หลุมดำทางความคิด 3.คิด...ถึงความสำเร็จในอดีต


"ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เหมือนกับการขับรถที่ควบคุมไม่ได้ไปบนถนนที่มืดสนิทโดยไม่ได้เปิดไฟหน้ารถและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีประหนึ่งไปเร่งความเร้วของรถเข้าไปอีก"

        เมื่อเช้านี้ผมได้มีโอกาสสนทนากับท่าน ผอ. กองทะเบียนฯ มมส. ประเด็นที่พูดคุยกันเกี่ยวกับเรื่องการดำเนินการจัดการความรู้ของกองทะเบียนฯ ถึงความเป็นไปได้และแนวทางที่จะดำเนินการต่อไป โดยท่านฯ ได้รับแบบสำรวจโครงการพัฒนาองค์กร จาก MSU-KM (อนุกรรมการจัดการความรู้ มมส.) และกองทะเบียนฯ ก็กำลังจะจัดส่งแต่ก็อยากให้มีความเป็นไปได้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
     ท่านฯ ได้เล่าให้ผมฟังถึงการดำเนินโครงการลักษณะเพื่อพัฒนาองค์กร ว่า ในรอบปีที่ผ่านมา ก็ได้จัดทำโครงการเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจกับนิสิตของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ให้รับรู้ (อาจไม่รวมถึงความเข้าใจ) ถึงการให้บริการด้านต่างๆ ของกองทะเบียนฯ โดยออกไปทำความเข้าใจกับผู้นำนิสิตและกลุ่มนิสิต ...ท่านบอกว่า "น่าภูมิใจและรู้สึกว่าโครงการนี้สำเร็จดีมาก" ...ระหว่างการสนทนาผมเรียนถามท่านว่า สามารถแก้ปัญหาหรือพัฒนาวิธีการให้บริการได้ดีขึ้นหรือไม่? ท่านบอกว่า ยังไม่ได้ผลเลย ยังมีปัญหาอยู่เช่นเดิม ..ผมแสดงทัศนะเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า อาจเป็นเพราะความต่อเนื่องหรือไม่ ความต่อเนื่องนี้สำคัญเพราะถ้าขาดตอนแล้ว ความรู้ก็ขาด หล่นหายไปได้เช่นกัน การถ่ายทอดความรู้จากบุคลากรด้วยกันเอง การถ่ายทอดจากนิสิตสู่นิสิต (Tacit to Tacit) ด้วยกันเองน่าจะขาดหายไปได้ ไม่มีการจัดเก็บความรู้ (Knowledge Asset) จากรุ่นสู่รุ่น จากเพื่อนร่วมงานด้วยกันเองก็เป็นได้  ตลอดทั้งการประเมินเพื่อปรับใช้ให้เหมาะสมหรือการทำ AAR  ...ฉะนั้นเมื่อคิดว่าจะดำเนินการโดยใช้ KM เข้ามาช่วยก็น่าจะเป็นทางออกที่ดี เพียงแต่ยังมองไม่เห็นอย่างเป็นรูปธรรม (เพราะยังไม่เคยทำ)  ดังนั้น ความสำเร็จจากอดีตอาจใช้ไม่ได้กับปัจจัยแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้ในปัจจุบัน ...ทำให้เกิด หลุมดำทางความคิดขึ้นได้

        สำหรับ หลุมดำทางความคิดเช่นนี้ ทำให้ผมนึกถึงคำพูดของ ไมเคิล แฮมเมอร์ อดีตศาสตราจารย์ด้านคอมพิวเตอร์ของสถาบัน MIT ซึ่งคนทั้งโลกได้รู้จักเขาเมื่อเขาเขียนหนังสือ รีเอนจิเนียริ่ง เขาพูดถึงเรื่องนี้เอาไว้ในบทความชิ้นหนึ่งว่า
        "แก่นแท้ของความสำเร็จก็คือความก่อนน้อมถ่อมตน นั่นคือการตระหนักว่าความสำเร็จในอดีตนั้น ไม่ได้มีนัยสำคัญต่อความสำเร็จในอนาคตเลย และโลกได้เปลี่ยนไปมากเสียจนกระทั่งสูตรสำเร็จในอดีตเกือบเป็นเครือ่งการันตีต่อความล้มเหลวในอนาคต" 
       
ผมมีตัวอย่างองค์กรในประเทศไทย เล่าสู่กันฟัง.... อย่างเช่น "เครือสหพัฒน์"

        ในอดีต เครือสหพัฒน์ได้รับความสำเร็จมาแล้วจากวิธีการ "แตกหน่อออกไปโต" ซึ่งทำความเข้าใจได้จากปัจจัยแวดล้อมที่มีสองบริษัทที่เป็นทุนข้ามชาติเผชิญหน้าอยู่ และจุดอ่อนของตนเองที่ไม่มีความพร้อมในเรื่องการลงทุน
        แต่ปัจจุบันนี้ปัจจัยแวดล้อมดังกล่าวเปลี่ยนไปแล้ว แต่สิ่งที่กลับดำรงอยู่คือความคิดต่อความสำเร็จในอดีต ที่ยังอาจฝังอยู่ในหัวของผู้ถือหุ้นและของผู้บริหารระดับสูง ประจวบกับสองทศวรรษที่ผ่านมานี้ นับว่าเป็นยุคของการแข่งขันการนำเทคโนโลยีมาใช้โดยเฉพาะ จึงเท่ากับยิ่งเสริมให้ผู้บริหารมีความมั่นใจในศักยภาพของเทคโนโลยีเหล่านี้ยิ่งขึ้นไปอีก
        ความคิดเช่นนี้จะกลายเป็นอุปสรรคภายในของเครือสหพัฒน์เอง ทำให้การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอยู่ในอาการ "หลงทิศผิดทาง" อันเนื่องมาจากความไม่เข้าใจ สองลักษณะที่ดำรงอยู่ในองค์กรมนุษย์ คือโครงสร้างที่ไดรับการออกแบบกับชุมชนของผู้คนที่มีปฏิสัมพันธ์กัน
        การพัฒนาเทคโนโลยี โดยตัวของมันเองเป็นสิ่งกระตุ้นให้เราไม่พอใจเทคโนโลยีที่เราเป็นเจ้าของอยู่ มันยั่วเย้าให้ไขว่คว้าเอาเทคโนโลยีที่เรายังไม่ได้มาครอบครอง
        ปีเตอร์ เซงเก้ ผู้เขียนหนังสือ THE FIFTH DISCRIPLINE เปรียบเรื่องนี้เอาไว้ว่า ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เหมือนกับการขับรถที่ควบคุมไม่ได้ไปบนถนนที่มืดสนิทโดยไม่ได้เปิดไฟหน้ารถและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีประหนึ่งไปเร่งความเร้วของรถเข้าไปอีก
        ผมรู้สึกได้ถึงสภาพที่ไม่มั่นคงขององค์กรต่างๆ เกิดขึ้นเพราะเราพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมาอย่างรวดเร็วนั่นเอง ครั้นเมื่อเราจะหาทางรอดจากความไม่มั่นคงเหล่านี้ เรากลับหันมาใช้เทคโนโลยีที่พัฒนาสูงขึ้นไปมาแก้ไข มันน่าแปลกใจไม่น้อยต่อความคิดเช่นนี้

หมายเลขบันทึก: 68609เขียนเมื่อ 21 ธันวาคม 2006 15:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

คุณกำลังจะพูดถึงอวิชชา และมิจฉาทิษฐิหรือเปล่าครับ

แนวคิดตะวันออกก็มีอะไรมากมายที่เรามองข้ามครับ

ขอบคุณ ดร.แสวง ที่กรุณาเสนอแนะข้อคิดเพิ่มเติม ครับ

ผู้ให้บริการที่ดี ต้องมี ผู้รับบริการที่ได้ด้วยครับ ระบบการบริการถึงจะดี ควบคู่กันไป

  • ยุคปัจจุบัน กระแสทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นกระแสนำ ส่วนกระแสทางสังคมศาสตร์ (สังคมอุดมคติ) เป็นกระแสตาม ทำให้การพัฒนาคน เป็นการพัฒนาคนเพื่อรองรับด้านวิทยาศาสตร์ฯ มากกว่า พัฒนาคนในสังคมอดมคติ
  • ขอบคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท