นุชรัตน์
ดร. นุชรัตน์ ประสิทธิศิลป์ชัย

บทเรียนที่ได้รับ จากการถอดบทเรียน DLTV


​โดยส่วนตัวแล้ว ไม่ชอบวิธีการจัดการศึกษาร่วมกับ ทีวี แต่เมื่อจำเป็น(มาก) จึงต้องได้รับงานนี้ และเมื่อได้ นิเทศ ตามรับฟัง เรื่องราวของครู ผอ. ที่ดูทีวี 60 เรื่อง/คน ทำให้ รู้สึกว่า คงจะต้องมีการขยับอะไรสักอย่าง เพื่อให้ เขาได้ดูทีวีอย่างมีความหมาย

โดยส่วนตัวแล้ว ไม่ชอบวิธีการจัดการศึกษาร่วมกับ ทีวี แต่เมื่อจำเป็น จึงต้องได้รับงานนี้ และเมื่อได้ นิเทศ ตามรับฟัง เรื่องราวของครู ผอ. ที่ดูทีวี 60 เรื่อง/คน ทำให้ รู้สึกว่า คงจะต้องมีการขยับอะไรสักอย่าง เพื่อให้ เขาได้ดูทีวีอย่างมีความหมาย เนื่องจาก.เราพบว่า ครู และ ผอ.พอใจมาก และจะทำการสอนด้วยวิธีนี้ต่อไป .. ทำให้ต้องนึกถึง ดร.ฤทธิไกร จาก มมส. ให้มาช่วยถอดบทเรียน ในการขับเคลื่อนไปข้างหน้า

ก่อนเริ่มถอดบทเรียน มีบางเรื่องราวที่คิดว่าจะเป็น อุปสรรค เมื่อ สักพักผ่านไป สิ่งเหล่านั้นกลับกลายเป็นโอกาส ทำให้เราได้วงถอดบทเรียน 3 วง คือ ครู ผอ.รร. และ ศึกษานิเทศก์

วิทยากร คือ ดร.ฤทธิไกร เป็นครั้งแรกของท่าน ที่ต้องทำเรื่องนี้ ก่อนเริ่มท่านได้ ศึกษา ptt ที่ได้เตรียมมานำเสนอ และ พูดคุยกับครูทุกคน และเริ่มกระบวนการ โดยให้แต่ละคนออกมาเล่าตาม หัวข้อ และท่านคอยบันทึกกำกับซักถามข้างๆ และ ทางคณะเราก็ได้สรุปผลการจัดการศึกษา จากการไปรับฟังครูเล่า 60 เรื่อง ต่อด้วย กระบวนการเข้ากลุ่มล้อมวง ตามประเด็น และ ขณะที่ตัวแทนออกไปนำเสนอ .ท่าน ก็ได้เติมเต็ม เก็บประเด็น

สะท้อนคิด จากการถอดบทเรียน

  • เราใช้คำถามส่วนตัวกับอาจารย์ว่าท่าน insight หรือเปล่า ทำไมเข้าใจ และ เก็บตามประเด็น ได้เร็วกว่าคนอื่น ได้รับคำตอบว่า ไม่ใช่ แต่คือการฝึกฝนการเรียนรู้วิธีคิดของคนอื่น .ระเบิดจากข้างใน ซึ่งจะช่วยให้การทำงานได้ผลดี (ท่านอธิบายยาวมาก)
  • การล้อมวง การเล่าเรื่อง ไม่ใช่ครั้งแรก ที่ทำหน่วยเหนือของเรา หรือ สถาบันต่างๆ ก็เคยทำ แต่การทำของเขาคือให้คนทำบ้าง ไม่ทำบ้าง มาคุยกัน มีเป้าหมายหลวม ๆ ทำให้ไม่ได้อะไร .หลังเสร็จสิ้น การอบรม แต่ครั้งนี้ แตกต่าง เป็นการเล่าเรื่องจากการปฏิบัติ ของทุกคน มีความลึกซึ้ง และมีความหมาย
  • วงของครู คือ วงที่เราคิดว่า น่าสนใจที่สุด แต่ละคนมีความรู้ ประสบการณ์ ในตัวตน (เชิญมาวันนี้คือครูสอนดี) เมื่อเขามาเล่า มาแชร์ และเติมเต็ม กันและกัน การเน้นประเด็น จับประเด็นสำคัญ (จากวิทยากร) ทำให้ได้อะไรมากมาย
  • วง ของ ผอ.โรงเรียน เป็นวงที่เล่านาน ที่สุด อภิปรายกันยาวที่สุด (เสียดายไม่ได้ไปฟัง เพราะต้องอยู่กับวง ศน.) แต่ถ้าจากการสังเกตพฤติกรรม แต่ละคนได้แลกเปลี่ยนกันอย่าง มืออาชีพ โดยวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา
  • วง ของ ศน. เราทุกคน ไปนิเทศ เหมือนกัน แต่พอล้อมวงคุยกัน ถึงรู้ว่าพวกเราก็ยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อน ซึ่งเราก็ได้ปรับแนวคิด
  • ทุกวง ได้ออกไปเล่า โดยมีวิทยากร ช่วยจับประเด็น (สำหรับตัวเอง รู้สึกว่าได้รับ ความรู้มาก ) ในขณะดำเนินการ
  • หลังจากปิดการอบรม ศน.ที่รับผิดชอบ และ วิทยากร ได้ทบทวน ว่า เราควรจะขับเคลื่อนไปอย่างไร ซึ่ง ท่านอาจารย์ จะเริ่มจากการตั้งคำถามย้อนกลับว่าเราคิดอย่างไร และ แชร์ประสบการณ์ การทำงาน PLC
  • กระบวนการนี้ อาศัยการทำงานด้วยจิตวิญญาณ การเห็นผลจะช้า ใช้เวลา ..แต่ เราไม่เชื่อว่าการทำงานจะสำเร็จด้วยการสั่งการ .ครูแต่ละคนแตกต่างกัน คนไม่เหมือนกัน ..เราเลือกแล้วที่จะใช้วิธีนี้ในการพัฒนางาน ..

อะไรคือบทเรียน ในวันนี้

  • key word การสอน คือ .เลือกอะไร . คู่มือ . เตรียมตัวออกแบบแผน/นวัตกรรม .. สอน(ดูทีวี) ... ถอดบทเรียนร่วมกับนักเรียน ประเมิน
  • key word สำหรับการขับเคลื่อน แกนนำ..แนวปฏิบัติ..ข้อตกลง ..ค่านิยมร่วมกัน .. ปฏิบัติต่อเนื่อง ..ติดตาม KM ..ทำหลายๆ ครั้ง ถ้าหยุด ก็จบ
  • แนวทางโดยละเอียด ..ต้องใช้เวลา ในการคลี่ออกมา

โดยส่วนตัว ไม่ชอบการดูทีวี เชื่อในเรื่องของแนวคิด construcitvism การสร้างความรู้ด้วยตัวเอง แต่ เมื่อ บริบท หน้างาน พื้นที่ ของเรา ไม่เหมือนกับที่เราคิด มี ปัจจัย มากมาย ..จากความจำเป็นต้องรับงานนี้ ถ้าเราหาวิธีการ ให้การจัดการศึกษาด้วยรูปแบบนี้ มีความหมาย ก็อาจจะได้รับความสุขจากการทำงานเป็นรางวัล

จากการได้แลกเปลี่ยนกับ เพื่อนร่วมวิชาชีพ โดยเฉพาะ ท่าน ดร.ฤทธิไกร ได้ เปิดประเด็น มุมมอง มิติ ต่างๆ ที่ เราพอจะเห็นแนวทางในการทำงาน และการนำ construct มาใช้ร่วมบูรณาการ กับการสอนทีวี ได้อย่างมีความหมาย เรา ประทับใจ เพื่อนร่วมวิชาชีพทุกคนในวันนี้ จะทำอย่างไร " ครูจะเรียนรู้ไปพร้อมกับนักเรียน ขณะดูทีวี ... ถอดบทเรียนร่วมกันนนร.หลังเรียน และหมั่นใช้คำถามเพื่อกระตุ้นผู้เรียน" แนวทาง คิดว่า พอจะเห็นในวันนี้ แต่จะขับเคลื่อนต่ออย่างไร..


คำสำคัญ (Tags): #plc#dltv#ถอดบทเรียน
หมายเลขบันทึก: 588702เขียนเมื่อ 10 เมษายน 2015 05:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 เมษายน 2015 18:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณครับ ... อ่านแล้วได้ทั้งกำลังใจ และความสุขที่ผุดขึ้นในใจ ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท