อ่านอิเหนา1 : ชื่อเต็มอิเหนา ?


ชื่อหยังหยังหนึ่งหรัดอินดรา อุดากันสาหรีปาตี อิเหนาเอ็งหยังตาหลา เมาะตาริยะกัดดังสุรศรี ดาหยังอริราชไพรี เอ็งกะนะกะหรีกุเรปัน

           อิเหนา เป็นวรรณกรรมที่หลายคนรู้จัก แต่น้อยคนนักจะรู้จักนามเต็มของอิเหนา นามเต็มนี้ได้รับองค์อสัญแดหวา ซึ่งเป็นเทวดาต้นตระกูลของกรุงกุเรปัน กรุงดาหา  กรุงกาหลังและกรุงสิงหัดส่าหรี คอยดูแลทุกข์สุขคนในตระกูลนี้ เมื่อแรกอิเหนาประสูตินั้น ได้นำ “กริช” อันมีค่ามาวางไว้ข้างอิเหนา ในกริชนั้นจารึกชื่อของอิเหนา เมื่อองค์มะเดหวีได้เข้ามาอุ้มอิเหนาออกจากพระอู่ ก็ปรากฏเห็นกริชนั้น จึงนำไปให้ท้าวกุเรปัน เมื่อท้าวกุเรปันพิจารณากริช จึงเห็นนามของบุตรชาย ความว่า

                เมื่อนั้น                    พระผู้ผ่านโภไคยไอศวรรย์

ชื่นชมโสมนัสอัศจรรย์           เอากริชนั้นออกพิจารณา ฯ

                                ฯ ๒ คำ ฯ

         จึงเห็นจารึกอักษร        นามกรพระโอรสา

ชื่อหยังหยังหนึ่งหรัดอินดรา    อุดากันสาหรีปาตี

อิเหนาเอ็งหยังตาหลา          เมาะตาริยะกัดดังสุรศรี

ดาหยังอริราชไพรี               เอ็งกะนะกะหรีกุเรปัน

                                ฯ ๔ คำ ฯ

                                                                (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย. ๒๕๕๗ : ๖o)

หาเราพิจารณาคำคัพท์ จะได้ความหมายดังนี้

                หยังหยัง (Yang-Yang หมายถึง เทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่) หนึ่ง (Ning  หมายถึง แห่ง) หรัด (Rat หมายถึง รัฐ) อินดรา (Indera หมายถึง พระอินทร์) อุดากัน (Udakan หมายถึง พี่ชาย) สาหรี (Seri หมายถึง เกียรติศักดิ์)  ปาตี (Pati หมายถึง บดี  ผู้เป็นใหญ่)  อิเหนา (Inu หมายถึง ยุพราช) เอ็ง (Ing หมายถึง แห่ง ของ) หยัง (Yang หมายถึง เทพเจ้า) ตาหลา (Ta'ala หมายถึง สูงส่ง)  เมาะตาริ (Metari หมายถึง ตะวัน) ยะกัด (Jagat หมายถึง โลก แผ่นดิน) ดาหยัง (Jayang หมายถึง ศัตรู  ข้าศึก)  กะ (Ka หมายถึง ไปสู่) นะกะหรี  (Negeri หมายถึง นคร)  กุเรปัน (Kahuripan หมายถึง เป็นชื่อเมืองของอิเหนา หมายความว่า ความรื่นรมย์)

เมื่อรวมความแล้ว หมายถึง

                “ มหาเทพแห่งอินทรพิภพ เชษฐบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ด้วยเกียรติ ยุพราชแห่งเทพเจ้าผู้สูงส่ง ฤทธาเดชานุภาพดังสุริยเทพ เป็นที่ครั่นคร้ามแก่เหล่าผู้รุกรานกรุงกุเรปัน ”

                “เทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่แห่งเมืองของพระอินทร์ พี่ชายผู้ทรงเกียรติอันยิ่งใหญ่ พระยุพราชแห่งเทพผู้สูงส่ง ดวงสุริยาผู้เกรียงไกรและเป็นศรีของแผ่นดิน ผู้ชนะศัตรูทั้งปวงแห่งนครกุเรปัน”

บรรณานุกรม

ทิพย์วรรณ ทองคำ และคณะ. (8 กันยายน 2559). อิเหนามีชื่อจริงว่าอะไร. เรียกใช้เมื่อ 3 กรกฎาคม 2561 จาก https://sites.google.com: https://sites.google.com/site/...

พุทธเลิศหล้านภาลัย, พระบาทสมเด็จพระ. (2557). อิเหนา. กรุงเทพ: แสงดาว.

วรรณคดีไทย สไตล์ไทย สไตล์เกรียน. (22 เมษายน 2561). "อิเหนา" ในพงศาวดาร. เรียกใช้เมื่อ 3 กรกฎาคม 2561 จาก https://my.dek-d.com: https://my.dek-d.com/zennee/wr...1279933&chapter=173

หมายเลขบันทึก: 648678เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2018 15:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 กรกฎาคม 2018 15:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ชักกริช ออกมาแทงฝรั่ง

เกี่ยวกันไหม 555

5555 ตรงนี้ไม่ค่อยมั่นครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท