แผนผังเพลงอีแซว แบบของครูพิสูจน์


แผนผังเพลงอีแซว แบบของครูพิสูจน์

แผนผังเพลงอีแซว แบบของครูพิสูจน์ คณะของเพลงอีแซว(แบบของครูพิสูจน์) ๑ บท จะยาวเท่าใดก็ได้ตามความเหมาะสม ๑ บาท (ในที่นี้คือ ๑ บรรทัด) จะมี ๔ วรรคย่อย วรรคหนึ่ง จะมี ๔ พยางค์ หรือ อาจมี ๓ หรือ ๕ หรือมากกว่านั้นก็ได้ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ ควรสัมผัสกับคำที่ ๑ หรือ ๒ หรือ ๓ ของวรรคที่ ๒ (แต่สัมผัสกับคำที่ ๒ ดูจะเหมาะ) คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ต้องสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ คำสุดท้ายของทุกบาท(ทุกบรรทัด)ต้องสัมผัสกัน สัมผัสในที่นี้หมายถึงสัมผัสสระ การสัมผัสอนุโลมให้สระสั้นสัมผัสกับสระยาวได้ เช่น ไป-ชาย, กิน-ปีน

เนื้อเพลงอีแซว ตามแนวสุพรรณ มาเรียนรู้กัน แสนง่ายดาย

คุณครูพิสูจน์ เขาพูดเขาสอน ร้อยรสบทกลอน นำมาขยาย

เผยแพร่ความรู้ ออกสู่สังคม ให้ชนชื่นชม ของป้าของยาย

คุณยายบัวผัน ป้าขวัญจิตนี้ ท่านมีของดี อยู่มากมาย

ศิลปินแห่งชาติ ประกาศศักดิ์ศรี สุพรรณบุรี ยังยิ่งใหญ่

รุ่นลูกรุ่นหลาน สืบสานกันต่อ รุ่นย่ารุ่นพ่อ มิให้สูญหาย

บางลี่วิทยา อาสาเป็นทูต ถ้าครูพิสูจน์ ยังไม่ตาย

หมายเลขบันทึก: 68606เขียนเมื่อ 21 ธันวาคม 2006 14:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤษภาคม 2012 21:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท