การได้มาซึ่งความรู้ (๔) : จิต (Mind)


ในอดีตกาลโน้น  มนุษย์ "ไม่รู้" ว่า "เราได้ความรู้" มาจากไหน !  จึง "สมมุติ" เอาว่า "เทพเจ้า" กำหนดให้มา บ้าง, "ถูกโปรแกรมไว้แล้วโดยพันธุกรรม" บ้าง,  หรือ "ได้มาด้วยการเรียนรู้" เอาด้วยตนเองบ้าง, และถกเถียงกัน !!

นักวิทยาศาสตร์จึงสงสัย ?  และได้ทดสอบข้อโต้เถียงดังกล่าว,  Pavlov ได้ทดลองกับสุนัข  และพบว่า สุนัขได้ความรู้มาด้วยการเรียนรู้ !!  Thorndike ได้ทดลองกับแมว  และพบว่า  แมวได้ความรู้มาด้วยการเรียนรู้เหมือนกัน !! 

แต่ทั้งสองท่านนี้ไม่ได้ให้ความสำคัญของ "ความคิด" หรือ "ปัญญา" ว่ามีบทบาทต่อการเรียนรู้ ?!!

Kohler ทดลองกับลิง พบว่า ลิงชิมแปนซีได้ความรู้มาด้วยการเรียนรู้เหมือนกัน  แต่  มีแนวโน้มว่า ลิง "ใช้ปัญญา" เรียนรู้ !!!

แต่ทั้งสามท่านไม่ได้พูดถึงเรื่องของ "จิต" (Mind) เลย !!!

ทั้งๆที่ ในขณะที่ สุนัข  หรือ  แมว  หรือ  ลิง "เรียนรู้" นั้น  " มันทั้งสามยังลืมตาตื่นอยู่"  !!!  คือมัน "รู้สึกตัว"  (Conscious) อยู่ !!!

ซึ่ง "ความรู้สึกตัว"  หรือ  Conscious  นี้ ก็คือ  "ลักษณะหนึ่งของจิต"!!

แน่นอนทีเดียว  สมองของแมว,  สมองของสุนัข, สมองของลิง, ต่างก็มี " Cerebral Cortex"  ซึ่งเป็นบริเวณที่เกิด "Conscious" ได้ และดังนั้น  "ในขณะที่พวกมันเรียนรู้อยู่นั้น  มันต้องมี Conscious" ?!! ในระดับหนึ่ง 

และถ้าลิงมันเรียนรู้ด้วย Insight ! ดังว่า  มันก็จะต้อง "ยิ่งมีจิตที่ซับซ้อน" มากกว่า แมวและสุนัข !  แต่ยังน้อยกว่าคนที่โง่มากๆอยู่หลายขุมแหละครับ.

นักจิตวิทยาเป็นจำนวนไม่น้อยที่ "กลัว" ที่จะ "พูด" คำว่าจิตในช่วงที่ "วิทยาศาสตร์ก้าวหน้า" ?  ทั้งๆที่จั่วหัวที่หน้าปกของตำราว่า "วิชาจิตวิทยา" หรือ "Psychology"  !!!  แต่ไม่กล้าพูดคำว่า "จิต"(Mind) !!!

ผมอยากจะ "โต้" ความกลัวนี้ครับ  จึงได้ "จั่วหัวเรื่อง" ของบล็อกใหญ่ข้างต้นว่า  "HUMAN MIND" ไงละครับ

โดยมี Assumption ว่า "จิตเกิดจากกิจกรรมของระบบประสาทสมอง" ครับ

หมายเลขบันทึก: 71123เขียนเมื่อ 6 มกราคม 2007 07:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

สวัสดีครับอาจารย์

     ได้เรียนรู้จิต กับการได้มาของความรู้กับอาจารย์ด้วยครับ  ภายใต้ความซับซ้อนของสมองมนุษย์กระมัง ทำให้จิตมนุษย์นี้ยากแท้หยั่งถึง...ครับ

เจริญพร อาจารย์

เข้ามาอ่านนะครับ

จากประเด็นที่อาจารย์ตั้งไว้ว่า จิตเกิดจากกิจกรรมของระบบประสาทสมอง

จากประเด็นที่อาจารย์ตั้งไว้ อาตมาแปลความหมายว่า จิตเป็นอาการหรือคุณลักษณะของจิต หรือ สมองเป็นปัจจัยให้เกิดจิต ...ขณะที่รับรองกันว่า สมองเป็นวัตถุ ดังนั้น อาตมาจึงสรุปว่า ประเด็นที่อาจารย์ตั้งไว้เป็น แนวคิดวัตถุนิยม ใช่มั้ยครับ... โดยตั้งเป็นประพจน์ในการเสนอความเห็นแย้งดังต่อไปนี้

  • จิตเป็นคุณสมบัติของสมอง
  • สมองเป็นวัตถุ
  • ดังนั้น จิตจึงเป็นวัตถุ

อาตมามีความแย้งเล่นๆ เพื่อต้องการความคิดเห็นจากอาจารย์ต่อ นะครับ

เจริญพร 

เจริญพร อาจารย์

ของแก้คำผิด จิตเป็นอาการหรือคุณลักษณะของจิต  

แก้เป็น จิตเป็นอาการหรือคุณลักษณะของสมอง ครับ

เจริญพร

ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว
ครับ  คำว่ายากแท้หยั่งถึง,  มันช่างยากแท้ หยั่งถึง จริงๆ ครับ !   นอกจากจะลึกเกินที่จะหยั่งแล้ว  ยังมีความหมายเชิงคดเคี้ยวเลี้ยวลดด้วย  เหมือนที่คุณดิศกุลว่านั่นแหละครับ  แต่ "ความรู้สึก"(Conscious) กับ "สมอง" นั้น "ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน"   ความรู้สึกดังกล่าวเป็น "อวัตถุ"  ส่วนสมองเป็น "วัตถุ" ครับ
ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

นมัสการพระคุณเจ้า

ขอบคุณมากครับที่เข้ามาเยี่ยมชม  และชวนสนทนาด้วย  ก่อนอื่น ผมขอกล่าวซ้ำคำนิยามของจิตที่ผมได้บันทึกไว้ในการบันทึกครั้งแรกๆอีกครั้งหนึ่งครับ "จิต คือ ความรู้สึกตัวทั่วๆไป, การรู้สึกสัมผัส, การรับรู้, การจำ,การคิดแบบต่างๆ, การตัดสินใจ, รวมทั้งอารมณ์ต่างๆด้วย"  จิตเป็น "อวัตถุ"  หรือ "อสสาร"  สมองเป็น "วัตถุ  หรือ สสาร"  จิตกับสมองจึงไม่ใช่สิ่งเดียวกัน  แต่ผมได้ตั้งเป็นข้อตกลงเบื้องต้น (Assumption) ว่า  "จิตตามคำนิยามดังกล่าวเกิดจากกิจกรรมของระบบประสาทสมอง"  ครับ

ท่านถามว่า "เป็นความคิดแบบวัตถุนิยมใช่ไหม? "  ผมขอตอบว่า  "ถ้าเป็นวัตถุนิยมแบบสุดขั้ว" ที่เรียกกันว่า "Materialism" นั้น  "ไม่ใช่"ครับ  แต่ถ้าเป็นวัตถุนิยมที่อ่อนลงมา  เช่น แบบ  Realism  หรืออะไรทำนองนี้  ก็ขอตอบว่า "เป็นไปได้"ครับ

สำหรับประพจน์ที่ว่า

        Major premise : จิตเป็นคุณสมบัติของสมอง

        Miner premise :  สมองเป็นวัตถุ

        Conclusion :        จิตเป็นวัตถุ

นั้น  ผมคิดว่า  Major premise  ยังมีปัญหา ครับ  เพราะว่า  จิตเป็น "อวัตถุ"  แต่สมองเป็น "วัตถุ"  สิ่งใดที่เป็น"สมบัติ" ของวัตถุใด ก็ "ไม่จำเป็น" ที่จะต้องเป็นวัตถุตามวัตถุนั้นๆไปด้วย

สมองเป็นวัตถุ  มี "ลักษณะ" หรือ "คุณสมบัติ" หลายอย่าง  เช่น  มี "ขนาด"  มี "น้ำหนัก"  มี "รูปร่าง" มี "จำนวน"  มี "สี"  มี "ความรู้สึก"  มี "ความจำ"  มี "อารมณ์" มี "ปัญญา" ฯลฯ 

จะเห็นว่า "ลักษณะ"บางอย่างของสมอง(วัตถุ) ก็ไม่จำเป็นต้องเป็น "วัตถุ" ตามสมองไปด้วย  เช่น  "น้ำหนัก"ของสมองเป็น "อวัตถุ"  เราจะลงสรุปว่า "น้ำหนักของสมองต้องเป็นวัตถุ" ด้วยนั้น  มันไม่ถูก  หรือ เราจะลงความเห็นว่า  "ความจำ" หรือ "ความรู้สึก" ต้องเป็นวัตถุด้วยนั้น  ก็ไม่ถูกเช่นกันครับ

Major premise จึงมีปัญหา 

ดังนั้น  เหตุผลข้างบนนี้จึง ยังมีปัญหาอยู่ครับ

เจริญพร อาจารย์

ขออนุโมทนาต่อคำอธิบายของอาจารย์ ประเด็นทางตรรกะ นั้น อาตมาตั้งไว้เล่นๆ เท่านั้นแหละครับ และอาจตั้งประเด็นโต้แย้งได้อีกนะครับ แต่ผ่านไปดีกว่า เพราะไม่ก่อให้เกิดคุณูปการอะไรมากนัก

อันที่จริง อาตมาก็มีข้อสงสัยมากมายในเรื่องเหล่านี้ ขออีกประเด็นนะครับ... identity และ mind ตามความเห็นของอาจารย์นะครับ ประเด็นใดก็ได้ เช่น ความเหมือนและความแตกต่าง... ครับ

เจริญพร

ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

นมัสการพระคุณเจ้า

      Identity Theory of Mind นั้น  มีความเชื่อพื้นฐานว่า  "สมอง(วัตถุ)กับจิต(อวัตถุ)คือสิ่งเดียวกัน"  นันคือ ที่คนทั่วไปเรียกันว่า "จิต" นั้น  ที่แท้ก็คือ "สมอง"นี้เอง

พวกนี้ไม่ได้เชื่อว่า "มีทั้งจิต" และ "สมอง" นะครับ คือเชื่อว่ามี "สิ่งเดียว" เท่านั้น คือ สมอง  ซึ่งคนทั่วไปเรียกว่าจิต !  ความเชื่อนี้มีความเชื่อเชิงปรัชญาเป็นฐานแบบ"Materialism" สุดโด่งเลยทีเดียวครับ !!

นักวิทยาศาสตร์ดังเช่น  Pavlov,  Thorndike, John B.Watson ผู้ประกาศลัทธิจิตวิทยากลุ่ม "พฤติกรรมนิยม" (Behaviorism)  ก็มีความเชื่อโน้มไปทางแนวนี้นะครับ

แต่มันขัดกับ"สิ่ง" ที่เราท่านประสบอยู่ทุกวินาทีที่เราลืมตาอยู่  "สิ่ง"ที่ว่านั้นก็คือ "ความรู้สึกตัว" หรือ "Conscious"  ซึ่งเชื่อว่า มันต้อง "Exist" อยู่จริงๆ !!

เพราะเราสามารถ "มีประสบการณ์" กับมันได้ทุกวินาทีที่เราตื่นอยู่ครับ !

ซึ่ง Identity Theorists น่าที่จะทำการ "Reduce" ให้เราเห็นได้ว่า  "มีดบาดนิ้วมือ" กับ "ความรู้สึกเจ็บ" นั้นคือ "สิ่งเดียวกัน" !!  ขณะนี้ปี  ๒๕๕๐  เราก็ยังรอฟังข่าวอยู่ ครับ !!!

แม้ในขณะนี้นักวิทยาศาสตร์ได้พบว่า  เมื่อเอา Electrode จี้ที่ส่วนต่างๆของสมอง  สมองส่วนนั้นก็จะ "รู้สึก" ว่า "ได้ยินเสียง" ส่วนนั้น "รู้สึกจำ" ฯลฯ ก็ตาม  ก็ไม่ได้อธิบายว่า "ความรู้สึกนั้น" เป็น "สิ่งเดียวกันกับสมอง" ครับ

ผมอยากจะให้พระคุณเจ้าช่วย เผยแผ่ บล็อกของผมเหล่านี้เข้าสู่รั้วของมหามกุฏราชวิทยาลัยทุกแห่งครับ จะได้ช่วยกันขบคิดเรื่องเหล่านี้

แม้ว่าศาสนาจะมี"เป้าหมาย"สำคัญที่ "ขจัดความรู้สึกทุกข์ และเพิ่มความสุข"ให้กับโลกเป็นสำคัญก็จริง  แต่ก็ยังคง "สัมผัสกับจิต"อยู่โดยตรง  จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะสนใจเรื่องของจิตครับ

รศ.ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

เจริญพร คุณโยมอาจารย์

ทำท่า มึน ครับ ...เคยฟังอาจารย์ท่านหนึ่งบอกว่า ตอนนี้ยังอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างกายกับใจไม่ได้ ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญมาก... มาได้ยินอาจารย์บอกเล่าเรื่องทำนองนี้อีกก็รู้สึก มึนตืบ ขึ้นไปอีก ...อาตมาควรอยู่ห่างๆ ดีกว่า คอยฟังข่าวว่าเค้ามีอะไรบ้างก็พอแล้ว ...(เพราะว่าเรื่องถนัดที่จะทำ ซึ่งยังคร้านอยู่ก็มีอีกมากนะครับ)

อาตมาอยู่ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย นะครับ มิใช่ มหมกุฎราชวิทยาลัย ...

เจริญพร

ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

นมัสการพระคุณเจ้า

ผมรู้สึกดีใจและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้สนทนาเรื่องนี้กับพระคุณเจ้า  และขออภัยเป็นอย่างยิ่งที่ได้เอ่ยชื่อของสถาบันการศึกษาข้างบนนี้ผิดเพี้ยนไป ครับ.

สวัสดีค่ะ

จริง ๆ แล้วสนใจเรื่องสมองและจิตมาตั้งแต่เด็ก ๆ แต่ไม่มีโอกาสได้ศึกษาเป็นจริงเป็นจัง จึงมีความรู้แค่งู ๆ ปลา ๆ ขอโอกาสมาอ่านจากบันทึกของอาจารย์นะคะ ขอบคุณค่ะ

 

..ณิช.. 

สวัสดีครับ คุณณิชนันทน์

ผมคิดวาอ่านกันเฉพาะที่เมืองไทยครับ  รู้สึกดีใจมากที่ทักทายไป  คุณยังเขียนภาษาไทยได้ดีนะครับ

คุณสนใจทั้ง Molecular Genetics  และ System Biology  คงจะหมายความว่า  สนใจทั้ง Molecular Level  or Parts  and  Molar Level or Whole  or Holism  เกี่ยวมนุษย์  ก็เป็นพื้นฐานที่จะทำให้ "มอง" Mind ในแง่ของวิทยาศาสตร์ได้อย่างวิเศษทีเดียวครับ และหากคุณสนใจ System Biology  ก็คงจะสนใจ System Theory นะครับ   หากมีความคิดอย่างไรเกี่ยวกับ Blog ที่เขียน  ก็ขอให้แสดงความคิดเห็นได้เต็มที่ครับ  ทั้งในแง่คัดค้าน  หรือในแง่สนับสนุน

ขออวยพรให้คุณสำเร็จจากการศึกษาโดยเร็ว  และคิดว่าคงกลับไปประเทศไทย นะครับ

ขอคิดด้วยคนนะครับ

 อันว่าวัตถุนั้น ปัจจุบันอธิบายได้ว่า สิ่งใด ๆ(วัตถุ อวัตถุ) ประกอบด้วยสองส่วนสำคัญ คือ คุณลักษณะ(สิ่งที่จะทำให้แยกจากสิ่งอื่น ๆ ได้ เช่น สีผม, จำนวนขา,....) และ พฤติกรรม(ฟังก์ชันของวัตถุ) หากจะเปรียบเทียบกับ จิต แล้ว จิตต้องอาศัยสิ่งอื่น ๆจึงจะเกิดได้ หากจะกล่าวว่า จิตอาศัยเฉพาะสมองนั้น ยังเห็นว่ายังไม่ครบถ้วน จิตอาศัย รูป (body: ทุกองค์ประกอบของความเป็นสิ่งมีชีวิต) แต่ รูป นี้ ถูกสั่งงานให้แสดงพฤติกรรมได้ด้วยสมอง แม้สมองจะพิการ จิตก็ยังคงเกิดขึ้นได้ เพียงแต่แสดงอาการตอบสนองทางร่างกายไม่ได้ หนทางที่จะศึกษาให้รู้เรื่องจิตนั้น ไม่ทราบว่ามีท่านใดบ้างที่เสนอแนวทางไว้ นอกจากพระพุทธเจ้า ศีล สมาธิ ปัญญา   

เชิญร่วมแสดงความคิดได้อย่างเสรีครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท