GotoKnow

Wit : Dialogue

นายขำ
เขียนเมื่อ 26 มกราคม 2550 11:13 น. ()
แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2555 22:51 น. ()
กระบวนการเรียนรู้ที่ทดลองแล้วทดลองอีก...จนกว่าจะได้ผลจริง

ผมเปิดประเด็นเรื่อง Wit : dialogue ไว้ให้สำหรับพันธมิตรที่อยากช่วยผมคิดและความเห็นในการทดลองกระบวนการเรียนรู้แบบนี้นะครับ...

 

และจะยินดีมากถ้ามีคนที่เคยทำมาแล้วหรือจะนำไปทดลองใช้...แล้วเอาองค์ความรู้ต่าง ๆ มาแลกเปลี่ยนกัน

 

เพราะผมจะใช้ Wit : Dialogue เป็นกระบวนการเรียนรู้สำหรับทดลองแล้วทดลองอีก...จนกว่าจะได้ผลจริง...

ซึ่งจะรวมถึงการปรับตามคำชี้แนะของผู้รู้หลายท่านที่ให้ความเกื้อกูลกระผมด้วยใจจริงครับ...



ความเห็น

นายขำ
เขียนเมื่อ

หลักสูตรกระบวนการเรียนรู้มุ่งสู่ปัญญาWit : Dialogue……………………………………………………………………………………….ที่มาของหลักสูตร                     จากการติดตามผลการเรียนในระบบการศึกษาปัจจุบัน พบว่า ระบบการเรียนการสอนในปัจจุบัน ยังคงมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพื่อใช้ในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น และใช้ในการประกอบอาชีพของผู้เรียน แม้ว่านักการศึกษาจะมีความพยายามในการจัดกระบวนการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับความถนัด/ความต้องการ ของผู้เรียนแล้วก็ตาม ระบบการศึกษาในปัจจุบันก็ยังไม่สามารถตอบสนองต่อแนวคิดนี้  ทำให้ผลผลิตของบุคลากรที่ผ่านระบบการศึกษาในปัจจุบัน ยังคงเป็นระบบปิด ไม่เอื้อต่อการค้นหาความสามารถ ความถนัดอย่างแท้จริงของผู้เรียนในปัจจุบันได้                      โดยที่ระบบการศึกษาในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ใช้ตำรา ทฤษฎีต่าง ๆ ที่ได้รับการยอมรับจากหน่วยงาน องค์กร ที่จัดระบบการศึกษา ให้เป็นบทเรียนในสถานศึกษา เพื่อเป็นหลักสูตรที่ผู้เรียนต้องได้รับการประเมินว่า ผ่านการเรียนรู้ตามคำถามและคำตอบที่กำหนดไว้ในแต่ละวิชา(ภาคบังคับ) ส่วนวิชาที่ถูกกำหนดให้เป็นวิชาเลือกโดยเน้นให้ผู้เรียนเลือกได้อย่างอิสระว่าต้องการเรียนรู้วิชาใด ในขั้นตอนการประเมินผลยังคงบังคับให้เลือกตอบให้ตรงตามที่ผู้สอนกำหนดไว้                    ลักษณะการเรียนรู้ในระบบเช่นนี้ ส่งผลให้ผู้เรียนมีระบบวิธีคิดอยู่ในวงจำกัด  โดยระบบความคิดที่ก่อให้เกิดปัญญาถูกกระตุ้นให้ใช้ไม่เต็มศักยภาพ ไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการเรียนรู้ตามธรรมชาติของคน ซึ่งมีสัญชาตญาณในการเรียนรู้อย่างไร้ขอบเขตจำกัด                    สถาบันพัฒนากระบวนการเรียนรู้ จึงจัดทำหลักสูตร การจัดกระบวนการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้มุ่งสู่ปัญญาWit : Dialogue  เป็นวิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบหนึ่ง ที่มุ่งเน้นการ สร้าง ส่งเสริม พัฒนา วิธีคิดเชิงปัญญา ให้เกิดแก่ผู้เรียนมากที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้

BM.chaiwut
เขียนเมื่อ

เจริญพร อาจารย์ขำ (5 5 5)

เข้ามาอ่านแล้วตามคำขอ อ่านแล้ว เห็นด้วยกับแนวคิดเลย....

ตัวอย่างในวัด สามเณรบางกลุ่มในวัดขี้เกียจเรียนหนังสือ สายสามัญก็ไม่เรียน สายบาลีก็ไม่เรียน ซึ่งสามเณรกลุ่มนี้ ใช่ว่าจะสมองทึบหรือโง่หนา เพราะสวดมนต์ได้ตั้งหลายๆ บท สามเณรบางรูปจำสวดมนต์ได้กว่าพระบางรูปก็มี แต่พวกเธอไม่ชอบเรียนหนังสือ....

ตอนนี้ อาตมากำลังรื้อกุฏิอยู่ สามเณรกลุ่มนี้แหละ ช่วยรื้อ พวกเธอขยัน ชอบทำงาน ...ปัญหาด้านนี้ ในสังคมวัด อาตมาเห็นมานานแล้ว ...

สรุปว่า การศึกษาไม่สามารถตอบสนองความสนใจของพวกเธอ ใช่มั้ย ? ดังนั้น ต้องใช้ Wit : Dialogue .....

เปิดประเด็นไว้ก่อน จ้า

เจริญพร 

ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว
เขียนเมื่อ

(๑) นับเป็นความพยายามและความคิดสร้างสรรค์ที่น่าสนใจควรแก่การยกย่อง  แต่ก่อนที่จะคุยกันลึกกว่านี้  ควร "นิยาม"คำบางคำให้เข้าใจตรงกันก่อนครับคือ คำ "กระบวนการเรียนรู้"  "ปัญญา"  "กระบวนการ"  "การเรียนรู้"  คำเหล่านี้"ผู้สร้างโครงการนี้ต้องเป็นผู้ให้คำนิยาม"ครับ

(๒) คำถามอื่นๆ ที่รออยู่ข้างหน้าหลังจากชัดเจนในข้อ(๑)แล้ว นอกเหนือจากคำถามของพระคุณเจ้าแล้ว   ก็คือ  "ปัญญามีอยู่ก่อนแล้ว  เรามีหน้าที่เดินไปให้ถึงปัญญานั้น"  หรือว่า  "เรายังปัญญาเบาอยู่ เมื่อได้สนทนาอย่างปัญญาสะสมไปเรื่อยๆแล้ว  ปัญญาจะเกิด  และมีเพิ่มขึ้นๆ" ? ครับ

(๓) เราคิดวิธีสอนคนไทย  แต่  เหตุใดจึงชื่อเป็นภาษาอังกฤษครับ ?

นายขำ
เขียนเมื่อ

พระอาจารย์กรุณาติติงแล้วหาข้อมูลสนับสนุนด้วยครับ...การชมอย่างเดียวอาจทำให้กระผมหลงทางได้ครับ...อิอิ 

 

ครับ...อาจารย์ไสว

1. ผมกำลังรวบรวมคำนิยามอยู่อ่ะครับ....

ได้จากพระอาจารย์ชัยวุธส่วนหนึ่ง...และหวังว่าจะได้จากอาจารย์ด้วยครับ...

2. ที่จริงแนวคิดหลักของผมเดิมคือ เชื่อว่าปัญญามีอยู่ก่อนแล้ว...หลังจากสนทนากับพระอาจารย์ชัยวุธ... ผมกลายเป็นผู้ไม่ปักใจ... เลยเชื่อว่า ปัญญามีอยู่ก่อนแล้วก็มิใช่...เกิดขึ้นภายหลังก็มิใช่.. แต่สามารถเพิ่มได้..

3. ผมหาคำไทยสั้น ๆ มิได้ครับ...

กราบนมัสการพระคุณเจ้า  กราบเรียน ดร.ไสว  และนายขำครับ

ผมเขียนบันทึกไว้ช่วงหนึ่งอาจจะมีลักษณะคล้ายกับบันทึกนี้ครับ  ตอนที่เขียนนั้นด้วยหวังว่าจะใช้เป็นเครื่องมือหาตัว "ปัญญา" กะเขาบ้าง  เหมือนกับว่า  ยิ่งแสวงหา "ปัญญา" ผมรู้สึกราวกับว่ายิ่งเดินห่างออกจากปัญญาไปเสียทุกที  ผมเลยปิดบันทึกไว้ชั่วคราว  พอดีมีโอกาสได้อ่านบันทึกของ "นายขำ" ก็เลยลองกลับมาเปิดบันทึกเดิมนี้อีกครั้ง  เพื่อให้ท่านทั้งหลายจะได้ลิ้มลองอรรถรสตามใจชอบครับ  หากไม่ถามอะไรผมเกี่ยวกับบันทึกที่ผมเขียนไว้  จักเป็นพระคุณอย่างสูงครับ  เพราะผมเพิ่งมารู้เมื่อไม่นานมานี้ว่า  "จริง ๆ แล้ว  ผมไม่รู้อะไรเลยแม้แต่นิดเดียวกับเรื่องที่ผมพยายามบอกว่าผมรู้" เป็นความสัจจริงครับ  และผมดีใจที่ผมรู้ความเป็นจริงข้อนี้  ไม่เช่นนั้น  ผมคง "มืด" ไปอีกนาน

เรียนเชิญทุกท่านอ่านและแสดงทรรศนะได้ตามสบายเลยครับ  ผมขอแค่เป็นผู้ดูอยู่ข้างเวทีก็พอแล้วครับ

ด้วยความเคารพ
สวัสดิ์  พุ้มพวง

นายขำ
เขียนเมื่อ

     ความมุ่งหมายของหลักสูตร

  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: -18pt; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal">                                        1.  หลักสูตรสำหรับครูผู้ใช้กระบวนการ(วิทยากรกระบวนการ)</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt 72pt; text-indent: -72pt; text-align: justify" class="MsoNormal">                        ครูผู้ใช้กระบวนการที่ผ่านหลักสูตร Wit : Dialogue ทุกคน  จะมี ความสามารถดังต่อไปนี้</p>     1.1  มีทักษะพื้นฐานดังต่อไปนี้ <p style="margin: 0cm 0cm 0pt 51.75pt" class="MsoNormal">               - ทักษะการฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep listening)</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt 51.75pt" class="MsoNormal">               - ทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงลึก   (Deep Thinking)</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt 51.75pt" class="MsoNormal">               - ทักษะการถามจับใจ (Creative Question)   </p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt 51.75pt" class="MsoNormal">               - ทักษะการเขียน(Mind map) และ นำเสนอ (Presentation)</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt 51.75pt" class="MsoNormal">    1.2  มีความสามารถในการจัดระดับวิธีคิด จากการนำเสนอของผู้เรียนดังนี้</p>                - วิธีคิดเชิงประจักษ์ (ตามเหตุ-ผล) <p style="margin: 0cm 0cm 0pt 51.75pt" class="MsoNormal"></p>               - วิธีคิดเชิงบูรณาการ (ความคิดรวบยอด-Concept) <p style="margin: 0cm 0cm 0pt 51.75pt" class="MsoNormal"></p>               - วิธีคิดเชิงปัญญา (ความจริงเชิงสัจจธรรม) <p style="margin: 0cm 0cm 0pt 51.75pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt 51.75pt" class="MsoNormal">    1.3  มีความสามารถในการจัดกระบวนการเรียนรู้มุ่งสู่ปัญญา “Wit : Dialogue หรือ  สุนทรียสนทนาเพื่อปัญญา ให้แก่ผู้เรียน</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: -18pt; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal">                                        2.  หลักสูตรสำหรับนักเรียน/ผู้เรียน/ผู้ร่วมกระบวนการ(เด็กอายุ 8 - 12 ปี)</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt 51.75pt" class="MsoNormal">       ผู้เรียนที่ผ่านหลักสูตร Wit : Dialogue ทุกคน  จะมีความสามารถดังนี้   </p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt 51.75pt" class="MsoNormal">    2.1  ยกระดับวิธีคิดของตนเป็นวิธีคิดเชิงปัญญา</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt 51.75pt" class="MsoNormal">    2.2  ยกระดับการแสดงความคิดเห็นของตน</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt 63pt" class="MsoNormal">2.3  ยกระดับการนำเสนออย่างสร้างสรรค์</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt 63pt" class="MsoNormal">2.4  มีพื้นฐานแห่งการ รักในความรู้/รักความฉลาด/รักการมีปัญญาสร้างสรรค์</p>       กลุ่มเป้าหมาย <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: -18pt; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal">                                        1.  ครูผู้ใช้กระบวนการ(วิทยากรกระบวนการ)   Classละ ไม่เกิน 40 คน</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: -18pt; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal">                              1.1ครูผู้สอนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม </p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: -18pt; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal">                 1.2 ครูผู้สอน/วิทยากรที่สนใจ ประสงค์ที่จะใช้กระบวนการฯ</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: -18pt; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal">                         2.  นักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม  (เด็กอายุ 8-12 ปี)</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: -18pt; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal">                               2.1 นักเรียนกลุ่มที่ใช้สอนสาธิต ( 6-8 คน) </p>                                2.2 นักเรียนที่เข้ากระบวนการกับวิทยากรผู้ผ่านการอบรม (กลุ่มละ 6-8 คน)

BM.chaiwut
เขียนเมื่อ

โยมขำ.......

รับทราบ

เจริญพร

 

นายขำ
เขียนเมื่อ

คำจำกัดความ

  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt">* ปัญญา แปลว่า รู้ทั่ว สันสกฤต คือ ปรัชญา..ปญฺญา โลกสฺมึ ปชฺโชโตปัญญาเป็นแสงสว่างส่องโลกนตฺถิ ปญฺญาสมาอาภาแสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt">...คำว่าปัญญาเราใช้กันทั่วไป และใครๆ ก็ทราบว่าปัญญาแปลว่าความรู้ ...</p> ปัญญากับความรู้แตกต่างกันอย่างไร ... <p style="margin: 0cm 0cm 0pt"> ปัญญาเป็น ภาษาบาลีส่วนปรัชญาเป็นสันสกฤตความหมายพื้นฐานก็เหมือนกันแต่พอแปลงสัญชาติเป็นคำไทยก็มีแนวทางการใช้แตกต่างกัน…โดย ปัญญาบ่งชี้ถึงความรู้ของคน ส่วนปรัชญาบ่งชี้ถึงแนวคิดของคน ทำนองนี้ (wisdomถูกแปลเป็นภาษาไทยว่าปัญญาขณะที่ปรัชญาเป็นศัพท์ที่บัญญัติใช้แทนคำว่า philosophy )...</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt">คำว่าความรู้ในภาษาบาลีมีเป็นสิบคำและหลายๆ คำก็มีใช้อยู่ในภาษาไทย เช่น ปัญญา วิชชา ญาณ สัญญา วิญญาณ โกวิท พุทธิ ...หรือในธัมมจักกัปวัตตนสูตร ก็มีข้อความหนึ่งตอนหนึ่งที่มีคำซึ่งใช้ในความหมายว่าความรู้พ่วงติดต่อกันหลายศัพท์ ดังต่อไปนี้….</p> ธัมเมสุจักขุง อุทปาทิ ญาณัง อุทปาทิ ปัญญา อุทปาทิ วิชชา อุทปาทิ อาโลโก อุทปาทิดวงตา (จักขุง) เกิดขึ้นแล้วญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความสว่างไสว (อาโลโก)เกิดขึ้นแล้ว ในธรรมทั้งหลาย….คำว่า ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชาและความสว่างไสว เป็นศัพท์ที่ใช้ในความหมายของ ความรู้… <p style="margin: 0cm 0cm 0pt"></p>ปัญญามาจากรากศัพท์คือญาโดยมี.ปลา เป็นอุปสัคนำหน้า (ป+ญา = ปัญญา) ...ป.อุปสัค บ่งชี้ความหมายว่าทั่ว ข้างหน้า ก่อนออก  ญารากศัพท์มีความหมายว่ารู้ <p style="margin: 0cm 0cm 0pt"> </p>ถ้าจะแปลให้มีความหมายไพเราะและตรงประเด็นตามหลักธรรมก็อาจแปลไปทีละความหมายของอุปสัคได้ดังต่อไปนี้… <p style="margin: 0cm 0cm 0pt"></p>ปัญญาคือรู้ทั่วหมายถึงรู้ครบถ้วนกระบวนความ มิใช่รู้เพียงบางส่วน <p style="margin: 0cm 0cm 0pt"></p>ปัญญาคือรู้(ไป)ข้างหน้าหมายถึงรู้เพื่อการพัฒนาไปสู่ความเจริญก้าวหน้า <p style="margin: 0cm 0cm 0pt"></p>ปัญญาคือรู้ก่อนหมายถึงรู้ก่อนที่จะต้องกระทำถ้าไม่รู้ก่อนไปกระทำลงไปก็อาจก่อให้เกิดความเสียหายได้…. <p style="margin: 0cm 0cm 0pt"></p>ปัญญาคือรู้ออก หมายถึงรู้เพื่อสลัดออกไปจากทุกข์ ออกไปจากการเวียนว่ายตายเกิด …. <div style="border-right: medium none; padding-right: 0cm; border-top: medium none; padding-left: 0cm; padding-bottom: 1pt; border-left: medium none; padding-top: 0cm; border-bottom: windowtext 1pt solid">

ปัญญา ตามความหมายของหลักสูตรนี้ หมายถึง  ความฉลาดรอบรู้มุ่งสู่สัจจธรรม </div>* พระมหาชัยวุธ  ฐานุตฺตโม  พธบ. เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง สาขาปรัชญา (๒๕๓๘)อาจารย์ประจำหน่วยวิทยบริการมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  วัดหงษ์ประดิษฐาราม จังหวัดสงขลา

BM.chaiwut
เขียนเมื่อ

โยมขำ...

เอามาอ้างอิง (รู้สึกเขิน)

อันที่จริง ใส่แต่เพียงชื่อก็ได้ วุฒิการศึกษาไม่ต้องใส่ แต่ถ้าใส่ก็ควรใส่ ป.ธ.๗ และ  ศศม. (ปรัชญา) ไปด้วย...

แต่ที่สำคัญก็คือ ป.ธ.๗ เพราะเป็นการยืนยันว่ามีพูมรู้ด้านภาษาบาลี ส่วนปรัชญาไม่จำเป็น...

เห็นด้วยมั้ย คุณโยม

เจริญพร

นายขำ
เขียนเมื่อ

ในเอกสารที่พิมพ์เผยแพร่จริงจะมีทั้งหมดครับพระอาจารย์....555

 

ระหว่างที่ผมกำลังเขียนหัวข้ออื่นอื่น...พระอาจารย์ยังเหลือการแปลความหมายอีกหลายคำครับ....อิอิ

กระบวนการ....

เรียนรู้....

รวม กระบวนการเรียนรู้....

สุนทรีย์......

สนทนา....

รวม สุนทรียสนทนา...


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย