กระบวนการรับรองการดำเนินงานสนามบินสาธารณะ(จากเวป)


รัฐจะต้องมีใจว่ามีการกำกับดูแลตรวจสอบครบทุกรูปแบบการครวจเพื่อจะทำให้ประเทศที่เดินทางติดต่อกันเกิดความมั่นใจเช่นเดียวกัน

aerodrome certification

Aerodrome Certification

การรับรองสนามบินตามมาตรฐาน

องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ

หัวข้อที่จะนำเสนอ

  • ที่มาหรือสาเหตุที่ต้องมีการรับรองสนามบิน
  • การรับรองสนามบินตามมาตรฐานขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO)
  • การรับรองสนามบินตามพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗

ที่มาหรือสาเหตุที่ต้องมีการรับรองสนามบินที่มาหรือสาเหตุที่ต้องมีการรับรองสนามบิน

ข้อ ๑๕ ของอนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือนระหว่างประเทศ กำหนดไว้ว่า

สนามบินทุกแห่งในรัฐผู้ทำสัญญาซึ่งเปิดให้อากาศยานแห่งชาติของตน ใช้เป็นสาธารณะจะต้องเปิดให้อากาศยานของรัฐผู้ทำสัญญาอื่น ๆ ทั้งหมดใช้เช่นเดียวกัน ภายใต้เงื่อนไขอย่างเดียวกัน

Article 15 of the ICAO Convention:

Requires that all aerodromes open to public use, under the jurisdiction of the country, provide uniform conditions for aircraft of all other contracting State

ที่มาหรือสาเหตุที่ต้องมีการรับรองสนามบิน (ต่อ)

ICAO Annex 14 Volume I ยังกำหนดมาตรฐานไว้ด้วยว่า:

รัฐภาคีต้องรับรองสนามบินที่ใช้สำหรับการบินระหว่างประเทศให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่กำหนดไว้ในภาคผนวกนี้

นอกจากนี้ การรับรองสนามบินยังทำให้รัฐภาคีอนุสัญญาชิคาโกสามารถ

ทำหน้าที่ด้านความปลอดภัยด้วยการกำกับดูแลสนามบินผ่านทางกฎหมาย ให้เป็นไปตามมาตรฐานระหว่างประเทศ

การรับรองสนามบินตามมาตรฐาน ICAO

ตามเอกสารองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ หมายเลข ๙๗๗๔ คู่มือการรับรองสนามบิน (Doc 9774 Manual on Certification of Aerodromes) กำหนดไว้ว่า ก่อนที่องค์การด้านการบินพลเรือนของแต่ละประเทศจะออกใบรับรองสนามบิน (aerodrome certificate) ให้แก่สนามบิน จะต้องมั่นใจว่า

๑. ผู้ขอและบุคลากรมีสมรรถนะ (competence) และประสบการณ์ (experience) ที่จำเป็นสำหรับการดำเนินการและการรักษาสนามบิน

๒. คู่มือการดำเนินงานสนามบิน (aerodrome manual) ที่ผู้ขอจัดทำและยื่นให้พร้อมคำขอต้องเป็นไปตามมาตรฐานและมีข้อมูลครบถ้วน

๓. กระบวนการดำเนินงานของสนามบินต้องให้ความปลอดภัยแก่อากาศยาน

๔. มีระบบการจัดการด้านนิรภัย (SMS)

การรับรองสนามบินตามมาตรฐาน ICAO (ต่อ)

อาจสรุปได้ว่า ประเด็นที่องค์การการบิน

พลเรือนแต่ละประเทศจะพิจารณา ประกอบด้วย

๑. ความปลอดภัย

มาตรฐานทางกายภาพของสนามบิน

ต้องเป็นไปตามภาคผนวก ๑๔

  • บทที่ ๓ ลักษณะทางกายภาพ (Chapter 3 Physical characteristics)
  • บทที่ ๔ การจำกัดและกำจัดสิ่งกีดขวาง (Chapter 4 Obstacle restriction and removal)
  • บทที่ ๕ เครื่องช่วยทัศนวิสัยในการเดินอากาศ (Chapter 5 Visual aids for navigation)
  • บทที่ ๖ เครื่องช่วยทัศนวิสัยสำหรับแสดงสิ่งกีดขวาง (Chapter6 Visual aids for denoting obstacles)
  • บทที่ ๗ เครื่องช่วยทัศนวิสัยสำหรับแสดงพื้นที่จำกัดการใช้งาน (Chapter7 Visual aids for denoting restricted use areas)
  • บทที่ ๘ ระบบไฟฟ้า (Electrical systems)

๒. ความพร้อมของผู้ดำเนินการและบุคลากร

การดำเนินงานหรือบริการของสนามบิน

ต้องเป็นไปตาม

  • ภาคผนวก ๑๔ บทที่ ๙ บริการเกี่ยวกับการดำเนินงานของสนามบิน
  • เอกสาร ICAO หมายเลข ๙๑๓๗ คู่มือการบริการของท่าอากาศยาน (Doc 9137 Airport Services Manual)



๓. คู่มือการดำเนินงานสนามบิน (aerodrome manual)

  • วัตถุประสงค์คู่มือการดำเนินงานสนามบินจะบรรจุข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับสนามบิน ทั้งตำแหน่งสนามบิน สิ่งอำนวยความสะดวก บริการ อุปกรณ์ กระบวนการดำเนินงาน โครงสร้างองค์การ และการบริหารจัดการ
  • รูปแบบ คู่มือการดำเนินงานสนามบินต้องจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร โดยการตีพิมพ์

ง่ายต่อการแก้ไขปรับปรุงให้เป็นปัจจุบัน

  • การเก็บรักษาและการแจกจ่าย ผู้ดำเนินการสนามบินต้องปรับปรุงให้คู่มือการดำเนินงานสนามบินเป็นปัจจุบัน เก็บรักษาไว้ ณ สถานประกอบการแห่งหลักเพื่อการตรวจสอบ
  • การให้ความเห็นชอบ องค์การการบินพลเรือนของแต่ละประเทศต้องให้ความเห็นชอบแก่คู่มือการดำเนินงานสนามบิน



๓. คู่มือการดำเนินงานสนามบิน (aerodrome manual) (ต่อ)

ข้อมูลที่จะมีไว้ในคู่มือการดำเนินงาน

๑. ข้อมูลทั่วไป เช่น วัตถุประสงค์และขอบเขตของคู่มือการดำเนินงานสนามบิน

เงื่อนไขการใช้สนามบิน ระบบการบันทึกการเคลื่อนที่ของอากาศยาน

๒. รายละเอียดเกี่ยวกับตำแหน่งที่ตั้งของสนามบิน เช่น แผนที่แสดงขอบเขตของสนามบิน ตำแหน่งที่ตั้งของสนามบิน พิกัดทางภูมิศาสตร์

๓. รายละเอียดของสนามบินที่จะต้องรายงานต่อหน่วยบริการข้อมูลข่าวสารด้านการบิน (Aeronautical Information Service-AIS) เช่น ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสนามบิน อุณหภูมิอ้างอิงของสนามบิน ชื่อผู้ดำเนินการสนามบินและที่อยู่ในการติดต่อ ขอบเขตของสนามบิน

๓. คู่มือการดำเนินงานสนามบิน (aerodrome manual) (ต่อ)

ข้อมูลที่จะมีไว้ในคู่มือการดำเนินงาน

๔. รายละเอียดเกี่ยวกับกระบวนการดำเนินงานของสนามบินและมาตรการด้านความปลอดภัย เช่น กระบวนการรายงานของสนามบิน การเข้าพื้นที่เคลื่อนไหวของสนามบิน แผนฉุกเฉินของสนามบิน การกู้ภัยและดับเพลิง การตรวจพินิจพื้นที่เคลื่อนไหวและพื้นผิวจำกัดสิ่งกีดขวางโดยผู้ดำเนินการสนามบิน เครื่องช่วยทัศนวิสัยและระบบไฟฟ้าสนามบิน การบริหารจัดการลานจอด การบำรุงรักษาพื้นที่เคลื่อนไหว การจัดการความปลอดภัยลานจอดอากาศยาน การควบคุมยานพาหนะในเขตการบิน การจัดการอันตรายที่เกิดจากสัตว์ การควบคุมสิ่งกีดขวาง

๕. การบริหารจัดการสนามบินและระบบการจัดการด้านนิรภัย (SMS)


๔. ระบบการจัดการด้านนิรภัย (Safety Management System)

เป็นไปตามเอกสาร ICAO หมายเลข๙๘๕๙คู่มือการจัดการด้านนิรภัย(Doc 9859 Safety Management Manual) ประกอบด้วย

(๑) นโยบายความปลอดภัยเกี่ยวกับกระบวนการจัดการด้านนิรภัย

(๒) โครงสร้างองค์กรด้านการจัดการความปลอดภัย และการมอบหมายความรับผิดชอบงานด้านนี้

(๓) ยุทธศาสตร์และการวางแผนระบบการจัดการด้านนิรภัย รวมถึงการกำหนดเป้าหมายสมรรถนะด้านความปลอดภัย

(๔) การปฏิบัติตามระบบการจัดการด้านนิรภัย รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวก กระบวนการในการสื่อสารข้อมูลด้านความปลอดภัย

๔. ระบบการจัดการด้านนิรภัย (Safety Management System) (ต่อ)

(๕) มาตรการในการส่งเสริมความปลอดภัยและป้องกันอุบัติเหตุ

(๖) ระบบการตรวจสอบภายในและทบทวนด้านความปลอดภัย

(๗) ระบบการจัดทำเอกสารที่เกี่ยวกับความปลอดภัยของสนามบิน เช่น การบันทึกเกี่ยวกับการดำเนินการและการบำรุงรักษาสนามบิน

(๘) การฝึกอบรมบุคลากรและสมรรถนะของบุคลากร รวมถึงการทบทวนและประเมินความเพียงพอของการฝึกอบรมที่ให้แก่บุคลากรของสนามบิน

การรับรองสนามบินตามพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗

การออกใบรับรองการดำเนินงานสนามบินสาธารณะ ตามมาตรา ๖๐/๖

ประเด็นที่พิจารณา

๑. คุณสมบัติและลักษณะผู้ขอตามมาตรา ๖๐/๓, มาตรา ๖๐/๔ (นิติบุคคล ทุน)

๒. ลักษณะทางกายภาพของสนามบิน

๓. ลักษณะทางกายภาพของสิ่งกีดขวางโดยรอบ

๔. สิ่งอำนวยความสะดวกสนามบิน สิ่งติดตั้ง อุปกรณ์

๕. บริการที่สนามบินต้องมีทั้งในยามปกติและฉุกเฉิน

๖. ผู้จัดการสนามบินมีใบรับรองตามมาตรา ๖๐/๑๒


การรับรองสนามบินตามพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ (ต่อ)

ประเด็นที่พิจารณา

๗. ระเบียบเกี่ยวกับกระบวนการดำเนินงาน

๘. ระบบการตรวจสอบภายใน

๙. ระบบควบคุมดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากร

๑๐. คู่มือการดำเนินงานสนามบิน

๑๑. ทุนเพียงพอแก่การดำเนินงานตามมาตรา ๖๐/๓

๑๒. บุคลากรมีความสามารถและมีจำนวนเพียงพอตามมาตรา ๖๐/๓

๑๓. ระบบการจัดการด้านนิรภัย

๑๔. ระบบการรักษาความปลอดภัย

ขอบคุณค่ะ

หมายเลขบันทึก: 648672เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2018 09:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 กรกฎาคม 2018 12:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท