ของ "ของเรา" เรา "เข้าถึง"


สัจธรรมแห่งความสุข สัจธรรมแห่งความรัก ซึ่งเป็น "ความรักแท้" ที่เกิดขึ้นกับทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ และป่าไม้

หลาย ๆ ครั้ง และหลาย ๆ ช่วงเวลาที่ผมนั่งทบทวนดูกฎระเบียบกติกาของสังคมไทยแล้วรู้สึกว่า "เป็นธรรม" ไหมสำหรับคนที่อยู่ใกล้แค่เอื้อมแต่กับ "เข้าไม่ถึง"

ทรัพยากรธรรมชาติของเขา ที่เขาเกิดและเติบโตมาอยู่ตรงนั้น แต่ทำไมคนที่อยู่ไกลแสนไกล อยู่อีกฟากหนึ่งของประเทศ อยู่คนละทวีป จึงสามารถเข้าไปใช้ทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ นั้นได้ภายใต้คำว่า "การท่องเที่ยว"

นโยบายปิดป่าในกว่าสิบปีที่ผ่านมา ทำให้ประชาชนอยู่ดำเนินชีวิตอยู่กับน้ำและป่า ไม่สามารถเข้าถึงทรัพยากรที่อยู่ใกล้ตนเองที่สุดได้ ซึ่งทำให้เกิดเรื่องของ Double Standard กับคนที่เรียกว่า "นักท่องเที่ยว" ภายใต้ชื่อ "การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ (Eco Tourism)" สามารถนำตัวและเทคโนโลยีอันทันสมัยเข้าไปได้ถึงในทุก ๆ สถานที่แม้กระทั่งป่าปิดที่ไม่มีถนนภายใต้ชื่อกลุ่ม Off Road แบบรักษ์ธรรมชาติต่าง ๆ นานา

เสียงเครื่องยนต์คำราม ประกอบกับล้ออันใหญ่โต ของคนกรุงหรือคนเมืองหลวง สามารถเข้าไปบุกตะลุยน้ำและป่าของชุมชนได้

"แต่ทำไม คนในชุมชนถึงเดินเข้าไปไม่ได้"

ภาพที่ประทับที่ผมพบกับการ "เข้าถึง" ธรรมชาติของพี่น้องบ้านแม่ละเมา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ทำให้พบกับสัจธรรมแห่งความสุข สัจธรรมแห่งความรัก ซึ่งเป็น "ความรักแท้" ที่เกิดขึ้นกับทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ และป่าไม้

เพราะทุกสิ่งทุกอย่างคือ "ชีวิต"

ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ใช่เป็นเพียงแค่การท่องเที่ยวพักผ่อนในช่วงวันหยุด เที่ยวเสร็จแล้วก็สะบัดก้นกลับไป

แต่ทุก ๆ อย่างก็คือชีวิตและลมหายใจ

ของ ของเรา ใช้ได้ เข้าถึง

เรา ใช้ได้ เรา เข้าถึง เรา นั้นจึง ก็ผู้ช่วยรัก และ รักษา

ของ ของเรา เรา เข้าถึง

เราใช้ได้ เราถึงจึง รักษาได้

เราใช้ ใช้ด้วย จิตและใจ

ไม่มีใคร หวงแหน บ้านเท่าเรา

 

เขามาเที่ยว หว่านเงิน เดี๋ยวก็กลับ

แต่ฉันอยู่ กับสิ่งนั้น นานแค่ไหน

ทั้งชีวิต ชั่วลูกหลาน ตลอดไป

ฉันนั้นไซร้ มีรักแท้ แก่ผืนดิน

 

ทั้งผืนน้ำ ผืนป่า นั้นรักฉัน

ฉันก็รัก ทุกสิ่งนั้น อย่างเหลือหลาย

ฉันจะเฝ้า รักษา มิทำลาย

แม้ชีวิต มลาย จะรักษ์กัน

 

ฉันขอนะ ให้ฉันเข้า ถึงของฉัน

เพราะสิ่งนั้น คือชีวิต ที่หลากหลาย

ชีวิตฉัน ชีวิตลูก ชีวิตยาย

ทุกชีวิต อยู่ได้ ร่วมด้วยกัน

หมายเลขบันทึก: 67563เขียนเมื่อ 15 ธันวาคม 2006 23:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
ชอบอ่านบันทึกที่ คุณ ปภังกร เขียนมากครับ รู้สึกว่าสื่อได้ถึงอารมณ์และความรู้สึกดีครับ
  • มาสนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการรักษาดูแลป่าไม้และธรรมชาติครับผม
  • ขอบคุณมากครับ

อาจารย์ปภังกร 

การท่องเที่ยวโดยชุมชน และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ให้ชุมชนเป็นผู้จัดการท่องเที่ยวด้วยตนเอง ภาพที่เกิดในพื้นที่พัฒนา CBT. เราเห็นการอนุรักษ์ หวงแหน การกลับเข้าไปฟังเสียงธรรมชาติอีกครั้ง ที่สำคัญอีกอย่างคือ การที่นักท่องเที่ยวเข้าไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชาวบ้าน เป็นการยกระดับความรู้ ตลอดจนความภาคภูมิใจให้กับคนท้องถิ่น

ในอนาคตอีกไม่นาน อาจารย์คงได้มาร่วมงานกับ โครงการหลวง ตรงนั้นกำลังพัฒนา วิจัย CBT. อยู่ครับ

ท่านอาจารย์ ธีระ จารุจินดา ท่านกำลังหาแนวร่วม ร่วมด้วยช่วยกันที่เชียงใหม่

ไม่แน่ครับ...ผมมีแจม ในช่วงเวลาต่อไป

 """""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""

CBT. = community based tourism

สวัสดีค่ะคุณจอห์น

  • อิจฉาเด็กคนนั้นที่นอนเล่นในน้ำนะคะ
  • อ่านแล้วสนุกค่ะ

ขอบคุณค่ะ

  • สวัสดีครับอาจารย์หนึ่ง
  • บันทึกส่วนใหญ่ของผมจะออกจากทั้ง Mind&Body ครับ ผนวกกับ Filling ณ ขณะที่อายาตนะถูกกระทบหรือสัมผสแล้วเข้าไปกระตุ้นต่อมให้เกิดพลังที่ผุดจากข้างในแล้วปลดปล่อยออกมาครับ บางครั้งก็อาจจะถูกแข็งกร้าว รุนแรง หรือ ละมุนละไม เหงา เศร้า ซึ้ง เป็นจังหวะอารมณ์ผสมกับความรู้ ผนวกกับความรู้สึกกลั่นออกมาเป็นบันทึกครับ
  • ขอบพระคุณอาจารย์หนึ่งเป็นอย่างสูงที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ
  • ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับท่านอาจารย์ขจิต
  • เรามาร่วมช่วยกันให้สรรพสิ่งโดยเฉพาะทรัพยากรธรรมชาติของเราคงอยู่ โดยเราและเพื่อเรากันครับ
  • สวัสดีครับท่านอาจารย์จตุพร
  • แนวความคิดนี้ดีมาก ๆ เลยครับ ถ้าแนวคิดนี้มาเร็วกว่านี้หน่อยสักสิบปี ดิน น้ำ ป่า บ้านเราคงจะไม่ถูกกระทบและกระแทกทั้งอย่างจงใจและไม่จงใจจนส่งผลให้คนที่อยู่ภายใน "ชุมชน" ได้รับผลกระทบจากสิ่งต่าง ๆ มากมายขนาดนี้ครับ
  • ในโอกาสอันใกล้นี้เราต้องได้มีโอกาสร่วมกันทำงานแน่นอนครับ
  • ผมจะได้มีโอกาสเข้าไปทำงานกับผู้รู้ ผู้เชี่ยว และผู้ชาญ และเป็นผู้รู้ที่ทำงานด้วยจิตใจที่เสียสละอย่างยิ่งที่เชียงใหม่ครับ
  • เรามาร่วมกันรักษ์สังคมนี้ให้น่าอยู่และมีความสุขกันนะครับ

ป.ล. อาจารย์ช่วยแปร CBT ด้วยนะครับ ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ

  • สวัสดีครับครูอ้อย
  • เด็กคนนั้นมีความสุขครับ เพราะเขาสามารถสัมผัสแม่น้ำหน้าบ้านเขาได้อย่างเต็มตัวและเต็มใจ โดยไม่ต้องมีใครมาห้ามหรือหวงเพื่อเอาไว้ให้นักท่องเที่ยวครับ
  • มิติของความยากจนนั้นมีหลายมิติ เช่น จนเงิน จนทรัพย์สิน  จนปัญญา (ความรู้) และจนทรัพยากร ฯ
  • แต่ผู้ที่คิดว่ารู้มักจะมองเพียงมิติของจนเงินทองเพียงด้านเดียว เราจึงเห็นการแก้ไขปัญหาความยากจนที่ยากที่บะบรรลุผล
  • กรณีของอาจารย์ก็คือการขาดโอกาสของการเข้าถึงทรัพยากร ที่หากเข้าได้ใช้ประโยชน์และร่วมดูแลรักษา  ความยากจน(จนเงิน) คงไม่ใช่ปัญหาใหญ่เลย
  • ลปรร.ครับ
  • สวัสดีครับท่านพี่วีรยุทธ
  • เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ทรงคุณค่ายิ่งครับ
  • สำหรับการขาดโอกาสครั้งนี้จะเป็นสิ่งที่สร้างความเข้มแข็งและปัญญาให้กับผมมากเลยครับ
  • ขอบพระคุณสำหรับข้อแลกเปลี่ยนที่ดียิ่งครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท