ของฝากจากกรมสุขภาพจิต 3 : หลัก "Soften" ในการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์


ผู้เขียนเห็นความสำคัญของการสื่อสารเป็นอย่างมากค่ะ บางครั้งคำพูดที่สื่อออกไป แต่คนรับสารอาจจะไม่เข้าใจความหมายที่สื่อออกไปก็ได้ หรืออาจจะเข้าใจกันไปคนละทาง...

 วันก่อนผู้เขียนได้คุยกับเพื่อนสามีภรรยาคู่หนึ่ง ฝ่ายสามีบอกว่า ตัวเองสื่ออะไรออกไปกว่าคนอื่นจะเข้าใจทำไมใช้เวลานานกว่าที่คิดเสมอ? 

เพื่อน(ฝ่ายสามี) อย่างเดิมทีตั้งใจว่าจะใช้เวลาในการสื่อสารสักครึ่งชั่วโมงเรื่องโครงงานส่งอาจารย์ที่ปรึกษา ไป ๆ มาใช้เวลาปาไปชั่วโมงครึ่ง

ผู้เขียนก็เลยแซวไปว่า ไม่เป็นไรหรอก คนอื่นไม่เข้าใจขอแต่ภรรยาเข้าใจก็พอล่ะ

แต่เขาตอบกลับมาว่า ใช่ภรรยาเข้าใจ แต่ส่วนใหญ่จะ "เข้าใจผิด"
ผู้เขียน อ้าว! เป็นซะอย่างนั้น
ฝ่ายภรรยาได้แต่ ยิ้ม ๆ  

หันกลับมามองตัวเองก็เคยเสียใจอยู่หลายหน กับการสื่อสาร แม้แต่การเขียนบันทึก เพราะแม้แต่คนใกล้ชิดยังแปลความหมายผิดไปได้ เคยคิดแม้แต่จะเลิกเขียนบันทึกให้มันรู้แล้วรู้แร่ด เอ๊ย ! รู้แล้วรู้รอดไป แต่...ทำใจไม่ได้สักกะที ทุกครั้งทุกคราที่มี comment หรือข้อคิดเห็น ผู้เขียนนึกว่าเราจะโดนด่ามั๊ยน๊ะ ? กลายเป็นความหวาดระแวงไปได้

แต่กลับมาจากงาน มหกรรม KM ครั้งนี้ผู้เขียนได้ข้อคิดดี ๆ มากมาย โดยเฉพาะการเปิดหู เปิดตา เปิดใจ และเข้าใจในบริบทว่ามันก็เป็นเช่นนั้นเอง  และคิดซะว่า มันเป็นหน้าที่ของเราที่จะพูดให้คนอื่นเข้าใจ ไม่ใช่หน้าที่ของคนอื่นที่จะทำความเข้าใจในสิ่งที่เราพูด ก็อาจใช้ความพยายามและการฝึกฝน ก็ดังที่พี่ nidnoi ได้กล่าวไว้แล้วว่า...

ในชีวิตประจำวันเราใช้ภาษาท่าทางมากกว่าภาษาพูด   และเป็นการใช้แบบไม่รู้ตัว   บางครั้งควบคุมไม่ได้   หรือไม่ควบคุม   ผิดกับภาษาพูดที่จะปรุงแต่งได้ดั่งใจ     จริงๆ  แล้วฝึกได้ค่ะ   ท่านผู้บรรยายบอกว่า   ควรใช้หลัก "SOFTEN "  ในการปรับภาษาท่าทางของตนเอง  

หลังจากนอกเรื่องมาพอสมควร วันนี้ผู้เขียนนำหลัก "SOFTEN "    มาฝากค่ะ อาจจะไม่ลึกในรายละเอียดมากนัก อีกอย่างผ่านมาหลายวัน ลืม ๆ เลือน ด้วยมัวแต่หัวเราะเลยละเลยและจดรายละเอียดไปบ้าง ก็หวังที่พึ่งสุดท้ายคือพี่ nidnoi มาช่วยเติมเต็มให้ได้บ้าง

  • S = Smile ตามตัวค่ะ คือยิ้มนี่แหละ เขาบอกว่าหากเรายิ้มนี้ใช้กล้ามเนื้อเพียง 10 กว่า ๆ มัดเท่านั้น แต่ถ้าเราบึ้ง บูด ใช้กล้ามเนื้อมากกว่า 60 70 มัดแน่ะ (จำไม่ได้)และนี่คงเป็นสาเหตุให้คนหน้าบึ้งบูดแก่เร็วเกินกว่าอายุ
  • O = Offer เสนอตัว อย่างจริงใจ
  • F = Forward ไปข้างหน้า กระฉับกระเฉง มีชีวิตชีวา กระตือรือร้น
  • T = Touching สัมผัส โอบกอด สามีภรรยาควรสัมผัสกันอย่างน้อย 4 ครั้ง แต่ถ้าให้ดีมีชีวิตชีวาต้องวันละ 12 ครั้ง (ขอบอกอย่าคิดลึก) โดยเฉพาะเด็กๆ  เราควรโอบกอดเขาให้มาก ๆ
  • E = Eye contact การประสานสายตา
  • N = Nod พยักหน้า  

เป็นไงคะหลัก "Soften" ผู้เขียนยังมีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยจากกรมสุขภาพจิตมาฝากอีกเล็ก ๆ น้อย ๆ ค่ะ เป็นต้นว่า.. 

การปฏิบัติเมื่อมีความขัดแย้ง

  • ฟังอย่างตั้งใจ อย่าด่วนโต้แย้ง อย่ารีบปกป้องตนเอง
  • ชื่นชมในสิ่งที่ดี
  • บอกสิ่งที่ไม่เห็นด้วย พร้อมให้ข้อเสนอแนะที่เป็นพฤติกรรม
  • พยายามทำใจเป็นกลาง รับฟังเหตุผลของอีกฝ่าย
  • ถามความเห็นเพื่อหาทางออกร่วมกัน
  • รู้ว่าเมื่อใดควรหยุดขัดแย้ง

 และคุณค่าของการรับฟัง

  • แสดงความเคารพนับถือ
  • สร้างสัมพันธภาพ
  • สร้างความจงรักภักดี
  • ได้หนทางช่วยเหลือคนอื่นๆ และตนเอง

ทั้งหมดนี้ล้วนมีประโยชน์กับตัวผู้เขียนเองทั้งน๊าน จากการได้มีโอกาสเสพเมนูจานเด็ดของกรมสุขภาพจิต ไม่ว่าจะเป็น "ขี่ช้างจับตั๊กแตน"  "I & U messege" และ "ธรรมชาติชายและหญิง" หวังว่าจะมีประโยชน์กับคนอื่นๆ บ้างค่ะ และต้องขอบคุณสุด สุด กับโอกาสที่คุณเอื้อ กับบันทึก"ชวน"

หมายเลขบันทึก: 68608เขียนเมื่อ 21 ธันวาคม 2006 15:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
พยายามปฏิบัติทุกข้อที่บอกมาเลยค่ะ เห็นผลแล้วด้วยว่า ถ้าทำเพี้ยนไปจากหลักการแล้วจะเป็นเช่นไร ขอบอกต่อว่า ทำตามนี้ดีที่สุดค่ะ (ไม่งั้นเค้าคงไม่เอามาเขียนเป็นข้อควรปฏิบัติหรอกนะคะ)

 

 ขอบคุณ ค่ะ

สำหรับ ของฝาก จะนำไปลองใช้ดู ค่ะ

คุณพรรณีค๊ะ ด้วยความยินดีค่ะ ท่านวิทยากรท่านคงดีใจค่ะ
มาเติมอีกนิดหนึ่งค่ะ
ผู้บรรยายบอกว่า  
เราควรกอด  เด็กในขวบปีแรก  ให้มาก    เพราะถ้าเค้าได้รับการกอดสัมผัสไม่เพียงพอ    โตขึ้นจะกลายเป็นคนขาดความรัก    และแสดงออกทางเพศไม่เหมาะสม   เช่นเจ้าชู้   มีพฤติกรรมทางเพศที่ผิดศีลธรรม
ซึ่งอันนี้รอให้ถึงวัยรุ่น    จะแก้ไม่ได้แล้ว    ต้องเริ่มตั้งแต่เด็กๆ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท