ปลูกผักและเยี่ยมบ้านนักเรียนโรงเรียนกองทุนการศึกษา กาญจนบุรี (22)


การปลูกผักปลอดสารพิษกับโรงเรียนโครงการกองทุนกรศึกษา

เมื่อวันที่ 1-3 มิถุนายน 2559 ผู้เขียนไปปลูกผักกับนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยหวาย โรงเรียนบ้านหนองสาหร่ายและเยี่ยมบ้านนักเรียนโรงเรียนหนองปรือพิทยาคม โดยไปกับรถรับส่งนักเรียนตอนตี 5 อ่านบันทึกก่อนหน้านี้ที่นี่ และบันทึกนี้ ตอนแรกผู้เขียนไปทำแปลงปลูกผักกับนักเรียน โรงเรียนบ้านห้วยหวายก่อน นักเรียนมารอนานแล้วผู้เขียนไม่ได้ดูมัวแต่คุยกับท่าน ผอ.เพยาว์ วงศาโรจน์อยู่


ตอนแรกเลยก็ดายหญ้าและทำน้ำหมัก EM หญ้ายาวไวมาก นักเรียนมีทักษะการดายหญ้าที่ดี ไม่นานก็ขึ้นรูปแปลงผักได้ ผู้เขียนให้นักเรียนเริ่มลงฟาง และพยายามลงเมล็ดผัก





เด็กชายโก๊ะ จอมซนของโรงเรียนบ้านห้วยหวาย

ในวันรุ่งขึ้นก็ลงผักและเอาฟางคลุม นักเรียนทำงานได้เร็ว แค่ 1 วันกว่าๆก็เสร็จแล้ว



ทั้งโรงเรียนมีนักเรียนแค่นี้เองครับ


โรงเรียนที่สองคือโรงเรียนบ้านหนองสาหร่าย นักเรียนมารออีกเช่นกัน เราทำน้ำหมัก EM กันก่อนแล้วถึงไปทำแปลงผัก คุณครูบอกว่าดายหญ้ากับนักเรียนมือแตกเลย 555 นักเรียนชอบปลูกผักดี แต่ต้องช่วยดูแล





ช่วงที่ไปช่วยปลูกผักเป็นช่วงที่ฝนตกพอดีเลย ทำให้ขุดดินและปลูกผักง่าย ที่โรงเรียนนี้ดินดีแต่ปัญหาคือแมลงเยอะ มีแมลงมากินใบผักเพราะป่าใกล้ๆโรงเรียนไม่มี





ผักของโรงเรียนบ้านหนองสาหร่ายขาย 2 แปลงได้ 400 บาทเลยครับ




ตอนเช้าประมาณ ตี 5 วันที่ 3 ผู้เขียนเดินทางไปกับรถรับส่งนักเรียน ตอนเช้าอากาศดีมากแต่เส้นทางที่ไปก็ไกลมากเช่นกัน นักเรียนในเมืองเดินทางได้ง่าย แต่นักเรียนในชนบทถ้าไม่มีรถแบบนี้ไปรับก็คงออกมาเรียนได้ยาก



พี่กบคนขับรถมารับผู้เขียนตอนตี5 เริ่มเส้นทางแรกกันเลย ทางเข้าบ้านนักเรียนติดภูเขา เดินทางไปไกลมาก




นักเรียนคนแรกรถไปรับ 6.00 น.เลยเอาข้าวมากินบนรถหลังจากที่ไปรับนักเรียนคนที่ 2 แล้ว


นักเรียนคนต่อมาก็ไกลมาก อยากให้สังเกตบ้านนักเรียนและดูว่านักเรียนเขาอยู่กันอย่างไร ถ้ามีโอกาสได้คุยกับผู้ปกครองยิ่งดีใหญ่



ไม่เข้าใจเส้นทางรอยต่อระหว่างหมู่บ้านว่าทำไมไม่มีคนมาซ่อม ถนนแย่มาก ถ้าเป็นบางทีแถวบ้านผู้เขียนจะช่วยกันเอาปูนมาใส่และช่วยซ่อมกันเองทีเดียว


ตอนสุดท้ายได้นักเรียนก่อนถึงโรงเรียนเต็มรถเลย จากตี 5 เดินทางวนไปแถบภูเขามาถึงโรงเรียนประมาณ 7.45 น ถือว่าเดินทางมาถึงโรงเรียนไวมาก


ผอ.สรศักดิ์และนักเรียนมัธยมศึกษานำต้นไม้ไปมอบให้ ผอ.ลาวัลย์และนักเรียนประถมศึกษาปลูก จากการถาม ผอ.ลาวัลย์บอกว่าได้ปลูกต้นไม้ไปแล้ว



ผู้เขียนไปดูเป็ดที่เลี้ยงเอาไว้โดยครูและนักเรียนช่วยดูแล เป็ดโตไวมาก หลังจากผู้เขียนกลับมามหาวิทยาลัยคุณครูโกวิทย์แจ้งว่าเป็ดออกไข่แล้ว แต่ขนาดของไข่ยังไม่ใหญ่เท่าไร ต่อไปคงได้ไข่ใบโตมากกว่าเดิม เห็นภาพเป็ดกินผักตบชวาและผักที่ไม่ได้ใช้ ...ตอนนี้กำลังจะทำกิจกรรมกับคุณครู แล้วจะมาเขียนต่อในบันทึกต่อไปนะครับ...ขอบคุณที่เข้ามาอ่านครับ...




ความเห็น (14)

-สวัสดีครับอาจารย์

-ประสบการณ์ชีวิตดี ๆ นะครับ

-น้องๆ นักเรียนน่ารักมาก ๆครับ

-ไข่เป็ดสด ๆ นำมาทำไข่เค็มไหมครับ 55

ผักบุ้ง งามจังเลยค่ะ


มีดอกผักชีที่ระเบียงบ้านมาฝากจ้า...กำลังเฝ้าดูเม็ดตำลึง..ที่เอามา..กำลังงอก..๕๕๕..(ไม่รู้จะรอดไหมเนี่ยะ)..เด็กที่อยู่ตามที่ห่างไกล..น่าจะปลูกผักพื้นบ้าน..ไทยๆ..ที่มีกินได้ทั้งปี..เป็นต้นว่า..ตำลึงขจร..แค..ขิง..ข่า..ตระไคร้..โหระพา..กระเพรา..(กระเพราเป็ด..อร่อย..อย่าบอกใคร)..เรามีพืชสารพัดชนิด.เป็นทั้งยา..และอาหาร...ถ้าสร้างความเข้าใจให้เด็กเกี่ยวกับพืชหมุนเวียน.ไม่ปลูกพืชเชิงเดี่ยว.ตั้งแต่เบื้องต้น..(น่าจะมีประโยชน์..ต่อ..อนาคต..เด็ก..บ้านเรา..นะเจ้าคะ...)..

คุณเพชรครับ

ไข่เป็ดยังไม่มาก

ในอนาคตได้ทำแน่ๆ

ขอบคุณมากครับ

ขอบคุณพี่เปิ้นมากครับ

ใช่ครับ

ผักงามมากเพราะว่าดินดีครับ

ขอบคุณคุณยายธี

พยายามทำหลายๆอย่างครับ

ปลูกผักพื้นบ้านด้วยครับ

บ้านของนักเรียนชนบท คงไม่แตกต่างกันนัก

บางบ้านอาจจะแย่กว่านี้ด้วยซ้ำนะ



ไม่ชอบแมลงเลยค่ะ มะนาว ส้มโอ ที่บ้านไม้ชายทุ่ง โกร๋นหมดเลย

ใช่ครับพี่ครูมะเดื่อเป็นเช่นนั้นจริงๆ

ขอบคุณครับ

ขอบคุณคุณหมอธิ

พยายามปลูกหลายอย่างปนกัน

แมลงจะได้งง งง

ขอบคุณมากครับพี่ใหญ่

เป็นดอกผลที่พี่ใหญ่ช่วยดูแลเลยครับ

เป็นการเรียนหนังสือบนฐานของชีวิตและสังคมโดยแท้ เชื่อมร้อยมิติชีวิตในแบบกินปลาเป็นหลักกินผักเป็นพื้น....หรือกินผักเป็นยา


การเรียนเช่นนี้ก่อเกิดทั้งความรู้และทักษะ รวมถึงมโนทัศน์หรือเจตคติที่ดีต่อการมองโลกและชีวิตแบบไม่แยกส่วน

เชื่อว่าการเรียนรู้อย่างเป็นทีมและทำอย่างเป็นทีมเช่นนี้จะเป็นต้นทุนหนุนส่งเด็กๆให้เติบโตได้ดีครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท