ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม


การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ดีและมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากขึ้น แม้จะเล็กน้อยเพียงใดก็ตามก็สามารถส่งผลดีต่อสุขภาพได้ในระยะยาว แต่บางคนที่ผ่านประสบการณ์ไปออกกำลังกายแล้วไม่ได้ผลอาจจะไม่ศรัทธากับการปรับพฤติกรรมว่าจะทำให้ฟิตได้อย่างไร

องค์การอนามัยโลก WHO ได้ประกาศว่าการออกกำลังกายเพื่อป้องกันโรคควรออกแบบแอโรบิคในระดับหนักปานกลางถึงหนักมากรวม 150-300 นาทีต่อสัปดาห์โดยให้ได้ครั้งละอย่างน้อย 10 นาทีต่อเนื่อง และแบบยกน้ำหนักอีก 2 วันต่อสัปดาห์

http://www.who.int/dietphysicalactivity/factsheet_adults/en/

หมายเหตุ- การเดินและการทำงานบ้านจึงยังหนักไม่มากพอกับการป้องกันโรคได้ในคนปกติ

ในขณะที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ประกาศว่าการแกว่งแขนบำบัดโรคได้และ(ต่อมา)ลดพุงได้

http://www.thaihealth.or.th/Content/23912-%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84.html

ทั้งที่การแกว่งแขนนั้นยังมีระดับเบากว่าการออกกำลังกายส่วนใหญ่มากมายนัก และหากการแกว่งแขนไม่สามารถบำบัดโรคและลดพุงได้จริง นั่นย่อมทำให้ผู้ที่ปฏิบัติต้องเสียโอกาสในการที่จะหายจากโรคได้เนื่องจากออกกำลังกายน้อยไป หรืออาจมัวแต่ทุ่มเทกับการแกว่งแขนบำบัดโรคมากกว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ดีและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ

ผู้เขียนจึงไม่เห็นด้วยกับการประกาศว่า การแกว่งแขนบำบัดโรค และยังค้นหาไม่พบงานวิจัยใดเลยที่พบการแกว่งแขนบำบัดโรคได้จริง

และหากสสส.เปลี่ยนมาแนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเลือกทำสิ่งที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพให้กับตนเองเพิ่มขึ้นโดยยังคงสนับสนุนการแกว่งแขนได้เช่นเดิม เพียงแต่ไม่ควรฟันธงว่าบำบัดโรคและลดพุงได้

ผู้เขียนจึงขอแสดงข้อมูลนี้ต่อสาธารณะเพื่อความเข้าใจและการกระทำที่ไม่ผิด


หมายเลขบันทึก: 595058เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2015 15:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กันยายน 2015 16:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

Exercises should be included in the 21stC skills! Why?

Because (from my point of view) exercises promote better health - thus better life; exercises promote better mental/brain development - thus better brain; exercises promote better attitudes and understanding of our own body - thus better society

I also strongly support 'simple exercise routines' (without special clothing; nor special tools; nor music; nor (super/supplement) food and drink; nor... they are meant for specific/special exercises). We can clean our house, our street or our wat as an exercise!

น่าสนใจมากเลยครับ

มาเชียร์เรื่องดีๆครับ

การออกกำลังกายมีหลายระดับ และหลายจุดมุ่งหมายนะคะ

แต่ถ้าหวังผลต่อความแข็งแรงของหัวใจ ปอด และระบบไหลเวียนเลือดก็ต้องแอโรบิกแบบที่อ.โรจน์บอกค่ะ

การเคลื่อนไหว เดิน ทำงานบ้านในชีวิตประจำวันไม่มีผลในระดับแอโรบิค แต่ก็เป็นการเผาผลาญ สร้างความคล่องแคล่วของกระดูกและข้อ ซึ่งก็เป็นประโยชน์กว่าไม่ทำ สำหรับคนที่ไม่สามารถออกกำลังในระดับแอโรบิคได้ เช่น อายุมาก มีปัญหากระดูกและข้อ

ดิฉันไม่แน่ใจว่า การแกว่งแขน จะลดโรค ได้จริงหรือไม่ แต่เชื่อว่าลดพุงได้ ดิฉันลองทำให้ถูกต้องตามเทคนิคก็เห็นว่า มีการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อหน้าท้องกับสีข้าง จึงคิดว่าคงได้ผลอยู่ แต่ลดโรคหรือไม่? ไม่แน่ใจ

สสส.อาจสื่อสารสั้นไป หรือสื่อสารกับคนป่วยสูงอายุเท่านั้น

คงลดบางกรณี เช่น คนเบาหวานอายุก็เยอะ แอโรบิคไม่ไหว ดิฉันก็บอกว่า แกว่งแขนนะคะ ดูทีวีไปแกว่งแขนไป กับเดินเช้า เดินเย็นจนเหงื่อซึม ซึ่งก็เหมาะกับวัย และมั่นใจว่าน้ำตาลลง

คนสูงอายุของเรานั่งๆ นอนๆ ไม่เคลื่อนไหวกันเลยค่ะ น่าเป็นห่วง

สำหรับหนุ่มสาว ยังไงๆ ก็ควรแอโรบิค อย่างปล่อยให้โรคมาเยือนก่อน หรือจนแอโรบิคไม่ไหว (เพราะไปคิดได้ตอนแก่แล้ว)

กระทรวงสาธารณสุขเคยประสบความสำเร็จในการส่งเสริมแอโรบิค (เต้น) ทำเป็นมหกรรม ซึ่งดิฉันก็เป็นคณะทำงานและเป็นกรรมการอยู่ด้วย จนมีเวทีย่อยๆทั่วประเทศ และเกิดกระแสออกกำลังกายอยู่ระยะหนึ่งแล้วแผ่วไป

ดิฉันคิดว่า ออกกำลังมีหลากหลาย และต่างจุดมุ่งหมายกันค่ะ

ดิฉันเคยเต้นแอโรบิคกับวิ่ง 2 รอบกระทรวงทุกเช้า ทำมานานกว่าสืบปี ก็ยังคงทำ แต่เป็นวิ่งบนสายพานเพื่อความสะดวกส่วนตัว

ดิฉันสนใจเรื่องแกว่งแขนลดพุง ลดโรค ตามที่อาจารย์เปิดไว้ว่าจริงหรือไม่?

ยังไงๆ ก็อยากเห็นคนไทยออกกำลังกายค่ะ งานพวกเราจะได้ลดลงบ้าง

Dear K. sr, I thank you for your comment.

I too strongly support 'simple exercise routines' especially functional exercises. Using these bodyweight exercisesto achieve fitness would facilitate routine movements in daily life more efficientlyespecially when lifting heavy objects.

ขอบคุณครับ อ. ขจิต ฝอยทอง
หากมีโอกาสอยากอาสาไปช่วยอาจารย์สอนออกกำลังกายเป็นภาษาอังกฤษครับ

ขอบคุณครับ อ.nui
เห็นด้วยครับว่าการออกกำลังกายมีหลายระดับและหลายจุดมุ่งหมาย
และการกระทำแม้เล็กน้อยก็ยังดีกว่าไม่ทำเลย

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจะเป็นก้าวแรกไปสู่การมีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน
เพราะ
ตั้งอยู่บนความเข้าใจเรื่องสุขภาพในขั้นพื้นฐาน

ผมสนับสนุนการแกว่งแขนในผู้ที่ไม่สามารถออกกำลังกายอย่างปกติได้
เพียงแต่อยากให้ทำกันด้วยความเข้าใจถึงผลดีต่อสุขภาพที่จะได้รับ
แม้ว่าอาจไม่ถึงกับสามารถช่วยบำบัดโรคและลดพุงได้ดังประกาศของสสส.

ผมเคยสอบถามไปยังสสส.แล้วและได้รับคำตอบว่า
สาเหตุที่ได้รณรงค์เรื่องการแกว่งแขนก็เพราะพบว่าคนไทยส่วนใหญ่ไม่ออกกำลังกายกันเลย
จึงอยากให้เริ่มต้นจากการแกว่งแขนก่อน
(มิใช่สื่อสารสั้นไป หรือสื่อสารกับคนป่วยสูงอายุเท่านั้น)

ผมจึงยืนยันไปว่าไม่เห็นด้วยกับการประกาศว่าสามารถบำบัดโรคและลดพุงได้
เพราะประชาชนชาวไทยควรมีสิทธิในการได้รับรู้ข้อมูลที่ถูกต้องและตรงเพื่อมิให้
ผู้ที่ปฏิบัติต้องสูญเสียโอกาสในการที่จะหายจากโรคได้ เนื่องจากออกกำลังกายน้อยไป

และผมดีใจครับที่อาจารย์สนใจเรื่องแกว่งแขนลดพุง ลดโรค ว่าจริงหรือไม่?
เพราะว่ายังค้นหาไม่พบงานวิจัยใดเลยที่พบว่าการแกว่งแขนบำบัดโรคและลดพุงได้จริง
ประชาชนชาวไทยจะได้มีสุขภาพที่ดีได้ด้วยการพึ่งพาตนเองแบบพอเพียง









พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท