เศรษฐศาสตร์กับความรักเกี่ยวข้องกันอย่างไร


              ดิฉันได้สอนนักศึกษาเกี่ยวกับเรื่องดุลยภาพของตลาดว่าอุปสงค์(ความต้องการซื้อ)จะต้องเท่ากับอุปทาน (ความต้องการขาย)  ทุกอย่างเป็นไปตามกลไกตลาด  ซึ่งจะมีการปรับตัวเข้าสู่จุดดุลยภาพโดยอัตโนมัติเสมอ นั่นเป็นที่มาให้นักศึกษาเขียนเรื่อง  เศรษฐศาสตร์ความรัก

  • เขาได้อ้างอิงจากทฤษฏีทางเศรษฐศาสตร์ดังนี้   อธิบายได้คร่าวๆว่า เมื่อเราต้องการขายของสิ่งหนึ่ง ถ้าเราตั้งราคาไว้สูง ความต้องการซื้อของลูกค้าก็จะน้อย ในทางกลับกัน ถ้าเราตั้งราคาไว้ต่ำ ความต้องการซื้อก็จะมาก แต่มันก็มีเหตุอีกว่า ถ้าราคาต่ำเกินไปมันก็ไม่ได้กำไรอะไรขึ้นมา ฉะนั้นนักลงทุนจะพยายามปรับราคาให้อยู่ในจุดดุลยภาพให้ได้ เพราะมันจะช่วยให้ผู้ขาย ขายของได้ในราคาที่เหมาะสม คนซื้อก็ได้ราคาที่เหมาะสมตามที่ต้องการ
  • คราวนี้มาดูแบบเศรษฐศาสตร์ความรักกันบ้าง ถ้าเราเปลี่ยนเส้นอุปสงค์เป็นความต้องการให้ของผู้ชาย เส้นอุปทานเป็นความต้องการรับของผู้หญิง ซึ่งมันจะอธิบายได้ดังนี้
  • ถ้าผู้ชายให้ทุกอย่างกับผู้หญิงมากเกินไป ผู้หญิงก็ไม่ใช่ว่าจะชอบซะทีเดียว อาจทำให้ทะเลาะกันอีก เพราะมันจะดูเหมือนยอมมากเกินไป ไม่มีความเป็นผู้นำ ซึ่งในมุมกลับ ถ้าให้น้อยเกินไป มันก็ไม่พอกับความต้องการของผู้หญิง ทำให้สามารถให้ความรักที่พอเพียงแก่เธอได้ ดังนั้น จะต้องให้อยู่ในจุดดุลยภาพ คือ อยู่ในช่วงที่เหมาะสมกันทั้งสองฝ่าย มันจะทำให้ความรักของทั้งคู่ดำเนินไปด้วยดี ซึ่งมันต้องค่อยๆปรับกันไปจนถึงจุดนั้น
  • นักศึกษาหลายคนบ่นว่าไม่มีสาระ  แต่ดิฉันกลับมองว่านักศึกษาคนนี้มองภายนอกอาจจะดูเป็นเด็กไม่ตั้งใจเรียน(บางครั้งหลับในห้องเรียน)   แต่การจะเขียนเรื่องพวกนี้ขึ้นมาได้เขาก็ต้องเข้าใจทฤษฏีเศรษฐศาสตร์ก่อน  ดิฉันจึงแนะนำให้เขาเขียนบล็อกต่อไป ลองเข้าไปอ่านเล่นดูได้นะคะ
  • http://learners.in.th/blog/sOntiChai/7348
  • ผลการสอบครั้งล่าสุด ดิฉันไม่แปลกใจเลยค่ะ ที่เขาได้คะแนนเต็ม 
หมายเลขบันทึก: 71375เขียนเมื่อ 8 มกราคม 2007 02:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤษภาคม 2012 17:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)
  • อาจารย์มีจิตวิทยาในการสอนสูงนะคะ
  • รออ่านบันทึกต่อไปในแพลนเน็ต brilghtlily ค่ะ

เกมส์นี้ล่อแหลมมากครับ

ผมเคยเห็นนักเศรษฐศาสตร์ท่านหนึ่งคิดแบบนี้ให้ผมฟัง

แต่ขอโทษครับ ผมไม่แน่ใจว่าเหมาะที่จะเสนอหรือไม่ ไม่เหมาะก็ลบทิ้งได้เลยนะครับ

เขาเทียบกิจกรรมการแต่งงาน กับการไม่แต่งงาน อันไหนประหยัดและคุ้มกว่ากัน

และที่ผมฟังแล้วทะแม่งๆก็คือ ตีค่าของเพศสัมพันธ์ออกมาเป็นค่าทางเศรษฐศาสตร์ ที่บางคนก็ยอมรับไม่ได้ ทั้งทางด้านจิตใจ และตัวเลขมูลค่าที่ใช้เทียบเคียง

แต่คนที่ไม่รู้เรื่องเศรษฐศาสตร์อย่างผมก็เอามาเล่ากันเป็นเรื่องตลกในวงเหล้าซะมากกว่า

แต่ผมว่าคิดแบบนั้นมันโหดเกินไปครับ

(แถมมี มูลค่าตอบแทนเพศสัมพันธ์แบบ diminishing return ด้วยนะครับ)

ใจจริงๆเราก็ไม่ค่อยเห็นด้วย

แต่เราก็ไม่อยากเถียงเรื่องเศรษฐศาสตร์กับนักเศรษฐศาตร์ครับ

อาจารย์ลูกหว้าคะ

ตามรอยจาก B อ.แป๋วค่ะ

พอดีทางม.ราชภัฏพิบูลสงครามจะมาดู KM ที่ มข

วันที่ 16 มกราคมนี้

ไมทราบอาจารย์มาด้วยหรือเปล่าคะ

ถ้ามาด้วยจะประสานผ่าน Bกับอาจารย์ได้หรือไม่คะ

                        น้อง (พิชชา)

อย่างน้อย ก็ได้เข้าหลักเศรษฐศาสตร์ได้ง่ายขึ้นที่เดียวครับ

แถมกระบวนการความคิด ของคนที่ตามไปอ่าน เกิดมากมายเลยครับ(แง่ดีนะครับ)

ขอให้อาจารย์ มีความสุขทั้งปีนะครับ

สวัสดีครับอาจารย์ลูกหว้า

     ในโลกแห่งสหวิทยาการ ผมคิดว่าศาสตร์ทั้งหลายสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ จะดีเพียงใดอยู่ที่ปัญญาของแต่ละคนครับ  แม้แต่เรื่องของความรักก็มิได้อยู่ในข้อยกเว้นดังกล่าว  การสอนวิชาเศรษฐศาสตร์เชื่อมโยงไปสู่ความรักจะทำให้ฝึกการคิดสร้างความเข้าใจในเนื้อหาวิชาเป็นเศรษฐศาสตร์เพื่อชีวิตมากขึ้น 

  • ขอบคุณครับ
  • อาจารย์ลูกหว้าครับ
  • บทกวีของไพวรินทร์  ขาวงาม  เขียนไว้ทำนองนี้ (ถ้าจำไม่ผิดนะครับ) 

          เธอเข้าใจฉันบ้างในบางสิ่ง

          สิ่งทุกสิ่งก็ดูจะมีค่า

         ฉันเข้าใจเธอบ้าง บางเวลา

         เวลาทุกเวลากูดูจะเบิกบาน

  • ไม่แน่ใจว่าจะสอดรับกันหรือเปล่า...

คุณ bright Lily....

ขอบคุณนะคะที่มาเยี่ยมเยียน  ว่างๆคิดเมนูใหม่ๆมาฝากบ้างนะคะ

เรียนท่านดร.แสวง....

  • นักเศรษฐศาสตร์มีค่อนข้างหลากหลายค่ะ  แล้วแต่ว่าเขาจะนำทฤษฎีไปประยุกต์ใช้อย่างไร  แต่การมองแบบนี้ก็คงเป็นการมองแบบผู้ชายบางคนค่ะ
  • ผู้หญิงเราก็มีการมองเหมือนกันนะคะ   เดี๋ยวนี้เรามองว่าการแต่งงานมีต้นทุนค่าเสียโอกาสสูงเกินไป  เพราะฉะนั้นเราจึงเลือกอยู่เป็นโสดดีกว่า
  • หว้าเองเปิดโอกาสให้นักศึกษาเขาหัดคิดค่ะ   เพราะเด็กพวกนี้เราไปบังคับความคิดเขาเกินไปเขาจะต่อต้านทันที   แต่ตอนนี้กลายเป็นว่าเขากลายเป็นขวัญใจนักศึกษาห้องอื่นๆไปแล้วค่ะ   บล็อกของเขาเป็นที่นิยมมากกว่าบล็อกของอาจารย์ซะอีก
คุณน้องพิชชา...ได้ไปม.ข.ด้วยค่ะ แต่วันที่ 9-11 ม.ค. 50 เราจะขึ้นไปแข่งกีฬาอาจารย์ราชภัฏที่เชียงใหม่ค่ะ ส่งข่าวมาได้ค่ะ เพราะหว้าจะกลับมาสอนวันที่ 12 ม.ค.ค่ะ
คุณตาหยู....ขอบคุณมากนะคะ อย่างน้อยก็มีกำลังใจที่จะคิดวิธีสอนให้เข้าถึงเด็กๆค่ะ
คุณดิศกุลคะ...ไปเที่ยวเชียงใหม่สนุกมั้ยคะ ขอบคุณมากนะคะสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นอาจารย์เศรษฐศาสตร์นี่ค่อนข้างเครียดมากค่ะ เราเข้าใจ แต่เป็นการยากที่จะอธิบายให้นักศึกษาเข้าใจได้ ตอนมาสอนใหม่ๆนักศึกษาบอกว่า "หนูชอบอาจารย์ แต่หนูเกลียดวิชาอาจารย์" เป็นโจทย์ที่ท้าทายสุดๆเลยค่ะ
คุณแผ่นดิน...ขอบคุณมากค่ะสำหรับบทกวี แต่หว้าอาจจะไม่ค่อยเข้าใจนัก เพราะยังไม่มีเส้นอุปสงค์(ที่ถูกใจ)เข้ามาค่ะ เลยไม่คิดจะเป็นเส้นอุปทานค่ะ แหม...ชักจะอินกับเด็กซะแล้ว

ผมเห็นว่าเงื่อนไขในเศรษฐศาสตร์รัก  จุดหลักอยู่ที่ใจ

สำคัญตรงที่ ความพอเหมาะพอดี  ของแต่ละคน

ใช้อะไรกำหนด    สิ่งที่อาจารย์คิดถ้าต่อยอดและเผยแพร่จากเศรษฐศาสตร์ความรักจะเป็นเศรษฐศาสตร์ใหม่ที่ใช้สอนวัยรุ่นได้เป็นอย่างดี

คุณเม็กดำคะ

  • ขอบคุณสำหรับคำแนะนำค่ะ  ดิฉันเองก็กำลังพยายามอยู่ค่ะ    เพราะถ้าเราสอนดีๆเราจะได้ทั้งวิชาเศรษฐศาสตร์และเป็นการสอนนักศึกษาทั้งอ้อม   เพราะถ้าเราไปบอกเด็กตรงๆว่าความรักในวัยเรียนมันไม่ดีนะ   ต้องรู้จักรักนวลสงวนตัวนะ   เด็กๆสมัยนี้คงบอกว่าเราเป็นยายแก่ขี้บ่น   และเขาจะตั้งกำแพงกับเราทันที  ขอเวลาสักหน่อยค่ะ
มาขอบคุณครับ ไม่นึกว่าจะเชื่อมโยงเศรษฐศาสตร์กับความรักได้ สงสัยผู้ชายจะแย่นะครับที่ (ถ้าผู้ชายให้ทุกอย่างกับผู้หญิงมากเกินไป ผู้หญิงก็ไม่ใช่ว่าจะชอบซะทีเดียว ) ปกติผู้หญิงแพ้ผู้ชายตรงไหนทราบไหมครับ ติกตอก ติกตอก
คุณขจิตคะ พอดีหว้าไม่ค่อยเชี่ยวชาญเรื่องความรักเท่าไหร่ สงสัยผู้หญิงจะแพ้คารมผู้ชายมั้งคะ ตอนนี้ต้องอ่านหนังสือจิตวิทยาค่อนข้างมากขึ้นเพราะจะได้นำมาประยุกต์กับการสอนให้ได้ เพราะเด็กๆบางกลุ่มใส่แต่วิชาการอย่างเดียวเขาจะไม่ไหว

ชอบมากเลยค่ะ เข้าใจง่าย ขออนุญาต คัดลอกในบ้างข้อความ ไปส่งอาจารย์หน่อยน่ะค่ะ ขอบคุรค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท