ความรู้สดๆ ดีกว่า ความรู้เหี่ยว


นักวิจัยนักการศึกษาที่มาเสนอผลงานต่างมีความตั้งใจดี คณะกรรมการที่ร่วมรับฟังเติมในส่วนที่อยากจะเห็นอยากจะให้มันเกิดขึ้นในอนาคต ในประเด็นภูมิปัญญาท้องถิ่นมีรายละเอียดที่สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรวบรวมไว้ดังนี้

  ผมเป็นบ้านนอกคนเดียวที่ไปนั่งหัวโด่ ในที่ประชุมคณะอนุกรรมการสภาการศึกษาเฉพาะกิจ ศึกษาภาพการศึกษาไทยในอนาคต10-20ปีวันนี้ เสียงจากชนบทกระจิ๋วหลิว ยกมือเสนอมุมมองการศึกษาของชาวอีสานเรา เล่าให้คณะฯฟังว่าพวกครูไกลปืนเที่ยงต้องต่อสู้กับปัญหาอะไร ได้ค้นคิดรูปแบบการศึกษาเพื่อรองรับอนาคตอย่างไร เสนอให้แล้วนะครับ ส่วนผลจะเป็นประการใดนั้น สภาการศึกษาแห่งชาติจะประชุมใหญ่อีกครั้งหนึ่งในวันที่22-23เดือนกุมภาพันธ์ 2550 ณ ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ กรุงเทพฯ  

       

ในวันดังกล่าวจะมีการนำเสนอผลการศึกษาวิจัยด้านต่างๆ เช่น

1.     ด้านสังคม โดย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

2.     ด้านเศรษฐกิจและลักษณะของการผลิตและการบริการโดย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

3.     ด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงานโดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

4.     ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมโดย สำนักพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

5.     ด้านการเมืองการปกครองโดย สถาบันพระปกเกล้า

6.     ด้านประชากรโดย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล นักวิจัยนักการศึกษาที่มาเสนอผลงานต่างมีความตั้งใจดี คณะกรรมการที่ร่วมรับฟังเติมในส่วนที่อยากจะเห็นอยากจะให้มันเกิดขึ้นในอนาคต ในประเด็นภูมิปัญญาท้องถิ่นมีรายละเอียดที่สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรวบรวมไว้ดังนี้

 พบว่าประเทศไทยมีผู้รู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในสาขาต่างๆ จำนวยกว่า 1.7ล้านคน กระจายอยู่ทุกภูมิภาคของประเทศ จำแนกได้ 10 ประเภท  เกษตรกรรม อุตสาหกรรมและหัตถกรรม แพทย์แผนไทย การจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม กองทุนและธุรกิจชุมชน สวัสดิการ ศิลปกรรม การจัดการ ภาษาและวรรณกรรม ศาสนาและประเพณี  

ย่างไรก็ตามในช่วงที่ผ่านมา พบว่า ทรัพยากรบุคคลเหล่านี้ยังไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆอย่างจริงจัง สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดนโยบายและแผนที่ชัดเจน แม้ในระยะที่ผ่านมาจะมีการปฏิรูปการศึกษาที่ให้ความสำคัญ กับการนำผู้รู้ภูมิปัญญามาเป็นครูภูมิปัญญาไทย เพื่อหวังให้บุคคลเหล่านี้ได้เข้ามามีส่วนร่วม ช่วยในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน ทั้งในระบบและนอกระบบที่ยึดเด็กเป็นศูนย์กลางและการปรับปรุงหลักสูตรท้องถิ่น แต่ในทางปฏิบัติยังขาดกลไกการดำเนินงานและผลักดันสู่การปฏิบัติอย่างจริงจังและต่อเนื่อง    

ผมนั่งฟังทฤษฎีเกยตื้นแล้วก็เหนื่อย คิดได้..แต่หาคนทำไม่ได้

  • หลักสูตรท้องถิ่นมีสักกี่โรงที่ทำ
  • การเรียนนอกระบบมีสักกี่โรงที่เอาไปคิด
  • การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาเป็นตัวช่วยก็แทบจะนับโรงเรียนได้
  • การสอนแบบบูราณาการมีไว้สำหรับอ้างอิงลมๆแล้งๆ

แทนที่จะใช้ศักยภาพผู้อาวุโสในชุมชน  กลับเอาลูกมาโยนไว้ให้ตา-ยายเลี้ยงแล้วกลับไปเผชิญโชคที่เมืองกรุง ถามว่าผลพวงการศึกษาเป็นอย่างไร

ฟันธงได้ว่า

คนชนบทไม่มีความรู้ที่จะอยู่ในท้องถิ่น บ้านแตกสาแหรกขาดยิ่งกว่าสมัยมังกะยอชะวายกทัพบุกเสียอีก ผมไม่รู้ว่าสังคมไทยจะฝากความหวังไว้กับการศึกษาได้แค่ไหน ยิ่งฟังท่านเม็กดำบอกก็ยิ่งหนาว การศึกษานี่แหละเป็นผู้ยัดเหยียดความล้มเหลวให้แก่เด็ก  .

.วันนี้สังคมไทยมีความรู้จำกัด แถมเป็นความรู้ที่ล้าหลัง เพราะไปยืมจมูกคนอื่นมาเรียนรู้ ในวิทยานิพนธ์อ้างแต่ทฤษฎีของคนโน้นคนนี้จนเปรอะหน้ากระดาษ มีสักกี่คนที่รู้ถึงร่องรอยการได้มาของทฤษฎีเหล่านั้น   

ถามว่าผิดไหม ไม่ผิดหรอก แต่น่าจะเพลาๆลงบ้าง อ้างสิ่งที่ตนเองค้นพบแม้สักปลายนิ้วจะไม่ได้เลยเชียวหรือ ครูบาอาจารย์ในมหาวิทยาลัย ควรจะค้นคว้าด้วยตนเองให้ชัดๆ แล้วนำความรู้เหล่านั้นมาสอนลูกศิษย์ เด็กๆจะได้เรียนความรู้สดๆแทนความรู้เหี่ยวๆ     

หมายเลขบันทึก: 74474เขียนเมื่อ 26 มกราคม 2007 10:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)
  • ปัญหามีอยู่ว่าพอเราอ้างอะไรที่เป็นไทยๆปรากฏว่าอ้างไม่ได้ครับ นักวิชาการไม่ยอมรับ
  • วัยรุ่นเซ็ง ต้องอ้างที่เป็นชาวต่างประเทศ สากลรู้จัก แล้วคนเก่งๆบ้านเรามีมากแต่ว่านักวิชาการแกล้งไม่รู้จักครับครูบา
  • จึงมีปัญหา ทฤษฎีเกยตื้นแล้วก็เหนื่อย คิดได้..แต่หาคนทำไม่ได้
    • หลักสูตรท้องถิ่นมีสักกี่โรงที่ทำ
    • การเรียนนอกระบบมีสักกี่โรงที่เอาไปคิด
    • การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาเป็นตัวช่วยก็แทบจะนับโรงเรียนได้
    • การสอนแบบบูราณาการมีไว้สำหรับอ้างอิงลมๆแล้งๆ
  • มีหลายโรงเรียนมีหลักสูตรท้องถิ่นที่ดี อยากบอกว่าดีกว่าที่กระทรวงทำด้วย แต่ว่าขาดการสนับสนุนจากรัฐบาลหรือกระทรวงเองครับ
  • ขอบคุณครับ รอไปคุยต่อที่บ้านครูบาดีกว่า
     ท่านครูบาครับ
     ในบางครั้ง  ครูผู้สอนอาจจะคิดอยากทำ  แต่เขาอาจขาดภูมิคุ้มกัน
      ถ้าได้วัคซีน  อาจมีโรง (บ้า) งาน เหมือน เม็กดำ
เห็นด้วยกับครูบาค่ะ วิทยานิพนธ์หนาๆ จะเห็นได้ว่า หนาที่จำนวนหน้าของบทที่ 2 หรือ review literature นั่นแหละค่ะ บางครั้งมากกว่าจำนวนหน้าของ บทที่ 3- 4-5 รวมกันด้วยนะคะ

สวัสดีครับครูบา

ผมเคยนำเสนอและพูดคุยในหมู่นักวิชาการ(การหรือเกินก็ไม่รู้) บอกว่า การอ้างอิงถ้าพูดตรง ๆ ก็คือการไปเอาภูมิปัญญาของคนอื่นมาใช้ โดยเฉพาะใครไปเอาของฝรั่งมามาก ๆ ถือว่าเยี่ยม(ที่จริงผมว่าคนที่ไปเอามีความทรงภูมิฯ หรือขาดภูมิ หรือไม่รู้จริง หรือมีความเท่)

ผมเคยบอกว่าเราเขียนขึ้นหรือนำเสนอภายใต้ความเป็นตัวเราได้หรือไม่ เขาตอบกันว่าได้ แต่ไม่ค่อยจะมีใครยอมรับ

ผมก็มาคิดว่าคนไทย(นักวิชาการบางส่วนหรือส่วนมาก)เล่นปาหี่ทางวิชาการมากเกินไปหรือไม่ ภูมิปัญญาของคนไทยที่มีมากมาย เช่น หมอประเวศ เจ้าคุณประยุทธโต รวมทั้งครูบา และอีกหลายคน ไม่ค่อยจะให้ความสำคัญ หรือนำไปอ้างอิง

จบความคิดเห็นแบบคนหัวดื้อครับ...ขอบคุณมากครับ

นี่คือวิกฤติชาติครับครูบา เดี๋ยวบ่ายนี้ผมจะขึ้นเรื่องนี้ว่า ทำไมเราจึงใช้ความรู้เหี่ยวๆมาสอนกันครับ

เพราะเราไปเด็ดยอดมาจากฝรั่ง ข่าน้ำข้ามทะเลมากว่าจะถึงเมืองไทยก็เลยเหี่ยวครับ

สมัยนี้ก็รอว่าฝรั่งเขียนตำราอะไร จะได้ "รีบ" เอามาแปลไปหลอกเด็กกินไปวันๆ

กว่าฝรั่งเขาจะเขียนตำราได้ก็ล้าสมัยไป ๕ ปีแล้ว

และความรู้เด็ดยอดแอปเปิ้ลมาต่อกับมะม่วงอกร่องมันต่อกันไม่ติดครับ

มันก็เลยเหี่ยว เป็นธรรมดาครับ

เราต้องปลูกใหม่ครับ

ด้วยมือเรานี่แหละครับ รดน้ำพรวนดินดีๆ จึงจะไม่เหี่ยว

เจริญพรครูบา

เข้ามาอ่านเรื่อยๆ แต่รู้สึกว่าไม่เคยเสนอความเห็น (ไม่แน่ใจ) หัวข้อนี้ ถูกกิเลสก็เลยเสนอความเห็นบ้าง

เห็นด้วยทั้งหมดกับคนอื่นๆ นะครับ และขอเพิ่มอีกเล็กน้อย คือ ความรู้เหี่ยวๆ ที่ได้มานั้น ต้องมาจากตลาดที่ใครๆ เค้าก็ไปมาแล้วนะครับ บางคนไปได้ความรู้เหี่ยวๆ แต่ได้มาจากคนขายเร่ หรือไปเก็บมาจากที่ไหน ...ทำนองนี้ เค้าก็ไม่ค่อยยอมรับครับ..

นั่นคือ นอกจากอ้างอิงของนอกที่เก่าๆ แล้ว ก็ต้องอาศัยกระแสด้วย ว่าตอนนี้ เค้าเล่นเรื่องอะไร ใครเอานอกเรื่องนอกประเด็นมา ก็จะไม่ได้รับการยอมรับเช่นกัน ครับ....

การเห่อของนอกมีมานานแล้ว ตอนนี้ เริ่มเห่อตัวเอง ...กระแสเห่อตัวเอง คือ กระแสชาตินิยม ท้องถิ่นนิยม พวกนิยม กลุ่มนิยม....ซึ่งแผ่ไปทั่วโลก...ย่อหน้าที่นอกประเด็น

เจริญพร

P

จบความคิดเห็นแบบคนหัวดื้อครับ..

.ไม่จริงหรอก แบบนี้เขาเรียกว่า " หัวกู้ชาติ" ถ้าอยู่เมืองนอกเขาจับไปเป็นนักสิทธิมนุษยชนแห่งชาติไปแล้ว

ขอให้รักษาเนื้อรักษาตัวไว้ให้ดี สักวันอาจจะไปเปิดศักราชใหม่ให้แก่แผ่นดินของเรา

P

เรื่องการศึกษา คนในกระทรวงศึกษาเข้าใจผิด นึกว่าถ้าเป็นเรื่องนี้ "ต้องฉันเท่านั้น" ในความเป็นจริงแห่งความจริง เรื่องการศึกษาเป็นของทุกคน ที่จะต้องร่วมกันเป็นเจ้าภาพ ต้องอุ้มชู ต้องดูแล สนับสนุนให้กำลังใจ และต้องร่วมใจกันเรียนรู้

ผมคิดได้อย่างนี้มาตั้งนานแล้ว ผมจึงรักครู ชอบครู เข้าใจครู อยากกอดครู คืนนี้ก็จะกอดครูขจิต !!

 คุณครูที่เคารพรักทุกท่าน ครับ

  ขอบริจาคความคิดด้วยครับ

 ในประเด็นมุมที่มองการศึกษาในอนาคต จะได้ไปปรับให้โดนใจมากที่สุดยังไงละครับ??

P
BM.chaiwut เมื่อ

 นมัสการพระคุณเจ้า

นับเป็นบุญที่พระคุณเจ้าเมตตาช่วยลงปฏักการศึกษาให้ตระหนักคิดหลายแง่มุม ขออนุญาตเอาไปขายต่อครับ.

          

   ท่านเล่าฮูครับ

พวกที่ไปเรียนเมืองนอก ชอบเอาขี้ฝรั่งมาให้ผมดมอยู่เรื่อย ดมบ่อยๆเข้าก็เคยชิน คิดว่ามันก็ไอ้แค่นั้นแหละ

คนเรามันเก่งกันคนละมุม ไม่ใช่อะไรที่ลงท้ายด้วยคำว่า"เทศ"  จะวิเศษวิโสไปเสียหมด เรายอมล้มล้างวัฒนธรรมตนเอง เพื่อไปหวานชื่นกับวัฒนธรรมคนอื่น นึกว่าจะขยอกกล้ำกลืนเป็นเนื้อเดียวกันอย่างนั้นหรือครับ

ความรู้สดๆ..จะเกิดขึ้นได้อย่างไร

หรือจะเอาความรู้เหี่ยวๆตากแดดเก็บไว้ใช้นาน

หน้าที่นี้ขอความกรุณาท่านเล่าฮูช่วยสงเคราะห์..

หนุ่มสาวชาวโรงงานก็เป็นอย่างที่ว่า มีลูกแล้วส่งให้ปู่ย่าตายายเลี้ยง 1 ปีลูกได้เห็นหน้าตอนปีใหม่และสงกรานต์ ตอนเด็กปู่ย่าตายายเป็นพ่อแม่ โตมาหน่อยครูน่าจะเป็นพ่อแม่ หรือไม่ก็ฝากความหวังไว้ที่ใครไม่ได้เลย

 รู้อย่างนี้ แต่งงานหรือไม่แต่งก็ดีทั้งนั้นละ

เรียนครูบาครับ

  • โดนใจจริงๆครับท่าน..ครูบา
  • ถ้าเด็กในโรงเรียนยังมีพฤติกรรมตามหน้าหนังสือพิมพ์ปัจจุบัน นี่คือความล้มเหลวของการศึกษาในระบบโรงเรียน แม้นักการศึกษาจะอ้างว่า สิ่งแวดล้อมของสังคมต่างหาก..นั่นคือการแก้ตัว
  • นักการศึกษาปัจจุบันจำนวนมากมีการศึกษาสูงแต่พัฒนาการของเด็กมิได้ก้าวไปสู่การมีความรู้ในสังคมอย่าง รู้ตัวทั่วพร้อมมีรากของสังคมเดิมแต่เท่าทันสังคมใหม่อย่างมีสติ
  • ครูดีดีมีครับ นักการศึกษาดีดีก็มีครับ คาระวะท่านเหล่านั้น
  • แต่นักการศึกษาที่อวดวาทะกันนั้นน่ะ มันกลายเป็นการสร้างค่านิยมว่านักการศึกษาต้องมีวาทะและอ้างอิงใครก็ไม่รู้จักที่ไม่ใช่เผ่าพันธ์ของสังคมเราจะเป็นผู้รู้จริง... บางทีผมก็เอีย..... เพราะมันมากเกินไป
  • ไม่เห็นนักการศึกษาตนไหนไปเอาคำพูดตาสีตาสาที่พูดออกมาจากชีวิตจริงมาเป็น "วาทกรรม" เลย

 

เรียนท่านครูบาค่ะ

เห็นด้วยค่ะว่าเรื่องการศึกษาไทย ไม่ใช่เรื่องของนักการศึกษาเพียงลำพังแล้ว ผู้ปกครองเองหรือว่าสังคมที่จับตาดูก็มีการพูดอยู่เรื่อยๆ

อย่างวันก่อนในวงสนทนามีคุณพ่อนักธุระกิจคนหนึ่งบอกว่าอยากให้ลูก "เรียนที่บ้าน" เพราะกลัวว่า ถ้าไปโรงเรียนแล้วการพัฒนาสติปัญญาจะไม่เต็มศักยภาพของลูกเขา และสอนสิ่งที่มันจะเป็นความรู้ที่ใช้ชีวิตไม่ได้ คือคุณพ่อท่านนี้เกรงว่าถ้าวันใดวันหนึ่งท่านเสียชีวิตกระทันหัน ลูกของท่านจะพึ่งพาตัวเองไม่ได้ถ้าขืนปล่อยให้ไปเรียนตามระบบปัจจุบัน

ประเด็นนี้อยากให้นักการศึกษาหยิบไปคิดเหมือนกันค่ะ ว่าที่จัดการศึกษาทุกวันนี้ควรเสริมการให้คนรู้จักพึ่งพาตัวเองอย่างไหน อย่างไร

คงต้องมีการศึกษาทางเลือกที่เข้มแข็ง รูปแบบการจัดการความรู้นอกระบบจะชัดแจ้งขึ้น ในเมื่อครูเครื่องเริ่มมีอิทธิพลมากขึ้น เพียงแต่ต้องระวังอิทธิพลในด้านลบเช่นกัน

ทุกข์ของพ่อแม่ จะต้องลงทุนคลี่คลายทุกข์ร่วมกัน

ไม่ใช่ต่างคนจต่างอมพะนำไว้ การศึกษาไทยต้องแก้ไขอีกมาก เพราะวัฒนธรรมไทยลึกๆแล้วมีหลายประเด็นที่ควรพิจารณา เช่น

  • โอ๋ลูกเกินเหตุ
  • เรียนทฤษฎีมากเกินไป
  • ไม่เอาศักยภาพของสื่อไปใช้ในทางที่ดีเท่าที่ควร
  • เด็กพันธุ์ใหม่
  • ครูก็ต้องใช้วิธีการสอนใหม่ๆ

ปัญหาอยู่ที่ใครจะลงมือทำ พวกนโยบายก็ดีแต่พูดๆๆ คนปฏิบัติก็ยืนอยู่คนละขั้ว  มันไม่มาบรรจบกันเหมือนสังคมชาวบล็อก อาจารย์ว่าไม๊ 

  • ความรู้เหี่ยวๆ คำนี้ถูกใจมากครับอาจารย์
  • เจอมาเยอะเหมือนกัน รับมาก็เหี่ยวยิ่งกว่า
  • รับไว้ในอุดมการณ์ครับ จะทำตามคำสอน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท