รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ ๒-๒๕๕๙ (๙) : บรรยายพิเศษ "กิจกรรมพัฒนานิสิต"


วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ รองอธิการฝ่ายพัฒนานิสิต บรรยายพิเศษเรื่อง "กิจกรรมพัฒนานิสิต" จับประเด็นเอาสาระมาบันทึก ให้นิสิตผู้เรียนได้เรียนรู้ร่วมกัน



  • กิจกรรมพัฒนานิสิตในปัจจุบัน แบ่งได้เป็น ๒ แบบ คือ กิจกรรมเสริมหลักสูตร หรือ กิจกรรมร่วม หรือกิจกรรมนอกหลักสูตร (Extracurricular Activity) และกิจกรรมในหลักสูตร (Curricular Activity)

  • กิจกรรมนอกหลักสูตร หรือ กิจกรรมร่วมหลักสูตร เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นโดยสภานิสิต องค์การนิสิต สโมสรนิสิตคณะ และชมรมต่าง ๆ ทั้งที่สังกัดกองกิจการนิสิตและสังกัดคณะ โดยความเห็นชอบของมหาวิทยาลัยผ่านหน่วยงานพัฒนานิสิต ได้แก่ กองกิจการนิสิต ฝ่ายพัฒนานิสิตของคณะ
  • กิจกรรมร่วมหลักสูตร เช่น กิจกรรมรับน้องใหม่ กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ กิจกรรมออกค่ายอาสา ฯลฯ

  • กิจกรรมในหลักสูตร หมายถึง กิจกรรมที่เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเรียนการสอนของรายวิชาในหลักสูตร มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของรายวิชานั้น ๆ มีการวัดผลการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เป็นค่าคะแนน เป็นต้น กิจกรรมในหลักสูตรจะจัดขึ้นโดยอาจารย์ (ผู้สอน) หรือ นิสิต (ผู้เรียน) ก็ได้


  • โครงการเชื่อมความสัมพันธ์ที่สำคัญระหว่างมหาวิทยาลัย คือ กิจกรรมเทา-งามสัมพันธ์ ซึ่งสืบทอดต่อกันมานาน เป็นการทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยที่เคยเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตต่าง ๆ มาก่อน เหตุที่เรียกว่า "เทา-งาม" เพราะทั้ง ๕ มหาวิทยาลัย มีสีเทาเป็นสีประจำมหาวิทยาลัยเหมือนกัน ม.ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร คือสีเทา-แดง ม.ทักษิณ เป็นเทา-ฟ้า ม.นเรศวรเป็นเทา-แสด ม.บูรพา สีเทา-ทอง มมส. คือเทา-เหลือง ปีหน้า (พ.ศ. ๒๕๖๑) กิจกรรมนี้จะจัดที่ ม.ทักษิณ นิสิตที่สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมได้ ไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ



  • เป้าประสงค์ของกิจกรรมพัฒนานิสิต คือ เพื่อพัฒนานิสิตให้เป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ ซึ่งมีการกำหนดไว้ในลักษณะต่าง ๆ ทั้งระดับคณะ มหาวิทยาลัย และระดับประเทศ
  • สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ (สกอ.) ต้องการบัณฑิตที่ เก่ง ดี และมีสุข จึงกำหนดกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษาไทย (TQF)


Cr. สไลด์กองกิจการนิสิต มมส.

  • สกอ. กำหนดคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ไว้ ๕ ด้าน ได้แก่ คุณธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และด้านการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและเทคโนโลยี


Cr. สไลด์กองกิจการนิสิต มมส.

  • บัณฑิตที่พึงประสงค์ ๙ ประการของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม รายละเอียดคลิกที่สไลด์ จะได้รูปที่ขยายใหญ่ จนสามารถอ่านได้สะดวก


Cr. สไลด์กองกิจการนิสิต มมส.

  • สิ่งที่น่าภาคภูมิใจที่สุดของนิสิตและบุคลากรมหาวิทยาลัย คือ การยึดมั่นในปรัชญาที่ยิ่งใหญ่ "พหูนํ ปณฺฑิโต ชีเว" "ผู้มีปัญญาพึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน"
  • เอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัย คือ "การเป็นที่พึ่งของสังคมและชุมชน"
  • อัตลักษณ์หรือตัวตนของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม คือ "นิสิตกับการช่วยเหลือสังคม"
  • ค่านิยมของนิสิต คือ "พึ่งได้" หรือ MSU for All


Cr. กองกิจการนิสิต

  • คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ด้านคุณธรรม คือ "ประพฤติดี มีวินัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
  • ค่านิยมของนิสิต คือ MSU for All คือ นอกจากพึ่งตนเองได้แล้วยังเป็นที่พึ่งของคนอื่นได้ด้วย หรือ "พึ่งได้"
    • M คือ Moral คือมีคุณธรรมจริยธรรม
    • S คือ Social Responsibility คือ รับผิดชอบต่อสังคม
    • U คือ Unity คือ การเป็นหนึ่งเดียวกัน



  • สกอ. ให้กรอบกว้าง ๆ กับมหาวิทยาลัย ไว้ ๕ ด้าน ได้แก่ กิจกรรมส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ กิจกรรมกีฬาเพื่อส่งเสริมสุขภาพ กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์หรือรักษาสิ่งแวดล้อม กิจกรรมส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม และกิจกรรมเสริมสร้างดคุณธรรมจริยธรรม
  • กิจกรรมพัฒนานิสิตของ มมส. โดดเด่นด้านส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมมาก ถือเป็นจุดแข็งของมหาวิทยาลัย



  • มหาวิทยาลัยกำหนดไว้ ๔ ด้าน ได้แก่ ด้านบำเพ็ญประโยชน์ ด้านศิลปวัฒนธรรม ด้านกีฬา และด้านวิชาการและนิสิตสัมพันธ์
  • กรอบแนวคิดในการพัฒนานิสิต คือ การเปิดพื้นที่ให้นิสิตได้ใช้กิจกรรมในการเรียนรู้ตนเอง และเรียนรู้การบริการสังคม



  • กิจกรรมนอกหลักสูตรในลักษณะการทำค่าย โดยเฉพาะ "ค่ายสร้าง" จะทำให้นิสิตได้คิด ได้ทำ ได้รับผิดชอบ ผลคือจะเกิดความกล้า "กล้าคิด กล้าทำ กล้ารับผิดชอบ" เรียกการเรียนรู้แบบนี้ว่า "เรียนรู้คู่บริการ"
  • คำว่าผู้นำไม่จำเป็นต้องเดินนำ แต่ผู้นำทุกคนต้องกล้าคิด กล้าทำ และกล้ารับผิดชอบในสิ่งที่ตนเองได้พูดได้ทำลงไป


Cr. กองกิจการนิสิต มมส.

  • ในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ นี้ มหาวิทยาลัยให้นโยบายเชิงรุกในการทำกิจกรรมพัฒนานิสิต ๕ ด้าน ได้แก่
    • ด้านคุณธรรม จริยธรรม เน้นให้บัณฑิตเป็นคนดีเป็นที่พี่งกับสังคมและชุมชน
    • ต่อต้านสิ่งเสพติดและความปลอดภัยในชีวิต เช่น เช่น การจัดระเบียบผู้สูบบุหรี่ ความปลอดภัยบนท้องถนน ฯลฯ
    • มหาวิทยาลัยสีเขียว เน้นเรื่องขยะ การจัดการขยะ การลดขยะ ฯลฯ
    • ภาษาสากล เน้นเรื่องการพัฒนาทักษะด้านภาษา ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ หรือ
    • วิถีวัฒนธรรมไทย


Cr. กองกิจการนิสิต มมส.

  • ความคิดรวบยอดสำคัญของการบริหารจัดการกิจกรรมการพัฒนานิสิตคือ การบูรณาการการเรียนรู้ ๓ มิติ เข้าด้วยกัน เพื่อบ่มเพาะจิตอาสา จิตสาธารณะในตนของนิสิต


Cr. กองกิจการนิสิต มมส.



  • บัณฑิตที่พึงประสงค์จะต้องทั้ง เก่ง ดี และมีสุข เพื่อให้ไปสู่เป้าหมายนี้ ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ได้แบ่งพิจารณาเป้าประสงค์ของการอบรมพัฒนาคนออกเป็น ๒ ด้าน คือ Hard Skills และ Soft Skills
  • Hard Skills หมายถึง ความเก่งงาน คือความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับงาน หรือสมรรถนะในการทำงาน (Work Relaed Competency) (อ้างอิงจากที่นี่) มีทักษะเกี่ยวกับสายงาน การสร้างทักษะนี้รับผิดชอบโดยสาขาวิชาหรือหลักสูตร
  • Soft Skills หมายถึง ความเก่งคน หรือสมรรถนะด้านเก่งคน (People Management Competency) (อ้างอิงจากที่นี่) บางท่านเรียกทักษะทางสังคัม (Socail Skills) (ที่นี่) บางท่านเรียกทักษะทางอ้อม (ที่นี่) คือ ความรู้ความชำนาญด้านด้านคน รวมถึงตนเองด้วย เริ่มตั่งแต่การควบคุมอารมณ์ตนเอง การสื่อสารกับคนอื่น การบริหารจัดการ การบริการ การพูด การจูงใจ การเจรจา ฯลฯ ทักษะด้านนี้จะช่วยให้การทำงานดีขึ้น
  • ทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ เป็นผลลัพธ์สำคัญที่ต้องมี ในส่วนของกิจกรรมพัฒนานิสิตจะมุ่งไปยังส่วน Soft Skills
  • Soft Skills ที่เน้นในศตวรรษที่ ๒๑ ได้แก่
    • การทำงานเป็นทีม (Teamwork)
    • การสื่อสาร (Communication)
    • กล้าคิด (Brave to Think)
    • กล้าทำ (Brave to Take Action)
    • กล้ารับผิดชอบ (Brave to Take Responsibility)
    • ทักษะการแก้ปัญหา (Problem Solving Skills)
    • การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Callaborative Learning)
    • การเป็นผู้นำ (Leadership)
    • การเป็นผู้ตาม (Fellowship)
  • ในการประเมิน Soft Skills กรรมการสัมภาษณ์จะถามหากิจกรรมพัฒนานิสิต เคยทำกิจกรรมอะไรบ้าง เคยทำโครงการอะไร? มีปัญหาอย่างไร? คนที่ไม่เคยทำจะตอบไม่ได้


Cr. กองกิจการนิสิต มมส.

  • แนวทางหรือเครื่องมือที่จะพัฒนานิสิตของกองกิจการนิสิต มมส. มีทั้งหมด ๙ ประการ ได้แก่
    • ใช้ชุมชนเป็นฐานในการเรียนรู้ (Community-based Learing; CBL)
    • เรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning; PL)
    • เรียนรู้คู่บริการ (Service-based Learning; SBL)
    • การเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ (The 21st Century Learning)
    • ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student Center Learning)
    • การจัดการความรู้ (Knowledge Management)
    • บวร (บ้าน วัด โรงเรียน)
    • เรียนรู้ด้วยการลงมือทำ (Learning by doing)
    • การเรียนรู้บนฐานโครงงาน (Project-based Learning)


Cr. กองกิจการนิสิต มมส.

  • แนวคิดเชื่อมโยงกับชุมชนและสังคมของกองกิจการนิสิต ใช้วาทะกรรม "ฮีต ๑๒ คองกิจกรรม" เป็นการบูรณาการกิจกรรมของกองกิจการนิสิตกับวัฒนธรรมประเพณี มาจากวัฒนธรรมประเพณีของชาวอีสานคือ "ฮีต ๑๒ คอง ๑๔" นั่นเอง


Cr. กองกิจการนิสิต มมส.

  • นิสิตได้เรียนรู้วิถีธรรมชุมชน ทบทวนรากเหง้าของตนเอง ฝึกทักษะการแก้ปัญหาจากปัญหาจริงในชุมชน โดยการลงมือทำร่วมกัน

Cr. กองกิจการนิสิต มมส.




Cr. กองกิจการนิสิต มมส.

สไลด์ต่อไปนี้บอกความรู้ที่จำเป็นสำหรับการทำกิจกรรมนิสิต

Cr. กองกิจการนิสิต มมส.

Cr. กองกิจการนิสิต มมส.

Cr. กองกิจการนิสิต มมส.

Cr. กองกิจการนิสิต มมส.

ภาวะผู้นำไม่มีทฤษฎีตายตัว ไม่สามารถพัฒนาได้ด้วยการจดจำหรือเพียงนำมาคิดต่อเท่านั้น การพัฒนาภาวะผู้นำในตนเอง ต้องฝึกฝนตนเองผ่านการกระทำและกิจกรรมต่าง ๆ นั่นคือ นิสิตที่มาลงทะเบียนเรียนรายวิชา ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวผู้นำ จำเป็นต้องเข้าร่วมหรือเป็นผู้นำในการทำกิจกรรมนิสิตทุกคน

นั่นคือ วิชา ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ เป็นกลไกในการฝึกผู้นำด้วยการให้ทำกิจกรรมพัฒนานิสิต สิ่งที่เรากำลังทำก็คือ กิจกรรมในหลักสูตรนั่นเองครับ

หมายเลขบันทึก: 624883เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2017 15:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มีนาคม 2017 15:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

กิจกรรมในวิชาภาวะผู้นำ คือกิจกรรมในหลักสูตร ชัดเจนครับ

ถอดบทเรียนย้อนหลัง จากวิชาพัฒนานิสิต ก็คือการนำกิจกรรมนอกหลักสูตร เข้ามาเรียนในหลักสูตร เรียนเชิงกระบวนการ ที่หมายถึงกระบวนการทางความคิดและการกระบวนการบนฐานกิจกรรม

ระยะหลัง มีผู้สอนหลายท่านพยายามหนุนเสริมนิสิตตั้งองค์กรในสังกัดกิจกรรมนอกหลักสูตร ซึ่งก็ถือว่าดีแล้ว แต่กลับไม่เข้าใจศาสตร์ของกิจกรรมนอกหลักสูตร เอาง่ายๆ ไม่เข้าใจกระทั่งโครงสร้างหน้าที่ขององค์กรนั้นๆ ก็พลอยทำลายระบบของการเรียนรู้ในวิถีนั้นไปกรายๆ

ด้วยเหตุนี้ วิชาภาวะผู้นำ จำต้องสอนให้รู้จักกาลเทศทางโครงสร้างของความเป็นองค์กรไปด้วย มิเช่นนั้นผู้เรียนจะไม่เข้าใจเลยว่าอะไรคือสถานะใด

จริงๆ ในระบบกิจกรรมนอกหลักสูตรมีองค์กรที่อิงแอบกับกระบวนการเรียนรู้ทางวิชาชีพอยู่เหมือนกัน โดยเฉพาะชมรมในสังกัดคณะ ผมเคยเขียนเรื่องนี้ไว้ในนิคยสาร "ละลาน" เมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว สมัยนั้นผู้บริหารไม่เข้าใจหรอกครับ มีการสั่งให้ยุบเลิกเสยด้วยซ้ำ แต่ผมมองว่าองค์กรเหล่านั้นนั่นแหละคือองค์กรที่จะพัฒนาหรือยกระดับกิจกรรมนอกหลักสูตรให้หยัดยืนขึ้นขึ้นในอีกมิติคล้ายกิจกรรมบริการวิชาการ เพียงแต่ใช้นิสิตเป็นผู้ขับเคลื่อน ซึ่งวิธีคิดแบบนั้น คิดในสมัยที่หนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชนยังไม่มีตัวตน ไม่มีพื้นที่เสียด้วยซ้ำไป


ล่าสุด ผมนำมาเขียนเป็นเกร็ดเล็กๆ ไว้ในเรื่องของ ถนนผู้สร้างสายที่ 11 มีเวลาเรียนเชิญอาจารย์กลับไปอ่านดูก็ได้นะครับ จะพอเข้าใจว่า สิ่งที่ผมคิดเมื่อสิบว่าปีนั้นคืออะไร และกลายมาเป็นวิชาพัฒนานิสิตอย่างไร กลายเป็นกิจกรรม 1 คณะ 1 หมู่บ้านได้อย่างไร

ขอบพระคุณครับ


เช่นเดียว กับ "บวร" ในมิตินอกหลักสูตรที่เราสื่อสารกับนิสิต หรือกระทั่งครั้งหนึ่งในวิชาพัฒนานิสิตและวิชาภาวะผู้นำ เราบ่ชี้ชัดเจนเลยครับว่า "ร" มิได้จกัดแต่เฉพาะ "โรเงรียน" เฉกเช่นในอดีต หากแต่หมายถึง "ราชการ" (ส่วนราชการ) ดังจะเห็นได้จากการจัดกิจกรรมนอกสถานที่/ชุมชน มีส่วนงานเหล่านี้ยึดโยงเป็นโครงข่าย เช่น อบต. รพ.สต. ฯลฯ

และ "เรา" ก็มีหนังสือแจ้งสู่ส่วนงานเหล่านั้นเสมอ นั่นคืออีกนัยสำคัญที่บ่งบอกการเรียนรู้ว่าด้วย "โครงสร้างทางสังคม" ด้วยเช่นกัน


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท