วันที่สาม เลขบนฝามือและดอกบัวกระดาษ (18 พฤษภาคม 2559)



วันนี้รับงานเเต่เช้า...กับการส่งการบ้านและตรวจสมุดจดการบ้านของเด็ก ส่งบ้างไม่ส่งบ้าง ต้องเรียกชื่อทีละคนเลยจริง ๆ ไม่งั้นการบ้านไม่ครบทั้งการคัดไทย คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ประวัติศาสตร์


S.B.T.C งานนี้ก็มา....ทั้งหมด "วัทยาหัตถ์" ความรู้ที่ได้จากการอบรม S.B.C.T. หวนกลับมาในความทรงจำสีจาง ๆ

วันนี้ได้สังเกตการสอนลูกเสือสำรองของครู ในเรื่องของการทำความเคารพขณะที่แต่งกายชุดลูกเสือ ขณะที่สวมหมวกหรือไม่ได้สวมหมวก ให้ทำวันทยหัตถ์ 2 นิ้ว คือ การยกมือขวาขึ้นแยกนิ้วชี้กับนิ้วกลางออกเหยียดตรง แล้วให้นิ้วชี้แตะที่กระบังหมวกต่อขอบหมวก ถ้าไม่ได้สวมหมวกให้นิ้วชี้แตะที่หางคิ้วขวา ทั้งหมดปฏิบัติ


ตราประทับ "เลขบนฝามือ" ไปกับวิชาภาษาอังกฤษและบูรณาการวิชาคณิตศาสตร์ในการนับเลขจำนวนเต็มสิบเป็นภาษาอังกฤษ ด้วยฝามือของตัวนักเรียนเอง โดยเริ่มจากใช้มือทาบลงไปที่สมุดแล้วใช้มืออีกข้างขีดวาดรูปร่างขนาดของมือไปตามมือที่วางไว้ทั้งสองข้าง มีนักเรียนคนหนึ่งพูดว่า

นักเรียน ก "ครูครับผมขีดมือบะได้ครับ"

นักเรียน ข "ครูครับผมขีดมือข้างเดียวได้ก๋อครับ"

นักเรียน ค "อื๊บบบ...จะได้ล่ะครับครูเหลืออีกนิ้วเดียว"

ครูฝึกสอน "เต็มที่เลยลูก จะขีดจะใดก๋อได้ขอหื้อมันเป็นมือ และมีครบ 10 นิ้วก็ปอล่ะ"

จากนั้นนักเรียนก็เริ่มนับนิ้วก้อยจากทางซ้ายมือว่า 10 นิ้วชี้ 20 ไปเรื่อย ๆ ก็จะได้ว่า 10 20 30 40 50 60 70 80 90 100 ลงไปในสมุดที่วาดรูปมือไว้ตรงปลายนิ้ว ก่อนที่จะเริ่มนับและสะกดอ่านออกเสียงเป็นภาษาอังกฤษ และเขียนลงไปในสมุดที่ปลายนิ้วมือเช่นกัน ten, twenty, thirty, ..., eighty, ninety, one hundred และก็ระบายให้สวยงาม และมักจะมีคำถามตามมาอยู่เสมอ ๆ "ครูครับ ผมวาดเป็นมือไอรอนแมนได้ก่อครับ" เด็ก Active ได้ตลอดเวลาจริง ๆ


ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ไปกับ "พับกระดาษอย่างสร้างสรรค์"

ในวันศุกร์ที่ใกล้จะถึงนี้ เป็นวันวิสาขบูชา ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลาในสัปดาห์นี้จึงเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องวันวิสาขบูชา ที่นักเรียนนั้นสามารถปฎิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ในวันนี้ได้อย่างหลากหลายไม่ว่าจะเป็นการทำบุญตักบาตร ฟังเทศฟังธรรม เวียนเทียน บริจาคทาน ปล่อยนกปล่อยปลา ฯลฯ ในคาบนี้ครูฝึกสอนและครูพี่เลี้ยงได้สอนนักเรียนพับเป็น "ดอกบัวกระดาษ" ซึ่งดอกบัวนั้นสามารถนำไปไหว้พระที่วัดได้ เเต่ก็ควรที่จะเป็นของจริง ไม่ใช่ที่เป็นกระดาษ งั้นก็มาเริ่มกันเลย

(วิธีการพับสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ http://www.oknation.net/blog/next14/2008/11/03/ent...)

ครูครับผม หนู ยังไม่ได้กระดาษ ครูครับมันพับยังไงครับ ครูครับมันทำจะใดต่อ ทำจะอี้ถูกก่อ ? คำถามที่มักจะมาจากนักเรียนแทบทุกคน



"ครูครับผมทำมันไม่เป็น/ไม่ได้ครับ" เป็นคำถามยอดฮิตติดชาตร์ ที่นักเรียนมักจะบอกกับครูว่าตนเองทำไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้ลงมือทำด้วยตนเอง ที่ไม่กล้าที่ลงมือทำเอง ครูซึ่งต้องเป็นผู้กระตุ้นให้อยากลองที่จะทำ ลองทำตามเเบบที่ครูสาธิตที่ ครูสอน เราต้องทำมันด้วยตนเอง ครูจะไม่ทำให้หรอกนะ


เด็กบางคนก็ไม่ง้อครู ก็ให้เพื่อนช่วยสอนกันเอง "เธอ ๆ มันพับแบบนี้"

นักเรียน ก : "ดู ๆ มันพับแบบนี้และก็เเบบนี้และก็แบบนี้ เอ๊ะหรือว่าพับแบบนี้นะ"

นักเรียน ข : "แล้วตกลงมันพับยังไง ?"

นักเรียน ก : "ครูครับ มันพับจะใด ผมจำบ่ได้เเล้ว"

ครูฝึกสอน : โอ๊ย...เน้อ บ่พ้นครูเเหมล่ะ

และแล้วก็เสร็จสิ้น...ภารกิจ ได้ดอกบัวกระดาษ อันสวยงามมาเเล้ว ภูมิใจที่ได้ทำเอง


เวรที่ไม่ใช่เวร...เรื่องราวมีอยู่ว่าวันนี้คณะครูได้มีการประชุม เลยเป็นหน้าที่ของนักศึกษาฝึกสอนที่ต้องรับหน้าที่เป็นครูเวรเฝ้านักเรียนกลับบ้านให้หมด มีเด็กคนหนึ่งโดนรถเดือนทิ้ง นั่งร้องไห้ ผ่านไปสักพักหนึ่งหลังจากที่ได้คุยกลับผู้ปกครองเเล้ว...

ก็เล่นอย่างสนุกสนาน เพราะว่ารถเดือนไม่ได้ทิ้งแค่ไปรับที่อื่นเเล้วค่อยกลับมาวกรับที่นี้อีกที สีหน้าตอนนั้นกับตอนนี้ช่างแตกต่างกันจริง ๆ คราบรอยน้ำตาได้หายไปกลับกลายเป็นรอยยิ้ม...อันไร้เดียงสาของเด็ก

เสร็จสิ้นภารกิจครูเวร ณ เวลา 18.30 นาฬิกา







หมายเลขบันทึก: 606808เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2016 23:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 ตุลาคม 2016 06:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ดีมากครับ คุณครูโต้ง ที่อยู่เป็นเพื่อนเด็กจนเย็นนะ
แล้วบันทึกภาษาเมืองนี่ก็มีเสน่ห์ไม่เบาเลย

ครูขอให้กำลังใจครับ ;)...

ขอบคูณครับ

Ongkuleemarn

จะพยายามฝึกฝีมือในการบันทึกนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท