KM วันละคำ : 652. ความหมายของ KM 3.0



วาทกรรม KM 3.0 เป็นสิ่งสมมติที่ผมสร้างขึ้น สำหรับใช้สื่อสาร KM ยุคใหม่ ที่ไม่เหมือนแบบเดิมๆ ในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา ที่มันทั้งสร้างผลดีและผลไม่ดีต่อสังคมไทย อย่างมีนัยสำคัญ

มีคนถามบ่อยๆ ว่า KM 3.0 เป็นอย่างไร คำตอบของผมคือ ไม่ทราบ ทราบแต่ว่าต้องมีส่วนที่แตกต่าง หรือก้าวหน้ากว่า KM 2.0 ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันอย่างมากมาย และคนในวงการ KM ไทยต้องช่วยกันตอบ โดย สคส. และภาคีได้จัดเวทีให้มีคนเข้ามาร่วมกันคิด และหาคำตอบ เป็นระยะๆ ตั้งแต่วันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๕๘ เป็นต้นมา ก่อความชัดเจนขึ้นมาก

ผมจึงนำข้อเรียนรู้ดังกล่าวมา ลปรร. กัน ว่าในขณะนี้ เรามองว่าลักษณะสำคัญของ KM 3.0 มี ๕ ประการคือ

  • อยู่ในวิถี ซึ่งผมเคยอธิบายความหมายไว้ ที่นี่ และขอขยายความว่า KM 3.0 ต้องมี usability สูงกว่า KM 2.0 อย่างมากมาย หากจะสนองความต้องการทันใจคนในยุคนี้ (usability) ดังเสนอในบันทึก , , และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง และน่าจะต้องอยู่ในวิถีของทั้งองค์กร ไม่ใช่ทำกันในเพียงบางส่วนขององค์กร ดังบันทึกไว้ ที่นี่ และ ที่นี่ คือในที่สุดแล้ว KM ต้องส่งผลเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร หรือเปลี่ยนวิถีองค์กร และส่งผลโดยตรงต่อผลประกอบการขององค์กร
  • มีเป้าหมาย ความหมายที่สำคัญที่สุดคือ ต้องโฟกัสเป้าหมายไปที่ธุรกิจ/ธุรกรรม หลักขององค์กร หากเป็นองค์กรธุรกิจ KM ต้องพิสูจน์ตนเองให้ได้ว่า ช่วยให้ผลประกอบการดีขึ้น รวมทั้งต้องมีการระบุความรู้ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวด ไว้ให้ชัดเจน ดังใน บันทึกนี้
  • ใช้ ITการใช้ ICT ในรูปแบบใหม่ มี ๒ นัยยะ ประเด็นแรกคือการใช้โทรศัพท์มือถือและโซเชี่ยลมีเดีย ในระดับบุคคล ประกอบกับการมี ระบบ data center ที่ทันสมัยในระดับองค์กร ดังบันทึกไว้ ที่นี่, ที่นี่ และ ที่นี่ประเด็นที่สองคือ ใช้ ฺBig Data Technology ที่สามารถนำ unstructured data มาตอบคำถามหาทิศทาง การเปลี่ยนแปลงไปข้างหน้าได้ในทันทีที่ต้องการ ดังบันทึกไว้ ที่นี่
  • มีพลังจัดการ หัวปลา” ซึ่งได้บันทึกอธิบายไว้ ที่นี่
  • มีการจัดการ ความรู้จากภายนอก” นำมาใช้ในการพัฒนางานของตน ด้วยวิธีการต่างๆ อย่างน้อยก็ในช่วง I (Internalization) ของวงจร SECI ของ Nonaka & Takeuchi วิธีการจัดการความรู้จากภายนอก เอามาใช้อย่างแยบยลของศิริราช เล่าไว้ ที่นี่ โดยขอย้ำว่า ในเกณฑ์คุณภาพต่างๆ มีความรู้อยู่ หากรู้จักนำเกณฑ์ต่างๆ มาตีความตามบริบทงาน ของตนอย่างที่ศิริราชทำ เกณฑ์เหล่านั้นจะเป็นพลังขับเคลื่อนคุณภาพงานขององค์กร โดยพนักงานไม่รู้สึกว่าเป็นภาระ แต่มองเป็นความท้าทาย

ระบบไอที จะเป็นเครื่องมือสำคัญต่อ usability ของ KM 3.0

แต่ไม่ได้หมายความว่านั่นคือลักษณะสำคัญของ KM 3.0 ที่จะใช้ไปชั่วนิรันดร์ KM จะต้องมี การวิวัฒนาการต่อไปอีกไม่มีสิ้นสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีการนำไปปฏิบัติ ก็จะเกิดการเรียนรู้ สู่การเปลี่ยนแปลง ของหลักการและวิธีการ KM เอง เป็น Transformative Learning ของ KM ในสังคมไทย ที่หากมีหน่วยงานทำหน้าที่ขับเคลื่อนการเรียนรู้นี้ สังคมไทยก็จะได้รับประโยชน์



วิจารณ์ พานิช

๒๕ ม.ค. ๕๙ ปรับปรุง ๓ ก.พ. ๕๙


คำสำคัญ (Tags): #590212#km วันละคำ#KM 3.0​
หมายเลขบันทึก: 601298เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2016 13:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2016 13:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท