อาตยะ ๑๒, ธาตุ ๑๘ ตอนที่ ๒


           ผู้ที่ปฏิบัติได้ถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฎฐาน หรือถึงกายในกายที่ละเอียดๆ ก็พึงน้อมใจตาม และจะสามารถเห็นได้พอสมควร 

          สำหรับท่านที่ถึงธรรมกายแล้ว ก็ให้รวมใจของทุกกายให้หยุดอยุ่ ณ ศูนย์กลางกายพระอรหัตองค์ที่ละเอียดที่สุด เจริญฌานสมาบัติ (รูปฌาน ๔) โดยอนุดลมและปฏิดลม ให้ใจสงัดจากิเลสนิวรณืดีแล้ว ก็ให้ใจของพระธรรมกายเพ่งลงไปที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมุนษย์ ก็จะเห็นขันธ์ ๕ ส่วนละเอียด คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นีรวมเรียกว่า ขันธโลก ซึ่งขยายส่วนหยาบออามาเป็นดวงกาย ดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด และดวงรู้ แล้วเจริญเติบโตออกมาเป็นกาย ดวงใจ ดวงจิตค และวงวิญญาณ ซึ่งรวเมเรยกว่า สัตวโลก 

          ที่นี้ ให้เพ่งลงไปที่กลาางวิญญาณขันธ์ ซึ่งเป้นขันธ์ ๕ ส่วนที่ละเอียดที่สุด ก็จะเห็นธาตุธรรมส่วนละเอียดของอายตนะทั้ง ๑๒ ซ้อนอยู่เป้นชั้นๆ เข้าไปข้างในอีก คือ จัขวายตนะ อายตนะคือตา, โสตายตนะ อายตนะคือหู, ฆานายตนะ อายตนะคือจมูก, ชิวหายตนะ อายตนะคือล้ิน, กายายตนะ อายตนะคือกาย และ มนายตนะ อายตนะคือใจ นี้เป็นธาตุธรรมละเอียดของอายตนะภายใน ๖ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "สฬายตนะ" 

          กลางอายตนะภายใน ๖ ก็ยังมีธาตุธรรมละเอียดที่ทำหน้าที่เป็นอายตนะภายนอกอีก ๖ ือ รูปายตนะ อายตนะที่เป็นรูป สี สัณฐาน, สัททายตนะ อายตะ ที่เป็นเสียง, คันธายตนะ อายตนะที่เป็นกลิ่น, รสายตนะ อายตนะที่เป็นรส, โผฎฐัพพายตนะ อายตะที่เป็นเครื่องสัมผัสทางกาย และธัมมายตนะ อายตนะที่เป้นอารมณ์ทางใจ

         รวมเป็นอายตนะ ๑๒ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ทวาทสายตนะ" ธาตุธรรมะลเอียดเหล่านี้ มีลักาณะสัณฐานเป็นดวงกลมใสดวงเล็กๆ ซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ ใสละเอียดกว่ากันเข้าไปตามลำดับ

        ตรงกลางอายตนะ ๑๒ ที่ละเอียดที่สุดนี้เอง ยังมีธาตุธรรมละเอียดของธาตุทั้ง ๑๘ ซ้อนอยู่อีก เป็ดวงกลมใสละเอียดเข้าไปข้างในอีกเหมือนกัน คือ จักขุธาตุ คือธาตุเห็น หรือธาตุรับรูป, โสตธาตุ คือ ธาตุได้ยิน หรือธาตุรับเสียง ฆานธาตุ คือธาตุได้กลิ่น หรือธาตุรับกล่ิน, ชิวหาธาตุ คือธาตุรับรส, กายธาตุ คือธาตุรรับสิ่งสัมผัสทางกาย และมโนธาตุ คือธาตุสำหรับรับอารมณ์ทางใจ เหล่านี้รวมเรียกว่า ธาตุรับ ๖ 

        แล้วต่อไปก็จะเป็นธาตุกระทบอีก ๖ ได้แก่ รูปธาตุ คือธาตุของรูป สี สัณฐาน, สัททธาตุ คือธาตุของเสียง, คันธธาตุ คือธาตุของกลิ่น, รสธาตุ คือธาตุของรส โผฎฐัพพาธาตุ คือธาตุอันเปนสิ่งสัมผัสทางกาย, ธัมมาธาตุ คือธาตุอารมณ์ทางใจและกลางของกลางต่อไปก็เป็นธาตุรับรู้อีก ๖ ได้แก่ จักขุวิญญาณธาตุ คือ ธาตุรับรู้หรือเห็น รูป สี และสัณฐาน, โสตวิญญาณธาตุ คือธาตุรับรู้หรือได้ยินเสียง, ฆานวิญญาณธาตุ คือธาตุรับรู้หรือไดก้และ่น, ชิวหาวิญญาณธาตุ คือธาตุรับรู้หรือได้รับรส, กายวิญญาณธาตุ คือธาตุรับรู้การสัมผัส และมโนวิญญาณธาตุ คือธาตุรับรู้ะรรมารมณ์

         เราจะเห็นว่า ธาตุธรรมส่วนละเอียดของขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘ ทั้งหลายเหล่านี้ เป้นดวงกลมใส ดวงเล็กๆ ขนาดประมาณเท่าหยาดน้ำมันอันติดอยู่ปลายขนจามรี ที่มัชฌิมบุรุษได้สลัดเสียงแล้วเจ็ดครั้ง ซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ เข้าไปข้รางใน ครงกลางกำเนิดธาตุธาตเดิมนั้นเอง ใสละเอียดยิ่งกว่างกันเข้าไปตามลำดับ และนอกจากนี้ ในธาตุธรรมละเอียดเหล่านี้ ยังมีดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด และดวงรู้ เจืออยู่ดวยทุกดวง ซึ่งสามารถจะเห็นได้ด้วยญาณ ของพระธรรมกาย

         เพราะเหตุนี้ ธาตุธรรมละเอียทั้งหลายเหล่านี้แม้จะทำหน้าที่ต่างๆ กัน แต่ก็เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดและเป็นอัตโนมัติที่เดียว ฉะนั้น เมื่อที่อะไรมากระทบ ก็จะกระเทือนไปถึง "ใจ" อันประกอบด้วย "ดวงเห็น" (เห็นด้วยใจเรพาะธาตุเป็นอยู่ตรงศุนย์กลางดวงน้) ซึงทำหน้าที่รับอารมณ์ "ดวงจำ" ซึ่งทำหน้าที่รวบรวมเหรือจดจำอารมณ์, "ดวงคิด" ซึ่งทำหน้าที่น้อมไปหาอารมณ์ และ "ดวงรู้" ซึ่งทำหน้าที่รู้ หรือรับรู้อารมร์โดยอัตโนนัติ หรือ แม้แต่จิตคิดฟุ้งซ่านไปจรดหรือไปยึดเกาะอารมณ์ใด ก้จะเป็นไปทั้ง ดวงเห็นดวงจำ ดวงคิด และดวงรู้ และทำหน้าที่เกี่ยวเนื่องถึงกันหมดทั้งกายและใจ

        เป็นต้นว่า เมื่อจิตคิดไปถึงอารมร์ภายนอกแล้วปรุงแต่งอารมร์นั้นว่าน่ากำหนัดยินดี และไปยึดมั่นถือมั่นกับส่ิงที่ก่อให้เกิดความกำหนัดยินดีนั้น แม้ว่าประสาทตา หู จมูก ลิ้น หรือกาย จะยังมิได้รับสัมผัสกับรูป เสียง กลิ่น รสหรือสิ่งอันสัมผัสด้วยกาย เหล่านั้นก็ตาม

        ความกำหนัดยินดีนั้น ไม่เพียงแต่กระเทือนถึง "ใจ" เท่านั้น หากแต่ยังกระเทือนถึงกายด้วย เช่นว่า จะมีปรากฎการณืให้เห็นทางสีัหน้า เพราะโลหิตสูบฉีดไปหล่อเลี้ยงร่างกายแรงขึ้นด้วย เหล่านี้เป้นต้น ทั้งนี้ก็เพราเหตุว่า ดวงเห็นซึ่งทำหน้าที่รับและเสวยอารมณ์อันเป็นเปลือกนอกของ "ใจ" นั้น ตั้งอยู่ตรงกลาง "ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย" ซึ่งขยายส่วนหยาบและเจริญเติบโตออกมาเป็นกายอันเป็นที่อาศัยและที่ยึดเกาะของ" ใจ" นั่นเอง อีกด้วย

         เนื่องจากดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด และดวงรู้ ซึ่งทำหน้าที่เป็น "ใจ" ตั้งอยู่คืออาศัยอยุ่กับขันธ์ ๕ ทั้งในส่วนที่เป็นธาตุธรรมละเอียดและสวนที่เป็นธาตุหยาบนี้เอง จึงมีอุปาทานคือความยึมั่ถือมั่นในขันธ์ ๕ ดังลก่าว เพราะอวิชชาคือความไม่รู้สภาวะของสังขารและอริยสัจ๔ ตามที่เป้นจริง ครอบคลุมจิตใจอยู่ 

        ฉะนั้น เวลามีสิ่งหนึ่งสิ่งใดอันจะก่อให้เกิดความทุกข์ มากระทบสวนหนึ่งส่วนใดของขันธ์ ๕ นี้ ก็จะรู้สึกเป็นทุกข์เดือดร้อน แต่ถ้ามีส่ิงที่จะก่อให้เกิดความสุขมากระทบ ก็จะรู้สึกเป็นความสุข โดยจะแสดงออกทางดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด และดวงรู้ นี้เอง

        กล่าวคือ เวลาที่รุ้สึกเป็นสุข ก็จะเห็นเป็นดวงใส แต่เวลาเป็นทุกข์ฺ ก็จะเห็นเป็นดวงขุ่น ถ้าเแยๆ คือไม่สุขไม่ทุกข์ ก็๗ะเป็ดวงที่มีลักษณะกลางๆ ไม่ใสไม่ขุ่นนี้เอง คือการเห็นเวทนาในเวทนา เป้ฯภายในตนเอง แต่ถ้าประสงค์ที่จะเห็นเวทนาของผุ้อื่น ก็ให้น้อมเอาธาตุะรรมของผุ้นั้นมาตั้งที่ศูนย์กลากายที่สุดละเอียดของเรา ก็จะพิจารณาเห็นที่ดวงเห็นนั้นเอง ว่า เป็นสุข หรือเป็นทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์ ซึ่งจะเป็นดวงใส หรือดวงขุ่น หรือไม่ใสไม่ขุ่น แล้วแต่กรณี นี้เรียกว่า เห็ฯเวทนาในเวทนาเป็นภายนอก

        การที่มนุษย์หรือสัตว์รับและเสวยอารมร์สุขบ้าง ทุกข์บ้างไมสุขไม่ทุกข์บ้างเหล่านี้ หากมิได้ควบคุมจิตใจให้สงบ ปล่อยจิตใจให้เลื่อนลอยไปตามอารมณ์นั้นๆ แล้ว ย่อมเปิดทางให้อาสวกิเลสที่สะสมหมักดองอยุ่ในกมลสันดาน กระเพื่อมฟุ้งขึ้นมาครอบคุลมจิตใจ และดลจิตดลใจให้ปฏิบัติตามอำนาจของมัน ก็จะเป็นทางให้เกิดโทษทุกข์ฺแก่ตนเองและผุ้อื่นๆได้..

        "หลักและวิธีเจริญสมถะและวิปัสสนาเบื้องต้นถึงธรรมกาย" 

หมายเลขบันทึก: 648680เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2018 20:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 กรกฎาคม 2018 20:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท