เนื่องด้วยคำว่า ดี


ในแวดวงการศึกษาก็คงหลีกหนีไม่พ้นกับการใช้ คำว่า ดี แต่บทหนักของคำว่า ดี ที่ใช้ในวงการศึกษา หากเปรียบเป็นนักกีฬาอาชีพหรือนักแสดงแล้วค่าตัวคงไม่เบา เนื่องเพราะการศึกษาในบ้านเมืองเราใช้ คำว่า ดี แทนค่าความเป็นคนในหลายเรื่อง อาทิเช่น เด็กดี ผลการเรียนอยู่ในระดับดี ครูดี ฯลฯ

                                                           

                                       คำว่า  ดี    เป็นคำที่คุ้นเคยและคุ้นปากของคนทุกคน   จนบางครั้งทำให้เราเกิดความไม่แน่ใจด้วยซ้ำไปว่า  เสียงที่เปล่งออกมาว่า   ดี    ได้มีความหมายในแง่ใด แง่บวกหรือแง่ลบ  รวมทั้งคำๆนี้ ได้มีสถานะเป็นผลการประเมินอะไรบางอย่างแต่บางครั้งผลการประเมินนั้นก็ไม่มีคำอธิบาย  หรืออธิบายไม่ชัดเจนว่าที่ว่าดีนั้น  ดีอย่างไร  แบบไหน  ดีแค่ไหน      

                                  

                                     ในแวดวงการศึกษาก็คงหลีกหนีไม่พ้นกับการใช้  คำว่า   ดี    แต่บทหนักของคำว่า  ดี   ที่ใช้ในวงการศึกษา  หากเปรียบเป็นนักกีฬาอาชีพหรือนักแสดงแล้วค่าตัวคงไม่เบา  
เนื่องเพราะการศึกษาในบ้านเมืองเราใช้  คำว่า   ดี     แทนค่าความเป็นคนในหลายเรื่อง  อาทิเช่น  เด็กดี     ผลการเรียนอยู่ในระดับดี     ครูดี   ฯลฯ 
                                 

                                 พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน 
.. 2542   ได้ให้ความหมายของคำว่า    ดี   ไว้เป็นสองชุด  ในที่นี้ขอยกความหมายในชุดที่สอง   ซึ่งบอกว่า ดี  หมายถึงมีลักษณะเป็นไปในทางที่ต้องการ น่าปรารถนา  น่าพอใจ      ดีมี    7   จำพวกคือ   

                            1.  ดีๆ    หมายถึง    ปรกติ    เฉยๆ               
                           

                            2.
ดีใจ    หมายถึง    ยินดี    ชอบใจ  พอใจ 

                                    

                         3.
  ดีแตก   หมายถึง   เคยดีมาแล้วแต่กลับเสีย   ดีจนเกินไป   

                                   

                                   
4. ดีเนื้อดีใจ   หมายถึง   ยินดี   ชอบใจ   ปลาบปลื้มใจ  

                                    

            5.
ดีไม่ดี   หมายถึง    ความไม่แน่นอน   อาจได้อาจเสีย   เสี่ยงได้เสี่ยงเสีย

                                   

6. ดีละ    ดีแล้ว    หมายถึง   ความพอใจหรือความไม่พอใจเป็นเชิงประชดหรือแดกดันก็ได้

                                   

               7.
 ดีอกดีใจ   หมายถึง   ยินดี   ชอบใจ    ปลาบปลื้มใจ   ดีใจมาก  

                             

                       ในฐานะที่ผมเป็นครูและทำหน้าที่บริหารสถานศึกษา  ต้องมีการประเมินสถานการณ์   ประเมินผลงาน   ประเมินบุคคล  อยู่บ่อยๆ   วันนี้จึงได้พยายามค้นคว้าหาความหมายที่แท้ของคำว่า   ดี    ด้วยเหตุว่าได้ใช้เป็นประจำ   การได้รู้ถึงที่มาที่ไปน่าจะช่วยให้ใช้คำนี้ได้ถูกต้องตรงประเด็นมากขึ้น 

                             
                 และโดยส่วนตัวผมชื่นชมในความงดงามของภาษาไทย อย่างมั่นคง  ยั่งยืน  
                      

                                                
และทุกท่าน   คิดอย่างไร กับการใช้คำว่า    ดี  
หมายเลขบันทึก: 74126เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2007 11:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เรียน...อาจารย์เม็กดำ 1

        "ดี"  ที่ท่านอาจารย์กล่าวมาแล้ว  เป็นความรู้อีกแล้วครับท่าน แต่อาจารย์ลองดูดีของผมนะครับผมว่า น่าจะเหมาะกับการที่จะทำงานร่วมกันครับ...

  • ดีกว่ามั๊ย  ถ้าเป็นอย่างนี้
  • ดีแล้วหละ พัฒนาต่อไปนะ

          สรุปว่า คำว่า "ดี"   ก็คือ ดี   แต่มันจะให้ความต่างกันตรงที่  "ดีคนละแบบ"  ครับ...

                        ด้วยความเคารพ

                                  ครูราญเมืองคอน  คนนอกระบบ
         

 

  • สำหรับผมแล้ว
  • ดีใจที่ได้อ่านบันทึกของอาจารย์
  • และดีใจที่โรงเรียนเม็กดำมีอาจารย์เป็นแกนนำการพัฒนาโรงเรียนและชุมชน
  • "อยู่ดี มีแฮง" 

"ดี"

ในความหมายที่เราควรนึกถึง

สิ่งดี  เรื่องดี  คิดดี  พูดดี  และ ทำดี

ไม่ว่าจะเป็น "ดี" ในวาระใดๆ ถ้าเรา มองโลกในแง่ดี

ชีวิตก็จะมีแต่ความสุขครับ

หากนำคำว่า "ดี" ไปใช้ในการประเมินผล ควรเป็นระดับ ดังนี้

ไม่ดี  เกือบดี  ดี  ดีมาก  ดีเด่น  ดีเยี่ยม ฯลฯ

สำหรับ "ความดี" ถ้ามีไว้ประจำใจ

ก็นับได้ว่า ดีเลิศประเสริฐศรี  ขอรับกระผม

ตามมาดูค่ะ อิอิ ดีใจที่มีวันนี้...
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท