Km82 กลไกกระบวนการ เพื่อสร้างความเข้มแข็งในชุมชน


เอาคนทุกภาคส่วนมาเป็นคณะทำงาน ซึ่งควรใช้การดำเนินการในแนวราบ โดยไม่ต้องมีประธาน หัวข้อประชุมไม่ยึดตายตัว ประชุมตามภาระ โดยยึดหลักการทำงาน 3 ประสาน คือ พึ่งตัวเอง พึ่งเครือข่าย พึ่งหนวยงานภายนอก (อบต.) เน้นพื้นที่เป็นตัวตั้ง และประชาชนเป็นกลไก

          อยากให้ชุมชนเข้มแข็งต้องจับ  5เสือ มาร่วมทำงานไห้ได้

             1.กำนัน  /  ผู้ใหญ่บ้าน (พ่อบ้าน)

              2.   อบต.  (แม่บ้าน  มีเงิน)

              3.   ประชาคม  ตำบล

              4.   ตัวแทนองค์กร  ชุมชน

               5.   เครือข่ายเยาวชน

            เอาคนเหล่านี้  เข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานทุกภาคส่วนเป็นคณะทำงาน  ซึ่งควรใช้การดำเนินการในแนวราบ  โดยไม่ต้องมีประธาน  หัวข้อประชุมไม่ยึดตายตัว  ประชุมตามภาระ  โดยยึดหลักการทำงาน  3  ประสาน  คือ  พึ่งตัวเอง  พึ่งเครือข่าย  พึ่งหนวยงานภายนอก (อบต.)   เน้นพื้นที่เป็นตัวตั้ง  และประชาชนเป็นกลไก

             กลไกที่เป็นกิจกรรมพื้นฐานที่จะช่วยผลักดันให้ชุมชนเข้มแข็ง

  • ต้องมีการจัดตั้งชุมชนที่ชัดเจน
  • มีการเลือกตั้งกรรมการชุมชน
  • มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มเติมของคนในชุมชนหมุนเป็นเกรียวขั้นไป อย่างต่อเนื่อง
  • มีการประชุมกันอย่างสม่ำเสมอ
  • คิดและทำงานร่วมกัน
  • มีการเรียนรู้และพัฒนาโดยพร้อมเพรียงกัน
  • ผิดพลาด/งานไม่สำเร็จ  ไม่โกรธกัน  ความสัมพันธ์ก็จะยังดี  และเริ่มใหม่ได้
  • ยอมรับในความหลากหลาย (ไม่มีพิมพ์เขียว)
  • กิจกรรมเริ่มจากสมาชิกของชุมชน(โดยไครอยากทำ  ยกมือขึ้น)
  • ใช้หลักธรรมาภิบาล โดยเน้น การมีส่วนร่วมของประชาชนจริง / ไม่ไช่เสมือนว่ามีส่วนร่วมเท่านั้น

          โจทย์ก็คือ  แล้วจะทำอย่างไร  คนในชุมชนจึงจะสนใจและสำนึกถึงบ้านเกิดที่ จะทำให้เกิดพลัง และมาช่วยกันร่วมมือร่วมใจกันให้ไปถึงธงชัยร่วมกัน

หมายเลขบันทึก: 69155เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2006 22:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอคิดด้วยคนนะครับอาจารย์:เห็นด้วยครับ

ผมเข้าใจว่า 1-5 นั้นคือ Function มีสองอย่าง  ได้แก่  บทบาทหน้าที่ของคนทั้ง 5 ตามตำแหน่งหน้าที่การงานของเขา  กับบทบาทของพวกเขาเองที่มีอยู่ในชุมชน  บุคคลเหล่านี้  เป็นแกนนำสำคัญของชาติครับ

ส่วนกลไก ด้านการจัดตั้งชุมชน  นั้นเป็นพื้นที่ หรือกลุ่มพื้นที่  บางครั้งต้องแบ่งเป็นกลุ่ม เช่น ตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ และทางภูมิสังคม ฯลฯ

ประเด็นหลักในขั้นตอนที่กล่าวมา  หรือ"หัวใจ " อยู่ที่หลักของการมีส่วนร่วม ถ้าจำไม่ผิด น่าจะมีอยู่ 6 ประการ(หลักธรรมาภิบาล)

การมีส่วนร่วม  ต้องให้พวกเขาได้ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ  ตั้งแต่แรกเริ่ม  มิใช่ทำเสร็จ หรือใกล้เสร็จค่อยเอาไปทำประชาพิจารณ์ บังคับให้ ยก/ไม่ยก - มือ

ผมเสนอว่า : แนวคิดในการหาคำตอบ  อยู่ที่ต้องเข้าใจเล่ห์อุบาย ในความต้องการของมนุษย์  มีสองด้าน คือกายกับจิต มนุษย์ต้องการไม่มีที่สิ้นสุด  แต่หากอะไรก็ตาม  ตอบคำถามเขาได้ว่า  เขาทำแล้วจะได้อะไร  ไม่ทำจะเสีย หรือไม่ได้อะไร..เขาก็จะทำ/หรือไม่ทำ..ตรงนี้คิดง่าย  ทำไม่ง่ายนักแล 

ผมเป็นคนไทย
http://thai.myinfo.ws [รีวิวเว็บไทยๆ]

ตอบคุณ surapol

  • ยินดีครับที่ให้เกียรติเข้ามาแบ่งปันสิ่งดีๆ
  • ข้อคิดน่าสนใจมากครับ โดยเฉพาะ บทบาทในชุมชน ผมมองว่าเป็นจิตสำนึก หรือจิตระดับสูงของคนที่อยู่ในชุมชน
  • ค่อนข้างจะยากน่าดูเยครับ ที่จะให้เข้าใจและไล่ตาม ความโลภของ มนุษย์ แต่ถ้าทุกคนร่วมแรงร่วมใจกัน อย่างน้อยตัวเราเองเข้าใจ ตัวเราเอง สามารถแปลี่ยนตัวเอง  และทำให้คนรอบๆข้างแปลี่ยน  ชุมชนของเรา ประเทศชาติของเราก็จะ พัฒนาไปในทางที่ดีกว่านี้ครับ

อาจารย์ศิริพงษ์

การเปิดประเด็นแล้วก็หักขาตัวเองทิ้ง อย่างที่ทำอยู่นี้ ทำให้มองไม่ออกว่าเรื่องนี้ควรจะเป็นอย่างไร

ผมคิดว่าน่าจะทำให้เรื่องมีชีวิตมากกว่านี้ โดยการนำเสนอตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมให้คนอื่นช่วยคิดต่อ

เพราะแค่นามธรรมใครก็พูดได้ แต่ต่อเชื่อมไปไหนไม่ได้ครับ

ลองแก้ไขดูหน่อยไหมครับ หรือจะเอาไว้คราวหน้าก็ได้ ผมจะตามดูการพัฒนาตรงนี้ครับ

ผมไม่อยากให้เป็นประเด็นแห้งๆ

อาจารย์เขียนมาตั้งนานแล้วน่าจะมีบทเรียนมากกว่าผมด้วยซ้ำไป

ต้องหาเอกลักษณ์และประเด็นของตัวเอง

ทั้งในการนำเสนอเพื่อทำให้เกิดเกลียวคลื่นความรู้

ไม่ใช่แค่มาโชว์ตัวเฉยๆ ไม่ได้ประโยชน์อะไร เหมือนกับไม่จริงใจในการทำงาน

เวลาผมพูดว่าเกลียวคลื่นความรู้ ผมหมายถึงการต่อเนื้อความจากเริ่มต้น เป็นประเด็นไปเรื่อยๆ จนสิ้นสุดคนนำเสนอ

ยิ่งมากยิ่งดี (อย่างน้อยสัก ๔-๕ ความเห็นเพิ่มเติม)แต่ไม่นับการเข้ามาทักทายแบบไม่เสนอความเห็นอะไร หรือไม่ต่อยอดอะไร

พยายามเข้าใจที่ผมพูด และพยายามทำด้วยครับ

ผมรอมานานแล้วครับ

อย่างที่บอก

ผมคิดว่าอาจารย์รู้วิธีการเขียนมาตั้งนานแล้ว

ทำไมกระบวนการสร้างเกลียวคลื่นจึงยังไม่เกิดสักที มีแต comment ด้านๆ ที่ต่อยอดได้ยาก

น่าจะอยู่ที่การเปิดประเด็น

อาจารย์ลองสังเกตการปรับกระบวนของผมเองซิครับ แล้วอาจารย์จะเข้าใจ

ผมลองแทบทุกรูปแบบว่าเขียนอย่างไรจะทำให้เกิดเกลียวคลื่นความรู้

ผมทำให้ดูแล้วนะครับ

ทั้งหมดนี้ไม่ใช่ของเล่น แต่เป็นกระบวนการเรียนรู้ของทุกคน

ถ้าอาจารย์ไม่เรียนก็เป็นปัญหาของอาจารย์เอง ไม่มีใครเรียนแทนอาจารย์ได้ครับ

ผมก็ช่วยได้แค่นี้แหละครับ

ถ้าอาจารย์ไม่พอใจผมก็จะหยุดอ่านในส่วนของอาจารย์ครับ และยกเลิกการนำบล็อกของอาจารย์เข้าแพลนเนตของผม

การเขียนแบบที่แสดงความเห็นในเรื่อง ทองไม่รู้ร้อน นั้นไม่ได้ช่วยทำให้ผมเข้าใจอะไรมากขึ้น แต่จะงงมากกว่า ว่าทำไมจึงเขียนอย่างนั้น

ทั้งๆที่อาจารย์ก็น่าจะเดาได้ว่า เรื่องนั้น อาจารย์ก็มีส่วนที่ทำให้ผมต้องเขียนมันขึ้นมา

ผมไม่มีเงลามาเล่นกับส่วนที่ไม่ก้าวหน้าหรอกครับ และผมจะได้มีเวลาทำงานมากขึ้นกับส่วนที่ก้าวหน้ามากกว่า

ผมทำงานหนักให้ทุกคนเห็นตลอดชีวิตของผม ผมทำอะไรบ้าง

 และผมก็มีเวลาวันละ ๒๔ ชั่วโมงเท่ากับทุกคน

ขอร้องให้พยายามเข้าใจงานของเราหน่อย แล้วอาจารย์จะรู้เองว่าควรจะต้องทำอะไรบ้าง

และการไม่ตอบสนองต่อคำขอ หรือคำถามของผมนั้น ไม่ได้ทำให้อาจารย์ได้ประโยชน์อะไรเลยครับ

ด้วยความหวังดีเสมอไม่เคยเปลี่ยนแปลงครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท