ปัญหาการบินพลเรือน:กระบวนการกำกับดูแลของรัฐแบบตรวจติดตามต่อเนื่องมุ่งสู่ความยั่งยืน(Continues Monitoring Approach)


วันนี้เราทราบว่าเรายังขาดอะไร ก็ดีกว่าที่เราเดินต่อไปโดยไม่ทราบ ถามว่าท้อไหม ตอบเลยว่าท้อ แต่ขอให้อย่าถอย วันนี้มีกูรูมาชี้ขุมทรัพย์บอกจุดอ่อนให้ ก็ขอให้เราร่วมด้วยช่วยกันในทุกหน่วยงาน

กระบวนการกำกับดูแลของรัฐแบบตรวจติดตามต่อเนื่องมุ่งสู่ความยั่งยืน(Continues Monitoring Approach)

ทบทวนการปฏิบัติงานที่ผ่านมาในฐานะหน่วยกำกับดูแลของรัฐ ซึ่งที่มีหน้าที่เป็นหน่วยกำกับดูแล ตรวจสอบ ประสิทธิภาพ เสถียรภาพความปลอดภัย ผ่านกลไกทางกฎระเบียบที่มีบทลงโทษ หากจงใจฝ่าฝืน เป็นกระบวนงานที่ทำให้แน่ใจว่า ผู้ประกอบการด้านต่างๆ มีการบริการที่น่าเชื่อถือ ปลอดภัย สะดวกต่อผู้รับบริการ เช่น ด้านการบินจะต้องสะท้อนให้เห็นถึงสำนึกในหน้าที่รับผิดชอบ สร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านความปลอดภัย เพื่อให้เกิดความภูมิใจรักองค์กร จนเกิดศรัทธาการแบ่งปัน เกิดความสุขที่ได้ร่วมยังประโยชน์ให้มวลประชาชน

.....พูดง่ายสรุปก็คือ หน่วยกำกับฯไม่ว่าจะเป็นรัฐกำกับเอง หรือผู้ที่รัฐรับรองให้เป็นผู้ตรวจสอบ หรือองค์กรอิสระที่ปราศจากการแทรกแทรงทางการเมืองหรือด้านอื่นๆ จะเป็นต้องมีกฎระเบียบเพื่อใช้เป็นกลไกการควบคุม ตรวจสอบ เพื่อให้มั่นใจว่า.....ผู้ประกอบการได้ดำเนินงานเป็นไปตามมาตรฐาน วิธีปฏิบัติที่กำหนด ......ในเมื่อกฎก็พยายามสร้างขึ้นแต่ย่อมใช้เวลา ทางผู้ตรวจก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ....ยังทำหน้าที่ตรวจเสมือนว่ามีกฎบังคับ ที่เราเรียกว่าเดินคู่ขนานกันไป ..มุ่งผลสัมฤทธิ์.... คือผู้ปฏิบัติมีสำนึกรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ของตนและบูรณาการบริหารจัดการส่วนเกี่ยวข้อง .....ซึ่งผลลัพธ์น่าจะถืิอว่าผ่านแน่นอน เพราะผู้กำกับทราบดีว่า ในเมื่อman moneyไม่พอแต่งานก็ต้องเดินเต็มข้อกำหนด..... เราก็ไม่ได้เกรง...ทำตามเอกสารแนะนำทุกอย่าง.... แต่ต่างชาติเขาเราต้องแสดงกลไกแสดงข้อบังคับเพื่อให้เขามั่นใจว่าผู้ปฏิบัติ ...จะต้องทำไม่ทำมีความผิด..... นั่นคือเอาเน้นเครื่องมือ กฏหมาย กลไก เป็นตัวชี้วัด พอเราพยายามอย่างยิ่งที่จะบอกให้ดูที่ผลลัพธ์..... ดูความครบถ้วนของเช็คลิสต์ที่ใช้ตรวจบ้าง.... ก็สามารถทำให้เขายอมรับได้ ......สรุปเขาเน้นนิ้วชี้ดวงจันทร์ .....จนลืมมองดวงจันทร์ว่ามันก็ยังสุกสกาวอยู่..... แบบนี้การมุ่งผลสัมฤทธิ์ โดยที่กฏระเบียบยังไม่ครบสมบูรณ์ กลไกการตรวจยังไม่เดินเต็มระบบ ก็เห็นแน่ชัดแล้วว่า... จะอธิบายกับต่างชาติให้เข้าใจการเดินคู่ขนาน ระหว่างการจัดทำกฏและการปฏิบัติการตรวจสอบ ก็ยากลำบากและน่าเห็นใจในเวลาเดียวกันครับ

......เราอาจจะใช้เวลาตรงนี้มองย้อนกลับไป ตั้งแต่เราเริ่มงานออดิตสนามบิน (สนามบิน พ.ศ. 2545 สนามบิน ทอท.และบางกอกแอร์ พ.ศ.2548)ตั้งแต่เริ่มศีกษาจากกูรู จนวันนี้แม้เราจะยังไม่เทียบเท่ากับสากล แต่เราก็มีผลลัพธ์ออกมาชัดเจน เกี่ยวกับด้านสนามบิน นั่นหมายถึง ระเบียบ กฏเกณฑ์ ขั้นตอนปฏิบัติงาน และที่สำคัญ คือคนทำสนามบิน ที่ได้เรียนรู้ ,มุ่งหมายหา Best Practiceไปพร้อมๆกับผู้ตรวจ
......
......วันนี้พูดได้ว่า เราเดินมาถูกทิศทาง เดินมาพร้อมๆกัน เราแวะระหว่างทางถามกูรูจากต่างประเทศ ก็ทำให ้เห็นว่าเรายังขาดสิ่งใด ซึ่งด้านสนามบินล้วนเป็นสิ่งที่แก้ไขไม่ยากเพราะสิ่งที่ยากเราดำเนินการมาระดับหนึ่งแล้ว ประเด็นสำคัญคือการทำงานให้บูรณาการทั้งระบบ แต่ละคนจะทำเฉพาะส่วนตนรับผิดชอบไม่พอแล้ว ต้องเชื่อมโยงการพัฒนาปรับปรุงการปฏิบัติงานโดยองค์รวม เพราะถ้าขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดในกลไก ก็จะได้ยินผู้ที่เราแวะถามว่า "u have the mechanism but not enough to ensure that operator doing ...... "กรมมีกลไกการกำกับดูแลแต่ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้มั่นใจว่าผู้ปฏิบัติงานจะปฏิบัติตามกระบวนงานได้ครบถ้วน"
.....
..... วันนี้เราทราบว่าเรายังขาดอะไร ก็ดีกว่าที่เราเดินต่อไปโดยไม่ทราบ ถามว่าท้อไหม ตอบเลยว่าท้อ แต่ขอให้อย่าถอย วันนี้มีกูรูมาชี้ขุมทรัพย์บอกจุดอ่อนให้ ก็ขอให้เราร่วมด้วยช่วยกันในทุกหน่วยงาน ขอน้อมนำคำกล่าวของท่านสมชาย อบพ. ที่ว่า icaoมาออดิตมาบอกว่า "ด้านการบิน" ของ"ประเทศไทย" เป็นอย่างไร ไม่ใช่มาบอกว่ากรมการบิน เป็นอย่างไร ไม่ใช่มาบอกว่าสนามบินเป็นอย่างไร"เขามาบอกในนามประเทศ ดังนั้น จึงเป็น "หน้าที่ของประเทศชาติ" นั่นคือหน้าที่ของทุกภาคทุกส่วน ทั้งรัฐและเอกชน ที่จะส่งเสริมสนับสนุน ร่วมกันขับเคลื่อน อุตสาหกรรมด้านการบินของไทย ให้เกิดการพัฒนาด้านการบินให้เป็นระบบอย่างจริงจัง และเป็นวาระเร่งด่วน และเป็นหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านการบินทุกคน จะต้องระดมสรรพกำลัง ทั้งคน ความรู้ การจัดการ วัสดุอุปกรณ์ การจ้างผู้เชี่ยวชาญ บริหารให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามกรอบระยะเวลาและแผนงาน ในวาระแห่งประเทศไทย วาระแห่งชาติที่ท้าทายการพลิกโฉมด้าน การบริหารจัดการกระบวนการด้านการบินแห่งประเทศไทย การเดินอากาศของประเทศไทยกันต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง_คณะทำงาน KM Team DCA

เฟซบุ๊ก ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์

หลังจากองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization หรือ ICAO) ได้ประเมินความสามารถในการกำกับดูแลความปลอดภัยด้านการบินของประเทศไทย พบว่ามีข้อบกพร่องที่มีนัยสำคัญต่อความปลอดภัยของการขนส่งทางอากาศ โดยให้คะแนนเพียงแค่ 35.6% เท่านั้น จากการตรวจสอบ 8 ข้อหลัก เป็นผลให้องค์การการบินพลเรือนของญี่ปุ่น (Japan Civil Aviation Bureau หรือ JCAB) ไม่อนุญาตให้สายการบินของไทยเพิ่มเที่ยวบิน เพิ่มเส้นทางบิน หรือเปลี่ยนขนาดของเครื่องบิน เหตุการณ์นี้ย่อมส่งผลกระทบต่อการเดินทางและการขนส่งระหว่างไทยและญี่ปุ่นอย่างไม่ต้องสงสัย

ประเทศไทยโดยกรมการบินพลเรือนได้ส่งแผนการปรับปรุงแก้ไขไปให้ ICAO เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2558 ซึ่ง ICAO ได้เห็นชอบแผนการปรับปรุงแก้ไขเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2558 โดยกรมการบินพลเรือนจะต้องทำการปรับปรุงแก้ไขให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน ซึ่งคงเป็นไปไม่ได้ ดังนั้น กรมการบินพลเรือนจะต้องเจราจาขอขยายเวลากับ ICAO พร้อมกับเร่งดำเนินการปรับปรุงแก้ไข

เหตุที่ไทยได้คะแนนจากการประเมินของ ICAO ต่ำมากนั้น กรมการบินพลเรือนอ้างว่าเป็นเพราะได้งบประมาณน้อย ทำให้มีบุคลากรและอุปกรณ์ไม่เพียงพอ ผมได้ตรวจดูงบประมาณปี 2558 พบว่า กรมการบินพลเรือนได้รับ 1,708,251,500 บาท ซึ่งเป็นงบประมาณที่น้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับกรมอื่นๆ ในสังกัดกระทรวงคมนาคม โดยกรมการบินพลเรือนได้รับงบประมาณคิดเป็นสัดส่วน 1.7% ของงบประมาณทั้งหมดของกระทรวงคมนาคม ในขณะที่กรมทางหลวงได้รับสูงสุดถึง 60,334,233,800 บาท หรือคิดเป็น 60% ของงบประมาณทั้งหมดของกระทรวงคมนาคม

เมื่อดูงบประมาณที่กรมการบินพลเรือนได้รับจำนวน 1,708,251,500 บาท พบว่าส่วนใหญ่ (81%) ใช้ในการปรับปรุงสนามบิน ในขณะที่งบประมาณที่ใช้ในการบริหารจัดการ การกำกับดูแลการขนส่งทางอากาศ และการให้บริการที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งประกอบด้วยการค้นหา ช่วยเหลือ สอบสวนอุบัติเหตุ การออกใบอนุญาต ใบสำคัญ ใบรับรองการขนส่งทางอากาศ การให้ข้อมูลการบิน และการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีเพียงแค่ 19% เท่านั้น เมื่อดูลึกยิ่งขึ้น พบว่าในสัดส่วน 19% นี้ กรมการบินพลเรือนใช้ในการออกใบอนุญาต ใบสำคัญ ใบรับรองการขนส่งทางอากาศเพียงแค่ 8.7% เท่านั้น

แต่เป็นที่น่าแปลกใจเมื่อย้อนดูการประเมินของ ICAO เมื่อปี พ.ศ. 2548 ปรากฏว่าไทยได้คะแนนถึง 74.7% โดยได้คะแนนเกิน 50% ทุกข้อยกเว้นข้อ 3 “หน่วยงานกำกับดูแลด้านความปลอดภัย” ซึ่งหมายถึงกรมการบินพลเรือนที่ได้เพียง 46.2% ที่น่าแปลกใจก็เพราะว่าในปี พ.ศ. 2558 กรมการบินพลเรือนได้รับงบประมาณน้อยกว่านี้มาก เหตุผลหนึ่งที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะในปี พ.ศ. 2548 มีสายการบินเพียงแค่ 12 สายเท่านั้น แต่ในขณะนี้สายการบินเพิ่มขึ้นเป็นถึง 42 สาย

จะอย่างไรก็ตาม ผลการประเมินของ ICAO ต่อประเทศไทยในครั้งนี้เป็นการพลิกวิกฤตเป็นโอกาสให้กรมการบินพลเรือน เพราะทำให้รัฐบาลตระหนักถึงบทบาทความสำคัญของกรมการบินพลเรือน ซึ่งจะต้องจัดสรรงบประมาณให้กรมการบินพลเรือนให้เหมาะสมกับภาระหน้าที่ มิฉะนั้น อุตสาหกรรมการบินของไทยจะสะเทือนแน่

ที่มา : http://www.posttoday.com/สังคม/356539/ทำไมอุตสาหกรรมการบินของไทยสะเทือน

ผมนี่ ถูกห้ามช่วยตอบเรย(ออดิเตอร์ เข้าใจว่าผมช่วยตอบ) แต่จริงๆแล้วพยายามช่วยอธิบายคำถาม หรือประเด็นที่ออดิเตอร์ต้องการครับผม...... ปล.วันนี้ออดิเตอร์กรมเสมือนอยู่ในฐานะ Internal audit สนามบิน ทอท.แต่วันนี้ไม่ได้มาออดิตแต่พาออดิเตอร์มาออดิตอีกต่อหนึ่งครับ.......ผลท้ายสุดเมื่อสนามบินไทย .....รับการตรวจจากมุมมองตัวแทนระดับนานาชาติ ....จุดนี้ บพ.กับ ทอท.ก็ย่อมเป็น Alliance กันอย่างแยกกันไม่ได้ ....นี่ไงครับ... ที่ตอบโจทย์ว่าการทำงานระดับ AEC หรือนานาชาติ ี่่เหตุใดเราจึงทำงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์เป็นหลัก.......ผมแอบได้ยินแล้วชื่นใจครับ ที่ออดิตี้ พูดให้ได้ยินว่า ่ "วันนี้เข้าใจแล้วว่าทำไมเวลาออดิเตอร์จากกรมมาจึงได้ตรวจสนามบินอย่างละเอียด ถี่ถ้วน เข้มงวดมากๆ พร้อมๆกับแนะนำวิธีแก้ไขด้วย" เพราะนานาชาติเขาตรวจเข้มและละเอียดแบบนี้จริงๆซึ่งวันนี้ .(26/01/2015) ...เราได้เห็นแจ้งแล้วพร้อมกันนะครับ.....

จากบทความด้านล่างนี้ แสดงให้เห็นว่า ไม่มีใครรู้ดีถึงคำถามเท่าคนที่ถูกออดิตหรอกนะครับ You have mechanism but not enough for ensure that..... ถามว่าแค่ไหนถึงensure ตอบเลยว่า หลายคนรู้สึกว่า auditor มีคำตอบธงในใจ ซึ่งก็น่าจะเกี่ยวข้องกับสถานการณ์การเมืองการปกครองอย่างมีนัยสำคัญ..สอดคล้องกับความเห็นของอดีตนัมเบอร์วันของกรมได้เคยกล่าวไว้

"การตรวจสอบครั้งนี้เป็นไปตามมาตรฐานที่ชื่อว่า ICAO Universal Safety Oversight Audit Program (USOAP) ซึ่งล้วนเป็นข้อสอบที่ทุกคนรู้โจทย์อยู่ล่วงหน้าหมดแล้ว ทุกคนรู้ว่าจะต้องทำอะไรบ้างเมื่อไหร่ ต้องทำเข้มข้นแค่ไหน (เค้าถึงได้เกือบเต็มกันหมดไงครับ) นับว่าง่ายกว่าการที่ให้เด็กไทยไปสอบแข่ง PISA เป็นไหนๆ".

"ถ้าหนึ่งกรมตายแล้วล้านคนตื่น ก็ยอมแหละครับคราวนี้ จะได้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่รอมาหลายยุคหลายสมัย ขรก บพ ท้อได้แต่ขออย่าได้ถอยครับ วาระแห่งชาติ ประสบการณ์ที่คุณจ ะได้ทำเพื่อชาติเพื่อ อนาคตด้านการบินแห่งสยามประเทศจักได้ถูก ขรก ในยุคปัจจุบันกู้กลับคืนมายิ่งใหญ่และแข็งแรง แบบที่เคยเป็นมาก่อนอีกครั้ง"

"ประเทศที่พัฒนาจนถึงระดับหนึ่งแล้ว อาจใช้กฏหมายที่เข้มงวดสามารถทำให้งานการเดินไปได้ เพราะระบบ ระเบียบ สมบูรณ์ดีแล้ว แต่บ้านเรากำลังพัฒนา ฉนั้นเรื่องเทคนิควิธีการที่รับมาพัฒนา ควรเดินไปพร้อมๆกับกฏหมายมีผลบังคับ หากกฏหมายเสร็จก่อน การปฏิบัติงานก็ผิดทันที แต่หากเทคนิคเสร็จก่อน ก็ไม่ยั่งยืนเพราะไม่มีกลไกควบคุมให้ปฏิบัติให้มั่นใจว่าทำครบสมบูรณ์ ฉนั้น ควรเดินไปพร้อมกันเสร็จในเวลาไล่เลี่ยกัน ประเด็นคือตอนนี้กำลังเดินทาง ก็อย่าได้ไปเข้ม ตึง ข้างใดข้างหนึ่ง ซึ่งจะเป็นอุปสรรคในการที่จะทำให้งานอันสำคัญต่อชาติเดินต่อไปได้ ผลสัมฤทธิ์ที่เราใฝ่เราฝันก็ติดขัดด้วยประการเช่นนี้ - ร.หน.คสอ.

ดร.เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว ผช.อธิการบดี ม.ธุรกิจบัณฑิตย์

ล่าสุดได้มีการแจ้งเตือนมาอีกครั้งเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2558 ที่ผ่านมาว่า สิ่งต่าง ๆ ที่ไทยดำเนินการไม่เป็นไปตามที่ ICAO แจ้งเตือน คือ กฎระเบียบยังไม่ครบถ้วนและทันสมัย เจ้าหน้าที่เทคนิคยังไม่เพียงพอ เจ้าหน้าที่มีระยะเวลาไม่เพียงพอต่อการตรวจสอบทางด้านเทคนิคอย่างถูกต้อง การฝึกอบรมเจ้าเจ้าหน้าด้านเทคนิคไม่ครบถ้วนทำให้ขาดประสบการณ์และความรู้ที่จำเป็น เครื่องมืออุปกรณ์ไม่เพียงพอ และขาดระบบในการติดตามตรวจสอบและการแก้ไขข้อบกพร่อง จนส่งผลให้ญี่ปุ่นประกาศห้ามเครื่องบินแบบเช่าเหมาลำของไทยเพิ่ม หรือเปลี่ยนแปลงเที่ยวบิน เนื่องจากไม่ผ่านมาตรฐานการบินขององค์การการบินระหว่างประเทศนั้น จะไปโทษญี่ปุ่นไม่ได้เพราะเรื่องของมาตรฐานการบินประเทศญี่ปุ่นถือเป็นประเทศผู้นำในเรื่องของเทคโนโลยี ดังนั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ไทยจะต้องมีการปรับแก้ไข

เตรียมใช้อำนาจตั้งสถาบันการบินพลเรือนแห่งชาติให้กลายเป็นหน่วยงานอิสระแบบ กสทช.ข้อเท็จจริงของ ICAO แล้วต้องการให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องมาตรฐานทางด้านการบินเป็นหน่วยงานอิสระ จึงมีการวางแผนว่าจะปรับให้กลายเป็นสถาบันการบินพลเรือนแห่งชาติและให้เป็นหน่วยงานอิสระคล้ายกับ กสทช.

ขณะเดียวกันจะมีการจัดตั้งกรมควบคุมการขนส่งทางอากาศเพื่อทำหน้าที่เป็นหน่วยปฏิบัติ โดยจะเป็นการแยกหน่วยควบคุมกับกำดูแลออกจากหน่วยปฏิบัติ เพื่อให้เป็นไปตามกฎกติกาของ ICAO กำหนด รวมทั้งจะมีการปรับโครงสร้างอัตรากำลังพล ซึ่งดำเนินการตามแนวทางที่กำหนดดังกล่าวคาดจะใช้ระยะเวลาประมาณ 1 ปี ถึง 1 ปีครึ่ง ดังนั้นนายกรัฐมนตรี จึงได้มีการพิจารณาที่จะใช้อำนาจของ คสช. ตามมาตรา 44 ที่กำหนดในรัฐธรรมนูญว่าให้ คสช. สามารถที่จะใช้อำนาจในการแก้ไขปัญหาเรื่องต่าง ๆ ได้ จึงถือเป็นการใช้อำนาจในทางที่สร้างสรรค์เพื่อลดขั้นตอนต่าง ๆ และให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีระยะเวลาในการปรับแก้ไขเรื่องดังกล่าวภายใน 90 วัน ตามกฎกติกาของ ICAO กำหนด ซึ่งคาดว่าภายใน 90 วัน จะสามารถส่งรายละเอียดการแก้ไขเกี่ยวกับมาตรฐานการบินของไทยไปที่ ICAO อีกครั้งได้ ซึ่งหากผ่านการพิจารณาของ ICAO ก็จะทำให้ข้อกังวลในเรื่องนี้หมดไป

ตามหากไม่ผ่านก็จะถูกปรับลดระดับความน่าเชื่อถือลง ซึ่งจะส่งผลต่อเรื่องเที่ยวบินต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก

"จากที่ดูข่าวและทำงานในธุรกิจการบินจริงๆ แล้วกรมการบินพลเรือนของเราก็พยายามรักษามาตรฐานแต่คนมันน้อยกว่างาน บางทีมันก็หลุดไปบ้าง แล้วแต่ละสายการบินที่เปิดใหม่เขาก็ต้องการอยากจะเปิด คุณภาพมันก็เลยลดต่ำลงนิดนึง"

โดยปัญหาดังกล่าวมีมานานแล้ว ทั้งนี้ปัญหาที่หลายคนหวั่นเกรงคือความปลอดภัยที่มีปัญหามาตรฐาน เขามองว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้เป็นเรื่องขององค์กรตรวจสอบมากกว่าสายการบิน

"มันต้องแยก 2 ประเด็น กรมการบินเขามีหน้าที่ออกใบอนุญาตให้บินในเส้นทางนี้ได้ ปัญหาคือตรงนี้เวลาเพิ่มเที่ยวบินมันไม่มีการรับรอง ไม่เชื่อถือ ซึ่งกรมการบินพลเรือนของประเทศอื่นเขาต้องฟังจาก ICAO

"แต่พูดถึงคุณภาพของสายการบินไทยมันมีคุณภาพอยู่แล้ว เพราะต้องรักษาคุณภาพ ต้องปฏิบัติตามกฎการบิน การรักษาความปลอดภัยต่างๆ อยู่แล้ว เพียงแต่ถ้าเขาไม่ได้รับใบอนุญาตให้ทำการบินเขาก็บินไม่ได้ แต่ถามว่าปลอดภัย เขาปลอดภัย พวกนี้มันต้องตรวจสอบตามขั้นตอนเขาอยู่แล้ว เพียงแต่เขาไม่มีใบ อนุญาตให้บินตามเส้นทางนั้นๆ"

นักวิชาการด้านธุรกิจการบินมองว่าปัญหาอยู่ที่หน่วยงานตรวจสอบนั้นมีบุคลากรในการปฏิบัติงานไม่เพียงพอมากกว่า

"คนต้องการบิน เงินลงทุนไปดอกเบี้ยมันก็วิ่งไม่หยุด เขาก็อยากได้ใบอนุญาตเร็วๆ เร่งไปหมดรีบไปหมด มันอาจจะละเลยไปบ้าง ตามข่าวที่ออกมามันทำให้ ICAO ไม่ให้เครดิตกรมการบินพลเรือนของไทย เพราะเขาตรวจสอบแล้วพบว่าคนมันน้อยแต่ปล่อยเครื่องได้มากผิดปกติ คนกับงานมันไม่สัมพันธ์กัน เขาเลยต้องติงเรื่องนี้"

ในส่วนของผลกระทบนั้นโดยมากแล้วเป็นการระงับเที่ยวบินแบบเช่าเหมาลำซึ่งเป็นการเพิ่มจากเที่ยวบินปกติ ทำให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่เป็นบริษัททัวร์ต่างๆ ที่ต้องเปลี่ยนสายการบิน โดยนักท่องเที่ยวที่จองตั๋วบินแบบข้ามปีนั้นส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นเที่ยวบินแบบปกติซึ่งคงไม่ได้รับผลกระทบ

"มันก็ต้องมีการปรับปรุงระบบ ถ้าแก้ได้แล้วICAO เขารับได้ปัญหาทุกอย่างก็หายไป เขาห้ามจนกว่าจะแก้ปัญหาได้เท่านั้น แก้ได้ก็จบ เขาห่วงความปลอดภัยของผู้โดยสารเท่านั้น"

กรมการบินพลเรือน (บพ.) สังกัดกระทรวงคมนาคม ที่ก่อตั้งมาร่วม 82 ปี มี "สมชาย พิพุธวัฒน์" เป็นอธิบดีคนสุดท้าย กรมจะปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ ให้การบริหารจัดการขับเคลื่อนได้คล่องตัว

สู่มาตรฐานสากลภายใต้เงื่อนไขที่ "ICAO-องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ" ที่บรรจุไว้ในแผนแก้ไขปัญหาข้อบกพร่อง ที่มีนัยสำคัญต่อความปลอดภัย (SSC)

"พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า บุคลากรกรมการบินพลเรือน มีอยู่ประมาณ 2,000 คน จะถูกแยกไปสังกัดตามหน่วยงาน 4 ส่วน ที่ตั้งขึ้นมา จะรวมกับพนักงานใหม่ ที่รับเพิ่มบางส่วนคาดว่าจะมีบุคลากรทั้งหมด อยู่ที่ประมาณ 2,080 คน ได้แก่

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ


1.สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย
(กพท.)จำนวน 450 คน มีฐานะเป็นองค์กรของรัฐ ที่ไม่ใช่รัฐวิสาหกิจ มีสภาพเป็นนิติบุคคล และมีกฎหมายเฉพาะรองรับการทำงาน
ทำหน้าที่กำกับดูแล (Regulator) มาตรฐานการบินและการออกใบอนุญาต จะอยู่ภายใต้กระทรวงคมนาคมเบื้องต้นจะมีเงินทุนประเดิม 450 ล้านบาทเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายหมุนเวียน ส่วนรายได้หลักมาจากเงินสมทบ จากอุตสาหกรรมการบิน เช่น การออกใบอนุญาต (AOC) ให้สายการบินต่าง ๆ จะมีส่วนแบ่งจากการดำเนินการ ตั้งแต่ 0.01-0.3% ของรายได้ ที่ยังไม่หักค่าใช้จ่าย และรายได้จากการออกใบอนุญาตต่าง ๆ

2.กรมท่าอากาศยาน

จะเป็นหน่วยงานปฏิบัติ (Operator) อยู่ภายใต้กระทรวงคมนาคม มีฐานะเป็นหน่วยงานราชการ รับผิดชอบบริหารท่าอากาศยานภูมิภาค ทั้ง 28 แห่ง อยู่ในความดูแลของกรมการบินพลเรือนเดิม หรือที่จะมีเพิ่มเติมในอนาคต จะมีบุคลากรประมาณ 1,400-1,500 คน และมีงบประมาณประจำปี 2559 จำนวน 1,800 ล้านบาท เพื่อดำเนินการต่าง ๆ

3.สำนักงานคณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ของเรือและอากาศยานที่ประสบภัย

มีบุคลากรประมาณ 60 คน

4.สำนักงานคณะกรรมการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยหรือผู้รอดชีวิต

มีบุคลากรประมาณ 70 คน

ทั้ง 3 และ 4 จะอยู่ภายใต้การกำกับดูแล ของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เบื้องต้นจะเป็นหน่วยงานกลางระดับกอง หากมีภารกิจมากขึ้น สามารถพัฒนาเป็นระดับกรมได้ต่อไปในอนาคต

"พล.อ.อ.ประจินย้ำว่า หลักการปรับโครงสร้างกรมการบินพลเรือนใหม่ จะให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของ ICAO ทุกประการ และจะต้องดำเนินการให้ทันกับการตรวจสอบ ของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งองค์การบริหารการบินแห่งสหรัฐอเมริกา (FAA) สำนักงานบริหารการบินแห่งชาติ ของสหภาพยุโรป หรือเอียซ่า (EASA)หลังจากนี้จะรับฟังข้อสังเกต จากสำนักงบประมาณ, สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.), สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

ในเร็ว ๆ นี้จะนำเสนอโครงสร้างใหม่ให้ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีพิจารณา ในการนำเสนอที่เหมาะสม ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขอคำสั่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะ รักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ใช้อํานาจตามความในมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) เพื่อออกคำสั่งต่อไป เนื่องจากเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วน และต้องทำงานแข่งกับเวลา

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ

หมายเลขบันทึก: 588699เขียนเมื่อ 10 เมษายน 2015 01:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2016 06:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท