มุมมอง......


"มุมมอง"วันนี้มี"ครกมอง"เป็นตัวเชื่อมร้อยเรื่องราว....มุมมอง....ที่ไม่ธรรมดา....หากแต่มีชีวิตชีวา...ตามวิถีชนบท....ฉากหนึ่งของชีวิตที่ฉายภาพ...แห่ง"รากเหง้าและสืบทอดมรดกภูมิปัญญา"ของคนที่นี่....ครับ.....

-"มุมมอง"ในเช้าวันจันทร์นี้....กับ"มุมมอง"ของผมครับ....สำหรับตัวผมเองแล้วมักจะชื่นชอบการเก็บเรื่องราววิถีชีวิตของผู้คนที่ได้พบเจอมาบันทึกไว้บนสมุดออนไลน์เล่มนี้....บ่อยครั้งที่เรื่องราวต่าง ๆ ได้นำมาบอกเล่าให้กับผู้อ่านได้ติดตามกัน...วนเวียน..หมุนไปตามวัน..เวลา..จากวันเป็นเดือน.จากเดือนเป็นปี...เป็นดังเช่นนี้อยู่ร่ำไป....ทำให้สะท้อนความจริงของชีวิตของผู้คนและสรรพสิ่งที่อาศัยอยู่บนโลกใบนี้...ฉากชีวิตได้ฉายภาพเริ่มต้นแห่ง"เหมันตฤดู"นี้ ณ หมู่บ้านเล็ก ๆ ที่แยกตัวออกจากชุมชนใหญ่ ไม่เพียงแต่เพื่อดำรงชีพด้วยรากเหง้าเดิมของตนเท่านั้นแต่ยังแฝงไปด้วยการดำเนินชีวิตแบบเนิบช้า....ซึมซับธรรมชาติรอบกาย....ไปตามครรลองของธรรมชาติที่ยุคนี้หาชมได้ยากยิ่ง....และสิ่งนี้คือ"มุมมอง"ที่มี"(ครก)มอง"เป็นตัวเชื่อมร้อยเรืื่องราว...ในวันนี้ครับ.....

1."ข้าวเม่า"โน้มรวงมาให้เราได้"ลิ้มลอง"อีกคราในยามนี้ครับ....ปีนี้เป็นปีแรกที่"ครอบครัวของป้าแป้น"และ"พี่นวล"ต้องสืบทอดเรื่องราวของ"การตำข้าวเม่า"ต่อจาก"ลุงจัดและป้าอึด"ที่จากไปเมื่อปีก่อนครับ....แม้ว่าปีนี้เราจะไม่ได้เจอกับ"ลุงจัดและป้าอึด"แล้ว....แต่เราก็สามารถตามไปรำลึกเรื่องราวของท่านทั้งสองได้จากบันทึกนี้ครับ...ผมจะพาไปดูเขาตำ"ข้าวเม่า" และ โรงเรียนตำข้าวเม่าวิทยา

2.ปี้นี้"ป้าแป้น"กับ"พี่นวล"ได้หว่านข้าวเหนียว"พันธุ์มรดก"ที่ผมบอกว่าเป็นข้าวเหนียว"พันธุ์มรดก"นี้ก็เพราะว่า"ป้าแป้น"เล่าให้ฟังว่าเป็นพันธุ์ข้าวเหนียวที่"ลุงจัด"ได้เอามาปลูกไว้เพื่อทำข้าวเม่ามาตั้งแต่"ป้าแป้น"ยังเป็นเด็กโน่นแหละครับ....เมื่อ"ลุงจัด"จากไปแล้ว...สิ่งหนึ่งที่"ป้าแป้น"ได้รับเป็น"มรดกตกทอด"ก็คือ"ข้าวเหนียวพันธุ์มรดก"นี้ครับ.....วิธีการและขั้นตอนการ"ตำข้าวเม่าก็ทำตามวิธีที่ได้เคยทำกันมา ซึ่งผมได้เคยนำเอามาบันทึกไว้แล้วตามลิ้่งค์ฺนี้ครับ วิธีการตำข้าวเม่า

3.ตึ๊ก ๆ ตั๊ก ๆ ตึก ๆ ตึก ๆ เสียงดังจากใต้ถุนบ้านนาดังมาแต่ไกล....ฟังดูเป็นจังหวะที่แฝงวิถีชีวิตของผู้คนบ้านนี้ไว้....ไม่มีคำบรรยายใด ๆ ที่ผมจะนำเอามาร้อยต่อได้นอกจาก"ฉากชีวิต"ที่ได้นำเอามาให้ผู้อ่านได้ติดตามกัน.......ปีนี้....ราคา"ข้าวเม่า"ก็ยังอยู่ที่"ลิตรละ 60 บาท"ราคานี้...ยืนราคาเดิมมาหลายปี...ไม่ต้องขึ้นราคาตามสินค้า ฺ"brand name"....เพราะสินค้าของที่นี่...ติด"brandชนบท"...สด ๆ จากบ้านนาคร้าบ!!!!!!

หลังจากนั่งมองวิถีของ"(ครก)มอง"แล้ว ต่อไปผมก็จะพาทุกท่านไปปี"ต้นขี้ปุ๋น"หรือ"ต้นฝรั่ง"ที่ปลายนากันครับ...

4.สิ่งที่ท่านเห็นอยู่นี้ชาวอำเภอพรานกระต่ายจะมีเอกลักษณ์ภาษาถิ่นเรียกว่า"ต้นขี้ปุ๋น"ครับ.....สำหรับบ้านผม"เหนือ,ลำปาง,เถิน"จะเรียกว่า"บะมั่น"ครับ....ภาษากลางเรียกว่า"ฝรั่ง"ผลไม้พื้นบ้านแบบนี้ยังพอมีให้ได้ลิ้มลองกันที่นี่ครับ และน่าเสียดายว่าอีกไม่นานหากเราไม่ช่วยกันอนุรักษ์เอาไว้ต่อไป"หมากขี้ปุ๋น"แบบนี้ก็จะไม่มีให้เราได้ลิ้มลองอีกเป็นแน่แท้ทีเดียวเชียว......

5.ก่อนจากกันในวันนี้...ผมขอนำเอาเมนูอร่อยๆ จากบ้านนามาฝากกันสักหน่อยก็แล้วกันนะครับ..กับ"ข้าวเม่าคลุกมะพร้าวอ่อน"เมนูง่าย ๆ ใคร ๆ ก็ทำได้ครับ....เมนู Clean food....แบบนี้...กำลังเป็นที่นิยมกัน..แต่สำหรับตัวผมเองแล้ว....กิน Clean เป็นประจำอยู่แล้วคร้าบ 55555555

สำหรับวันนี้....

สวัสดีครับ

เพชรน้ำหนึ่ง

26/10/2558

หมายเลขบันทึก: 596697เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2015 10:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 ตุลาคม 2015 10:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (25)

ข้าวเม่าใหม่มีกลิ่นและสีจากใบเตย(ไม่ใส่สารสีเคมี)..หาแทบไม่ได้แล้วในตลาด..ธรรมดาที่หมดความเป็นชาวบ้าน5555..(น่าเสียดาย..แต่มันก็เป็นเช่นนั้นเอง..ต้องยอมรับ "กรรม"ที่ก่อ 555กันไป..)

เที่ยวนี้..น่าจะมีโอกาศ..ตามรอยนี้ไปกิน..อิอิ..แบบ คลีนแลชิวๆ 555

ที่กำลังนั่งอยู่นี้ลมดี..ไม่อยากจาลุกไปไหน..เล้ยยยย...เจ้าค่ะ..คุณเพชรน้ำหนึ่ง...

เป็นมุมมองที่น่าสนใจมากๆ ขอบคุณค่ะ...

คิดถึงสมัยเป็นเด็กน้อย จะมี่การ " ตำข้าวเม่า" ยามหน้า " ข้าวเหลือง"

แล้วก็ คิดถึง " ฝรั่งขี้นก" ผลเล็ก ๆ กรอบหวาน ที่หายไปจากท้องถิ่น

หลายปีมาแล้ว...แต่ตอนนี้...คิดถึง " แมงสะดิ้ง" จ้าาา


ครกมอง

ที่บ้านชุมแพก็เช่นชื่อเดียวกันนี้ ช่วยกันอนุรกษ์ชื่อเก่ากันไว้ดีจริงนะครับ เด็กๆทุกวันนี้ไม่รู้จักครกมอง เรียกกันว่าครกกระเดื่อง ซึ่งก็แทบหาไม่มีให้เห็นแล้วเช่นกัน

ชอบคุณครับ

ทำให้ผมนึกถึงกวีที่ชื่อ ณ ยามสายันต์ของสุภร ผลชีวินเลยครับ

ปกติกินข้าวเม่ากับกล้วยไข่

อร่อยมากๆ

ปีนี้ยังไม่ได้ชิมเลย 555

ขอบคุณมากๆครับ

I will find a way to meet these two people "ป้าแป้น"กับ"พี่นวล" and learn this traditional craft from them.

Thank you for sharing this good story.

ปิดได้แต่บันทึกนี้

บันทึกอื่นผมเปิดไม่ได้

งง งง

แถวใกล้ๆ หมู่บ้านของพี่หนาน ชื่อบ้านป่าคาย ตำบลป่าคายของทองแสนขัน มีการนำข้าวเม่ามาทำเป็นข้าวกระยาสารท รสชาติอร่อย หน้าตาดูดีมาก ปีหนึ่งทำกันครั้งเดียว สนใจมาศึกษาและนำไปประยุกต์กับข้าวเม่าคลุกมะพร้าวอ่อนได้นะครับ...

-สวัสดีครับยายธี

-เที่ยวนี้....หวังว่าคงจะได้ต้อนรับยายมากินคลีน..แลแบบชิว ๆ นะครับ

-ข้าวเม่าของป้าแป้นจะตำได้ถึงประมาณต้นเดือน พฤศจิกายน เท่านั้น เพราะหากเลยช่วงเวลานี้ไปข้าวเม่าจะแก่เกินน่ะครับ

-เดี๋ยวจะต้องเก็บเอาไว้ต้อนรับแขกผู้มาเยือนบ้างแล้ว...อิ

-ขอบคุณที่มาเยี่ยมและให้กำลังใจบันทึกนี้นะครับ

-สวัสดีครับป้าใหญ่

-เป็นอีก"มุมมอง"หนึ่งที่มี"ครกมอง"เป็นตัวเชื่อมร้อยเรื่องราวน่ะครับ

-วิถีชีวิตแบบนี้มีให้ได้สัมผัสบ้างตามชนบทเช่นนี้ครับ

-ขอบคุณที่มาเยี่ยมและให้กำลังใจนะครับ

-สวัสดีครับครูมะเดื่อ

-เย้ ๆ มีคนได้ร่วมรำลึกถึงความหลังอีกแล้ว 555

-ฝรั่งขี้นก กำลังจะหาต้นมาปลูกในไร่ครับ

-อยากมีไว้..จะได้เก็บกินใกล้ ๆ

-ขอบคุณที่มาแวะให้กำลังใจบันทึกนี้นะครับ

-สวัสดีครับท่าน พ.แจ่มจำรัส

-ด้วยความยินดีกับการนำเอาข้อมูลเรื่อง"ครกมอง"มาแลกเปลี่ยนและเพิ่มเติมในบันทึกนี้นะครับ

-ผมเคยอยู่อีสานมาก่อน ชื่นชอบและชื่นชมวัฒนธรรมประเพณีของคนทางอีสานมาก ๆ ครับ

-อบอุ่นทุกครั้งที่ได้"เว้าภาษาอีสาน"ที่แม้จะขัดๆ ไปบ้างแต่ก็ชอบ"เว้า"ครับ

-ขอบคุณท่านที่มาเยี่ยมและให้กำลังใจกันนะครับ

-สวัสดีครับอาจารย์ต้น

-ลองไปสืบค้นข้อมูลของ "ณ ยามสายัณห์ ของสุภร ผลชีวิน"จาก Internet แล้ว

-ชื่นชอบกับบทความที่เขียนไว้ครับ

-อ่านแล้วทำให้จินตนาการได้

-ลักษณะการเล่าเรื่องคล้ายๆ กัน คงด้วยบรรยากาศและมุมมองที่คล้าย ๆกันน่ะครับ

-ขอบคุณที่แนะนำเรื่องราวดีๆ ให้ผมได้รู้จักด้วยนะครับ

-สวัสดีครับอาจารย์ขจิต

-เมนูข้าวเม่ากับกล้วยไข่ต้องมากินที่กำแพงเพชรครับ 55

-วัยรุ่นใจร้อนนะครับเนี่ย...ผมเพิ่งเขียนบันทึกวันนี้ครับ 55

-ขอบคุณที่ครูมาเยือน 2 ครั้ง อิๆ

-สวัสดีครับท่าน sr.

-ขอบคุณที่มาเยี่ยมและยินดีหากได้ต้อนรับแขกผู้มาเยือนครับ

-ป้าแป้นกับพี่นวลคงดีใจหากได้ทราบว่าภูมิปัญญานี้มีคนสนใจ

-ขอบคุณที่มาเยี่ยมและให้กำลังใจครับ

-สวัสดีครับท่านแสงแห่งความดี

-"หญ้าหมู"ขอบคุณที่นำข้อมูลมาเพิ่มเติมในบันทึกนี้นะครับ

-ภาษาเหนือ"บะมั่น/บะกล้วย/"อีสาน"บักสีีดา"/ใต้"หญ้าหมู"

-ขอบคุณครับ

-สวัสดีครับพี่หนาน

-พี่หนานสบายดีนะครับ?

-หากมีโอกาสต้องไปเยือนแน่นอนครับ

-ขอบคุณที่มาส่งข่าวและแลกเปลี่ยนเรื่อง"ข้าวเม่า"นะครับ

-ด้วยความระลึกถึงครับ

โปรดอีกละ .... ปีนี้ยังไม่ได้กินเลยค่ะ

อยากทานข้าวเม่าคลุกมะพร้าวอ่อน โรยน้ำตาลเล็กน้อย (ควรราดกะทิด้วยไหมคะ) หอมอะร่อย .. "โรงเรียนตำข้าวเม่าวิทยา" เขามีสอนวิชาการอื่นด้วยไหมคะ ฟังเป็นชื่อเฉพาะเจาะจงจนนึกว่าอาจไม่มี

-สวัสดีครับพี่หมอธิรัมภา

-ของโปรด ๆ ๆ มากินที่บ้านผมไหมครับพี่หมอ?

-ที่นี่มีของอร่อยเยอะเลย 5555

-ขอบคุณครับ

-สวัสดีครับคุณกุหลาบ มัทนา

-ข้าวเม่าไม่ต้องราดน้ำกะทิก็อร่อยครับ...

-โรงเรียนตำข้าวเม่าวิทยา...ไม่ใช่โรงเรียนที่สอนวิชาการใด ๆ ครับ แต่เป็นวิถีชีวิตที่ผมไปเรียนรู้เรื่องการตำข้าวเม่าจากครอบครัวป้าแป้นน่ะครับ

-ขอบคุณที่มาเยี่ยมและให้กำลังใจนะครับ

ในตลาดบ้านพี่ยังมีข้าวเม่าคลุกขายอยู่ค่ะ แต่คงไม่หอมชื่นใจแบบข้าวเม่าตำสดใหม่จากครกแน่ๆ

ไม่รู้เขียน "ย่าหมู" หรือ "หญ้าหมู" นะคะ พี่ไม่เคยคิดเรื่องนี้มาก่อนเลย

แต่บ้านพี่ก็เรียกแบบนั้น เป็นฝรั่งพันธุ์ไทยแท้ ก่อนฝรั่งพันธุ์ใหม่จะเข้ามา ตอนนั้นเรียกกันว่า "ฝรั่งเวียดนาม" ตอนนี้ฝรั่งไทยแท้หากินยากแล้วนะน้องเพชร

-สวัสดีครับพี่หมอ nui

-ข้าวเม่าตำใหม่ ๆ มีกลิ่นหอมมาก ๆครับ

-ฝรั่งพื้นบ้าน.ผลไม้ที่เริ่มหายไป

-เดี๋ยวนี้เขานิยมฝรั่งไร้เม็ด

-แต่เด็ก ๆ สมัยก่อนมักชอบกินเม็ดฝรั่งเพราะว่ามันหวานดี...อิๆ

-ขอบคุณที่มาเยี่ยมและให้กำลังใจกับ"มุมมอง"ของผมนะครับ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท