อุปสรรคของการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจพอเพียงในกระทรวงเกษตรฯ


เมื่อไม่เข้าใจ ก็เลยมาคุยกันว่า ควรมาทำงานแบบนโยบายกึ่งตามแนวเกษตรทฤษฎีใหม่ ไม่ใช่ทฤษฎีใหม่ แต่ตามแนวเกษตรทฤษฎีใหม่ ส่วนทฤษฎีใหม่ ทฤษฎีเก่า คนละเรื่อง ก็ต้องทำความเข้าใจกับข้าราชการใหม่ ทฤษฎีใหม่ ก็ไปทาง

ผมได้มีโอกาสคุยกับคุณเจริญวิทย์ เสน่หา จากสำนักแผนและนโยบาย กระทรวงเกษตรฯ เมื่อคืนวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๔๙ ณ ศูนย์เรียนรู้ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ เกี่ยวกับอุปสรรคการทำงานตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงในกระทรวงเกษตรฯ ได้ข้อสรุปมาดังนี้

  • เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ข้าราชการไม่เข้าใจ ก็เลยกลายเป็นมหกรรมเศรษฐกิจพอเพียง ข้าราชการเขาจะรู้แต่เรื่องทฤษฎี คนฟังก็เฝือ ไปหมด ขึ้นเวทีไหน ๆ ก็พูด 1.. 2.. 3.. เรื่องทฤษฎี ภูมิคุ้มกันอะไรต่างๆ ในหลวงได้นำทรงนำเกษตรทฤษฎีใหม่เข้าไปในระบบ แต่คนในกระทรวงเกษตร ยังไม่รู้ว่า เกษตรทฤษฎีใหม่ ไม่ใช่เรื่องของระบบ เป็นเรื่องของการเกษตรแนวใหม่ ปรับวิธีคิดใหม่ นี่คือปัญหาของกระทรวงเกษตร
  • เมื่อไม่เข้าใจ ก็เลยมาคุยกันว่า ควรมาทำงานแบบนโยบายกึ่งตามแนวเกษตรทฤษฎีใหม่ ไม่ใช่ทฤษฎีใหม่ แต่ตามแนวเกษตรทฤษฎีใหม่ ส่วนทฤษฎีใหม่ ทฤษฎีเก่า คนละเรื่อง ก็ต้องทำความเข้าใจกับข้าราชการใหม่ ทฤษฎีใหม่ ก็ไปทาง ทุกคนก็บอกว่า ให้ไปคุยกับอาจารย์เจริญวิทย์
  • คุณเจริญวิทย์กล่าวว่า ตนมานั่งทบทวน พบว่า ไม่ต้องบอกหรอกว่า วนเกษตร หรืออะไร ไม่ต้องอธิบายให้มาก มันขึ้นอยู่กับแต่ละภูมินิเวศน์ แต่ละที่ไม่เหมือนกัน ไม่ต้องมานั่งเถียงกันเรื่อง เกษตรอินทรีย์ เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรประณีต 1 ไร่ ไม่ต้องพูดถึง บอกมาให้ชัดเจนว่า ระบบเกษตร ประกอบด้วย 1. พึ่งตนเอง 2. พึ่งพากันเอง โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ลดการพึ่งพาทั้งหลาย เกษตรสามารถรวมตัวกันได้จากขั้น 1 ขั้น 2 ขั้น 3
  • เวลามองก็ไม่ใช่มองเรื่องระบบการผลิตอย่างเดียว มองเรื่องของสังคม มองเรื่องอะไรที่เป็น Holistic
  • สาเหตุใหญ่ก็คือ เรามาคุยกันถึงเรื่องการกระทำที่ผ่านมา ว่า พูดกันเรื่องเดิม แต่ไม่ทำให้เป็นรูปธรรม
  • การกระทำที่ผ่านมา ชาวบ้านเข้าใจและรับทราบ แต่ข้าราชการ ไม่พยายามเข้าใจ พอพูดถึงเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรทฤษฎีใหม่ เขาก็ยกเรื่องของทฤษฎีฝรั่งว่าไว้อย่างนั้น อย่างนี้ ซึ่งไม่เคยคิดหรือทบทวนเลยว่า พระองค์ท่านคิดว่าอย่างไร
  • และเศรษฐกิจพอเพียงนี่แหละเริ่มด้วยปรัชญาที่เป็นธรรมะเข้ามาสอดแทรก ซึ่งไม่มีในธรรมเนียมของฝรั่ง และมาพูดถึงปัญหาความเสี่ยง วิธีคิดของฝรั่งไม่มีจิตวิญญาณของเศรษฐกิจพอเพียงเลย
  • ดังนั้น พวกอาจารย์ หรือคนที่เก่ง ๆ ทั้งหลาย พยายามจะเอาทฤษฎีของตนเองมาอธิบายทฤษฎีในหลวง คุณเจริญวิทย์จึงบอกว่า มันไม่มีหรอก ถ้ามีก็เป็นทฤษฎีเก่าไปนานแล้ว พวกนี้เขาไม่เข้าใจ ทำให้สถานการณ์บ้านเมืองทุกวันนี้ สาหัส ต้องมาเสียเวลากับเรื่องแบบนี้ ต้องให้คนที่เขาคิดว่าเขาอยากจะทำ ให้เขาอธิบายว่า เขาจะแก้อย่างไร 1..2..3..4..
  • เวทีการพูดแบบทฤษฎี มันไม่น่าเป็นไปได้แล้ว ในยุคปัจจุบัน ต้องทำเลย
  • แต่ระบบราชการ ถ้าไม่ขึ้นเรื่องทฤษฎี เหมือนจะคุยกันไม่รู้เรื่อง มีการมอบหมายให้หัวหน้าผู้ตรวจ หัวหน้าผู้ตรวจก็บอกให้มาคุยกับคุณเจริญวิทย์ จะต้องปรับวิธีคิด และมีการตั้งคณะทำงาน เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
  • กลุ่มเรื่องของ อ.ระพี จะปรับเรื่อง พรบ.ภาษี ปุ๋ย ยา และเอามาให้องค์กรอิสระ ที่คงทำด้วยไม่ได้ วิธีคิดแบบเดิม เอาคนเดิม ทำไปก็อาจสูญเปล่า ไม่คุ้มค่า
  • ผมฟังแบบเกือบหมดหวัง ว่าขนาดคนในระดับนั้นยังทำอะไรไม่ได้ แล้วเสียงนกเสียงกาอย่างผมจะทำอะไรได้ ละครับ

 

ขอโทษครับ ที่เอาเรื่องเศร้ามาเล่าแต่เช้า

อยากฟังความเห็นข้าราขการกระทรวงเกษตร และ เสียงนกเสียงกาทั้งหลาย มีความเห็นว่าอย่างไรครับ



ความเห็น (5)

เรียน ผศ.ดร.แสวง   รวยสูงเนิน

  • การทำเกษตรพอเพียงเป็นวิถีชีวิตการทำอาชีพแต่ดั้งเดิมของเกษตรกรไทย แต่วิถีต้องหักเหก็เพราะนักวิชาการทั้งหลายนี่หละครับ ที่รับเอาเทคโนโลยีจากฝรั่งมังค่า เข้ามาแล้วก็ไปบอกชาวบ้านว่าดีอย่างโน้นอย่างนี้ โดยไม่ได้มีการพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมในการนำมาใช้
  • นักวิชาการไม่ติดดิน การทำการเกษตรทั้งหลายนั้นต้องเรียนรู้จากของจริง และลงมือทำจริง (Learning by Doing) นะครับ จึงจะเกิดผล ไม่ใช่ว่าในแต่ตำรา ทำนิดๆ หน่อยๆ อ่านตำราแล้วก็เที่ยวไปบอกคนโน้น คนนี้ว่า อย่างโน้นว่าอย่างนี้ สุดท้ายมันถึงเป็นแบบนี้ไงครับ
  • เห็นด้วยกับอาจารย์ครับที่จะต้องนำนักวิชาการของกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจกันใหม่ โดยเฉพาะนักวิชาการ (อาจารย์)ในมหาวิทยาลัย ต้องปรับด้วยเช่นกัน เพราะผมมองว่านี่แหละคือต้นเหตุ เพราะเป็นคนสอนนักวิชาการเหล่านั้น ดังนั้น ต้องมาร่วมกันปรับกระบวนทัศน์ของนักวิชาการก่อน แล้วค่อยไปปรับกระบวนทัศน์ของชาวบ้าน

ด้วยความเคารพ

อุทัย อันพิมพ์

อาจารย์ครับ

เศรษฐกิจพอเพียง (ศกพ.) มันต้อง "ระเบิดจากข้างใน" คือต้องเริ่มจากตัวเราออกไป

ไม่ใช่ว่านักวิชาการไม่รู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เขารู้แต่ไม่รับ คือไม่ปฏิบัติ รับก็รับแบบใจไม่เปิด ใช้เวลามานิยามแล้วนั่งตีความกัน ติดตำราเสมือนตกหลุมดำในเรื่อง (Process trap)

ผมรู้จักเด็กนักเรียนตัวเล็กตัวน้อยหลายคนที่นำหลักปรัชญาศกพ. มาปฏิบัติโดยไม่เข้าใจนิยามและความหมาย

ยากครับอาจารย์ ที่จะให้ ศกพ. เข้าไปอยู่ข้างในข้าราชการหรือนักวิชาการที่ยังเคารพและยึดติดคำว่า "ตัวกู" อุปมาเหมือนการนับถีอศาสนา แต่ไม่ปฏิบัติตามศาสนา

เรามาช่วยกันปฏิบัติ และขยายแนวร่วมในการปฏิบัติตามยุทธ์ศาสตร์ป่าล้อมเมืองกันดีกว่า เผื่อว่ายางอายมันจะซึมออกมาจากพวกเขาเหล่านั้นบ้าง

 

  • ราชการก็ยังมีวิธีคิดแบบเดิมๆ ที่พอคิดจะทำอะไรก็จะเข้าร่องคิดเดิม เป็นโครงการ บอกขั้นตอนไปเรียบร้อย ทำงานเสร็จ แต่มักไม่ค่อยสำเร็จครับ
  • คงต้องใช้ยุทธศาสตร์KM  คือ ขยายดี ครับ เปลี่ยนหรือปรับวิธีคิดและวิธีการทำงานกันใหม่ คงทำไม่ง่ายนักแต่ก็ยังพอมีหวังครับ
  • เช่นการเปลี่ยนจากว่าทำอะไรบ้าง(กิจกรรม) เป็นทำอย่างไร(แนวปฏิบัติ)เพื่อให้เกิดการ 1. พึ่งตนเอง 2. พึ่งพากันเอง โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ลดการพึ่งพาทั้งหลาย เกษตรสามารถรวมตัวกันได้จากขั้น 1 ขั้น 2 ขั้น 3  ให้ร่วมกันคิดต่อเอาเองเหมือนที่คุณเจริญวิทย์เล่าไว้

คุณพันธุ์บุณย์

ขอบคุณครับ

เห็นภาพชัดเลยครับ

ขอนำไปใช้ต่อนะครับ

แต่ การที่จะระเบิดจากข้างใน บางทีเชื้อไฟก็ไม่พอครับ อาจต้องเติมจากภายนอกบ้างครับ

ทีนี้เราต้องมาดูว่าภายนอกจะเติมอะไรได้บ้างจึงจะทำให้ระเบิดจากข้างในได้มาก และทั่วไปครับ

คุณวีรยุทธครับ

ขอพูดกันอย่างตรงไปตรงมา

ผมอยากฝากความหวังไว้กับหน่วยงานของท่าน เป็นหัวหอกนำทาง

แต่ฟังคุณเจริญวิทย์พูดแล้ว ผมก็เกิดอาการตันทางความคิด

ว่าผู้บริหารเขาไม่สนใจอะไรแบบนี้

จริง ไม่จริง อย่างไรช่วยขยายความตรงนี้ หรือเขียนบล็อกแลกหมัด เอ้ย แลกเปลี่ยน ได้สักนิดไหมครับ

อยากฟังจังเลย

พูดตรงไม่ได้ก็แย้มๆให้ฟังก็ได้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท