ธาตุปะนม 8



ก่อนปิดท้ายเรื่องเล่านี้ขอแสดงมุมคิดผู้บันทึกอาจผิดก็ได้นะว่า

1.พระธาตุพนมนี้เหมือนเป็นดวงใจของคนเผ่าไท , ภูไท , ไทย , ไต , ลาว , ที่อยู่ทั่วทุกมุมโลก เพื่อให้คนเหล่านี้มีที่พึ่งทางจิตใจเป็นแหล่งรวมจิตใจให้เป็นหนึ่งเดียวตลอดไป

2.พระธาตุพนมนี้เป็นเจดีย์นานาชาติที่เป็นสะพานเชื่อมสายวัฒนธรรมนานาชาติโดยเฉพาะไทย, ลาว, เขมรและเวียดนามให้แนบแน่นเป็นพี่เป็นน้องกันตลอดไป

3.พระธาตุพนมนี้เป็นเจดีย์ดอกบัวตูมเหมือนคนพนมมือที่มีจิตใจอ่อนน้อมถ่อมตนซึ่งเป็นเครื่องหมายถึงการดำรงอยู่ได้นานแสนนาน

4.พระธาตุพนมนี้เดิมใช้เรียกว่าธาตุปะนมจารึกชื่อไว้ในแผ่นทองคำแล้วบรรจุภายในองค์พระธาตุค้นพบตอนพระธาตุพังทลายลงมามุมคิดหนึ่งคือการสร้างองค์พระธาตุแต่ก่อนทั้งหญิงและชายคงไม่สวมเสื้อ ( เปลือยกายท่อนบน ) อาจเป็นที่มาของคำว่า ปะนม ก็ได้

5.พระธาตุพนมนี้มีตำนานว่าพระพุทธเจ้าและบรรดาพระอรหันต์เสด็จมาถึง ณ ภูกำพร้านี้นั้นผู้บันทึกมองว่าเป็นปริศนาธรรมต้องมองในมุมปรัชญาว่าด้วยรูปกายพระพุทธเจ้าไม่ได้มาถึงที่แห่งนี้แต่เป็นความฉลาดในภูมิปัญญาของคนแต่กี้ ( ก่อน ) ที่บริหารคนด้วยอาศัยเส้นทางพระพุทธศาสนามาร้อยดวงใจคนให้รู้รักสามัคคีมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันและกันให้คนโดยเฉพาะเผ่าไท+ลาวยึดถือกันเป็นพี่เป็นน้องกันตลอดไปด้วยหมู่เฮาล้วนมาจากสายรากเดียวกันแล.

............................................

ขอบพระคุณข้อมูลเอกสารที่แม่ชีน้อย ญาติทางธรรมมอบให้ผู้บันทึกเมื่อครั้งนำมวลพระนิสิตปริญญาโทไปศึกษาวัฒนธรรมประเพณีอีสาน ณ วัดพระธาตุพนม และผู้สนใจอ่านเพิ่มเติมได้ในบรรณานุกรมนี้

...................................................

พระธรรมราชานุวัตร ( แก้ว อุทุมมาลา ). 2551. อุรังคนิทาน .

พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพ ฯ : บริษัท จูน พับลิชชิ่ง จำกัด.

พระเทพรัตนโมลี ( แก้ว อุทุมมาลา ) . 2548 . ประวัติย่อพระ

ธาตุพนม. นครพนม ฯ : วัดพระธาตุพนม อำเภอธาตุ

พนม จังหวัดนครพนม.

พระเทพรัตนโมลี ( แก้ว อุทุมมาลา ) . 2557 . พระ

ธาตุพนม. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี ฯ : โรงพิมพ์มติชน

ปากเกร็ด.

พระมหาสม สุมโน . 2522 . ประมวลภาพประวัติศาสตร์

พระธาตุพนมและภาพโบราณวัตถุค่ามหาศาลในกรุ

พระธาตุพนม. กรุงเทพ ฯ : บริษัท จูน พับลิชชิ่ง จำกัด

หมายเลขบันทึก: 588705เขียนเมื่อ 10 เมษายน 2015 10:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 เมษายน 2015 10:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

อาจารย์หายไปนานเลยครับ

ตอนนี้เป็นอย่างไรบ้างเรื่องประวัติศาตร์เกี่ยวกับพระธาตุแต่ละที่น่าสนใจมากๆครับ

สวัสดีครับ คุณพี่ใหญ่ นงนาท สนธิสุวรรณ

พอดีได้ข้อมูลมาเลยนำมาเล่าไว้กันลืมครับ

สวัสดีครับ ดร. ขจิต ฝอยทอง

ช่วงนี้ติดพันอยู่กับงานวิจัยในพื้นที่ พอมีเวลาก็แวะเวียนมาที่นี้ครับ

ยังคิดฮอดพวกเราเสมอครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท