจปัญหา และความลึกซึ้งของปัญหาแค่ไหน

ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์เอง ก็มีบทใหญ่ๆซึ่งสำคัญมาก ว่าด้วย ความล้มเหลวของตลาด และบอกว่า หากเกิดปัญหานี้   สังคมจำเป็นต้องมีกลไกอื่นมาช่วยดูแล  เช่น กลไกของรัฐ  ไม่ใช่ปล่อยทุกอย่างไว้ที่ ตลาด

เรารู้สึกเสมอว่า  สังคมไทยหาความเป็นธรรมได้ยาก (แม้ดูเหมือนพวกเราจะใจดีกับเพื่อน  ขี้สงสาร) เป็นการง่ายมากที่เราจะกล่าวโทษระบบทุนนิยม   แต่ที่จริงเป็นเพราะสังคมเราเปราะบางในเรื่องระบบคุณค่า  เราจึงตกเป็นเหยื่อได้ง่าย   ในประเทศทุนนิยมที่เขาเข้มแข็งในระบบคุณค่า ก็สามารถให้โอกาสแก่ทุกคน และสร้างสังคมที่เป็นธรรมได้ดีกว่าเรามาก

ถ้าเรารู้เท่าทัน และมีจิตสำนึกสาธารณะ  เราก็คงไม่หลงทิศทาง  และนำศาสตร์ (หลายๆศาสตร์) มาปรับใช้เพื่อให้ชีวิต เพื่อให้สังคมดีขึ้นได้

จะเปลี่ยนแปลงสังคมยังไงยังคิดไม่ออก  แต่ในฐานะครูก็จะพยายามทำหน้าที่ตรงนี้ (แม้จะมีแรงไม่มากนัก)  และคาดหวังว่า นักศึกษาควรจะได้อะไรมากกว่าแค่เรียนหนังสือให้ได้ปริญญาเอาไปหางานทำ

คำสำคัญ (Tags): #เศรษฐศาสตร์
หมายเลขบันทึก: 79266เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2007 10:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 23:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
  • มาเป็นกำลังใจให้อาจารย์ครับ
  • อาจารย์ แล้วเราจะให้ราคาสะท้อนคุณค่าได้อย่างไรบ้างครับ? มีโอกาสที่ข้าวจะแพงกว่าเหล็กไหม หรือว่าต้องมีสงคราม?
  • ขออนุญาต add blog อาจารย์ใน planet ครับ

เห็นด้วยค่ะ โลกแห่งทุนนิยมนี้เยาวชนเราต้องฝึกคิดค่ะ นักศึกษามากมายค่ะที่ยอมผ่อนหนี้กับเงินด่วนเพื่อนำไปซื้อมือถือรุ่นใหม่ๆ เสื้อผ้ากระเป๋ายี่ห้อมากมาย เกินตัว เกินฐานะ

ความรู้แนวคิดด้านเศรษฐศาสตร์ที่เข้าใจง่าย ซึ่งจะทำให้นักศึกษาเข้าใจเรื่องความพอเพียงและฉลาดคิดในโลกทุนนิยมจำเป็นอย่างมากทีเดียวค่ะ

เช่น ความเข้าใจในเรื่อง "คุณค่า" กับ "มูลค่า" ดังที่อาจารย์กล่าวไว้

ขอบคุณมากค่ะ ขอติดตามบล็อกของอาจารย์ด้วยคนนะค่ะ

  • ผมมาตามสัญญาครับ
  • นั่นแสดงว่า วันนี้ผมได้เรียนวิชาเศรษฐศาสตร์ใช่ไหมครับ :-)
  • เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น ผมได้ A เชียวนะครับ แต่เรียนแค่ ๒ หน่วยกิตเอง (โม้)
  • ผมก็จะเป็นคนหนึ่ง ที่จะพยายามให้คุณค่า มีความสำคัญกว่ามูลค่า แม้จะสวนกระแสทุนนิยมที่โหมกระหน่ำมาทุกทิศก็ตาม
  • เพราะคนไทยชอบสบายหรือเปล่าครับ เราจึงพยายามหาความสบาย สะดวกให้กับตนเอง...
ปัทมาวดี โพชนุกูล ซูซูกิ

ขอบคุณ Aj Kae มากที่มาเยี่ยมเยียนเป็นกำลังใจค่ะ  ดีใจที่ได้เป็น "เครือข่าย" แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะคะ

ข้าวนี่จัดการยาก เพราะมันไปพันกับตลาดโลกค่ะ  ถ้าทำให้ผลผลิตข้าวในตลาดโลกน้อยลง   หรือมีการควบคุมปริมาณผลิต ปริมาณขาย   ข้าวอาจจะแพงขึ้นได้บ้างค่ะ   (แต่อาจมีผลกระทบด้านอื่น) 

 หรือ  ถ้าเมื่อไหร่ที่คนไทยเห็นคุณค่าของข้าว (ที่มาจากความยากลำบากของชาวนา)  ยอมจ่ายแพงกว่าสำหรับข้าวไทย   และทำข้าวไทยให้แตกต่างโดดเด่นกว่าข้าวอื่นๆในโลก  ก็พอจะขยับราคาข้าวขึ้นมาได้บ้าง (แต่คงไม่มาก ตราบใดที่ยังแข่งกับตลาดโลก)

ตัวอย่างญี่ปุ่น  ใช้วิธีให้ข้อมูลกับประชาชนว่า ข้าวญี่ปุ่นทำให้เกิดความมั่นคงด้านอาหาร   ข้าวญี่ปุ่นมีคุณภาพดีกว่าข้าวที่อื่น  ข้าวญี่ปุ่นช่วยรักษาวิถีชุมชน  ข้าวญี่ปุ่นช่วยรักษาพื้นที่สีเขียว  ข้าวญี่ปุ่นช่วยป้องกันน้ำท่วมและรักษาสิ่งแวดล้อม  นั่นคือ  รณรงค์ให้ชาวบ้านเห็นคุณค่าด้านอื่นๆของข้าวญี่ปุ่น  คนญี่ปุ่นก็ "ยินดีจ่ายแพง" ให้แก่ข้าวของเขา  สู้กับข้าวนำเข้าที่ราคาถูกกว่า  (แต่คงฝืนไปไม่ได้มาก)

แต่อนาคตเรื่องข้าวราคาถูกก็ไม่แน่เสียแล้วเพราะภาวะโลกร้อนค่ะ    แต่เมื่อถึงตอนนั้น  ต่อให้ข้าวราคาแพง ก็ปลูกไม่ได้แล้วค่ะ

ปัทมาวดี โพชนุกูล ซูซูกิ

ขอบคุณ ดร. จันทวรรณ ค่ะ

มีความรู้หลายอย่างที่ต้องเรียนรู้จากอาจารย์  จะติดตามไปเยี่ยม blog อาจารย์เช่นกันค่ะ 

ปัทมาวดี โพชนุกูล ซูซูกิ

อาจารย์เอกคะ

ทุกคนคงชอบสบาย  แต่ปัญหาคือ เราสนใจผลลัพธ์  โดยไม่ให้ความสำคัญกับกระบวนการ   ทำยังไงก็ได้ให้ตัวเองสบาย   

ไม่มีใครสนใจเรื่องของการ "ทำดี  ทำชั่ว" ซึ่งเป็นเรื่องของกระบวนการ  สนใจแต่ "สวย รวย เด่น ดัง" ซึ่งเป็นเปลือก

แฮะ .. เราเรียนกันคนละศาสตร์.. แต่คิดตรงกันใช่ไหมคะ

ต้องรอให้ข้าวเหลือน้อยๆในตลาดโลกครับ ราคาคงแพงขึ้น แต่คนไทยขาดข้าวไม่ได้ครับอาจารย์ จาหิวแย่ อิอิ แต่ไม่รู้อนาคตหลังทำ FTA เรื่องสินค้าของเราจะเป็นอย่างไร แต่อย่างประเทศ ญี่ปุ่น เค้าไม่ให้มีการแตะเรื่องข้าวของเค้าเลยนะครับ คนไทยน่าจะเอาอย่างบ้าง รักประเทศให้มากๆๆ อย่าให้คนต่างชาติมากดเรา เอาเปรียบเราครับ อย่างสมุนไพรไทย นึกแล้วอยากจะร้องไห้ เสียรู้ให้เค้าไปเท่าไหร่แล้ว ทั้งๆที่เป็นภูมิปัญยาของเราเองแท้ๆๆ อีกอย่างครับ ที่อยากจาฝากไว้เล่นๆๆ จาเหล็ก 1 กิโล หรือ ข้าว 1 กิโล ก้อหนักเท่ากันครับ แต่ว่าสถานการณ์จะบอกเราว่าเมื่อใดอะไรจะสำคัญกว่ากัน อดข้าวแล้ว เหล็ก เป็นตันผมก้อไม่เอา เอาข้าวสวย 1 จานดีกว่าครับ

ยังเคยคิดว่า ถ้าปลูกข้าวแต่พอกินในประเทศ เหลือส่งออกเล็กน้อย  สถานการณ์ก็น่าจะดีขึ้น (ไม่ต้องส่งออก น้ำ ดิน แรงงาน ในรูปของข้าวราคาถูกไงคะ)  แต่ปัญหาคือ ถ้าจะลดการปลูกข้าว  ชาวนาที่คุ้นเคยกับการทำนามาชั่วชีวิต และยังไม่สามารถหาอาชีพเสริมอื่นๆได้ก็จะลำบาก

จริงๆการที่คนรุ่นใหม่ไม่ทำนา เป็นกระบวนการปรับตัวแบบหนึ่งค่ะ   แต่เรามักจะมองเป็นปัญหาในเชิงสังคม  ถ้าเรายอมให้มีการลดภาคการผลิตข้าว แต่ยังให้คุณค่ากับกิจกรรมการผลิตนี้  (ไม่ใช่เห็นว่าเป็นกิจกรรมชั้นสอง ชั้นสาม) และทำให้ชาวนาที่ยังปลูกข้าวดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุขมีศักดิ์ศรี

รัฐต้องช่วยดูแลกระบวนการเปลี่ยนผ่านอย่างระมัดระวัง  รอบคอบและมีเหตุมีผล (มีการวางแผน) และต้องทำความเข้าใจกับสังคมด้วยค่ะ

 

  • นโยบายของญี่ปุ่นก็ดีนะครับ ผมว่าประเทศไทยน่าจะนำมาใช้บ้างโดยเฉพาะกับสินค้าเกษตรที่ราคาสู้ประเทศจีนไม่ได้
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท