"ถอดบทเรียน" เครื่องมือทบทวนเพื่อการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพสูง


วิกฤติคือโอกาสที่ยิ่งใหญ่ และทุกวิกฤติมีการเรียนรู้เสมอ การเรียนรู้ดังกล่าวนั้นคือ “บทเรียน” สำคัญที่เป็นองค์ความรู้สำคัญในการแก้ไขปัญหาลักษณะเดียวกันในอนาคต ​

จากเหตุการณ์ 13 ชีวิต หมูป่าอคาเดมีติดถ้ำ แล้วเปิดปรากฏการณ์ในการให้ความช่วยเหลือในครั้งนี้ท่ามกลางความสนใจของคนทั่วโลก...ครั้งนี้เป็น “บทเรียน” ที่สำคัญมากสำหรับอนาคตจำเป็นต้อง “ถอดบทเรียน” ครับ

วิกฤติคือโอกาสที่ยิ่งใหญ่ และทุกวิกฤติมีการเรียนรู้เสมอ การเรียนรู้ดังกล่าวนั้นคือ “บทเรียน” สำคัญที่เป็นองค์ความรู้สำคัญในการแก้ไขปัญหาลักษณะเดียวกันในอนาคต

เรียนรู้ กระบวนการถอดบทเรียน จากบันทึกเหล่านี้  Click!!!!>>>   "ถอดบทเรียน"

หลักการสำคัญของการถอดบทเรียนคือ

  • อะไรที่ดีอยู่แล้ว ควรจะดีกว่าเดิมเมื่อดำเนินการในลักษณะเดียวกันในอนาคต
  • อะไรที่ล้มเหลว...เราสามารถจะแก้ไข หรือ เข้าใจ เรียนรู้ความล้มเหลวนั้นอย่างไรที่ไม่ให้เกิดซ้ำอีก

ถอดบทเรียนที่ดี...ต้องถอดบทเรียนตลอดเวลา

ภารกิจที่สุดยอดในสงครามของทหาร คือการทบทวนภารกิจเพื่อการรบครั้งต่อไป ดังนั้นความถี่ของการถอดบทเรียนจึงเป็น เหตุผลที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับความสำเร็จของภารกิจ...

ถอดบทเรียนบ่อยขนาดไหน?

เมื่อภารกิจย่อยๆแล้วเสร็จ หากสามารถถอดบทเรียนภารกิจได้ทันที ถือว่าเป็นเรื่องที่ควรกระทำ แต่หากไม่สามารถดำเนินการได้ ก็ให้ถอดบทเรียนหลังภารกิจในภาพรวมเสร็จสิ้น แล้ว ทำการถอดบทเรียนในทันที

ความสำเร็จของการถอดบทเรียนขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง?

  1. ปัจจัยแรก คือ ผู้ถูกถอดบทเรียน กลุ่มนี้สำคัญ ได้แก่ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับภารกิจทุกระดับ
  2. ปัจจัยอันดับสอง คือ ผู้ดำเนินการถอดบทเรียน ในที่เราเรียก “ผู้นำกระบวนการเรียนรู้”  เป็น Facilitator ในการนำเวทีถอดบทเรียน
  3. ปัจจัยอันดับสาม คือ ช่วงของการถอดบทเรียน ในที่นี้หมายถึง หากเสร็จภารกิจแล้วสามารถถอดบทเรียนได้ทันที เป็นสถานการณ์การเรียนรู้ที่มีผลต่อการพัฒนาและแก้ไขปัญหาในอนาคต
  4. ปัจจัยอันดับที่สี่ คือ คำถามสำคัญของการถอดบทเรียน “คำถาม” มีความสำคัญมากที่จะได้คำตอบที่เป็นบทเรียนสำคัญ

เมื่อทุกอย่างพร้อม...เปิดเวทีถอดบทเรียนทันที

การถอดบทเรียนประกอบด้วยภารกิจตามขั้นตอนต่อไปนี้...

ภารกิจถอดบทเรียน ขั้นตอนที่ 1 : เปิดวงถอดบทเรียนที่ประกอบด้วยผู้เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ต้องการถอดบทเรียนในทุกระดับ (หรือเราเรียกว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย) วงเรียนรู้กลุ่มขนาด 7-12 คน ต่อการเรียนรู้ 1 วง และ ผู้นำกระบวนการเรียนรู้ 1 คน ผู้จัดบันทึกบทเรียนแบบละเอียด 1 คน ผู้จดบันทึกบทเรียนแบบแผนที่ความคิด 1 คน(เป็นผู้จดบันทึกเชิงประเด็น)

ภารกิจถอดบทเรียน ขั้นตอนที่ 2 : Facilitator เกริ่นถึงความสำคัญของการถอดบทเรียน และ ขอความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนความรู้ จากนั้นเริ่มพูดคุยถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นภาพรวม ให้ทุกคนเห็นภาพเดียวกัน

ภารกิจถอดบทเรียน ขั้นตอนที่ 3 : ให้วงเรียนรู้ให้ทุกคนช่วยกันสรุป “เป้าหมายหลัก”(เป้าหมายสำคัญ)ของภารกิจครั้งนี้ เพื่อให้ทุกคนรับรู้ถึงเป้าหมายเดียวกัน

ภารกิจถอดบทเรียน ขั้นตอนที่ 4 : เมื่อรับรู้ “เป้าหมาย” แล้ว ให้แลกเปลี่ยน กันถึง “กระบวนการ” ที่เป็นการปฏิบัติ ที่เป็นระบบจากเริ่มต้นจนสิ้นสุด เป็นอย่างไร?

ภารกิจถอดบทเรียน ขั้นตอนที่ 5 : “ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น” จากกระบวนการนี้ เป็นอย่างไร? แลกเปลี่ยนถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในทุกมิติ

ภารกิจถอดบทเรียน ขั้นตอนที่ 6 : พิจารณา “ผลลัพธ์” ในภารกิจในขั้นตอนที่ 5 เมื่อนำผลลัพธ์เทียบกับ “เป้าหมาย”(ในภารกิจในขั้นตอน 3)  แล้ว เป็นอย่างไร?

  • เกินเป้า...?
  • ได้ตามเป้าหมาย...?
  • ต่ำกว่าเป้าหมาย?

ไม่ว่าจะเกินเป้าหมาย ได้ตามเป้าหมาย หรือ ต่ำกว่าเป้าหมาย ต้องวิเคราะห์ผ่านการแลกเปลี่ยนให้ได้ว่า “ที่เป็นเช่นนั้นเพราะอะไร? “ ตรงนี้เราจะได้บทเรียนสำคัญ ที่เป็น “เงื่อนไขแห่งความสำเร็จ” และ “ข้อพึงระมัดระวัง”  “ข้อควรตระหนัก” ในการดำเนินการครั้งนี้และเป็นบทเรียนในครั้งต่อไป

ภารกิจถอดบทเรียน ขั้นตอนที่ 7 : ให้ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ให้ข้อเสนอแนะที่เจาะจง ผ่านประสบการณ์ การเรียนรู้ ในบทบาทของนักปฏิบัติ และ บทบาทของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกระดับ “ข้อเสนอแนะ” ในวงถอดบทเรียนมีความสำคัญมากสำหรับการดำเนินการพัฒนาและแก้ไขปัญหาต่อไปในอนาคต

ทั้งหมดเป็นกระบวนการถอดบทเรียนแบบง่าย และมีประสิทธิภาพสูง เพื่อให้ได้ “บทเรียน” สำคัญซึ่งเป็นผลลัพธ์ของเวทีถอดบทเรียนในแต่ละครั้ง

จำไว้ว่า Right view, Right concept, Right Action หมายความว่า การปฏิบัติการ(Action) ยอดเยี่ยมที่เกิดขึ้นเนื่องด้วย วิธีคิด (Concept)มุมมอง (View)ที่ยอดเยี่ยมเช่นกัน ...บทเรียนที่ได้ จึงต้องลึกซึ้งถึงวิธีคิดและมุมมอง...

Jatuporn Wisitchotiaungkoon,Dr

แลกเปลี่ยน      LINE : thaicoach 

หมายเลขบันทึก: 648684เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2018 21:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 กรกฎาคม 2018 22:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะ อ.เอก

นาน ๆ มาที่ เข้มข้น ลึกซึ้ง และกลมกล่อมยิ่งขึ้น

ขอบคุณนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท